[Thesun]พระกรรมฐานพ่อแม่ครูอาจารย์และพระเกจิอาจารย์ทั่วไป(อ่าน 671182 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

479.เหรียญรุ่นแรก ครูบากองแก้ว  วัดต้นยางหลวง เชียงใหม่ ปี 2517 จัดสร้าง 5000 องค์ สวยๆ หายาก พระเก่าเก็บ 2,000-

วัตถุมงคลที่เป็นลักษณะของรูปเหมือน ที่สร้างเป็นครั้งแรก ในปี ๒๕๑๗ โดยคุณสมใจ ชุติมาส.ส.เชียงใหม่เวลานั้น สร้าง เหรียญถวายจำนวน ๕๐๐๐ องค์ เนื้อทองแดงเพียงอย่างเดียว


   
หลวงปู่ครูบากองแ ครูบากองแก้ว ญาณวิชโย วัดต้นยางหลวง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ท่านถือกำเนิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๔๐ ตรงกับเดือน ๑๑ เหนือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ณ บ้านร้อง ต.ป่าบง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่ ๔ ในจำนวนทั้งหมด ๗ ในสกุล "อุตใจมา"

           ครูบากองแก้ว เรียนจบชั้นประถมศึกษาที่วัดศรีสองเมือง อ.สารภี โดยมี "ครูบาเผือก" เป็นผู้สอน ต่อมา พ.ศ.๒๔๕๔ อายุ ๑๔ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดต้นยางหลวง สมัยครูบาจันทร์ เป็นเจ้าอาวาส

           พ.ศ.๒๔๕๙ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี "เจ้ากาบแก้ว ณ เชียงใหม่" เป็นโยมอุปัฏฐาก มี "ครูบาสิทธิ" วัดศรีคำชมพู เป็นพระอุปัชฌาย์, "พระคันธวงศ์" วัดศรีคำชมพู เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ "พระอินทรส" วัดไชยสถาน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ญาณวิชโย"

           เมื่ออุปสมบทแล้วได้ไปศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม จนจบนักธรรมตรี เพียงรูปเดียวของ อ.สารภี ในสมัยนั้น จากนั้นได้ไปศึกษาแนวทางปฏิบัติกรรมฐานที่ วัดป่าเหียง จ.ลำปาง วัดนี้ในสมัยนั้นถือว่ามีชื่อเสียงที่สุดในด้านนี้ โดยมีพระอาจารย์เก่งๆ หลายรูป จากนั้น "พระครูคัมภีร์ธรรม" ได้นิมนต์ท่านกลับมาที่วัดต้นยางหลวง เพื่อให้สอนหนังสือในโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่สร้างขึ้นมา ท่านสอนนักธรรมอยู่หลายปี จึงได้ลาออกจากตำแหน่ง โดยท่านได้กลับมาศึกษาในแนวทางปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต่อไป

           "ครูบากองแก้ว" ท่านเป็นหนึ่งในศิษย์ของ "ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย" ท่านเป็นศิษย์รุ่นแรกที่ได้ติดตามครูบาเจ้าศรีวิชัย บวชตั้งแต่เป็นสามเณร

           เมื่อครั้งที่ "ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย" เป็นผู้นำในการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ครูบากองแก้วก็เป็นกำลังหลักในการร่วมสร้างทางด้วยรูปหนึ่ง ครูบากองแก้ว เป็นพระที่อาวุโสกว่าครูบาชัยยะวงศา, ครูบาธรรมชัย, ครูบาดวงดี, ฯลฯ

           นับได้ว่าครูบากองแก้ว เป็นพระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง เป็นพระสมถะ โดยท่านจะฉันอาหารมื้อเดียวตลอดชีวิต จนเป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนทั้งใน จ.เชียงใหม่ และทั่วประเทศ

 สุดท้ายแห่งชีวิต เมื่อ "ครูบากองแก้ว ญาณวิชโย" เริ่มเป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายแล้ว ก็มีผู้มานิมนต์ไปในงานพิธีต่างๆ มากมาย แม้แต่กรุงเทพฯ ก็มีผู้เรียกร้องให้นิมนต์ท่านไปร่วมงานด้วยเสมอ ทำให้การพักผ่อนมีน้อยลง ท่านจึงเริ่มมีอาการเจ็บป่วย อาพาธเล็กๆ น้อยๆ เสมอมา เพราะความตรากตรำงานหนัก

           กระทั่ง พ.ศ.๒๕๒๒ ท่านเกิดอาพาธหนักมาก เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลลานนา แพทย์วินิจฉัยว่าท่านเป็นโรคขาดสารอาหาร ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง

           จนกระทั่งถึงวาระสุดท้าย เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๒๔ ท่านก็มรณภาพด้วยอาการสงบ ที่โรงพยาบาลลานนา เวลา ๐๕.๐๐ น. รวมสิริอายุได้ ๘๔ ปี พรรษา ๖๔














480.เหรียญพระครูสิริธรรมโฆษิต รุ่นแรก หรือบางท่านรู้จักท่านในนาม ครูบาสิงห์แก้ว ญาณวโร วัดปากกอง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ปี15
เหรียญหลักยอดนิยมของเมืองเหนือ ท่านโด่งดังมากเรื่องปราบผี จนเป็นที่ขนานนามที่ว่า ครูบาผีกลัว หายาก คนสารภี คนเชียงใหม่ต่างหวง ไม่ค่อยหลุดออกมาครับ พระเก่าเก็บ
2500-
ปิดท่าน j999

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 20, 2018, 10:31:58 AM โดย thesun »



481.เหรียญพุทโธ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ ปี17 เนื้อนวโลหะ ตอกโค้ต ตอก หมายเลข 227 หายาก 3,700-

ปิดท่าน j999
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 20, 2018, 10:32:09 AM โดย thesun »



480.เหรียญพระครูสิริธรรมโฆษิต รุ่นแรก หรือบางท่านรู้จักท่านในนาม ครูบาสิงห์แก้ว ญาณวโร วัดปากกอง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ปี15
เหรียญหลักยอดนิยมของเมืองเหนือ ท่านโด่งดังมากเรื่องปราบผี จนเป็นที่ขนานนามที่ว่า ครูบาผีกลัว หายาก คนสารภี คนเชียงใหม่ต่างหวง ไม่ค่อยหลุดออกมาครับ พระเก่าเก็บ
2500-

เหรียญจัดสร้างในปี พศ 2515 เป็นเหรียญรุ่นแรก ที่ท่านครูบาได้สร้าง จำนวนการสร้าง 2500 เหรียญ ปลุกเสกนานถึง 4 ปี พุทธคุณเหรียญรุ่นแรกของท่าน ต่างเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ด้านมหาอุต มหาอำนาจ ป้องกันคุณไสยฯ กันผี ขับผีร้ายที่สิงร่างคนออก แคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวงแล


เหรียญของท่านเริ่มมีคนอยากได้ไว้ครอบครอง เพราะฉายาของท่านคือ ครูบาผีกลัว  แห่งวัดปากกอง  ท่านเก่งมาเรื่องปราบผี ป้องกันคุณไสย ของไม่ดี เหรียญของท่านสามารถกันได้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ หรืออะไรก็ตาม ที่คิดร้ายกับเรา ซึ่งเหรียญรุ่นแรกของท่าน ๆ ตั้งใจทำมาก ท่านได้ไปนิมนต์วัดไหนก็จะนำเหรียญนี้เข้าร่วมพิธีด้วยทุกครั้ง และได้พุทธาพิเสก เหรียญนี้ที่วัดพระธาตุดอยสุเทพ ในปี 15 ด้วย เหรียญท่านดีจิงๆ คับ ถ้าใครมีเก็บไว้ใช้เถอะคับ เปิ้นว่าดี กั๋นได้กุหยั่ง ปืนยังยิงบ่าออก หายตัว พรางตัว แคลวคลาด ป้องกันภัยได้นาๆชนิดครับ ใครบอกว่าบ่าสุดยอด ก็ลองหาเช่ามาใช้ดูคับ แล้วจะรู้  ว่าของดีบ่าต้องไปเสาะที่ไหน



ครูบาสิงห์แก้ว ญาณวโร วัดปากกอง (ครูบาผีกลัว)
"พระครูสิริธรรมโฆษิต" หรือ "ครูบาสิงห์แก้ว ญาณวโร" หรือที่ชาวบ้านเรียกขานว่า "ครูบาผีกลัว" แห่งวัดปากกอง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวเมืองเชียงใหม่ มาอย่างยาวนาน ครูบาสิงห์แก้ว วัดปากกองอัตโนประวัติ ครูบาสิงห์แก้ว เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม 2448 บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 14 ปี เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ. 2469 โดยมีครูบาเตชะ วัดศรีโพธาราม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระไชยลังการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และครูบาพรหมมา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า ญาณวโร เมื่ออุปสมบทแล้ว ศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมต่างๆ จากหลายที่ และได้ฝากตัวเป็นศิษย์ครูบาสม วัดป่าแดด พระเกจิอาจารย์ในยุคเดียวกับครูบาเจ้าศรีวิชัย ร่ำเรียน วิชากับครูบาสมอยู่นานหลายปี และได้วิชาต่างๆ อาทิ วิชาขับไล่ผีและลูคีเมีย ด้วยในสมัยนั้น มีชาวบ้านหลายพื้นที่โดนผีเข้า โดยนำวิชาความรู้มาสร้างวัตถุมงคลเครื่องรางของขลัง เป็นตะปูเสกก่าสะท้อน และลูกอมเกศา ซึ่งมีคุณวิเศษทางด้านขับไล่ผีสางอย่างได้ผล จนได้รับฉายาว่า ครูบาผีกลัว ตราบจนทุกวันนี้ มีเรื่องเล่าอยู่เรื่องหนึ่งของครูบาสิงห์แก้ว คือ เป็นธรรมเนียมของพระเกจิแดนล้านนา เมื่อถึงเดือน 4 เดือน 5 คือ ช่วงหน้าหนาวของทุกปี จะมีการเข้านิโรธ คือ การปลีกวิเวกของครูบาแดนล้านนา โดยท่านครูบาสิงห์แก้วก็ได้เข้านิโรธในแถบที่กันดารของอำเภอสารภีในสมัยนั้น ซึ่งสถานที่ที่ท่านไปก็คือ ที่ฝังศพ ตอนที่ท่านได้นั่งสมาธิ กัมมัฏฐานอยู่นั้น ได้มีวิญญาณหลายตน ได้มาขอส่วนบุญ ครูบาสิงห์แก้วมีเมตตากรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ แล้ววิญญาณเหล่านั้นก็ได้รับผลบุญในครั้งนี้ ต่างยกมืออนุโมทนาในการนี้ด้วย ด้านวัตถุมงคลของครูบาสิงห์แก้วที่มีชื่อเสียง ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทเครื่องรางของขลัง ได้แก่ ตะปูเสก ตะกรุดเสือโคร่ง ตะกรุดเสือสมิง และลูกอม ท่านสร้างลูกอมขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายให้กับชาวบ้านและผู้ที่ไปทำบุญที่วัดปาก กอง โดยท่านครูบาสิงห์แก้วจะปลุกเสกทุกคืนแล้วแจก พุทธคุณลูกอมของท่านใช้กันภูตผีสิ่งอัปมงคล และเพื่อความเป็นสิริมงคล สมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่ท่านได้สร้างลูกอมเกศากันผี ไว้ทั้งหมด 3 รุ่น คือ รุ่น 1 รุ่น 2 และ รุ่น 3 ลูกอมเกศา ท่านจะทำเองปั้นเองทุกลูก สำหรับมวลสารที่ท่านครูบาสิงห์แก้วได้เสาะแสวงหามาเป็นส่วนผสมในลูกอมนั้น เป็นของที่มีคุณวิเศษในตัวทั้งสิ้น เครื่องรางของขลังอีกชนิดที่ ต้องกล่าวถึง คือ ตะปูเสกก่าสะท้อน (ป้องกันสะท้อนกลับ) ที่ได้รับการยกย่องเป็นเครื่องรางอันดับหนึ่งของล้านนา ที่มีคุณวิเศษทางด้านป้องกันคุณไสยไม่ให้สะท้อนกลับ และทางด้านเมตตามหานิยมในตัว สร้างจากตะปูที่พอกด้วยผงพุทธคุณที่มีมวลสารต่างๆ เช่น ทรายเสก ก้านธูปเสก ผงหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ (หลวงพ่อสด ได้นำผงปากน้ำรุ่นสองมาให้ ครูบาสิริ ครั้งมาปลุกเสกพระที่วัดพระสิงห์) และข้าวก้นบาตรครูบาสิริ ผงปถมัง ผงอิทธิเจ และเกศามาผสม ปัจจุบันนี้วัตถุมงคลของครูบาสิงห์แก้ว เริ่มหายากแล้ว ไม่ว่าจะลูกอม หรือตะปูเสกพอกผง เป็นที่แสวงหากันมาก สนนราคาว่ากันถึงหลักหมื่นกลางๆ ก็มีคน สู้ เพราะของๆ ท่านมีประสบการณ์มากจริงๆ ครูบาสิงห์แก้ว เป็นพระที่สมถะ สมัยที่ท่านมีชีวิต ท่านได้บอกไว้ว่า "ข้าไม่อยากดัง" แต่วัตถุมงคลที่ท่านสร้างไว้ ล้วนก่อเกิดประสบการณ์มากมายต่อผู้ครอบครองจนสร้างชื่อเสียงโด่งดังไปโดย ปริยาย หลักธรรมคำสอนที่ครูบาสิงห์แก้ว อบรมสอนญาติโยม เป็นเรื่องของความไม่เที่ยงของสังขาร สรรพสิ่งในโลกมีเกิดมีดับ ดังนั้นควรดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท หมั่นประพฤติปฏิบัติแต่ความดี ล่วงเข้าสู่ปัจฉิมวัย ท่านมีอาการอาพาธด้วย โรคภัยไข้เจ็บมะเร็ง สุดท้ายได้มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2535 สิริอายุ 87 ปีพรรษา 73 ยังความเศร้าสลดแก่คณะสงฆ์และชาวเมืองเชียงใหม่เป็นอย่างยิ่ง แม้ครูบาสิงห์แก้ว จะละสังขารไปจากโลกนี้ แต่คุณงามความดีของท่านยังอยู่ในศรัทธาของชาวล้านนาไปตลอดกาลนาน








ขอจองครับ



481.เหรียญพุทโธ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ ปี17 เนื้อนวโลหะ ตอกโค้ต ตอก หมายเลข 227 หายาก 3,700-

จัดเป็นเหรียญรุ่น8 ในวัตถุมงคลของท่าน นิยมอันดับต้นๆ เนื้อพิเศษหายากครับ


วัตถุมงคลชุดพุทโธ จำนวนที่จัดสร้างมีดังนี้...

1.เนื้อทองคำ สร้างจำนวนที่สั่งจอง
2.เนื้อเงิน สร้างจำนวน 409 เหรียญ
3.เนื้อนวโลหะ สร้างจำนวน 1009 เหรียญ
4.เนื้อทองแดง(โลหะผสม) สร้างจำนวน 9999 เหรียญ

วัตถุมงคลชุดพุทโธจัดสร้างโดย คณะกรรมการ วัดม่อนศรีบุญโยง ต.เกาะคา อ.เกาะคา จ.ลำปาง เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ร่วมทำบุญบริจาคเงิน
สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแทนวิหารหลังเก่า ที่วัดม่อนศรีบุญโยง ซึ่งชำรุดทรุดโทรมจนเกิดอันตรายได้ หลวงปู่ได้เห็นเจตนาความตั้งใจจริงที่จะสร้างอุโบสถ
ได้เมตตาช่วยส่งเสริมบำรุงพุทธศาสนา อนุญาตจัดสร้างพร้อมทั้งกล่าวต่อไปอีกว่าจะช่วยสร้างอุโบสถให้สำเร็จไม่ต้องเป็นห่วง และยังให้นามวัตถุมงคลชุดนี้ว่า"พุทโธ"








ขอจองครับ



482.ผ้ารอยมือ เขียนมือ 'รุ่งเรือง จงเจริญ' หลวงปู่เรือง อาภัสสะโร  วัดเขาสามยอด จ.ลพบุรี  ปี39-40 จัดเป็นรุ่นชุดทิ้งทวนของหลวงปู่
หลังจากนั้นท่านไม่อนุญาติให้ใครสร้างอีก ศิษย์มีต่างหวงแหน ค้าขายดี นิยมมาตรฐานสากลครับ 
1500- ปิดท่าน j999

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 20, 2018, 05:08:46 PM โดย thesun »



483.เหรียญเสมา 'มหามงคล' 90ปี หลวงปู่ปั่น สมาหิโต วัดป่าบ้านถ่อน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ชุดหมายเลข 12 กรรมการหลังเรียบจารมือ เนื้อทองแดง และ ฝาบาตร เปิดคู่ 1,250-




ประวัติหลวงปู่ปั่น  สมาหิโต  อายุ91ปี
ชีวประวัติ  หลวงปู่ปั่น  สมาหิโต
วัดป่าบ้านถ่อนพัฒนา  ตำบลบ้านถ่อน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

 
หลวงปั่น สมาหิโต นาเดิมชื่อ คำปั่น ผลจันทร์ เกิดเมื่อที่ 2 เมษายน  พ.ศ.2469 ตรงกับวันศุกร์ แรม 5 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล  ณ บ้านต้นผึ้ง ตำบลไฮหย่อง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
บิดาที่ชื่อ       นายพัน ผลจันทร์
มารดาที่ชื่อ    นางแปร ผลจันทร์
การอุปสมบท : เมื่อ พ.ศ. 2531  ณ พระอุโบสถวัดสันติสังฆาราม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
พระอุปัชฌาย์ของท่านคือ พระครูสันตยาภิมณฑ์ ( หลวงปู่บัวไข สนฺตจิตโต ) ท่านเป็นหลานของหลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง                   
พรรษาที่ 1-3 ท่านได้ไปปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์หนูแดง นาควโร วัดป่าบ้านนาเหมือง จังหวัดสกลนคร และต่อมาท่านได้ไปจำพรรษาที่ วัดถ้ำเสือใหญ่ บ้านกุดโง้งใหญ่ จ.มุกดาหาร 
พรรษาที่ 4 ปฏิบัติธรรม ณ ภูลังกา จ.นครพนม
พรรษาที่  5 ปฏิบัติธรรม ณ อ่าวลึก จ.ชลบุรี
พรรษาที่  6 ปฏิบัติธรรม ณ ภูลังกา จ.นครพนม
พรรษาที่  7 ณ วัดท่าสองคอน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
พรรษาที่  8 ณ วัดป่าบ้านถ่อนพัฒนา บ้านถ่อน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร จนถึงปัจจุบัน
ระหว่างที่ท่านจำพรรษาที่ วัดป่าบ้านถ่อนพัฒนา ท่านได้เดินทางไปฟังธรรมคำสั่งสอนของ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ณ วัดถ้ำขาม อยู่บ่อยครั้งจนหลวงปู่เทสก์ ละสังขาร
หลวงปู่ปั่น ท่านได้ไปกราบนมัสการสนทนาธรรมกับหลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดป่าปทีปปุญญารามอยู่บ่อยๆครั้ง หลวงปู่ปั่นท่านได้สนทนาธรรมกับหลวงปู่สรวง วรสุทโธ
 เจ้าอาวาสวัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ ต.ช่องสาริกา อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี เมื่อครั้งหลวงปู่สรวง มาพักอยู่ที่ วัดป่าบ้านถ่อนพัฒนา หลายครั้ง
และได้ไปกราบนมัสการหลวงตาบุญหนา ธมฺมทินฺโน วัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร อยู่บ่อยๆครั้ง












482.ผ้ารอยมือ เขียนมือ 'รุ่งเรือง จงเจริญ' หลวงปู่เรือง อาภัสสะโร  วัดเขาสามยอด จ.ลพบุรี  ปี39-40 จัดเป็นรุ่นชุดทิ้งทวนของหลวงปู่
หลังจากนั้นท่านไม่อนุญาติให้ใครสร้างอีก ศิษย์มีต่างหวงแหน ค้าขายดี นิยมมาตรฐานสากลครับ 
1500-

ปี 2539-2540 รุ่งเรืองจงเจริญ ผ้ายันต์รอยมือ ผ้ายันต์รอยเท้า หลวงปู่เรือง

ผ้ายันต์รอยมือคู่ สร้างจำนวน 500 ผืน
ผ้ายันต์รอยเท้าคู่ สร้างจำนวน 500 ผืน












ขอจองครับ



484.เหรียญหล่อฉลุพิมพ์เล็ก หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ เนื้อนวโลหะ ปี21 ตอกโค้ต ด เด็ก หายาก จำนวนจัดสร้างไม่มาก
 เล่นพระมาสิบกว่าปีพึ่งได้มาเป็นชิ้นที่สองครับ หายากกว่าพิมพ์ใหญ่ครับ  มีลงในหนังสือรวมวัตถุมงคลหลวงปู่ มาตรฐานสากล สวยๆ

ปิดครับคุณ prathai

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 02, 2018, 11:07:32 AM โดย thesun »



485.สมเด็จรุ่นแรกครูบาดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต  จ.เชียงราย ออกที่วัดดอยขุมเงิน จ.ลำพูน ปี31 เกศาเยอะและพระธาตุเสด็จหลายจุด
ของดี น่าใช้  หายาก นิยมครับ
1,100- ปิดคุณอ๋า



หลวงปู่ดาบส พระอริยะเจ้า 'หัวใจไม่ไหม้ไฟ' บำเพ็ญพระโพธิญานบารมีท่านสูงมาก ครูบาอาจารย์หลายท่านให้ความยกย่อง บางท่าน ให้ศิษย์ไปกราบไว้
ไปทำบุญ ไปเรียนวิชากับท่าน เช่น หลวงพ่อฤาษีลิงดำ, หลวงปู่เกษม เขมโก, หลวงปู่ดู่, ครูบาอิน ฯลฯ


หลวงปู่ดาบส มรณภาพ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2543 สิริอายุได้ 76 ปี

พระสมเด็จที่ดีทั้งนอกและใน จัดสร้างเป็นรุ่นแรกเพื่อหาทุนบูรณะวัดดอนขุมเงิน จังหวัดลำพูน มวลสารหลักได้แก่

- เกสร ดอกไม้ 108 (นำมาให้หลวงปู่ดาบส อธิษฐานก่อนนำไปกดเป็นองค์พระ หลังจากนั้น หลวงปู่ได้เมตตาอธิษฐานจิตให้อีกหลายวัน)

- เส้นเกศา

- ผงพุทธคุณ

- เม็ดพระธาตุ

สิ่งที่น่าสนใจ คือ

1. พระสมเด็จนี้ หลวงปู่ดาบส ท่านอธิษฐานให้เป็น " สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ "

2. สัญลักษณ์ยันต์ "กงจักร" ด้านหลังพระ ความหมายที่แท้จริง ก็คือ จักรแก้วพระพุทธเจ้า อันเป็นอาวุธของพระพุทธเจ้าที่มี ความสำคัญที่สุด ใช้ปราบมาร ปราบสิ่งชั่วร้าย มีฤทธานุภาพสูงสุด ดวงแก้ว นั้นมีรัตนะเจ็ด คือ แก้ว ๗ ประการ ดังนี้ คือ จักรแก้ว ๑ ช้างแก้ว ๑ ม้าแก้ว ๑ ดวงแก้วมณี ๑ นางแก้ว ๑ คฤหบดี (ขุนคลัง) แก้ว ๑ ขุนพลแก้ว ๑ ในแก้ว ๗ ประการนี้ ..จักรแก้วเป็นใหญ่ เป็นประธานในแก้วทั้ง ๗ ประการ

3. บรรจุวิชชาพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นกายสิทธิ์ ลงไปในพระสมเด็จ ที่เรียกว่า บรมจักรพรรดิ์ (สายวัดปากน้ำ รู้จักกันดี)

4. ท่านอธิษฐานให้ เกศา เป็น " พระธาตุแก้ว "

5. ท่านอธิษฐานให้ มวลสาร ที่ประกอบเป็นองค์พระ ให้เป็น พระธาตุ ทั้งหมด.

6. ท่านบรรจุวิชา "ดวงแก้วพระสีวลี" ให้เป็นพิเศษ มีผลเรื่อง ลาภ วาสนา เป็นอย่างยิ่ง.

7. ท่านเชิญ เทวดา ชั้นสูง ให้สถิตในองค์พระ ดูแลรักษาผู้บูชา ให้มีแต่ความสุขความเจริญ.

8. ผู้ที่ได้เจริญ สวดมนต์ ภาวนาอยุ่เสมอ จะยิ่งทำให้พระสมเด็จ ทรงอานุภาพสูงยิ่งขึ้นไปๆ จนกระทั่งเป็น " แก้วจักรพรรดิ์ "

9. ท่านอฐิษฐานธรรม บรรจุวิชชา ของพระพุทธเจ้า บันทึกลงไป เหมือนพระไตรปิฎกเคลื่อนที่.. พุทธคุณของพระสมเด็จนี้








« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 02, 2018, 11:08:36 AM โดย thesun »



486.พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ พิชิตมาร รุ่นทูลเกล้า ปี 2535 เสาร์ 5 วัดสุทัศน์ เนื้อนวโลหะแก่ทอง พระสวยมาก พร้อมกล่องเดิม 1,550-


ตอนนี้พระชุดนี้เริ่มหายากแล้วครับ ไม่มีให้เห็นกันบ่อยๆ....... จัดสร้างโดยวัดสุทัศน์..ตามสูตรโบราณการสร้างพระกริ่งโดยจารอักขระเลขพระยันต์ 108 และนะ14
พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ชุดนี้ จัดพิธีปลุกเสก เสาร์ 5 แบบโบราณ ภายในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ ฯ โดยพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั้งสิ้นมาร่วมปลุกเสก (ขณะนั้น)
 นับเป็นพิธีที่ดีที่สุดไม่แพ้ยุคสมเด็จพระสังฆราชแพในยุค 2500 กึ่งพุทธกาล ครับ............ ซึ่งถือว่าเป็นสุดยอดแห่งพระกริ่งมากด้วยพิธีอลังการอีกหนึ่งรุ่นเลยทีเดียวโดยพิธีการได้ปลุกเสก 3 วัน 3คืนเลยทีเดียว


 กำหนดการ
พิธีมหาพุทธาภิเษกเททองหล่อพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์
รุ่น “พิชิตมาร”

วันศุกร์ที่ ๒๙ และวันเสาร์ที่ ๓๐ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๕
(เสาร์ห้า)
ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม

วันศุกร์ที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๕
เวลา ๑๖.๓๐ น. พระครูศิวาจารย์ (พระครูพราหมณ์) ประกอบพิธีบูชาฤกษ์ ประธานในพิธี
ฝ่ายคฤหัสถ์จุด ธูป-เทียน ที่ศาลเพียงตา หน้าพระอุโบสถ
เวลา ๑๗.๑๙ น. พระเดชพระคุณพระวิสุทธาธิบดี เจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ฯ ประธานสงฆ์
จุดธูปเทียน ประธานฝ่ายคฤหัสถ์ สมาทานศีล พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์
๑๑ รูป เจริญพระพุทธมนต์ “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร”
เวลา ๑๙.๐๐–๒๔.๐๐ น. พระพิธีธรรม ๔ รูป สวดพระคาถามหาพุทธาภิเษก พระเกจิอาจารย์ผู้       ทรงวิทยาคม ๓๑ รูป นั่งปรกบริกรรมอธิษฐานจิต

วันเสาร์ที่ ๓๐ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๕
เวลา ๑๐.๐๐ น. ประธานฝ่ายคฤหัสถ์ จุดธูปเทียน บูชาพระรัตนตรัย สมาทานศีล พระสงฆ์
๑๑ รูป เจริญพระพุทธมนต์ สิบสองตำนานเมื่อถึงฤกษ์เททอง พระสงฆ์เจริญ
ชัยมงคลคาถา
เวลา ๑๓.๐๐–๑๗.๐๐ น. พระพิธีธรรม ๔ รูป สวดพระคาถาจตุภาณวาร พระเกจิอาจารย์ผู้ทรง
วิทยาคม ๒๙ รูป นั่งปรกบริกรรมอธิษฐานจิต เป็นชุดที่ ๑
เวลา ๑๗.๐๐–๒๒.๐๐ น. พระพิธีธรรม ๔ รูป สวดพระคาถาจตุเวททิพยมนต์ พระเกจิอาจารย์ผู้
ทรงวิทยาคม ๒๐ รูป นั่งปรกบริกรรมอธิษฐานจิต เป็นชุดที่ ๒
เวลา ๒๒.๑๙ น. พระเกจิอาจารย์ผู้อาวุโสสูงสุดในพิธี ประกอบพิธีดับเทียนชัย และพระพิธี
ธรรมเจริญชัยมงคลคาถา และพระครูพราหมณ์ ทำพิธีเบิกแว่น เวียนเทียน
สมโภชวัตถุมงคลที่จัดสร้างเป็นอันเสร็จพิธีแล

รายนามพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๑ รูป วัดสุทัศน์ฯ
เจริญพระพุทธมนต์ “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร”
ในการประกอบพิธีเททองหล่อพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์รุ่น “พิชิตมาร”
วันศุกร์ที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕
ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม

๑. พระราชรัตนวิมล วัดสุทัศน์ฯ                  ๗. พระมหาสวอง ปญฺญาธโร ป.ธ. ๙ วัดสุทัศน์ฯ
๒. พระศรีวิสุทธิมุนี วัดสุทัศน์ฯ                   ๘. พระมหาภาณุมาศ สุนฺทรจิตฺโต ป.ธ.๙ วัดสุทัศน์ฯ
๓. พระศรีวราภรณ์ วัดสุทัศน์ฯ                   ๙. พระมหาสมเจตต์ อธิจิตฺโต ป.ธ. ๙ วัดสุทัศน์ฯ
๔. พระสิริสุทัศน์ธรรมาภรณ์ วัดสุทัศน์ฯ   ๑๐. พระมหาวุฒินันท์ วรเมธี ป.ธ. ๙ วัดสุทัศน์ฯ
๕. พระศรีสมโพธิ วัดสุทัศน์ฯ                    ๑๑. พระมหากวีพจน์ ฉนฺทโก ป.ธ. ๕ วัดสุทัศน์ฯ
๖. พระครูประทีปกิจจาทร วัดสุทัศน์ฯ

รายนามพระคณาจารย์นั่งปรก พิธีเสาร์ ๕
วันศุกร์ที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕
รายนามพระคณาจารย์ ชุดที่ ๑

๑. พระเทพสิทธิญาณรังสี (หลวงตาจันทร์) วัดป่าชัยรังษี กาญจนบุรี
๒.พระราชอุดมมงคล (หลวงพ่ออุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี
๓. พระราชวิสุทธิคุณ (หลวงพ่อเกตุ) วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
๔.พระโสภณธรรมวงศ์ (หลวงพ่อทองสืบ) วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ
๕. พระศรีรัตนเมธี (พระอาจารย์ชวลิต) วัดพระพุทธบาท สระบุรี
๖. พระครูเกษมคณาภิบาล (หลวงพ่อมี) วัดมารวิชัย อยุธยา
๗. พระครูพุทธสิริวัฒน์ (หลวงพ่อเมี้ยน) วัดโพธิ์ (กบเจา) อยุธยา
๘. พระครูนิทัศน์สาสนกิจ (หลวงพ่อพิมพา) วัดหนองตางู นครสวรรค์
๙. พระครูสมุห์พัฒนโสภณ (ทองหล่อ) วัดคันลัด สมุทรปราการ
๑๐. พระครูบริหารคุณวัตร (หลวงพ่อชม) วัดใหม่อมฤตรส กรุงเทพฯ
๑๑. พระครูปรีชาวุฒิคุณ (หลวงพ่อฮวด) วัดดอนโพธิ์ทอง สุพรรณบุรี
๑๒. พระครูนิยุตธรรมสุนทร (หลวงพ่อยิต) วัดหนองจอก ประจวบคีรีขันธ์
๑๓. พระครูฐาปนกิจสุนทร (หลวงพ่อเปิ่น) วัดบางพระ นครปฐม
๑๔. พระครูกาญจโนปมคุณ (หลวงพ่อลำใย) วัดทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี
๑๕. หลวงพ่อเบี่ยง วัดทุ่งสมอ กาญจนบุรี
๑๖. หลวงพ่อแบน วัดใหม่นพรัตน์ สุพรรณบุรี
๑๗. หลวงพ่อพยุง วัดบัลลังก์ สุพรรณบุรี
๑๘.พระครูธรรมจักรชโยดม (หลวงพ่อผล) วัดดักคะนน ชัยนาท
๑๙. พระปลัดดาวเรือง วัดหนองหอย ราชบุรี
๒๐. พระครูวิเวกอรัญวัตร (หลวงพ่อบุนนาค) สระบุรี
๒๑. พระครูสังฆรักษ์ประเทือง วัดหนองย่างทอย เพชรบูรณ์
๒๒. พระอธิการสมปอง วัดหนองหอย ราชบุรี
๒๓. พระครูวิเวกอรัญวัตร วัดหนองโป่ง ราชบุรี
๒๔. พระครูอนุรักษ์วรคุณ (หลวงพ่อสง่า) วัดหนองม่วง ราชบุรี
๒๕. พระครูสุนทรวุฒิคุณ (หลวงพ่อพุฒ) วัดกลางบางพระ นครปฐม
๒๖. พระครูพิพัฒนสาครธรรม (บุญธรรม) วัดหลักสี่ฯ สมุทรสาคร
๒๗. พระครูวิเศษภัทรกิจ (หลวงพ่อทองใบ) วัดสายไหม ปทุมธานี
๒๘. พระครูธัญญสีลคุณ (หลวงปู่อินทร์) วัดกลางคลองสี่ ปทุมธานี
๒๙. พระครูสาครศีลวัฒน์ (หลวงพ่อพยนต์) วัดกาหลง สมุทรสาคร
๓๐. พระปลัดบุญส่ง ธมฺมปาโล วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี

รายนามพระพิธีธรรม ๔ รูป สวดพระคาถามหาพุทธาภิเษก
๑. พระครูวิบูลวิหารกิจ ๒. พระครูพิทักษ์ถิรธรรม
๓. พระครูสุวัฒนประสิทธิ์ ๓. พระครูอมรโฆสิต (เสริมศักดิ์)

รายนามพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๑ รูป วัดสุทัศน์ฯ
เจริญพระพุทธมนต์ “สิบสองตำนาน”
วันเสาร์ที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕
๑. พระครูพิพิธกิจจาภิรักษ์ วัดสุทัศน์ฯ ๒. พระมหาสุธน กวิญญฺโญ วัดสุทัศน์ฯ 
๓. พระมหาบุนนาค สุวุฑฺโฒ วัดสุทัศน์ฯ ๔. พระมหาประชุม อคฺควณฺโณ วัดสุทัศน์ฯ
๕. พระมหาบุญยัง ติสฺสปุญโญฺ วัดสุทัศน์ฯ ๖. พระมหาประสิทธิ์ อหึสโก วัดสุทัศน์ฯ 
๗. พระมหาเกรียงไกร กิตฺติญาโณ วัดสุทัศน์ฯ ๘. พระมหาจ่าง สจฺจวาที วัดสุทัศน์ฯ
๙. พระใบฎีกาพิทยา ญาณิกวํโส วัดสุทัศน์ฯ ๑๐. พระมหาดาวเรือง ธมฺมรํสี วัดสุทัศน์ฯ
๑๑. พระครูสังฆวิจัยดุสิต กลฺยาณจิตฺโต วัดสุทัศน์ฯ

รายนามพระคณาจารย์นั่งปรกในพิธีปลุกเสก พิธีเสาร์ ๕
วันเสาร์ที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕
ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม

รายนามพระคณาจารย์ ชุดที่ ๑ (เวลา ๑๓.๐๐–๑๗.๐๐ น.)
๑.พระสุนทรธรรมานุวัตร (หลวงพ่อสวัสดิ์) วัดศาลาปูน อยุธยา
๒. พระสุเมธาภรณ์ ( หลวงพ่อวิเชียร) วัดมูลจินดาราม ปทุมธานี
๓.พระภาวนาวิสุทธาจารย์ (พระอาจารย์ธงชัย) วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพฯ
๔. พระศรีวิสุทธิมุนี (หลวงพ่อประมวล) วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ
๕. พระสุนทรธรรมาภิมณฑ์ (หลวงพ่ออำนวย) วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ
๖. พระครูวิสุทธิสรคุณ (พระอาจารย์สมบูรณ์) วัดโสดาประดิษฐาราม ราชบุรี
๗. พระครูโกศลปิยกิจ (พระอาจารย์เชวง) วัดหลักสี่ กรุงเทพฯ
๘. พระครูสุนทรยติกิจ (หลวงพ่อละเอียด) วัดไผ่ล้อม อยุธยา
๙. พระครูสมุห์อวยพร วัดดอนยายหอม นครปฐม
๑๐. พระอาจารย์ชาญณรงค์ ติกฺขญาโณ วัดเลา กรุงเทพฯ
๑๑. พระครูอมรโฆสิต (หลวงพ่อจันทร์) วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ
๑๒. พระครูโสภณรัตนาทร (หลวงพ่อเพิ่ม) วัดเกาะลอย ราชบุรี
๑๓. พระครูนนทสิทธิการ (หลวงพ่อประสิทธิ์) วัดไทรน้อย นนทบุรี
๑๔. พระครูนิพัทธธรรมกิจ (หลวงพ่อแคล้ว) วัดบางขุนเทียนฯ กรุงเทพฯ
๑๕. พระครูวิจารณ์พัฒโนวาท (หลวงพ่อพัฒน์) วัดเกาะแก้วฯ สระบุรี
๑๖. พระครูปลัดธงชัย อติภทฺโท (อาจารย์ต๊ะ) วัดช้าง ( บ้านนา) นครนายก
๑๗. พระปลัดอรรถพล กิตฺติโก วัดปริวาศ กรุงเทพฯ
๑๘. พระอาจารย์บำเพ็ญ สิริภทฺโท วัดใหม่คลองยาง             นครราชสีมา



รายนามพระคณาจารย์ ชุดที่ ๒ (เวลา ๑๗.๐๐ - ๒๒.๐๐ น.)
๑. พระครูสาธุกิจโกศล (แวว) วัดพนัญเชิง อยุธยา
๒.พระครูวิมลวิหารการ (สมศักดิ์) วัดหน้าพระเมรุ อยุธยา
๓. พระครูสาทรพัฒนกิจ (หลวงพ่อละมูล) วัดเสด็จ ปทุมธานี
๔. พระครูศรีธัญญาภรณ์ (สมศักดิ์) วัดเขียนเขต ปทุมธานี
๕. พระครูกัลยาณวิสุทธิคุณ (ณรงค์) วัดไตรมิตรฯ กรุงเทพฯ
๖. พระครูสังวรสมณกิจ (หลวงพ่อทิม) วัดพระขาว อยุธยา
๗. พระครูเกษมคณาภิบาล (หลวงพ่อมี) วัดมารวิชัย อยุธยา
๘. พระครูวิทิตวรเวช (หลวงพ่อสละ) วัดท่าราบ ราชบุรี
๙. พระครูภาวนาวรกิจ (หลวงพ่อเล็ก) วัดสันติคีรีฯ กาญจนบุรี
๑๐. พระอาจารย์แบน วัดหนองแขม สมุทรสาคร
๑๑. พระครูสุนันท์วิริยาภรณ์ (หลวงพ่อเก๋) วัดแม่น้ำ         สมุทรสงคราม
๑๒. พระอธิการกุ้ยไฮ้ ชุตินฺธโร วัดถ้ำสิงโตทอง ราชบุรี
๑๓. พระครูโสภณกิตยาภรณ์ (สมเกียรติ) วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ
๑๔. พระครูวิจารณ์โกศล (ปราโมทย์) วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ
๑๕. พระอาจารย์พร้อม วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ
๑๖. พระครูพิพัฒนวรกิจ วัดเขาตะเกียบ       ประจวบคีรีขันธ์
๑๗. พระครูโพธารามพิทักษ์ (เขียน) วัดโบสถ์ ราชบุรี
๑๘. พระครูวินัยธรปิ่น ปิยธมฺโม วัดไชยภูมิ อยุธยา
๑๙. พระมหากัมพล เขมเทโว วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ

รายนามพระพิธีธรรม ๔ รูป สวดพระคาถาจตุเวทภาณวาร
๑. พระมหาฉลอง สุภาจาโร ป.ธ. ๗ ๒. พระมหาสมคิด วีรปญฺโญ ป.ธ. ๔
๓. พระมหาสุภาพ จิตฺตสุโภ ป.ธ. ๔ ๔. พระมหาบุญคง ธมฺมิโก ป.ธ. ๖

รายนามพระพิธีธรรม ๔ รูป สวดพระคาถาจตุเวททิพยมนต์
๑. พระครูประกาศสรวุฒิ (ศรีศักดิ์) ป.ธ. ๓ ๒. พระมหานิมิตร วรุฎฺฐายี ป.ธ. ๖
๓. พระมหาประชา วุฑฺฒิชาโต ป.ธ. ๗ ๔. พระมหาสมคิด ฐิตจิตฺโต ป.ธ. ๖















487.เหรียญหล่อรูปเหมือนนั่งใบโพธิ์ เนื้อตะกั่วเถื่อน หลวงปู่นิล อิสสริโก วัดครบุรี หลังจาร ยุคแรก พิมพ์เล็ก ปี23 จารมือ หายากครับ
  เลี่ยมเก่า เอาของเก่าเก็บมาลงแบ่งสมาชิก
900- ปิดท่านโปคุง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 26, 2018, 11:50:42 AM โดย thesun »



488.นาคปรกใบมะขามร่มเย็น หลวงปู่คำพัน โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม ปี39 เนื้อทองเหลือง 350-

 อ.อำพล เจน เจตนาสร้างถวายหลวงปู่คำพันธ์ ปี 39 โดยคุณอาวิเชียร กนกวิลาศ เป็นผู้ดำเนินการจัดทำ โดยมี

เนื้อทองคำ สร้างจำนวน 12 องค์, เงิน 306 องค์, นาก 11 องค์, ตะกั่ว 50 องค์ และทองเหลือง 3,000 องค์

พระนาคปรกร่มเย็นได้รับเมตตาปลุกเสกโดย หลวงปู่เปลี้ย คุณสมฺปนฺโน ในวันที่ 11 ตุลาคม 2539
และได้รับการปลุกเสกยาวนานตั้งแต่ 23 ตุลาคม ถึง 25 พฤศจิกายน 2539 โดยหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปญฺโญ








489.รูปหล่อที่ระลึกกฐินสามัคคี หลวงปู่สิม ปี34 เนื้อนวโลหะ ใต้ฐานตอกโค้ต เป็นรูปหล่อรุ่นที่ 5 ในทำเนียบหลวงปู่สิม 850-










490.พระชัยวัฒน์พระพุทธศักดิ์สิทธิ์ รุ่นแรกเจริญดี เนื้อนวโลหะ ปี36 หลวงปู่คำพัน วัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม 450-

เป็นรุ่นที่หลวงปู่คำพันธ์ ดำริจัดสร้างเองเลยนะครับ วัตถุประสงค์ คือ เพื่อนำปัจจัยไปสร้าง พระมหาธาตุเจดีย์ สูง ๓๗ เมตร
 ครอบพระธาตุมหาชัยองค์เดิม เพื่อเป็นศาสนวัตถุให้พุทธศาสนิกชนบูชาสักการะสืบไป.










 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi