[Thesun]พระกรรมฐานพ่อแม่ครูอาจารย์และพระเกจิอาจารย์ทั่วไป(อ่าน 648179 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

1472.พระปิดตาว่านคลุกรัก หลวงพ่อมหาวิบูลย์ พุทธญาโณ วัดโพธิคุณ อ.แม่สอด จ.ตาก จัดสร้าง 3,000 องค์  มวลสารว่าน 108 ผสมรักตามสูตรวัดเครือวัลย์
 จัดเป็นวัตถุยอดนิยม ของดี ของขลัง ของหลวงพ่อที่ลูกศิษย์หามาบูชากัน ใช้แทนพระปิดตาสายวัดเคลือวัลย์ได้เลยครับ เมตตาค้าขายดีมาก สวยสมบูรณ์
   เปิดบูชา 1000-

หลวงพ่อมหาวิบูลย์ พุทธญาโณ พระอริยเจ้าผู้มากไปด้วยบุญฤทธิ์



หลวงพ่อพระมหาวิบูลย์ท่านเป็นศิษย์ของครูบาอาจารย์หลายรูปครับ อาทิ หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่, หลวงพ่อพระวิเชียรมุนี อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทาราม
หลวงพ่อพระวิเชียรมุนี้นี้เป็นศิษย์ของหลวงพ่อเจ้าคุณทักษิณคณิสร วัดอินทาราม พระผู้สร้างพระเพชรหลีกเพชรกลับอันโด่งดังของประเทศ

ถูกหลวงปู่แหวนทรมาน
ในระยะที่ท่านธุดงค์อยู่ทางภาคเหนือนั้น มีอยู่ปีหนึ่ง (๒๕๑๖) ท่านได้เดินทางไปนมัสการ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ที่วัดดอยแม่ปั๋ง เพื่อไปขอศึกษาธรรมะกับหลวงปู่
ท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านถูกหลวงปู่แหวนทรมานมาก เพราะท่านเป็นคนชอบคิดชอบลอง
เมื่อครั้งไปอยู่กับหลวงปู่ใหม่ ๆ ท่านเคยคิดว่า หนังสือพิมพ์เคยลงว่า หลวงปู่แหวนเหาะได้ ท่านก็มานึกว่าถ้าหลวงปู่เหาะได้จริงก็ลองเหาะให้ท่านดูสักทีซิ !
เพียงแต่ท่านนึกในใจเงียบ ๆคนเดียวเท่านั้น ประเดี๋ยวเดียวหลวงปู่ก็ใช้ให้พระมาตามไปพบแล้วท่านก็ดุว่า มัวแต่คิดนอกลู่นอกทางอยู่อย่างนี้ จะได้มรรคได้ผลอะไร
จากนั้นหลวงปู่ก็สั่งสอนอบรมให้แนวทางปฏิบัติต่อไป
“ หลวงปู่กวดขันอาตมามากเรียกว่ากระดิกไม่ได้เลย จิตจะต้องเข้าสมาธิตลอดทุกอิริยาบถ ถ้าเผลอไปคิดอะไรเข้า ท่านก็จะเรียกไปดุไปด่าทันที เรียกว่า เผลอใจเมื่อไหร่หลวงปู่รู้หมด !
จนท่านเห็นว่าอาตมาเรียบร้อยดีแล้ว ท่านก็สั่งให้อาตมาไปอยู่ที่ถ้ำน้ำบัง อำเภอบ้านนายม จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่หลวงปู่มั่นเคยไปอยู่มันเป็นที่อยู่ของพญานาค
ที่เรียกว่าถ้ำน้ำบังก็เพราะมันเป็นถ้ำสองชั้น ชั้นบนเป็นถ้ำธรรมดา อีกชั้นหนึ่งเป็นถ้ำอยู่ใต้พื้นดินมีน้ำขังอยู่ มีพวกงูใหญ่อาศัยอยู่ในนั้น ถ้าพระที่ไปอยู่ปฏิบัติไม่ดี
จะถูกงูกัดกินเป็นส่วนมาก ระยะหลังนี้มีอาจารย์โพธิ์เป็นคนปราจีนบุรี ไปอยู่ที่นั่นแล้วมรณภาพที่ถ้ำนี่ ” ท่านอาจารย์มหาวิบูลย์เล่าให้ฟัง








ขอจองครับ



1473.เปิดเหรียญ 8 สุปฏิปันโน แบบที่2  หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง อุทัยธานี ปี20  แบบนี้หายากแล้วครับ สวยๆ พร้อมเลี่ยม เปิดบูชา 900-

เหรียญ 8 สุปฏิปันโน มี 2 แบบ ครับ

แบบที่ 1 (ด้านหน้า)
– หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
– หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี
– หลวงปู่สี ฉันทสิริ วัดถ้ำเขาบุนนาค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
– หลวงพ่อพระมหาวีระ ถาวโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดจันทราราม (วัดท่าซุง) จ.อุทัยธานี
(ด้านหลัง)
– หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
– หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
– หลวงปู่ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
– หลวงปู่มหาอำพัน วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ

ส่วนที่นำมาลงให้บูชานี้แบบที่2 นี้

(ด้านหน้า)
– หลวงปู่ครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน
– หลวงปู่ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
– หลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย อ.เมือง จ.ลำพูน
– หลวงปู่ครูบาบุญทืม พรหมเสโน วัดจามเทวี อ.เมือง จ.ลำพูน

(ด้านหลัง)
– หลวงปู่คำแสน อินทะจักโก (พระครูสุคันธศีล) วัดสวนดอก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
– หลวงปู่ครูบาอินทจักรรักษา วัดน้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
– หลวงปู่ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
– หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน

เป็นเหรียญทองแดงรมดำ สร้างเนื่องในงานฝังลูกนิมิต วัดท่าซุง ปี 2520 งานฝังลูกนิมิตจัดระหว่างวันที่ 16-24 เมษายน 2520 พิธีพุทธาภิเษกมีขึ้นในวันแรกของงานเป็นวันเสาร์(ไม่ใช่เสาร์ 5)
ที่ 16 เมษายน 2520 ณ อุโบสถวัดท่าซุง เวลา 20.00 น. พิธีเลิกประมาณ 21.00 น. และแจกของที่ปลุกเสกแก่ผู้ที่เข้ามาทำบุญในงาน
 เป็นเหรียญที่เข้าพิธีเดียวกับเหรียญในชุดเหรียญผูกพัทธสีมา, เหรียญรูปในหลวง ร. 9 และยันต์ค้าขาย(ธงเหลือง)และดาบฟ้าฟื้น พระสุปฏิปันที่เข้าร่วมในพิธีมีรายชื่อดังต่อไปนี้คือ
1. หลวงพ่อพระมหาวีระ ถาวโร
2. หลวงปู่คำแสน (เล็ก) คุณาลังกาโร วัดดอนมูล จ.เชียงใหม่
3. หลวงปู่ครูบาอินทรจักรรักษา วัดบ่อน้ำหลวง จ.เชียงใหม่
4.หลวงปู่ครูบาธรรมชัย ธัมมชโย วัดทุ่งหลวง จ.เชียงใหม่
5. หลวงปู่ครูบาชัยวงษาพัฒนา วัดพระบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน
6. หลวงปู่บุดดา ถาวโร สำนักสงฆ์สองพี่น้อง จ.ชัยนาท
7. หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
8. หลวงปู่มหาอำพัน วัดเทพศิรินทร์ กรุงเทพฯ
9. หลวงปู่พระธรรมวราลังการ (กล่อม) วัดบุปผาราม กรุงเทพฯ
10. หลวงพ่อลักษณ์ วัดศรีรัตนาราม จ.ลพบุรี
11. พระอาจารย์วิชา วัดศรีมณีวรรณ จ.ชัยนาท

รูปพระสุปฏิปันโนด้านละ 4 องค์ ด้านบนมียันต์อุณาโลม ด้านข้างเขียนคาถา " เม อะ มะ อุ " ด้านล่างมีคำว่า " สุปฏิปันโน "
--หายากแล้วครับ ลูกศิษย์ท่านตามเก็บหมดครับ สวยๆเหรียญรุ่นนี้ราคาแรงครับ สภาพใช้มาบ้าง แต่ยังสวยอยู่ เป็นเหรียญ 8 อรหันต์ที่น่าใช้
น่าอาราธนามากๆครับ ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำปลุกเสก ไว้ใจได้แน่นอนครับ










1474.เปิดเครื่องรางหายาก แหวนหลวงพ่อทองมา ถาวโร วัดสว่างท่าสี จ.ร้อยเอ็ด เนื้อเงินแท้ สวย สมบูรณ์ ไม่ผ่านการใช้ ไม่ค่อยเจอแหวนท่านนะครับ
 
เปิดบูชา 1500- อยู่สายตรงเปิดแพงครับ ปิดท่าน j999 ครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 08, 2021, 01:21:15 PM โดย thesun »



1475.เปิดบูชาพระชัยวัฒน์ รุ่นแรก สิริมังคะโลโสฬส หลวงพ่อสิริ สิริวัฒโน แห่งวัดตาล อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ปี40 เนื้อนวโลหะเต็มสูตร แก่ทองคำ ใต้ฐานตอกโค้ต สิริ ตอกหมายเลข 686
 หลวงพ่ออนุญาติให้จัดสร้างเป็นครั้งแรก และเมตตาเททององค์เองด้วย   หลวงพ่อนั่งปลุกเสกพร้อมพระเกจิอีกหลายรูป หายาก นิยม
เปิดบูชา 1,800 ถ้ามีครบชุด คู่พระกริ่งราคาเช่าหาพันปลายเกือบหมื่นเลยครับ



พระกริ่งสิริมังคะโลโสฬส หลวงพ่อสิริ สิริวัฒโน วัดตาล รุ่นประวัติศาสตร์ เนื้อนวโลหะเต็มสูตร จัดสร้าง 2540 ชุด

สมทบสร้างเมรุ วิหาร ศาลาสวดอภิธรรม ปลุกเสกโดย
1.หลวงพ่อสิริ วัดตาล (จุดเทียนชัย)
2.หลวงปู่ทิม วัดพระขาว (ดับเทียนชัย)
3.หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม
4.หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน
5.หลวงปู่เพิ่ม วัดป้อมแก้ว
6.หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร
7.หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม
8.หลวงวิบูลย์ วัดลำต้อยติ่ง
9.เจ้าอาวาสวัดบางตะไนย์ เป็นต้น






ในยุคสมัยปัจจุบันถ้าจะกล่าวถึงพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกรูปหนึ่งที่เป็นดั่งเพชรเม็ดงามแห่งจังหวัดนนทบุรี คงไม่มีใครไม่รู้จัก "หลวงพ่อสิริ สิริวัฒโน" แห่งวัดตาล ต.บางตะไนย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
ซึ่งเป็นพระที่มีวัตรปฏิบัติอันงดงาม สมถะ เรียบง่าย ไม่จับต้องเงินทอง หรืออามิส อันจะนำไปสู่วังวนแห่งกิเลสตัณหาใดๆ ทั้งสิ้น

"หลวงพ่อสิริ" ปัจจุบันท่านอายุ 78 ปี พรรษา 58 เดิมชื่อ สิริ แก้วกาญจน์ เป็นคนไทยเชื้อสายรามัญ เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2484 ณ บ้านบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด
จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรชายของนายเต๊ะ กับนางนาค แก้วกาญจน์ บิดามีอาชีพช่างไม้ มารดามีอาชีพทำนา ในวัยเยาว์โยมบิดามารดาได้พาท่านมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์วัดคอยปรนนิบัติรับใช้พระสงฆ์ภายในวัดตาล

เมื่อพ.ศ.2497 อายุได้ 14 ปี ได้บวชเป็นสามเณร ณ วัดตาล หลังจากบวชเป็นสามเณรได้เพียง 1 ปีก็มีเรื่องแปลก กล่าวคือ "หลวงพ่อโอภาสี" ซึ่งเป็นพระเกจิที่มีฌานสมาบัติสูงรูปหนึ่งในยุคนั้นได้ให้ลูกศิษย์
พายเรือเอาธงชาติผืนใหญ่มาฝากไว้ให้สามเณรสิริ เป็นเวลา 7 วัน ในธงชาตินั้นเขียนยันต์ล้อมรอบ และเขียนพระราชประวัติของในหลวงไว้เป็นภาษาขอมโบราณ ได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับพระองค์ในภพชาติที่ผ่านมา
ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ใจต่อผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ยิ่งนักว่าทำไมหลวงพ่อโอภาสีจึงให้ความสำคัญกับสามเณรสิริ ซึ่งบวชเป็นสามเณรได้เพียงแค่ 1 ปีถึงขนาดนี้

และในขณะที่บวชเณรอยู่นั้น ท่านได้ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนเกิดความเชี่ยวชาญ จนทำให้ชาวบ้าน และประชาชนต่างถิ่นมาสมัครขอเป็นศิษย์จำนวนมาก
ว่ากันว่าน้ำมนต์ของท่านมีความศักดิ์สิทธิ์มาก ขนาดที่ว่า จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยังเคยมาอาบน้ำมนต์กับท่านที่วัดด้วย

เมื่ออายุครบ 20 ปี จึงเข้าอุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดตาล เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2504 โดยมีท่านเจ้าคุณพระอริยธัชเถระ วัดสวนมะม่วง จังหวัดปทุมธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการเปลือย
เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดกัณหา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "สิริวัฑฒโน"

ด้วยมีความสนใจศึกษาทางด้านพุทธาคมตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณร เมื่อได้อุปสมบทแล้วท่านก็ได้กราบขอฝากตัวเป็นศิษย์กับท่านเจ้าคุณพระอริยธัชเถระ
ซึ่งท่านเป็นลูกศิษย์สายตรงของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อสิริจึงมีโอกาสได้ศึกษาพุทธาคมสายวิชาของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
ทั้งทางด้านวิปัสนากรรมฐาน และคาถาอาคมต่างๆ อย่างลึกซึ้ง

หลวงพ่อสิริท่านมีลักษณะพิเศษคือ มีมือยาว เท้ายาว และหูยาว ซึ่งเป็นลักษณะของผู้มีบุญ มีอุปนิสัยสงบ เยือกเย็นและมีจริยวัตรอันงดงาม

แม้ว่าจะพูดน้อยมาก คำพูดแต่ละคำแต่ละประโยคมีความหมายลึกซึ้ง ยังผลให้เกิดความประทับใจแก่ผู้ได้ยินได้ฟังอย่างมาก

ท่านเคร่งในการปฏิบัติอย่างมาก โดยฉันอาหารเพียงมื้อเดียวเรื่อยมาตั้งแต่เป็นเณรเพื่อไม่ให้เป็นภาระยุ่งยากและกังวลใจ

ใครมีทุกข์ร้อนมาหา ท่านก็สงเคราะห์อย่างทั่วถึง อาทิ ปลุกเสกน้ำมนต์บ้าง ทำเครื่องรางของขลังแจกจ่ายบ้าง จนมีผู้มากราบสักการะเพิ่มขึ้น ทำให้เวลาในการปฏิบัติกรรมฐานน้อยลง
 จนกระทั่งครั้งหนึ่งท่านคิดจะหยุดโปรดญาติโยมและเลิกปลุกเสกน้ำมนต์ และหันกลับไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างเดียว เพราะไม่ได้ปรารถนาความสุขทางโลกแต่อย่างใด
แต่เนื่องจากท่านได้ยึดหลักปฏิบัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ ไม่เห็นแก่ความสุขส่วนตัว ช่วยเหลือคนทุกชั้นวรรณะเพื่อประโยชน์สุขโดยส่วนรวม
จึงต้องปฏิบัติภารกิจทั้งหลายเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนต่อไป













« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 07, 2021, 06:12:37 PM โดย thesun »



1474.เปิดเครื่องรางหายาก แหวนหลวงพ่อทองมา ถาวโร วัดสว่างท่าสี จ.ร้อยเอ็ด เนื้อเงินแท้ สวย สมบูรณ์ ไม่ผ่านการใช้ ไม่ค่อยเจอแหวนท่านนะครับ
 
เปิดบูชา 1500- อยู่สายตรงเปิดแพงครับ













ขอจองครับ



1476.เปิดของเก่าเก็บของผม เหรียญหลัก ของอีสาน และ จังหวัดนครพนม เหรียญกลมรุ่นแรก หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอรัญญวิเวก ต.บ้านข่า อ.ศรีสงคราม
จ.นครพนม ปี16 บล็อคครามแตก กะไหล่ทองสวยๆ สุกๆ แห้ง จมูกโด่ง สวยระดับประกวด 
เปิดบูชา 23,500- รับประกันแท้ตลอดชีพ
หาสวยๆแบบนี้ยากครับ อยู่มือสายตรงแพงเลยครับ สมัยก่อนเศรษฐกิจดีราคาแรงกว่านี้ครับ

หลวงปู่ตื้อ พระอรหันต์ ผู้ทรงฤทธิ์



เหรียญกลม หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอรัญญวิเวก รุ่นแรก 

     "หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม" อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าอรัญญวิเวก ต.บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม พระเถระจารย์องค์สำคัญท่านหนึ่งของกองทัพธรรม
ที่มีศิษย์ยานุศิษย์ให้ความเคารพศรัทธาเลื่อมใส หลวงปู่ตื้อ ได้รับการยกย่อง และไว้วางใจ เป็นขุนพลเอกของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า

     หลวงปู่ตื้อท่านได้สร้างวัดป่าขึ้นหลายแห่งใน จ.เชียงใหม่ จนเป็นที่เคารพของศิษย์ยานุศิษย์ชาวเมืองเหนือ ก่อนมุ่งหน้าไปตามป่าเขา บำเพ็ญเพียรภาวนาบนภูเขาควาย
 ผจญสัตว์ร้ายผีสางนางไม้ในฝั่งลาวนาน 4 เดือน เดินธุดงค์ไปจนถึงประเทศพม่า
     ในช่วงบั้นปลายสังขาร หลวงปู่ตื้อได้กลับมาจำพรรษาที่วัดในมาตุภูมิ จ.นครพนม กระทั่งวาระสุดท้าย ท่านได้มรณภาพลงอย่างสงบ เวลา 19.05 น. วันที่ 19 กรกฎาคม 2517
ด้วยอาการอ่อนเพลียหมดแรง หลังเทศนาโปรดลูกศิษย์จนธาตุลมหมด ท่ามกลางพระภิกษุสามเณรที่เฝ้ารับใช้อุปัฏฐาก สิริรวมอายุ 86 ปี 65 พรรษา

     ในปี 2516 หลวงปู่ตื้อ ได้นำช่างฝีมือมาก่อสร้างเจดีย์วัดป่าอรัญญวิเวก เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำสูงร่วม 10 เมตร สิ้นค่าก่อสร้างจำนวนประมาณ 40,000 บาท
คณะศิษย์โรงเรียนจ่าอากาศดอนเมือง ได้ช่วยระดมหาทุนการสร้าง และได้สร้างเหรียญเป็นที่ระลึก เพื่อแจกจ่ายให้ผู้ที่มาร่วมงานฉลองสมโภชเจดีย์
เหรียญหลวงปู่ตื้อ รุ่นแรก เป็นเหรียญชนิดกลม พ.ศ. 2516 มีหู ประกอบด้วยเนื้อ กะไหล่ทอง และรมดำ แต่ไม่ทราบจำนวนการจัดสร้างเหรียญที่แน่ชัด
     ด้านหน้าเหรียญ มีรูปเหมือนหลวงปู่ตื้อห้อยลูกประคำ นั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนฐาน ด้านข้างเหรียญมีจุดไข่ปลาล้อมรอบ ด้านล่างใต้ฐาน เขียนตัวหนังสือนูน คำว่า "พระอาจารย์ตื้อ อจลธัมโม" ส่วนด้านข้างหลวงปู่ตื้อบริเวณหัวไหล่ ตอกโค้ด จอ. หมายถึงชื่อโรงเรียนจ่าอากาศ           
     ด้านหลังเหรียญ ประดิษฐานรูปเจดีย์ไว้เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชน ด้านล่างมีอักขระเรียงกัน 3 แถว ถัดลงมาระบุโรงเรียน จอ. สร้างถวาย ๒๕๑๖ ขอบเหรียญจากขวาไปซ้ายสลักคำว่า "ที่ระลึกฉลองเจดีย์วัดป่าอรัญญวิเวก ต.ท่าบ่อ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม"
     เหรียญรุ่นนี้ ได้รับเมตตาจากหลวงปู่ตื้ออธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว ท่านได้อัดพลังเต็มที่เพื่อลูกศิษย์นำไปใช้ได้ผล จนเป็นที่กล่าวขานเรื่องประสบการณ์มากมาย พุทธคุณโดดเด่นทางด้านเมตตามหานิยม
แคล้วคลาดปลอดภัย เป็นที่ปรารถนาของบรรดาศิษย์ยานุศิษย์ทั้งหลาย และนักสะสมพระเครื่องทั้งในภาคเหนือและอีสาน ที่จะนำเหรียญของท่านติดตัว
ในปัจจุบันเหรียญหลวงปู่ตื้อ รุ่นแรก ได้รับความนิยมสูง ด้วยเป็นเหรียญในยุคกลางเก่ากลางใหม่ การพิจารณาเก็แท้ไม่ยาก เล่นง่าย ที่ผ่านมาการเช่าหาไม่ธรรมดา หากสภาพดีคมสวยชัด
มีคนสู้กันถึงหลักหมื่นกลาง เป็นเหรียญที่น่าจับตา ในอนาคตเป็นเหรียญหลักของภาคอีสานเหนือที่ได้รับความนิยมสูงที่นับวันจะหายาก คนรักเหรียญและศรัทธาในองค์หลวงปู่อย่างน้อยมีเก็บ
ไว้สักเหรียญ ตอนนี้ยังพอเก็บได้ อนาคตแพงกว่านี้แน่นอน












« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 08, 2021, 04:02:47 PM โดย thesun »



1477.เปิดเหรียญเก่า หายากมาก ของจังหวักสกลนคร เหรียญรุ่นแรก รุ่นเดียว หลวงปู่พระมหาทองสุก สุจิตฺโต วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร ปี2497
เหรียญนี้แจกในงานเลื่อนสมณศักดิ์ที่ "พระครูอุดมธรรมคุณ" เหรียญหูเชื่อม งานแกะเหรียญฝีมือชาวบ้าน คลาสสิคไปอีกแบบ เหรียญนิยม ศิษย์สายพระป่าตามเก็บกันครับ
นักสะสมวัตถุมงคลสายพระป่าต้องมีครับ
เปิดบูชา 5,000-



หลวงปู่มหาทองสุก ผู้ได้รับการยกย่องจากพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺโต ว่า
" พระทองสุกเป็นคู่ทุกข์คู่ยากกัน " และเป็นพระป่าลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ที่ติดตามธุดงค์กับหลวงปู่มั่นมากที่สุดรูปหนึ่งอยู่หลายปี
หลวงปู่มหาทองสุก ยังมีลูกศิษย์ และเป็นพระอุปัชฌาย์จารย์ ให้กับ พ่อแม่ครูบาอาจารย์สำคัญๆหลายรูป อาทิ

หลวงปู่วิริยังค์ สิรินฺธโร (ละสังขาร)
หลวงปู่แสน ฐานํกโร วัดป่าแสนวิไล (ภูกะโล้น) (ละสังขาร)
หลวงพ่อสัมมา ขนฺติปาโล วัดป่าดงชน (ละสังขาร)
หลวงปู่อ้ม สุขกาโม วัดป่าภูผาผึ้ง (ครองขันธ์อยู่)
หลวงปู่อว้าน เขมโก วัดป่านาคนิมิตต์ (ครองขันธ์อยู่)
หลวงปู่อินตอง สุภวโร วัดป่าวีรธรรม(ครองขันธ์อยู่)
หลวงปู่สนธิ์ อนาลโย วัดพุทธบูชา (ครองขันธ์อยู่)
เป็นต้น


มหาทองสุกเป็นคู่ทุกข์คู่ยากกัน

จากการที่ท่านพระครูอุดมฯ (มหาทองสุก สุจิตฺโต) ได้ออกธุดงค์ติดตามท่านพระอาจารย์มั่นไปทางภาคเหนือ ทั้งเชียงใหม่ เชียงราย จนถึงประเทศพม่านั้น เพื่อศึกษา
ฝึกฝนอบรมธรรมปฏิบัติกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร นั้น ครั้งหนึ่ง ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ได้เล่าให้ฟังว่า ไปธุดงค์กับพระครูอุดมธรรมคุณ
พักอยู่กลางป่าบนดอยจังหวัดเชียงใหม่ ไฟได้ไหม้ล้อมเข้ามาทุกทิศ ท่านพระครูอุดมฯ ได้หอบเอาบริขารของท่านพระอาจารย์มั่นมัดไว้กับตัว แล้วถือคันไม้กวาดตีไฟ
กวาดใบไม้จนไฟสงบได้ ท่านพระอาจารย์มั่นยังพูดเสมอว่า “มหาทองสุกเป็นคู่ทุกข์คู่ยากกัน”



พระครูอุดมธรรมคุณ (หลวงปู่มหาทองสุก สุจิตโต) แห่งวัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร ท่านเป็นพระมหาที่มีปฏิปทาของนักต่อสู้ในทางธรรมอย่างผู้อาจหาญ

ท่านได้ต่อสู้ผจญภัยในท่ามกลางถิ่นทุรกันดาร เพื่อติดตามหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งการติดตามนั้นรู้ได้ว่าหลวงปู่มั่น คือ ธรรมทายาทที่แก่กล้าสามารถยิ่งองค์หนึ่ง

และการแสวงหาโพธิ์ทองแห่งชีวิตในครั้งนั้น ท่านแทบเอาชีวิตไม่รอด เกือบต้องตายจากโรคภัยไข้เจ็บเสียก็หลายครั้ง ความตั้งใจจริงของท่านนั้น มีชีวิตเป็นเดิมพัน

ท่านพระมหาทองสุก สุจิตโต เคยพูดอยู่ทุกครั้งว่า..

“ผู้บวชเป็นพระครองผ้าเหลือง ได้ชื่อว่าสมณศากยบุตร ต้องรักษาพระวินัยยิ่งกว่าชีวิต พระภิกษุนั้นจะต้องปฏิบัติตามพระธรรมวินัย จึงจะเป็นพระที่ดี ถ้าล่วงพระวินัยแล้วเป็นพระเลว”

พระภิกษุสงฆ์ที่ยอมเสียสละได้ทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่ร่างกายก็ต้องเสียสละเพื่อพระ ธรรมวินัยนี้เป็นปฏิปทาของท่านพระมหาทองสุก สุจิตโต พระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบองค์นั้น

สัทธานุสารี..ได้แก่ท่านที่ บรรลุธรรม เพราะมีศรัทธาอันแรงกล้า คงจะไม่เกินท่าน

พระมหาทองสุก สุจิตโต นามเดิมท่านชื่อ ทองสุก มหาหิง ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๑ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๙ ค่ํา เดือน ๖ ปีวอก ณ บ้านตําบลห้วยป่าหวาย อําเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี (ปัจจุบัน เป็นอําเภอพระพุทธบาท)

บิดาชื่อ นายเกลี้ยง มหาหิง มารดาชื่อ นางบุญมี มหาหิง อาชีพ ทํานา-สวน

อายุ ๑๖ ปี บิดามารดาได้นํามาถวายวัด เพื่อบรรพชาเป็นสามเณร ท่านได้รับความเมตตาจากพระผู้กระเดื่องนามแห่งยุค

คือ ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๖

เมื่อบวชแล้วท่านได้มาอยู่จําพรรษา ณ ดินแดนนักปราชญ์ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ

ขณะเป็นสามเณรท่านก็ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยด้วยความขยันหมั่นเพียร ไม่เคยลืมอดีตว่าการบวชเข้ามานี้เพื่อ ประสงค์อะไร ?…

ต่อมาอายุครบบวช ท่านได้เข้าอุปสมบท ณ วัดปทุมวนาราม เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ ๒๔๗๐ โดยมี ท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู) เป็นพระ อุปัชฌาย์ พระปลัดบุญมี อินทเชฏฐโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์

เมื่อบวชเป็นพระภิกษุทองสุก สุจิตโต แล้ว ท่านได้เล่าเรียนศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป จนสอบธรรมเปรียญ ๓ ประโยคได้

ท่านพระอาจารย์มหาทองสุก ได้รับหน้าที่สนองคุณครูบาอาจารย์ดังนี้

๑. เป็นครูสอนธรรมที่วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ เป็นเจ้าอาวาสวัดทรายงาม จันทบุรี (หลวงปู่กงมาได้สร้างไว้)
๒. เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าบ้าน ห้วยหีบ จ.สกลนคร
๓. เป็นเจ้าอาวาส วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร

ณ วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ ท่านพระอาจารย์มหาทองสุก สุจิตโต ได้มีโอกาสเข้า นมัสการ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เพราะหลวงปู่มั่นท่านเป็นเจ้าอาวาส วัดเจดีย์หลวง มีสมณศักดิ์ พระครูวินัยธร

นับได้ว่าบุญกุศลที่ท่านเคย ประพฤติปฏิบัติธรรมมาแต่อดีตชาติก็เป็นได้ บัดนี้ท่านได้พบพระบุพพาจารย์ฝ่ายสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งสามารถอบรมสั่งสอนท่านให้พ้นความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้อย่างสิ้นเชิง

ท่านพระอาจารย์มหาทองสุก ขณะที่ท่านอยู่วัดเจดีย์หลวงนี้ ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูอุดมธรรมคุณ และได้เลื่อนเป็นพระครูชั้นเอกอีกด้วย แต่พระกรรมฐาน ศีล สมาธิ ปัญญาธรรม ได้ฝังลึกลงรากสู่กั้นบึงจิตใจเสียแล้ว ท่านมองดูการเดินธุดงค์จากไปของหลวงปู่มั่น อย่างแสนเสียดาย เพราะจะตามไปในขณะนั้นไม่ได้

ท่านคิดแล้วว่า..“เอาละ ไปเหมือนกัน กับตําแหน่งหน้าที่ จะเสียดายอะไรกัน ไม่ใช่ทางหลุดพ้นเลย”

ท่านพระอาจารย์มหาทองสุก จึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ลาออกจากตําแหน่งตามขั้นตอน แล้วท่านก็แบกกลดสะพายบาตร ออกมุ่งหน้าติดตามหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ชีวิตที่สละแล้ว ไม่มีตัวตนอีกแล้ว นอกจากความตั้งใจประ พฤติปฏิบัติธรรมหาความหลุดพ้นในระยะแรกๆ ก็มีความกลัวอยู่บ้าง เพราะกิเลสนั้นขัดเกลาออก จากจิตใจชนิดค่อยขัดค่อยเกลา แต่นานไปความอดทนรู้สภาวธรรมแล้วท่านวางใจจนหมดสิ้น

ธรรมะ ต้องทุ่มเทชีวิตจิตใจลงไป จึงจะแลกมาได้เป็นของๆตน ความนึกคิดมีอยู่ว่า “ถ้าจะตาย ก็ขอตายในสมาธิ ขอถวายชีวิต”

ท่านหลวงปู่มหาทองสุก สุจิตโต มีความพากเพียรเป็นเลิศ ท่านไม่ได้ฉันอาหารหลายวัน เพราะเดินหลงป่า บางคราวเบื้องบนก็มาทดสอบจิตบ้างตามธรรมเนียม อย่างที่เรียกว่า “รับน้องใหม่” เดินอยู่กลางป่า เกิดพายุฝน ลูกเห็บ งูพิษ เสือ ช้าง บางครั้งต้นไม้โตๆล้มทับกุฏิโครมเดียวกุฏิแหลกเป็น ชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วท่านต้องยืนเจริญภาวนาท่ามกลางพายุลมฝน อันหนาวสะท้าน

การติดตาม หลวงปู่มั่น มิใช่ของง่าย เพราะต่างคนต่างเดิน เมื่อไปถึงควรจะได้พบ กลับคว้าน้ําเหลวเพราะท่านได้ออกธุดงค์ไปแล้ว แม้ไม่มีจิตใจที่อดทนศรัทธาจริงแล้ว ย่อมทําไม่ได้อาจเสียผู้เสียคนเพราะหมดสัจจะ

ท่านพระอาจารย์มหาทองสุก องค์นี้ได้ต่อสู้ทนลําบากลําเค็ญอย่างแสนสาหัส จนที่สุดท่านก็ได้พบกับความเป็นจริง ได้พบกับยอดธรรมขั้นสูง ซึ่งยากที่จะอธิบาย

นี้แหละบุตรพระตถาคตเจ้าผู้บริสุทธิ์ ท่านได้ขัดเกลา กิเลสออกจากจิตใจได้จนหมดเชื้อ น่ากราบไหว้บูชายิ่ง…!

ณ บ้านแม่กน ท่านได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับพระคณาจารย์ ถึง ๔ ท่าน คือ หลวงปู่มั่น หลวงปู่ขาว อาจารย์มนู อาจารย์สาร และอาจารย์มหาทองสุก นับได้ว่าธรรมะในครั้งนั้นเป็นประโยชน์ ต่อมาไม่ขาดสาย

ท่านได้ออกแสดงเผยแพร่ธรรมปฏิบัติจนสุดท้ายแห่งชีวิตของท่าน ชาตินักรบยอมตายกลางสนามแม้จะตรากตรําเพียงใดท่านก็ไม่หวั่นไหว เมื่อความตายมาถึงท่านก็ยิ้มรับด้วยจิตใจชื่นบาน เพราะท่านเป็นผู้ชนะกิเลสจนหมดสิ้นแล้ว

หลวงปู่มหาทองสุก สุจิตโต ได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๘ เวลา ๐๖.๐๔ นาฬิกา ณ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ

แถวหน้า จากซ้าย : หลวงปู่ขาว อนาลโย, พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พันธุโล),
หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ


แถวหลัง จากซ้าย : พระครูอุดมธรรมคุณ (หลวงปู่มหาทองสุก สุจิตฺโต),
พระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงปู่รักษ์ เรวโต),
พระครูศรีภูมานุรักษ์ (คำมี สุวัณณสิริ), หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน,
หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ, หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ














« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 08, 2021, 05:01:24 PM โดย thesun »



1478.เปิดของเก่าเก็บ สะสม รูปหล่อพระอาจารย์ไท  ฐานุตตโม วัดอรัญญวิเวก  จ. นครพนม และวัดเขาพุนก ราชบุรี เนื้อเงิน หายาก
เปิดบูชาแบ่งปัน 5,500- ปิดท่าน Jackky


องค์ท่านเป็นทั้งหลาน เป็นทั้งศิษย์หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม  ปู่ตื้อท่านเคยกล่าวไว้ว่า "ต่อไป ไทจะแทนฉัน แต่จะอยู่ไม่นานนัก"
วัดถุมงคลของท่านพระอาจารย์ไท  ที่ท่านอธิฐาษจิตมีน้อยรุ่น  ท่านเคยกล่าวไว้ว่า "ของถ้าไม่ได้ถึงที่สุด ข้าไม่ทำ"














« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 09, 2021, 05:07:41 PM โดย thesun »



1479.เปิดบูชาชุดรูปหล่อปั๊มรุ่นแรก หลวงปู่โสม ถิรจิตโต วัดถ้ำแสงเพชร จ.อำนาจเจริญ ปี56 ประกอบด้วย เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ เนื้ออัลปาก้า และ เนื้อฝาบาตร
วัตถุมงคลท่านมีน้อยมากๆครับ  จัดสร้างรูปหล่อมีรุ่นเดียวคือรูปเหมือนปั๊ม หายาก ลูกศิษย์เก็บหมดผมมีโอกาสได้ทำบุญบูชาสมัยก่อน  เปิดทั้งชุดเบาๆ ไปบูชาต่อ 3,800-
ปิดท่านj999ครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2021, 10:46:15 PM โดย thesun »



1479.เปิดบูชาชุดรูปหล่อปั๊มรุ่นแรก หลวงปู่โสม ถิรจิตโต วัดถ้ำแสงเพชร จ.อำนาจเจริญ ปี56 ประกอบด้วย เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ เนื้ออัลปาก้า และ เนื้อฝาบาตร
วัตถุมงคลท่านมีน้อยมากๆครับ  จัดสร้างรูปหล่อมีรุ่นเดียวคือรูปเหมือนปั๊ม หายาก ลูกศิษย์เก็บหมดผมมีโอกาสได้ทำบุญบูชาสมัยก่อน  เปิดทั้งชุดเบาๆ ไปบูชาต่อ 3,800-

หลวงปู่โสม ธายาทธรรม ของหลวงพ่อชาวัดหนองป่าพง





ท่านเป็นพระสมถะเรียบง่าย พูดน้อย ไม่คลุกคลีหมู่คณะ เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ศิษย์ยุคต้นๆ ในองค์หลวงพ่อชา ปฏิบัติแต่อยู่ในถ้ำ ตามหุบเขา ป่าลึก

หลวงปู่โสม ถิรจิตโต เกิดเมื่อปี 2469 ปีขาล เมื่ออายุ 21 ปี ได้อุปสมบทในบ้านเกิดแล้วเดินธุดงค์มาสร้างวัดถ้ำแสงเพชร เมื่อปี 2506 ร่วมกับหลวงปู่ชา สุภัทโท
เป็นวัดสาขาลำดับที่ 5 ในสังกัดวัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ที่หลวงปู่ชาดูแลในยุคก่อนละสังขาร ด้วยเป็นพระที่มักน้อยสันโดษ หลวงปู่จึงจำพรรษา
และปฎิบัติธรรมอยู่แต่ภายในถ้ำ  แต่ก่อนละสังขารด้วยโรคชราในวัยล่วงเข้าสู่ 91 ปี
 หลวงปู่ได้ปฎิบัติธรรมจนนาทีสุดท้ายให้ญาติโยมฟังที่โรงพยาบาลอำนาจเจริญพร้อมมอบปัจจัยให้แก่โรงพยาบาล 2 หมื่นบาท ก่อนเวลา 02.29 น.
และได้มรณภาพลงด้วยสมาธิอันสงบ ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจในบรรดาลูกศิษย์ สูญเสียพระสุปฏิปัณโณ สายป่า ชื่อดังแห่งเมืองอำนาจเจริญอีกรูปหนึ่ง

นายวิชัย ตาทิพย์ ลูกศิษย์คนสนิทของหลวงปู่โสม เล่าว่า หลวงปู่เริ่มอาพาธมาได้ประมาณ 2 ปีแล้ว ลูกศิษย์พาไปรักษาเรื่อยมา ล่าสุดเมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
หลวงปู่มีอาการทรุดหนักจึงพารักษาที่โรงพยาบาลนายแพทย์หาญ จ.ยโสธร เมื่อเอกซเรย์พบว่า หลวงปู่เป็นโรคมะเร็งปอด จากนั้นแพทย์ให้การรักษาตามอาการเรื่อยมา
 จนกระทั่งวันที่ 5 ก.ย. 59 หลวงปู่อาการทรุดหนักลงอีก ลูกศิษย์จึงพาหลวงปู่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอำนาจเจริญ แต่หลวงปู่ขอกลับมาที่วัดเพื่อที่จะมานั่งสมาธิเจริญภาวนา
ในคืนวันที่ 7 ก.ย. 59 หลวงปู่มานั่งสมาธิ เจริญจิตภาวนาในโบสถ์ ต่อมาเวลา 02.29 น. หลวงปู่โสม อัคฺจิตฺโต ก็ละสังขารลงด้วยอาการสงบ

◎ ประวัติย่อหลวงปู่โสม ถิรจิตฺโต
ผมลาโยมผู้หญิง(ภรรยา)มาบวช ๓ เดือนแล้วก็ตั้งใจจะสึก เพราะเขาอนุญาตให้เท่านั้น พอบวชแล้ว ผมก็ทำสมาธิอย่างหนัก หมู่สงฆ์จะทำวัตรเช้าและเย็น ส่วนผมจะทำวัตรเช้า ๒ ครั้ง
 เย็น ๒ ครั้ง วันหนึ่งรวมเป็น ๔ ครั้ง ถ้าวันพระก็รวมเป็น ๕ ครั้ง แล้วก็ทำสมาธิด้วย จิตใจสบายไม่อยากสึก ทำมาอย่างนั้นจนใกล้ออกพรรษา
หลังจากนั่งสมาธิแล้วผมก็จำวัด คืนนั้นผมฝันเหมือนเป็นเรื่องจริง ผมเห็นพระใหญ่นุ่งผ้าสีกรักเดินมาบอกว่า ออกพรรษาแล้วท่านต้องตายแน่ ถ้าไม่ตายก็ต้องสึก ผมกำลังม่วน
ยังไม่อยากสึก ผมไม่อยากตายต้องทำอย่างไร ก็ได้รับคำตอบว่า ถ้าไม่อยากตายไม่อยากสึกก็ต้องเข้าป่า ตอนเช้าผมตื่นก็เล่าความฝันให้พ่อลุงใหญ่ฟัง ท่านบอกว่าในฝันนั้น เป็นพระกรรมฐานอยู่ในถ้ำ

เมื่อถึงเดือน ๓ ต่อเดือน ๔ เสร็จงานบุญพระเวสแล้ว ผมก็ลา พ่อ แม่ ลุง และหมู่ครูบาอาจารย์ที่อยู่ด้วยกัน ฉันเช้าแล้วก็ออกเดินทาง พระอาจารย์บัวรินทร์ กับสามเณรก็มาส่งขึ้นรถที่บ้านนาหว้าง
ขณะที่นั่งรอรถผมก็นั่งคิดเพราะผมไม่รู้ จะไปที่ไหน เพราะผมไม่เคยออกจากบ้าน ผมนั่งรถไปจังหวัดอุบลราชธานี แล้วไปต่อที่อำเภอวารินชำราบ จวนจะค่ำผมจึงถามโยมว่า
วัดป่าแถวนี้มีไหม โยมตอบว่าให้ไปพักที่วัดหนองตาโผ่น  ผมจึงไปขอพักกับพระครูที่วัดนั้น ท่านพระครูเล่าว่า หลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง ท่านปฏิบัติเคร่งครัดที่สุด
หลังจากฉันเช้าเสร็จแล้ว ผมจึงเดินทางไปที่วัดหนองป่าพง

ผมเดินไปถึงกุฏิหลังหนึ่งแล้วยกมือไหว้พระรูปหนึ่ง พร้อมถามท่านว่า กุฏิของหลวงพ่อชา อยู่หลังไหนครับ พระรูปนั้นบอกให้ไปถามกุฏิหลังโน้น ผมจึงไปถามพระที่กุฏิหลังนั้นท่านว่า
หลวงพ่อชาอยู่กุฏิที่ท่านเพิ่งเดินออกมาเมื่อครู่นี้ ผมจึงเดินกลับไปที่กุฏิหลังแรก เมื่อยกมือไหว้หลวงพ่อชาแล้ว ท่านก็ถามว่ามีธุระอะไร ผมบอกว่าจะมาบวชเป็นพระกรรมฐาน
ท่านจึงบอกพระให้พาผมไปหาที่พัก ช่วงเย็นผมนำดอกไม้ธูปเทียนไปกราบท่าน แล้วนั่งสมาธิรวมจิต ขอฟังเทศน์หลวงพ่อชา ท่านก็เทศน์ไปเรื่อยๆ ฟังแล้วจับใจมาก
ตรงกับสิ่งที่เราเห็นมาในใจกับตัวของเราเอง ท่านเทศน์ว่า วัดป่าจะเป็นวัดบ้าน ส่วนวัดบ้านก็จะกลายเป็นคฤหัสถ์ และคฤหัสถ์ก็จะกลายเป็นสัตว์เดรัจฉาน

หลวงพ่อชา เทศน์ให้ฟังเมื่อผมเดินกลับมาจากเดินธุดงค์ แล้วมาอยู่ที่ถ้ำแสงเพชร ช่วงแรกท่านเน้น ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าศีลดี สมาธิก็จะดี ปัญญาก็จะดีไปด้วย
เป็นหนทางป้องกันนรกและนำไปสู่สวรรค์ สู่พระนิพพาน สู่โลกุตระปัญญา เพราะต้นเหตุมันดี กลางเหตุมันดี ปลายเหตุมันก็ดี
ช่วงที่สอง สัตย์ไม่ดี สติสมาธิไม่ดี ปัญญาก็ไม่ดี เป็นโลกิยะปัญญา ใช้ในการหลอกลวง และสร้างความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นหนทางไปสู่นรก

อีกครั้งนึงผมเดินธุดงค์มาอยู่วัดถ้ำแสงเพชร ช่วงกลางคืนผมทำวัตรสวดมนต์ เสร็จแล้วก็นั่งสมาธินานพอสมควร จิตเยือกเย็นสงบดี แล้วก็ภาวนาในอริยาบถนอน
จนกระทั่งหลับ แต่เหมือนไม่ได้หลับ ผมฝันว่าได้ไปเดินธุดงค์กับหลวงปู่ชา และหลวงพ่อจันทร์ ตอนแรกจำไม่ได้ จำได้แต่ตอนสุดท้าย วันหนึ่งเดินมาถึงป่าดงดิบ
มีน้ำบ่ออยู่ที่นั่น คณะธุดงค์จึงพักค้างแรม หลวงพ่อจันทร์ปักกลดอยู่ห่างๆ หลวงพ่อชาปูผ้านิสีทนะลงบนพื้นด้านหลังแล้วเอนตัวลงนอน ท่านบอกให้ผมช่วยนวด
ผมนวดให้ท่านอยู่นาน พอสมควรหลวงพ่อจึงบอกให้พอ ท่านลุกขึ้นนั่งสมาธิตัวตรง แล้วบอกให้ผมจับตาดู จากนั้นแสงสีทองก็ปกคลุมตัวหลวงพ่อชาแล้วองค์
ท่านก็กลายเป็นพระพุทธรูป











ขอจองครับ



1480.เหรียญรุ่นแรก รุ่นเดียว พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ วัดดอยธรรมเจดีย์  อ.โคกศรีสุพรรณ จ. สกลนคร  ปี05 เนื้อฝาบาตร สภาพยังสวย จัดเป็นเหรียญหายากในวงการพระป่า
 ไม่ค่อยพบเจอ นานๆเจอที เหรียญรุ่นแรกรุ่นเดียวที่ทันพระอาจารย์
เปิดบูชา 3,500- สวยๆวิ้งๆหลักพันกลางๆถึงพันปลายครับแต่ไม่ค่อยมีของหมุนเวียนครับ

ปิดท่าน j999 ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 13, 2021, 09:13:11 PM โดย thesun »



1481.พระผงพิมพ์ปักกลด ครูบาอินสม สุมโน วัดทุ่งน้อย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ พระเนื้อว่าน 108 ปี2521 พุทธคุณแคล้วคลาดครับ สวยสมบูรณ์ พร้อมเลี่ยม เปิดบูชา700-
 



ครูบาอินสม สุมโน เป็นพระเถระที่อุดมไปด้วยศีลและจริยวัตรที่งดงามน่าเลื่อมใสศรัทธาจึงเป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนชาวอำเภอพร้าวและจังหวัดเชียงใหม่
 ท่านครูบาอินสมได้บรรพชาเป็นสามเณรมาตั้งแต่เด็กจนมรณภาพในเพศบรรพชิต สมกับเป็นพระอริยสงฆ์ในบวรพุทธศาสนา
แม้แต่องค์หลวงปู่แหวนแห่งวัดดอยแม่ปั๋ง ยังให้ลูกศิษย์ไปกราบ ครูบาเจ้าอินสม นะครับ


 ในช่วงวัยหนุ่มครูบาอินสม ยังได้ร่วมปฏิบัติธรรมกับครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย เมื่อครั้งที่ท่านได้มาบูรณะวัดพระธาตุกลางใจเวียง พอช่วยครูบาเจ้าศรีวิชัยบูรณะวัดพระธาตุกลางใจเวียงเสร็จ ก็ได้ติดตามไปร่วมสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ โดยได้พำนักที่วัดสวนดอก อำเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเวลาแรมปี ครูบาอินสมท่านถือปฏิปทาแบบพระพื้นเมือง (ท้องถิ่น)ยุคเก่า กล่าวคือ ดำเนินตามแบบอุปัชฌาย์จะถือประพฤติปฏิบัติในแนวทางของนิกายเชียงใหม่ผสมกับนิกายยองในยุคนั้น ซึ่งมีแนวประพฤติปฏิบัติบางอย่างต่างจากนิกายอื่น ๆ มีธรรมเนียมที่ยึดถือคือ การนุ่งห่มที่เรียกว่า กุมผ้าแบบรัดอก สวมหมวก แขวนลูกประคำ ถือไม้เท้าและพัด เป็นต้น ครูบาอินสม ยังได้เผยแผ่พระศาสนาสั่งสอนสาธุชนด้วยการเทศนาธรรมแบบพื้นบ้าน ด้วยภาษาล้านนาไทยและสอนการทำสมาธิวิปัสสนากรรมฐาน ให้แก่คณะศิษยานุศิษย์ ตลอดจนศรัทธาสาธุชนทั่วไป ครูบาอินสมมีศีลาจารวัตรเป็นที่น่าเลื่อมใสยิ่ง เป็นแบบอย่างที่ดีตลอดอายุยาวนานของท่านที่หาได้ยากรูปหนึ่ง
 พระเครื่องของท่านครูบาอินสมมีประสบการณ์ในด้านแคล้วคลาดปลอดภัยเป็นเยี่ยม จนได้รับการยกย่องให้เป็นเป็นเทพเจ้าเมืองพร้าววังหิน




พระผงพิมพ์ปักกลด ครูบาอินสม พระเนื้อว่าน 108 หรือที่เรียกกันว่า รุ่นสิงห์ยักษ์ ตามชื่อคนสร้าง สร้างโดยลุงสิงห์ยักษ์(ศิษย์เอกครูบาอินสม) มวลสารหลักที่ใช้ในการสร้างพระรุ่นนี้คือ
 ว่านมงคล 108 เกศาครูบาเจ้าอินสม อธิฐานจิตโดยครูบาเจ้าอินสม สุมโน พระชุดนี้ได้นำไปให้หลวงปู่แหวน สุจินโณอธิฐานจิตเพิ่มให้ด้วย นับเป็นพระผงยุคต้นของท่านสร้างประมาณ
ปี พ.ศ.2520-2521

พุทธคุณสุดยอดครับ ประสบการณ์ครับพิมพ์นี้ ผู้พันทางใต้ใช้ลูกน้องเช็ดปืนโดยที่ลูกน้องคนนั้นไม่ได้สังเกตว่าปืนมีลูก กระสุนอยู่หรือไม่ เลยลองเล็งปืนเล่นๆไปที่ผู้พันขณะกำลังออกกำลัง
กายอยู่ แล้วเหนี่ยวไกปืนทันที กระสุนพุ่งไปถูกหน้าอกเต็มๆ ผู้พันล้มทั้งยืนลูกน้องตกใจวิ่งไปเรียกคนมาช่วย พอมาถึงเห็นผู้พันลุกขึ้นยืนเอามือจับที่หน้าอกด้วยความจุก
กน้องเข้าไปช่วยผยุงมานั่งพักตรวจดูบาดแผลปรากฏว่าเป็นเพียงจุดช้ำๆไม่มี เลือดตกยางออก อาจเป็นเพราะตอนนั้นผู้พันได้แขวนพระผงครูบาอินสม สูมโน พิมพ์ปักกรด ปี2521
ที่ได้รับมาจาก เจ้าอาวาสวัดสันทราย ต.สันทราย อ.พร้าว












1480.เหรียญรุ่นแรก รุ่นเดียว พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ วัดดอยธรรมเจดีย์  อ.โคกศรีสุพรรณ จ. สกลนคร  ปี05 เนื้อฝาบาตร สภาพยังสวย จัดเป็นเหรียญหายากในวงการพระป่า
 ไม่ค่อยพบเจอ นานๆเจอที เหรียญรุ่นแรกรุ่นเดียวที่ทันพระอาจารย์
เปิดบูชา 3,500- สวยๆวิ้งๆหลักพันกลางๆถึงพันปลายครับแต่ไม่ค่อยมีของหมุนเวียนครับ



เหรียญรุ่นนี้ สร้างในราวปี 2505 จำนวนการสร้างไม่มีหลักฐานชัดเจน คาดว่าน่าจะหลักร้อยไม่ถึงพันเหรียญ เพราะพบเห็นน้อยมาก พระจะมี 2 วรรณะ เหลืองแบบฝาบาตรทั่วไป
และ ออกแดงเหมือนนาค

พระอาจารย์กงมา เป็น1 ใน 28 พระอรหันต์องค์หนึ่งในสายพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ศิษย์ยุคต้นๆของพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น 
ที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านรับรองคุณธรรมไว้ หลังมรณภาพอัฐและอังคาร
แปรสภาพเป็นพระธาตุ และหลวงตามหาบัว ได้นำมา ประดิษฐานที่พระธุตังคเจดีย์ วัดอโศการาม




พระอาจารย์กงมาและพระอาจารย์ลี วัดอโศการาม
ได้ทำพิธีทัฬหิกรรมญัตติเป็นภิกษุในคณะธรรมยุตนิกาย ที่วัดบูรพา จ.อุบลราชธานี โดยมี ท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระอาจารย์เพ็ง
เป็นพระกรรมวาจาจารย์ โดยพระอาจารย์กงมาได้ฉายาว่า “จิรปุญโญภิกขุ” และ พระอาจารย์ลีได้ฉายาว่า “ธมฺมธโรภิกขุ”
เพราะเหตุนี้ท่านทั้งสองคือ พระอาจารย์กงมาและพระอาจารย์ลี จึงได้มีความสนิทสนม และเคารพนับถือซึ่งกันและกันตลอดมา


พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ เป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย และ มีปฏิปทาอันอุกฤษฏ์ ซึ่งมีลูกศิษย์ที่เจริญรอยตาม และ เป็นที่ยอมรับในวงศ์พระกรรมฐาน ก็ได้แก่

หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม อ.สามโคก ปทุมธานี
หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร วัดธรรมมงคล ซอยสุขุมวิท101 เขตพระโขนง กทม.
หลวงปู่อุ่น กัลยาณธัมโม (หลานพระอาจารย์กงมา) วัดป่าวิสุทธิธรรม อ.โคกศรีสุพรรณ สกลนคร
หลวงปู่แบน ธนากโร วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศรีสุพรรณ สกลนคร
หลวงปู่แสวง อมโร วัดป่าชัยวารินทร์ อ.บ้านไผ่ ขอนแก่น
หลวงปู่อว้าน เขมโก วัดป่านาคนิมิตร อ.โคกศรีสุพรรณ สกลนคร
หลวงปู่อ้ม สุขกาโม วัดถ้ำผาผึ้ง อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร
คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ สำนักชีบ้านห้วยทราย อ.คำชะอี มุกดาหาร เป็นต้น

เกิดวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๓
มรณะเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕
ก่อนจะมรณภาพ พระอาจารย์กงมาได้พยากรณ์เรื่องการมรณภาพของตัวท่านเองให้ศิษย์ฟังล่วงหน้านานแล้ว ว่าท่านจะมรณภาพด้วยรถ และก็เป็นเช่นนั้นจริง คือ
ท่านประสบอุบัติเหตุรถคว่ำ ขณะเดินทางไปงานนิมนต์แห่งหนึ่ง ที่จังหวัดจันทบุรี

-------------------------------------------------

****จากส่วนหนึ่งที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ทรงได้ชื่นชมและกล่าวสรรเสริญพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ และ พ.ศ. ๒๘๔๒ มีผู้นำเรื่องไปทูลฟ้อง สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ

ว่า พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ปฏิบัติผิดพระวินัยหลายเรื่อง เช่น พระอาจารย์กงมาสะพายบาตรเหมือนพระมหานิกาย พระอาจารย์กงมาเทศน์แปลหนังสือผิด

ไม่ถูกต้องตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระองค์นั้น เสด็จไปทอดพระเนตรวัตรปฏิบัติของ

พระอาจารย์กงมาเองถึงในป่า จนประจักษ์ด้วยพระองค์เองแล้วตรัสว่า การสะพายบาตรอย่างนี้ก็เหมือนกับอุ้ม ไม่ผิดวินัยหรอก กลับเรียบร้อยดีด้วย

ส่วนเรื่องแสดงธรรมนั้น ทรงตรัสชมเชยด้วยซ้ำว่า เทศน์เก่งกว่ามหาเปรียญ ๙ ประโยคเสียอีก นอกจากนี้ยังมีผู้ไปทูลฟ้องสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ว่า

เวลาไปธุดงค์พระอาจารย์กงมาทำตัวเป็นผู้วิเศษ แจกของขลังให้กับประชาชนหลงไปในทางผิด ทำให้สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ขอออกธุดงค์กับท่านอาจารย์กงมา

เพียงสองต่อสอง และทรงขอร้องไม่ให้บอกใครว่าเป็นสมเด็จพระสังฆราช จากนั้นพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ได้นำพาสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ออกเดินธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ที่ท่านเคยออกธุดงค์มาแล้ว

วันหนึ่งได้ไปปักกลดพักอยู่ที่เชิงเขาสระบาป เกิดลมพายุฝนตก กลดไม่สามารถป้องกันน้ำฝนได้ อนึ่ง การปักกลดของพระธุดงค์ก็ต้องอยู่ห่างกันพอสมควร สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ

ทรงเปียกปอนไปหมด ส่วนพระอาจารย์กงมาก็นั่งตากฝนแต่บริขารไม่เปียก เมื่อฝนหยุด ท่านก็ครองผ้าเข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ทำให้เกิดความฉงน สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ

จึงตรัสถามว่า ทำไม่จึงไม่เปียก ได้รับคำตอบว่า มีคาถาดี ภายหลังเสด็จกลับจากเดินธุดงค์สู่วัดทรายงามแล้ว สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ จึงตรัสถามสามเณรวิริยังค์ บุญทีย์กุล

จึงได้ทราบว่า เมื่อเวลาฝนตก พระองค์ต้องเก็บของทั้งหมดใส่ลงไปในบาตร แล้วปิดฝาบาตรให้สนิท ถึงตอนนี้ทำให้สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ทรงเข้าใจชัดว่า คาถาดีป้องกันฝนได้นั้นคืออย่างนี้เอง

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) ทรงตรัสชมเชยการออกธุดงค์ และการปฏิบัติกรรมฐานของพระอาจารย์กงมาว่า
ได้ให้ประโยชน์อย่างมาก

การออกธุดงค์และการปฏิบัติเช่นนี้ ถ้าทำกันมากๆ จะทำให้พระศาสนาเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น พระองค์ยังได้ให้ความคุ้มครอง สรรเสริญพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ด้วยดีโดยตลอดมา








ขอจองครับ



1482.เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่พระมหาบุญมา ปุญญวันโต วัดป่าภูหันบรรพต อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ปี40 ที่ระลึกครบ 6 รอบ  เนื้อเงิน สร้างน้อย หายาก
พร้อมกล่องเดิมๆ สวย แชมป์ เอาไว้ประกวดโต๊ะอีสานขอนแก่นได้เลยครับเพราะมีในรายการประกวดเสมอๆ สภาพนี้หายาก
เปิดบูชาแบ่งปัน 1700-

ปิดท่าน j999 ครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 15, 2021, 12:19:05 AM โดย thesun »



1482.เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่พระมหาบุญมา ปุญญวันโต วัดป่าภูหันบรรพต อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ปี40 ที่ระลึกครบ 6 รอบ  เนื้อเงิน สร้างน้อย หายาก
พร้อมกล่องเดิมๆ สวย แชมป์ เอาไว้ประกวดโต๊ะอีสานขอนแก่นได้เลยครับเพราะมีในรายการประกวดเสมอๆ สภาพนี้หายาก
เปิดบูชาแบ่งปัน 1700-

หลวงปู่พระมหาบุญมา ช้างเผือกในป่าใหญ่  ทายาทธรรมหลวงปู่ฝั้น  หลวงปู่เป็นที่ไว้วางใจให้ฝึกอบรมพระเณรจากองค์หลวงปู่ฝั้น
หลวงปู่จะเข้มงวดในการอบรมพระเณรมาก จนได้ฉายาจากหมู่พระว่า “เสือภูหัน” (คือมีความดุมาก) และท่านยังเป็นพระพี่เลี้ยงให้ครูบาอาจารย์องค์สำคัญ ในสมัยนี้ อาทิ
หลวงปู่เสถียร ภูวัว , หลวงปู่สมหมาย จิตตปาโล หลวงปู่บุญทัน ฐิตสีโล วัดเขาเจริญธรรม เป็นต้น







หลวงปู่พระมหาบุญมา นามเดิมชื่อ สุนันท์ ขัดคำ เกิดเมื่อวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๘ ณ บ้านเหล่ากกหุ่งสว่าง ตำบลสวนหม่อน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนเก่น

หลวงปู่พระมหาบุญมา ท่านได้เข้ารับการอุปสมบทเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๖ โดยพระเดชพระคุณพระมุนีวรานุวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์ ที่วัดศรีบุญเรือง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
หลวงปู่เคยจำพรรษาอยู่หลายวัดทั้งภาคเหนือ ภาคใต้ แต่ส่วนใหญ่ท่านจำพรรษาอยู่ ภาคอีสาน เช่น วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร วัดภูสิง อำเภอบึงกาฬ
จังหวัดหนองคาย (ปัจจุบันอำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ) จนกระทั่ง พ.ศ.๒๕๑๔ – ปัจจุบัน จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูหันบรรพต ตำบลวังแสง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

หลวงปู่พระมหาบุญมา เป็นผู้ใฝ่ใจทางด้านการปฏิบัติมาตั้งแต่ต้น ในปี พ.ศ.๒๔๙๘ – ๒๔๙๙ ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดถ้ำขาม อำเภอพรรณานิคม
จังหวัดสกลนคร พระรุ่นเดียวกับหลวงปู่พระมหาบุญมา ที่มาปฎิบัติศึกษากับ หลวงปู่ฝั้น ในสมัยนั้น มี หลวงปู่เขี่ยม โสรโย วัดถ้ำขาม จ.สกลนคร

หลวงปู่พระมหาบุญมา ได้อยู่ที่วัดถ้ำขามปฏิบัติครูบาอาจารย์ อบรมวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นเวลาหลายปี จนมั่นใจในข้อวัตรปฏิบัติพอที่จะช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว ท่านก็ออกธุดงค์หาที่วิเวกปฏิบัติฝึกหัดตนตามแบบอย่างครูบาอาจารย์ ไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ทั้งภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง อิสานและข้ามไปถึงฝั่งประเทศลาวด้วย หลวงปู่พระมหาบุญมา มีปฏิปทาในการปฏิบัติ ออกธุดงค์โลดโผนตื่นเต้นยิ่งนัก ท่านได้ประสบเหตุการณ์ต่าง ๆ มาทุกรูปแบบในป่าเขาลำเนาไพร ผจญภัยในป่าดงดิบจนแทบจะเอาชีวิตไม่รอดก็หลายครั้ง

สมัยที่ท่านปฏิบัติอุปัฏฐากหลวงปู่ฝั้น อยู่นั้น หลวงปู่ฝั้นได้เล่าประสบการณ์ในการออกธุดงค์ให้ฟังว่า ท่านได้เคยมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่ภูระงำ ซึ่งในสมัยนั้นยังขึ้นอยู่กับอำเภอบ้านไผ่ ท่านบอกว่า บนภูระงำนั้น อากาศเย็นสบาย สงบ สงัดและวิเวกยิ่งนัก เหมาะแก่การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานมาก นัยว่าท่านได้ดวงตาเห็นธรรมที่ภูระงำนี้เอง ถ้าท่านเคยอ่านหนังสือประวัติหลวงปู่ฝั้น ท่านจะพบข้อความที่ยืนยันในเรื่องนี้ ภูระงำเป็นสถานที่ที่หลวงปู่มุ่งมั่น เสมอมาว่าจะต้องขึ้นไปอยู่ปฏิบัติธรรมตามที่ครูบาอาจารย์เคยอยู่มาสักครั้ง

ในปี พ.ศ.๒๕๐๕ ท่านได้จำพรรษาอยู่กับ หลวงปู่คำดี ปภาโส แห่งวัดถ้ำผาปู่ จังหวัดเลย หลังจากออกพรรษาแล้ว หลวงปู่พระมหาบุญมา ก็ได้ธุดงค์เรื่อยมาเพื่อที่จะมาอยู่ปฏิบัติธรรมที่ภูระงำตามความตั้งใจเดิม มาถึงบ้านหูลิงโนนศิลาก็เป็นเวลาพลบค่ำแล้ว ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงปู่พระมหาบุญมา อยู่โปรดสัตว์ที่บ้านนี้ก่อน เพราะภูระงำก็อยู่ห่างจากนี้ไปเพียง ๓ กิโลเมตรเท่านั้น หลวงปู่พร้อมกับพระอีกรูปหนึ่งที่เดินทางร่วมมาด้วย ได้ไปปักกลดที่ภูหันน้อย ซึ่งอยู่ติดกับภูหันทางด้านทิศใต้ วันต่อๆมา หลวงปู่จึงได้สำรวจดูภูหันจนทั่ว ท่านเห็นว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การปฏิบัติอย่างยิ่ง

ก่อนจะเข้าพรรษาในปี พ.ศ.๒๕๐๖ หลวงปู่พระมหาบุญมา ได้กลับไปรับใช้ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดถ้ำขามอีกครั้งหนึ่ง ก่อนไป ท่านมอบหมายให้พระภิกษุสามเณรรูปอื่นมาอยู่เเทน ตั้งเเต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ – ๒๕๑๓ ที่วัดป่าภูหันบรรพตเเห่งนี้ มีพระเณรอยู่จำพรรษาตลอดไตรมาส ไม่เคยขาด หลังจากออกพรรษาเเต่ละปี หลวงปู่พระมหาบุญมา ก็มาเเวะเวียนมาเยี่ยมอยู่ประจำ จนในปี พ.ศ.๒๕๑๔ หลวงปู่พระมหาบุญมา ได้กลับมาอยู่ที่วัดป่าภูหันบรรพตอีกครั้งจนบัดนี้ หลวงปู่พระมหาบุญมา เป็นพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เคร่งครัดพระธรรมวินัย มักน้อย สันโดษ ไม่สะสมทรัพย์สิน เงินทอง

พระครูบวรคณานุรักษ์ (หลวงปู่บุญมา ปุญฺญวนฺโต) ท่านศิษย์ผู้ใหญ่ของหลวงปู่คำดี ปภาโส , หลวงปู่ฝั้น อาจาโร , หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต , หลวงปู่จวน กุลเชฏฺโฐ และยังได้เป็นพระพี่เลี้ยงพา หลวงปู่เสถียร คุณวโร แห่งวัดถ้ำพระภูวัว ออกธุดงคกรรมฐานตามป่าเขาถิ่นทุรกันดารในที่ต่างๆ อีกด้วย หลวงปู่สมหมาย จิตฺตปาโล แห่งวัดป่าอนาลโย จ.นครปฐมและวัดภูถ้ำพระ จ.ยโสธร ครูบาอาจารย์อีกรูปที่ได้เคยติดตามธุดงค์กับหลวงปู่มหาบุญมานั้น ท่านเมตตาเล่าให้ฟังว่า เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๔ หลวงปู่สมหมาย ท่านมาอยู่จำพรรษากับหลวงปู่มหาบุญมา ที่วัดภูหันบรรพต หลวงปู่จะเข้มงวดในการอบรมพระเณรมาก จนได้ฉายาจากหมู่พระว่า “เสือภูหัน” (คือมีความดุมาก)

วันหนึ่ง…. มีฝนตกหนักมาก หลวงปู่มหาบุญมา ปุญฺญวนฺโต ท่านได้ประสบอุบัติเหตุ ลื่นหกล้ม จนทำให้หลวงปู่พระมหาบุญมา ท่านอาพาธเป็นอัมพาต เดินไม่ได้มาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๘ จนถึงกาลมรณภาพ

ปัจจุบัน หลวงปู่มหาบุญมา ปุญญวันโต วันป่าภูหันบรรพต อ.ชนบท จ.ขอนแก่น ว่า องค์ท่าน ได้ละสังขารแล้ว เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๐ เวลาประมาณ ๒๓.๐๐ น. สิริรวมอายุ ๙๒ ปี ๖๒ พรรษา

อัฐิแปรสภาพเป็นพระธาตุ











ขอจองครับ




 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi