ประกันตัวผู้ต้องหาคืออะไร? ประกันตัวมีแบบไหนบ้าง?(อ่าน 1337 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

มีไม่บ่อยครั้งนักที่คนทั่วไปจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุไม่คาดฝันอย่างการตกเป็นผู้ต้องหาในคดีความต่างๆ ทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม แต่หากเมื่อถึงเวลาฉุกเฉินอาจจำเป็นจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ของกฎหมาย แต่ก็ไม่อาจทราบได้ว่า การประกันตัวผู้ต้องหานั้น แท้จริงแล้วคืออะไร โดยเฉพาะเมื่อพบเห็นคำนี้ตามหน้าฟีดข่าวเรื่องการขอประกันตัวในรูปแบบต่างๆ และการประกันตัวมีรูปแบบไหน อยู่ในขั้นใดได้บ้าง
 
ขอประกันตัว คืออะไร?

การขอประกันตัวหรือการขอปล่อยชั่วคราว คือ การที่ผู้ต้องหา จำเลย หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้พิจารณาปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว ในระหว่างการพิจารณาคดี เมื่อผู้ต้องหาทำเรื่องขอปล่อยชั่วคราวในชั้นใดจะสามารถใช้ได้เฉพาะชั้นนั้นเท่านั้น เมื่อชั้นของการขอปล่อยชั่วคราวเปลี่ยนไปต้องยื่นขอปล่อยชั่วคราวใหม่

ประเภทของการขอประกันตัว

การขอประกันตัวหรือขอปล่อยตัวชั่วคราว อาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.   การปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีประกัน คือ การปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยแบบชั่วคราวโดยไม่ต้องทำสัญญาประกันและไม่ต้องมีหลักประกัน เพียงแต่ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยสาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะมาตามนัดหรือหมายเรียกของเจ้าพนักงานหรือศาลเท่านั้น

2.   การปล่อยตัวชั่วคราวโดยมีประกัน คือ การปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยแบบชั่วคราวโดยผู้ร้องขอประกันหรือผู้ประกัน ต้องทำสัญญาประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาลว่าจะปฏิบัติตามนัดหรือตามหมายเรียกต่อเจ้าพนักงานหรือศาล ถ้าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มาตามนัดหรือหมายเรียก ผู้ประกันจะถูกปรับตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญาประกัน

3.   การปล่อยตัวชั่วคราวโดยมีประกันและหลักประกัน คือ การปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยแบบชั่วคราวโดยผู้ประกันหรือผู้เป็นหลักประกัน ต้องทำสัญญาประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาลว่าจะปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของเจ้าพนักงานหรือศาล และผู้ประกันหรือผู้เป็นหลักประกัน ต้องวางหลักประกันไว้เพื่อที่จะสามารถบังคับเอากับหลักประกันตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ได้ หากจำเลยทำผิดสัญญาประกัน
 
ขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลจะทำได้ในชั้นใดบ้าง

1.   ขอประกันตัวระหว่างชั้นฝากขัง คือ ขณะเป็นผู้ต้องหายังไม่ได้ถูกสั่งฟ้องคดี
2.   ขอประกันตัวในศาลชั้นต้น คือ กรณีอัยการเป็นโจทก์ฟ้องได้ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นแล้ว หรือ กรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเอง ศาลชั้นต้นได้มีการไต่สวนมูลฟ้องและมีการประทับรับฟ้องแล้ว
3.   ขอประกันตัวชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยตามความผิดอาจมีการขอประกันตัวได้
 
ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอประกันตัว

1.   ผู้ต้องหาหรือจำเลย
2.   ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง  เช่น บุพการี  ผู้สืบสันดาน  คู่สมรส  ญาติพี่น้อง  ผู้บังคับบัญชา เป็นต้น

ขอยื่นประกันตัวได้ที่ไหน
1.   หากผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่และยังมิได้ถูกฟ้อง ให้ยื่นต่อพนักงานสอบสวน หรือ พนักงานอัยการ
2.   หากผู้ต้องหาถูกหมายขังและยังไม่ถูกฟ้องให้ยื่นต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีนั้น ๆ
3.   หากจำเลยที่ศาลประทับฟ้องแล้ว สามารถขอต่อศาลที่ประทับฟ้องนั้นได้ โดยแบ่งเป็น
  • •   กรณีสำนวนยังอยู่ที่ศาลชั้นต้น - ให้ร้องขอต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น ในกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวได้ แต่หากศาลชั้นต้นไม่เห็นด้วยให้รีบส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเพื่อสั่งต่อไป แล้วแต่กรณี
    •   กรณีสำนวนอยู่ที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้ว จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นส่งต่อมายังศาลสูงต่อไป โดยศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอะไรเองไม่ได้ เพราะสำนวนมิได้อยู่ที่ศาลชั้นต้นแล้วศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจ หรือจะยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาโดยตรงก็ได้แล้วแต่กรณี

ทำไมผู้ต้องหาบางคนถึงยื่นประกันตัวไม่ได้

1.   ศาลสั่งให้ไม่ประกันตัว ด้วยเหตุผลดังนี้
(1)   ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี
(2)   ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน
(3)   ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น
(4)   ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกัน ไม่น่าเชื่อถือ
(5)   การอนุญาตให้ประกันตัวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล
2.   พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว คือ มีการระบุในคำร้องขอฝากขังว่าขอคัดค้านการประกันตัวผู้ต้องหา
3.   ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งหรือไม่มีการงาน เนื่องจากอาจทำให้เชื่อได้ว่า อาจมีการหลบหนีได้โดยง่ายและไม่อาจตามตัวได้พบ
4.   ผู้ต้องหาได้มีการรับสารภาพในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณาในศาล ซึ่งการรับสารภาพในชั้นศาลนี้หากคดีความผิดโทษจำคุกน้อยกว่า 5 ปี ศาลจะสามารถพิจารณาเลยได้โดยไม่ต้องสืบพยาน
5.   ไม่มีแจ้งถึงเหตุผลในการขอประกันตัวให้ศาลทราบ เนื่องจากการขอประกันตัวต้องเขียนเหตุแสดงให้ศาลเห็นว่ามีเหตุผลอย่างไรที่จะขอประกันตัวออกไปในคำร้อง เช่น ขอไปรักษาตัวเพราะเป็นโรคที่ต้องทำการรักษาอยู่สม่ำเสมอก็ต้องมีใบรับรองแพทย์มายืนยันต่อศาล
6.   หลักทรัพย์ที่มาขอใช้ประกันตัวไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งหากมีการวางประกันต่อศาล โดยการใช้หลักทรัพย์หลักทรัพย์นั้นต้องไม่ต่ำกว่ากำหนดที่ศาลให้ประกัน และควรเป็นหลักทรัพย์ที่คำนวณเป็นจำนวนเงินแน่นอนได้ เช่น ที่ดิน ตั๋วแลกเงิน สลากออมสิน เงินสด เป็นต้น กรณีใช้บุคคลเป็นเป็นประกัน ต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งมีหน้าที่การงานหรือมีรายได้แน่นอน อีกทั้งต้องเป็นผู้มีความสัมพันธ์กับผู้ต้องหาหรือจำเลย หรือเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิด
7.   ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้ไม่น่าเชื่อถือ คือ เป็นผู้ที่เคยได้รับการปล่อยตัวมาแล้วครั้งหนึ่งแต่กลับหลบหนี
8.   คดีที่ก่อให้เกิดผลกระทบโดยทั่วไปต่อความมั่นคง เศรษฐกิจ การเมือง และความเสียหายต่อประชาชนโดยทั่วไป
 
ช่วยดูแลคุ้มครองผู้ขับขี่ที่ต้องขอประกันตัวในคดีอาญาด้วย ประกันรถยนต์ตามโปรไฟล์ "การันตีถูกจริง" ประกันรถยนต์ชั้น 1 ..โปรไฟล์ยิ่งดี ความเสี่ยงยิ่งต่ำ เบี้ยยิ่งถูก.. โปรไฟล์คุณอาจดีกว่าที่คุณคิด เบี้ยเริ่มต้น 6,999 บาท และยังถูกลงได้อีก หากเลือกแบบมีดีดัก และระบุชื่อผู้ขับขี่ (ลดสูงสุดเหลือเพียง 3,999 บาท) สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/20 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง  Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com




 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi