[Thesun]พระกรรมฐานพ่อแม่ครูอาจารย์และพระเกจิอาจารย์ทั่วไป(อ่าน 648205 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

600.รูปถ่ายมงคลนวการ หลวงพ่อฉาบ วัดศรีสาคร จ.สิงห์บุรี หลังเกศา เลี่ยมเดิมจากวัด 650-
ปิดท่าน j999

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 22, 2018, 09:40:41 AM โดย thesun »



601.พระชัยพระพุทธเชียงแสนสิงห์หนึ่ง หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง ปี20 เนื้อนวโลหะ หลวงปู่แหวน อธิษฐานจิตเมือ 22-23 กุมภาพันธ์ 2520
สวยๆ เล็กดีรสโต
600-








602.พระแผงตัดกรุนาดูน จ.มหาสารคาม พิมพ์ตัดเดี่ยว(ตัดมาจากแผงใหญ่) พระอายุกว่า1000ปี  เปิดราคา 1,300-
พระกรุนาดูน นิรันตรายแห่งแดนอีสาน ซึ่งขึ้นชื่อว่ามีพุทธคุณทางด้านแคล้วคลาด มีผู้สนใจเสาะแสวงหาเก็บสะสมบูชากันมากพอสมควร

บางพิมพ์ราคาไปไกลหลายๆหมื่นถึงหลักแสน เช่นพิมพ์นั่งเมือง พิมพ์ปรกเดี่ยว พิมพ์ซุ้มโพธิ์ใหญ่ หรือแม้แต่พิมพ์แพงตัดถ้าเต็มแผ่นก็หลักหลายๆหมื่นไปจนแสนครับ 


การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของพระกรุนาดูน พ.ศ.2522

 พระธาตุนาดูน
        เป็นโบราณวัตถุที่มีอายุมากว่า 1,300 ปี ขุดพบเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2522 บนที่นาของนายทองดี ปะวะภูตา
ราษฏรบ้านนาดูน ต.นาดูน อ.นาดูน จังหวัดมหาสารคาม การค้นขุดค้นพบตอนแรก ขุดได้โดยคนหลายกลุ่มคน
แต่เมื่อเจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น ได้ติดตามวัตถุในส่วนที่เกี่ยวข้องกัน จากส่วนหนึ่งที่ขุดได้
ก็สามารถนำมารวมกัน ปรากฏว่า ต่อเข้ากันได้รูปทรงเหมาะสมกันดีมาก มีการพิสูจน์อีกครั้งว่าสถูปนี้
ใช้สำหรับบ­รรจุสิ่งใด ผลการตรวจพิสูจน์รายละเอียดวัตถุโบราณชิ้นนี้แล้ว ลงความเห็นว่าเป็นสถูปที่ใช้บรรจุ

พระสารีริกธาตุ ลักษณะสถูปทำด้วยทองสำริด มีส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ
       1.ส่วนยอด มีลักษณะ เป็นปล้องไฉน จำนวน 2 ปล้อง ส่วนบนสุดเป็นปลียอดกลม
       2. ตัวสถูปทำด้วยทองสำริด มีลักษณะคล้ายระฆัง หรือโอคว่ำ ส่วนยอดของตัวสถูป จะรับเข้ากับส่วนล่างสุด
ของส่วนยอดพอดี ในการขุดครั้งนั้น ชาวบ้าน รวมทั้งผู้คนทั่วสารทิศ ขุดได้พระพิมพ์ต่าง ๆ ได้หลาย
สิบกระสอบ และในปัจจุบันวัตถุเหล่านั้น บูชากันราคาระดับต้น ๆ ของเมืองไทย

นื้อพระพิมพ์แข็งแกร่งมาก พระพิมพ์บางองค์กลายเป็น เนื้อหิน สีเนื้อพระพิมพ์มี ๕ สี คือสีหิน(น้ำตาลแก่) สีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองมันปู สี ชมพู สีแดงหินทราย และสีขาวนวล (สีเท่าอ่อน)
 

















603.เหรียญหลวงพ่อใหญ่ วัดหนองบัวละคร จ.นครราชสีมา รุ่น2 ปี2513 สวยๆแดงๆ พระมีประสบการณ์ในพื้นที่ หลวงพ่อคูณนับถือหลวงพ่อใหญ่มากครับ
เหรียญรุ่นแรกปี09 เล่นกันหลายพันครับ ใช้เหรียญรุ่น2 และเป็นรุ่นสุดท้ายที่ทันท่านแทนได้ครับ
ปิด-

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 05, 2018, 02:34:17 PM โดย thesun »



600.รูปถ่ายมงคลนวการ หลวงพ่อฉาบ วัดศรีสาคร จ.สิงห์บุรี หลังเกศา เลี่ยมเดิมจากวัด 650-  ขอจองครับ



604.ล๊อคเก็ตรุ่นแรกหลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข สิงห์บุรี ปี28 หลังยันต์ห้า หายาก นิยม นานๆเจอที 1,300-










605.เหรียญหล่อเตารีด หลวงตาพวง สุขินทริโย วัดศรีธรรมาราม จ.ยโสธร ปี52 เนื้อระฆังโบสถ์ผสมชนวนล้วน สร้างน้อย พร้อมตลับเงินฝังพลอย 2,700-

จัดสร้างโดยนายแพทย์พงศธร พอกเพิ่มดี สมัยเป็นนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู ลูกศิษย์อุปฐากใกล้ชิดหลวงตาพวง ได้รับมอบระฆังเก่ารอบโบสถ์ในคราวบูรณะ
อุโบสถ วัดศรีธรรมารามจากหลวงตาพวง จึงขออนุญาตหลวงตานำมาหล่อเป็นพระขึ้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยขอจัดสร้างเป็นรูปแบบเตารีดหลวงปู่ทวด วัดช้างไห้
จัดสร้างเป็นเนื้อระฆังล้วนๆ และได้ผสมมวลสารที่คุณหมอเก็บสะสมไว้
อาทิเช่น ตะกรุดหลวงปู่ดุลย์ อตุโล  ก้านชนวนพระประธานที่คุณหมอเคยสร้างถวายวัดป่าต่างๆ ก้านชนวนเหรียญหล่อหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก เป็นต้น ได้จำนวนทั้งสิ้น 154 องค์
ใต้ฐานอุดเกศา ตะกรุดจารมือหลวงตาพวง



















605.เหรียญไข่หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี ปี12 เนื้อทองแดงรมดำ สวยๆ ผิวเดิม เหรียญยอดนิยม มีประสบการณ์ ของหลวงพ่อมุ่ย มีในรายการประกวดเสมอๆ
พระตลาดมาตรฐานสากล รับประกันทุกกรณีครับ
3,800- ปิดท่าน j999

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 25, 2018, 09:38:45 AM โดย thesun »



605.เหรียญไข่หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี ปี12 เนื้อทองแดงรมดำ สวยๆ ผิวเดิม เหรียญยอดนิยม มีประสบการณ์ ของหลวงพ่อมุ่ย มีในรายการประกวดเสมอๆ
พระตลาดมาตรฐานสากล รับประกันทุกกรณีครับ
3,800-

เหรียญหลวงพ่อมุ่ย พิมพ์รูปไข่ เนื้อทองแดงรมดำ ปี 2512 วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี เหรียญพิมพ์รูปไข่รุ่นนี้ จัดสร้างขึ้น 2 ชนิด คือเหรียญรมดำ และเหรียญกะไหล่ทอง
โดยได้จัดสร้างขึ้นพร้อมกับเหรียญพิมพ์เสมา ปี 2512 ซึ่งมีให้เห็นเป็นจำนวนมากในสนามพระทั่วไป นับเป็นเหรียญที่มีประสบการณ์มากที่สุดเหรียญหนึ่งในจำนวนวัตถุมงคล
ของหลวงพ่อมุ่ย เหรียญรุ่นนี้สังเกตุได้ว่าบางเหรียญจะมีรอยพิมพ์แตกจากด้านล่าง และมากขึ้นจนถึงด้านบนหูเหรียญ นับเป็นข้อพิจารณาได้อีกประการหนึ่ง
ส่วนเหรียญที่ปั๊มครั้งแรกๆ จะไม่มีรอยพิมพ์แตกให้เห็น



หลวงพ่อมุ่ย สุดยอดพระเกจิระดับแนวหน้าของประเทศ ที่ประสบการณ์พระเครื่องของท่านกล่าวขานกันไม่รู้จบ  วัตถุมงคลท่านมีตั้งแต่ราคาหลักพันไปจนหลักแสนครับ






หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ ตำบลหนองสะเดา อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี พระเกจิอาจารย์จอมขมังเวทย์ผู้มีอายุยืนยาว ๕ แผ่นดิน

วัดดอนไร่

วัดดอนไร่ ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของตำบลหนองสะเดา อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี  เป็นวัดที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ในปี พ.ศ.2456 ภายใต้การนำของท่านผู้ใหญ่ยาและนางบู่  ต้นตระกูล ยาสุขแสง ได้นำชาวบ้านหักร้างถางดงบนที่ดอนแห่งหนึ่งในหมู่บ้านหนองตม อันเป็นไร่เก่าของนายสี   นางพูน และนายแก้ว นางหมอน แล้วสร้างเป็นวัดขึ้นตรงไร่ดังกล่าวเรียกว่า วัดดอนไร่ เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของชาวบ้านหนองตม

วัดดอนไร่เป็นวัดที่ใหญ่โตอีกวัดหนึ่งในปัจจุบัน
ด้วยได้รับความร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาของบรรดาพุทธศาสนิกชนและเจ้าอาวาสของวัดทั้งในอดีตถึงปัจจุบัน

และหากกล่าวถึงวัดดอนไร่แล้วบุคคลส่วนใหญ่จะต้องนึกถึงพระครูสุวรรณวุฒาจารย์ หรือหลวงพ่อมุ่ย พุทฺธรักฺขิโต อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนไร่ และเจ้าคณะตำบลหนองสะเดา อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี  ซึ่งมีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วประเทศไทย วัตถุมงคลของท่านทุกรุ่น ทุกพิมพ์ ต่างก็ได้รับความนิยม  เป็นที่ต้องการของบุคคลทั้งหลาย

หลวงพ่อมุ่ย พุทฺธรักฺขิโต พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ หรือที่รู้จักกันดีในนาม หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ พระคณาจารย์ยุคกึ่งพุทธกาลที่เกียรติคุณชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของจังหวัดสุพรรณบุรีอีกรูปหนึ่ง ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านทุกรุ่นได้รับความนิยมกันมาก
         
เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2431 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 13 ค่ำ เดือนอ้าย ปีฉลู  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 ณ.บ้านดอนไร่ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
เป็นบุตรของพ่อเหมือน แม่ชัง มีศรีไชย มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน คือ

1. นางน้ำอ้อย จันทร์สุวรรณ
2. นางน้ำตาล จีนสุกแสง
3. นายช่อง มีศรีไชย
4. นายเชื่อม มีศรีไชย (หลวงพ่อมุ่ย พุทฺรักฺขิโต)
5. นางสาคู มีศรีไชย

วัยเด็ก

เนื่องด้วยครอบครัวของท่านมีอาชีพทำไร่ทำนา ในวัยเด็กของท่านจึงมีชีวิตตามประสาเด็กชนบททั่วไป   โดยช่วยเหลือครอบครัวในการเลี้ยงควาย เป็นต้น

วัยหนุ่ม

เมื่อวัยหนุ่มท่านได้เข้ารับการเกณฑ์ทหาร ผลว่าท่านถูกเกณฑ์เป็นทหารและทางอำเภอได้ส่งตัวท่านไปยังจังหวัด  แต่ท่านก็ต้องถูกส่งตัวกลับมาด้วยเหตุผลประการใดไม่ทราบ สรุปคือท่านไม่ได้เป็นทหารแน่นอน

อุปสมบท

ภายหลังจากการเกณฑ์ทหารเรียบร้อยแล้ว ท่านได้เข้ารับการอุปสมบทตามธรรมเนียมประเพณีของคนไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ.2452 ณ. พัทธสีมาวัดท่าช้าง ตำบลท่าช้าง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี

พระครูศีลกิติ ( หลวงพ่อกฤษณ์ ) วัดท่าช้าง เป็นพระอุปัชฌาย์
หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอนุสาวนาจารย์ไม่ทราบชื่อ

ในช่วงนี้ท่านได้เข้ารับการศึกษาเล่าเรียนวิชาต่างๆจากพระอาจารย์ต่างๆอยู่พอสมควร

ท่านอุปสมบทได้ประมาณ10กว่าพรรษา ท่านก็ได้ลาสิกขาบท เพื่อมาช่วยบิดามารดาซึ่งชราทำไร่นา ในช่วงนี้ท่านได้เกิดล้มป่วยแทบเอาชีวิตไม่รอด ยากจะดูแลรักษาให้หายได้ ท่านจึงได้ตั้งสัจจะอธิษฐานไว้ว่า หากหายจากอาการเจ็บป่วย จะฝากกายถวายชีวิตในพระพุทธศาสนาตลอดไป
       
เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนักต่อมาอาการเจ็บป่วยของท่านก็ได้หายไป และช่วงนี้ท่านก็ได้เปลี่ยนชื่อจาก เชื่อม มาเป็น มุ่ย สรุปแล้วท่านลาสิกขาบทมาได้ไม่กี่เดือนก็อุปสมบทใหม่เป็นครั้งที่สอง

ท่านได้อุปสมบทเป็นครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2465 เวลา 15.30 น. ณ. พัทธสีมาวัดตะค่า(วัดดอนบุบผารามในปัจจุบัน) ตำบลบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี

พระครูธรรมสารรักษา (หลวงปู่อ้น) วัดดอนบุบผาราม เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอาจารย์ทวน วัดบ้านกร่าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอาจารย์กุล วัดดอนบุบผาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับชื่อทางพระพุทธศาสนาจากพระอุปัชฌาย์ว่า พุทฺธรักฺขิโต

ครูบาอาจารย์

เนื่องด้วยหลวงพ่อมุ่ยท่านเป็นผู้คงแก่เรียน หมั่นขวนขวายหาความรู้อยู่เสมอๆ จึงทำให้ท่านชำนาญและเชี่ยวชาญในศาสตร์หลายแขนง การเรียนรู้ในศาสตร์หลายแขนงของท่าน ได้พากเพียรเรียนรู้มาตั้งแต่การอุปสมบทครั้งแรก เมื่อกลับมาอุปสมบทอีกครั้งด้วยพื้นฐานที่รอบรู้อยู่แล้วและศึกษาเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลาจึงทำให้ท่านรอบรู้และแตกฉานยิ่งขึ้น ครูบาอาจารย์ที่หลวงพ่อมุ่ยไปศึกษามานั้นมีอยู่มากมายเกิน10ท่านขึ้นไปแต่ก็สืบเสาะได้ยากยิ่งเนื่องจากหลวงพ่อมุ่ยท่านไม่เคยเล่าให้ลูกศิษย์ฟัง แต่เท่าที่สืบค้นได้ก็มีดังนี้


1. พระครูธรรมสารรักษา หรือ หลวงปู่อ้น วัดดอนบุบผาราม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

หลวงปู่อ้นท่านเป็นพระอาจารย์ยุคเดียวกันกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย ท่านมีอายุน้อยกว่าหลวงพ่อเนียม 9 ปี ในยุคนั้นหลวงปู่อ้นท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในแถบจังหวัดสุพรรณบุรี ท่านเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรีในยุคสมัยนั้น ท่านขึ้นชื่อมากในด้านแพทย์แผนโบราณ การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และพุทธาคมก็ยังเป็นเลิศ  ท่านมีลูกศิษย์ลูกหาและพระอาจารย์ต่างๆมาศึกษาและแลกเปลี่ยนความรู้กับท่านที่วัดมากมายลูกศิษย์ของท่านที่มีชื่อเสียงโด่งดังอย่างเช่น ท่านเจ้าคุณเชียง วัดราชบูรณะ ,หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน , หลวงพ่อสม วัดดอนบุบผาราม เป็นต้น ในการอุปสมบทครั้งที่สองของหลวงพ่อมุ่ยท่าน เมื่อปี พ.ศ.2465  ท่านได้เดินทางมาที่วัดดอนบุบผารามเพื่อให้หลวงปู่อ้นทำการอุปสมบทให้ และหลังจากการอุปสมบทแล้ว หลวงพ่อมุ่ยก็ได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมจากหลวงปู่อ้นต่ออีกสักพักหนึ่ง หลวงปู่อ้นจึงนับเป็นพระอาจารย์รูปแรกของท่านเท่าที่มีการบันทึกมา


2. หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี

หลวงพ่อมุ่ยสนใจในวิปัสสนากรรมฐานมาก ซึ่งในยุคนั้นพระอาจารย์วิปัสสนากรรมฐานของเมืองสุพรรณที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ก็มี หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน , หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา และหลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว   หลวงพ่อมุ่ยได้เลือกศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและคาถาอาคมต่างๆจากหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขาในช่วงที่บวชครั้งที่สอง ศึกษาจากหลวงพ่ออิ่มเป็นระยะเวลา1พรรษาเต็ม หลังจากศึกษาจากหลวงพ่ออิ่มหมดแล้ว หลวงพ่ออิ่มก็ได้พาไปศึกษาต่อกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ซึ่งอยู่ห่างออกไปไม่ไกลกันมากนัก


3. พระครูวิมลคุณากร หรือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

ในยุคนั้น หลวงปู่ศุข ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ มีลูกศิษย์ลูกหามาขอศึกษาวิชาต่างๆกับท่านมากมาย หลวงพ่อมุ่ยก็เช่นกัน  ภายหลังจากที่ศึกษาวิชาต่างๆจากหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จนหมดแล้ว  หลวงพ่ออิ่มจึงแนะนำให้ไปศึกษาเพิ่มเติมอีกที่หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า  หลวงพ่ออิ่มเคยเล่าให้ลูกศิษย์ของท่านฟังว่า ตัวท่านเองแก่แล้ว จึงศึกษาเวทมนต์ คาถาอาคมต่างๆจากหลวงปู่ศุขได้ครึ่งเล่ม ส่วนหลวงพ่อมุ่ยท่านยังหนุ่มสามารถศึกษาได้ถึงเล่มครึ่ง   หลวงพ่อมุ่ยท่านเป็นที่รักใคร่ของหลวงปู่ศุขมาก เป็นศิษย์ชั้นแถวหน้าของหลวงปู่ศุขเลยทีเดียว   กล่าวกันว่าท่านได้รับถ่ายทอดวิชาอาคมมาจากหลวงปู่ศุขมาก รองมาจากกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์


4. อาจารย์กูน วัดบ้านทึง อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี

อาจารย์กูน วัดบ้านทึง เป็นฆราวาสที่โด่งดังที่สุดของจังหวัดสุพรรณบุรี เดิมท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านทึง แต่ต่อมาท่านได้ลาสิกขาบท ท่านเชี่ยวชาญมากในด้านไสยศาสตร์และแพทย์แผนโบราณ สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้ดี เป็นที่พึ่งของชาวบ้านตลอดมา อาจารย์กูนเป็นผู้ที่ขึ้นชื่อเลื่องลือมากในยุคนั้น หลวงพ่อมุ่ยท่านสนใจในด้านแพทย์แผนโบราณมากจึงได้เดินทางไปขอฝากตัวเป็นศิษย์ต่ออาจารย์กูนในสมัยที่อาจารย์กูนท่านยัง ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านทึงอยู่ และอาจารย์กูนยังได้มอบตำราการทำยาหอมให้ท่านมาด้วย ซึ่งต่อมาท่านก็มอบต่อให้ศิษย์ท่านเอาไปทำยาหอม ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันดีคือ ยาหอม ตราฤาษีทรงม้า นั่นเอง


5. หลวงพ่อปลั่ง วัดวิมลโภคาราม อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี


ท่านเชี่ยวชาญในด้านคาถาอาคมมากผู้หนึ่งหลวงพ่อมุ่ยจึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาวิชาอาคมต่างๆจากท่าน


6. นอกจากนี้ยังมีพระอาจารย์ของท่านอีกซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานยืนยัน ชัดเจนว่าหลวงพ่อมุ่ยได้ศึกษาอะไรไปบ้าง อย่างเช่น หลวงพ่อกฤษณ์ วัดท่าช้าง (พระอุปัชฌาย์ในการบวชครั้งแรกของหลวงพ่อมุ่ย) ฯลฯ

งานด้านการปกครอง

ปี พ.ศ.2475 เป็นเจ้าอาวาสวัดดอนไร่
ปี พ.ศ.2476 เป็นเจ้าคณะตำบลหนองสะเดา


สมณศักดิ์

ปี พ.ศ.2496 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ 1 ใน 2รูปของอำเภอสามชุกในสมัยนั้น
ปี พ.ศ.2502 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ ซึ่งเป็นพระครูสัญญาบัตร 1 ใน 2 รูปของอำเภอสามชุกในสมัยนั้น

ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนไร่

หลังจากชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างวัดดอนไร่ขึ้นมาแล้วแล้ว ก็ได้นิมนต์หลวงพ่อปลั่ง วัดวิมลโภคารามมาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก อยู่ช่วยสร้างวัดได้1พรรษา  หลวงพ่อปลั่งก็ได้ย้ายกลับไป

ปี พ.ศ.2458 หลวงพ่อพลอยได้มาเป็นเจ้าอาวาสรูปที่สองอยู่ได้5พรรษาก็ลาสิกขาบท  จึงทำให้วัดดอนไร่ว่างเว้นเจ้าอาวาสอีกครั้งหนึ่ง

ปี พ.ศ.2466 ภายหลังจากการอุปสมบทครั้งที่สองของหลวงพ่อมุ่ย  ชาวบ้านได้นิมนต์ท่านมาพำนักจำพรรษาที่วัดดอนไร่ ท่านก็ได้ริเริ่มพัฒนาวัดตั้งแต่นั้นมา

ปี พ.ศ.2476 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลหนองสะเดา  ท่านจึงมีภาระมากขึ้นด้วยว่ามีเขตการปกครองขว้างขวาง วัดใดเสื่อมโทรมก็ต้องเข้าไปดูแลพัฒนาซ่อมแซม รวมไปถึงวัดภายนอกเขตปกครองด้วย แต่ท่านก็ไม่ย่อท้อ ขยันหมั่นเพียรดูแลรักษาและพัฒนาจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

หลวงพ่อมุ่ยได้สร้างพระอุโบสถหลังเก่าของวัดดอนไร่ ก่อด้วยอิฐไม่ได้ฉาบปูน หลังคามุงหญ้าแฝก ซึ่งได้ฝังลูกนิมิตไปในปี พ.ศ.2482 กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ซึ่งสร้างจากไม้เป็นหลัก ซึ่งไม้ดังกล่าวหลวงพ่อมุ่ยท่านจะเป็นผู้นำกองเกวียนของบรรดาชาวบ้านเข้าป่า เพื่อไปตัดไม้ดังกล่าวมาสร้างวัดเองโดยตลอด จึงเป็นภาระอันหนักยิ่งของท่านในสมัยนั้น

ปี พ.ศ.2496 ท่านได้รับแต่งตั้งจากคณะสงฆ์เป็นพระอุปัชฌาย์ มีกุลบุตรมากมายมาให้ท่านอุปสมบทให้ รวมทั้งลาสิกขาบทจากท่าน ซึ่งในสมัยนั้นทั้งอำเภอมีพระอุปัชฌาย์แค่เพียง2รูปเอง จึงกล่าวได้ว่าในสมัยนั้นชาวสามชุกค่อนอำเภอบวชโดยหลวงพ่อมุ่ย

อุปนิสัย

หลวงพ่อมุ่ยท่านเป็นพระสมถะ ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดเสมอต้นเสมอปลาย ทำสิ่งใดแต่พอเหมาะพอควร มีความเมตตาแก่สัตว์โลกทั่วไปทุกหมู่เหล่า   ท่านทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ด้วยเคยตั้งมั่น อธิษฐานชีพนี้เพื่อพระพุทธศาสนา

และหลวงพ่อมุ่ยท่านไม่เคยโอ้อวดตน อย่างเช่นครั้งหนึ่งสมเด็จพระสังฆราช จวน วัดมกุฏกษัตริยาราม เสด็จมาเป็นประธานในการปลุกเสกพระเครื่องยุทธหัตถีที่พระวิสุทธิสารเถระ หรือหลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เป็นแม่งานจัดสร้าง สมเด็จฯพบหลวงพ่อมุ่ย จึงตรัสถามหลวงพ่อมุ่ยว่า ทำไมจึงขลังนัก หลวงพ่อมุ่ยก็ตอบว่า หากท่านจะขลังก็คงขลังที่ความดี เพราะตั้งแต่ท่านบวชมา ท่านไม่เคยทำชั่วเลย   สมเด็จฯได้ยินดังนั้นทรงชื่นชอบในคำตอบของหลวงพ่อมุ่ยเป็นอย่างมาก

อาพาธและมรณภาพ

ปี พ.ศ.2516 หลวงพ่อมุ่ยเริ่มอาพาธ ล่วงถึงกลางปีก่อนเข้าพรรษาอาการอาพาธด้วยโรคชรานี้ได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น แพทย์ประจำตัวหลวงพ่อเห็นอาการไม่ดีขึ้นจึงได้นำหลวงพ่อเข้ารับการรักษา ทำให้ตลอดพรรษานี้หลวงพ่อต้องจำพรรษาอยู่ที่คลินิกของแพทย์ผู้เป็นลูกศิษย์

ก่อนหน้าฤดูเทศกาลกฐินหลวงพ่อได้กลับมาที่วัด ทำให้ลูกศิษย์ลูกหาดีใจมาก จัดขบวนต้อนรับกันยิ่งใหญ่ แต่หารู้ไม่ว่าการกลับมาครั้งนี้เป็นการจากลาของหลวงพ่อ ล่วงถึงเวลา 07.15 น. ของวันที่ 15 มกราคม  พ.ศ.2517 หลวงพ่อมุ่ยก็ละสังขารลงด้วยอาการสงบ สิริอายุ 85 ปี 41 วัน












ขอจองครับ



606.ผ้ารอยมือ ปั้มสด หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต วัดถ้ำคูหาวารี ต.โคกขมิ้น อ.วังสะพุง จ.เลย ขนาดกว้าง 18 นิ้ว X 13 นิ้ว จัดสร้าง 49 ผืน คราวสมทบทุนจัดซื้อรถกอล์ฟถวายหลวงปู่สำลี
เพื่อใช้ในกิจของสงฆ์
1500- ปิดท่่านj999

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 28, 2018, 09:39:38 AM โดย thesun »



607.ตะกรุดพระปัจเจก หรือตะกรุดเงินล้าน หลวงพ่อหนุน สุวิชโย แห่งวัดพุทธโมกข์ อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร ตะกรุดเงินจารมือคาถาพระปัจเจก โดยหลวงพ่อหนุน

จัดสร้าง 300 ดอก ดอกนี้หมายเลข 276 หลวงปู่สุธัมม์ ธัมมปโล วัดเทพกัญญารามท่านจะอธิฐานจิตเป็นปฐมฤกษ์ให้ด้วยครับ
1500-

ปิดท่่านj999
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 28, 2018, 09:39:48 AM โดย thesun »



607.ตะกรุดพระปัจเจก หรือตะกรุดเงินล้าน หลวงพ่อหนุน สุวิชโย แห่งวัดพุทธโมกข์ อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร ตะกรุดเงินจารมือคาถาพระปัจเจก โดยหลวงพ่อหนุน

จัดสร้าง 300 ดอก ดอกนี้หมายเลข 276 หลวงปู่สุธัมม์ ธัมมปโล วัดเทพกัญญารามท่านจะอธิฐานจิตเป็นปฐมฤกษ์ให้ด้วยครับ
1500-

น้อยนักที่หลวงปู่สุธัมม์ ธัมมปโล วัดเทพกัญญารามท่านจะอธิฐานจิตให้กับใครง่ายๆ ตะกรุดเงินจารมือคาถาพระปัจเจก หลวงพ่อหนุน วัดป่าพุทธโมกข์
( ตะกรุดเงินล้าน )ยาว3นิ้วถักเชือกลงรักทาเขียวปิดทองคำแท้ตอกเลขตอกโค๊ชมุมตะกรุด. สร้าง300ดอก

 วันนี้ที่ 18 หลวงปู่สุธัมม์ ธัมมปาโล อายุ94ปี ทายาทธรรมหลวงปู่มั่น หลวงปู่สุธัมม์ องค์นี้สายปู่มั่นหลายองค์ให้ความเคารพและศรัทธาในองค์หลวงปู่มาก เช่นหลวงปู่เนย ยังให้ลูกศิษย์ไปกราบไหว้ ท่านบอกเลย หลวงปู่ท่านเป็นพระปัจเจก ลาภเยอะ.

หลวงปู่สุธัมม์ คือ 1 ในที่ถูกนิมนต์ในครั้งปี2523 ที่เครื่องบินตกที่คลองรังสิต แต่เหตุที่ท่านรอดครั้งนั้นเป็นเพราะทะหารที่ขับรถจะมารับท่านแต่กลับหาทางเข้าวัดไม่เจอวนไปวนมาก็หาไม่เจอ จนอ่อนใจเลยกลับ ส่วนท่านลูกศิยษ์ก็ถามท่านๆตอบว่ายังไม่ถึงเวลาของท่าน.

วันนี้ปู่เสกปฐมฤกษ์ให้

และอีกวาระ เมื่อวันที่ 19/5/2018 พิธีเสาร์5 โดยหลวงพ่อหนุน















พระเดชพระคุณ หลวงพ่อหนุน สุวิชโย เจ้าอาวาส วัดพุทธโมกพลาราม อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร ลูกศิษย์พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีฯ) วัดท่าซุง
พระเครื่อง และวัตถุมงคลของท่านนั้นลูกศิษย์ท่านย่อมทราบดีว่า มีทั้งมหาลาภ แคล้วคลาด มหาอุตม์ วัตถุมงคลของท่านทุกรุ่น ออกมา แล้วก็ไม่ค่อยมีหมุนเวียนเพราะเนื่องมาจากประสบการณ์มีทุกรุ่นครับ และพระเครื่อง และวัตถุมงคลของท่านเกือบทุกรุ่นนั้นจะแปรสภาพเป็นพระธาตุเกือบหมด
 หากผู้ได้รับไปปฎิบัติดี และสวดมนต์เป็นประจำ









ขอจองครับ



606.ผ้ารอยมือ ปั้มสด หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต วัดถ้ำคูหาวารี ต.โคกขมิ้น อ.วังสะพุง จ.เลย ขนาดกว้าง 18 นิ้ว X 13 นิ้ว จัดสร้าง 49 ผืน คราวสมทบทุนจัดซื้อรถกอล์ฟถวายหลวงปู่สำลี
เพื่อใช้ในกิจของสงฆ์
1500-









ขอจองครับ



608.เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่จื่อ พันธมุตโต (ปู่หลาน) วัดเขาตาเงาะอุดมพร อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ ปี30 บล๊อคทองคำ สภาพสวยแชมป์ หายาก วัตถุมงคลยอดนิยมหลวงพ่อจื่อ
เหรียญทองคำไม่ต้องไปหาเพราะสร้าง 2 เหรียญอยู่กับคนสร้างหมด ใช้เนื้อทองแดงบล๊อคทองคำแทนได้ครับ
ปิดครับ

เหรียญรุ่นแรกบล๊อคทองคำจัดสร้าง 5,000 เหรียญ ถ้าเป็นบล๊อคขีด จัดสร้าง 3,000 เหรียญ บล๊อคขีด ราคาไป 4-5 พันแล้วครับ ใช้บล๊อคทองคำแทนได้ครับเก็บก่อนที่จะแพงไปมากกว่านี้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 14, 2018, 11:19:44 AM โดย thesun »



609.ปลัดขิก(คุณปลัด) ไม้เขยตาย หลวงปู่เมฆ วัดละกระดาน จ.ปทุมธานี  ไม่เหมือนใคร ไม้อาถรรพ์มีดีในตัว กันเขี้ยว กันงู และแคล้วคลาด ค้าขายดีอีกด้วย 1100

หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน อีกหนึ่งสุดยอดปลัดขิกของเมืองไทย จากประสบการณ์จริงของผู้ใช้ แถวพื้นที่หาไม่ได้แล้ว และยังคงมีการลองของกันอยู่เรื่อยๆ เห็นกันจะๆ
พุทธคุณสูงมากด้านกันสัตว์ร้าย โดยเฉพาะงู และสัตว์มีพิษทุกชนิด ด้านพ่อค้าแม่ขายในพื่นที่ต่างก็พยายามหามาไว้ในที่เก็บเงิน เนื่องจากพุธคุณด้านเมตตาค้าขายก็ยังแรงด้วย
 ปลัดขิก หลวงปู่เมฆ วัดลำกะดาน ติดอันดับ  ปลัดยอดนิยม   หลวงปู่ทำปลัดไว้หลายขนาดครับไม่ตายตัว

....ทางด้านเมตตามหานิยม ค้าขายก็มี...เช่นปลัดจิ้งจกคู่ ปลัดกวางเหลียวหลัง ของหลวงปู่เปิ่น วัดบางพระ
...ทางด้านคงกระพัน แคล้วคลาดก็มี... เช่นของหลวงปู่อี๋ วัดสัตหีบ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก
...ทางด้านกันงูกันเขี้ยวงา สารพัดก็มี ครับ...เช่นของหลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน ปทุมธานี




หลวงปู่เมฆวัดลำกระดาน เจ้าของตำรับปลัดกันงู

 แรกเริ่มเดิมทีหลวงปู่ท่านไม่ได้สร้างปลัดเอาไว้ในทางอื่นใด นอกจาก "กันเขี้ยวงา"
เพราะแถววัดเมื่อสมัยก่อน มีงูเห่าชุกชุมหลวงพ่อจึงได้ทำปลัดเพื่อแจกสำหรับให้ชาวบ้านลูกหลานได้พกติดตัวแต่เนื่องจากปลัดของท่านมีคนเอาไปใช้แล้วเกิดผลทางแคล้วคลาดสูงจึงเป็นที่เสาะหากันมาโดยตลอด ใครไปกราบท่าน ก็มักจะได้รับทีละเป็นกำๆและหลวงพ่อท่านจะ"ไม่จารอักขระ"ใดๆลงบนปลัดแม้แต่ตัวเดียวท่านบอกว่าการลงอักขระที่กระจู๋เป็นการไม่สมควร

ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งช่วยกันเหลาไม้ ไว้ทำปลัดขิก โดยปลัดฯของท่านใช้ "ไม้เขยตาย"ลักษณะของปลัดขิกของท่าน "ไม่สวย" แกะง่ายๆ งานหยาบๆ *
ไม้เขยตายเป็นวัตถุอาถรรพ์
ท่านให้พกพาหรือคาดเอว ท่านไม่ให้แขวนคอ วัดลำกระดานตั้งอยู่ที่ ถนนนิมิตใหม่ แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร


เมื่อก่อนเป็นเขตมีนบุรี เป็นทุ่งนาป่าหญ้า งูเห่างูสามเหลี่ยมและงูจงอางชุกท้องที่นิยมบูชาปลัดขิกของท่านมาก โดยให้พวกเด็กๆทั้งหลายผูกติดเอวไว้กันพวกสัตว์มีพิษทั้งหลาย เช่น งู, ตะขาบ ฯลฯ

ต่อไปนี้เป็นเรื่องเล่า ที่เขาเล่าต่อๆกันมาจริงเท็จอยู่ที่วิจารณญาณ

ชาวบ้านเค้าว่าปลัดขิกของท่านศักดิ์สิทธิ์นัก เด็กๆ แถวนั้นไม่กลัวงูกันเลย(งูเห่า)แถมยังเอาไม้ไปเขี่ยงูเล่นซะด้วย เด็กผู้ชายบางคนซนจัดตีงูตายไปบ้างก็มีเค้าเล่าว่า ถ้าเอาปลัดขิกหลวงปู่เมฆแหย่ใส่งูงูจะหมอบกลัวและไม่กล้าทำร้ายเราเคยมีลูกศิษย์ของท่านโดนลอบยิงขณะกำลังขี่มอเตอร์ไซด์ปรากฏว่ายิงไม่ออกและรถมอเตอร์ไซด์ได้ล้มลงผู้ขี่มีแผลถลอกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
หญิงสาวคนหนึ่งได้ผูกปลัดขิกไว้ที่เอว ขณะกำลังเดินเข้าซอยตอนกลางดึกแล้วก็มีโจรมาดักจี้โจรเห็นว่าเป็นผู้หญิงเลยลงมือปลุกปล้ำ หญิงสาวได้อาราธนาขอให้ปลัดขิกคุ้มครองปรากฏว่าเมื่อถอดเสื้อผ้าออกมาโจรมันเห็นเป็นผู้ชายจึงตกใจวิ่งหนีไปชาวบ้านที่เป็นอิสลามคนหนึ่ง เอาปลัดผูกเอวเด็ก แล้วโยนเด็กลงน้ำแต่เด็กกลับไม่จม ทั้งๆที่ว่ายน้ำไม่เป็น
แม่ค้า ร้านตลาดละแวกนั้นและละแวกใกล้เคียง จะชอบมาขอบูชาปลัดขิกของท่าน เค้าว่าค้าขายดี


ขอขอบคุณข้อมูล http://www.tnews.co.th/contents/331377















« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 28, 2018, 03:02:48 PM โดย thesun »




 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi