[Thesun]พระกรรมฐานพ่อแม่ครูอาจารย์และพระเกจิอาจารย์ทั่วไป(อ่าน 669337 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

1430.เปิดเครื่องราง หายาก ปลัดขิก หลวงปู่พิศดู ธัมมจารี  วัดเทพธารทอง อ.เขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ยาว 3.5 นิ้ว ใต้ฐาน ตอกโค๊ด ธัมมจารี  ตัวปลัดขลิก จารคาถา พระสิวลี นะชาลีติ และ อักขระว่าธัมมจารี
ไม่ค่อยพบเจอง่ายๆครับแบบนี้ สร้างน้อย ลูกศิษย์ที่ได้รับต่างหวงแหน เด่นมากทาง เมตตา ค้าขาย คุ้มครอง ป้องกันภูตผีปีศาจ เจ้าของห้อยกับถุงผ้า บรรจุพระอุปคุตเนื้อผงของหลวงปู่ไว้ด้วย มาด้วยกันไปด้วยกัน
เปิดบูชา 3200-

ปิดท่าน j999 ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 16, 2021, 11:34:35 AM โดย thesun »



1430.เปิดเครื่องราง หายาก ปลัดขิก หลวงปู่พิศดู ธัมมจารี  วัดเทพธารทอง อ.เขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ยาว 3.5 นิ้ว ใต้ฐาน ตอกโค๊ด ธัมมจารี  ตัวปลัดขลิก จารคาถา พระสิวลี นะชาลีติ และ อักขระว่าธัมมจารี
ไม่ค่อยพบเจอง่ายๆครับแบบนี้ สร้างน้อย ลูกศิษย์ที่ได้รับต่างหวงแหน เด่นมากทาง เมตตา ค้าขาย คุ้มครอง ป้องกันภูตผีปีศาจ เจ้าของห้อยกับถุงผ้า บรรจุพระอุปคุตเนื้อผงของหลวงปู่ไว้ด้วย มาด้วยกันไปด้วยกัน
เปิดบูชา 3200-

เป็นเครื่องรางอีกชนิดหนึ่ง  ซึ่งขออนุญาติหลวงปู่จัดทำไว้น้อยมาก มีไม่ถึง 100ตัว  จัดสร้างโดยลูกศิษย์ของหลวงปู่โดยตรง (ลุงหนวด)  คนเก็บวัตถุมงคลหลวงปู่ น่าจะได้ยินชื่อนี้กันมาบ้าง 
ซึ่งลุงหนวดได้เก็บ รวบรวม วัตถุมงคลของหลวงปู่ไว้มาก หลายชนิด   ประวัติคร่าวๆที่ลุงบอกไว้ ว่าไม้ที่ได้นำมาทำปลัดขิกนี้ เดิมทีเป็นไม้ที่ได้โค่น ล้มอยู่ภายในวัด 
เมื่อครั้งตอนที่เขาถล่ม  จึงได้ให้คนนำไม้บางส่วน  มาแกะทำปลัด และตอกโค้ต ฉายา หลวงปู่ไว้   แต่ทำไม่เยอะ เรื่องประสบการณ์มากมายครับ



หลวงปู่พิศดู  ท่านเป็นลูกศิษย์โดยตรงของท่านพ่อลี ธัมมธโร แห่งวัดอโศการาม  ตลอดชั่วอายุขัยท่านได้ยึดแนวปฏิบัติสายพระป่าของพระอาจารย์ใหญ่
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และท่านพ่อลี ธัมมธโร  ผู้เป็นพระอาจารย์จวบจนละสังขาร.

หลวงปู่ท่านเคยเล่าว่า ในช่วงที่เริ่มเรียนกัมมัฏฐานกับท่านพ่อลี  ก็ได้เดินจิตตามคำสอน  ท่านก็ทำตามได้ไม่นานจิตก็รวมลงเข้าสู่ฐานของอัปปนาสมาธิได้อย่างรวดเร็ว
บังเกิดความสว่างไสวขึ้นมาอย่างน่าประหลาดใจเป็นที่สุด จากนั้นท่านก็เอาดีแต่ทางปฏิบัติเพียงอย่างเดียว และได้เที่ยวเดินตามธุดงค์ไปกับท่านพ่อลีและคณะ
ไปกันทั่ว ทั้งบุกป่าฝ่าดงไปตามป่าเขาลำเนาไพร  จนถึงประเทศเพื่อนบ้านเพื่อการขัดเกลากิเลส และได้พจญภัยมาทุกรูปแบบ หลวงปู่พิศดูท่านเป็นพระที่ท่านพ่อลีไว้ใจ
และโปรดปรานมากเป็นพิเศษ ถึงกับขนาดบอกและฝากฝังกับลูกศิษย์ต่างๆเอาไว้เลยว่า.. 

“ ต่อไปภายหน้าถ้าเกิดเรา(ท่านพ่อลี)ไม่อยู่แล้ว ให้พวกเธอไปหาท่านพิศดูแทน  ต่อไปท่านพิศดูท่านจะแทนเราได้..”




หลวงปู่ฟัก หลวงปู่พิศดู


อ้างอิงภาพจากศิษย์สายตรงครับ












ตอกโค้ต ฉายา ธัมมจารี






ขอจองครับ



1431. เปิดพระกริ่งยอดนิยมแดนอีสาน พระกริ่งศรีอุบล พระเจ้าใหญ่อินแปลง  วัดมหาวนาราม จ.อุบลราชธานี  ปี2516 เนื้อนวโลหะ พระดีพิธีใหญ่ ออกแบบโดยช่างเกษมมงคลเจริญ
พระอาจารย์ไสว วัดราชนัดดาเป็นเจ้าพิธี เนื้อนวโลหะ จัดสร้าง 2,363 องค์ รับประกันแท้ตลอดชีพครับ
เปิดบูชาแบ่งปัน 9,500- สายอีสาน สายตรงเปิดบูชาแพงกว่านี้ครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 03, 2021, 12:17:44 PM โดย thesun »



1432.พระยอดขุนพล วชิระมงคล วัดพลับพลา จ.นนทบุรี ปี16 นวโลหะ ตอกโค้ตเลข 3 ด้านหลัง พระดี พิธีใหญ่ พระเกจิอาจารย์ปลุกเสกมากมาย ในหลวงร.9 ทรงพระสุหร่าย(เจิม)
หลวงพ่อเกษม เขมโก ปลุกเสกเดี่ยว พร้อมเกจิแห่งยุค มากมายเช่น หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม ฯลฯ
แกะแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ นิยม สวยๆเดิมๆ
เปิดบูชาแบ่งปัน ปิด- เศรษฐกิจดีๆเช่าหาหลักพันกลางๆครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 03, 2021, 12:16:28 PM โดย thesun »



1433.เหรียญรุ่นแรก หรือ เหรียญ โภคทรัพย์ หลวงปู่คำแสน วัดป่าดอนมูล จ.เชียงใหม่ ปี15 เนื้อทองแดงรมดำ  จำนวนสร้างแค่ 3000 พันเหรียญ สวยๆ สร้างน้อย หายาก
นานๆเจอที เด่นทางโภคทรัพย์สมชื่อ
เปิดบูชาแบ่งปัน ปิด-


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 03, 2021, 12:18:40 PM โดย thesun »



1434.เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี ปี12 บล็อคธรรมดา สภาพสวย  หายาก เปิดบูชาแบ่งปัน 2,000-
ราคากลางบล็อคธรรมดา อยู่มือสายตรงตอนนี้ 2,500 - 3,000 ขึ้นครับ สภาพแบบนี้

ปิดท่านj999ครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2021, 06:29:07 PM โดย thesun »



1434.เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี ปี12 บล็อคธรรมดา สภาพสวย  หายาก เปิดบูชาแบ่งปัน 2,000-
ราคากลางบล็อคธรรมดา อยู่มือสายตรงตอนนี้ 2,500 - 3,000 ขึ้นครับ สภาพแบบนี้


เหรียญรุ่นแรกของพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญหลังครุฑ หรือ เหรียญพัฒนา เนื้อทองแดงรมดำ วัดอัมพวัน จังหวัด สิงห์บุรี ปี2512 ครับ
เมื่อปลายปี พ.ศ.2512 คุณครูไกล(ครูโรงเรียนสิงห์บุรี) , คุณถนอม ศิริกุล(ร้านศิริกุลสังฆภัณฑ์) , ร้านบุญเจริญสังฆภัณฑ์ และคณะศิษยานุศิษย์จังหวัดสิงห์บุรี
 ร่วมกันจัดสร้างถวายหลวงพ่อจรัญ เนือ่งในโอกาสที่วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี ได้รับยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ในปี พ.ศ.2512 จากกรมศาสนา
และกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ท่านได้รับพัดพัฒนาวัดดีเด่น จากสมเด็จญาณสังวรพระสังฆราช ในปี พ.ศ.2513
ทางคณะจึงได้นำเหรียญที่สร้างเสร็จ ถวายพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญในปีนั้น




ประวัติคร่าวๆนะครับ ท่านพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญท่านได้บรรพชาในปี 2491 ศึกษาพระธรรมวินัย วิปัสสนากรรมฐาน พ.ศ. ๒๔๙๑ ศึกษาพระธรรมวินัย ณ สำนักพรหมบุรี
พ.ศ. ๒๔๙๒ สอบนักธรรมโทสนามหลวงได้ที่วัดแจ้งพรหมนคร พ.ศ. ๒๔๙๓ ศึกษาวิชากรรมฐานกับพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม) อ.หนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์ พ.ศ. ๒๔๙๔
ศึกษาวิชากรรมฐานกับหลวงพ่อลี และท่านเจ้าคุณอริยคุณาธร จ.ขอนแก่น พ.ศ. ๒๔๙๕ ศึกษาการทำเครื่องรางของขลัง, น้ำมันมนต์กับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
จ.อยุธยา และพระครูวินิจสุตคุณ, หลวงพ่อสนั่น วัดเสาธงทอง จ.อ่างทอง หลวงพ่อจาด วัดบ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี พ.ศ. ๒๔๙๖ ศึกษาวิชาสมถวิปัสสนา
กับพระภาวนาโอกาสลเถร (สด จันทสโร) หรือหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ อ.ภาษีเจริญ จ.ธนบุรี พ.ศ. ๒๔๙๗ ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกับเจ้าคุณอาจารย์
พระราชสิทธิมุนี วัดมหาธาตุ จ.พระนคร พ.ศ. ๒๔๙๘ ศึกษาพระอภิธรรมกับอาจารย์เตชิน (ชาวพม่า) วัดระฆัง จ.ธนบุรี ศึกษาการพยากรณ์จากสมเด็จพระสังฆราชวัดสระเกศฯ
จ.พระนคร ศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้วิทยาศาสตร์ทางจิตกับอาจารย์ พ.อ.ชม สุคันธรัต เดินธุดงค์รอนแรมหาที่สงบ เพื่อจำศีลภาวนาตามป่าเขาลำเนาไพรทางภาคเหนือ
ดังนั้นวัดพรหมบุรีจึงเป็นวัดแรกของท่าน ซึ่งท่านได้ศึกษาพระธรรมอยู่ที่วัดพรหมบุรีมาก่อนแล้วต่อจากนั้นมา ท่านก็ได้ธุดงค์มาจำวัดที่วัดอัมพวันตอนปี 2500 หลวงพ่อจรัญท่าน
ก็ได้มาสืบทอดพระพุทธศาสนาเป็นเจ้าอาวาสวัดอัมพวันต่อมาครับ ตอนปี 2512-2513 วัดอัมพวัน ได้รับรางวัลให้เป็น วัดพัฒนาดีเด่น ตัวอย่าง ซึ่งเป็นที่มาของการสร้างเหรียญรุ่นแรก
(พัฒนา) เพื่อเป็นเกียรติสดุดีแด่พระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ (บรรดาลูกศิษย์เก่าๆจะทราบกันดีครับ)




ขอจองครับ



1435.ขอเปิดบูชาสุดยอดเหรียญยอดนิยมอันดับต้นๆของจังหวัดยโสธร เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราราม ต.กุดแห่ อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร
จัดสร้างเพียงแค่ 800 เหรียญเท่านั้น ทำให้เป็นที่ต้องการของเหล่าลูกศิษย์ ลูกศิษย์ต่างหวงแหน  ประสบการณ์ ทั้งแคล้วคลาด เมตตา มากมายครับ นานๆจะออกมาให้เห็นที
หายากจริงๆครับ
เปิดบูชา 14,500- ปิดคุณท๊อปทางไลน์ครับ




หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร องค์ท่านเป็นลูกศิษย์เอกองค์สำคัญ ในองค์ของหลวงปู่ดี ฉนฺโน  พระมหาเถระ ที่นั่งสมาธิมรณภาพ
เกีรยติภูมิแห่งอรหันต์ พระมหาเถระที่องค์หลวงปู่มั่น ให้เดินทัพก่อนพระรูปใด หากที่นั่นมีอันตรายจากวิญญาณ
จนเป็นที่กล่าวขานว่า “หลวงปู่ดี ผีย้าน”  ก่อนหลวงปู่ดี จะละสังขาร ท่านได้มีคำสั่งให้องค์หลวงปู่สิงห์ทองดูแลวัดป่าสุนทรามสืบไป
ซึ่งปฏิปทาของหลวงปู่สิงห์ทองท่านก็ได้รับแบบอย่าง ดำเนินรอยตาม พ่อแม่ครูอาจารย์ดี อย่างไม่มีผิดเพี้ยน
และหลวงปู่สิงห์ทองยังเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของพระครูวิมลสีลาภรณ์ (หลวงปู่เนย สมจิตฺโต)

หลวงปู่สิงห์ทอง ได้ละสังขารอย่างสงบ ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น เวลา 18.02 น. วันที่ 3 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา สิริอายุ 95 ปี 6 เดือน 18 วัน 70 พรรษา












« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 03, 2021, 11:37:34 PM โดย thesun »



1436.รูปหล่อปั๊มรุ่นแรก หลวงปู่มหาโส กัสสโป วัดป่าคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ปี17 เนื้อทองเหลืองอุดกริ่ง รูปหล่อยอดนิยม ของหลวงปู่ สร้างน้อย
หายากครับ
  เปิดบูชาแบ่งปัน 2,500- สมัยก่อนจะเช่าหาต้องมี 4-5พันนะครับ

ปิดท่านj999 ครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 03, 2021, 12:17:09 PM โดย thesun »



1437.พระผงรูปเหมือนรุ่นแรก เรียกว่า พิมพ์ตุ๊กตา หลวงพ่อมุม อินทปัญฺโญ วัดปราสาทเยอร์ จ.ศรีสะเกษ ปี2516  ใต้ฐานมีรอยจารเปียก จารมือหลวงพ่อ
หายากครับรุ่นนี้สวยแบบนี้  อยู่ในเลี่ยมเก่าโบราณ  ประสบการณ์พระเครื่องท่านเป็นตำนานเล่าขานมากมายครับ
เปิดบูชาแบ่งปัน 1800-

ปิดท่านj999 ครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 03, 2021, 12:16:45 PM โดย thesun »



1436.รูปหล่อปั๊มรุ่นแรก หลวงปู่มหาโส กัสสโป วัดป่าคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ปี17 เนื้อทองเหลืองอุดกริ่ง รูปหล่อยอดนิยม ของหลวงปู่ สร้างน้อย
หายากครับ
  เปิดบูชาแบ่งปัน 2,500- สมัยก่อนจะเช่าหาต้องมี 4-5พันนะครับ


 

หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป เป็นศิษย์สายธรรมหลวงปู่มั่น และเป็นศิษย์ผู้พี่ของหลวงปู่ผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต (ผู้คนส่วนใหญ่จะคิดว่าท่านเป็นศิษย์หรือสหธรรมิกของหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต แต่ที่จริงไม่ใช่เพราะถ้านับพรรษาหลวงปู่มหาโสพรรษามากกว่าหลวงปู่ผางถึง ๑๐ ปี เพราะหลวงปู่ผางท่านอุปสมบทตอนอายุ ๔๐ ปี) ในขณะที่หลวงปู่ผางมีชื่อเสียง ผู้คนรู้จักนั้น หลวงปู่มหาโสยังคงธุดงธ์แสวงวิเวกอยู่ในป่าอยู่

ท่านนับเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอีกรูปหนึ่งชึ่งผู้คนยังไม่ค่อยรู้จักท่านเท่าใด เพราะปฏิปทาท่านชอบบำเพ็ญหาความสงบทางจิตในป่ามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว นับตั้งแต่อายุ ๗๐ ปี หลวงปู่พระมหาโสก็ไม่เคยออกจากวัดป่าคำแคนเหนือสู่สังคมทางโลกอีกเลยตราบจนมรณภาพ

สมัยก่อนท่านธุดงค์บำเพ็ญเพียรที่หุบเขาต่างๆ เช่น ภูพาน ภูผาแดง ภูเม็งฯลฯ และตั้งสำนักสงฆ์ที่หุบเขาภูเม็ง แต่ด้วยอุบาสกอุบาสิกาที่ไปถือศีลเป็นไข้ป่า ท่านจึงตัดสินใจย้ายลงมาอยู่ที่เชิงเขาภูเม็ง ท่านก็ได้มาปักหลักสร้างวัดป่าคีรีวันอรัญเขต (วัดป่าคำแคนเหนือ) ต.คำแคน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น และอยู่จำพรรษามาจนมรณภาพ

หลวงปู่มหาโส กัสสโป แห่งวัดคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ไม่เคยพบกับหลวงปู่มั่นโดยตรง แต่ก็มีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม) วัดป่าโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี เป็นพระอาจารย์สอนกรรมฐาน และเป็นพระอุปัชฌาย์ผู้ญัตติเป็นธรรมยุตให้หลวงปู่ด้วย และท่านก็ยังมีท่านพระอาจารย์มหาสีทน กาญจโน พระวิปัสสนากรรมฐานผู้เป็นเสาหลักใหญ่ของจังหวัดขอนแก่นในขณะนั้น คอยสอนกรรมฐานให้หลวงปู่มหาโส เมื่อครั้งพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม พาหมู่คณะพระกรรมฐานมาจำพรรษาเพื่อเผยแผ่ธรรมะในจังหวัดขอนแก่น ระยะประมาณ พ.ศ.๒๔๗๒ -๒๔๗๕ พระอาจารย์มหาสีทน ก็ได้ฝากหลวงปู่มหาโส และ หลวงปู่สิงห์ สุขปุญโญ (พระวิจิตรธรรมภาณี) อดีตเจ้าคณะ จ.อุบลฯ เป็นศิษย์พระอาจารย์สิงห์ด้วย

หลวงปู่มหาโส เป็นพระเถราจารย์ชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดขอนแก่น มีพระฝากตัวเป็นศิษย์ผู้สืบทอดปฏิปทาจากท่านมากมาย เช่น หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรม จ.ขอนแก่น , เจ้าคุณพระธรรมดิลก (หลวงพ่อสมาน สุเมโธ) เจ้าคณะภาค ๙ ธรรมยุติ วัดป่าแสงอรุณ จ.ขอนแก่น , หลวงปู่เขี่ยม โสรโย อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าถ้ำขาม จ.สกลนคร , หลวงพ่อนงค์ ปคุโณ วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น , หลวงปู่สมาน ถาวโร เจ้าคณะ อ.มัญจาคีรี (ธรรมยุต) วัดป่าโนนสำนัก จ.ขอนแก่น ฯลฯ

หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป มรณภาพ ที่กุฏิวัดป่าคำแคนเหนือ หมู่ ๒ ต.คำแคน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ด้วยอาการชราภาพ เมื่อเวลา ๑๒.๒๐ น.ของวันที่ ๑๖ ก.พ.๒๕๕๙ สิริอายุ ๑๐๐ ปี ๓ เดือน ๘ วัน







ขอจองครับ



1437.พระผงรูปเหมือนรุ่นแรก เรียกว่า พิมพ์ตุ๊กตา หลวงพ่อมุม อินทปัญฺโญ วัดปราสาทเยอร์ จ.ศรีสะเกษ ปี2516  ใต้ฐานมีรอยจารเปียก จารมือหลวงพ่อ
หายากครับรุ่นนี้สวยแบบนี้  อยู่ในเลี่ยมเก่าโบราณ  ประสบการณ์พระเครื่องท่านเป็นตำนานเล่าขานมากมายครับ
เปิดบูชาแบ่งปัน 1800-



พระครูประสาธน์ขันธคุณ หรือที่พุทธศานิกชนชาวศรีสะเกษและชาวไทยรู้จักโดยทั่วไปในนาม หลวงปู่มุม หรือ หลวงพ่อมุม เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดปราสาทเยอเหนือ อำเภอไพรบึง
จังหวัดศรีสะเกษ บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่ยังเด็กและอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุ 20 ปี แล้วดำรงอยู่ในสมณเพศตลอดชีวิตจนมรณภาพ เป็นพระภิกษุผู้ถือเคร่งทางธรรมปฏิบัติธรรม
กัมมัฏฐาน ได้ฝึกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาในบริเวณเทือกเขา พนมดงเร็ก เขตจังหวัดทางภาคอีสานตอนล่าง ของประเทศไทย และเดินธุดงค์เข้าไปในประเทศกัมพูชาจำพรรษา
อยู่ในประเทศกัมพูชาหลายปี หลังจากนั้นจึงได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดปราสาทเยอเหนือ บ้านเกิด ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีกลุ่มชาติพันธุ์เยอ ตั้งถิ่นฐานอยู่ จากความสมถะ มักน้อย
 สันโดษและเคร่งครัดในวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ทำให้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศานิกชนทั่วไป และที่โด่งดังเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วประเทศ

ความศรัทธาไม่ใช่แค่คนไทยเท่านั้นชื่อเสียงท่านยังขจรขจายโด่งดังไปยังชาวต่างชาติ 

มีเหตุการณ์ครั้งหนึ่ง ทหารไทยไปร่วมรบกับทหารต่างชาติ ทหารฝรั่งตายเป็นร้อยเป็นพัน แต่ทหารไทย ไม่เป็นไรเลย พวกฝรั่งเลยถามทหารไทยว่า ยูมีของดีอะไรเหรอโดนระเบิด โดนลูกปืนจังๆทำไมไม่เป็นอะไรเลย
ทหารไทยเลยล้วงพระที่ห้อยคอออกมาให้ฝรั่งดู เป็นพระเครื่องหลวงพ่อมุม ฝรั่งเลยอยากได้พระเครื่องมาบูชามั่ง เลยทำเหรียญรุ่นนึงขึ้นมา สลักด้านหลังว่า PAPAMUM
แล้วนำไปให้หลวงพ่อมุมปลุกเสกให้

เล่ากันว่าพอหลวงพ่อปลุกเสกเสร็จ นายทหารฝรั่งยศนายพันอยากลองของ เลยเอาเหรียญรุ่นนี้ไปทดลองยิงด้วยปืนกล ปรากฎว่ายิงไม่ออกแม้แต่นัดเดียว เปลี่ยนกระบอกใหม่แล้วก็ยังยิงไม่ออกอีก
พวกทหารฝรั่งเห็นดังนั้น เลยกรูเข้าไปแย่งเหรียญนี้กัน .. ทำให้เหรียญรุ่นนี้อยู่กับทหารฝรั่งในต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งรุ่นลูก รุ่นหลานของฝรั่งเหล่านี้ คงไม่รู้ถึงกิตติศัพท์ของเหรียญนี้
และก็คงจะวางเก็บ วางกอง ปะปนกับสิ่งของต่างๆ ภายในบ้านอย่างน่าเสียดาย












ขอจองครับ



1438.รูปหล่อหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ รุ่นแรก หลวงปู่สอ พันธุโล วัดป่าหนองแสง จ.ยโสธร ปี37 เนื้อนวโลหะ  พระคู่บารมีหลวงปู่สอ
พุทธคุณครอบจักรวาล ปกปักษ์รักษาคุ้มครอง ผู้ครอบครองมีแต่ความอุดมสมบูรณ์ สวยๆ แชมป์ๆ สวยระดับประกวด หายากแล้ว ครับ
เปิดบูชา 2,400-

ปิดคุณอำนาจ



หลวงปู่สอ พัลธุโล ท่านเป็นศิษย์ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโณ,หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ,หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่หลุย จันทสาโร ฯลฯ
หลวงปู่สอ ท่านเป็นพระที่มีอุปนิสัยเด็ดเดี่ยวอาจหาญมากๆท่านปฏิบัติจริงชนิดยอมตายได้ถ้าไม่บรรลุธรรม และสิ่งที่เป็นบุญวาสนาที่หลวงปู่สอมีไว้ ได้แก่ "องค์หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ "
ที่เป็นพระที่ได้จากสมาธิและเป็นพระที่เป็นคุณอันวิเศษอย่างยิ่งและเป็นที่พึ่งของคนไทยทั้งประเทศ

พระพุทธสิริสัตตราช(หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์)องค์จริงนั้น เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกหล่อสัมฤทธิ์โบราณ ตามการสันนิษฐานของกรมศิลปากรมีอายุประมาณ 800 ปีเศษ
มีพุทธลักษณะคล้ายศิลปะเชียงแสนหรือเวียงจันทร์ ขนาดฐานกว้างประมาณ 10 นิ้ว สูงประมาณ 15 นิ้วน้ำหนักประมาณ 10 กิโลกรัม พุทธลักษณะพิเศษ คือ เป็นพระพุทธรูปที่มีงูใหญ่ 7 ตัว 7 หัว แผ่คลุมองค์พระซึ่งไม่เหมือนกับพระพุทธรูปปางนาคปรกโดยทั่วไปที่มีพญานาค 1 ตัว 7 หัวบ้าง 5 หัวบ้าง พระพุทธรูปลักษณะนี้มีอยู่ 2 องค์ องค์หนึ่งอยู่ในเจดีย์นครปฐม อีกองค์หนึ่งอยู่กับพระครูภาวนากิจโกศล (หลวงปู่สอ พันธุโล)วัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธรเป็นพระประจำองค์หลวงปู่สอฯ ท่านมักจะนำติดต่อไปด้วยเสมอ ต่อมาคณะศิษย์สายการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (คุณหญิงสรีพันธ์ มณีวัตน์) ได้มีความศรัทธาหลวงปู่สอ ฯ และหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์เพราะมีความศักดิ์สิทธิ์มาก เป็นพระที่มีความบริบูรณ์ด้านน้ำ เรียกน้ำทาได้ดี เป็นดั่งแก้วสารพัดนึก  ขออะไรมักสมความปรารถนา ดังนั้น จึงได้มีการสร้างรูปหล่อจำลององค์ใหญ่หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ขึ้นหลายองค์ และนำไปประดิษฐานประจำเขื่อนต่างๆ ทั่วประเทศไทย
 และสำนักงานใหญ่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

รูปหล่อรุ่น แรกหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ ปี 2537 วัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร เนื้อนวะโลหะ พิธีพุทธาภิเศกที่วัดปาภูริทัตตปฏิปทาราม (หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท)
 โดยคณาจารย์สายอีสานหลายองค์ เช่น หลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่สอ ฯลฯ จากนั้นท่านก็แจกไปเรื่อยๆ พุทธคุณเป็นดั่งแก้วสารพัดนึกครับ

คำอธิษฐานบูชาพระพุทธสิริสัตตราช(หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์)
ตั้ง (นะโม 3 จบ )
ยัมปะเนตัง พุทธะสิริสัตตะราชาติ สะวะหะเยนะ ปัญญาตัง,
ตะเมวะ อารัทธะวิริเยนะ พันธุลัตเถเรนะ อาภุชังคะนิมิตเตนะ ลัทธัง,
มะยัมปะนะ อัตตะโน อัตตะโน วิภูติง อาสิงสะมานา สักกัจจัง อิมะเมวะ
พุทธะสิริสัตตะราชะ ปะฎิมัง อะภิปูเชมะ , อิมัสสานุภาเวนะ มหานิสังโส ,
มหาโภโค , มหาลาโภ นิรันตะระเมวะ อัมหากัง โหตุ










« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 11, 2021, 08:53:50 AM โดย thesun »



1439.ล็อคเก็ตรุ่นแรก ท่านพ่อธรรมรัติ ธัมมรโต วัดชากใหญ่ ต.พลิ้ว อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี ปี30 สวยๆ หายาก 700-

องค์ท่านเป็นศิษย์ ท่านพ่อลี พระอาจารย์ฝั้นอาจาโร พระอาจารย์ขาว อนาลโย พระอาจารย์อ่อน ญาณศิริ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ
และพระอาจารย์มหาบัว







ท่านพ่อธรรมรัติ ธมฺมรโต
(วีระธรรม) อดีตเจ้าอาวาสวัดชากใหญ่ ต.พลิ้ว อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี
เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕ อายุครบ 88 ปีชาตกาล
บรรพชาอุปสมบท : เมื่ออายุ ๒๕ ปี
ตรงกับวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๐๐ เวลา ๑๔.๔๕ น.
ณ วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ
โดยมี พระครูกาฬสินธุ์สหัสคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์
มี พระปลัดเฟื่อง โชติโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์
มี พระอาจารย์จูม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
พระอาจารย์ธรรมรัติ ธมฺมรโต
เกิดเมื่อวันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5  ปีวอก ตรงกับวันที่ 17 เดือน เมษายน พุทธศักราช 2475 
พ.ศ. 2495 เมื่ออายุ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหานิกายจนครบพรรษา ต่อมาอายุ 21 ปี รับราชการเป็นทหารสังกัดกองทัพเรือ เมื่อได้ครบกำหนดของการเป็นทหารแล้วถูกชวนให้สมัครต่อ
แต่จิตท่านมุ่งอยู่ที่การเป็นนักบวชถ่ายเดียวเท่านั้น  จึงได้ปฏิเสธ ต่อมาไม่นานท่านได้พบกับ #พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ  เมื่อครั้งมาโปรดชาวจันทบุรี    จึงได้ถือโอกาสไปปฏิบัติธรรมที่วัดดอยธรรมเจดีย์  จ.สกลนคร
บวชเป็นผ้าขาวถือศีล 8 หนึ่งพรรษา หลังจากนั้นได้ไปกราบ พระศาสนโศภน ท่านได้ชวนให้พระอาจารย์ธรรมรัติปฏิบัติธรรม ณ วัดราชาธิวาส ที่กรุงเทพฯ อยู่ครบหนึ่งปี
ในปีพ.ศ. 2500 เจ้าคุณพระศาสนโศภณ ได้จัดงานพิธีพุทธาภิเษก และนิมนต์ #พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ มาร่วมพิธีปลุกเสกพระกริ่งปวเรศ
พระอาจารย์ลีเห็นท่านธรรมรัติในขณะที่ยังเป็นฆราวาสอยู่ ท่านได้ใช้นิ้วมือชี้มาที่ตัวท่านธรรมรัติ  แล้วกล่าวว่า “เราน่ะ! ควรบวชได้แล้ว” ท่านธรรมรัติจึงตัดสินใจกราบลาพระศาสนโศภน
เดินทางไปที่วัดอโศการาม เพื่ออุปสมบทเป็นพระป่ากัมมัฏฐาน โดยท่านเข้าพิธีอุปสมบทที่เรือตำรวจน้ำกลางทะเล ระหว่างพระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ
เนื่องจากขณะนั้น วัดอโศการามยังไม่มีโบสถ์จึงต้องใช้ทะเลเป็นเสมาน้ำ  มีเรือรองรับแทนพระอุโบสถ โดยมีพระครูกาฬสินธุ์สหัสคุณ หรือ พระสุธรรมคณาจารย์  เป็นพระอุปัชฌาย์ 
#พระอาจารย์เฟื่อง โชติโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์  #พระอาจารย์จูม  เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่ออุปสมบทเสร็จสิ้นแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดอโศการาม รวม 4 พรรษา
ตั้งแต่ปีพ.ศ.2500 จนถึงปีที่พระอาจารย์ลีมรณภาพ พ.ศ. 2504  สมัยเป็นพระภิกษุใหม่ ในวัดอโศการาม พระธรรมรัติตั้งใจปฏิบัติธรรมถือการไม่นอนเป็นวัตร กำหนดจิตสละโลหิตให้ยุงเพื่อเป็นทานปารมีทุกครั้ง
ยุงเกาะตามผิวหนังท่าน ตั้งแต่ศีรษะ ใบหน้า หู ตา จมูก จนถึงไหล่แขน เว้นไว้แต่ส่วนที่มีจีวรหุ้มห่อ ถึงกระนั้นพระธรรมรัติก็มิได้หวั่นไหว นั่งสมาธิจิตตั้งมั่น ตัวตรงเหมือนวัตถุชิ้นใดชิ้นหนึ่งที่ยุงเกาะเต็ม
หลังจากที่ #พระอาจารย์ลีมรณภาพลง  ท่านจึงไปจำพรรษากับ #พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่วัดถ้ำขาม จ.สกลนคร ระหว่างจำพรรษาท่านธรรมรัติ ถือการไม่นอนในระหว่างกลางคืน 4 เดือนเต็ม
นั่งสมาธิใกล้ริมเหวอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน 4 คืนต่อ 1 ครั้ง และนั่งสมาธิที่ทางเสือผ่าน   เขาภูพาน จากนั้นได้ธุดงค์ไปปฏิบัติกัมมัฏฐานยังสถานที่ต่างๆ เช่น ถ้ำเชียงดาว นครเวียงจันทร์   
ดงพญาเย็น ถ้ำเบี้ย  ถ้ำพระธาตุลพบุรี ภูกระแต บ้านนาคำ บ้านเสม็ดแดง และบ้านเครือน้อย เป็นต้น
นอกจากการออกธุดงค์ไปตามที่ต่างๆแล้ว ท่านธรรมรัติยังอุทิศตนเป็นหมอบีบเส้น โดยพิจารณากายาคตาสติของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ เป็นกัมมัฏฐานน้อมมาหาตนเอง
และศึกษาอรรถธรรมจาก พระอาจารย์ฝั้นอาจาโร พระอาจารย์ขาว อนาลโย พระอาจารย์อ่อน ญาณศิริ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน พ่อแม่ครูบาอาจารย์ผู้เป็นเนื้อนาบุญโดยแท้แห่งพระศาสนา
8 ปี หลังการออกบวชและบำเพ็ญจิตตภาวนา จนลุเข้าถึงธรรมาพิศมัยอย่างน่าชื่มชม นับเป็นบุญวาสนาของชาวจันทบุรี เมื่อหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ได้มีคำสั่งให้พระอาจารย์ ธรรมรัติ
เดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดป่าสถานีทดลองพลิ้ว หรือวัดชากใหญ่ ในปี 2508 
 เนื่องจากโยมมารดาของท่านอาพาธ สถานที่นี้ในขณะนั้นยังไม่เป็นวัด ยังเป็นเพียงที่พักสงฆ์ไม่มีถาวรวัตถุใดๆ พระอาจารย์ธรรมรัติดำเนินการขออนุญาตจากกรมศาสนาตั้งเป็นวัดโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2523
และพระอธิการธรรมรัติได้ตราตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปีเดียวกัน นับแต่นั้นจึงเกิดถาวรวัตถุขึ้นจากศรัทธาญาติโยม ที่เลื่อมใสในธรรมและความเมตตาของท่าน หลั่งไหลเข้ามาโดยไม่มีการเรี่ยไรหรือขอรับบริจาค
ซึ่งเป็นปฏิปทาของพระอาจารย์ธรรมรัติที่ไม่ให้วัดชากใหญ่ตั้งตู้รับบริจาคมาแต่ต้น
ผ่านไป 50 ปี พื้นที่บริเวณวัดชากใหญ่เนื้อที่ 60 ไร่ เต็มไปด้วยปางพระพุทธรูปต่างๆมากมาย สมคำพยากรณ์ของพระอาจารย์ฝั้นอาจาโรว่า “ วัดนี้เป็นวัดวาสนาบารมีของท่านธรรมรัติโดยตรง
ถ้าท่านมาอยู่วัดนี้ จะมีพระพุทธรูปมากกว่าพระสงฆ์” ในวันนี้วัดชากใหญ่ ได้เป็นพุทธอุทยานนานาชาติ แหล่งการเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนาอันสำคัญของประเทศไทย
โดยรองรับการทัศนศึกษาของชาวต่างชาติทั่วโลก และนักเรียน นักศึกษาจำนวนมากจากทั่วประเทศ ที่สนใจค้นคว้าพุทธประวัติหรือธรรมะที่ปรากฏ  บนแผ่นศิลาจารึกตามปางพระพุทธรูป
อันเขียนบันทึกจากการแสดงธรรมของพระอาจารย์ธรรมรัติ ตลอดการจำพรรษาของท่าน ณ สถานที่แห่งนี้

ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2558 พระพุทธศาสนาได้สูญเสียอีกหนึ่งเสาหลักลง ในพรรษาที่ 57 ของพระอริยสงฆ์ผู้อาจหาญในธรรม นามว่า พระอธิการธรรมรัติ ธมฺมรโต ด้วยโรคชรา
สิริอายุรวม 83 ปี









1440.ขอเปิดของสะสมหายาก เก่าเก็บชิ้นนึง สุดยอดล็อคเก็ตแท้ทันยุค ล็อคเก็ตงานหิน หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด ธนบุรี กทม. ปี2497 ออกที่ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
บ้านเกิดหลวงพ่อท่าน เป็นล็อคเก็ตงานหินอ่อน แต้มสี หรือเรียกว่า งาน ล็อคเก็ตปากแดง เลี่ยมเงินพับของห่วงเชื่อมเก่า สวยๆ น้อยคนที่จะได้ครอบครอง จัดสร้างน้อยชิ้น เนื่องด้วยงานล็อคเก็ตหินอ่อนสมัยนั้น
ต้องสั่งทำจากต่างประเทศ และมีราคาสูง จึงจัดสร้างเฉพาะกลุ่ม เฉพาะศิษย์ พบเจอน้อยกว่าเหรียญมากครับ  นำไปเลี่ยมทองขึ้นคอได้เลยครับ
เปิดบูชา 12,000-

ปิดท่านj999ครับ
อยู่มือสายตรง หลายหมื่นแน่ครับแบบนี้ และแล้วแต่เค้าจะเปิดบูชา โชว์เฉยๆไม่ออกให้บูชาก็มี หรือออกก็แพงหูฉี่เลยครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 05, 2021, 04:09:52 PM โดย thesun »




 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi