[Thesun]พระกรรมฐานพ่อแม่ครูอาจารย์และพระเกจิอาจารย์ทั่วไป(อ่าน 672874 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

882.เปิดชุดล๊อคเก็ต 3 ชิ้น 1,800
1.ล๊อคเก็ตรุ่นแรกหลังปิดแผ่นตะกั่วจารมือ หลวงปู่เสถียร  คุณวโร วัดถ้ำพระภูวัว จังหวัดบึงกาฬ
2.ล็อกเก็ตสี่เหลี่ยม ฉากทอง ปี54 หลังตะกั่ว หลวงปู่เมตตาจารมือ แจกกรรมการสร้างน้อย ถ้าแบบหลังอุดผงจัดสร้าง 200 องค์ แบบนี้น้อยมากๆครับ
3.ล็อกเก็ตกลมหลังฝาบาตร บารมี ทวีคูณ หลวงปู่ไม อินทสิริ วัดป่าเขาภูหลวง อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ปี2558





ขอจองครับ



883.พระผง 6 รอบ หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม สิงห์บุรี ปี30 เกศาเยอะมาก  จัดเป็นรุ่นที่นิยมของหลวงพ่อ สวยๆ กล่องเดิม 500-

ปิดท่าน J999 ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 28, 2018, 02:32:56 PM โดย thesun »



883.พระผง 6 รอบ หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม สิงห์บุรี ปี30 เกศาเยอะมาก  จัดเป็นรุ่นที่นิยมของหลวงพ่อ สวยๆ กล่องเดิม 500-

"หลวงพ่อจวน" แห่งวัดหนองสุ่ม เมืองสิงห์บุรี พระผู้มีกสินธ์แรงกล้า แม้แต่หลวงพ่อฤาษีลิงดำยังยกย่องถึงความศักดิ์สิทธิ์!!!




หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม นอกจากเป็นศิษย์หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์แล้ว ท่านยังเรียนวิชากับหลวงพ่อแป้น วัดบ้านไร่ และอาจารย์ที่เป็นฆาราวาสอีกหลายคนจำชื่อไม่ได้ สมัยก่อนท่านเดินธุดงค์ไปทั่ว ท่านเป็นพระที่มีผิวพรรณอิ่มเอิบมาก ๆ ชาวบ้านเขาเรียกผิวสวย เมื่องานปิดทองฝังลูกนิมิตรวัดปากแรก หลวงพ่อจวนปลุกเสกจับสายสินญ์ลุกเป็นไฟตอนนั้นอาจารย์ทรง ศิษย์หลวงพ่อกวยเป็นคนสวดมนต์ ท่านเป็นพระวาจาศักด์สิทธิ์ท่านเคยบอกให้สร้างเหรียญแค่ ๕๐๐ เหรียญ แต่ร้านที่ทำจะทำเพิ่มพอเหรียญที่๕๐๑ บล๊อกแตกทันที บล๊อกหนามากแต่แตก ปัจจุบันบล๊อกนี้เก็บไว้ที่วัดปากแรก

 

หลวงพ่อจวนแห่งวัดหนองสุ่ม จ.สิงห์บุรีท่านนี้  แม้แต่พระอภิญญาอย่างหลวงพ่อฤาษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง  ยังยกย่องและยอมรับว่าหลวงพ่อจวนท่านนี้เก่งจริงๆๆพลังจิตกล้าแกร่งเหลือเกิน “หลวงพ่อจวนเป็นพระองค์หนึ่ง ที่หลวงพ่อฤาษีฯ ให้ลูกศิษย์ไปกราบ และทำบุญด้วย เนื่องจากหลวงพ่อ ไปเจอหลวงพ่อจวนที่พระจุฬามณี โดยหลวงพ่อจวนไปทั้งกายเนื้อ”


หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม ชาวจังหวัดสิงห์บุรี เคารพ ศรัทธาท่านมาก ท่านศักดิ์สิทธิ์จริงๆ เป็นพระที่มีกสินธ์แรงกล้าที่สุดองค์หนึ่งตามคำเล่าขาน  หลวงพ่อจวนท่านเป็นศิษย์หลวงปู่ศรีวัดพระปรางค์เช่นเดียวกันกับหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ได้ยินมาว่าหลวงพ่อกวยเคยบอกให้คนที่มานิมนต์ให้ท่านไปปลุกเสกวัตถุมงคล ให้ไปนิมนต์หลวงพ่อแพ หลวงพ่อจวน แทนที่จะไปนิมนต์ให้ท่านไปปลุกเสกในบางครั้ง ขนาดหลวงพ่อฤาษีลิงดำวัดท่าซุงยังยกย่องหลวงพ่อจวนว่าท่านเก่งมาก


ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ที่มีลูกศิษย์ลูกหาเลื่อมใสศรัทธาจำนวนมาก พระเถราจารย์ที่มีจริยาวัตรที่น่าเลื่อมใสศรัทธาอย่างยิ่ง  มีบุคลิกที่ยิ้มแย้มแจ่มใส มีอัธยาศัยดี มีเมตตา และสมถะ สมเป็นผู้ทรงศีล ใครได้พบเห็นจะเกิดความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแท้จริง สมกับฉายา "พระทองคำ" อันหมายถึงบริสุทธ์ดั่งทองคำแท้ๆนั้นเชียว หลวงพ่อจวน ได้ถือกำเนิด เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๔๕๘ ที่ ต.ห้วยชัน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ด้วยฐานะยากจน พ่อแม่สิ้นชีวิตตั้งแต่วัยเยาว์ ได้เรียนหนังสือจบแค่ชั้นประถมศึกษา

 

พ.ศ.๒๔๗๓ บรรพชาที่วัดหนองสุ่ม แต่บวชได้เพียง ๓ ปี ก็ลาสิกขา เพื่อไปช่วยครอบครัวประกอบอาชีพกสิกรรม พ.ศ.๒๔๗๕ อายุได้ ๒๒ ปี ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดประศุก ต.ประศุก อ.อินทร์บุรี ได้มาจำพรรษาที่วัดหนองสุ่ม ๑ พรรษา แล้วย้ายไปอยู่ที่วัดโพธิลังกา ต.ท่างาม อ.อินทร์บุรี เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอกครั้น พ.ศ.๒๔๘๒ หลวงพ่อจวนได้ลาสิกขาไปประมาณ ๕ เดือน เพื่อไปช่วยงานพี่สาวที่อุปการะเลี้ยงดู

หลังจากนั้น หลวงพ่อจวนท่านได้อุปสมบทใหม่อีกครั้ง เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๔๘๓ ณ พัทธสีมา วัดประศุก และได้มาจำพรรษาอยู่วัดหนองสุ่ม หลวงพ่อจวน ได้มุ่งศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐานจากหลวงพ่อแป้น วัดบ้านไร่ (วัดโฆสิทธาธรรม) หลวงพ่อกอง จ.สุโขทัย, หลวงพ่อปั้น วัดค้างคาว อ.สรรคบุรี, หลวงพ่อลา วัดโพธิศรี, หลวงพ่อผึ่ง วัดโบสถ์, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อเจ๊ก วัดระนาม, หลวงพ่อโต๊ะ วัด กำแพง, หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน, หลวงพ่อเอาะ วัดม่วง, หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญสุข เป็นต้น

 

หลวงพ่อจวน กอปรด้วยศีลที่งดงาม มีเมตตาธรรมสูง ถือสันโดษ มีปฏิปทาต่อสาธุชน ไม่เลือกยากดีมีจน มีผู้คนไปขอความเมตตาจากท่าน เวลามีทุกข์ร้อน จะไปกราบไหว้ขอพร และรดน้ำพระพุทธมนต์ เพื่อปัดเป่าความทุกข์ร้อน จนเป็นที่เลื่องลือกันว่าน้ำมนต์ของท่านขลังศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก
หลวงพ่อจวนได้พัฒนาวัด สร้างโรงเรียน สร้างความเจริญให้หมู่บ้านแห่งนี้ ส่งเสริมให้ชาวบ้านหันมาเข้าวัดและประกอบสัมมาชีพ ทำให้พื้นที่ แห่งนี้กลายเป็นชุมชนแห่งความสงบสุข ตลอดชีวิตหลวงพ่อจวน

 
จึงไม่เป็นที่น่าสงสัยว่า ทำไมในแต่ละวัน คนจึงไปกราบไหว้รดน้ำพระพุทธมนต์จากหลวงพ่อจวนเป็นประจำ หลวงพ่อจวนได้ละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๖
สิริอายุได้ ๗๙ ปี พรรษา ๕๕












ขอจองครับ



884.เปิดวัตถุมงคล หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต สำนักปฏิบัติธรรมสวนทิพย์ นนทบุรี 5 รายการ ปิดครับ-

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 03, 2018, 02:39:50 PM โดย thesun »



885.ชุดคืนกำไร แบ่งปันลูกค้า วัตถุมงคล 8 รายการ 4,200-

1.เหรียญเกลียวเชือกหลวงพ่อบุญทัน วัดป่าประดู่ จ.ปราจีนบุรี  ปี20 เนื้อเงิน หายากมาก ส่วนมากจะเจอแต่เนื้อทองแดง
วัตถุมงคลท่านเนื้อพิเศษพบเจอน้อย  นานๆเจอที

2.เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่คําแปลง ปุณณชิ วัดถ้ำผาหมากฮ่อ  อ.วังสะพุง จ.เลย

3.พระยอดธง "ธรรมะนำหน้า สู้ไม่ถอย" พระยอดธงสายกรรมฐานอีกองค์หนึ่ง ที่ได้รวบรวมเหรียญครูบาอาจารย์เก่าๆ, พระกริ่งต่างๆ, ชนวนเก่าๆ,ตระกรุดจากทั่วสารทิศ,พระบูชาเก่า,หลอมรวมให้เป็นหนึ่งเดียวในวัน อาสาฬหบูชา ปีพ.ศ. 2551

และได้ทำเป็นพระยอดธงขึ้นมา และกับความหมายดีๆ **ธรรมะนำหน้า สู้ไม่ถอย** ด้านหลังองค์พระมีชื่อของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และตอกโค๊ต*บัว*

จากนั้นนำไปให้หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดภูผาแดง ขอท่านเมตตาอธิฐานจิตให้ และได้นำไปเข้าในพิธีต่างๆ ที่หลวงตามหาบัว เป็นประธานสวดเจริญพร ในวาระต่างๆ

จำนวนเนื้อโลหะผสมนั้นสร้าง 999 องค์


4.พระกริ่ง 6 รอบ ฉลองอายุวัฒนมงคล ๗๒ ปี ๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๒ เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวรมหาเถร) วัดสัมพันธวงศ์
ในโอกาสสมโภชหิรัญบัฏรองสมเด็จพระราชาคณะที่ 'พระอุดมญาณโมลี' พระกรรมฐานสายป่าในสมัยนั้นอธษฐานจิตหลายองค์
 ปัจจุบันหลวงปู่มานิต ละสังขารแล้ว ด้วยพระชนมายุ 100 ปี 81 พรรษา

5.ตะกรุดทองแดงขนาดใหญ่ 3 นิ้ว หลวงปู่ศรี มหาวีโร คุณ สุชาติ อรรัตนสกุล สร้างถวาย คุณ อานุภาพ (โอ๋) บุญเกียรติ จัดสร้างและ  เป็นผู้ถวายหลวงปู่
ปลุกเสกเมื่อ เดือน มีนาคม 2552 ครับ
ตะกรุดพลังเหนือโลก หรือ ตะกรุดหยุดปืน ซึ่งได้มีการลองยิงแล้ว ลูกไม่ออก คาอยู่ในลำกล้อง
นอกจากหยุดปืนแล้วยัง แคล้วคลาด ปลอดภัย ป้องกันภัยทุกชนิด เมตตามหานิยม ค้าขาย โชคลาภดีนักแล

ุ6.ล็อกเก็ตฉากทอง รุ่นรับทรัพย์ หลวงปู่ทองพูล  ปี54 หมายเลข55 หลังมวลสาร ประกอบด้วย ตะกรุดทองคำแท้-ตะกรุดเงิน เกศา จีวร ปรกใบมะขาม ผงตะใบขวานฟ้า
พลอยเสก ข้าวสารหิน จัดสร้าง200 องค์

7.พระสังกัจจายน์ ชินบัญชร รุ่นแรก หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราราม จ.ยโสธร ก้นอุดปิดด้วยจีวร

8.ปิดตามหาลาภ นะมิ หลวงปู่สี ฉันทสิริ วัดถ้ำเขาบุญนาค นครสวรรค์ ปี17 มีกล่อง เล็กดีรสโต













886.พระบูชา หลวงพ่อบุญเหลือ(พระพุทธธีรรัตนปฏิมา) วัดปทุมทองสุทธาราม อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ปี2505 หน้าตัก 9 นิ้ว ใต้ฐานดินไทย ตัวหนังสือแกะมือ องค์พระหนักมากมี20กิโลครับ
 เหมาะสำหรับเป็นพระประธานที่อาคาร บ้านเรือน ครับ สวย อลังการครับ
  7,500- ปิดท่าน j999 ครับ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 30, 2018, 09:39:54 AM โดย thesun »



886.พระบูชา หลวงพ่อบุญเหลือ(พระพุทธธีรรัตนปฏิมา) วัดปทุมทองสุทธาราม อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ปี2505 หน้าตัก 9 นิ้ว ใต้ฐานดินไทย ตัวหนังสือแกะมือ องค์พระหนักมากมี20กิโลครับ
 เหมาะสำหรับเป็นพระประธานที่อาคาร บ้านเรือน ครับ สวย อลังการครับ
  7,500-

ที่สุดแห่งการประสานศิลปะ3ยุค เข้าด้วยกัน ฐานพระเป็นศิลปะอู่ทอง ใบหน้าศิลปะ สุโขทัย ผสม เชียงแสน   รวมเป็นหนึ่งเดียว จัดสร้างโดย พระอุปัชฌาย์สังวร นาคสโม อดีตเจ้าอาวาส วัดปทุมทองสุทธาราม
 ในโอกาสสร้างพระอุโบสถ  เพื่อใช้ ประดิษฐาน หลวงพ่อบุญเหลือ(พระพุทธธีรรัตนปฏิมา) พระประธานของวัด และ พระคู่บ้านคู่เมืองของชาวกำแพงแสน
และในคราวนั้น ได้จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นพระบูชา และพระกริ่งขึ้น โดยได้นิมนต์ พระเกจิชื่อดังสมัยนั้นร่วมปลุกเสก เช่น หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ เป็นต้น
 






















ขอจองครับ



887.เหรียญรุ่นแรกครูบาคำหล้า สังวโร ปี2505  เหรียญประสบการณ์ยอดนิยมของเชียงราย 2700-  ปิดท่าน J999 ครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 03, 2018, 05:55:15 PM โดย thesun »



887.เหรียญรุ่นแรกครูบาคำหล้า สังวโร ปี2505  เหรียญประสบการณ์ยอดนิยมของเชียงราย 2700-

พระครูบาคำหล้า สังวโร ศิษย์เอกพระครูบาเจ้าศรีวิชัย พระครูบาคำหล้า พระมหาเถระแห่งล้านนา เป็นผู้ที่บูรณะพระธาตุสำคัญหลายแห่ง เช่น พระธาตุดอยตุง วัดพระธาตุดอยจอมสักสังวราราม พระธาตุดอยเขาควาย จังหวัดเชียงราย เจดีย์วัดนาหนุน จังหวัดน่าน ฯลฯ

พุทธคุณเหรียญดีทางแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี เป็นเหรียญที่มากด้วยประสบการณ์แบบไม่ต้องให้เซียนมาเขียนเชียร์ก็ดัง เพราะคนพื้นที่เค้าประสบกันมามาก ใครมีโอกาสเป็นเจ้าของโปรดเก็บไว้ให้ดี

เหรียญครูบาคำหล้าออกปี 2505 ระบุไว้ว่าออกที่วัดจันดี ซึ่งในด้านหลังเหรียญได้ระบุไว้เช่นนี้แต่คาดว่าไม่ได้เกี่ยวเนื่องอะไรกับหลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน เพียงแค่ว่าตอนสมัยนั้นทางวัดไปให้ช่างเขาปั๊มเหรียญแล้วเผอิญมีบล็อคของหลวงพ่อคล้ายที่ออกวัดจันดีอยู่ ทางกรรมการเห็นว่าสะดวกและไม่เสียเวลา จึงให้ใช่แม่พิมพ์บล็อคนั้นแต่ย่อขนาดให้เล็กลงหน่อย เพราะวัดชื่อตรงกันคือวัดจันดี เท่านั้นเอง และได้อาศัยแบบของหลวงพ่อคล้ายเป็นต้นแบบ

ครูบาคำหล้าพลังจิตท่านนั้นกล้าแกร่งขนาดที่ว่าคนท้องถิ่นแขวนเหรียญท่านโดนฟ้าผ่ายังไม่เป็นอะไรเลย หรือ ที่เชียงรายเด็กเล็กห้อยเหรียญท่านตกน้ำเป็นชั่วโมงๆกว่าคนจะมาพบ
เด็กยังไม่จมน้ำตายเลย และยิ่งเรื่องแคล้วคลาดกับอุบัติเหตุบนท้องถนนแคล้วคลาดนักต่อนัก



- ครูบาคำหล้า สํวโร เกิดเมื่อวันพุธที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๐ ที่บ้านเลขที่ ๑๖ หมูที่ ๑๔ ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรคนสุดท้องของนายใจ และนางน้อย สุภายศ
- เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เมื่ออายุได้ ๘ ปี ที่โรงเรียนจำรูญราษฎร์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย พออายุ ๙ ปี ได้ล้มป่วยกระเสาะกระแสะ พ่อแม่จึงนำไปถวายตัวเป็นลูกศิษย์ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย
ซึ่งขณะนั้นท่านพำนัก ณ วัดเชียงยืน(วัดสันโค้งหลวง) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพื่อบูรณะพระบรมธาตุดอยตุง ครูบาศรีวิชัย ได้ทำการบรรพชาให้ครูบาคำหล้า ณ วัดเชียงยืน
 ประมาณ พ.ศ.๒๔๗๐ หลังจากบูรณะพระธาตุดอยตุงเสร็จแล้ว ครูบาศรีวิชัยก็ธุดงค์กลับลำพูน ครูบาคำหล้าได้พำนักที่วัดเชียงยืน หลังจากนั้นครูบาคำหล้าก็ได้เรียนหนังสือจนจบชั้นประถม ๔
จึงเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ จึงลาออกจากการเป็นนักเรียน ด้านปริยัติธรรมท่านสอบได้นักธรรมชั้นตรี ที่วัดเจ็ดยอด อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงราย นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาอักษรพื้นเมืองกับพระครูปัญญา ที่วัดฮ่างต่ำ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เป็นเวลา ๓ ปี (ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๗๗-๒๔๗๙)
- ครูบาคำหล้า สํวโร อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๑ ณ พัทธสีมาวัดมุงเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยมีพระครูพุทธิสารเวที (แฮด เทววังโส) เจ้าคณะจังหวัดในขณะนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์
โดยได้รับฉายาว่า ฐิตสํวโร
ครูบาคำหล้าเป็นพระที่มีปฎิปทาคล้ายกับครูบาศรีวิชัยมาก เช่น การไม่ฉันเนื้อ การถือฉันมื้อเดียวเป็นวัตร ชอบธุดงค์ และสร้างถาวรวัตถุทั้งศาสนสถาน และสาธารณสถาน
ครูบาคำหล้า สํวโร เคยธุดงค์ข้ามไปในเขตเมืองเชียงตุง เมืองพะยาก เมืองเชียงรุ่ง เมืองเลน และเคยจำพรรษาที่เมืองผง(เมืองพง) สหภาพพม่า เป็นเวลา ๓ ปี
ท่านได้สร้างถาวรวัตถุมากมายในเขตจังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยาและจังหวัดน่าน รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ๒๐ แห่ง ใน พ.ศ.๒๔๙๖ ท่านได้รับนิมนต์จากพระพิมลธรรม (อาสภมหาเถระ)
วัดมหาธาตุ ให้ไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน ณ วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ เป็นเวลา ๓ เดือน
- ศาสนสถานที่ครูบาคำหล้า สํวโร สร้างนั้น ผู้ออกแบบและร่วมสร้าง ได้แก่ ครูบาอินถา สุทนฺโต ซึ่งเป็นสหธรรมมิกของครูบาคำหล้า ศาสนสถานที่สำคัฐที่ครูบาคำหล้าได้บูรณะซ่อมแซม ได้แก่ วัดพระธาตุดอยจอมสักสังวราราม ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย พระธาตุดอยเขาควาย ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย วิหารพระเจ้านั่งดิน ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา พระธาตุและวิหารวัดขิงแกง ตำบลจุน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา เจดีย์วัดนาหนุน ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ฯลฯ สาธารณสมบัติที่สำคัญที่ครูบาคำหล้า สํวโร สร้าง คือสะพานข้ามแม่น้ำพุง ตำบลป่าแงะ อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย เป็นต้น
- ในช่วงท้ายของชีวิตครูบาคำหล้า สํวโร ท่านได้เลิกสร้างศาสนสถานโดยเข้าไปจำพรรษาในสำนักสงฆ์ห้วยขุนสวด บ้านแวนโค้ง ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นบริเวณป่าลึกห่างไกลจากการคมนาคมเพื่อบำเพ็ญเพียร ปลายปี พ.ศ.๒๕๓๒ ครูบาคำหล้า สํวโร ได้ล้มป่วยด้วยโรคลำไส้อักเสบ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเชียงคำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงรายหลายครั้ง แต่อาการก็ไม่ทุเลาลง ท่านถึงแก่มรณภาพ ณ ตึกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๓ ศพของครูบาคำหล้า ฌาปนกิจ ณ สำนักสงฆ์ห้วยขุนสวด บ้านแวนโค้ง ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕ สิริอายุได้ ๗๓ ปี พรรษา ๕๓ พรรษา





รุ่นแรก สระอา แตก


ขอจองครับ



888.เหรียญประทานพร (ฟ้าผ่า) พิมพ์นั่งเต็มองค์ หลวงปู่ญาท่านสวน ฉันทโร วัดนาอุดม จ.อุบล ปี49 เนื้อทองแดงผิวไฟ สวยๆแชมป์ๆ สภาพสวยพร้อมสูจิบัตรเดิมจากวัด เลี่ยมพร้อมใช้ 700

 เหรียญรุ่นนี้ หลวงปู่ญาท่านสวนท่านได้เมตตาทำพิธีปลุกเสกชนวนแผ่นยันต์ แม่พิมพ์ ต้นแบบเหรียญรูปเหมือนของท่านพร้อมพิจารณาด้วยตัวท่านเองถึง 2 ครั้ง
- ครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2549
- ครั้งที่สองเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2549
และเป็นเหรียญรุ่นสุดท้ายที่หลวงปู่ปลุกเสกเดี่ยว จึงเป็นมงคลอันสูงสุด เพื่อให้ระลึกถึงความเมตตาของท่านตลอดกาล เหตุที่เรียกเหรียญรุ่นนี้ว่า เหรียญฟ้าผ่าเนื่องจาก
 มีประสบการณ์จากการที่ฟ้าผ่าคนที่แขวนเหรียญนี้ติดตัวไว้ ผลปรากฏว่าไม่เป็นอะไรเลย






















889.เปิดของหายาก พระร่วงทรงพล พิมพ์เล็ก วัดสัมพันธวงศ์ (วัดเกาะ) ปี2481 จัดสร้างโดย ท่านพระครูวินัยธร (เฟื่อง ญาณปุปทีโป) ท่านเป็นอดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์
หลวงพ่อเฟื่องได้นำเข้าพิธีวัดราชบพิตร ปี2481 ถือว่าเป็นพิธีมหาพุทธาภิเษกพระเครื่อง ที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งของประเทศ หายาก นานๆเจอที
พระดีราคาเบาถ้าเทียบกับพระเครื่องของสุดยอดเกจิที่ราคาแสนแพงใช้แทนได้เลยครับ
3800-

พระร่วงทรงพล  พ.ศ.2481 วัดสัมพันธวงศ์ (วัดเกาะ) จัดสร้างโดย ท่านพระครูวินัยธร (เฟื่อง ญาณปุปทีโป) ท่านเป็นอดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์
อีกทั้งท่านยังเป็นศิษย์ผู้สืบสานวิชา มาจาก หลวงพ่อเหลือ แห่ง วัดสาวชะโงก ดังนั้น ท่านพระครูวินัยธร ท่านจึงเป็นพระเกจิ อาจารย์ผู้มากไปด้วย พระเวทย์วิทยาคม
และ มีพลังจิต แก่กล้า มากๆ อีกท่านหนึ่ง ในสมัยนั้น ของวัดเกาะ หรือ วัดสัมพันธวงศ์ฯ สำหรับ พระร่วงทรงพล ท่านหลวงพ่อเฟื่อง วัดเกาะ ท่านได้จัดสร้างขึ้น
นอกจากท่านได้ อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวโดยตัวท่านเองแล้ว ท่านยังได้นำพระร่วงทรงพล ที่จัดสร้างทั้งหมด เข้าร่วมพิธี มหาพุทธาภิเษก ณ.วัดราชบพิตร
ในปี พ.ศ.2481 ที่ถือว่าเป็นพิธีมหาพุทธาภิเษกพระเครื่อง ที่ยิ่งใหญ่ อลังการ พิธีหนึ่งของเมืองไทยนับตั้งแต่มีการจัดขึ้นมา เพราะ สุดยอดพระเกจิ
 อาจารย์แห่งยุคที่เข้าร่วมพิธีทั้ง 108 ท่านล้วนแล้วแต่ เป็นที่สุดของพระเกจิ อาจารย์ในยุคก่อน พ.ศ.2500 ทั้งนั้นครับ
 นี่คือ พระดี สุดยอดพิธี ที่หาชมได้ไม่ง่าย และ น่าบูชาสุดๆ สำหรับคนชื่นชอบ พระดี พิธีเยี่ยม แถมเก่า และ มีอายุ โดยเฉพาะครับ

หมายเหตุ ในปี2512 พระชุดนี้ยังเหลือตกค้างที่วัดสัมพันธวงศ์ เจ้าคุณชินเทพ ยังได้นำพระชุดนี้ ไปให้เจ้าคุณนร และ หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา อธิษฐานจิตเพิ่มและออกให้บูชาอีกด้วย









21 ยอดพระอริยคณาจารย์ในพิธีมหาพุทธาภิเศก ณ วัดราชบพิธฯ ศุกร์ 16 ธันวาคม 2481 ปีขาล

รายชือ พระ ที่ เข้าร่วมปลุกเสกครับ

ทุกองค์ที่อยู่ในรูป เป็นพระอริยะบุคคลขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา

แถวนั่ง
พระเทพสิทธินายก (เลียบ) วัดเลา ธนบุรี
พระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน) วัดใต้ กาญจนบุรี,
พระอาจารย์(ปลื้ม) วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท,
พระครูธรรมสุนทร (จันทร์) วัดบ้านยาง ราชบุรี,
หลวงพ่อ(แช่ม);พรหมสโร วัดตาก้อง ราชบุรี
พระธรรมเจดีย์ (สังฆราชอยู่) วัดสระเกศ;พระนคร,
พระธรรมธาดาจารย์ (แนบ) วัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี
พระครูนันทธีราจารย์ (เหลือ) วัดสาวชะโงฉะเชิงเทรา
พระครูสิทธิสาร คุณ (จาด) วัดบางกะเบา ปราจีนบุรี

แถวยืน :
พระครูอาคมสุนทร (มา) วัดราชบูรณะ จ.พระนคร,
พระครูอโศกธรรมสาร (โสก) วัดปากคลอง เพชรบุรี,
พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง) วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร
พระครูโสภณศาสนกิจ (กลิ่น) วัดสะพานสูง นนทบุรี,
พระอาจารย์(แฉ่ง) วัดบางพัง นนทบุรี,
พระญาณไตรโลกาจารย์ (ฉาย) วัดพนัญเชิง อยุธยา,
พระอธิการ(จันทร์) วัดคลองระนง นครสวรรค์,
พระอาจารย์(จันทร์) วัดนางหนู ลพบุรี,
พระครูรัตนรังษี (พุ่ม) วัดบางโคล่นอก,
พระอธิการ(จง) พุทธสโรวัดหน้าต่างนอก อยุธยา,
พระครูวรเวทมุณี (อี๋) วัดสัตหีบ ชลบุรี,
พระอุปัชฌาย์(คง)ธัมมโชโต วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม

หลวงพ่อ, จาด , จง , คง , อี๋ ,อยู่ครบ
และ ลพ พุ่ม,ลพ รุ่ง

แค่ 6 องค์นี้ก็ ถือ ว่าสุดยอด ประเทศไทยแล้วครับ สำหรับพิธีปลุกเสก











890.เหรียญพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี รุ่น2 ปี2505 สวยๆ ดำๆ 600-

พระเดชพระคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) ท่านเป็นศิษย์ผู้ใหญ่ของท่านพระอาจารย์มั่น ท่านมีความสำคัญต่อหมู่คณะทั้งด้านปริยัติ และปฏิบัติ มีความสำคัญในการตัดสินใจ
 เรื่องราวสำคัญของพระสายวัดป่าอยู่เสมอ

ท่านเป็นศิษย์องค์หนึ่งที่ท่านพระอาจารย์มั่น ให้ความไว้วางใจอยู่เสมอ
รับภาระเป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบท ญัตติกรรม ครูบาอาจารย์สายวัดป่าหลายองค์ สัทธิวิหาริก องค์สำคัญ ๆ มีด้วยกันหลายองค์ อาทิ

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร
พระอาจารย์ขาว อนาลโย วัดถ้ำกองเพล
พระอาจารยอ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม
หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ วัดประสิทธิธรรม
หลวงปู่หลุย จนฺสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
หลวงปู่หล้า เขมปัตฺโต วัดบรรพต
หลวงตาแตงอ่อน กลฺยาณธมฺโม วัดป่าโชคไพศาล


เจ้าคุณจูม และ สัทธิวิหาริก

แถวหลัง หลวงปู่ฝั้น อาจาโร  หลวงปู่ขาว อนาลโย เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์  (จูม พันธุโล)  หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ  หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

แถวกลาง พระอาจารย์จันทร์ เขมปตฺโต หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ

แถวหน้า หลวงปู่บัว สิริปุณโณ  หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร











891.รูปหล่อไต้ฮงกง รุ่น 2 จัดสร้างในปี 2513 หลวงปู่โต๊ะเจ้าพิธีปลุกเสก คนไทยเชื้อสายจีนนับถือมาก สวยๆ 1400-
สายตรงเปิดกันหลายพันครับ



รูปหล่อไต่ฮงกง รุ่น2 กฤตยาคมครบเครื่อง สูขสวัสดี อายุยืน ปราศจากโรคาพาธ
รูปหล่อไต่ฮงกง เป็นรูปหล่อนิยมในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีน ถือกันว่า ใครแขวนและจะ "เผ่งอัง" คือมีความสูขสวัสดี เป็นมงคลแก่ต้น รูปหล่อไต่ฮงกง รุ่น 2 นี้ จัดสร้างโดยมูลนิธิปอเต็กตึ้ง พ.ศ. 2513 หลวงปู่โต๊ะเป็นเจ้าพิธีปลุกเสก
พิธีใหญ๋ น่าสะสมหรือห้อยติดตัวป้องกัน สิ่งไม่ดีเข้าตัว หรือ ติดรถ ป้องกันสิ่งไม่ดีบนท้องถนน ทางสามแพร่ง ได้เป็นอย่งดี ครับ

    รูปหล่อไต่ฮงกง เป็นมงคลวัตถุครับเครื่อง นอกจากจะให้คุณทางด้านป้องกันเอื้ออำนวยสุขสวัสดีแล้ว ก็มีอายุมั่นขวัญยืน มีโชคลาภ ปราศจากโรคภัยคาพาธ เคยเห็นอาแปะแก่คนหนึ่ง มีรูปหล่อรุ่นนี้อยู่หนึ่งองค์ อาแปะเอาใส่ถุงผ้าแดงขนาดเล็กแล้วใส่กระเป๋าเสื้อ ก่อนจะออกจากบ้าน แกจะกำมือไหว้อย่างคนจีนบอกเป็นภาษาแต่จิ้วพ่อได้ยินว่า "อากงป๋อห่อ...ป๋อห่อ...ชุกยิบเพ่งอัง..." แปลว่า หลวงปู่ไต่ฮงกงได้โปรดคุ้มครองด้วย ไปไหนมาไหนขอให้ปลอดภัยทุกเมื่อ
ไต้ฮงกง หรือ ไต้ฮงโจวซือมหาเถระ เป็นพระอริยสงฆ์ชาวจีนในสมัยราชวงศ์ซ่ง หลักแห่งเมตตาธรรม และแนวจริยวัตรอันประเสริฐของท่านเป็น ต้นกำเนิดแห่งกุศลสาธารณะของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง คำว่า “ป่อเต็กตึ๊ง” หมายถึง “สนองพระคุณ
    ไต้ฮงกงเกิดที่เมืองเวินโจว ในแคว้นเจอเจียง เมื่อ พ.ศ. ๑๕๘๒ ในสมัยราชวงศ์ซ่ง จากตระกูลลิ้ม เดิมชื่อหลิงเอ้อครอบครัวของท่านสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินได้รับการศึกษาทั้งทางวิชาการและพุทธศาสนา สอบได้เป็นบัณฑิตระดับจิ้นสือ และเข้ารับราชการเป็นนายอำเภอเมื่ออายุ ๕๔ ปี การแก่งแย่งอำนาจของขุนนางผู้ใหญ่ในราชสำนักและความผันแปรทางการเมืองทำให้เบื่อหน่าย จึงลาออกจากราชการเข้าอุปสมบทในบวรพุทธศาสนาปฏิบัต ิและเผยแพร่ธรรมะ เป็นเวลายาวนานในมณฑลฮกเกี้ยน ใน พ.ศ. ๑๖๖๓ เมื่อธุดงค์มาถึงที่อำเภอเตี้ยเอี้ย มณฑลกวางตุ้ง ท่านเจริญอายุถึง ๘๑ ปี แล้วเข้าจำพรรษาที่อารามเล่งจั๊วโก๋วยี่ในปักซัว และต่อมาจึงย้ายไปที่วัดเมี่ยนอันกวนในฮั่วเพ้งไม่ห่างจากแม่น้ำเหลียงเจียงนัก ท่านปฏิบัติธรรมแผ่เมตตาอย่างต่อเนื่อง ดินแดนตอนใต้ของจีนในแถบนี้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติอยู่เป็นนิจ ทั้งวาตภัย อุทกภัย และภัยแล้ง ผู้คนอดอยากเกิดโรคระบาดล้มตายจำนวนมากไต้ฮงกงจัดการเก็บศพเหล่านี้ไปฝังโดยไม่รังเกียจ ตั้งศาลาทานรักษาโรคที่ริมโขดหินใหญ่ ชักชวนชาวบ้านและสานุศิษย์ให้ประกอบกิจกรรมกุศลกันอย่างกว้างขวาง แม่น้ำเหลียงเจียงเป็นแม่น้ำกว้างใหญ่ถึง ๓๐๐ วา ไหลลงสู่ทะเลจีนใต้สายน้ำเชี่ยวกรากตลอดปี เรือล่มคร่าชีวิตผู้สัญจรไปมาเป็นจำนวนมาก ไต้ฮงกงมุ่งมั่นสร้างสะพานฮั่วเพ้งช่วยบรรเทาภัยท่านใช้เวลาถึง ๕ ปี วางแบบเขียนผัง และเดินทางไปฮกเกี้ยนเพื่อศึกษาวิธีการสร้างสะพานและจัดหาวัสดุ หินแต่ละแท่งที่ใช้ก่อสร้างหนักหมื่นชั่ง ชาวบ้านต่างมีศรัทธาร่วมกันบริจาควัตถุปัจจัยกำลังกายกำลังทรัพย์ เริ่มก่อสร้างใน พ.ศ. ๑๖๗๐ ขณะนั้นไต้ฮงกงเจริญอายุได้ ๘๘ ปี สร้างสะพานทั้งกลางวันและกลางคืนโดยไม่ย่อท้อ เมื่อสร้างสะพานได้ ๑๖ ช่วง เหลือเพียงช่วงหัว และท้าย ไต้ฮงกงมรณภาพลงในปีนั้น อีก ๒๖ ปีต่อมาจึงมีผู้สามารถสืบทอดเจตนารมณ์สร้างสะพานจนเสร็จ สะพานฮั่วเพ้งยังคงทนยืนหยัดเป็นประจักษ์พยานรูปธรรมแห่งเมตตาธรรมและความเพียรของท่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ พระคุณของไต้ฮงกงแผ่ไพศาลชาวจีนตอนใต้เลื่อมใสศรัทธาตลอดมาทุกยุคสมัย สร้างศาลาบุญเพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงพระคุณท่านและ สืบทอดกุศลเจตนาของท่าน ในปัจจุบันมีกุศลสถานสนองพระคุณในประเทศจีน ๒๓๗ แห่ง และในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ๔๐ แห่ง เช่น ศาลฮั่วเพ้งป่อเต็กโก๋วตึ๊ง ในตำบลฮั่วเพ้ง ซึ่งประดิษฐานพระรูปไต้ฮงกง และภาพวาดของท่านอายุราว ๙๐๐ ปี รวมทั้งแผ่นศิลาจารึกเรื่องราวของท่าน ในปัจจุบันนี้สุสานของท่านที่ฮั่วเพ้งได้รับการบูรณะขึ้นเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ในเขตทิวทัศน์สงบและสวยงามที่เนินเขาเฉียวเหวิ่ยบนเส้นทางหลวงสายกวางเจา-ซัวเถา อุทยานแห่งนี้มีความสง่า โอ่อ่า งดงามเป็นอย่างยิ่ง ประกอบ ด้วยหมู่อาคารหลายหลัง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ศาลาไต้ฮงกงซึ่งสร้างอย่างประณีตอยู่เบื้องหน้าสุสานไต้ฮงกง ถัดไปเป็นนินเขาเขียวชอุ่มและป่าไม้ นอกจากนี้ ยังมีหออนุสรณ์ อาคารป่อเต็ก และศาลาหลายหลัง บรรยากาศและทิวทัศน์ที่สุข สงบชำระจิตใจให้ผ่องใส และรำลึกคุณอันแผ่ไพศาลของไต้ฮงกง กล่าวกันว่า เจตนารมณ์ไต้ฮงกงเปรียบเสมือนสายน้ำในแม่น้ำเหลียงเจียงที่ไหลลงสู่ทะเลใต้ แพร่สะพัดไปที่ทุกแห่งหน
    สำหรับประเทศไทยนั้น รูปธรรมแห่งศรัทธาบารมีของไต้ฮงกงปรากฏขึ้นในราว ๑๐๐ ปีก่อน ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อ นายเบ๊ยุ่น ชาวฮั่วเพ้ง อัญเชิญรูปสลักไม้ไต้ฮงกงมายังกรุงเทพฯ และต่อมาคณะพ่อค้าชาวจีน ๑๒ คน ได้ร่วมกันจัดตั้งคณะเก็บศพไต้ฮงกง เก็บศพไร้ญาติโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เป็นรากเหง้าต้นกำเนิดของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง แห่งประเทศไทยที่เจริญเติบโตก้าวหน้ามาถึง ๙๐ ปีในพุทธศักราช ๒๕๔๓











892.เหรียญรุ่น 2 พระอาจารย์กัมมัฏฐานแพง วัดสิงหาญ ต.สะพือ อ.ตระการพืชพล จ.อุบลราชธานี  ปิดครับ-

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 12, 2018, 04:44:58 PM โดย thesun »



893.รูปถ่ายเก่าหลวงปู่อ่อนสา + เหรียญโต๊ะหมู่หลวงปู่อ่อนสา วัดประชาชุมพลพัฒนาราม ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี 850-
ปิดท่าน วันชัย ทางไลน์


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 09, 2019, 06:05:41 PM โดย thesun »




 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi