[Thesun]พระกรรมฐานพ่อแม่ครูอาจารย์และพระเกจิอาจารย์ทั่วไป(อ่าน 671514 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

123.พระยอดธง วัดโบสถ์เมือง จ.จันทบุรี ปี2510 พิมพ์เล็ก พระดี พิธีใหญ่ หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ พ่อท่านคล้าย ร่วมปลุกเสก

ของดีราคาเบา น่าใช้ เลี่ยมพร้อมใช้
1600-

ผสมแผ่นยนต์คณาจารย์ต่างๆ มาหล่อหลอมรวมกันเทเป็นพระยอดธงมีพิธีการสร้างดี เนื้อหาดี นั่นคือ พระยอดธง วัดโบสถ์เมือง จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2510 ในคราวหล่อพระประธาน 4 องค์ เพื่อนำไปถวายวัดในอำเภอโป่งน้ำร้อน ที่ยังไม่มีพระประธานเลย ได้แก่ วัดหนองตาคง, วัดจางวาง, วัดตามูล และ วัดผักกาด พระยอดธงวัดโบสถ์เมืองนี้ มีการสร้างด้วยกัน 4 เนื้อคือ.
1 เนื้อทองคำ จำนวน 32 องค์
2 เนื้อเงิน จำนวน 109 องค์
3 เนื้อโลหะทองประสม(รมดำ) ทั้งพิมพ์ใหญ่ และ พิมพ์เล็ก จำนวน 5,500 องค์
4 พระเนื้อผง จำนวน 1,000 องค์
โดยมีพระเกจิ อาจารย์ที่มีชื่อโด่งดังในยุคสมัยนั้นได้ส่งแผ่นยันต์ และ มวลสารมาเป็นชนวนในการหล่อพระประธาน และ พระยอดธงถึง 108 ท่านด้วยกัน เช่น
1 พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้
2 หลวงพ่อคล้าย จันดี
3 หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
4 หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
5 หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
6 หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธราช
7 หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์วรวิหาร
8 หลวงปู่นาค วัดระฆังโฆษิตาราม
9 พระครูสมุห์อำพล วัดปราสาทฯ
10 หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่าฯ
11 หลวงพ่อหอม วัดซากหมากฯ
12 หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ
เป็นต้น
และนอกจากนั้นทางวัดยังได้จัดพิธีพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่โดยมีการนิมนต์ พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยนั้น และ ในละแวกภาคตะวันออกมาร่วมพิธี นั่งปรก ปลุกเสก เช่น
1 หลวงปู่นาค วัดระฆังโฆษิตาราม
2 หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่
3 พระราชจันทควี วัดโบสถ์เมือง
4 พระธรรมวงศาจารย์ วัดสวนมะม่วง
5 พระสุขุมธรรมาจารย์ วัดหงส์รัตนาราม
6 พระครูวิมลจันทรังสี วัดบน (บ่อพุ)
7 พระครูพิพิธพัฒนาภรณ์ วัดพลับ บางกะจะ
8 หลวงพ่อสวน วัดบางกระดาน
9 หลวงพ่อกี๋ วัดแหลมมะขาม
10 หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย
11 หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ฯ
12 หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
13 หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
14 หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช
15 หลวงพ่ออินทร์ วัดลาด
16 หลวงพ่อจันทร์ วัดสระเกศ
17 หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส
เป็นต้น.
เห็นไหมครับ แค่รายนามพระเกจิอาจารย์ที่ลงแผ่นยันต์ และ ร่วมปลุกเสกก็สุดยอดแล้วครับ พระยอดธงวัดโบสถ์เมืองนี้ คนพื้นที่เมืองจันทบุรี เขาเก็บกันมานานแล้ว เพียงแต่ว่าไม่ค่อยมีคนทราบประวัติมากนัก แต่ต่อไปผมคิดว่าคงจะหาได้ยากขึ้นแน่นอน สำหรับพระยอดธง วัดโบสถ์เมือง

ท่านพบเจอก็อย่าปล่อยให้พระดี พิธีเยี่ยมหลุดมือไปก็แล้วกันนะครับ.











« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 19, 2017, 11:08:37 PM โดย thesun »



หลวงพ่อโตปิดไปยังคับ



หลวงพ่อโตปิดไปยังคับ
ยังอยู่ครับ ขอบคุณครับ



124.พระชุดของขวัญ กรรมฐาน กรอบกระจกเก่าไม่ต่ำกว่า 30 ปี   2,250- ปิดครับ ท่านj999

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2017, 01:24:12 PM โดย thesun »



125.กริ่งรุ่นแรก หลวงปู่ลือ สุขปุญโญ  วัดป่านาทามวนาวาส อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร  ก้นอุดผง หายากครับ

ส่วนมากจะเห็นแต่ก้นตัน
550-  ปิดครับ ท่านj999

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2017, 01:24:20 PM โดย thesun »



126.เหรียญ 6 รอบ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา สวยๆ 450- ปิดครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2017, 01:24:27 PM โดย thesun »



127.เหรียญหลวงปู่มั่น ออกวัดบวร ปี 20 พิมพ์ใหญ่ พิธีใหญ่สายพระป่า สวยๆ 450- ปิดครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2017, 01:24:41 PM โดย thesun »



128.ล๊อคเก็ตยุคต้นๆหลวงพ่อสร้อย วัดเลียบราษฏร์บำรุง บางซ่อน ดุสิต กทม สวยๆ 500- ปิดครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2017, 01:24:50 PM โดย thesun »



125.กริ่งรุ่นแรก หลวงปู่ลือ สุขปุญโญ  วัดป่านาทามวนาวาส อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร  ก้นอุดผง หายากครับ

ส่วนมากจะเห็นแต่ก้นตัน
550-










หลวงปู่ลือ ปุญโก ผีคร้าม วิญญาณเกรง !!!

บุญญาภินิหาร “พระลือโลก ผีย่าน” โดย ตะวัน ส่องหล้า

พระภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมในสายของพระอาจารย์มั่นนั้น ปัจจุบันนี้เรียกได้ว่าหายากเต็มที ยิ่งวันเวลาผ่านไป หลายท่านก็ดับขันธุ์เหลือเพียงลูกศิษย์ชั้นต่อมาที่พยายามจะนำคำสั่งสอนนั้นมาปฏิบัติกันเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์
อย่างเมื่อไม่นานมานี้ พระภิกษุ ผู้ที่ถือว่าเป็นพระสายวิปัสสนาศิษย์พระอาจารย์มั่นซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าองค์สุดท้ายก็ว่าได้ ก็ดับขันธ์ละจากโลกนี้ไปท่ามกลางความอาลัยของเหล่าศิษย์ทั้งหลาย
พูดถึงหลวงปู่รูปนี้ หลายท่านที่เคยเดินทางไปยังวัดป่านาทามวนาวาส หรือวัดป่าภูน้อย บ้านนาทาม ตำบลป่าไร่ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหารนั้น คงจะคุ้นเคยกันดีกับฉายา “ พระลือโลก ผีย่าน” ที่ชาวบ้านเรียกขาน “หลวงปู่ลือ ปุญโก” หรือ “ ท่านพระครูคัมภีร์ภาวนาจารย์” เจ้าอาวาสผู้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมาด้วยศรัทธาที่ชาวบ้านทุกคนมอบให้
หลวงปู่ลือนั้น เดิมทีมีชื่อว่า “ลือ ใจทัส” เป็นบุตรคนที่สอง ในจำนวนพี่น้องสี่คน บิดามีชื่อว่านายจันทร์ ส่วนมารดาคือนางพัน ใจทัส ชาวบ้านป่าไร่ ซึ่งพูดง่ายๆ ท่านคือเลือดเนื้อเชื้อไขของชาวป่าไร่โดยกำเนิดแท้ๆ
เมื่อยามที่เป็นเด็กชายตัวน้อยๆนั้น ว่ากันว่าหลวงปู่ลือเป็นเด็กที่อ่อนแอ สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรงนัก พ่อแม่บอกว่าเลี้ยงยาก เกรงว่าลูกชายจะตาย ไม่รอด จึงเลยบนบานเอาไว้ว่า ถ้าหากลูกชายหายดีมีสุขภาพแข็งแรงเมื่อไร่ ก็จะยกให้กับวัดเพื่อบรรพชาเป็นสามเณรตลอดไป
ในตอนนั้นครอบครัวของหลวงปู่ย้ายไปอยู่ที่บ้านป่าชาติ ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านเดิมไม่มากนัก หากแต่ความเจริญไม่ค่อยมี เนื่องจากสมัยที่หลวงปู่เป็นเด็กอยู่นั้น บ้านป่าไร่ ป่าชาติตั้งอยู่กลางป่าใหญ่ เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายมากมาย
ในที่สุด อาการป่วยของท่านที่กระเสาะกระแสะตลอดเวลามานั้นก็หาย สามารถวิ่งเล่นกับเพื่อนฝูงได้อย่างที่ใจปรารถนา ซึ่งนับได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่หลวงปู่เคยเล่าว่าเหมือนกับเกิดใหม่ เพราะไม่เคยคิดเลยว่าตนเองจะหายสามารถวิ่งเล่นเหมือนกับชาวบ้านเขาได้ เพราะนึกว่าอย่างไรเสียก็คงจะต้องตายเสียก่อนที่จะโตอยู่แล้ว
วันหนึ่งหลวงปู่ได้พบกับพระธุดงค์รูปหนึ่งมาปักกรดอยู่ริมชายป่าข้างหมู่บ้าน ซึ่งพอเห็นพระมาหลวงปู่ก็เข้าไปกราบนมัสการด้วยความสงสัยใคร่รู้ตามประสาเด็ก ซึ่งพระธุดงค์รูปนั้น ก็กรุณากับท่านมากโดยได้เล่าถึงเรื่องราวการจาริกไปในสถานที่ต่างของพระธุดงค์ ซึ่งต้องผ่านป่า ผ่านภูเขาและหมู่บ้านแล้วหมู่บ้านเล่า เป็นเรื่องราวที่สนุกจับใจหลวงปู่ยิ่งนัก
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลวงปู่ลือซึ่งอยากจะผจญภัยเหมือนกับพระธุดงค์รูปนั้น เฝ้ารบเร้าบิดา มารดาแทบทุกวันว่าเมื่อไหร่จะให้ท่านได้บวชเณรเสียที เพราะถึงตอนนี้ ท่านคิดอยู่แต่อย่างเดียวว่า ถ้าหากบวชเณร บวชพระเมื่อไหร่ก็จะศึกษาวิชาความรู้ทั้งหลายให้มากเข้าไว้ เพื่อที่จะได้ธุดงค์เดี่ยวด้นดั้นเหมือนกระธุดงค์รูปนั้น
ในที่สุด เมื่อพ่อแม่ทนรบเร้าไม่ไหว ก็เลยตัดสินใจบวชเณรให้ลูกชายคนนี้ หากแต่ว่าตอนท่านบวชครั้งแรกนั้นยังเยาว์วัยยิ่งนัก ดังนั้นเมื่อบวชไปได้ไม่เท่าไหร่ จิตใจก็คิดถึงเพื่อนฝูงที่บ้าน แอบหนีออกมาเล่นกับเพื่อนจนกระทั่งต้องสึกออกมา
จากการที่ได้คุยกับหลวงปู่เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านเล่าว่า กว่าชีวิตในผ้าเหลืองจะเข้าที่ท่านต้องบวชอยู่สามครั้งด้วยกัน เพราะหลังจากที่สึกในครั้งแรกนั้น ไม่นานก็บวชใหม่ แล้วก็สึกออกมาอีกครั้ง เพราะยังตัดใจลาจากเพื่อนฝูงไม่ได้จึงกลับมาบ้านอีกที
เมื่อถึงคราวนี้มารดาบอกว่า สมัยที่ยังป่วยอยู่นั้นท่านบนบานเอาไว้ถึงสามครั้งด้วยกัน เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องบวชอีกหน
ซึ่งในคราวนี้ พระอาจารย์สอน น้องชายของบิดาเป็นคนพาท่านไปบวชที่วัดศรีเมือง บ้านนาโป่ง ตำบลดอนตาล อำเภอมุกดาหารในขณะนั้นซึ่งยังไม่เป็นจังหวัดอย่างเช่นปัจจุบันนี้
ตอนนั้นบิดาของหลวงปู่เองก็อยากจะบวชด้วยเหมือนกัน หากแต่มารดาไม่ยอม หลวงปู่จึงจำต้องบวชเรียนอยู่ที่วัดศรีเมือง พักหนึ่งแล้วจึงกลับมาอยู่ที่วัดป่าชาติ แต่ว่าตอนนั้นยังไม่มีการสอนหนังสือที่วัดแห่งนี้ ท่านจึงจำต้องเดินทางไปเรียนอักษรขอม และบาลีไวยากรณ์กับพระอาจารย์อุ่น วัดบ้านโพนสว่าง ซึ่งอยู่ห่างออกไปราว 5 กิโลเมตร ซึ่งหลวงปู่จะต้องเดินเท้าไปเรียนทุกวัน
หลังจากที่จำพรรษาอยู่วัดป่าชาติได้หนึ่งปี พระอาจารย์แก้วซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานจึงได้มารับไปอยู่ที่วัดบ้านโพน ตำบลบ้านเหล่า อำเภอมุกดาหาร (ในขณะนั้น ) เพื่อที่จะให้เรียนวิชามูลกัจจายน์กับหลวงพ่อขาว
หลังจากที่อยู่วัดบ้านโพนได้สองปี จึงย้ายไปเรียนกับอาจารย์เถาที่วัดบ้านแวง จากนั้นจึงย้ายหาที่ศึกษาบาลีไปเรื่อยๆ จนกระทั่งท่านอาจารย์แก้วซึ่งเป็นญาติได้พาไปอุปสมบทที่วัดศิลามงคลในเมืองมุกดาหาร ซึ่งหลังจากที่ได้บวชเป็นพระแล้วนั้น ท่านจึงได้เริ่มที่จะออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อหาประสบการณ์
ในช่วงแรกของการธุดงค์นั้น หลวงปู่ลือเดินทางไปจำพรรษาอยู่ที่แขวงสุวรรณเขต ระเทศลาวอยู่พักใหญ่เพื่อที่จะหัดขานนาคเพื่อเปลี่ยนยัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต ดังนั้นเมื่ออกพรรษาแล้วท่านจึงได้ข้ามมายังฝั่งไทย และได้บวชเป็นพระธรรมยุตที่วัดหัวเวียงอำเภอธาตุพนม
หลังจากที่เปลี่ยนมาเป็นพระธรรมยุต ท่านจึงออกเดินธุดงค์อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นเดินธุดงค์ที่ยาวนานมากในช่วงหนึ่งของชีวิตที่ท่านได้เข้าไปอยุ่ในป่า ก่อนที่จะเดินทางมายังบ้านน้ำก่ำ เพราะทราบข่าวว่า หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้เดินธุดงค์มาอยู่ที่วัดเกาะแก้ว ซึ่งอยู่ใกล้ๆกัน
ซึ่งในครั้งนั้นหลวงปู่มั่น ท่านเดินทางธุดงค์มาจากสกลนคร ตอนนั้นหลวงปู่เล่าว่า หลวงปู่มั่นท่านอายุได้ 70 กว่าแล้ว หากแต่ยังดูแข็งแรง กระฉับกระเฉงเหมือนคนหนุ่มทั่วไป ในขณะที่หลวงปู่ลือเองนั้น เพิ่งจะมีอายุสามสิบกว่าปี จึงมีความคิดว่า อยากจะศึกษาวิปัสสนากับท่าน ดังนั้น จึงฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นและเริ่มออกธุดงค์กับท่านนับจากวันนั้นเป็นต้นมา
หลังจากที่ติดตามหลวงปู่มั่นอยุ่นานพอสมควรเพื่อฝึกปฏิบัติธรรมกับท่านนั้น หลวงปู่จึงหันมาพิจารณาว่า ท่านอยากจะแสวงหาสิ่งใหม่เข้ามาช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ในด้านวิปัสสนา ดังนั้นในเวลาต่อมาจึงได้กราบลาหลวงปู่มั่น เดินทางเข้าสู่ภูพาน ซึ่งในยามนั้นเป็นป่าปิดที่อันตราย หากแต่ด้วยใจที่ยึดมั่นมาตั้งแต่เด็กแล้วนั้นถึงการผจญภัยไปในป่าใหญ่ เหมือนอย่างที่พระธุดงค์เคยเล่าเอาไว้เมื่อสมัยเด็กๆ จึงทำให้หลวงปู่ไม่รู้สึกกลัวอะไร
ซึ่งท่านได้เล่าถึงการเดินธุดงค์ในป่าภูพานครั้งนั้นเอาไว้ว่า ไม่ได้เจอผีร้ายหรือว่าอะไรเหมือนอย่างที่ผู้คนเขากลัวกัน จะเจอบ้างก็แต่พวกรุกขเทวาหรือว่าพวกที่บำเพ็ญเพียร เพื่อบรรลุไปสู่โลกหน้า ซึ่งในความจริงแล้วนั้นหลวงปู่เปิดเผยในเวลาต่อมาว่า สาเหตุที่ท่านเดินทางไปยังเทือกเขาภูพานนั้น เนื่องจากท่านทราบว่าได้มีพระภิกษุชรารูปหนึ่ง ซึ่งผู้คนเชื่อกันว่าท่านเป็นพระอรหันต์ มาจำพรรษาอยู่ที่ภูพาน
เขาเล่ากันว่าพระภิกษุรูปนี้ไปไหนมาไหนไม่ค่อยมีใครได้พบเห็นเท่าไหร่ เขาลือกันว่าท่านสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ ท่านจึงพยายามที่จะเดินธุดงค์ไปค้นหาพระภิกษุรูปนี้ ซึ่งเรารู้จักกันดีในเวลาต่อมาว่าคือ “หลวงปู่เทพโลกอุดร” นั่นเอง
น่าเสียดายที่ความหวังของหลวงปู่ไม่สามารถบรรลุผลได้ ดังนั้นท่านจึงได้เดินทางกลับมายังบ้านไร่ ซึ่งในช่วงนั้นเองที่ชาวบ้านได้นำท่านไปยังวัดร้างแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยุ่บนภูน้อยและพวกชาวบ้านป่าไปพบเข้าจึงอยากจะบูรณะขึ้นมา
หลวงปู่ตัดสินใจปักกลดอยู่ที่นั่นเพื่อที่จะศึกษาสถานที่ ซึ่งในครั้งนี้เองที่ทำให้สมาธิของท่านได้นิ่งนานและลึกไหลเข้าไปสู่ญาณสมาบัติครั้งอดีตกาลที่ผ่านมา และพบว่าครั้งหนึ่งนั้นท่านเคยบำเพ็ญเพียรเป็นฤาษีชีไพรอยู่ในป่าภูน้อยแห่ง และได้มานั่งภาวนาอยู่ที่สถานที่แห่งนี้จนกระทั่งสิ้นอายุขัย
หลวงปู่บอกว่า คนเรานั้นเชื่อกันว่า ถ้าหากสิ้นอายุขัยที่ไหน ถ้าจะกลับมาเกิดใหม่ ชีวิตก็จะวนเวียนว่ายจุติอยู่ในสถานที่สังขารตนเองแตกดับนั่นแหละ ดังนั้นท่านจึงเชื่อว่าสาเหตุที่ท่านเกิดเป็นลูกหลานของชาวบ้านป่าไร่ ก็เพราะในอดีตชาติท่านได้ตายอยู่ในป่าแห่งนี้นั่นเอง
กล่าวกันว่า หลวงปู่ลือนั้น ท่านเป็นพระที่มีวาจาสิทธิ์ พูดสิ่งใด ก็มักจะเป็นไปเช่นนั้นอยู่เสมอไม่เคยผิดเพี้ยนไป จนทำให้ชาวบ้านในจังหวัดมุกดาหารขนานนามท่านเสียใหม่ว่า “ พระลือโลก ผีย่าน” เพราะประสบการณ์ที่ผ่านมาของท่านนั้นหลายครั้งด้วยกันที่ได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้ประจักษ์แก่สายตา ไม่ว่าจะเป็นในหมู่พระภิกษุสงฆ์ที่ออกเดินธุดงค์ด้วยกัน หรือแม้แต่ชาวบ้าน
ปาฏิหาริย์อีกอย่างหนึ่งของหลวงพ่อลือ ก็คือการที่มีคนเล่ากันว่า ท่านยังหยั่งรู้ อนาคตังสญาณ คือหยั่งรู้เรื่องราวในอนาคตได้ล่วงหน้า ดังเหตุการณ์เครื่องบินโดยสารตก ในเขต อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2523 ทำให้ผู้โดยสารตายเกือบหมดทั้งลำ (เหลือบาดเจ็บสาหัสและยังมีชีวิตอยู่ถึงปัจจุบัน 2 –3 คน ตามที่ปรากฏเป็นข่าว) ในเครื่องบินดังกล่าวพระกัมมัฏฐานสายหลวงปู่มั่น ได้ร่วมเดินทางไปด้วย 5 องค์ และได้มรณภาพทั้งหมด คือ พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ พระอาจารย์วัน อุตตโม พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม และพระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม พระอาจารย์ทั้ง 5 องค์ดังกล่าวได้รับนิมนต์ไปร่วมพิธีสำคัญที่วัดมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพฯ
และเจ้าภาพได้มีการนิมนต์หลวงปู่ลือ ไปร่วมพิธีดังกล่าวด้วยโดยนำตั๋วเครื่องบินไป-กลับ ในเที่ยวดังกล่าวมาถวายหลวงปู่ถึงวัดป่านาทามวนาวาส แต่หลวงปู่ลือไม่รับนิมนต์ เนื่องจากได้นิมิตเห็นไฟไหม้หางของเครื่องบินลำดังกล่าวขณะบินอยู่บนท้องฟ้าก่อนจะถึงวันเดินทาง 2-3 วัน หลวงปู่เล่าว่าพระอาจารย์ทั้ง 5 องค์ที่มรณภาพครั้งนี้ทุกท่านมีญาณหยั่งรู้ว่าเครื่องบินจะตกและจะดับขัณฑ์ในครั้งนี้แต่ทุกท่านได้ยินยอมให้เป็นไปตามวิบากกรรม ส่วนหลวงปู่ลือ ท่านยังมีภารกิจที่ต้องโปรดสัตว์ และสืบสานพระศาสนายังไม่สำเร็จตามที่ท่านได้ปวารณาเอาไว้ นอกจากนี้ยังได้รับการเปิดเผยจากพระลูกศิษย์ที่เคยออกร่วมธุดงค์กับหลวงปู่ว่าในการออกธุดงค์จากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งซึ่งมีระยะทางไกล หลวงปู่สามารถย่นระยะทางได้ และไปถึงที่หมายก่อนคนอื่นหลายครั้ง
หลวงปู่ลือเคยสร้างวัตถุมงคลของท่านจำนวนไม่มากนัก เพื่อแจกให้ลูกศิษย์นำไปสักการะบูชา เพื่อเป็นสิริมงคล ต่อมาผู้ที่นำวัตถุมงคลของหลวงปู่ติดตัวจำนวนมากได้ประสบการณ์อภินิหารของวัตถุมงคลหลวงปู่หลายครั้ง โดยเฉพาะด้านแคล้วคลาด มหาอุด คงกระพัน และโชคลาภ จึงมีการกล่าวขานกันมาปากต่อปาก ทำให้วัตถุมงคลหลวงปู่เป็นที่ต้องการและเสาะหาของผู้ที่ได้ทราบข่าวตลอดมาแต่ก็หายาก เนื่องจากผู้ที่มีไว้ไม่ยอมปล่อยต้องการเก็บไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานของตน
วงการเซียนพระเครื่องจึงได้กล่าวขานกันว่า “มีหลวงปู่ลือ ไม่มีตายโหง และไม่มีจน” หนังสือพิมพ์ ฉบับหนึ่งได้รายงานข่าวว่า “รูปเหมือนลอยองค์ขนาดเล็กของหลวงปู่ลือ ยิงไม่ออก” ยิ่งทำให้วัตถุมงคลหลวงปู่เป็นที่เสาะหา และต้องการของบุคคลทั่วไปมากยิ่งขึ้น มีลูกศิษย์ของหลวงปู่ ซึ่งเป็นผู้ช่วยพยาบาลมุกดาหาร เล่าถวายหลวงปู่ต่อหน้าญาติโยมหลายท่าน ขณะหลวงปู่อาพาธที่โรงพยาบาลมุกดาหารว่าแต่ก่อนผู้เล่าแขวนพระเครื่องอื่นๆ มานอนรอเพื่อเข้าเวรดึกที่ห้องพักเจ้าหน้าที่เวร มักจะถูกผีอำบ่อยๆ แต่เมื่อได้แขวนเหรียญรุ่นสร้างโบสถ์ของหลวงปู่ลือประจำ ไม่เคยถูกผีอำอีกเลย นอกจากนั้นยังมีประสบการณ์ปาฏิหาริย์จากวัตถุมงคลของหลวงปู่ลืออีกมากมาย...
กล่าวกันว่า เมื่อสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ทุกสถานที่ซึ่งหลวงปู่ลือได้เหยียบย่างไป ตรงไหนที่เล่าลือกันว่า เจ้าที่แรง ผีดุ แต่เมื่อท่านได้มาปักกลดลงยังที่ตรงนั้น สถานที่แห่งนั้นก็จะร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ท่านกลายเป็นที่นับถือบูชาของชาวจังหวัดมุกดาหารเรื่อยมาจวบจนถึงวันสุดท้ายก่อนที่ศิษย์หลวงปู่มั่นท่านนี้จะจากไป พร้อมกับความอาลัยของชาวมุกดาหารทุกคน.......
ขอจองครับ



124.พระชุดของขวัญ กรรมฐาน กรอบกระจกเก่าไม่ต่ำกว่า 30 ปี   2,250-

ประกอบไปด้วย

1.เหรียญรุ่น3 หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย ปี21 สวยๆเดิมๆ 3 เหรียญ  สวยๆเดิมๆ
2.เหรียญหลวงปู่มั่นหลังหลวงปู่จูม วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี ปี16 3 เหรียญ สวยๆเดิมๆ
3.เหรียญหลวงปู่สิม พุทธาจาโร รุ่นวางศิลาฤกษ์ อุโบสถ วัดศรีวิชัย(วัดหลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม) จ.นครพนม ปี20 3 เหรียญ สวยๆเดิมๆ
4.เหรียญพระพุทธชัยศรี วัดถ้ำเอราวัณ จ.อุดรธานี  ปี20 4 เหรียญ สวยๆเดิมๆ

















ขอจองครับ



129.เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่มี ญาณมุนี วัดป่าสูงเนิน โคราช ปี15 สวยๆ บล๊อคนิยม ไม่มีกลาก หายาก พร้อมเลี่ยม 1200-

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2017, 01:25:05 PM โดย thesun »



129.เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่มี ญาณมุนี วัดป่าสูงเนิน โคราช ปี15 สวยๆ บล๊อคนิยม ไม่มีกลาก หายาก พร้อมเลี่ยม 1200-



๏ วาทะธรรมที่กล่าวถึงหลวงปู่มี

๑. หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้กล่าวสอนกรรมฐานแก่หลวงปู่มี ว่า

“ธรรมมันอยู่เลยความตาย ใครยังกลัวตายอยู่ก็จะไม่พบพระสัทธรรม”

๒. หลวงปู่ทา จารุธมฺโม ลูกศิษย์หลวงปู่มี ได้กล่าวถึงปฏิปทาของหลวงปู่มี ว่า

“ท่านเป็นผู้มีใจแน่วแน่ และเป็นยอดของนักปฏิบัติธรรม สายตาและปัญญาแหลมคมฉลาด พระเณรที่ขี้เกียจขี้คร้านอยู่ร่วมสำนักกับท่านไม่ได้ ท่านต้องการคนใจเด็ดเดี่ยวเป็นสานุศิษย์ ถ้าบวชเข้ามาไม่เป็นท่า ท่านจะขับออกจากสำนักของท่านทันที”

“ถ้าเราต้องการเป็นพระปฏิบัติกัมมัฏฐาน หากเรายังยึดติดกับใบลานหรือกระดาษหรือแนวการศึกษาทางด้านปริยัติธรรมอยู่ แม้เราจะขยันหมั่นเพียรเท่าใดก็ยังหาได้บรรลุธรรมขั้นสูงไม่ เหมือนกับคนยังโง่อยู่ หอบปอทั้งขี้ปอ ย่อมเอาไปทำประโยชน์อะไรไม่ได้ฉันใด พระผู้ปฏิบัติธรรมหากยังยึดติดอยู่กับใบลาน กระดาษ หรือเพียงแต่การเรียนปริยัติธรรมก็ฉันนั้น”

๓. หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้กล่าวถึงปฏิปทาของหลวงปู่มี ว่า

“ท่านอาจารย์มี ญาณมุนี แห่งวัดป่าสูงเนิน โคราช ท่านเป็นผู้ที่เราเคารพเลื่อมใสมาก ท่านเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แต่ท่านไม่ได้ญัตติเป็นฝ่ายธรรมยุติ มรรคผลนิพพานไม่ได้อยู่ที่ญัตติหรือไม่ญัตติ มรรคผลนิพพานไม่ได้อยู่ที่ธรรมยุตหรือมหานิกาย แต่อยู่ที่หัวใจชองผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยไม่ลดละความพากเพียร จะธรรมยุตหรือมหานิกาย ก็เป็นพระกรรมฐานด้วยกัน ท่านอาจารย์ทาก็เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มี หลวงปู่มีก็เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นก็เป็นอาจารย์ของเรา”

“ท่านเป็นพระที่สุขุมและละเอียดมาก สมชื่อสมนามว่าเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่นจริงๆ”

หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ท่านเคยกล่าวเทิดทูนหลวงปู่มี ญาณมุนี ไว้ในหนังสือสังฆรัตนะ หัวข้อเพชรน้ำหนึ่งฝ่ายมหานิกาย “ท่านอาจารย์มี (พระครูญาณโสภิต) น่ะ เรารักเคารพท่านมาก นั่นละท่านเข้าในขั้นเพชรน้ำหนึ่งนะ เป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น เออ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น”







ขอจองครับ



129.เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่มี ญาณมุนี วัดป่าสูงเนิน โคราช ปี15 สวยๆ บล๊อคนิยม ไม่มีกลาก หายาก พร้อมเลี่ยม 1200-



๏ วาทะธรรมที่กล่าวถึงหลวงปู่มี

๑. หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้กล่าวสอนกรรมฐานแก่หลวงปู่มี ว่า

“ธรรมมันอยู่เลยความตาย ใครยังกลัวตายอยู่ก็จะไม่พบพระสัทธรรม”

๒. หลวงปู่ทา จารุธมฺโม ลูกศิษย์หลวงปู่มี ได้กล่าวถึงปฏิปทาของหลวงปู่มี ว่า

“ท่านเป็นผู้มีใจแน่วแน่ และเป็นยอดของนักปฏิบัติธรรม สายตาและปัญญาแหลมคมฉลาด พระเณรที่ขี้เกียจขี้คร้านอยู่ร่วมสำนักกับท่านไม่ได้ ท่านต้องการคนใจเด็ดเดี่ยวเป็นสานุศิษย์ ถ้าบวชเข้ามาไม่เป็นท่า ท่านจะขับออกจากสำนักของท่านทันที”

“ถ้าเราต้องการเป็นพระปฏิบัติกัมมัฏฐาน หากเรายังยึดติดกับใบลานหรือกระดาษหรือแนวการศึกษาทางด้านปริยัติธรรมอยู่ แม้เราจะขยันหมั่นเพียรเท่าใดก็ยังหาได้บรรลุธรรมขั้นสูงไม่ เหมือนกับคนยังโง่อยู่ หอบปอทั้งขี้ปอ ย่อมเอาไปทำประโยชน์อะไรไม่ได้ฉันใด พระผู้ปฏิบัติธรรมหากยังยึดติดอยู่กับใบลาน กระดาษ หรือเพียงแต่การเรียนปริยัติธรรมก็ฉันนั้น”

๓. หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้กล่าวถึงปฏิปทาของหลวงปู่มี ว่า

“ท่านอาจารย์มี ญาณมุนี แห่งวัดป่าสูงเนิน โคราช ท่านเป็นผู้ที่เราเคารพเลื่อมใสมาก ท่านเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แต่ท่านไม่ได้ญัตติเป็นฝ่ายธรรมยุติ มรรคผลนิพพานไม่ได้อยู่ที่ญัตติหรือไม่ญัตติ มรรคผลนิพพานไม่ได้อยู่ที่ธรรมยุตหรือมหานิกาย แต่อยู่ที่หัวใจชองผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยไม่ลดละความพากเพียร จะธรรมยุตหรือมหานิกาย ก็เป็นพระกรรมฐานด้วยกัน ท่านอาจารย์ทาก็เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มี หลวงปู่มีก็เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นก็เป็นอาจารย์ของเรา”

“ท่านเป็นพระที่สุขุมและละเอียดมาก สมชื่อสมนามว่าเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่นจริงๆ”

หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ท่านเคยกล่าวเทิดทูนหลวงปู่มี ญาณมุนี ไว้ในหนังสือสังฆรัตนะ หัวข้อเพชรน้ำหนึ่งฝ่ายมหานิกาย “ท่านอาจารย์มี (พระครูญาณโสภิต) น่ะ เรารักเคารพท่านมาก นั่นละท่านเข้าในขั้นเพชรน้ำหนึ่งนะ เป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น เออ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น”







ขอจองครับ

ขอบพระคุณครับ



106.พิมพ์อุปคต (บัวเข็ม) หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย ปี2512 สวยๆ 1,050


            ขอจองรายการนี้ครับ

                     ขอบคุณครับ



106.พิมพ์อุปคต (บัวเข็ม) หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย ปี2512 สวยๆ 1,050


            ขอจองรายการนี้ครับ

                     ขอบคุณครับ

ขอบพระคุณครับ




 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi