[Thesun]พระกรรมฐานพ่อแม่ครูอาจารย์และพระเกจิอาจารย์ทั่วไป(อ่าน 648181 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

903.พระว่านจำปาศักดิ์ พิมพ์นาคปรก เก่า และแห้งถึงอายุร้อยปี มาพร้อมถุงเก่า ที่ทหารพกติดตัวไปสงคราม สภาพสมบูรณ์ พระใหญ่แบบนี้หายาก 1300-

เป็นพระเครื่องที่นักเล่นพระยุคเก่าในอดีตชอบสะสม ขึ้นชื่อ เลื่องลือ เรื่อง ความเหนียว แคล้วคลาด คงกระพัน ทหารมักใช้พกติดตัวในยามศึกสงคราม   

พระว่านจําปาศักดิ์เป็นพระที่อายุเก่ามีอายุ สร้างกันมาหลายยุคคาดคงเป็นพระเกจิยุคเก่าสร้างไว้ ไม่มีบันทึกไว้ในข้อมูลที่ชัดเจนนักจากตํานานเล่าขานกันมาว่าท่านพระครูโพนเสม็ด(พระครูขี้หอม)พระเถระยุคเก่านํามาจากฝั่งลาว
หลังจากที่อพยพเข้ามา และมาสร้างไว้อีกก็มี อาศัยความเก่าของว่านที่บอกถึงระดับอายุ ซึ่งเป็นพระที่พบมากทางแถบท้องถิ่นอีสาน ทั้งตามถ้ำบ้างโพรงต้นไม้ ในป่า เขา มีทั้งเป็นกรุก็มี
 ศิลปะ พุทธศิลป์ไม่ชัดเจนนัก มีหลายแบบพิมพ์ รูปแบบเป็นเนื้อว่านล้วน แห้งหดตัว องค์พระส่วนใหญ่จะตื้นบาง มีหลายขนาด ท้องถิ่นที่พบแถบทางฝั่งประเทศลาวก็ยังมีพบ
เป็นพระที่พุทธคุณเด่นด้านคงกระพันชาตรีเป็นพิเศษ ทั้งเมตตามหานิยมมหาเสน่ห์ก็เป็นเลิศมีประสบการณ์มาช้านาน เป็นว่านยารักษาโรคภัยไข้เจ็บเวลาเข้าป่า
**พระว่านจําปาสักเข้าใจว่าคงมีทั้งลงกรุและไม่ลงกรุ เนื่องจากบางส่วนมีการชลอพระมา อาจจะบรรจุกรุ และแจกจ่ายมอบให้ มีมาหลายยุคไม่ชัดเจน จํานวนมากสร้าง
 มีหลายขนาด หลายแบบพิมพ์ พระว่านจําปาสักเป็นเนื้อว่านล้วน












904.เหรียญพระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485 นิยม สระอะจุด หลังมีเส้นสายฟ้า ผิวเหรียญเรียบ(บางเหรียญผิวขรุขระ)
พระดีพิธีใหญ่ พิธีชินราชอินโดจีนนี้ จัดเป็นพิธีใหญ่ของประเทศที่มีการบันทึกไว้ สุดยอดพระเกจิระดับประเทศยุคนั้นร่วมอธิษฐานจิตมากมาย
ผิวน้ำมันกาซ สวยเดิม องค์นี้หน้าตาติดชัด จัดเป็นเหรียญพระพุทธชินราชนิยมอันดับต้นๆของประเทศ ใช้แทน พระพุทธชินราชอินโดจีน ลอยองค์ ที่ราคาหลักหมื่นหลักแสนได้เลยครับ
ประกวดติดรางวัลแน่นอนสภาพนี้ นำไปเลี่ยมทองขึ้นคอเป็นของขวัญปีใหม่ให้ตัวเองได้เลยครับ
เปิดราคา13,500- ถูกกว่าพื้นที่ ช่วงเศรษฐกิจดีๆสภาพนี้ต้องสองหมื่นขึ้นครับ ปิดท่านj999 ครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 24, 2018, 11:05:48 AM โดย thesun »



904.เหรียญพระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485 นิยม สระอะจุด หลังมีเส้นสายฟ้า ผิวเหรียญเรียบ(บางเหรียญผิวขรุขระ)
พระดีพิธีใหญ่ พิธีชินราชอินโดจีนนี้ จัดเป็นพิธีใหญ่ของประเทศที่มีการบันทึกไว้ สุดยอดพระเกจิระดับประเทศยุคนั้นร่วมอธิษฐานจิตมากมาย
ผิวน้ำมันกาซ สวยเดิม องค์นี้หน้าตาติดชัด จัดเป็นเหรียญพระพุทธชินราชนิยมอันดับต้นๆของประเทศ ใช้แทน พระพุทธชินราชอินโดจีน ลอยองค์ ที่ราคาหลักหมื่นหลักแสนได้เลยครับ
ประกวดติดรางวัลแน่นอนสภาพนี้ นำไปเลี่ยมทองขึ้นคอเป็นของขวัญปีใหม่ให้ตัวเองได้เลยครับ
เปิดราคา13,500- ถูกกว่าพื้นที่ ช่วงเศรษฐกิจดีๆสภาพนี้ต้องสองหมื่นขึ้นครับ


เหรียญพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน วัดสุทัศน์ ปี 2485 (พิมพ์สระอะจุด)

ประวัติการสร้างเหรียญพระพุทธชินราช วัดสุทัศน์ รุ่นอินโดจีน พ.ศ.2485 เหรียญที่มีประสบการณ์สูง จัดสร้างช่วงสงครามอินโดจีน พิธียิ่งใหญ่ ปี2485
วัดสุทัศน์ในปี พ.ศ. 2485 ประเทศไทยประสพปัญหาทางด้านการเมือง ซึ่งหลังจากปัญหาต่างๆได้กลับคืนสู่สภาวะปกติแล้ว
จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า " พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย " ซึ่งเป็นการรวมตัวระหว่าง พุทธธรรมสมาคมกับ ยุวพุทธสาสนิกสมาคม
จึงได้มีการคิดที่จะทำการหล่อ พระพุทธชินราชจำลองขึ้นดังรายละเอียดดังต่อไปนี้ ชนิดที่ทำการสร้างพระพุทธชินราชจำลองที่สร้างขึ้น
แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ



1. พระบูชา จะสร้างโดยใช้วิธีหล่อเป็นพระขัดเงามีเรือนแก้วขนาดห น้าตักขนาดใหญ่เพื่อสำหรับจัดส่งไปประจำจังหวัดต่างๆ ทั่วเมืองไทย พระพุทธรูปชะนิดนี้
หากประชาชนปรารถนาจะสร้างไว้สำหรับสักการะบูชาของตนเอง ก็ขอให้แสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งส่งเงินค่าสร้างองค์ละ ๑๕๐ บาท
ไปยังคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อจักได้รวบรวมจำนวนให้ช่างจัดการต่อไป


2. พระเครื่อง มีการสร้างพระเครื่องขึ้นเป็น 2 วิธีคือ โดยวิธีหล่อ และ โดยวิธีปั๊ม - พระเครื่องชนิดหล่อ จะทำการหล่อด้วยโลหะและมีรูปลักษณะทำนองพระยอดธง
ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธชินราชมีเรือนแก้ว และมีรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ข้างใต้ฐาน พระเครื่องชนิดนี้ ค่าสร้างองค์ละ1 บาท
พระเครื่องชนิดปั๊ม จะสร้างขึ้นโดยวิธีปั๊ม มีรูปลักษณะคล้ายเสมา ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธชินราชมีเรือนแก้ว ด้านหลังมีรูปดอกเลาบานประตูพระ
วิหารวัดพระศรีรัตนมห าธาตุพระเครื่องชนิดนี้ ค่าสร้างองค์ละ 50 สตางค์


เหรียญปั๊ม แบ่งเป็นพิมสระอะจุด (นิยม) และสระอะ ขีด

 ผู้ประกอบพิธี
สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานในพิธีหล่อพร้อมด้วยพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณต่างๆทั่วราชอาณาจักร พระชุดนี้ได้พิธีหล่อ และปลุกเศกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ (ปี พ.ศ.2485) โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราชแพ (ติสสเทวะ) เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการ ได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำหรับการสร้างพระกริ่ง-พระชัย ของวัดสุทัศน์นี้แล้ว ยังมีแผ่นทองจากท่านพระคณาจารย์ ที่นิมนต์มาร่วมพิธีปลุกเศกสมทบหล่อหลอมในครั้งนี้อีกด้วย จึงนับได้ว่าพิธีหล่อพระรูปจำลองพระพุทธชินราช เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพิธีหนึ่งในประวัติศาสตร์ชนชาติไทยที่จะหาพิธีไหนมาเปรียบเทียบได้ยากยิ่ง

รายนามพระอาจารย์ที่ร่วมปลุกเศก พระพุทธชินราชในปี พ.ศ. 2485
1.สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ เป็นองค์ประธานในพิธี 2.ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ เป็นผู้ดำเนินการควบคุมการจัดสร้าง 3.หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา 4.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก 5.หลวงปู่นาค วัดระฆัง 6.หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู 7.หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว 8.หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง 9.หลวงพ่อแช่ม วัดตากล้อง 10.หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว 11.หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด 12.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ 13.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง 14.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ 15.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา 16.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ 17. หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก 18.พระพุทธโฆษาจารย์เจริญ วัดเทพศิรินทร์ 19.หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ 20.หลวงพ่อติสโสอ้วน วัดบรมนิวาส 21.สมเด็จพระสังฆราชชื่น วัดบวรนิเวศ 22.พระพุฒาจารย์นวม วัดอนงค์ 23.หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา 24.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ 25.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ 26.หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค 27.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ 28.หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้ 29.หลวงพ่ออาจ วัดดอนไก่ดี 30.หลวงพ่อกลิ่น วัดสพานสูง 31.สมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ 32.หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม 33.หลวงพ่อปาน วัดเทพธิดาราม 34.หลวงพ่อเซ็ก วัดทองธรรมชาติ 35.หลวงพ่อเจีย วัดพระเชตุพน 36. หลวงพ่อเผื่อน วัดพระเชตุพน 37.หลวงพ่อหลิม วัดทุ่งบางมด 38. หลวงพ่อแพ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก 39.หลวงพ่อสอน วัดพลับ 40.หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์ 41.หลวงพ่อบัว วัดอรุณ 42. หลวงพ่อนาค วัดอรุณ 43.หลวงพ่อปลั่ง วัดคูยาง 44.หลวงพ่อชุ่ม วัดพระประโทน 45.หลวงพ่อสนิท วัดราษฎร์บูรณะ 46.หลวงพ่อเจิม วัดราษฎร์บูรณะ 47.หลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ 48.หลวงพ่ออาคม สุนทรมา วัดราษฎร์บูรณะ 49.หลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม 50.หลวงพ่อประหยัด วัดสุทัศน์ 51.หลวงพ่อปลอด วัดหลวงสุวรรณ 52. หลวงพ่ออิ่ม วัดชัยพฤกษ์มาลา

53.หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก 54.หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน 55.หลวงพ่อครุฑ วัดท่อฬ่อ 56.หลวงพ่อกลีบ วัดตลิ่งชัน 57.หลวงพ่อทรัพย์ วัดสังฆราชาวาส 58.หลวงพ่อแม้น วัดเสาธงทอง 59.หลวงปู่รอด วัดวังน้ำว 60.หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม 61.หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตาคาม 62.หลวงพ่อพิศ วัดฆะมัง 63.หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก 64.หลวงพ่อหมา วัดน้ำคือ 65.หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง 66.หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ 67.หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว 68.หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง 69.หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า 70.หลวงพ่อแนบ วัดระฆัง 71.หลวงพ่อเลียบ วัดเลา 72.หลวงพ่อพักตร์ วัดบึงทองหลาง 73.หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า 74.หลวงปู่เผือก วัดโมรี 75.หลวงพ่อผิน วัดบวรนิเวศ 76. หลวงพ่อเจียง วัดเจริญธรรมาราม 77.หลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆษิตาราม 78.หลวงพ่อไวย์ วัดดาวดึงส์ 79.หลวงพ่อกลึง วัดสวนแก้ว 80. หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง 81.หลวงปู่จันทร์ วัดคลองระนง 82.หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร 83.หลวงพ่อศรี วัดพลับ 84.พระอาจารย์เชื้อ วัดพลับ 85. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก 86.หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ 87.หลวงพ่อพริ้ง วัดราชนัดดา 88.หลวงพ่อขำ วัดตรีทศเทพ 89.หลวงพ่อหนู วัดปทุมวนาราม 90.หลวงพ่อทองคำ วัดปทุมคงคา 91.หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุธาราม 92.หลวงพ่อกรอง วัดสว่างอารมณ์ 93.หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง 94.หลวงพ่อบุญ วัดอินทราราม 95.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดบึง 96. หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง 97.หลวงพ่อพรหมสรรอด วัดบ้านไพร 98. หลวงปู่จันทร์ วัดโสมนัสวิหาร 99.หลวงพ่อโสม วัดราษฎร์บูรณะ 100. หลวงพ่อบุตร วัดบางปลากด 101.หลวงพ่อโต วัดบ้านกล้วย 102. หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางหัวเสือ 103.หลวงพ่อวงศ์ วัดสระเกศ 104. พระอาจารย์พงษ์ วัดกำแพง 105.พระอธิการชัย วัดเปรมประชา 106. หลวงปู่รอด วัดเกริ่น107.หลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ 108.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ (ตัวท่านไม่ได้มาร่วมปลุกเสก แต่จารแผ่นทองเหลือง ทองแดงมาร่วมพิธี)

ภาพรวมเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสก เหรียญพระพุทธชินราช วัดสุทัศน์ รุ่นอินโดจีน พ.ศ.2485















วงแดงๆ สระอะจะเป็นจุดไข่ปลา เป็นพิมพ์นิยมครับ



หน้าตาชัด บางองค์หน้าไม่ชัดครับ


ที่วงสีแดง คือวงการเรียกว่า เส้นสายฟ้า มีในเหรียญ นิยมสุด ของเหรียญพระพุทธชินราชพิมพ์สระอะจุดครับ


ขอจองครับ



905.เหรียญหลวงพ่อนิโรธ วัดเจริญสมณกิจ จ.ภูเก็ต ปี11 หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี อธิษฐานจิต สภาพพอสวย ผ่านการใช้
เอาไว้ใช้พุทธคุณครับ สวยๆ หลักพันกลางๆครับ
800-

เหรียญหลวงพ่อนิโรธ วัดเจริญสมณกิจ จังหวัดภูเก็ต ปี พ.ศ.2511 อธิฐานจิตโดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลังจากงานประชุมเพลิงพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตแล้ว คณะหมู่ลูกศิษย์ ส่วนหนึ่งได้ติดตามหลวงปู่เทสก์ ลงมาเผยแพร่ธรรมทางภาคใต้ และหลวงปู่เทสก์ ท่านได้มาอยู่จำพรรษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 นานถึง 15 ปี วัดเจริญสมณกิจ หรือวัดหลังศาล จังหวัดภูเก็ต ให้เป็นวัดสายธรรมยุติ ที่เป็นวัดป่าขึ้น ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นแค่สำนักสงฆ์เท่านั้น การเข้ามาอยู่แรกๆ ท่านต้องเจอกับปัญหาในการบริหารหมู่คณะจนกระทั่งฝ่ายตรงข้ามไม่พอใจ เหตุเพราะว่าการปฏิบัติธรรมของพระป่าที่มั่นคงอยู่ในวิปัสสนากรรมฐาน ย่อมจะต้องมีความ เคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นปกติ จึงทำให้หลวงปู่เทสก์เป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธบริษัทในพื้นที่ภูเก็ต และแถบจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งชาวใต้ทั่วไป จึงทำให้พระที่เป็นเจ้าถิ่นอยู่แต่เดิมไม่พอใจ พากันเข้าทำร้ายพระลูกวัดของท่าน ขว้างปาก้อนหินเข้าทำลายกุฎิ เป็นต้น จนมีการฟ้องร้องเข้าไปยังกรรมการศาสนา เหตุการณ์ครั้งนั้น หลวงปู่เทสก์ท่านได้สรุปเป็นคำบันทึกไว้ว่า "..คนเราเกิดมาในโลกนี้ไม่ว่าใครจะทำอะไรไม่ว่าจะดีหรือชั่ว จะเป็นไปเพื่อความเสื่อมหรือความเจริญก็ตาม ต้องมีอุปสรรค ด้วยกันทั้งนั้น ที่จะสำเร็จตามเป้าหมายได้อยู่ที่ความรอคอย อดทน หาเหตุผลมาแก้ไข ถ้าหาไม่แล้วก็จะไม่บรรลุผลได้เลย แล้วก็เป็นกำลังใจ ในอันที่จะทำสิ่งนั้นๆ ให้บรรลุผลรวดเร็วเข้าอีกด้วย.." หลวงปู่เทสก์พร้อมด้วยพระภิษุสามเณรอีก ๕ รูปได้อยู่จำพรรษา ณ ที่แห่งนี้ ซึ่งวัดตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาโต๊ะแซะ (ปัจจุบันได้พัฒนาให้มีทางเดิน วิ่ง ออกกำลังกาย ไปยังเนินเขานี้ เพื่อชมทัศนียภาพบางส่วนของเกาะภูเก็ตอีกด้วย) เชิงเขาแห่งนี้ยังมีป่าอุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ ท่านได้บันทึกไว้ว่า "..กลางคืนเราเปิดกุฏิออกมา เดินไปหาพระเณร เสือกระโดดเข้าป่าโครม บางวันนั่งฉันน้ำร้อนตอนเย็นๆ เสียงร้องตะกุยๆ ออกมาจาก ป่าแทบจะเห็นตัวเลยกลางวันเสกๆ ยังตะครุบเอาสุนัขเอา แมวไปกินก็มี ดีแต่ว่าเสือเหล่านี้ไม่อาละวาดมากินคน เสือก็อยู่ตามประสาเสือ คนก็อยู่ตามประสาคน.." ต่อมาได้มีวัด และสำนักสงฆ์สายพระอาจารย์มั่นเกิดขึ้นในแถบจังหวัดอันดามันขึ้นอีกมากมาย นับเป็นพระคุณของท่านที่ทำให้ประชาชนทางภาคใต้ ได้หลักในการปฏิบัติสายพ่อแม่ครูอาจารย์ที่ชัดเจน ถูกต้องแม่นยำขึ้น สำหรับหลวงพ่อนิโรธเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำวัดหลังศาล และเหรียญหลวงพ่อนิโรธนี้ เป็นวัตถุมงคลยุคแรกของหลวงปู่เทสก์ เป็นที่นิยมทั้งคนที่เก็บสายพระกัมมัฏฐาน และพื้นที่ภูเก็ต ถือว่าเป็นเหรียญสายกัมมัฏฐาน รุ่นแรกของทางภาคใต้เลยก็ว่าได้ กล่าวได้ว่าเป็นเหรียญที่สร้างก่อนเหรียญรุ่นแรก ของหลวงปู่เทสก์ ที่วงการนักสะสมนิยมกัน (เหรียญรุ่นแรกของหลวงปู่สร้างปี พ.ศ.2516) ในการสร้างอุโบสถของวัดเจริญสมณกิจในครั้งนั้น กว่าจะแล้วเสร็จ ก็ใช้เวลาหลายปี มาเสร็จสมบูรณ์ ทำการผูกพัทธสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2511 และได้หล่อพระประธานประจำอุโบสถ โดยมี หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เป็นประธาน ประชาชนได้ถวายชื่อพระประธานว่า "หลวงพ่อนิโรธ" เพื่อเป็นที่ระลึกถึงคุณงามความดี ของหลวงปู่เทสก์ เมื่อครั้งที่ท่านได้จำพรรษา ณ วัดแห่งนี้ และท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ว่า "พระครูนิโรธรังสี" จึงให้ชื่อพระประธานองค์นี้ว่า "หลวงพ่อนิโรธ" ตามชื่อของท่าน และในงานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตในครั้งนั้น ทางวัดได้ออกเหรียญที่ระลึกสำหรับแจกให้กับประชาชนที่มาร่วมงานด้วยเหรียญหลวงพ่อนิโรธจัดสร้างในวาระงานผูกพัทธสีมาและหล่อพระประธาน (หลวงพ่อนิโรธ) ประจำอุโบสถ ที่สร้างเสร็จ เหรียญรุ่นนี้ได้รับการอธิษฐานจิตจาก ลูกศิษย์ของพระอาจารย์มั่นหลายรูป โดยมี หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เป็นประธานในพิธี สังเกตได้ว่าหลวงปู่เทสก์ท่านจะไม่ชอบให้สร้างพระเป็นรูปเหมือนหรือใช้ชื่อท่าน แต่จะให้สร้างในลักษณะของตัวแทนพระพุทธองค์โดยอาจจะใช้ชื่อที่พ้องกับชื่อท่าน เช่นองค์นี้เป็นต้น (พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ : หลวงพ่อนิโรธ) ลักษณะของเหรียญหลวงพ่อนิโรธที่จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในครั้งนั้น เป็นรูปใบเสมาคว่ำ ตรงกลางจะเป็นรูปพระพุทธปางวิชัย ฐานเป็นบัวลูกฝักซ้อน มองดูผิวเผินคล้ายกับหลวงพ่อโสธรมาก ด้านข้างจะมีหนังสือไทยเขียนไว้ว่า "หลวงพ่อนิโรธ" ด้านหลังจะเป็นยันต์พระเจ้า 5 พระองค์ ข้างล่างเขียนไว้ว่า "งานผูกพัทธสีมาวัดเจริญสมณกิจ จ. ภูเก็ต ๒๕๑๑" เหรียญมีหูในตัว
จุดสังเกตุเหรียญแท้ด้านหน้าตรงขอบเหรียญมุมบนซ้ายมือจะมีเส้นขีดเกินหนึ่งเส้น ใต้คำว่า นิ มีเส้นไปจดพระกรรณ










906.พระผงรูปเหมือน นั่งซุ้มพญานาค เนื้อข้าวก้นบาตร หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ปี17 หายาก นานๆเจอที
เนื้อข้าวก้นบาตร หายาก นิยมครับ
  1,200-

มวลสารหลักคือข้าวก้นบาตรของหลวงปู่ตื้อ ทำให้เนื้อพระ กดออกมามีลักษณะไม่คมชัดครับ บางองค์หดตัว บิดเบี้ยว ครับ พระผงข้าวก้นบาตรถือเป็นของดีของผู้นิยมสายพระป่า
มีกินไม่หมด เมตตามหานิยม ครับ








907.เหรียญ 9 สังฆราช 9 มหาราช ปี14-15 ออกวัดเทพากร หลวงพ่อกวย ร่วมปลุกเสก ของดี ราคาเบา สวยๆ 500-

ใช้แทนพระเครื่องหลวงพ่อกวย ที่ออกวัดโฆสิตาราม หลักหมื่น หลักแสน ได้เลยครับ

เหรียญรูปไข่ 9 สังฆราช 9 มหาราช วัดเทพากร ธนบุรี กรุงเทพฯ เนื้อทองแดงรมดำ จัดสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2514 (ลป.โต๊ะ/ลพ.กวย/ลป.หน่าย ร่วมปลุกเสก) สภาพสวยมาก
 (มีการปลุกเสกตั้งแต่ปี 2514 จนกระทั่งปี 2515 เสกรวม หลายวาระ พร้อมวัตถุมงคลแบบอื่นๆ) จัดพิธีพุทธาภิเษกอันยิ่งใหญ่ พระคณาจารย์ทั่วฟ้าเมืองไทยร่วมปลุกเสก
พิธีพุทธาภิเษกใหญ่ เมื่อวันเสาร์ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2515 พระคณาจารย์ 40 รูป นั่งปรกบริกรรมปลุกเสก รายนามพระคณาจารย์ที่เข้าร่วมพุทธาภิเษก -
พระเทพวิริยากรณ์ วัดยานนาวา เป็นประธานจุดเทียนชัย
 - หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์
- หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
- ท่านเจ้าคุณโพธิ์วรคุณ วัดโพธิ์นิมิต
 - พระอาจารย์สุพจน์ วัดสุทัศน์
- หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
- หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
- หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
- หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์
- ครูบาวัง วัดบ้านเด่น
- หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
- หลวงพ่อละมูล วัดเสด็จ
 - หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง
- หลวงพ่อทรัพย์ วัดตลุก ปลุกเสกเดี่ยวพิเศษ
 - หลวงพ่อป่วน วัดโพธิ์งาม เป็นต้น
เหรียญดีพิธีใหญ่ พระคณาจารย์ร่วมปลุกเสกล้วนคงแก่วิทยาคมล้นเหลือ (มีอ้างอิงในทำเนียบวัตถุมงคลของหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม)
แต่นำมาออกที่วัดเทพากร เมื่อปี 2514-15 เพราะศิษย์ของท่านเป็นเจ้าอาวาสที่วัดนี้ เป็นพระชุดมากประสบการณ์ของท่านชุดหนึ่ง ปัจจุบันกลายเป็นของหายากแล้ว












908.เหรียญรุ่น2 หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะฯ จ.กาญจนบุรี ปี11 หน้าและหลังแปะ ชันโรง หลวงพ่อนารถ อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว ในโบสถ์ สถาพสวยแชมป์
เหรียญนิยมเหรียญหนึ่งของเมืองกาญ ประสบการณ์มากมาย มีในรายการประกวดเสมอ ใช้แทนเหรียญรุ่นแรกที่ราคาหลักหมื่นได้เลยครับ
1800-
ในพื้นที่แพงกว่านี้และหาสวยๆแบบนี้ยากครับ เหรียญของหลวงพ่อนารถมีประสบการณ์ความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่กล่าวขวัญกันเป็นอย่างมาก
ปิดท่านj999ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 04, 2019, 01:54:29 PM โดย thesun »



908.เหรียญรุ่น2 หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะฯ จ.กาญจนบุรี ปี11 หน้าและหลังแปะ ชันโรง หลวงพ่อนารถ อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว ในโบสถ์ สถาพสวยแชมป์
เหรียญนิยมเหรียญหนึ่งของเมืองกาญ ประสบการณ์มากมาย มีในรายการประกวดเสมอ ใช้แทนเหรียญรุ่นแรกที่ราคาหลักหมื่นได้เลยครับ
1800-
ในพื้นที่แพงกว่านี้และหาสวยๆแบบนี้ยากครับ เหรียญของหลวงพ่อนารถมีประสบการณ์ความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่กล่าวขวัญกันเป็นอย่างมาก


จัดสร้างเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2511 เพื่อแจกแก่บรรดาลูกศิษย์ที่พลาดโอกาสในการได้รับเหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรก เมื่อปี03
โดยครั้งนี้ได้สร้างด้วยเนื้อโลหะหลายชนิด ประกอบด้วย 1.เนื้อทองคำ เนือเงิน เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง และ เนื้อทองแดงรมดำ
ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปหลวงพ่อนาถนั่งสมาธิเต็มรูป บนสังฆาฏิมีอักขระขอมว่า "อะระหังปะอิเต พุทโธสังโก"
ด้านบนมีอักขระขอม 3 ตัว ว่า "มะ อะ อุ" และเลข "๕" ไทย ตรงพื้นผนังศีรษะทำเป็นเส้นรัศมี ด้านข้างรัศมีด้านขวามีอักขระขอมว่า
 "อะ พุ ทะ สัง มิ" ส่วนด้านซ้ายว่า "หุ สุ นะ มะ พะ ทะ" ด้านล่างรูปเหมือนมีอักษรไทยว่า "พระครูโสภณประชานารถ"
ด้านหลัง ตรงกลางเป็นรูปหลวงพ่อพรตนั่งสมาธิเต็มรูป บนสังฆาฏิมีอักขระขอมว่า "อะ สัง วิ สุ" บนผนังเหรียญบริเวณหลังศีรษะเป็นรัศมีวงกลม
ด้านข้างรัศมีมีอักขระขอมว่า "โล ปุ สะ พุ ภะ" ใต้รูปเหมือนมีอักษรไทยว่า "หลวงพ่อพรต"


วัดศรีโลหะราษฏร์บำรุง เป็นวัดเก่าแก่สร้างเมื่อปี พ.ศ.2330 ตรงกับรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่1 โดยชาวจีนผู้หนึ่งซึ่งตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่ในหมู่บ้านศรีโลหะ เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น ระยะแรกมีกุฏิเพียงไม่กี่หลัง ต่อมาได้รับความร่วมมือจากพระศรีสวัสดิ์ในขณะนั้นเป็นผู้อุปถัมภ์ช่วยเหลือสำนักสงฆ์แห่งนี้เรื่อยมา ต่อมาภายหลังได้บูรณะก่อสร้างกุฏิสงฆ์เพิ่มเติมทั้งศาลาการเปรียญและพระอุโบสถครบสมบูรณ์จึงได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาและตั้งชื่อวัดว่า
@ วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง @ ตามชื่อผู้ริเริ่มก่อตั้งเป็นสำนักสงฆ์และผู้ให้ความอุปถัมภ์มาโดยตลอด คือ นายโลหะ และ พระศรีสวัสดิ์
เจ้าอาวาสผู้ปกครองดูแลวัดศรีโลหะฯจากอดีตถึงปัจจุบันมีจำนวนหลายองค์ แต่ที่มีชื่อเสียงเกียรติคุณโด่งดัง เป็นที่รู้จักกันมี 2 องค์คือ
1 หลวงพ่อพรต (พระครูยติวัตรวิบูล) อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ 6
2 หลวงพ่อนารถ นาคเสโน (พระครูโสภณ ประชานารถ) เจ้าอาวาสองค์ที่ 9


หลวงพ่อพรต จนฺทโสภะ หรือพระครูยวิวัตรวิบูล ท่านเป็นชาวกรุงเทพฯ เกิดเมื่อ ปีพ.ศ.2421 ล่วงมาถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2441 ตรงกับวันอาทิตย์ เดือน 7
ขึ้น 12 ค่ำ ปีระกา เวลา 14.25 น. อายุได้20ปี ได้บรรพชาอุปสมบท ณ วัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพฯ โดยมี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(แสง) เป็นพระอุปัชฌา พระกัลยาณุคุณ(กล้ำ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระธรรมเจดีย์(อุ่ม)
เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "จนฺทโสภะ" ได้พำนักจำพรรษา ณ วัดมหาพฤฒารามเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย
ตลอดจนศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานจนเจนจบ จึงได้ออกเดินธุดงค์
ตามสถานที่ต่างๆ กระทั่งถึงวัดศรีโลหะฯ ท่านเห็นว่าสถานที่แห่งนี้สงบวิเวก เหมาะแก่การฝึกวิปัสสนากัมมัฎฐาน จึงได้ทำสกจำพรรษา ณ วัดแห่งนี้
ขณะที่ท่านได้พำนักจำพรรษา ณ วัดศรีโลหะฯนั้น หลวงพ่อฉาวเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ซึ่งท่านเป็นพระคณาจารย์ยุคเก่าที่แก่กล้าพระเวทย์วิทยาคมอีกองค์หนึ่ง และเคยสร้างพระเครื่องบรรจุกรุเอาไว้ หลวงพ่อพรตจึงได้ศึกษาวิชาเพิ่มเติมจากหลวงพ่อฉาว นอกจากนี้แล้วยังได้ศึกษาจากตำราโบราณ ซึ่งเป็นตำราตกทอดมานานของวัด แล้วท่านยังได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์กับ พระครูวิสุทธิรังษี หรือ หลวงพ่อเปลี่ยน อินทสโร แห่งวัดไชยชุมพลชนะสงคราม(วัดใต้)
ด้วยความรักและเคารพในครูบาอาจารย์ ท่าถึงกับลั่นวาจาไว้ว่า
"ถ้าท่านเจ้าคณะจังหวัดยังอยู่(หมายถึงหลวงพ่อเปลี่ยน) ท่านจะไม่สร้างวัตถุมงคลใดๆขึ้นมา" ภายหลังหลวงพ่อฉาว เจ้าอาวาสองค์ที่5 ได้มรณภาพ ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส
สืบต่อมา ได้พัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพระอารามให้เจริญรุ่งเรือง ก่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้น เพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้ศึกษาหาความรู้
ปี พ.ศ.2458 ตรงกับ วันที่ 19 กุมพาพันธ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จประพาสมาทางน้ำมาตรวจราชการที่กาญจนบุรี ได้แวะมาตรวจที่วัดศรีโลหะฯ หลวงพ่อพรตท่านได้มีโอกาสเข้าเฝ้าถวายรายงานถึงเรื่องต่างๆ ต่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ภายในปีนี้เอง ท่านได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูยติวัตรวิบูล พระครูสัญญาบัตร ตำแหน่งเจ้าคณะหมวด 2
หลวงพ่อพรต จนฺทโสภะ ได้ปกครองวัดศรีโลหะฯเรื่อยมา จนกระทั่งถึงแก่มรณภาพ
ในวันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2480 รวมศิริอายุได้ 59 ปี 39 พรรษา

หลวงพ่อนารถ ศิษย์หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว




พุทธประวัติ หลวงพ่อนารถ นาคเสโน
หลวงพ่อนารถ นาคเสโน ท่านเกิดเมื่อ วันศุกร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน10 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2444 พื้นเพท่านเป็นชาวอำเภอศรีสวัสดิ์ กาญจนบุรี เป็นบุตรของ คุณพ่อพิมพ์ คุณแม่สมบุญ
เพิ่มบุญ มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน เป็นชาย 3 หญิง 2 คน
ปี พ.ศ.2473 อายุได้ 29 ปี จึงได้อุปสมบท ณ พัทสีมา วัดศรีโลหะฯ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมีย หรือวันที่ 10 กรกฎาคม
โดยมี
พระวิสุทธิรังษี (หลวงพ่อเปลี่ยน) วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) เป็นพระอุปัชฌา
พระครูยติวัตรวิบูล (หลวงพ่อพรต) วัดศรีโลหะฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระปลัดจู วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้บฉายาว่า " นาคเสโน "
ภายหลังอุปสมบทพำนักจำพรรษา ณ วัดศรีโลหะฯ ศึกษาพระธรรมวินัย ตลอดสรรพวิชาต่างๆจากหลวงพ่อพรต
ท่านได้ไปขอร่ำเรียนวิชาต่างๆ มีดังนี้
1 หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว เรียนวิชาการสร้างตะกรุดลูกอม และวิชาเกี่ยวกับการคุ้มครองป้องกัน
2 หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ ศึกษาเกี่ยวกับ วิปัสสนา
กัมมัฎฐานและอื่นๆ
3 หลวงพ่อนาก วัดท่าน้ำตื้น
4 คุณแม่มูล ศึกษาวิชาทางแก้คุณไสย
5 นายพุ่ม ศึกษาวิชา ธนูมือ ธนูไฟ
6 นายขัน ศึกษาวิชาแก้คุณไสย และ คงกระพัน
7 นายคำ สุขอุดม ศึกษาวิชาแก้คุณไสย
8 นายหมุน ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ
9 นางเลียบ ศึกษาตำรายาเกี่ยวกับโรคไต
ปี พ.ศ.2494 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีโลหะฯ
ปี พ.ศ.2498 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌา
ปี พ.ศ.2507 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นประทวน
ปี พ.ศ.2511 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่ พระครูโสภณประชานารถ
ปี พ.ศ.2515 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ที่ สมณศักดิ์เดิม


ชันโรงครับ  พระเครื่องของหลวงพ่อนาถ ค่อนข้างจะแปลกไปจากสำนักอื่นๆ คือทุกองค์ไม่ว่าจะเป็นเนื้อชนิดใดก็ตาม ท่านจะต้องนำชันโรงมาติดไว้ที่องค์พระ หลวงพ่อนาถได้อธิบายถึงความสำคัญของชันโรงว่า..อัน " ชันโรง "นั้นเกิดจากแมลงตัวเล็กๆชนิดหนึ่ง ตัวสีดำมีปีกบินได้ชอบทำรังอยู่ตามต้นไม้บ้าง ใต้ดินบ้าง เป็นสัตว์ที่ชอบอยู่อย่างสงบเงียบ คือชอบแฝงตัวอยู่ตามมุงลับๆ เช่น ตามซอกประตู หน้าต่างหรือรอยแตกของพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และตามกุฏิล้างเป็นต้น โดยธรรมชาติของสัตว์ชนิดนี้ เป็นสัตว์ที่รักความสงบ ไม่เบียดเบียนสัตว์และแมลงตัวอื่นๆ การหาอาหารกินของมันคือกินเกสรอ่อนและน้ำหวานของเกสรดอกไม้ เป็นสัตว์ที่มีส่วนคล้าย "ผึ้ง"แต่ตัวชันโรงนี้ไม่มีอาวุธร้ายไว้ทำร้ายใคร ไม่เหมือนผึ้งที่มีเหล็กในไว้ป้องกันตัว ถึงแม้มันจะถูกสัตว์อื่นรังแก แต่มันก็มิได้โต้ตอบต่อสู้แต่ประการใด หากถูกรังแกหนักเข้า มันก็จะพากันอพยพไปอยู่ที่ใหม่ ซึ่งเป็นที่ๆมันคิดว่าปลอดภัย เจ้าตัวชันโรงนี้หลวงพ่อนาถบอกว่า..พระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆมักเรียกนามมันว่า" ตัวสันติ "เหตุที่เรียกชื่อนี้เพราะมันไม่ชอบยุ่งเกี่ยวกับใคร ชอบอยูอย่าสงบนั่นเอง  คำว่า"สันติ"นี้ไม่ว่าจะอยู่แห่งใดก็มีแต่ความสงบอยู่อย่างเป็นสุข ไม่มีการรบราฆ่าฟัน แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น อิจฉาริษยากันตลอดจนการเบียดเบียนหรือให้ร้ายกัน เมื่อความสงบสุขเกิดขึ้นแห่งใดสถานที่นั้นเปรียบประดุจดินแดนแห่งพระนิพพานนั่นเอง!!  ด้วยเหตุนี้ พระเกจิอาจารย์ผู้มีญาณสมาบัติขั้นสูง จึงเล็งเห็นความสำคัญของเจ้าตัวสันตินี้ เพราะความสำคัญของพระศาสนานั้น ก็คือ มีศีล มีธรรมะประจำใจ รักสงบ ไม่เบียดเบียนกัน ต้องมีความเป็นอยู่อย่างสมถะ เฉกเช่นตัวชันโรง อีกประการหนึ่งรังของตัวชันโรง เป็นสิ่งที่คุณวิเศษในตัวเรียกว่า "ทนสิทธิ์"เพราะมันมีความเหนียวปิดบังตัวชันโรงให้อยู่อย่างปลอดภัย ท่านโบราณจารย์จึงได้นิยมนำ "รัง" ของมันมาปิดอุดบรรจุพระเครื่องแต่จะต้องเลือกเฟ้นหาแต่รังชันโรงที่อยู่ใต้พื้นดินเท่านั้น ดังเช่น...
                       ท่านเจ้าคุณภาวนาโกศลเถระ(หลวงปู่เอี่ยม)วัดหนัง บางขุนเทียน ท่านนำชันโรงมาอุดก้นพระชัยวัฒน์ ที่วงการนิยมเล่นกัน เรียกว่า "รุ่นสร้างเขื่อน" ที่เล่นหากันในราคาสูงยิ่ง  สมเด็จพระสังฆราชอยู่ ญาโณทัย วัดสระเกศ ก็ได้นำรังชันโรงมาปิดก้นพระปิดตาไม้แกะหรือแม้แต่ ปิดตาหลวงปู่รอด วัดโคนอน พระปิดตาหลวงปู่เบี้ย วัดโคกเจดีย์ก็นำรังชันโรงมาอุดก้นเช่นกัน  หลวงปู่บุญ-หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้วและหลวงปู่รอด วัดนายโรง ก็ได้ใช้ชันโรงมาปิดเบี้ยแก้ เพื่อเพิ่มพูนพุทธานุภาพให้สูงยิ่งเป็นทวีคูณเหมือนกัน คุณสมบัติพิเศษของ"ชันโรง" นอกจากจะมีอุปเท่ห์ ในทางทนสิทธิ์มีอิทธิฤทธิ์ในตัวแล้ว รังของมันยังป็นที่ต้องการของพระคณาจารย์สมัยเก่าที่นิยมนำมาต้มให้ละลายแล้วกรองจนสะอาด มาผสมกับสีผึ้ง กล่าวกันว่า..เป็นเมตตามหานิยมสูงส่งดีเยี่ยมยอดนักแล   ฉนั้น หลวงพ่อนาถ ท่านจึงได้แสวงหา รังชันโรงใต้ดิน นำมาผสมกับผงวิเศษที่ท่านได้ลบสูตรตามตำรับตำราที่ร่ำเรียนมา นอกจากนี้ได้จัดหาชันยาเรือเก่าที่มีอายุเป็นร้อยๆปีนำมาผสมเข้าด้วย กล่าวกันว่า อันชันใต้ท้องเรือเก่านั้น มีคุณวิเศษเป็นเอนกอนันต์ในด้านแก้อาถรรพ์ เช่นพวกเสน่ห์ยาแฝด ที่พวกหมอแขก หมอเสน่ฆ์เขาทำกัน เป็นต้น    เมื่อได้สิ่งของครบตามจำนวนแล้ว หลวงพ่อได้นำมาเคี่ยวผสมกัน ปั้นเป็นก้อนกลมใหญ่ และนำมาติดองค์พระตามที่ต่างๆ เป็นจุดดำกลมๆเล็กๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของท่านครับ




ขอจองครับ



909.เหรียญรุ่น2 พ่อท่านแดง วัดโท อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ปี14 เหรียญหายาก เหรียญขลังแดนใต้ ใช้แทนรุ่นแรกที่ราคาหลายๆพันได้เลยครับ 600-

ประวัติหลวงพ่อแดง วัดโทตรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช พระเกจิอาจารย์เมืองใต้ พระเครื่องและวัตถุมงคลของท่านผู้ที่พกพาติดตัวส่วนใหญ่มีประสบการณ์กันเยอะมากโดยเฉพาะคงกระพันมหาอุด ป้องกันภันอันตรายต่างๆ
 เหรียญพ่อท่านแดง วัดโท รุ่นแรก สร้างในปี 2507 ซึ่งเป็นที่นิยมมาก หายากยิ่ง และมีราคาสูง


ประวัติพ่อท่านอาจารย์แดง วัดโทตรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช




เรียบเรียงโดยคุณเปี๊ยก ลิกอร์

พระอธิการแดง จันทสโร เดิมชื่อ ไข่แดง คงพันธุ์ เกิดเมื่อวัน ๑ฯ๒ ๑๒ ค่ำ ปีกุน วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๔๒ ที่บ้านโคกหว้า หมู่ที่๒ ตำบลไทยบุรี
อำเภอท่าศาลา นครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายหนู นางซัง มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๕ คน คือ

๑.พระอธิการแดง จันทสโร เป็นบุตรคนโต ถัดไปน้องๆเป็นผู้หญิงลำดับกันดังนี้
๒.นางสาวนิ่ม คงพันธุ์
๓.นางส้มทับ สมหมาย
๔.นางวุ้น บุญสว่าง
๕.นางพร้อม การะนัด


การบรรพชาอุปสมบท เมื่ออายุครบเข้าเขตบรรพชาอุปสมบทในปี พ.ศ.๒๔๖๓ นางทองดำ ก็ได้นำนายไข่แดงไปฝากอาจารย์เฉยที่วัดท่าสูงอีกครั้งหนึ่ง
 เพื่อให้เรียนบวชตามความตั้งใจของแกที่มีความปรารถนาเป็นหนักเป็นหนาแล้วว่า อุตส่าห์ เอามาล้ำเลี้ยงรักษาไว้ตั้งแต่ยังแดงๆ
 เมื่อรอดเหยี่ยวรอดกาแล้วจะได้พลอยพยุงชายจีวรกับเขาสักครั้งก็แล้วกัน และ แกได้มอบกำชับกับท่านสมภารว่า
ขอให้แกกรุณาช่วยเอาใจใส่ ให้พอบวชได้สักแต่วันสองวันก็ไม่ว่า ท่านสมภารก็รับปากจะช่วยสอนดูต่อไป
ส่วนนายไข่แดงเมื่อกลับมาอยู่วัดครั้งนี้ก็ตั้งใจทำความจำทางหูเพียงอย่างเดียว


หลวงพ่อแดง ย้ายมาอยู่ที่ วัดโคกเหล็ก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๘  ที่วัดโคกเหล็กขาดพระลงต้องตกเป็นวัดร้างว่างพระอยู่ในระหว่างนั้น
 นายหนูผู้เป็นโยมพ่อพร้อมด้วยญาติพี่น้องบ้านโคกหว้าและชาวบ้านใกล้เคียงบริเวณวัดนั้น ก็ได้ตกลงพร้อมกันไปขอนิมนต์ พระแดง จันทสโร
ต่อท่านอาจารย์เฉยมาช่วยรักษาวัดที่วัดโคกเหล็ก พอได้ให้บรรดาญาติโยมชาวบ้านบริเวณนั้นได้ทำบุญใกล้บ้าน วัดโคกเหล็กนี้เป็นวัดที่ไม่ห่างไกลบ้านเกิด
ของท่านนัก 

 การมาอยู่ที่วัดโคกเหล็กของท่านในครั้งนั้น ก็สุดแสนจะยากลำบากยากแค้นมาก เพราะเป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางป่าดงพงไพร ห่างไกลหมู่บ้านคนพอควร รอบๆวัดล้วนเป็นป่ายางสูงสล้าง
ไปหมด สิ่งก่อสร้างที่มีอยู่ในวัดนั้นมาก่อนก็มี อุโบสถโบราณที่เก่าแก่คร่ำคร่า ซึ่งยังคงมีอยู่จนทุกวันนี้หลังหนึ่ง กับกุฏิเก่าหลังหนึ่ง และหอฉันเก่าหลังหนึ่งเท่านั้น
 มีลานวัดเล็กๆอยู่ใกล้อุโบสถซึ่งเป็นพื้นสูงอยู่นิดหน่อยเท่านั้น นอกนั้นก็เป็นที่ป่ามีพื้นที่ราบลุ่มต่ำเป็นป่า น้ำราดรุงรังไปด้วยป่าละเมาะเต็มไปด้วยหญ้าคาและหญ้าอื่นๆเต็มไปทั้งวัด
 เมื่อพระแดง จันทสโร ได้มาอยู่ ท่านก็ได้ออกปากไหว้วานบรรดาญาติโยม ที่อยู่ใกล้บริเวณวัดนั้น ช่วยกันแผ้วถางดายหญ้าจุดไปเรื่อยมา ค่อยบุกเบิกเขตวัดให้กว้างขวางออกไปตั้งหลายเท่า
ของวัดเดิม เพราะในสมัยนั้นที่ทางต่างๆที่รกร้างว่างเปล่าอยู่แทบทั้งนั้น  ไม่มีใครเข้าจับจองเป็นเจ้าของท่านก็ได้ลงมือหักป่าลงให้กลายเป็นวัดวาอารามมิใช่น้อย
 ต้องโค่นแผ่ต้นไม้ใหญ่ๆเอาเสียมากทีเดียว พร้อมกันนั้นก็ได้ติดตามไปด้วยการปลูกผลอาสินไว้สำหรับวัดเป็นอันมาก ทั้งที่เป็นไม้ประเภทล้มลุกและยืนต้น
 เช่น กล้วย อ้อย หมาก มะพร้าว และผลไม้อื่นๆอีกมาก เมื่อขยายเขตวัดให้กว้างขวางออกไป ก็จำเป็นจะต้องให้มีรั้วรอบขอบชิดบริเวณวัด
 ท่านก็จะต้องปลุกปล้ำทำงานชนิดนี้อยู่ไม่ได้เว้นแต่ละวัน  บางครั้งแถมกลางคืนเข้าไปด้วย ทั้งนี้ด้วยน้ำใจอันเข้มแข็งบากบั่นของท่านถึงเช่นนี้
เมื่ออกปากใช้ชาวบ้านและญาติโยมเขาจนเบื่อเกือบไม่มีใครกล้ามาวัด เพราะครั้นมาก็ถูกท่านใช้งานให้ช่วยกันตกแต่งวัดอยู่เสมอทุกครั้งที่เข้ามา
หนักๆเข้าก็ไม่มีใครกล้ามาวัด มีอยู่บ้างก็น้องๆผู้หญิงเอาอาหารมาถวายเท่านั้น  ท่านเห็นความลำบากเช่นนั้นเข้าท่านจึงต้องทำเอง
เพราะแหนะไม้และกอไผ่ป่าก็ยังขึ้นอยู่มากต้องจุดไปเผาขอนไม้ยางและตอไม้โตๆเป็นอันมากเกือบจะพูดได้ว่านับไม่ถ้วน ท่านต้องลงมือทำเอง
 เอามากทีเดียวทั้งกลางวันและกลางคืนไม่ค่อยได้หยุด

การที่ท่านทำงานตรากตรำอยู่เช่นนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้บางคนหรือบางพวก ต้องติเตียนว่าท่านประพฤติผิดกิจสมณะสารูปไปบ้าง  ครั้งหนึ่ง ขุนเยี่ยม ปลัดอำเภอท่าศาลา
 ได้มาเจอะท่านกำลังถางกอไผ่และป่าละเมาะอยู่ เรื่องนี้ทำให้ท่านขุนไม่พอใจเลยให้นามท่านว่า “พระจง” ก็มี ความตำหนิติเตียนในเรื่องทำนองนี้ก็มีอยู่เสมอมา
ข่าวการตำหนิติเตียนท่านอย่างนี้ก็มีอยู่บ่อยๆ จนทราบถึงหูนายหนูผู้เป็นโยมพ่อ ก็นึกแค้นเคืองต่อผู้ตำหนิติเตียนท่านเป็นอันมาก จนสุดที่จะระงับคำพูดของคนเหล่านั้นได้
 ด้วยความโกรธแค้นฉุนเฉียวในเรื่องนี้จึงได้มาหาท่าน แล้วก็กล่าวเอ่ยขึ้นมา “ต้น ถ้าคุณชอบทำงานอยู่อย่างนี้แล้วก็ควรจะสึกเสียดีกว่า ออกไปทำงานทางบ้าน
จะได้ไม่ต้องเป็นขี้ปากคนนัก ผมเบื่อคนพูดเสียเต็มทีแล้ว สึกเสียเถอะผมจะเอาผ้ามาให้” ท่านนั่งฟังอยู่ พอโยมพ่อจะลงไป ท่านก็พูดส่งท้ายไปว่า “ใครเอาผ้ามาให้ฉัน
 ถ้าฉันไม่สับให้หมดแล้วคอยดู” เมื่อนายหนูผู้เป็นโยมพ่อได้ฟังดังนั้นก็ออกเดินเงียบหายไป ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีใครกล้าเอ่ยถึงเรื่องนี้อีกเลยแม้ว่าใครจะตำหนิติเตียนสักเท่าไร
ท่านก็ทำไม่รู้ไม่ชี้ ใครพูดได้ก็พูดไป  ท่านก็ไม่หวาดหวั่นครั่นคร้ามต่อคำพูดของบุคคลเหล่านั้นแม้แต่น้อย

มุ่งตั้งใจปรับปรุงวัดวาอารามให้มีความเจริญขึ้นเพียงอย่างเดียวก็แล้วกัน หลังจากนั้นไม่กี่ปี
วัดโคกเหล็กจากที่เป็นวัดร้างก็กลายสภาพเป็นวัดที่กว้างขวางสวยงามขึ้นมา บุคคลบางพวกที่เคยตำหนิท่านมาก่อนก็ค่อยๆชักสงบเสียงลงไป หันกลับมาเข้าวัดกันมากขึ้น

มีเหตุการณ์หนึ่ง ท่านได้ไปที่บ้านเพื่อยืมควายถึกมาตัวหนึ่งเพื่อไว้ช่วยกินหญ้าและใช้ชักลากไม้มาซ่อมมาซ่อมเสนาสนะด้วย แต่ควายตัวนี้มีนิสัยชักดุอยู่บ้าง
วันหนึ่งท่านพาควายตัวนี้ไปลากไม้มาทำรั้ววัดซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก แต่ท่านก็บรรทุกไม้ให้มันลากจนหนักเต็มแรงเอาทีเดียว พอมาถึงวัดท่านก็เข้าไปเอาหนวนออกจากคอ
 พอเสร็จควายตัวนั้นเฉลี่ยวโกรธ ตรงเข้ากระแทกขวิดแทงท่านจนล้มลง แล้วมันยังขวิดแทงซ้ำด้วยเขาอันแหลมคมจนท่านติดปลายเขาของมันแล้ว มันก็สะบัดท่านไปตกในป่ารก
 แล้วมันก็วิ่งเลยไป ผู้ที่ได้เห็นเหตุการณ์ต่างพากันตกใจเป็นอันมาก รีบวิ่งกันไปช่วยประคองท่านขึ้นแล้วช่วยกันดูแผลให้ท่าน แต่ปรากฏว่า
ท่านไม่มีแผลแต่อย่างใดมีเพียงรอยหนังกำพร้าถลอกไปเล็กน้อยเท่านั้น ชาวบ้านที่อยู่ในเหตุการณ์ต่างพากันแปลกใจเป็นอันมากเรื่องนี้ทำให้คนทั้งหลายต่างพากันสรรเสริญว่า พ่อท่านแดง มีความศักดิ์สิทธิ์น่าอัศจรรย์


ครั้งหนึ่ง มีการพนันนัดกัดปลากันในที่แห่งหนึ่ง มีพวกกัดปลาคนหนึ่งได้นำปลาที่แพ้แล้วไปกัดกับปลาลูกผสม ฝ่ายผู้ถือปลาแพ้ได้ออกชื่อบนบานพ่อท่านแดงเป็นเชิงเล่นตลกว่า
 “ถ้าพ่อท่านแดงศักดิ์สิทธิ์จริงแล้ว ขอให้ปลาที่เคยกัดแพ้มาแล้วของเขานั้น ให้กัดชนะด้วยเถิด จะเอาข้าวต้มไปถวายสักร้อยลูก” ผลปรากฏว่าปลาที่เคยแพ้มาแล้วกลับชนะเอาจริงๆ
 ทำให้บรรดาพวกนักเลงปลากัดเหล่านั้นชวนกันโห่ร้องขึ้นเซ็งแซ่ พากันเลื่อมใสในความศักดิ์สิทธิ์ของพ่อท่านแดงขึ้นเป็นอันมาก ในตอนแรกๆนั้นชาวบ้านมักบนท่านด้วยข้าวต้ม
 เพราะเห็นว่าเป็นของที่ท่านชอบ จึงบนให้เป็นที่ชอบใจของท่าน บางคนบนบานยอมถวายกันคนละร้อยสองร้อยลูกก็มี เมื่อมีชาวบ้านบนบานท่านได้มากขึ้นๆ
 ภายหลังมีผู้ช่วยออกความเห็นว่า ควรจะทำโกร่ง(ตู้บริจาค)ถวายท่านไว้ เพื่อให้ผู้บนบานท่านต่อไปได้บนบานโดยการใส่ตู้บริจาคบ้าง
เพื่อจะได้นำปัจจัยดังกล่าวมาบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะวัดวาอาราม ซึ่งต่างก็ยินดีบนบานโดยการใส่โกร่งบ้าง บนปิดทองที่เท้าท่านบ้าง บนเป็นข้าวต้มให้ท่านบ้าง
ซึ่งต่อมาชาวบ้านทั้งหลายต่างก็นิยมบนบานท่านมากขึ้นเป็นลำดับ นอกจากนี้ ก็ยังมีผู้นิมนต์ท่านไปบูชาเคราะห์ รดน้ำมนต์เป็นกิจประจำ ไม่เว้นแต่ละวัน
ด้วยชาวบ้านเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของท่านอย่างสนิทใจ ความเจ็บไข้ได้ทุกข์ของคนเหล่านั้น  ก็กลับคล่องคลายหายไปได้ดังความประสงค์ทุกประการ
ต่างต้องการที่จะนำวัวควายของตนเข้าไปกินหญ้าในบริเวณวัด แต่พ่อท่านแดงท่านไม่อนุญาต เพราะหากนำวัวควายเข้ามาเลี้ยงกินหญ้าในวัด
 ก็จะทำให้เหล่าอาสินของวัดเสียหาย  เหตุดังนี้จึงทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้น ระหว่างชาวบ้านที่เห็นแก่ตัว กับพ่อท่านแดงขึ้น จนหนักๆเข้า ก็มีเสียงครหาในตัวพ่อท่านแดง
จากพวกชาวบ้านที่เห็นแก่ตัว แต่พ่อท่านแดงก็ยังคงนิ่งเฉยสงบไว้ และเมื่อข่าวนี้รู้ไปถึงหูของพวกญาติพี่น้องของท่าน ก็พากันแค้นเคืองบุคคลเหล่านั้นแทนพ่อท่านแดง
เป็นอันมาก ต่างก็พิจารณาหาลู่ทางแก้ไขกันอยู่ว่าจะทำประการใดดี ที่จะให้สิ้นเรื่องสิ้นราวกันไป



หลวงพ่อแดง ย้ายมาอยู่วัดโทตรี ในปี พ.ศ.๒๔๙๐ ครั้งนั้นที่วัดโทตรี ตำบลกะหรอ กำลังตกอยู่ในสภาพรวนเรอยู่มาก เหตุด้วยว่าขาดสมภารผู้ปกครองวัดลง ยังคงเหลือแต่เพียงพระภิกษุใหม่ที่เพิ่งบวชยังไม่ได้พรรษา
รูปหนึ่ง ชื่อ พระติ่ม เท่านั้น ซึ่งเป็นการยากที่พระใหม่จะปกครองวัดแต่เพียงผู้เดียวด้วยพรรษายังไม่มาก พระติ่มจึงได้ปรึกษากับนายวัน ชาวบ้านกะหรอ ซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์วัดในขณะนั้นว่า
 “เราจะไปหาใครที่ไหนมาช่วยปกครองวัดกันดี ฉันร้อนใจมาก” ต่างก็ได้พิเคราะห์พิจารณาถึงพระวัดต่างๆที่ใกล้เคียงว่าจะมีใครที่ไหนบ้าง ในที่สุดก็คิดได้ว่าที่วัดโคกเหล็กมีพระแก่พรรษาอยู่ด้วยกันถึงสองรูป คือ พ่อท่านแดง และ ท่านพระแดง เขมะโก เราน่าจะไปนิมนต์ดูสักรูปเถิด จึเป็นอันตกลงกัน พระติ่มกับนายวัน ก็ได้ชวนกันเดินทางมายังวัดโคกเหล็กในวันนั้น ครั้นถึงวัดแล้วก็ตรงไปหาพ่อท่านแดง แล้วนั่งลงกราบด้วยความเคารพ แล้วพ่อท่านแดงจึงได้ถามว่า “คุณมาธุระอะไรหรือ” พระติ่มกับนายวันจึงได้เล่าเรื่องราวให้ท่านทราบ พ่อท่านแดงท่านนั่งพิจารณาอยู่ครู่หนึ่ง แล้วจึงตอบว่า “ฉันตกลงจะไปอยู่ให้ก็ได้ แต่ต้องถามพวกน้องๆดูก่อน ถ้าพวกเขามิขัดข้อง ฉันก็จะไปอยู่ให้” พระติ่มกับนายวัน เมื่อได้รับคำตอบเช่นนั้นต่างก็ดีใจอย่างยิ่ง แต่ก็มิวายกังวลถึงความไม่แน่นอน  เมื่อได้เดินทางมาแล้วก็ใคร่อยากจะรู้เสียให้แน่นอน จึงขอนิมนต์พ่อท่านแดงไปที่บ้านท่านเพื่อบอกเล่าเรื่องราวกับญาติโยมของท่านเสียในวันนี้เลย พ่อท่านแดงท่านก็รับนิมนต์
เมื่อพ่อท่านแดง พระติ่มและนายวันได้เดินทางไปถึงบ้านโคกหว้า ก็ได้พบกับญาติโยมของพ่อท่านแดงแทบทุกคน เมื่อได้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆให้ญาติโยมของท่านฟังแล้ว
 ต่างก็มีความยินดียิ่ง เพราะมีความประสงค์อยู่ด้วยแล้วว่า ถ้าพ่อท่านแดงท่านได้ออกไปอยู่ ณ วัดอื่นซึ่งห่างไกลจากบ้านเสียทีก็ดี
 เพราะการที่ท่านมาอยู่ช่วยตกแต่งที่วัดโคกเหล็กนี้ก็นานแล้วจากที่เคยเป็นวัดร้าง กลับกลายมาเป็นวัดที่เจริญกว้างขวาง


นับแต่ท่านอุปสมบทมาตลอดทั้งชีวิต ท่านได้บำเพ็ญบำรุงพระพุทธศาสนามาตลอด ทั้งที่วัดโคกเหล็ก ซึ่งต้องเผชิญกับความยากลำบากนานาประการ แต่ด้วยความเป็นเนื้อนาบุญ
ท่านก็ฝ่าฟันมาได้ ทั้งเมื่อท่านมาอยู่ ณ วัดโทตรี เป็นเวลา ๒๐ ปี ท่านก็ได้บำเพ็ญประโยชน์ไว้เป็นอันมาก เป็นต้นว่า การปลูกสร้างกุฏิวิหารต่างๆ
 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างในสมัยของท่านทั้งสิ้น  ท่าน เป็นอาจารย์ผู้ชอบทำบุญทำทาน ไม่ยึดติดในทรัพย์หรือวัตถุใดๆ ส่งเสริมให้ทุกคนเป็นคนดี
 ท่านอุตส่าห์พยายามตักเตือนพร่ำสอนเสมอ ยอมสละทรัพย์ส่วนตัว และชักชวนคนอื่นบริจาคเพื่อบำรุงพระศาสนา อันนับได้ว่าท่านเป็นพระภิกษุที่หาได้ยากยิ่ง





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 04, 2019, 04:28:33 PM โดย thesun »



910.พระชัยวัฒน์รุ่นแรก หลวงปู่หลอด ปโมทิโต วัดใหม่เสนานิคม ลาดพร้าว กทม. ปี43 หลวงปู่เททอง ที่วัด มาพร้อมกล่องเดิม สร้างน้อย หายาก  900- ปิดท่านj999

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 24, 2019, 12:11:21 PM โดย thesun »



910.พระชัยวัฒน์รุ่นแรก หลวงปู่หลอด ปโมทิโต วัดใหม่เสนานิคม ลาดพร้าว กทม. ปี43 หลวงปู่เททอง ที่วัด มาพร้อมกล่องเดิม สร้างน้อย หายาก  900-

พระชัยวัฒน์รุ่นแรกจัดสร้างพร้อมพระกริ่งปวเรศ และในพิธีนั้นมีพ่อแม่ครูอาจารย์มาร่วมพิธีมาก อาทิ หลวงปู่เหรียญ หลวงปู่บุญหนา หลวงปู่พวง เป็นต้น โดยมีองค์หลวงปู่เป็นองค์เททอง
ทุกเบ้าใส่ทองคำ 2 บาท  มีคนมาถวายทองคำเพื่อมาร่วมหล่ออีกจำนวนมาก จำนวนจัดสร้างทั้งพระกริ่งปวเรศและพระชัยวัฒน์จำนวนไม่มากครับ ไม่ค่อยออกมาหมุนเวียนในสนามครับ








ขอจองครับ



911.พระผงธรรมจักรหลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ จ.ชัยนาท ปี2517 นิยม สวยๆ 1,000-ปิดท่านj999

จัดเป็นพระเนื้อผงพิมพ์มาตรฐานยุคต้นของท่าน ที่ได้มีการจัดเข้ารวมอยู่ในหนังสือรวมรายการวัตถุมงคลของหลวงพ่อ..จัดสร้างไว้เพียง2500องค์..ปัจจุบันค่อนข้างจะหายากครับ
พิธีการจัดสร้างและมวลสารดีมากครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 08, 2019, 11:40:23 AM โดย thesun »



912.เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อทวี จิตฺตคุตฺโต วัดอรัญญวิเวก(ป่าลัน) อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย หายากแล้วครับ นานๆเจอที 700- ปิดท่านj999

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 08, 2019, 11:40:36 AM โดย thesun »



913.เหรียญหน้าวัวเล็ก รุ่น 2 หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม ปี 2513 หลัง มฤคทายวันฯ พาราณสี 400- ปิดท่านj999

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 08, 2019, 11:40:44 AM โดย thesun »



911.พระผงธรรมจักรหลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ จ.ชัยนาท ปี2517 นิยม สวยๆ 1,000-

จัดเป็นพระเนื้อผงพิมพ์มาตรฐานยุคต้นของท่าน ที่ได้มีการจัดเข้ารวมอยู่ในหนังสือรวมรายการวัตถุมงคลของหลวงพ่อ..จัดสร้างไว้เพียง2500องค์..ปัจจุบันค่อนข้างจะหายากครับ
พิธีการจัดสร้างและมวลสารดีมากครับ



หลวงพ่อเชื้อ สุกกวัณโณ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ

สุดยอด! พระดีที่หลวงพ่อกวยบอกให้ศิษย์ไปหา

"ไปหาเชื้อสิ เชื้อก็เก่งเหมือนกัน"
[คำพูดของหลวงพ่อกวยที่ศิษย์ได้ยินเสมอ]

หลวงพ่อเชื้อ สหธรรมมิกที่ใกล้ชิดกับหลวงพ่อกวย ชุตินธโร เป็นอย่างมาก
มีหลักฐานปรากฏชัดว่าท่านทั้งสองได้ไปมาหาสู่กันเป็นประจำ
มีพระบางรุ่นของหลวงพ่อเชื้อที่หลวงพ่อกวยมาร่วมเสกด้วย

หลวงพ่อกวย หลวงพ่อเชื้อ ร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลร่วมกัน











ขอจองครับ




 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi