[Thesun]พระกรรมฐานพ่อแม่ครูอาจารย์และพระเกจิอาจารย์ทั่วไป(อ่าน 673480 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

281.เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่มา ญาณวโร วัดสันติวิเวก อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ปี17 บล๊อคนิยมเหรียญไม่มีกลาก สวยๆ หายากแล้วครับ

นับวันพระสวยๆหายากเข้าไปทุกที
1350-










ขอจองครับ



281.เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่มา ญาณวโร วัดสันติวิเวก อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ปี17 บล๊อคนิยมเหรียญไม่มีกลาก สวยๆ หายากแล้วครับ


ขอจองครับ

ขอบพระคุณครับ



283.สมเด็จพุทธเมตตาเกสรขุมเงิน (รุ่นแรก) หลวงพ่อดาบส สุมโน วัดดอยขุมเงิน จ.ลำพูน ปี31

จัดเป็นวัตถุมงคลนิยมอันดับ1ของหลวงพ่อ หายาก ศิษย์เก็บกันไม่ค่อยหลุดออกมาครับ
850-
 ปิดครับคุณโกศัย



284.เหรียญ 'ทูลเกล้า' หลวงปู่ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง จ.เชียงใหม่ จัดสร้างปี พ.ศ. 2521 เนื้อนวโลหะ สวยๆ 600-










285.เหรียญครูบาธรรมธิ วัดสันป่าตึง จ.เชียงใหม่ รุ่นแรก ปี34 หนึ่ง ในศิษย์ ครูบาศรีวิชัย ที่ หาเหรียญ ของท่านยากมาก  400-

เหรียญหยดน้ำครูบาธรรมธิ "รุ่นแรก" วัดสันป่าตึง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ท่าน j999

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 03, 2017, 05:29:17 PM โดย thesun »



285.เหรียญครูบาธรรมธิ วัดสันป่าตึง จ.เชียงใหม่ รุ่นแรก ปี34 หนึ่ง ในศิษย์ ครูบาศรีวิชัย ที่ หาเหรียญ ของท่านยากมาก  400-

เหรียญหยดน้ำครูบาธรรมธิ "รุ่นแรก" วัดสันป่าตึง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

เดิมหลวงปู่ ชื่อ ดช.อินตา ทิพจร เกิดวันที่7 พ.ย2445เป็นบุตรชายคนเดียวในบรรดาลูกทั้ง4ของพ่ออิ่น แม่หล้า ทิพจร อายุได้12ปีขวบได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่6มี.ค 2457 ณ.วัดสันป่ายาง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ กระทั่งอายุได้20ปีได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ออกธุดงกับครูบารดวงทิพย์(ครูบารดวงทิพย์เป็นอาจารย์คนแรก)ไปยังประเทศพม่าโดยผ่านอ.แม่สอด จ.ตาก เพื่อไปสักการะพระฮังฮุ้ง(รังรุ้ง)พระเจดีย์อินแขวน มหาเจดีย์ทองราชเวดากองใช้เวลา8เดือน(80ปีที่แล้วการเดินทางเท้าคงสุดๆครับ)หลังจากนั้นหลวงก็ธุดงตามป่าเขาตลอดสะเมิงแม่แจ่มแม่ฮ่องสอนและปาย สนองงานครูบาเจ้าศรีวิชัยเมื่อครูบาเจ้าศรีวิชัยรับนิมนต์เพื่อสร้างพระธาตุคีรีบรรพต ปัจจุบันคือวัดดอนเจียง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้แวะเยี่ยมคารวะครูบารดวงทิพย์เพราะเป็นพระเถระมีอายุอัธยาศัยใกล้เคียงกันได้สนทนาธรรมและพักค้างแรมท่วัดสันป่ายางด้วย เมื่อครั้นครูบารเจ้าศรีวิชัยจะเดินทางต่อไปยังจุดหมายได้เรียกพระภิกษุอินตา หรือ หลวงปู่ครูบารธรรมธิมาพบเพื่อให้ไปสนองงานท่านครูบารเจ้าศรีวิชัยในการสร้างพระธาตุคีรีบรรพตท่านได้สนองงานท่านครูบารเจ้าศรีวิชัยจนเป็นที่วางใจหลังจากนั้นครูบารเจ้าศรีวิชัยมีภาระกิจในการสร้างปฏิสังขรณ์สถานที่ใดมักเรียกใช้พระะภิกษุอินตาเสมอจึงได้รับการอบรมจากครูบารเจ้าศรีวิชัยให้หนักแน่นขึ้น งานที่ท่านช่วยเหลือครูบารเจ้าศรีวิชัยนั้นมีมากมายแต่ที่บันทึกไว้เป็นหลักฐานมีดังนี้ ครั้งแรกพระธาตุคีรีพต อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ งานซ่อมแซมพระธาตุแปงเมือง อ.ปาย พระธาตุสบฝาง อ.ฝาง(ปัจจุบันอ.แม่อาย)มณฑปครอบพระบาทสี่รอย สร้างวัดบ้านเอียก จำพรรษาวัดสันป่ายางต่อมา1ม.ค2487 ได้รับนิมนต์ให้มาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดสันป่าตึง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่จนกระทั่งหลวงปู่ละสังขารไปเมื่ออายุ92ปี

มีคณาจารย์หลานท่านที่มาร่วมพิธีปลุกเสก อาทิเช่น
๑.ครูบาธรรมธิ วัดสันป่าตึง
๒.ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง
๓.ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี
๔.ครูบาหน้อย (วัดบ้านปง)
๕.พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญวิเวก
และคณาจารย์อื่นๆ

ครูบาธรรมธิ พรหมน้ำมนต์ เพื่อความเป็นมงคล


ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง


ครูบาหน้อย (วัดบ้านปง)



นำเข้าพิธีปลุกเศก ที่วัดบ้านปง  จุดเทียนชัยโดยครูบาดวงดี

อธิฐานจิต  หลวงพ่อพระอาจารย์เปลี่ยน




ขวามือครูบาธรรมธิ











ขอจองครับ



286.เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อมั่ง วัดชัยสิทธิ์ อ.วังชิ้น จ. แพร่ ปี18 เนื้อนวโลหะ บล๊อคนิยม  สร้างน้อย

 จัดเป็นเหรียญนิยม หายากของเมืองแพร่
1600- ท่าน j999



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 03, 2017, 05:29:32 PM โดย thesun »



286.เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อมั่ง วัดชัยสิทธิ์ อ.วังชิ้น จ. แพร่ ปี18 เนื้อนวโลหะ บล๊อคนิยม  สร้างน้อย

 จัดเป็นเหรียญนิยม หายากของเมืองแพร่
1600-

ประวัติหลวงพ่อมั่ง ติสฺสโร(พระครูคัมภีรสิทธิคุณ) เจ้าอาวาสวัดชัยสิทธิ์



    เจ้าคณะตำบลแม่ป้าก เจ้าอาวาสวัดชัยสิทธิ์ (บ้านแม่ป้าก), วัดสบป้าก(เดี๋ยวนี้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดสัมฤทธิบุญ), และวัดแช่ฟ้า-นาฮ่าง(วัดสุดท้ายของท่าน)
ต. แม่ป้าก อ.วังชิ้น จ. แพร่
    วัดชัยสิทธิ์ ตั้งอยู่บ้านแม่ป้าก อยู่ติดถนน ลอง - วังชิ้น ในวัดมีพระธาตุคู่บ้าน คู่เมือง มีมาตั้งแต่โบราณ คือพระธาตุขวยปู
    หลวงพ่อมั่งเริ่ม บรรพชาเป็นเณรตั้งแต่อายุ 15 ปี ที่วัดชัยสิทธิ์ และอายุ 21 ปี ท่านได้ลาสิกขา ได้ 15 วันกลับเข้ามาบวชเป็นพระมั่ง ฉายาติสฺสโร
 ท่านก็ย้ายไปอยู่วัดบ้านสบป้าก และ ย้ายไปอยู่วัดบ้านแช่ฟ้าเป็นวัดสุดท้าย ท่านมรณะภาพ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2538 ทำพิธีพระราชทานเพลิงศพ เดือนเมษายน พ.ศ. 2538
ณ วัดแช่ฟ้ารวมอายุได้ 76 ปี ได้พรรษา 42 พรรษา ก่อน มรณะภาพท่านสั่งห้ามอ่าน ห้ามหาประวัติ ของท่านมาอ่านต่อหน้าศพ ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ
ทำให้การค้นหาประวัติของหลวงพ่อยากมาก การทำบล็อก ลูกศิษย์ เป็นออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด เพราะว่าท่านมีวิทยาคมแก่กล้า ท่าสามารถถอดกายทิพย์ได้ ท่านนั่งวิปัสสนา
ในกุฏิเป็นเดือนโดยไม่ออกไปไหนโดยให้เณรปิด ล็อกกุญแจข้างนอก มีคนท่านได้ถอด กายทิพย์ออก ไปบินทบาตร ตามหมู่บ้านต่างๆ มีชาวบ้านก็ใส่บาตรกับกายทิพย์ของท่านด้วย
โดยที่ไม่มีใครเห็นท่าน เดินออกจากห้องเลย

การออกเหรียญของหลวงพ่อมั่ง

    1. รุ่นแรก บล็อกแรก ออกปี 2518 มีทั้งหมดเกิน 800 เหรียญ(จำนวนไม่แน่นอน) ลูกศิษย์ ท่านจัดสร้างที่กรุงเทพฯ และนิมนต์ท่านไปปลุกเสกที่ ก.ท.ม.
โดยสร้างมา 4 เนื้อ เนื้อทองคำ เงิน นวะ เนื้อทองแดงรมดำ ราคาบูชาเหรียญหลวงพ่อมั่ง ทองแดงราคา 20 บาท, เงินราคา 100 บาท, เหรียญนวะ ราคาไม่ทราบ , เนื้อทองคำ 1,200 บาท(มีบูชาที่กรุงเทพฯเท่านั้น)
วิธีดูเหรียญรุ่นนี้
- ตัวหนังสือทุกตัวจะบางและคมกว่าบล็อก2
- ขอบลายกนกด้านหน้าของเหรียญ จะบางกว่าบล็อก 2
- ฉายาของท่าน ติสฺ - สะ - โร บล็อก 2 สระอุจะมีหางยาว( ติ - สุ - สะ -โร)

    2. บล็อก 2 ออกปี พ.ศ. 2518 คณะศรัทธาชาวบ้านวัดชัยสิทธิ์ และครูบาหาญ วัดดงลาน อ.ลอง ได้ช่วยกันจัดสร้างเสริมเมื่อรุ่นแรกหมด โดยปลุกเสกที่วัดดงลาน อ. ลอง
ในปีเดียวกันเพื่อจัดหารายได้เข้าวัดชัยสิทธิ์ หลวงพ่อมั่งได้ร่วมปลุกเสกด้วย ทุกอย่างจะเหมือนกันจะต่างกัน มีตำหนิ ดูง่าย รุ่นนี้ทำขึ้นมาเนื้อทองแดงรมดำเพียงอย่างเดียว

เหรียญหลวงพ่อมั่งที่ได้รับความนิยมที่สุด รุ่นแรกบล็อกแรก เพราะมีประสบการณ์คุ้มครองต่างๆมีพุทธคุณทางด้านโชคลาภ























ขอจองครับ



287. เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อเส่ง โสภโณ  วัดกัลยาฯ กรุงเทพฯ ปี2511 เนื้อโลหะชุบนิเกิ้ล หลังเรียบ สวยๆ หายาก 900-

หลวงปู่เส่ง  วัดกัลยาณมิตร



ศิษย์เอกเจ้าคุณพรหม...พุทธาคมเลิศล้ำ
เจ้าตำรับ“น้ำพระพุทธมนต์บัวลอย” ปล่อยเคราะห์
  วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พระอารามหลวงชื่อดังแห่งฝั่งธนบุรี  ไม่เพียงเลื่องลือระบือไกลด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของ “พระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อโต(ซำปอกง)” ซึ่งมากด้วยอภินิหารเท่านั้น
ทว่า อดีตเจ้าอาวาสของวัดแห่งนี้ ล้วนมากมีไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสายวิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาคมที่สูงส่ง หนึ่งในนั้นก็คือ พระสุนทรสมาจาร (พรหม อินทโชติ) หรือ “เจ้าคุณพรหม”
พระเกจิอาจารย์ที่เก่งทางวิชาอาคมขลัง เจ้าของพระปรกใบมะขามอันลือลั่นสนั่นกรุง

ท่านมีศิษย์เอกองค์สำคัญที่สร้างชื่อเสียงและความเจริญให้แก่วัดกัลยาณ์อย่างมากคือ “พระครูโศภณกัลยาณวัตร” หรือสมญานามที่บรรดาศิษย์กล่าวขานถึงด้วยความเคารพว่า “หลวงปู่เส่ง โสภโณ”
แม้ท่านจะอยู่ในฐานะพระลูกวัด แต่มีผู้คนให้ความเคารพศรัทธามากมาย เนื่องจากต่างเชื่อมั่นในวิชาความรู้ที่ท่านได้รับการถ่ายทอดจากเจ้าคุณพรหม   อีกทั้งเลื่อมใสในความเป็นพระผู้มากด้วยเมตตาบารมีโดยแท้ ท่านมรณภาพไปเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2526 รวมสิริอายุได้ 92 ปี 7 เดือน 4 วัน นับพรรษาได้ 72 พรรษา  รวมเวลากว่า 20  ปีแล้ว แต่ความเลื่อมใสศรัทธาในคุณงามความดีของท่าน ไม่เคยจางหายไปจากจิตใจของชาวบ้าน
****

 ในสมัยที่หลวงปู่เส่งยังมีชีวิตอยู่ มักจะมีผู้มาขอให้ท่านรดน้ำมนต์ดอกบัวให้เป็นประจำ กระแสจิตของท่านสามารถอธิษฐานดอกบัวจากที่ยังตูมอยู่ให้บานได้ภายในชั่วระยะเวลาไม่นาน
 ซึ่งแสดงให้ผู้ที่มาขอให้ท่านรดน้ำมนต์ ได้รู้ว่าเรื่องที่ปรารถนาขอให้ท่านช่วยจะสัมฤทธิ์ผลสมหวังอย่างแน่นอน!

เหรียญรูปไข่หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร จัดสร้าง หลังเรียบ และ หลังยันต์
"เหรียญรูปไข่เรียบ" รุ่นแรกที่ออกครั้งแรกเมื่อปี 2511 บล็อคหลังเรียบ นี้หายากมากๆครับ พบเห็นน้อยมาก  หาเช่ายากกว่าเหรียญหลัง พ.ศ.พอสมควร








288.ล๊อคเก็ตงานเขียนสี หลวงตาพันธ์ อาจาโร วัดมัชฌันติการาม กรุงเทพ สวยๆ 500

หลวงตาพันธ์ อาจาโร  เป็นพระอริยะสงฆ์ที่ถึงพร้อมด้วยสีลาจารวัตรที่งดงาม ไม่มีคำว่าด่างพร้อยใด ๆ ทั้งสิ้น

ประวัติและปฏิปทา
หลวงตาพันธุ์ อาจาโร
วัดมัชฌันติการาม (วัดน้อย)
แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ



๏ อัตโนประวัติ

“หลวงตาพันธุ์ อาจาโร” หรือ “พระครูใบฎีกาพันธุ์ อาจาโร” มีนามเดิมว่า พันธุ์ เกตุพิมาย เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๔๕๓ ปีจอ ณ ต.หัวทะเล อ.เมือง จ.นครราชสีมา โยมบิดา-มารดาชื่อ นายสี และนางหล้า เกตุพิมาย มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๖ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๕ มีนามตามลำดับดังนี้

๑. นายสี เกตุพิมาย (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๒. นายสิงห์ เกตุพิมาย (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๓. นายตา เกตุพิมาย (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๔. นายสา เกตุพิมาย (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๕. หลวงตาพันธุ์ อาจาโร (มรณภาพแล้ว)
๖. นางจันทร์ เกตุพิมาย (ถึงแก่กรรมแล้ว)


๏ การอุปสมบท

หลวงตาพันธุ์ มีจิตใจโน้มเอียงไปทางธรรมตั้งแต่ยังเป็นฆราวาส ด้วยเห็นทุกข์ในวัฏสงสารแล้วว่าเป็นสิ่งน่าสะพรึงกลัวยิ่ง ดังนั้น เมื่อโยมมารดา (เป็นแม่ชีและเป็นลูกศิษย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร) เอ่ยปากขอให้ท่านบวชเพื่อทดแทนน้ำนม ท่านก็รับปากทันที ทั้งๆ ที่ขณะนั้นมีอายุถึง ๓๘ ปีแล้วก็ตาม (ท่านไม่มีครอบครัว) ก่อนที่จะอุปสมบทนั้น ได้เป็นตาปะขาวอบรมบ่มนิสัยอยู่ ณ วัดป่าศรัทธาธรรม อ.เมือง จ.นครราชสีมา

ครั้นต่อมาได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๑ ณ พัทธสีมาวัดสุทธจินดา ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา โดยได้รับเมตตาจาก ท่านเจ้าคุณพระอริยเวที (หลวงปู่เขียน ฐิตสีโล ป.ธ.๙) อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา และอดีตเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสุทธศีลสังวร วัดสุทธจินดา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์บุญ ปุญญกโร วัดสุทธจินดา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “อาจาโร” ซึ่งแปลว่า “ผู้มีมารยาทอันงาม”

หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้จำพรรษาแรกที่วัดป่าศรัทธาธรรม เพื่อฉลองศรัทธาโยมแม่หล้า เกตุพิมาย และญาติพี่น้อง ตลอดพรรษาแรก หลวงตาพันธ์ได้ตั้งใจปฏิบัติธรรม และพึงระลึกอยู่เสมอว่าท่านจะเดินธุดงค์เพื่อแสวงหาสัจธรรม หาอุบายในการพ้นจากวัฏสงสารให้ได้

๏ หลวงปู่มั่นเมตตาอบรมสั่งสอนธรรม

ประกอบกับสมัยนั้นชื่อเสียงของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งเป็นพระอาจารย์ใหญ่ของพระป่าสายกรรมฐาน เป็นพระภิกษุสงฆ์ผู้มีศีลาจารวัตรงดงาม เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ได้แสดงพระธรรมเทศนาสั่งสอนคณะศิษยานุศิษย์ ทั้งพระภิกษุสงฆ์และฆราวาส อยู่ที่จังหวัดสกลนคร

ด้วยเหตุนี้เมื่อพ้นพรรษาแรกแล้ว หลวงตาพันธุ์จึงออกเดินทางธุดงค์รอนแรมในป่า ฝ่าฟันความลำบากนานัปการจาก จ.นครราชสีมา ไป จ.สกลนคร โดยใช้เส้นทางผ่าน จ.อุดรธานี จนกระทั่งถึงวัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ช่วงก่อนวันมาฆบูชา ปีพ.ศ.๒๔๙๒ ก็ได้พบกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่แห่งกองทัพพระป่าผู้แสวงธรรมวิมุตติ ตามที่ได้ตั้งจิตปรารถนา

พระอาจารย์มั่น ได้มีเมตตาอบรมสั่งสอนธรรมแก่หลวงตาพันธุ์ โดยให้ถือหลักธรรม “ตจปัญจกกรรมฐาน” พิจารณาขันธ์สังขารของตัวเราว่ามีความเสื่อมเป็นสิ่งธรรมดา อย่าได้ไปยึดติด และปรุงแต่งตามกิเลส

นอกจากนี้ หลวงปู่มั่นยังได้เมตตาอนุญาตให้หลวงตาพันธุ์อยู่ปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิหาอุบายธรรม ที่วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) บำเพ็ญเพียรทั้งเดินจงกรมและฟังธรรมจากหลวงปู่มั่นทุกช่วงเย็น จวบจนเวลาใกล้เข้าพรรษา หลวงตาพันธุ์จึงได้กราบลาหลวงปู่มั่น เดินทางกลับ จ.นครราชสีมา บ้านเกิด


๏ ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม

ครั้นเมื่อเดินทางถึง จ.นครราชสีมา หลวงตาพันธุ์ได้มีโอกาสไปฝากตัวเป็นศิษย์รับอบรมธรรมจาก พระญาณวิศิษฎ์สมิทธิวีราจารย์ (หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม) แห่งวัดป่าสาลวัน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้น พระอาจารย์บุญ ปุญญกโร พระกรรมวาจารย์ของท่าน ได้ชวนกันเดินธุดงค์มาทางภาคกลาง เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ครูบาอาจารย์รูปสำคัญอีกหลายรูป

จนได้เดินทางมาปฏิบัติธรรมที่วัดมัชฌันติการาม (วัดน้อย) เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นป่าร่มรื่นสงบยิ่งนัก และได้ขอความเมตตาจาก พระครูธรรมสารวิจิตร (หลวงปู่อ่อน) อดีตเจ้าอาวาสวัดมัชฌันติการาม (วัดน้อย) รูปที่ ๗ จำพรรษาที่วัดแห่งนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๔ จนกระทั่งมรณภาพ


๏ สหธรรมมิก

หลวงตาพันธุ์ มีสหธรรมมิก อาทิเช่น หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท แห่งวัดภูริทัตตปฏิปทาราม ต.คลองควาย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี, หลวงปู่จำปี ชาคโร แห่งวัดป่าสาลวัน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา เป็นต้น


๏ สมณศักดิ์

พ.ศ.๒๕๐๘ เป็นพระสมุพันธุ์ อาจาโร ฐานานุกรมในพระสาธุศีลสังวร (สนธิ์ กิญจกาโร ป.ธ.๕) วัดบวรนิเวศวิหาร สมณศักดิ์ในขณะนั้น

พ.ศ.๒๕๑๖ เป็นพระครูใบฎีกาพันธุ์ อาจาโร ฐานานุกรมในพระเทพญาณวิศิษฏ์ (สนธิ์ กิญจกาโร ป.ธ.๕) วัดบวรนิเวศวิหาร สมณศักดิ์ในขณะนั้น


๏ ตำแหน่งทางคณะสงฆ์

- เป็นพระผู้ทรงปาฏิโมกข์
- อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมัชฌันติการาม
- เป็นกรรมการสงฆ์วัดมัชฌันติการาม
- เป็นปูชนียบุคคลของคณะสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาวัดมัชฌันติการาม


๏ ปฏิปทาและวัตรปฏิบัติ

ท่านเป็นผู้มักน้อย สันโดษ บิณฑบาตเป็นวัตร เดินจงกรมเป็นวัตร ชอบให้ทานและเมตตาสูง อยู่ง่ายขบฉันง่าย ชอบกระทำให้เห็นมากกว่าการพูด ชอบฟังผู้ที่มาหาท่านพูด มากกว่าจะเป็นฝ่ายให้ท่านพูด ชอบธุดงค์ไปตามถ้ำเขาเพียงผู้เดียว ท่านบอกว่าการเดินธุดงค์ไปองค์เดียว ไม่น่ากลัว และไม่ต้องเป็นห่วงใครด้วย ตายก็ตายคนเดียว หิวก็หิวคนเดียว อดก็อดคนเดียว...สบาย... คำสอนที่ท่านพร่ำสอนอยู่บ่อยๆ คือ “อย่าวุ่นวาย”


๏ การมรณภาพ

ปกติท่านเป็นพระผู้เฒ่าที่แข็งแรงและอารมณ์ดีมาก ครั้นเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๘ คณะศิษยานุศิษย์เห็นว่าท่านผอมลง ฉันข้าวได้น้อย มีอาการเจ็บคอ และเสมหะมาก จึงได้นิมนต์หลวงตาพันธุ์ เพื่อไปตรวจร่างกายที่โรคพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หมอตรวจหาสาเหตุและอาการไม่พบจึงให้กลับวัด

นัดตรวจครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๘ ก็ยังไม่พบสาเหตุของอาการ แต่ได้ตัดเนื้อเยื้อในลำคอของหลวงตาไปตรวจ และนัดตรวจครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๘ หมอลงความเห็นว่าเป็นมะเร็งที่หลอดอาหาร จึงได้ใส่ท่อช่วยในการขบฉัน และให้ท่านรักษาอยู่ที่โรงพยาบาล แต่ท่านไม่ต้องการอยู่ต่อที่โรงพยาบาล ขอกลับวัด หมอก็อนุญาตและขอให้มาตรวจตามนัด

เมื่อกลับมาอาการท่านก็ทรงๆ ทรุดๆ จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๘ อาการหนักมาก มีเสมหะออกเป็นเลือดมาก ถ่ายเป็นเลือด ตัวซีด พระอุ๋ย (พระผู้ดูแล) จึงนิมนต์ท่านไปโรงพยาบาลยันฮี ซึ่งอยู่ใกล้วัดที่สุด ท่านไม่ยอมไป ท่านบอกว่าทนเอา แต่พระอุ๋ยเห็นว่าอาการหลวงตาหนักขึ้นเรื่อยๆ ท่านจึงออกปากนิมนต์ว่า หลวงตาให้หมอช่วยดับเวทนาให้สักหน่อยเถิด หลวงตาจึงยอมไปรักษาตามคำนิมนต์

เมื่อท่านไปรับการรักษา หมอก็ฉีดยาให้ อาการก็ดีขึ้นและให้กลับวัดได้ และเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม-วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๘ อาการอาพาทของหลวงตาก็หนักขึ้นอีก จึงได้นิมนต์หลวงตาเข้ามารักษาตัวที่โรงพยาบาลยันฮี อีกครั้ง แต่เนื่องจากสังขารอันเฒ่าชราวัยกว่า ๙๔ ปี ทั้งยังมีโรคแทรกซ้อน รวมไปถึงร่างกายซึ่งไม่รับยาที่ฉีดเข้าไปได้อีกแล้ว คือตามตัวของหลวงตามีแต่น้ำไหลออกมา แม้แต่ยาที่ฉีดเข้าไปก็ไหลออกมา

แต่ถึงกระนั้นสติของท่านก็ยังบริบูรณ์รู้อยู่ทุกขณะจิต ท่านหลับตารับรู้ถึงวิบากเวทนาของร่างกายอยู่โดยตลอด ท่านไม่เคยปริปากร้องโอดครวญให้ใครได้ยินหรือเห็นเลย ท่านจะหลับตาและดูเวทนาอยู่ตลอด แต่ถ้าใครไปหา ท่านจะลืมตาแล้วพยักหน้ารับรู้ว่าเขาเหล่านั้นได้มีน้ำใจมาเยี่ยมเยียนตัวท่าน แล้วท่านก็จะหลับตาต่อไปอีก ท่านเคยพูดว่ามันเจ็บปวดมากจนฉันอะไรลงไปไม่ได้แม้แต่น้ำเปล่า

กระทั่งวันอังคารที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๘ เวลา ๒๔.๑๗ น. หลวงตาพันธุ์ อาจาโร ได้มรณภาพลงด้วยอาการสงบ สิริอายุรวมได้ ๙๔ ปี ๑๐ เดือน ๒๑ วัน พรรษา ๕๕






289.รูปหล่อเนื้อเงินรุ่นแรก หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน จ.เลย ปี33  มาพร้อมกล่องกำมะหยี่เดิมๆ  ท่าน j999

เนื้อเงินรุ่นแรกตัวจริงครับหายาก (ก้น ใต้ฐาน จะเรียบ) ต่อไปจะแพงตามเหรียญรุ่นแรกเนื้อเงิน ที่ราคาหลายหมื่นแล้วครับเก็บก่อนแพง
3500-

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 03, 2017, 05:30:03 PM โดย thesun »



289.รูปหล่อเนื้อเงินรุ่นแรก หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน จ.เลย ปี33  มาพร้อมกล่องกำมะหยี่เดิมๆ

เนื้อเงินรุ่นแรกตัวจริงครับหายาก (ก้น ใต้ฐาน จะเรียบ) ต่อไปจะแพงตามเหรียญรุ่นแรกเนื้อเงิน ที่ราคาหลายหมื่นแล้วครับเก็บก่อนแพง
3500-

ขอจองครับ













289.รูปหล่อเนื้อเงินรุ่นแรก หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน จ.เลย ปี33  มาพร้อมกล่องกำมะหยี่เดิมๆ

เนื้อเงินรุ่นแรกตัวจริงครับหายาก (ก้น ใต้ฐาน จะเรียบ) ต่อไปจะแพงตามเหรียญรุ่นแรกเนื้อเงิน ที่ราคาหลายหมื่นแล้วครับเก็บก่อนแพง
3500-


ขอจองครับ

ขอบพระคุณครับ



290.ล็อกเก็ตทรงผนวช พระภิกษุ ภูมิพโล ที่ระลึก 25 พุทธศตวรรษ ปี2500 ฉากฟ้า เป็นล๊อคเก็ตในหลวงที่จัดสร้างขึ้นเป็นครั้งแรก ออกในนามวัดบวร

ล็อกเก็ตรูปในหลวงเมื่อครั้งทรงผนวช จัดสร้างเมื่อปีพ.ศ.2500 โดยด้านหน้าเป็นรูปในหลวงทรงสมณศักดิ์ ภูมิพโล ฉากสีฟ้า ด้านหลังเป็นเนื้ออลูมิเนียมชุบทอง

จัดสร้างโดยกองกษาปณ์ ออกบูชาที่วัดบวรนิเวศในสมัยนั้น เข้าร่วมพิธีเดียวกันกับ ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ กึ่งพุทธกาล เมื่อปี 2500 มีเกจิร่วมพิธีปลุกเสกมากมาย

จัดทำฉากสีครบประจำวัน  ขอขอบคุณข้อมูลคุณปุก เมืองนนท์ มา ณ โอกาสนี้





290.1 900-







290.2 900-









291.พระบูชารุ่นแรก หลวงปู่บุญมา ปุญญวนฺโต  วัดป่าภูหันบรรพต  อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ปี40 หน้าตัก 5 นิ้ว

ที่ระลึก ฉลองพระมหาเจดีย์ ปี40 หมายเลข 419  ด้านในบรรจุมวลสาร เกศา จีวร แผ่นจาร  องค์พระหนักมาก ประมาณ 2 กิโล หายาก
4000-

ท่าน j999

หลวงปู่บุญมา ปุญญวนฺโต  พระอรหันต์แห่งเมืองหมอแคน ศิษย์รุ่นใหญ่หลวงปู่คำดี หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ผาง หลวงปู่จวน ท่านมีวัตรปฏิบัติที่เข้มงวดมากในหมู่พระ เณร

จนได้ฉายาว่า "เสือภูหัน" คือดุ เข้มงวดมาก หลวงปู่ได้อาพาธเป็นอัมพาตตั้งแต่ปี48  และละสังขารเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2560  ๙๓ ปี พรรษา ๖๓

ประวัติโดยย่อ
หลวงปู่บุญมา ปุญฺญวนฺโต
(พระคุณบวรคณานุรักษ์)
เจ้าอาวาสวัดป่าภูหันบรรพต
วัดภูหันบรรพต บ้านหูลิง
ตำบลวังแสง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

ชาติภูมิ หลวงปู่ฯ เกิดที่บ้านเหล่ากกหุ่งสว่าง อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนเก่น อุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2496 โดยพระเดชพระคุณพระมุนีวรานุวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์ ที่วัดศรีบุญเรือง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น หลวงปู่เคยจำพรรษาอยู่หลายวัดทั้งภาคเหนือ ภาคใต้ แต่ส่วนใหญ่ท่านจำพรรษาอยู่ ภาคอีสาน เช่น วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร วัดภูสิง อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย จนกระทั่ง พ.ศ. 2514 - ปัจจุบัน จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูหันบรรพต ตำบลวังแสง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

หลวงปู่ฯ เป็นผู้ใฝ่ใจทางด้านการปฏิบัติมาตั้งแต่ต้น ในปี พ.ศ.2498 - 2499 ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดถ้ำขาม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร พระรุ่นเดียวกับหลวงปู่ฯ ที่มาปฎิบัติศึกษากับหลวงปู่ฝั้น ในสมัยนั้น มี หลวงปู่เขี่ยม วัดถ้ำขาม จ.สกลนคร (ภายหลังท่านจำพรรษาและได้มรณภาพที่วัดป่าขุมดิน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น) หลวงปู่มหาโส วัดป่าคำแคน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น และอีกหลาย ๆ ท่านด้วยกัน

หลวงปู่ฯ ได้อยู่ที่วัดถ้ำขามปฏิบัติครูบาอาจารย์ อบรมวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นเวลาหลายปี จนมั่นใจในข้อวัตรปฏิบัติพอที่จะช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว ท่านก็ออกธุดงค์หาที่วิเวกปฏิบัติฝึกหัดตนตามแบบอย่างครูบาอาจารย์ ไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ทั้งภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง อิสานและข้ามไปถึงฝั่งประเทศลาวด้วย หลวงปู่ฯ มีปฏิปทาในการปฏิบัติ ออกธุดงค์โลดโผนตื่นเต้นยิ่งนัก ท่านได้ประสบเหตุการณ์ต่าง ๆ มาทุกรูปแบบในป่าเขาลำเนาไพร ผจญภัยในป่าดงดิบจนแทบจะเอาชีวิตไม่รอดก็หลายครั้ง

สมัยที่ท่านปฏิบัติอุปัฏฐากหลวงปู่ฝั้นอยู่นั้น หลวงปู่ฝั้นได้เล่าประสบการณ์ในการออกธุดงค์ให้ฟังว่า ท่านได้เคยมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่ภูระงำ ซึ่งในสมัยนั้นยังขึ้นอยู่กับอำเภอบ้านไผ่ ท่านบอกว่า บนภูระงำนั้น อากาศเย็นสบาย สงบ สงัดและวิเวกยิ่งนัก เหมาะแก่การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานมาก นัยว่าท่านได้ดวงตาเห็นธรรมที่ภูระงำนี้เอง ถ้าท่านเคยอ่านหนังสือประวัติหลวงปู่ฝั้น ท่านจะพบข้อความที่ยืนยันในเรื่องนี้ ภูระงำเป็นสถานที่ที่หลวงปู่มุ่งมั่น เสมอมาว่าจะต้องขึ้นไปอยู่ปฏิบัติธรรมตามที่ครูบาอาจารย์เคยอยู่มาสักครั้ง

ในปี พ.ศ.2505 ท่านได้จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่คำดี ปภาโส แห่งวัดถ้ำผาปู่ จังหวัดเลย หลังจากออกพรรษาแล้ว หลวงปู่ฯ ก็ได้ธุดงค์เรื่อยมาเพื่อที่จะมาอยู่ปฏิบัติธรรมที่ภูระงำตามความตั้งใจเดิม มาถึงบ้านหูลิงโนนศิลาก็เป็นเวลาพลบค่ำแล้ว ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงปู่ฯ อยู่โปรดสัตว์ที่บ้านนี้ก่อน เพราะภูระงำก็อยู่ห่างจากนี้ไปเพียง 3 กิโลเมตรเท่านั้น หลวงปู่พร้อมกับพระอีกรูปหนึ่งที่เดินทางร่วมมาด้วย ได้ไปปักกลดที่ภูหันน้อย ซึ่งอยู่ติดกับภูหันทางด้านทิศใต้ วันต่อๆมา หลวงปู่จึงได้สำรวจดูภูหันจนทั่ว ท่านเห็นว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การปฏิบัติอย่างยิ่ง

ก่อนจะเข้าพรรษาในปี พ.ศ. 2506 หลวงปู่ฯ ได้กลับไปรับใช้หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดถ้ำขามอีกครั้งหนึ่ง ก่อนไป ท่านมอบหมายให้พระภิกษุสามเณรรูปอื่นมาอยู่เเทน ตั้งเเต่ปี พ.ศ. 2506 - 2513 ที่วัดป่าภูหันบรรพตเเห่งนี้ มีพระเณรอยู่จำพรรษาตลอดไตรมาส ไม่เคยขาด หลังจากออกพรรษาเเต่ละปี หลวงปู่ฯ ก็มาเเวะเวียนมาเยี่ยมอยู่ประจำ จนในปี พ.ศ. 2514 หลวงปู่ฯ ได้กลับมาอยู่ที่วัดป่าภูหันบรรพตอีกครั้งจนบัดนี้ หลวงปู่ฯ เป็นพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เคร่งครัดพระธรรมวินัย มักน้อย สันโดษ ไม่สะสมทรัพย์สิน เงินทอง

เนื่องจาก..... เมื่อ ปี48  วันหนึ่ง.... มีฝนตกหนักมาก หลวงปู่ฯ ได้ประสบอุบัติเหตุ ลื่น หกล้ม จนทำให้หลวงปู่ฯ อาพาธ (อัมพาต) เดินไม่ได้









« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 27, 2017, 11:49:44 AM โดย thesun »




 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi