[Thesun]พระกรรมฐานพ่อแม่ครูอาจารย์และพระเกจิอาจารย์ทั่วไป(อ่าน 640412 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

1032.พระพุทธชินสีห์ ทันโต เสฏโฐ ปี 2533 พระรุ่นเดียวที่มีผงพระทนต์ของในหลวง+ผงจิตรลดา
 สวยสมบูรณ์ พร้อมกล่องเดิม
2500-

พระผงพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. พุทธลักษณ์จำลองจากพระพุทธชินสีห์อยู่ในครอบแก้วมัดหวายผ่าซีก ทางด้านหน้าที่บริเวณฐานมีพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ประดิษฐานอยู่ ส่วนที่ด้านหลังมีลายพระหัตถ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระนามย่อ ญ.ส.ส. และคติพจน์ ทนฺโต เสฎฺโฐ ตัวจม มีพลอยแดงฝังอยู่


***มวลสารที่บรรจุในพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร.***
เป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำชิ้นส่วนพระทนต์ แบบหล่อพระทนต์ และชิ้นส่วนวัสดุอุดพระทนต์ ซึ่งเป็นมวลสารที่สำคัญ อีกทั้งยังทรงพระราชทานผงจิตรลดาอันเป็นมวลสารรวมแห่งความศักดิ์สิทธิ์และศรัทธาของชาวไทยทั่วประเทศ มาเป็นมวลสารหลักในการสร้างพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ครั้งนี้ ด้วยศรัทธาของทันตแพทย์และประชาชนทั่วไป จึงมีผู้บริจาคมวลสารอื่นๆ ที่นับว่าหายากยิ่ง ล้วนแต่เป็นสิ่งที่หาค่ามิได้ เพื่อนำมาผสมเป็นมวลสาร ซึ่งผู้ศรัทธาได้เก็บรักษามานาน คณะกรรมการฯ ได้นำมวลสารที่รวบรวมได้ทั้งหมดเข้าทูลถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปรินายก เพื่อทรงอธิษฐานจิตตลอดไตรมาส แล้วจึงนำมวลสารเหล่านี้มาผสมกับมวลสารหลัก เพื่อนำมาบรรจุในองค์พระที่จัดทำ โดยพระบูชาบรรจุในองค์พระใต้ฐาน พระกริ่งเจาะรูบรรจุพร้อมกับเม็ดกริ่งที่บริเวณใต้ฐาน ส่วนพระผงได้ผสมเข้ากับเนื้อพระ





***การจัดสร้างพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. แบ่งขั้นตอนใหญ่ๆ ๓ ขั้นตอน***
1.พิธีทำสารละลายพระบรมทนต์ พิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะกระจายทุอณูของชิ้นส่วนพระทนต์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ถ่ายทอดไปยังพระทุกองค์ที่จัดสร้าง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นประธานในพิธี ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ ณ อุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สารละลายพระบรมทนต์ถูกนำมาทำให้เป็นกลางและนำมาผสมกับผงพุทธคุณอื่นแล้วนำมาตากแห้ง กรองในตะแกรงแล้วผสมกับมวลสารอื่น เช่น ผงจิตรลดา พระทุกองค์ที่จัดสร้างจะมีอณูของชี้นส่วนพระทนต์อยู่ เพื่อคงไว้ซึงความศรัทธาและความสักดิ์สิทธิ์
2.พิธีเททองหล่อพระ
3.พิธีมหาพุทธาภิเษก

***พิธีมหาพุทธาภิเษก***
พิธีมหาพุทธาภิเษก ถือว่าเป็นพิธีที่สำคัญมากในการจัดสร้างพระ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปรินายกทรงพระเมตตารับเป็นประธานในพิธีมหาพุทธาภิเษกและทรงประทานในฤกษ์ ในวันเสาร์ที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๓๓ เวลา ๑๔ นาฬิกา ๑๙ นาที เป็นฤกษ์จุดเทียนชัย การจัดพิธีได้รับความรวมมือจากกองพิธีการ สำนักพระราชวัง และที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ เมื่อพิจารณาถึงพิธีและฤกษ์พิธีจะเห็นได้ว่า ความสมบูรณ์ของพิธีครั้งนี้นับได้ว่าฤกษ์ที่ดี เพราะฤกษ์ที่ทรงประทานเป็นฤกษ์เสาร์ห้า ถือว่าเป็นฤกษ์ที่ดีที่สุดในการทำพิธีพุทธาภิเษกมาแต่โบราณกาล ทั้งตรงกับวันมหาสงกรานต์ซึ่งเป็นวันอุดมมงคลของชาวไทย ประธานในพิธีคือสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเป็นองค์ประธานของพระพุทธศาสนา พิธีจัดทำในอุโบสถวัดวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธชินสีห์ เสมือนหนึ่งเป็นพระประธานในการปรก โดยมีเถระคณาจารย์จากทั่วทุกภาค ๕๔ องค์ ร่วมนั่งปรกในครั้งนี้

***รายนามพระสงฆ์ ผู้สวดภาณวสรในพิธีมหาพุทธาภิเษก***
พระครูประสิทธิพุทธมนต์
พระมหาถาวร
พระมหาจิรพล
พระมหาวงศ์ไทย
พระเสน่ห์
พระมหานิรันดร
พระมหาฉลอง
พระมหาเพชร

***รายนามพระเถระคณาจารย์ที่ร่วมเจริญพระพุทธมนต์ในพิธีมหาพุทธาภิเษก***
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กทม.
สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี วัดราชพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.
พระพรหมคุณาคุณาภรณ์ วัดสระเกศ กทม.
พระธรรมวโรดม วัดชนะสงคราม กทม.
พระอุดมญาณโมลี วัดสัมพันธวงศ์ กทม.
พระสุธรรมาธิบดี วัดราชาธิวาสวิหาร กทม.
พระพรหมมุนี วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
พระเทพวราจารย์ วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
พระมงคลรัตนมุนี วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
พระมหานายก วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.

***รายนามพระเถระคณาจารย์ที่ร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก***
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
พระอุดมสังวรเถระ (อุตตมะ) วัดวังวิเวการาม กาญจนบุรี
พระญาณสิทธาจารย์(สิงห์,หลวงพ่อเมตตาหลวง) วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม นครราชสีมา
พระภาวนาวิสุทธิคุณ (จรัญ) วัดอัมพวัน สิงห์บุรี
พระภาวนาโกศลเถร วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม.
พระราชพุทธิรังสี (วิเชียร) วัดเครือวัลย์ ชลบุรี
พระราชสุพรรณนาภรณ์ วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
พระครูสุนทรสุวรรณกิจ (ดี) วัดพระรูป สุพรรณบุรี
พระครูปลัดพรหม ติสสเทโว วัดขนอนเหนือ พระนครศรีอยุธยา
พระครูศรีฉฬังคสังวร (เริ่ม) วัดจุกกระเชอ ชลบุรี
พระครูวิจิตรวิโสธนาจารย์ (หนู) วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
พระครูสมุห์อวยพร (มาแทนหลวงพ่อแช่ม) วัดดอนยายหอม นครปฐม
พระสำอาง อนาลโย (มาแทนหลวงพ่อเปิ่น) วัดบางพระ นครปฐม
พระครูเกษมนวกิจ (เต้า) วัดเกาะวังไทร นครปฐม
พระครูศีลคุณากร (ดวงจันทร์) วัดเม็งรายมหาราช เชียงราย
พระครูสมุทรวิจารณ์ (คลี่) วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม
พระครูสุนทรธรรมกิจ (หยอด) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
พระครูอุดมโชติวัฒน์ (อรรถ) วัดองครักษ์ สุพรรณบุรี
พระครูญาณปรีชา (เหรียญ) วัดอรัญญบรรพต หนองคาย
พระครูนิยุตธรรมวิถี (แบน) วัดส้มเสี้ยว นครสวรรค์
พระมหาวิบูลย์ พุทธญาโณ วัดโพธิคุณ ตาก
พระมหาถาวร จิตตถาวโร วัดปทุมวนาราม กทม.
พระอาจารย์แว่น ธมมปาโล วัดถ้ำพระสบาย ลำปาง
หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
พระครูพิศาลปัญโญภาส (คำดี) วัดป่าอรัญญิกาวาส นครพนม
พระอาจารย์วิโรจน์ ฐานวโร วัดห้วยเกษียรใหญ่ ปราจีนบุรี
พระอธิการยิด จันทสุวัณโณ วัดหนองจอก ประจวบคีรีขันธ์
พระครูรักขิตสีลคุณ (ณรงค์ชัย) วัดปราทรงคุณ ปราจีนบุรี
พระครูอุทัยธรรมธารี (เส็ง) วัดป่ามะไฟ ปราจีนบุรี
พระอาจารย์สงัด กมโล สำนักสงฆ์เกษตร นครราชสีมา
พระราชญาณดิลก วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กทม.
พระครูกาญจโนปมคุณ (ลำไย) วัดทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี
พระครูนนทสิทธิการ วัดไทรน้อย นนทบุรี
พระครูฐิติธรรมญาณ (ลี) วัดเหวลึก สกลนคร
พระครูวิบูลศีลวัตร (ช้วน) วัดหนังราชวรวิหาร กทม.
หลวงปู่วัย จตตาลโย วัดเขาพนมยงค์ สระบุรี
พระอาจารย์สุภาพ ธรรมปัญโญ วัดทุ่งสว่าง อ.สว่างแดนดิน สกลนคร
พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล อ.สว่างแดนดิน สกลนคร
พระอาจารย์บุญรัตน์ กนตจาโร วัดโขงขาว เชียงใหม่
พระครูสิริธรรมรัต (หร่ำ) วัดสามัคคีธรรม กทม.
พระครูศิริปุญญาทร วัดตูม พระนครศรีอยุธยา
พระอาจารย์หลวง กตปุญโญ วัดสำราญนิวาส ลำปาง
หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก พิจิตร
พระครูสุวรรณธรรมโชติ วัดอโศการาม สมุทรปราการ
หลวงปู่สุพรรณ อินทวังโส วัดป่าประชานิมิต อุดรธานี
พระสุทธิธรรมาจารย์ (คอน) วัดชัยพฤกษมาลา กทม.
พระอาจารย์กิมเส้ง ฐิตธัมโม สำนักสงฆ์โอภาสี กทม.
พระครูสุวรรณสิทธิ์ (ฤาษีลิงขาว) วัดฤกษ์บุญมี สุพรรณบุรี
พระธรรมศาสตร์รักษา วัดหนองบัวทอง สุพรรณบุรี
พระครูวรเวทย์โกวิท วัดเลียบ สุพรรณบุรี
พระอาจารย์เผย วิริโย วัดถ้ำผาปู เลย
พระอาจารย์ณรงค์ วฑฒโณ วัดถ้ำผาปู เลย
พระครูวิจิตรนวการ วัดโคนอน กทม.
พระพรหมคุณากรณ์ วัดสระเกศ กทม.

ที่มาการสร้าง :
พระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครบรอบ ๕๐ ปี ปี ๒๕๓๓

สร้างพร้อมพระกริ่งพระพุทธชินสีห์ทันโตเสฏโธ ภ.ป.ร. (พระทนต์ในหลวง) ปี ๒๕๓๓
ความเป็นมาในการจัดสร้างพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร.
ศ. ท.ญ. ท่านผู้หญิง เพ็ชรา เตชะกัมพุช ยินดีที่มอบชิ้นส่วนพระทนต์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๙ ชิ้นส่วนพระทนต์องค์กรามน้อยบนซึ่งแตกบิ่นออกมา พร้อมทั้งวัสดุต่างๆ ที่ใช้ทำพระทนต์ ตลอดจนครอบทองที่เคยทำพระทนต์ไว้ ให้แก่คณะทันตแพทย์เพื่ออัญเชิญเป็นองค์ประกอบหลักของพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ที่จะจัดสร้าง
จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยกราบพระบาทเพื่อกราบบังคมทูลมีใจความว่า

" เรื่องที่ข้าพระพุทธเจ้าจะกราบบังคมทูล ข้าพระพุทธเจ้ามิทราบด้วยเกล้าฯ ว่าจะเป็นการบังควรหรือไม่ ถ้าไม่เป็นการบังควรข้าพพระพุทธเจ้ากราบพระบาทขอพระราชทานอภัย เนื่องด้วยคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จะมีอายุครบ ๕๐ ปี ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๓ นี้ คณะฯ ดำริจะจัดสร้างพระพุทธชินสีห์ขึ้นเพื่อให้คณาจารย์และศิษย์เก่าทุกคนมีไว้สักการะบูชา แต่เนื่องด้วยเป็นทันตแพทย์ องค์ประกอบหลักสิ่งใดคงไม่ดีเท่าพระทนต์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่รักและเทิดทูลสูงสุดของเหล่าข้าพระพุทธเจ้า จึงใคร่ขอพระราชทาน"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนิ่งอยู่สักครู่ แล้วจึงทอดพระเนตรชิ้นส่วนพระทนต์พร้อมกับทรงรับสั่งว่า " เท่าใดจึงจะพอ จะทำพระกี่องค์จะได้ทั่วถึง กันหรือ " และทรงรับสั่งต่ออีกว่า " ทุกอย่างอยู่ที่ศรัทธา ถึงจะมีหรือไม่มีพระทนต์ก็คงไม่แตกต่างกัน แต่ถ้าศรัทธาก็ยินดีให้ ขอเพียงให้อาจารย์และทันตแพทย์ทุกคนเป็นคนดี และช่วยสั่งสอนศิษย์และคนอื่นให้เป็นคนดีต่อไป "

ศ. ท.ญ. ท่านผู้หญิง เพ็ชรา เตชะกัมพุช เมื่อได้ยินพระราชกระแสรับสั่งของพระองค์ท่าน ดิฉันรู้สึกซาบซึ้งและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อคณาจารย์และศิษย์เก่าทันตแพทย์เป็นอย่างยิ่งที่ทรงมีพระเมตตาพระราชทานพระทนต์ เพื่อการจัดสร้างพระครั้งนี้จากพระราชกระแสรับสั่งแสดงว่าพระองค์ท่านทรงนึกถีงบ้านเมืองทุกขฃระ ทรงต้องการให้ทุกคนเป็นคนดี บ้านเมืองจะได้มีคนดีมากๆ เพื่อนำชาติไทยให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป ด้วยเหตุนี้ พระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ทุกองค์จึงมีคำว่า  ทนฺโต เสฏฺโฐ  ซึ่งแปลว่า "ฝึกตนได้ประเสริฐ" โดยสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลสังฆปรินายก ได้ทรงเมตตาประทานตามกระแสพระราฃดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ต่อมาทางคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ขอพระราชทานผงจิตรลดาและพระปรมภิไธยย่อ ภ.ป.ร. เพื่ออัญเชิญมาประดิษฐานในองค์พระที่จัดสร้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทาน นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่เปรียบมิได้แก่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมควรที่คณาจารย์และศิษย์เก่าจะต้องจดจำสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและดำเนินตามรอยพระยุคลบาท โดยตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามพระราชกระแสรับสั่งที่ทรงฝากไว้

ศ. ท.ญ. ท่านผู้หญิง เพ็ชรา เตชะกัมพุช ยินดีที่มอบชิ้นส่วนพระทนต์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๙ ชิ้นส่วนพระทนต์องค์กรามน้อยบนซึ่งแตกบิ่นออกมา พร้อมทั้งวัสดุต่างๆ ที่ใช้ทำพระทนต์ ตลอดจนครอบทองที่เคยทำพระทนต์ไว้ ให้แก่คณะทันตแพทย์เพื่ออัญเชิญเป็นองค์ประกอบหลักของพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ที่จะจัดสร้าง จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2533 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเททองหล่อพระพุทธชินสีห์ ภปร. ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้นำชิ้นส่วนพระทนต์ และผงจิตรลดามาเป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างวัตถุมงคล ณ วัดบวรนิเวศวรวิหาร วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2533 สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธชินสีห์ ภปร. พระบูชา พระกริ่ง และพระผง
จำนวนการจัดสร้าง
1.พิมพ์ใหญ่ จำนวน 63,000 องค์
2.พิมพ์เล็ก จำนวน 21,000 องค์ (จำนวนการจัดสร้างพิมพ์เล็กน้อยกว่าพิมพ์ใหญ่ถึง 3 เท่า)












1033.ผ้ายันต์แม่นางกวักหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ ปี2510 เท่าที่พบเห็นผ้ายันต์มีหลายสีครับ สีส้ม ชมพู ขาว แดง ผ้ายันต์นางกวักแบบนี้เอกลักษณ์เฉพาะของหลวงปู่โต๊ะครับ
สวย สมบูรณ์  นานๆ เจอทีครับ 
  800-

ข้อมูลอ้างอิงครับ












1029.พระชุดหลวงปู่วิเวียร วัดดวงแข ประกอบไปด้วย เหรียญรุ่นแรก ปี22 + พระชัยพรหมมุนี พุทธเมตตา ปี34 เนื้อนวโลหะ ก้นจาร เปิดบูชาคู่ 1900-
ตอนนี้วัตถุมงคลหลวงปู่กำลังเป็นที่นิยมมากนะครับ  ราคาขยับขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง เก็บได้เก็บอนาคตสดใสครับ

พระชัยวัฒน์พรหมมุนี หล่อโบราณ รุ่นแรก ตอกโค๊ต ก้นจาร สร้างวัตถุมงคล ครั้งที่ 9 ของหลวงปู่วิเวียร

เป็นการจัดสร้างขึ้นเป็นกรณีพิเศษ เพื่อฉลองอายุ ของท่านเจ้าประคุณพระพรหมมุนี พี่ชายของท่าน มีอายุ 72 ปี และหลวงปู่วิเวียร สิริอายุ 70 ปี

ได้มีการเททอง จัดพิธีแบบโบราณ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2534
ที่วัดดวงแข โดยหลวงพ่อพระพรหมมุนี และหลวงปู่วิเวียร เป็นประธาน ทั้งนี้หลวงปู่ท่านประกอบพิธีลงอักขระทั้ง 108 และ นะ 14 นะ ซึ่งเป็นตำราการหล่อพระกริ่ง พระชัยวัฒน์

เหตุที่หลวงปู่วิเวียรจัดสร้างพระชัยวัฒน์พรหมมุนีนั้น นอกจากจะเป็นที่ระลึกถวายแก่พี่ของท่านแล้ว หลวงปู่ยังกล่าวว่าปรมาจารย์การสร้างพระกริ่ง คือ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ฯ ท่านเคยดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระพรหมมุนี" มาก่อน

พระชัยวัฒน์พรหมมุนี หล่อโบราณ เนื้อเงิน สร้าง 599 องค์ เนื้อนวะโลหะ สร้าง 2534 องค์






ขอจองครับ



1030.พระชัยวัฒน์รุ่นแรก หลวงปู่หลอด ปโมทิโต วัดใหม่เสนานิคม ลาดพร้าว กทม. ปี43 หลวงปู่เททอง ที่วัด มาพร้อมกล่องเดิม สร้างน้อย หายาก
ตั้งแต่ศึกษาสะสมมาพึ่งผ่านมือเป็นองค์ที่สองครับ
900-

พระชัยวัฒน์รุ่นแรกจัดสร้างพร้อมพระกริ่งปวเรศ และในพิธีนั้นมีพ่อแม่ครูอาจารย์มาร่วมพิธีมาก อาทิ หลวงปู่เหรียญ หลวงปู่บุญหนา หลวงปู่พวง เป็นต้น โดยมีองค์หลวงปู่เป็นองค์เททอง
ทุกเบ้าใส่ทองคำ 2 บาท  มีคนมาถวายทองคำเพื่อมาร่วมหล่ออีกจำนวนมาก จำนวนจัดสร้างทั้งพระกริ่งปวเรศและพระชัยวัฒน์จำนวนไม่มากครับ ไม่ค่อยออกมาหมุนเวียนในสนามครับ







ขอจองครับ



1034.เหรียญรุ่นแรก พิมพ์เล็ก หลวงปู่มั่น ทัตโต วัดโนนเจริญ อ.นาจะหลวย จ.อุบล ปี19 สวยๆ ผิวหิ้ง หายาก
ประกวดติดรางวัลเลยครับสภาพนี้
800-




หลวงปู่มั่น ทัตโต วัดโนนเจริญ อ.นาจะหลวย จ.อุบล พระเกจิผู้เรืองวิชาทั้งทางด้านคาถาอาคมต่างๆและยังเป็นพระเกจิสายวิปัสสะนากรรมฐานที่เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ
อีกด้วยครับ เป็นที่เคารพนับถือของชาวอุบลโดยเฉพาะอำเภอนาจะหลวยสมัยที่ท่านยังมีชิวิตอยู่ท่านเปรียบเสมือนเสาหลักของชาวบ้านเพราะอำเภอนา
จะหลวยและน้ำยืนติดกับชายแดนเขมรทำให้พื้นที่แถบนั้นมีความอันตรายจากผู้ร้ายชายแดนและกับระเบิดเป็นอย่างมาก ใครที่มีวัตถุมงคลของท่านไว้ต่างก็อุ่นใจ
 วัตถุมงคลแต่ละรุ่นของท่านล้วนมีประสบการณ์นานับประการคนพื้นที่อำเภอนาจะหลวยรู้ดีครับ ไล่ตั่งแต่เหรียญรุ่นแรก รูปหล่อฐานสูง เหรียญพระเจ้า5พระองค์
ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ เสือมหาอำนาจ ตะกรุดเขาควายเผือก ปลักขิกเขาความเผือก พระผงดิน9บัง9ป่าช้า ท่านมรณะภาพตอนอายุถึง105ปี
ยังความเศร้าสลดเสียใจแก่ลูกศิษ์ทั้งหลาย และที่สำคัญ อัฐิท่านกลายเป็นพระธาตุอย่างน่าอัศจรรย์ครับ แม้แต่หลวงปู่ชายังให้ความเคารพนับถือในวัติปฏิบัติของท่าน








1035.เหรียญพระราชทานเพลิง สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์เทพวราราม ปี2488 หรือเรียกว่า เหรียญ "อ พ ต" พุ่มข้าวบิณฑ์ ขอบเลื่อย แต่งตะไบ หูเชื่อมเดิม สไตล์เหรียญยุคเก่า
 ท่านเจ้าคุณศรีสนธิ์จัดสร้าง และพระเกจิดีๆดังๆสมัยนั้นปลุกเสกเพียบ   วงการเรียกเหรียญตาย จัดเป็นเหรียญตายที่น่าใช้ และน่าสะสม
เหรียญนึงเลยครับ ไม่ค่อยพบเห็นนะครับ สร้างน้อยครับ ถือเป็นพระดี ราคาเบา พระเก่า หายาก ที่น่าสะสม สภาพสมบูรณ์มาก
2,800-


ด้านหน้าเหรียญปรากฎอักษร "อพต" ( อักษรย่อของคำว่า อริยวงศาคตญาณ แพ ติสสเทวะ) ภายใต้เศวตฉัตร 3 ชั้น ซึ่งเป็นเครื่องหมายประจำพระองค์ของสมเด็จพระสังฆราช
ด้านหลังเหรียญจารึกอักขระยันต์สาม (ยันต์ใบพัด) "มะ อะ อุ" โดยด้านบนประดับยันต์รัตนตรัยชักยอดตัวอุณาโลม พุทธาภิเษก ณ. วัดสุทัศน์ฯ โดยมีเจ้าคุณศรีฯ(สนธิ์)
 เป็นแม่งาน แจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้มาร่วมพิธีในคราวนั้น  พระเกจิที่ร่วมปลุกเสกอาทิ

หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
หลวงปู่นาค วัดระฆัง
หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู
หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว
หลวงพ่อแช่ม วัดตากล้อง
หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด
หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
พระพุทธโฆษาจารย์ เจริญ วัดเทพศิรินทร์
หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
หลวงพ่อติสโส อ้วน วัดบรมนิวาส
สมเด็จพระสังฆราช ชื่น วัดบวรนิเวศ
พระพุฒาจารย์นวม วัดอนงค์
สมเด็จพระสังฆราช อยู่ วัดสระเกศ
หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์
หลวงพ่อนาค วัดอรุณ
หลวงพ่อประหยัด วัดสุทัศน์
หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง
หลวงพ่อแนบ วัดระฆัง
หลวงพ่อเลียบ วัดเลา
หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า
หลวงปู่เผือก วัดโมรี
หลวงพ่อผิน วัดบวรนิเวศ
หลวงพ่อศรี วัดพลับ
หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก
หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง
หลวงพ่อพรหมสรรอด วัดบ้านไพร
หลวงปู่จันทร์ วัดโสมนัสวิหาร
หลวงพ่อโสม วัดราษฎร์บูรณะ
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
เป็นต้น

ใช้แทนเหรียญพระเกจิอาจารย์บางองค์ที่ราคาสูงๆ มาร่วมปลุกเสกได้เลยครับ




















« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 17, 2019, 11:48:03 AM โดย thesun »



1036.ล๊อคเก็ตหลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม สามโคก ปทุมธานี  โดยคณะศิษย์หลวงปู่หลอด ปโมทิโต ขออนุญาติจัดสร้าง เมื่อปี43
สร้างน้อยมากแจกเฉพาะศิษย์ใกล้ชิด พิมพ์ลักษณะไข่จัมโบ้ นานๆจะออกมาให้เห็นที หลังอุดผง พุทธคุณ วัตถุมงคลท่านสร้างน้อยรุ่น
และหายากลูกศิษย์เก็บหายหมด


1036.1 ล๊อคเก็ตหลวงปู่เจี๊ยะ ฉากทอง หลังอุดผงพุทธคุณ 1,500- ปิดคุณรุ่งครับ







1036.2 ล๊อคเก็ตหลวงปู่เจี๊ยะ ฉากซีเปีย หลังอุดผงพุทธคุณ 1,500-





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 18, 2019, 06:56:46 PM โดย thesun »



1037.สมเด็จอรหัง วัดบวรนิเวศวิหาร ปี11 ของดีที่หายาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช  มีส่วนผสมของผงกรุสมเด็จบางขุนพรหม, วัดระฆัง
และผงพุทธคุณของพระเกจิคณาจารย์เป็นจำนวนมาก เนื้อหาจัดจ้าน เมื่อปี52 ทางวัดบวรนิเวศ ได้นำพระสมเด็จอรหังรุ่นนี้ที่ตกค้างที่วัด มอบให้แก่ผู้มีจิตศรัทธา โดยเสด็จพระกุศลในสมเด็จพระสังฆราช ในการสร้างพระ บรมธาตุเจดีย์ ณ วัดเวฬุวัน
อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย ในราคาทำบุญ องค์ละ 1,999 บาท
เปิดให้บูชาที่ 1,100- ปิดท่านj999 ครับ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 18, 2019, 03:56:17 PM โดย thesun »



1037.สมเด็จอรหัง วัดบวรนิเวศวิหาร ปี11 ของดีที่หายาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช  มีส่วนผสมของผงกรุสมเด็จบางขุนพรหม, วัดระฆัง
และผงพุทธคุณของพระเกจิคณาจารย์เป็นจำนวนมาก เนื้อหาจัดจ้าน เมื่อปี52 ทางวัดบวรนิเวศ ได้นำพระสมเด็จอรหังรุ่นนี้ที่ตกค้างที่วัด มอบให้แก่ผู้มีจิตศรัทธา โดยเสด็จพระกุศลในสมเด็จพระสังฆราช ในการสร้างพระ บรมธาตุเจดีย์ ณ วัดเวฬุวัน
อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย ในราคาทำบุญ องค์ละ 1,999 บาท
เปิดให้บูชาที่ 1,100-


สมเด็จพระญาณฯ..พระดี..อนาคตไกลอีกรุ่น ตอนนี้ราคายังไม่แรง น่าเก็บเป็นอย่างยิ่ง.."สมเด็จอรหัง" หลังปั๊มยังต์จมคำว่า อรหัง ออกวัดบวรฯ โดยสมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมมหาสังฆปริณายก ทรงประทานอนุญาตให้จัดสร้าง เมื่อปี2511 โดยมีส่วนผสมผงกรุสมเด็จบางขุนพรหม, วัดระฆัง และผงอิธิเจ ผงปัตถมัง ผงมหาราช ผงตรีนิสิงเห ผงพุทธคุณพระเกจิจำนวนมาก
สร้างจำนวน 4,999 องค์เท่านั้น ปลุกเสกพิธีใหญ่มีพระภาวนาจารย์นั่งปรก 147 รูป เช่น สมเด็จญาณฯ, ลป.เทียม, ลป.โต๊ะ, ลป.อ่อง, ลป.นาค,  ลพ.คูณ ฯลฯ รวม 10 วัน 10 คืน
กดพิมพ์ด้วยมือและตัดขอบสูตรโบราณตามตำราสมเด็จโตฯ องค์พระหนาปึ้ก
อนึ่ง..โดยเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๒




ของดีมีน้อย “สมเด็จอรหัง” วัดบวรนิเวศวิหาร

        สมทบทุนกฐินประทานสมเด็จพระสังฆราชฯ                     

 

ในบรรดาพระเครื่องใต้ฟ้าเมืองไทยที่ได้รับการตอบรับและมีประสบการณ์สูงจากผู้ศรัทธา คงไม่มีใครปฏิเสธ “สมเด็จอรหัง” ซึ่งต้นตำรับและเป็นที่เสาะแสวงหากันอย่างกว้างขวาง ก็คือ สมเด็จอรหัง ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สุก ไก่เถื่อน) แห่งวัดมหาธาตุยุวราษฎร์รังสฤษดิ์ ว่ากันว่าด้วยจริยวัตรอันงดงาม เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานสูงและเมตตามหานิยมสุดยอดของท่าน ถึงขั้นทำให้ไก่ป่า (ชาวบ้านจะเรียกว่า ไก่เถื่อน) ที่พานพบระหว่างท่านธุดงควัตรในป่าลึก ตามกลับมาอยู่กับท่านในในสมัยนั้นด้วย
ปัจจุบัน สมเด็จอรหัง ของสมเด็จพระสังฆราชฯ (สุก ไถ่เถื่อน) เป็นที่หมายปองของ “นักนิยมพระ” และผู้ศรัทธา ซึ่งของแท้ ๆ และสภาพสวย ๆ หาชมได้ยากเย็นยิ่งกว่าเข็นครกขึ้นภูเขา ใครอยากมีไว้ในครอบครองต้องใจป้ำควักกระเป๋าเช่าบูชาด้วยตัวเลขไม่ต่ำกว่า 6-7 หลักเลยทีเดียว
 

 





สมเด็จอรหัง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ วัดบวรนิเวศวิหาร
 
 
เมื่อหา สมเด็จอรหัง ต้นตำรับไม่ได้ก็ไม่เป็นไร สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ก็เคยจัดสร้าง สมเด็จอรหัง ขึ้นเช่นกัน ด้วยจริยวัตรอันงดงามและความเชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาญาณของท่านไม่เป็นรองใคร ทำให้วัตถุมงคลทุกรุ่นทุกองค์ความเข้มขลังไม่แพ้พระเถรจารย์ยุคเก่า
พระสมเด็จอรหัง ของดีที่หายาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานอนุญาตให้จัดสร้างเมื่อ พ.ศ.2511 มีส่วนผสมของผงกรุสมเด็จบางขุนพรหม, วัดระฆัง และผงพุทธคุณของพระเกจิคณาจารย์เป็นจำนวนมาก ในกฐินกาล 2553 เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงประทานพระสมเด็จอรหังให้สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช มอบให้ผู้มีจิตศรัทธาร่วมทอดกฐินประทาน ณ วัดเวฬุวัน อำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย ในวันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม 2553
 
ศาลาการเปรียญ วัดเวฬุวัน จ.หนองคาย
 

        ในมหามงคลวโรกาสที่ เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลสังฆปริณายก ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชฯ ครบ 21 ปี ในวันที่ 21 เมษายน 2553 และทรงเจริญพระชนมายุครบ 97 พรรษา ในวันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม 2553 สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชฯ วัดบวรนิเวศวิหาร จึงได้นำ "พระสมเด็จอรหัง" จำนวน 4,999 องค์ ออกมามอบให้พุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญทอดกฐินประทาน เพื่อเสริมสิริมงคลแก่ชีวิต โดยรายได้ทั้งหมดจะนำไปสมทบทุนสร้าง "พระบรมธาตุเจดีย์ และ วิหารพระพุทธอุดมมงคลเวรุฬัน" ณ วัดเวฬุวัน จ.หนองคาย ซึ่งพระพุทธวิหารนี้มีขนาดพื้นที่ใชัสอย ประมาณ 2,000 ตารางเมตร ซึ่งสำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชฯ สร้างถวายน้อมเกล้าเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระสังฆราชฯ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 97 พรรษา ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง

        สำหรับประวัติพระสมเด็จอรหังนั้น นาวาโท กวี รัตนวโรภาสได้รวบรวมผงวิเศษ 5 ประการ ได้แก่ ผงอิทธิเจ, ผงปัตถมัง, ผงมหาราช, ผงพุทธคุณ, ผงตรีนิสิงเห, และเกสรดอกไม้ 108 ทำตามตำราการสร้างพระผงสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เพราะเห็นว่าผงดังกล่าวเป็นนามที่เป็นสิริมงคล กล่าวคือ ความหมายประการแรก หมายถึง ความเป็นผู้ดีมีสกุล ประการที่สอง หมายถึง เป็นผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ประการที่สาม หมายถึง ความมั่งมีศรีสุข และส่วนหนึ่งได้ผงกรุพระสมเด็จบางขุนพรหมจากหลวงพ่อโอภาสี ณ สวนพุทธบูชา บางมด กรุงเทพฯ มาจัดสร้างพระในครั้งนี้  หลังจากที่ได้รวบรวมมวลสารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นาวาโท กวี รัตนวโรภาสจึงไปจ้างช่างแกะพิมพ์พระสมเด็จอรหังด้วยหินลับมีดโกนที่ร้านช่างจำเนียร หน้าวัดมหรรณพฯ กรุงเทพฯ

         ครั้นเมื่อถึงวันที่ 8 เมษายน 2511 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 5 ปีวอก ก็ได้ฤกษ์ประกอบพิธีสร้างพระสมเด็จอรหัง โดยมีหลวงปู่อ่อง ยโสธโร วัดใหม่พิเรนทร์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นาวาโท กวี รัตนวโภาส และนายอุดม รัมมะวาสน์ เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง แล้วนำเข้าพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ มีพระเกจิคณาจารย์นั่งอธิษฐานจิตภาวนา จำนวน 147 รูป ในจำนวนพระเกจิคณาจารย์นั้นมีหลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช จังหวัดอยุธยาอยู่ด้วย นาวาโท กวี รัตนวโรภาสได้เก็บรักษา "พระสมเด็จอรหัง" ไว้เป็นอย่างดี ต่อมาเมื่อนาวาโท กวี รัตนวโรภาสได้ป่วยและถึงแก่กรรม นางสาวทิพอาภา รัตนวโรภาส (ผู้เป็นธิดา) จึงได้นำพระผงสมเด็จอรหังดังกล่าวน้อมถวายเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

         เจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงรับพระสมเด็จอรหังไว้แล้ว โปรดให้สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช จัดพิธีมหาพุทธาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 เวลา 15.19 น. ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงครามเป็นประธานจุดเทียนชัย

 จากนั้นเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงประทาน "พระสมเด็อรหัง" ให้สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชฯ เพื่อนำออกมามอบให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมทอดกฐินประทานในครั้งนี้ "พระสมเด็จอรหัง" มีพุทธลักษณะพิมพ์ทรงเป็น "พระสมเด็จทรงเจดีย์" เนื้อผงผสมผงกรุบางขุนพรหมกรุเก่าและใหม่ ด้านหลังมียันต์อักขระขอม 3 ตัว อ่านว่า "อรหัง" จำนวนสร้าง 4,999 องค์

 นับเป็นโอกาสอันดีที่ผู้ศรัทธาจะได้สุดยอดวัตถุมงคลไว้บูชา เพราะ สมเด็จอรหัง เป็นพระเก่าที่หายาก และในการนี้สมเด็จพระสังฆราชฯ
ทรงประทานให้เป็นกรณีพิเศษ
 

 

ข้อมูลดี ๆ จากคอลัมน์เหนือลิขิต ประกาศิตฟ้าดิน เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 21 ส.ค. 2553




ขอจองครับ



1038.นำเสนอสมเด็จดี สมเด็จดังแดนใต้  พระสมเด็จหลวงปู่จันทร์ ขันติโก วัดโฉลกหลำ จ.สุราษฎร์ธานี ยุคกลาง ปี2500 พิมพ์ใบโพธิ์  เมตตา มหาเสน่ห์อันดับ1ของภาคใต้
ที่คนกล่าวขาน "พระขุนแผนแดนใต้" เลยก็ว่าได้  สภาพ สวย สมบูรณ์ เปิดแบ่งปันไปใช้ และศึกษา
2,700-

เพื่อความรู้ที่ถูกต้องประวัติการสร้างพระสมเด็จหลวงปู่จันทร์ วัดโฉลกหลำ สมเด็จปู่จันทร์นั้นแบ่งเนื้อได้ เป็น 3 ยุค ส่วนผสมคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน
1.ยุคแรกเริ่มสร้างปี 24 กว่า ถึงก่อนปี 2500 เนื้อจะแห้ง หลวม มวลสารค่อนข้างเยอะ --> ราคาหลายหมื่นบาท
2.ยุคกลาง จัดสร้าง ช่วง ปี 2500 มีส่วนผสมในยุคแรก ผสมกับสมเด็จบางขุนพรหม เนื้อออกขาวอมเหลือง ฟู ในส่วนที่ผิวสัมผัสหรือใช้มา จะดูหนึกนุ่ม --> ราคาหลักพันกลางๆ
3.ยุคปลาย สร้างประมาณหลัง ปี 2510-2520 เนื้อจะแก่ปูนเปลือกหอย --> ราคาหลักพันต้นๆ

ตั้งแต่ ปี 2490กว่าๆ จนถึงประมาณปี 2520 *วัสดุแม่พิมพ์(บล็อก) 1.แม่พิมพ์ไม้ มีเพียงด้านหน้าด้านเดียว 2.แม่พิมพ์หินลับมีด มีเพียงด้านหน้าชิ้นเดียวเหมือนกัน ใช้ภายหลังจากแม่พิมพ์ไม้ *มวลสาร ประกอบด้วย กล้วยหอม เครื่องหอมจากไม้หอมต้นนูด ต้นแควด เกสรดอกบัวและเกสรดอกไม้ 108 น้ำผึ้ง ปูนเปลือกหอยเผา ผงวิเศษที่ท่านเขียนและลบ สาหร่ายและดอกไม้ทะเล ในพระยุคกลาง ปี 2500 มีชิ้นส่วนและผงสมเด็จบางขุนพรหม เพิ่มเติมด้วยครับเนื่องด้วยตอนเปิดกรุสมเด็จบางขุนพรหมอย่างเป็นทางการ ปี 2500 ท่านได้เดินทางมากรุงเทพเพื่อนิมนต์ ผงพระและชิ้นส่วนพระสมเด็จ (ได้มาประมาณห่อผ้าขาว) หลังจากทำพระชุดนี้หมดก็เป็นพระยุคปลายแล้ว เนื่องจากท่านทำไปแจกไปโดยจะเลือกฤกษ์ยามตามตำรับพิธีเริ่มปลุกเสกตามลำพังต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆกระทั่งถูกต้องครบถ้วนตามกระบวนการตำรับพิธีเพียบพร้อมสรรพคุณแล้วก็จะเอาออกมาแจกจ่าย

ต้นตำนาน พระผงมวลสารแดนใต้ พระเนื้อผงมหาเสน่ห์ ที่เป็นหนึ่ง ไม่เป็นสองรองใคร เรียกได้ว่า "พระขุนแผนแดนใต้"




 ประวัติ หลวงปู่จันทร์ ขันติโก วัดโฉลกหลำเกาะพงั้น
หลวงพ่อมีนามเดิมว่า จันทร์ นามสกุล จันทร์อินทร์ เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 10 ปีชวด ประมาณ 2443
โยมบิดาของท่านชื่อ นายครบ โยมมารดาชื่อ นางทองดี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 6 คน คือ หลวงพ่อจันทร์, นางจอน, นายเกลื้อม, นางเคล้า, นางนวล, นางพัฒน์ จันทร์อินทร์ และน้องสาวต่างมารดา 1 คน คือ นางกระจ่าง พรหมรักษ์
หลวงพ่อจันทร์เกิด ณ. บ้านมะเดื่อหวาน ตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
 

ศิษย์หลวงพ่อเพชร วชิโร
  ราวปี พ.ศ. 2456 เมื่ออายุประมาณ 13 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดมะเดื่อหวาน โดยมี หลวงพ่อเพชร วชิโร (พระครูวิบูลย์ธรรมสาร) เป็นพระอุปัชฌาย์
บวชแล้วสามเณรจันทร์ก็ติดตามไปอยู่รับใช้และเล่าเรียนอักขระวิธี กรรมฐานวิปัสสนา กับหลวงพ่อเพชรที่วัดเขาน้อย
การได้ศึกษาฝึกฝนกับหลวงพ่อเพชรซึ่งเป็นพระที่เคร่งครัดเชี่ยวชาญชำนาญการ สอนวิปัสสนากรรมฐาน นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่เสมือนเป็นการช่วยสร้างพื้นฐานอันแน่นหนาในเรื่อง
 เอกัคตาจิต ให้ท่านตั้งแต่วัยเยาว์ รวมตลอดทั้งเคล็ดวิธีอุปเท่ห์ในทางเวทวิทยาคมบางประการด้วย เมื่อมีพื้นฐานที่แน่นหนา มั่นคง เหมาะสม ก็ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เติบโต
 เจริญก้าวหน้าได้ดียิ่งในอนาคต

  สามเณรจันทร์ได้อยู่ศึกษาปฏิบัติ ปลูกสร้างพื้นฐานกับหลวงพ่อเพชร สุดยอดพระเถราจารย์ของเกาะพะงันเป็นเวลากว่า 2 พรรษาแล้วก็ลาสิกขาออกไปเผชิญโลกต่อไป
ครั้นอายุครบอุปสมบทท่านได้บวชเป็นพระภิกษุ ตามประเพณีของลูกผู้ชายชาวไทย ณ วัดใหม่ (วัดศรีทวีป) อดีตเจ้าคณะอำเภอเกาะสมุยรูปที่สาม เป็นพระอุปัชฌาย์บวชอยู่
2-3 พรรษาก็สละเพศบรรพชิต ลาสิกขา แล้วท่านก็มีครอบครัว ภรรยาของท่านชื่อ นางหีดนุ้ย เป็นชาวใต้ เกาะพะงัน มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ
1. นายเจน จันทร์อินทร์
2. นางเจิม ชำนาญกิจ
ครอบครัวของท่านตั้งอยู่ที่ บ้านบ่อผุด เกาะสมุย หลังจากภรรยาของท่านถึงแก่กรรม ท่านก็เกิดเบื่อหน่ายฆราวาสวิสัย ตระหนักในไตรลักษณ์ที่ว่า
“สรรพสิ่งล้วน เปลี่ยนแปร ไม่แท้เที่ยง
ทุกสิ่งเพียง ของสมมุติ อย่ายึดมั่น
มิใช่ตัว ใช่ตนจริง ทุกสิ่งนั้น
ล้วนแปลงผัน ล้วนทุกข์ท้น มิทนทาน”
ประมาณ พ.ศ.2489 ท่านได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้งหนึ่งด้วยเจตจำนงแน่วแน่ที่จะยึดถือ เป็นตัวตาย ตั้งใจที่จะให้ได้มีผ้าเหลืองห่อหุ้มศพ เป็นการบวชตลอดชีวิตที่จะไม่ลาสิกขาออกมาอีก ครั้งนี้หลวงพ่อจันทร์ อุปสมบทที่วัดสำเร็จ เกาะสมุยโดยมี พระครูทีปาจารคุณารักษ์
(มี อินทสุวัณโณ) อดีตเจ้าคณะอำเภอเกาะสมุย รูปที่ 4 เป็นพระอุปัชฌาย์ มีฉายาว่า “ขันติโก”
เมื่อหลวงพ่อจันทร์บวชแล้ว ได้มาอยู่ปฎิบัติธรรมที่บ้านโฉลกหลำ สถานที่ที่ท่านพำนักเป็นเพียงที่พักสงฆ์ เรียกว่า ที่พักสงฆ์เจริญสุข ซึ่งมีเพียงศาลาหลังเล็กๆ สำหรับที่พระภิกษุพักอาศัย
ครั้นประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 25 บ้านโฉลกหลำ ได้กลายเป็นท่าเรือประมง ที่บรรดาเรือประมงซึ่งจับปลาอยู่บริเวณใกล้เคียงมักมาขายส่งปลาให้แก่เรือ รับซื้อที่เรียกว่า เรือห้องเย็น รวมทั้งอาศัยเป็นที่กำบังลมพักผ่อนและเติมเสบียงในช่วงฤดูที่มิใช่หน้าลม ว่าว ครั้นถึงยามฤดูลมว่าวประมาณระหว่างเดือน (จันทรคติ) 12 ถึงเดือน 2 อ่าวโฉลกหลำเป็นจุดรับลมว่าว ภายในอ่าวมีคลื่นลมแรง เหล่าเรือประมงจะต้องใช้อ่าวแห่งอื่น เช่น อ่าวน้ำตกธารเสด็จ เป็นท่าเรือ
ด้วยความเป็นท่าเรือดังกล่าว ทำให้โฉลกหลำเป็นแหล่งที่มีเงินสะพัด เป็นแหล่งงาน เป็นที่แสวงโชค เป็นแหล่งธุรกิจที่สำคัญของเกาะพะงันในขณะนั้น ก่อนที่เกาะพะงันกลายเป็นแหล่งที่ท่องเที่ยวในปัจจุบันนี้

  เมื่อหลวงพ่อจันทร์ มาพำนักอยู่ยังที่พักสงฆ์เจริญสุขแล้ว ท่านได้ก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ รวมทั้งอุโบสถ กระทั่งทำที่พักสงฆ์ได้กลายเป็นวัดตามกฎหมาย โดยมีประกาศตั้งวัดเมื่อ
วันที่ 14 กันยายน พ.ศ.2519 เรียกว่า สำนักสงฆ์โฉลกหลำ เมื่อได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2520 จึงเป็นสภาพเป็นวัดโดยบริบูรณ์ และใช้ชื่อว่า
”วัด” ได้ตามกฎหมายแล้วทางวัดก็ได้จัดงานผูกพัทธสีมาในปี พ.ศ. 2522 หลวงพ่อจันทร์ ขันติโก จึงเป็นพลังสำคัญในการสร้างวัดและเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดโหลกหลำ


ปาฏิหารย์ หลวงพ่อจันทร์
1 .หลงบ้าน
  ในงานวันขึ้นปีใหม่ ครั้งหนึ่งชาวบ้านโฉลกหลำจำนวนมากได้เข้าไปทำบุญปีใหม่ในวัดโฉลกหลำเพื่อ ความเป็นสิริมงคล จึงมีการนิมนต์หลวงพ่อจันทร์ มาอวยพรปีใหม่พร้อมทั้งประพรมน้ำพระพุทธมนต์
นายโชติ เมืองทอง ซึ่งขณะนั้นไม่ค่อยเลื่อมใสนัก เมื่อมีผู้มาชวนไปรับการประพรมน้ำพระพุทธมนต์จากหลวงพ่อจันทร์ จึงได้กล่าวเป็นหมิ่นทำนองว่า “ประพรมน้ำ ถ้ายังไม่พอ ที่บ้านยังมีอีกบ่อ” เนื่องจากตามบ้านเรือนในท้องถิ่นไทยภาคใต้นั้นโดยส่วนมากนักขุดบ่อน้ำไว้ สำหรับใช้สอยประจำบ้านแทบทุกหลัง
คำกล่าวเชิงหมิ่นของนายโชติ มีความหมายว่า หากน้ำพุทธมนต์ที่หลวงพ่อจันทร์ใช้ประพรมอยู่ไม่เป็นการเพียงพอก็ให้ไปเอา น้ำในบ่อที่บ้านของตน ซึ่งอยู่ใกล้วัดมาใช้แทนด้วย มีเจตนาที่จะชี้ให้เห็นว่า น้ำพระพุทธมนต์ของหลวงพ่อจันทร์ ก็เหมือนกับน้ำในบ่อที่บ้านนั้นแหละหามีอะไรแตกต่างกันไม่
เสร็จพิธีแล้วนายโชติ ก็ยังนั่งเสวนาอยู่ในวัด จนเริ่มมืด ตามบ้านเรือนและภายในวัดต่างเปิดไฟฟ้าสว่างไสว เมื่อเห็นว่าค่ำแล้วนายโชติก็เดินกลับบ้านซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆ วัด ห่างจากเขตวัดเพียงประมาณ 50 เมตรเท่านั้น
แต่ปรากฏว่านายโชติเดินวนเวียนรอบวัดอยู่ 2-3 รอบ ก็ยังหาหนทางที่จะเดินจากวัดไปยังบ้านไม่พบ กระทั่งฝ่ายภรรยาเห็นว่าค่ำมืดมากแล้วยังไม่กลับบ้านก็เลยออกมาตามหา นั้นแหละนายโชติจึงสามารถกลับบ้านได้ถูก
เหตุการณ์หลงบ้านตนเองครั้งนั้นใครๆ ต่างเข้าใจว่านายโชติ เมาจนกลับบ้านไม่ถูก แต่นายโชติปฎิเสธว่ามิได้เมามายขนาดนั้น และบ้านก็ยังอยู่ติดกับวัดมองกันก็เห็นเพราะตั้งอยู่ในที่โล่ง ไม่มีทัศนียภาพอื่นมาบดบัง อีกทั้งบริเวณใกล้วัดก็มิได้มีบ้านเรือนอยู่หนาแน่นแต่ประการใด กับการได้เคยเดินเข้าออกมาแต่ไหนแต่ไรถึงจะเมาสักขนาดไหนก็ย่อมเดินกลับได้ ถูกอยู่ดี ส่วนเหตุที่เป็นดังนั้นคงเนื่องมาจากคำพูดที่นายโชติได้พูดเชิงดูหมิ่น บันดาลให้นายโชตหลงทาง เที่ยวเดินวนเวียนรอบวัด หาทางกลับบ้านไม่ถูก
นายโชติยืนยันว่าที่หาทางกลับบ้านไม่ถูกในครั้งนั้นมิใช่เพราะความเมาอย่าง แน่นอน แต่เป็นเพราะบางสิ่งบางอย่างลึกลับเชื่อว่าเป็นเพราะอิทธิฤทธิ์ของหลวงพ่อ จันทร์ กระทำให้ตนต้องสำนึกว่าสงฆ์ผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ มีศีล สมาธิและวิทยาคมย่อมกระทำบางสิ่งที่เหนือธรรมชาติ ต่างจากสามัญธรรมดา
ตั้งแต่เหตุการณ์วันนั้นเป็นต้นมานายโชติได้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในอิทธิคุณของหลวงพ่อจันทร์เป็นอันมาก

2.ไม่ค่อยจำวัด ในยามเวลากลางคืน
  บรรดาศิษย์ที่เคยอยู่รับใช้หลวงพ่อจันทร์ กล่าวพ้องต้องกันว่าในยามกลางคืนท่านไม่ค่อยจะจำวัด มักใช้เวลาในเพลากลางคืนสำหรับการสวดมนต์ภาวนา ทำสมาธิ กรรมฐาน เขียนผงเรียกสูตรนาม ทำพระ หรือปลุกเสกพระ โดยเฉพาะในคืนที่เป็นวันธรรมสวนะ ท่านมักทำพระ ปลุกเสกพระสมเด็จเสมอๆ
หลวงพ่อจันทร์มักทำพิธีปลุกเสกพระเพียงลำพัง ท่านจะใช้เวลานั่งบริกรรมปลุกเสกพระเกือบตลอดทั้งคืน และทำการปลุกเสกติดต่อกันหลายราตรี กระทั่งประจักษ์แจ้งว่าเป็นการเพียงพอเพียบพร้อมอิทธิสรรพคุณแล้วจึงจักออก แจกจ่าย
ด้วยความพิถีพิถันในการประสิทธิอิทธิคุณในองค์พระดังกล่าว จึงยังผลให้ผู้มีพระสมเด็จหลวงพ่อจันทร์บูชา ต่างมั่งมีมากมายหลากหลายประสบการณ์

3.สติปัฏฐาน
  เพราะเหตุที่หลวงพ่อจันทร์ได้ใช้เวลากลางคืนปฏิบัติกิจต่างๆ ไม่ค่อยได้พักผ่อน ไม่ค่อยได้จำวัดในเวลากลางคืนเลย ท่านจึงต้องใช้เวลาพักผ่อนในตอนกลางวัน ช่วงบ่ายเป็นประจำ
แต่น่าแปลกนักที่ว่า ขณะที่ท่านกำลังจำวัดอยู่นั้นเมื่อพระบวชใหม่รูปใดซึ่งมักชอบท่องจำบทสวด เสียงดังอยู่ในกุฏิใกล้ๆ กันนั้น เกิดออกเสียงอักขระในบทสวดมนต์ผิดพลาดคลาดเคลื่อนแม้เพียงตัวเดียว หลวงพ่อจันทร์ก็จะร้องทักเสียงที่ผิดอักขระทันที ทั้งๆ ที่ท่านกำลังจำวัดอยู่
จึงเป็นที่เชื่อกันว่าหลวงพ่อจันทร์ คงปฏิบัติแนวสติปัฏฐานด้วย ดังนั้น แม้ยามนอนหลับขณะกำลังจำวัดอยู่ ก็ยังมีสติกำกับ ยังได้ยิน สามารถรับรู้อยู่ตลอดเวลา

ศึกษาตำราหลวงพ่อเพชร
  มีตำราเป็นสมุดโบราณเล่มหนึ่งซึ่งบันทึกเรื่องราวเวทวิทยาคม มนตราอักขระเลขยันต์ พิธีอุปเท่ห์ต่างๆ ที่สืบทอดกันมาแต่บรรพกาล เป็นตำราของเก่าที่ หลวงพ่อเพชร วชิโร อดีตเจ้าคณะอำเภอเกาะสมุย รูปที่สอง พระเถราจารย์ที่ชาวประชานับถือกันว่าเป็น พระสงฆ์ระดับเหนือโลก องค์หนึ่งของสุราษฎร์ธานี
หลวงพ่อจันทร์ได้เคยนำมาศึกษาฝึกฝนทดลองปฏิบัติในครั้งที่หลวงพ่อเพชรยัง อยู่ในวัยหนุ่ม ตำราเล่มนี้มีชื่อเรียกขานในหมู่ลูกศิษย์ว่า ” ตำรา ตาขาว ” ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งตามนามของท่านผู้เป็นเจ้าของเดิม ด้วยเหตุที่ ตาขาว
ผู้เป็นเจ้าของเดิมของตำราพระเวทเล่มนี้ มีศักดิ์ (ตามความเกี่ยวเนื่องทางสายเลือด) เป็นปู่ของหลวงพ่อจันทร์ ดังนั้นหลังจากหลวงพ่อเพชรมรณภาพแล้ว ตำราดังกล่าวจึงตกทอดสู่หลวงพ่อจันทร์ ท่านจึงได้รับตำราศักดิ์สิทธิ์ไว้เป็นคู่มือปฏิบัติ ประกอบกับหลวงพ่อจันทร์เคยมีพื้นฐานที่แน่นหนามั่นคงในทางเอกัคตาจิต ตั้งแต่ที่เคยบวชเป็นสามเณร เคยฝึกฝนปฏิบัติอยู่กับหลวงพ่อเพชร ครั้นมีตำราคู่มือปฏิบัติที่พร้อมสรรพ จึงทำให้ท่านสามารถบรรลุสัมฤทธิ์ผลได้ แม้จะเป็นการศึกษาด้วยตนเอง

4.หนังเหนียว
  นายสามารถ เรืองโรจน์ เคยเห็นหลวงพ่อจันทร์ นั่งลับมีดโกนตราตุ๊กตาคู่ ซึ่งเป็นมีดโกนที่ผู้ใช้ต่างเชื่อถือในคุณภาพ ความคมกริบ เพื่อไว้สำหรับปลงเกศาในวันโกน หลวงพ่อจันทร์นั่งลับมีดโกนอยู่ครู่ใหญ่จนคมกริบดีแล้ว ท่านได้ใช้มีดโกนเล่มนั้นกรีดแขนของท่านอย่างแรง นายสามารถเห็นแล้วตกใจ คิดว่าเลือดคงไหลโกรกเป็นแผลเหวอะหวะ และงุนงงว่าอยู่ดี ๆไยท่านถึงได้ทำร้ายตัวเองเช่นนั้น
แต่ปรากฏว่าคมมีดโกนมิอาจทำอันตรายใดๆ ให้แก่ผิวหนังของท่านได้ แม้ท่านจักได้กรีดซ้ำหลายหนก็ตาม
อีกครั้งหนึ่ง นายชา ชมจันทร์ อาสาลับมีดโกนให้หลวงพ่อจันทร์ ได้นั่งลับมีดอยู่เป็นเวลานานกระทั่งเห็นว่าคมดีแล้วก็ยื่นมีดถวายท่านพร้อม กับพูดทำนองว่า ”มีดคมขนาดนี้ รับรองปลงผม 2-3 หัว ใช้เวลาไม่กี่นาที”
หลวงพ่อจันทร์ รับมีดโกนมามองดูแล้วกล่าวว่า ”คมยังไง” พร้อมกับใช้มีดโกนนั้นกรีดแขนของท่านอย่างแรง แทนที่เลือดจะไหลทะลัก ผิวหนังเป็นแผลตามรอยมีดกรีดดั่งสามัญวิสัยตามปกติกลับไม่ เป็นว่าไม่ระคายผิวท่านเลย
นายชาเห็นดังนั้นแล้วถึงร้องไห้โฮ บ่นว่า อุตสาห์นั่งลับอยู่ตั้งนานนึกว่าจะคม ที่ไหนได้กลับเชือดเนื้อเถือหนังหลวงพ่อจันทร์ก็ไม่เข้า

เขียนผง
  เดิมทีเดียวหลวงพ่อจันทร์เขียนผงลบผงเก็บไว้สำหรับผสมแป้งหอมทาตัว เมื่อผู้ใช้หลายคนได้ประจักษ์ถึงสรรพคุณในทางเมตตามหาเสน่ห์ มหานิยม มีประสบการณ์บ่อยๆ เข้า ผู้ศรัทธาเลยขอให้ท่านทำเป็นพระ เมื่อผู้ศรัทธารบเร้าเรียกร้องมากๆ เข้าในที่สุดหลวงพ่อจันทร์ก็ได้ตอบสนองคำร้องขอของผู้ศรัทธา จึงทำพระรูปสี่เหลี่ยมอย่างที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า พระสมเด็จ ออกมา โดยพระรุ่นแรกของท่านสร้างออกมาประมาณหลังจาก พ.ศ. 2510
อนึ่ง หลวงพ่อจบ เรืองโรจน์ เคยบอกว่า หลวงพ่อจันทร์เป็นผู้มีความสามารถชำนาญใน การทำยันต์เต่าเรือน มาก โดยได้ศึกษาเคล็ดวิธีจากตำราตาขาวฉบับที่หลวงพ่อเพชร วชิโร เคยศึกษา
นายสามารถ เรืองโรจน์ สมัยเมื่อเป็นนักเรียนชั้นประถมและเป็นเด็กวัดด้วย เคยแอบดูหลวงพ่อจันทร์ทำผงพระในกุฏิเวลากลางคืน เห็นท่านขึงผ้าขาวไว้ผืนหนึ่งที่หน้าโต๊ะบูชา ความสูงของผ้าอยู่ระดับศีรษะ (เวลานั่ง) แล้วท่านก็ก้มลงเขียนอักขระในกระดานชนวนที่วางอยู่ด้านล่างของผ้าขาว
แท่งดินสอที่ใช้เขียนในอักขระเป็นแท่งผงปั้นที่ท่านได้จัดทำขึ้นเอง เขียนไปบริกรรมไปจนหมดแท่งผง แล้วท่านก็ลุกขึ้นทำการกวาดผงจากข้างบนผ้าขาวที่ขึงไว้ด้านบน
นายสามารถยืนยันว่า ไม่เคยเห็นท่านกวาดผงจากกระดานชนวน เพราะผงได้ลอยขึ้นไปอยู่ทางด้านบนของผ้าขาวที่ขึงไว้ข้างบนซึ่งไม่ทราบว่า ลอยขึ้นไปได้อย่างไรกัน
นับว่าหลวงพ่อจันทร์มีกรรมวิธีทำผงที่แปลกกว่าใคร เพราะโดยส่วนมากพระคณาจารย์ต่างๆ มักใช้ผงพระจากกระดานชนวน หรือที่ทะลุลงใต้กระดานชนวน แต่หลวงพ่อจันทร์กลับใช้ผงที่ลอยทะลุผ้าขึ้นไปอยู่บนด้านบนของผ้าที่ขึงไว้ เหนือศีรษะอีกทีหนึ่ง เป็นเรื่องอัศจรรย์มาก

วิธีการสร้างพระผงของหลวงพ่อจันทร์
  ท่านจะทำออกมาเรื่อยๆ คือเมื่อท่านเขียน ผงนอโม ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ฯลฯ ได้จำนวนพอสมควรแล้วก็เอามาผสมกับมวลสารอื่นๆ เช่น เกสรดอกไม้ ผงถ้วยนรสิงห์บดละเอียด
 แร่เหล็กไหลเกาะพะงัน ที่ตกทอดมาจากหลวงพ่อเพชร (เฉพาะยุคแรกเท่านั้น) ข้าวก้นบาตร กล้วยหอม ฯลฯ แล้วตำให้อยู่ในตัวครกเล็กโดยส่วนมาก
โดยเฉพาะในยุดแรกๆ หลวงพ่อจะเป็นผู้ดำเนินการด้วยตัวท่านเองหมดทุกขั้นตอน ทั้งการผสม การตำ การกดพิมพ์ ภายหลังมีพระเณรมาช่วยตำ ช่วยกดพิมพ์บ้าง
 แต่ก็อยู่ภายใต้การดูแลควบคุมอย่างใกล้ชิดของท่าน
แม่พิมพ์ที่ใช้สร้างพระสมเด็จของหลวงพ่อจันทร์ โดยส่วนมากมักเป็นแม่พิมพ์ที่แกะจากหินลับมีดโกน ซึ่งมีความเปราะ แตกหักง่าย ใช้ได้ไม่นานก็มักชำรุดต้องเปลี่ยนแม่พิมพ์ใหม่
เป็นเหตุให้ พระของท่านมีรูปแบบศิลปะพิมพ์ทรงแยกย่อยได้ประมาณกว่า 30 พิมพ์
ท่านก็เลือกฤกษ์ยามตามพิธี เริ่มทำการปลุกเสกโดยลำพัง ติดต่อกันไปเรื่อยๆ ตามอุปเท่ห์กลวิธีที่เล่าเรียนมา กระทั่งถูกต้องครบถ้วนตามกระบวนการตำราพิธี มั่นใจในอิทธิคุณ
อันสัมฤทธิ์แล้ว ก็จักนำมาออกแจกจ่ายให้ญาติโยม

ด้วยเหตุนี้ ยุคสมัยอ่าวโหลกหลำมีสถานภาพเป็นท่าเรือประมงสำคัญแห่งหนึ่งในภาคใต้ฝั่ง ตะวันออก เรียกประมงจากจังหวัดต่างๆ ได้แวะเวียนอาศัยพักหลบลม จำหน่ายปลา
 พักผ่อนและเติมเสบียงอยู่เสมอ พวกเรือประมง (ยุคนั้น) โดยมากเป็นคนในแถบที่ชาวเกาะเรียกว่า “พวกเมืองใน” คือพวกชาวไทยที่พูดสำเนียงภาคกลางในจังหวัดชายทะเลละแวกปริมณฑลของกรุงเทพ ฯ
เช่น สมุทรปราการ สมุทรสาคร และ ”พวกวันอ๋อ” หรือ พวกตะวันออก เช่น ระยอง จันทบุรี รวมทั้งที่มาจากเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กับปากน้ำหลังสวนชุมพร จึงทำให้พระสมเด็จหลวงพ่อจันทร์จำนวนมากได้รับการแจกจ่าย
ไปอยู่ตามจังหวัด ชายทะเลเหล่านั้น

พระสมเด็จของหลวงพ่อจันทร์ ปรากฏอิทธิคุณในด้านต่างๆ ทั้ง คงกระพัน มหาอุตม์ เมตตา มหาเสน่ห์ ฯลฯ แต่ที่โด่งดังเป็นอันมากก็คือ เรื่องมหาเสน่ห์ แต่ ณ ที่นี้ จะของดเว้นกล่าวถึงในส่วนรายละเอียด เพราะเกรงว่าอาจมีผลข้างเคียงในทางที่กลายเป็นการชี้โพรงให้กระรอก เพราะการบันทึกเรื่องราวไว้เป็นลายลักษณ์อักษรสิ่งตีพิมพ์นั้น เป็นสิ่งที่ควรอยู่ถาวร ทั้งสามารถแพร่หลายไปได้โดยกว้าง มิอาจจำกัด ควบคุม จำแนกรับรู้ข่าวสารได้ ไม่ได้มีข้อจำกัดเหมือนการเล่าด้วยวาจา ที่อาจเลือกเฟ้นผู้รับมีวงจำกัดในการเผยแพร่ และคงอยู่แต่ในเพียงความทรงจำ
อีกทั้งการนำอิทธิคุณ ความศักดิ์สิทธิ์ปาฏิหาริย์ของวัตถุบูชาแทนพระรัตนตรัย ไปใช้ในการเสริมสนองขุนเลี้ยงตัณหา โลภะ โทสะ โมหะ และการกระทำข่มเหงกดขี่ บีบบังคับ เอารัดเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ ย่อมมิใช่เจตนารมณ์ของการเกิดแห่งวัตถุบูชา และมิใช่วัตถุประสงค์ของท่านผู้สร้าง ผู้เสกวัตถุบูชา เหล่านั้น อิทธิคุณความศักดิ์สิทธิ์ปาฏิหาริย์ของวัตถุบูชาแทนพระรัตนตรัยควรมีไว้ สำหรับเพื่อการป้องกัน ปกป้องให้รอดปลอดพ้นจากทุจริตมิจฉากรรม จำกัดกรรมที่มิควรประสงค์มิให้บังเกิดหรือเสริมสนองเอื้ออำนวยกิจอันควรแก่ การณ์เท่านั้น
ด้วยข้อจำกัดของการสื่อสารที่มิอาจเฟ้นผู้รับการสื่อสารได้ เพื่อมิให้เกิดผลข้างเคียงในทางลบ แม้พระสมเด็จของหลวงพ่อจันทร์จักมีประสบการณ์มากมายในทางนี้
ก็ต้องกราบขออภัยที่จำเป็นต้องงดเว้นการกล่าวถึงวิธีการรายละเอียดแห่งการ ปรากฏผลด้านมหาเสน่ห์ของสมเด็จหลวงพ่อจันทร์ไว้ ณ ที่นี้


อนึ่ง หลวงพ่อจันทร์ ได้มีข้อห้ามประการสำคัญข้อหนึ่ง สำหรับผู้ใช้พระของท่านนั่นคือ
ห้ามอมพระ (ห้ามเอาพระใส่ปากอม) โดยเด็ดขาด
ที่มา http://www.wat-chaloklum.com/loungporjun.php















1039.พระบูชา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พิมพ์ยืน เนื้อเรซิ้น สูง 11.3 นิ้ว ปี20  พิธีใหญ่ วัดบวร โดยพ่อแม่ครูอาจารย์สายพระป่า สภาพสมบูรณ์ เปิดเบาๆ 1,900-

    พระรูปเหมือนยืนบูชา หลวงปู่มั่น ( พระอาจารย์ใหญ่ ) ภูริทัตโต เนื้อเรซิ่นสูง 11.3 นิ้ว พิธีสุดยิ่งใหญ่ ณ.วัดบวรนิเวศฯ กทม. ปีพ.ศ.2520 
พระรูปเหมือนชุดนี้จะมีสามหลวงปู่ 1.หลวงปู่มั่น 2.หลวงปู่ฝั้น 3.หลวงปู่แหวน เป็นเนื้อเรซิ่นล้วนๆ ปัจจุบันชุดนี้ของมงคลหายากไปแล้วครับ

รูปภาพเป็นข้อมูลอ้างอิงครับ



















1040.พระบูชาครูบาเจ้าศรีวิชัย ออกวัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่  ใต้ฐานฝังเหรียญ พระประจำวัน หลัง พระธาตุดอยสุเทพ ปี32  เนื้อเรซิ่น หน้าตัก 5 นิ้ว สูง 7.5 นิ้ว
พิธีปลุกเสกหมู่ ณ วัดพระธาตุดอยสุเทพ สภาพสมบูรณ์ เปิดบูชา
2,100-














1041.หรียญ รุ่น1 หลวงปู่หา สุภโร วัดสักกะวัน(ภูกุ้มข้าว) อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ หายากแล้วนะครับ สวยๆ 600-

ปิดท่าน J999 ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 22, 2019, 04:15:07 PM โดย thesun »



1041.หรียญ รุ่น1 หลวงปู่หา สุภโร วัดสักกะวัน(ภูกุ้มข้าว) อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ หายากแล้วนะครับ สวยๆ 600-






ขอจองครับ



1042.เปิดบูชา เหรียญบาตรน้ำมนต์ รุ่นแรก หลวงปู่หลอด ปโมทิโต วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม) ลาดพร้าว กรุงเทพฯ อธิฐานจิต ปี2548
เนื้อเงินจัดสร้าง 50เหรียญ +  เหรียญหลวงพ่อขันตี อายุ66ปี ปี52 เนื้อปีกเครืองบิน สวยๆ
เปิดคู่ 2,800

ปิด บาตรน้ำมนต์หลวงปู่หลอดครับ

'พระเครื่องของหลวงปู่หลอด ดีคักเด้อ
อยากได้ของเผิ่น ก็ให้ฟ้าวขอเด้อ ต่อไปหายากแท่'…"

ลป.อ่อนสา สุขกาโร เมตตากล่าวแก่ลูกศิษย์ถึงวัตถุมงคลของ ลป.หลอด ปโมทิโต








ปิด บาตรน้ำมนต์หลวงปู่หลอดครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 07, 2019, 03:10:36 PM โดย thesun »




 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi