[Thesun]พระกรรมฐานพ่อแม่ครูอาจารย์และพระเกจิอาจารย์ทั่วไป(อ่าน 648636 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

988.เหรียญรุ่น2 หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี ปี18 จัดเป็นเหรียญนิยมรุ่นหนึ่งของหลวงพ่อที่ลูกศิษย์ตามเก็บกันโดยเฉพาะเหรียญสวยๆแบบนี้
 สวยเดิมๆ เก็บเก่า
เปิดบูชาตามเศรษฐกิจ 1700- สมัยก่อนเหรียญรุ่นนี้ สภาพนี้ ต้องมี สามพันบาทขึ้นครับ


ปิดท่านj999
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 06, 2019, 02:03:56 PM โดย thesun »



988.เหรียญรุ่น2 หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี ปี18 จัดเป็นเหรียญนิยมรุ่นหนึ่งของหลวงพ่อที่ลูกศิษย์ตามเก็บกันโดยเฉพาะเหรียญสวยๆแบบนี้
 สวยเดิมๆ เก็บเก่า
เปิดบูชาตามเศรษฐกิจ 1700- สมัยก่อนเหรียญรุ่นนี้ สภาพนี้ ต้องมี สามพันบาทขึ้นครับ
จัดสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์...งานฉลองตราตั้ง เจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี พระครูภาวนาวิสุทธิ์ ปี 2518 วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี

ลักษณะเหรียญ :.. เป็นเหรียญกลม

-ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อจรัญครึ่งองค์
-ด้านบนขอบเหรียญมีข้อความว่า "พระครูภาวนาวิสุทธิ์ วัดอัมพวัน"
-ด้านล่างโค้วตามขอบเหรียญ..มีข้อความ "ศิษย์สิงห์บุรี สร้างถวายเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี" ลักษณะตัวอักษรจะเป็นไม่เนียนเรียบแต่คล้ายๆผิวทราย
-ด้านหลัง...เป็นยันต์ตรีนิสิงเห และมีตัวอักษรบาลีล้อมรอบยันต์อีกชั้นหนึ่ง
-ด้านล่างมีตัวเลข "๒๕๑๘" ซึ่งเป็นปีที่หลวงพ่อได้รับสมณศักดิ์เป็นเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี

พุทธคุณ... ครอบจักรวาล ทั้งเมตตา-แคล้วคลาด คงกระพันธ์-ชาตรี มหาอุตม์...สุดยอดครับ...




ขอจองครับ



987.นำเสนอเหรียญหายาก เหรียญพระพุทธชินราช หลังอกเลา เนื้อเงิน ปี2472 (หูตัด) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) จ.พิษณุโลก
เหรียญสวยๆ ราคาหลายๆหมื่นบาทครับ และหาไม่ง่ายครับสำหรับเหรียญสวย เหรียญนี้ผ่านการใช้มาตามกาลเวลาตามอายุเหรียญเกือบร้อยปี แต่ยังคงมีเสน่ห์ ในตัวครับ
โดยได้รับการอธิษฐานจิตจาก พระเกจิอาจารย์ยุคสมัยนั้น และหนึ่งในพระเกจิที่ร่วมปลุกเสก คือ หลวงพ่อเดิม แห่งวัดหนองโพ จ.นครสวรรค์ 
จัดเป็นเหรียญพระพุทธ ยอดนิยมเหรียญนึงของวงการครับ เลี่ยมทองขึ้นคอได้เลยครับ แท้ดูง่าย รับประกันให้ตลอดชีพครับ
7,800-






เหรียญพระพุทธชินราช หลังอกเลา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2472

ลักษณะเป็นเหรียญปั้มรูปทรงเสมา

ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปพระพุทธชนิราช

ด้านหลังเหรียญเป็นอกเลา มียันต์ และข้อความว่า “อกเลาวิหารพระพุทธชินราช”

เชื่อกันว่าเหรียญนี้ได้รับการปลุกเสกเกจิมากมายในยุคสมัยนั้น และหนึ่งในนั้นมี หลวงพ่อเดิม แห่งวัดหนองโพ รวมอยู่ด้วย


พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปองค์ประธานของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศไทย เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นรูปเปลวเพลิง มีลักษณะพิเศษเรียกว่าทีฆงคุลี คือที่ปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่นิ้วยาวเสมอกัน ซุ้มเรือนแก้วทำด้วยไม้แกะสลักสร้างในสมัยอยุธยา แกะสลักเป็นรูปมกร (ลำตัวคล้ายมังกรแต่มีงวงคล้ายช้าง) อยู่ตรงปลายซุ้ม และมีลำตัวเหรา (คล้ายจระเข้) อยู่ตรงกลางซุ้ม มีเทพอสุราปกป้องพระองค์อยู่สองตน คือ ท้าวเวสสุวัณ และอาฬวกยักษ์

ในตำนานการสร้างพระพุทธชินราช กล่าวว่า พระพุทธชินราชสร้างในสมัยพระศรีธรรมไตรปิฎก ธาตุของพระพุทธเจ้า คือ ได้สร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา โดยใช้ช่างจากเมืองศรีสัชนาลัย และเมืองหริภุญชัย ในการเททองปรากฏว่าหล่อได้สำเร็จเพียงสององค์ ส่วนพระพุทธชินราชทองแล่นไม่ตลอด ต้องทำพิมพ์หล่อใหม่ถึงสามครั้ง ครั้งสุดท้ายพระอินทร์ได้แปลงกายเป็นชีปะขาวมาช่วยเททองหล่อ เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้นสองค่ำ เดือนหก ปีมะเส็ง จุลศักราช 717 จึงหล่อได้สำเร็จบริบูรณ์















ปิดคุณTony ทางไลน์ครับ



989.เหรียญแจกแม่ครัว หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี ปี09 บล๊อค สังฆาติจุด จัดเป็นบล๊อคนิยมบล๊อคหนึ่งในรุ่นเหรียญแจกแม่ครัว
 เนื้อ อัลปาก้าชุบนิกเกิ้ล สวยๆ
  1,600- ปิดครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 08, 2019, 10:13:10 AM โดย thesun »



990.ชุดเหรียญพระสยามเทวาธิราช กรรมการ วัดป่ามะไฟ จ.ปราจีนบุรี ปี18 พิมพ์เล็ก หายาก นิยม พระดี พิธีใหญ่
สวยๆ คากล่อง
1,700- เหรียญนึงออกให้บูชากัน 7-800 แล้วครับ ปิดครับ

ประกอบด้วย เนื้อ กะไหล่ทอง กะไหล่เงิน ทองแดงรมมันปู

 เหรียญพระสยามเทวาธิราช วัดป่ามะไฟ ปราจีนบุรี ปี 2518

ตามคำบอกเล่าของ พระครูอุทัยธรรมธารี (เส็ง สุขิโต) อดีตรองเจ้าคณะอำเภอเมืองปราจีนบุรี เจ้าอาวาสวัดป่ามะไฟ เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ได้เกิดนิมิตกับหลวงพ่อหลายครั้ง ในนิมิตมีพราหมณ์ชราผู้ชายนุ่งขาวห่มขาว แล้วบอกว่า “ถ้าต้องการให้วัดป่ามะไฟมีความเจริญรุ่งเรือง ให้จัดสร้างพระสยามเทวาธิราชขึ้นมา” จนเป็นเหตุให้หลวงพ่อเกิดความคิดที่จะสร้างพระสยามเทวาธิราชขึ้น

จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2512 ท่านจึงได้ปรึกษาหารือกับ คุณสมัย พ่วงตามพงษ์ ผู้จัดการธนาคารกรุงเทพ สาขาเจริญพาศน์ คุณวรันดับ ฉัตรกุล ณ อยุธยา (บุญนาค) คุณเจริญ พรหมศร, คุณภาวาส บุญนาค พร้อมด้วยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน เมื่อมีมติเห็นชอบแล้วจึงได้จัดทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดสร้างพระสยามเทวาธิราช วัดป่ามะไฟขึ้น แต่ในครั้งที่ 1 และ 2 ผ่านไปก็ยังไม่ได้รับหนังสือพระราชทานพระบรมราชานุญาตแต่อย่างใด จนกระทั่งครั้งที่ 3 จึงได้มีหนังสือพระราชทานพระบรมราชานุญาต ทางวัดจึงได้ดำเนินการจัดสร้าง และจัดพิธีมหาพุทธาภิเษก (พระคณาจารย์นั่งปรกในพิธี) ในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2518 เวลา 13.30 น.

 พิธีมหามงคลภิเษก วันที่ 10 เมษายน 2518 เวลา 13.30 น. สมเด็จพระสังฆราชฯ จุดเทียนชัย พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ มงคลพิธีพุทธาภิเษก พระคณาจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิต

วันที่ 11 เมษายน 2518 เวลา 11.45 น. เททองหล่อพระประธาน

เมื่อปี 2518 ทางวัดป่ามะไฟ ได้ทำพิธีเททองหล่อพระประธาน และได้จัดสร้างเหรียญนี้ขึ้น โดยมีพระเกจิอาจารย์มาร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก ดังนี้

สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศ กรุงเทพฯ, พระสังวรวิมลเถร (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลีกรุงเทพฯ, หลวงพ่อผาง จิตคตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต ขอนแก่น, พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี, พระครูสันติวรญาณ (หลวงพ่อสิม พุทธาจารโร) สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่, พระครูชลธารธรรมพิทักษ์ (หลวงพ่อหงษ์) วัดชลสงคราม สุราษฏร์ธานี, พระครูสุตาธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร, พระครูเกษมธรรมานันท์ (หลวงพ่อแช่ม) วัดดอนยายหอม นครปฐม, พระครูปัญญาทุราทร วัดเขาชายธง ถ้ำวิมุตติสุข นครสวรรค์, พระกัสสปมุนี อำเภอบ้านค่าย ระยอง, พระอาจารย์สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์, หลวงพ่อบุญเย็น ฐานธัมโม สำนักพระเจ้าพรหมมหาราช อำเภอฝาง เชียงราย, ท่านเจ้าคุณชิน วงศาจารย์ วัดป่าสาละวัน, หลวงปู่เมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม นครราชสีมา, หลวงพ่อเย็น วัดแจ้งนอก นครราชสีมา, หลวงพ่อชม วัดเขานันทา ปราจีนบุรี, หลวงพ่อถิร วัดป่าเรไร สุพรรณบุรี, หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี, หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สมุทรสาคร, หลวงปู่แว่น วัดสันติสังฆาราม สกลนคร, หลวงปู่พล วัดหนองคณฑี สระบุรี, หลวงพ่อสุพจน์ วัดดอนตัน เชียงราย, หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีธรรมเจริญสุข สิงห์บุรี, หลวงพ่อเย็น วัดกลางชูศรีธรรมเจริญสุข สิงห์บุรี, หลวงปู่สำลี ปภาโส วัดซับบอน สระบุรี, หลวงพ่อดำ วัดเสาธงทอง ลพบุรี, หลวงปู่ครูบาชัยวงศ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลำพูน, หลวงพ่อคำดี วัดป่าสุทธาวาส นครพนม, พระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม, พระครูสังวรกิตติคุณ (หลวงพ่อเอีย) วัดบ้านด่าน ปราจีนบุรี, พระอาจาร์ยวัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม กิ่งอำเภอส่องดาว สกลนคร, พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร

ข้อมูลคัดจาก หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูอุทัยธรรมธารี (เส็ง สุขิโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่ามะไฟ อดีตรองเจ้าคณะอำเภอเมืองปราจีนบุรี ต.โคกไม้ลาย อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2545 ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก เวปวัดป่ามะไฟ











« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 08, 2019, 10:28:43 AM โดย thesun »



991.เอาใจคนสะสมพระเก่า พระกรุดูบ้าง เพื่อไม่ให้พระเครื่องยุคเก่า รุ่นเก่าจะหลงเหลือแต่ตำนานเล่าขาน
ขออนุญาติเปิด พระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ยก กรุวัดท้ายย่าน จ.ชัยนาท  พระกรุหลายร้อยปี คนสมัยก่อนชอบพูดติดปาก "พระสรรค์ พระนักรบ" เนื่องจากนักรบในอดีต มักจะแขวน
พกพาพระสรรค์ติดตัวไปรบด้วย เชื่อกันว่าแคล้วคลาดเมตตาดีมาก สภาพองค์นี้ถือว่าสวย สมบูรณ์ พิมพ์ติดชัด
ประกวดติดรางวัลแน่นอน รับประกันตลอดชีพ
เปิดแบ่งไปสะสม ศึกษาบูชา 5,500-







"พระสรรค์นั่งไหล่ยก กรุวัดท้ายย่าน เนื้อดิน จ.ชัยนาท"

ชัยนาท เป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่งอยู่บริเวณฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ปากคลองแพรกศรีราชา ใต้ปากน้ำเก่า สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัย “พญาเลอไท” ครองกรุงสุโขทัย ระหว่าง พ.ศ.1860-1879 เมืองแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า “เมืองแพรก” หรือ “เมืองสรรค์” มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านทางตอนใต้

เมื่อกรุงสุโขทัย เสื่อมอำนาจลง “เมืองสรรค์” ได้กลายเป็นเมืองหน้าด่านทางตอนเหนือของกรุงศรีอยุธยา ต่อมาเกิดชุมชนใหม่ ไม่ไกลจากเมืองสรรค์ เมืองที่เกิดขึ้นใหม่นี้เป็นเมืองใหญ่มีชื่อว่า เมืองชัยนาท

ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ย้ายตัวเมืองชัยนาทจากบริเวณแหลมยาง มาตั้งตรงฝั่งซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยา

ส่วน เมืองสรรค์ ผู้คนส่วนใหญ่อพยพมาอยู่ที่ เมืองชัยนาท ในที่สุดเมืองสรรค์ก็กลายเป็นเพียงอำเภอหนึ่งของ จ.ชัยนาท

ชัยนาท เป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เคยใช้เป็นที่ตั้งทัพรับศึกพม่าหลายครั้ง และมีชัยทุกครั้งไป จึงเป็นที่มาของชื่อ เมืองชัยนาท

สำหรับ เมืองสรรค์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองพระ ด้วยเหตุที่มีวัดวาอารามต่างๆ มากถึง 200 วัด เป็นเครื่องวัดถึงความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างสูง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นแหล่งรวมของพระพุทธรูป พระเครื่อง และวัตถุโบราณต่างๆ

เมืองสรรค์ เป็นแหล่งกำเนิดของพระเครื่องที่มีชื่อเสียงมานาน นั่นคือ พระสรรค์นั่ง, พระลีลาเมืองสรรค์ ฯลฯ

พระสรรค์นั่ง พิมพ์ทรงคล้ายกลีบบัวชะลูด องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย ขนาดกะทัดรัด สูงประมาณ 1 นิ้วเศษ มี 2 พิมพ์ คือ พระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ยก เป็นนิยมสุดของพระสรรค์นั่ง ลักษณะสำคัญ คือ พระอังสะ (ไหล่) ด้านซ้าย จะยกสูงขึ้นกว่าปกติ ไม่ปรากฏสังฆาฏิ ตรงพระเกศมาลามีเส้นตัดขวาง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อีกจุดหนึ่งของพระพิมพ์นี้ นอกจากนี้พื้นที่ข้างองค์พระมีทั้งแบบมีเม็ด และมีขีดคล้ายรัศมี เท่าที่พบเป็นพระเนื้อดินเผา มีทั้งดินละเอียดและดินหยาบ นอกจากนี้ยังมี เนื้อชินเงิน แต่มีจำนวนน้อย

พระเนื้อดินเผา มีหลายสี และมีคราบกรุเกาะติดแน่นบนผิวพระ ล้างออกยาก

พระสรรค์นั่ง อีกพิมพ์หนึ่ง คือ พิมพ์ไหล่ตรง โดยดูจากลักษณะของ พระอังสะ (ไหล่) อยู่ในระดับเดียวกัน

พระสรรค์นั่ง พุทธศิลป์ สมัยอยุธยายุคต้น ขุดพบจากหลายกรุในเมืองชัยนาท ที่มีโด่งดัง คือ กรุเมืองสรรค์ และกรุวัดท้ายย่าน

พระเครื่องเมืองสรรค์ ทุกพิมพ์ทุกกรุ่นเป็นพระเครื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดังมานานปี เพราะมีประสบการณ์ด้านแคล้วคลาด และอยู่ยงคงกระพันเป็นเลิศ เนื่องจากเป็นพระเครื่องที่เหล่านักรบสมัยก่อนใช้ติดตัวในยามออกศึกสงคราม จึงต้องมั่นใจได้ในพระเครื่องที่แขวนติดตัว ผู้ที่มีพระเครื่องเมืองนี้จึงมั่นใจได้ในพุทธคุณดังกล่าว

พระกรุพระเก่า ของ จังหวัดชัยนาท ที่เลื่องลือ มีชื่อเสียงโด่งดังในอดีตก็คือ พระกรุเมืองสรรค์ ซึ่งก็มีอยู่มากมายหลายกรุหลายพิมพ์ ในอำเภอสรรคบุรีมีวัดเก่าที่เป็นกรุพระสำคัญอยู่หลายวัด เช่น วัดมหาธาตุ วัดท้ายย่าน วัดส่องคบเป็นต้น พระกรุที่นิยมและรู้จักกันมากก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น พระปิดตา กรุวัดท้ายย่าน พระลีลาเมืองสรรค์ กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดท้ายย่าน พระสรรค์นั่ง ฯลฯ

ในสมัยก่อนนั้น พระกรุเมืองสรรค์ที่มีชื่อเสียงเรื่องอยู่ยงคงกระพันก็คือพระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ยก พระสรรค์นั่งพิมพ์ไหล่ยกที่มีชื่อเสียงโด่งดังและนิยมมากคือของกรุวัดท้ายย่าน พระสรรค์นั่งที่ถูกค้นพบของกรุวัดท้ายย่านมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ไหล่ยก พิมพ์ไหล่ตรง มีทั้งเนื้อดินเผา และเนื้อชินเงิน แต่ที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันมากในสมัยก่อนก็คือ พระสรรค์นั่งพิมพ์ไหล่ยก เนื่องจากมีประสบการณ์มากในด้านอยู่คง

พระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ยก เป็นพระขนาดค่อนข้างเล็ก พระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ตรง จะมีขนาดเขื่องกว่า ความลึกของพิมพ์ พระสรรค์นั่งพิมพ์ไหล่ตรงจะมีความลึกของพิมพ์มากกว่า พระสรรค์นั่งพิมพ์ไหล่ยกจะเป็นแบบพิมพ์ตื้น จะว่าไปพระสรรค์พิมพ์ไหล่ตรงจะมีความสวยงามทางพิมพ์ทรงมากกว่าพิมพ์ไหล่ยก แต่ความนิยมกลับเป็นพระสรรค์นั่งพิมพ์ไหล่ยก เพราะผู้ที่ใช้มีประสบการณ์มากกว่า และความนิยมจะให้ความนิยมพระเนื้อดินเผามากกว่าพระเนื้อชิน

พระสรรค์นั่งพิมพ์ไหล่ยก ถ้าเรามองดูองค์พระจะเห็นว่าหัวไหล่ซ้ายขององค์พระจะไม่ติดกับบ่าขององค์พระ และดูเหมือนกับว่าจะยกขึ้นเหมือนกำลังยักไหล่ขึ้น ด้วยเหตุนี้คนโบราณเมื่อเห็นพระจึงเรียกกันเป็นพิมพ์ไหล่ยก

พระสรรค์กรุวัดท้ายย่านเนื้อดินเผา จะเป็นพระแบบเนื้อดินค่อนข้างละเอียด เมื่อใช้ถูกสัมผัสจะเป็นมันหนึกนุ่ม พระสรรค์นั่งไหล่ยกกรุวัดท้ายย่านก็เช่นกัน ถ้าไปพบพระที่ถูกใช้สัมผัสมาก็จะเห็นเนื้อเป็นมันหนึกนุ่ม บางองค์เป็นพระที่ใช้ผ่านการอมในปาก เนื่องจากการเลี่ยมใช้ในสมัยก่อนยังไม่ค่อยมี บางคนจึงนิยมอมพระไว้ในปากเวลาจะไปไหนมาไหนหรือเวลามีภัย บางองค์จะเห็นคราบน้ำหมากจับอยู่ในส่วนลึกของพระ ก็ทำให้เห็นร่องการใช้ในสมัยก่อน และเป็นเสน่ห์ความงามอีกแบบหนึ่งครับ

พระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ยก ที่เป็นพิมพ์นิยมจะเป็นของกรุวัดท้ายย่าน สังเกตที่พระเกศตรงกลางจะเห็นเส้นพิมพ์แตก คาดตัดกับพระเกศเป็นทิวบางๆ และพระพิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่มีชื่อเสียงมากในอดีตครับ คนชัยนาทในสมัยก่อนหวงแหนกันมาก กล่าวกันว่า เรื่องอยู่ยงคงกระพันนั้นเชื่อขนมกินได้ครับ

  (ขอขอบพระคุณ ภาพและข้อมูลจาก ศ.นพ.พรพรหม เมืองแมน โรงพยาบาลศิริราช)






992.พระบูชาพระไพรีพินาศ วัดบวร หลังลายเซ็นสมเด็จพระญาณสังวร ปี53  หน้าตัก 3 นิ้ว ฐาน 4 นิ้ว สูง 6 นิ้ว สมเด็จพระญาณสังวรอธิษฐานจิต
ขนาดกำลังดี บูชาที่บ้าน ที่ทำงาน เป็นสิริมงคลครับ สวยเดิม
1700












993.กุมารทองรุ่นแรก ขนาดบูชา หลวงปู่โชติ อาภัคโค วัดภูเขาแก้ว จ.อุบลราชธานี ปีสองกว่า เนื้อโลหะ หน้าตัก 4 นิ้ว ฐาน 5.5.นิ้ว สูง 8 นิ้ว
ก้นอุดมวลสาร ด้านในบรรจุเกล้านางนี ตะกรุด แผ่นยันต์ดวง หายาก พบเห็นน้อย "เป็นกุมารทอง กุมารเทพ กุมารสายขาว ที่ดีที่สุดของอุบลราชธานี
คนพื้นที่และทั่วทั้งประเทศต่างก็รู้ดี" เมตตา โชคลาภ ค้าขาย ดีมากๆ  นิยมมากในพื้นที่ หายากมากครับ กุมารทองขนาดบูชาแบบนี้
4700- ปิดท่านj999ครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 14, 2019, 01:28:06 PM โดย thesun »



993.กุมารทองรุ่นแรก ขนาดบูชา หลวงปู่โชติ อาภัคโค วัดภูเขาแก้ว จ.อุบลราชธานี ปีสองกว่า เนื้อโลหะ หน้าตัก 4 นิ้ว ฐาน 5.5.นิ้ว สูง 8 นิ้ว
ก้นอุดมวลสาร ด้านในบรรจุเกล้านางนี ตะกรุด แผ่นยันต์ดวง หายาก พบเห็นน้อย "เป็นกุมารทอง กุมารเทพ กุมารสายขาว ที่ดีที่สุดของอุบลราชธานี
คนพื้นที่และทั่วทั้งประเทศต่างก็รู้ดี" เมตตา โชคลาภ ค้าขาย ดีมากๆ  นิยมมากในพื้นที่ หายากมากครับ กุมารทองขนาดบูชาแบบนี้
4700-

หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค วัดภูเขาแก้ว "พระอริยะเจ้าเมืองดอกบัว" ศิษย์หลวงปู่ดี ฉันโน





“แต่ในวันอย่างนั้นคนข้างบ้านแถวนี้ เขาเคยเล่าให้ฟังว่า เขาเคยได้ยินเสียงเด็กๆ พากันวิ่งเล่นโครมครามกันในห้องชั้นบน ที่เป็นห้องพักของอาจารย์ปถัมภ์ มีทั้งเสียงกระโดดโลดเต้นกันและ เสียงหัวเราะหยอกล้อกันดังโขรมได้ยินไกลถึงสองบ้านสามบ้าน แต่สิ่งนั้นเป็นการได้ยินแค่เสียงเด็ก ไม่มีใครเคยเห็นตัวเด็กเหล่านั้น”

เหตุการณ์ที่ชาวบ้านละแวกใกล้เคียงบอกเล่าให้ฟังดังที่คุณ ดำรงค์กล่าวมานั้นก็คงเป็นลักษณะเดียวกับที่ผู้เขียนประสบมาแล้ว เป็นแต่ชาวบ้านเขาได้ยินจากนอกบ้านนอกสำนักงาน แต่ผู้เขียนนั่งอยู่ภายใน พอถามว่าเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นอาจารย์ปถัมภ์ผู้เป็นเจ้าสำนัก งาน มีความเห็นเป็นเช่นไร คุณดำรงค์กล่าวว่าอาจารย์ปถัมภ์ ท่านว่า กุมารทองของท่านพระอาจารย์โชตินี่ขลังกล้าจริงๆ แต่ไม่ได้ วิพากษ์วิจารณ์สิ่งใดมากไปกว่านั้น
 

สำหรับเรื่องความขลังความศักดิ์สิทธิ์ของกุมารทองที่ได้รับ จากพระอาจารย์โชติ อาภัคโค นั้นคุณดำรงค์เปิดเผยให้ทราบว่า “กุมารทองของท่านอาจารย์โชติที่ว่านี้ ที่ว่ามีความขลังความ ศักดิ์สิทธิ์อย่างไว้วางใจได้นั้นเป็นเพราะท่านได้ประกอบพิธีกรรมสร้าง กระทำขึ้นตามหลักวิชาของครูบาอาจารย์แต่โบราณซึ่งกล่าวกันว่าท่านสืบวิชานี้มาจากสมเด็จลุน ยอดเกจิอาจารย์แห่งนครจำปาศักดิ์”

“นอกจากจะประกอบพิธีและทำการอธิษฐานจิตอัญเชิญเทพ เทวดามาสถิตในองค์กุมาร ตามหลักพิธีกรรมการสร้างกุมารทองแล้ว พระอาจารย์โชติท่านยังบรรจุของดีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านได้มาด้วยบารมี ปาฏิหาริย์ของท่านไว้ในองค์กุมารอีกด้วย”
“ท่านพระอาจารย์โชติได้บรรจุ เกล้านางนี ไว้ไนองค์กุมารทอง ของท่านด้วย”

จุดธูป 9 ดอกบอกขอบารมี หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่ดี หลวงปู่โชติ ขอรับกุมารทองมาเลี้ยง แล้วอธิษฐานตามใจชอบ

พระคาถาเรียกกุมารทอง (หลวงปู่โชติ อาภัคโค)

เอหิตาตะ ปิยะปุตตา ปูเรถะ มามา

เอหิอัมมะ ปิยะธีตา ปูเรถะ มามา















ขอจองครับ



994.เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก จ.อุตรดิตถ์ รุ่นแรก ปี13 เนื้อทองแดง สุดยอดเหรียญยอดนิยม อันดับต้นๆ ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ประสบการณ์มากมาย เป็นที่หวงแหนของคนเมืองพิชัย
 สภาพผ่านการใช้ สวยๆเป็นหมื่นครับ เปิดตามสภาพ พุทธคุณเท่ากันกับเหรียญสวยๆ เอาไปลองใช้ดูครับ
2800-




ารสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหักนี้ เป็นพิธีมหาพุทธาภิเษกมหาจักรพรรดิ์ พิธีที่ยิ่งใหญ่รองจาก พิธี 25 พุทธศตวรรษ
เจตนาการสร้างดี พิธีกรรมดี คณาจารย์ปลุกเสกมากมายเป็นร้อยๆท่าน และมีประสบการณ์ดี
อาทิเช่น ทหารค่ายพระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์ ที่ได้รับแจกเหรียญ พระยาพิชัยดาบหัก ทุกคนได้ออก
ปฎิบัติการปราบปราม ผกค.ที่ สมรภูมิ ทุ่งช้าง จ.น่าน สมรภูมิ ยุทธการเชียงของ เชียงคำ จ.เชียงราย สมรภูมิยุทธการภูหิน
ร่องกล้า จ.พิษณุโลก และสมรภูมิยุทธการเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นฐานและกองบัญชาการใหญ่ของ ผ.ก.ค. ทางภาคเหนือ
ได้มีการปะทะและถูกลอบโจมตีของกองกำลัง ผ.ก.ค. ต่างก็มีประสบการณ์เช่น บ้างก็ถูกยิงไม่เข้าบ้าง ระเบิดไม่ทำงานบ้าง
บ้างก็ถูกกระสุนปึน ค. ซึ่งเป็นกระสุนระเบิดไม่แตกบ้าง แตกแต่ไม่เข้าบ้าง และถูกยิงไม่ถูกบ้าง รอดพ้นภยันตรายปลอดภัย
ทุกคน และเป็นช่วงเดียวกับ สงครามเวียดนามและลาว ในสมัยจอมพลถนอม กิติขจร ได้ส่งหน่วยกองกำลังทหารไทยทุกภาค
ฃึ่งทหารไทยมีบทบาทสำคัญที่สุดในศึกสงครามเวียดนามและลาว เพราะภูมิประเทศของประเทศเวียดนามและลาวเป็น
ป่าเขาเหมือนกับประเทศไทย กองกำลังเวียดนามเหนือหรือเวียดกงจะกลัวกองกำลังทหารไทยมากที่สุด เพราะทหารไทย
ชินกับสมรภูมิภูมิประเทศแบบนี้ที่เหมือนกันนี้อยู่แล้ว ซึ่งมีทหารค่ายพระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์ ไปร่วมรบ
ด้วยกับหน่วยรบขององค์การสหประชาชาติ อันมีอเมริกาเป็นตัวหลักสนับสนุนทั้ง กำลังทหาร กำลังเงินและอาวุธยุทโธปกรณ์
เพื่อป้องกันประเทศเวียดนามใต้ ให้รอดพ้นจากลัทธิคอมมิวนิสต์ของประเทศเวียดนามเหนืออันมีรัสเซียเป็นตัวหลักสนับสนุน
ทั้ง กำลังทหาร กำลังเงินและอาวุธยุทโธปกรณ์ เช่นกัน หน่วยกองกำลังทหารจากทหารค่ายพระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดทหาร
บกอุตรดิตถ์ ที่ได้รับแจกเหรียญ พระยาพิชัยดาบหัก ได้ออก ปฏิบัติการยุทธการ ที่ สมรภูมิเวียดนามและสมรภูมิลาว ได้มีประ
สบการณ์ ในการปะทะกับกองกำลังทหารเวียดนามเหนือ หรือเวียดกง และถูกลอบโจมตีจากกองกำลังเวียดกง บ้างก็ถูกระเบิด
เคโมไม่ระเบิดบ้าง ก็ถูกยิงไม่เข้าบ้าง ระเบิด และ จรวด ด้านไม่ทำงานบ้าง และถูกยิงไม่ถูกบ้าง หลายครั้งหลายคราวรอด
ปลอดภัยกลับมาที่แผ่นดินเกิดกันทุกคน และไม่ว่าประสบการณ์ท้องถิ่น คือถูกยิงไม่ออกบ้าง ถูกยิงไม่เข้าบ้าง และ บ้างก็รอด
ปลอดภัยจากอุบัติเหตุทางการจราจร และรอดปลอดภัย อุบัติเหตุต่างๆ บ้างมากมายทีเดียว
            เหรียญนี้เป็นที่หวงแหนของคนจังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดใกล้เคียง ภาคเหนือตอนล่าง กันมากทีเดียว เพราะมีประ
สบการณ์เป็นที่ประจักษ์นับครั้งไม่ถ้วน และอนุสาวรีย์ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก ทั้งที่ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์
และศาลท่านพ่อที่อยู่ที่อำเภอพิชัยก็ทรงความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังยิ่งนักใครเดือนร้อนมีทุกข์ต่างๆ ต่างก็ได้จุดธูปเทียนบนบาน
ศาลกล่าวต่อหน้าอนุสาวรีย์ ให้ท่านช่วยให้พ้นความเดือนร้อน และ พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ต่างก็ได้รับความสมหวังกัน
ทั่วหน้า และได้มาแก้บนตามที่ตนบนบานไว้ ส่วนมากก็จะแก้บนด้วย อาหารคาวหวาน สุรา การชกมวย ฟันดาบ และตีไก่
ต่อหน้าอนุสาวรีย์ มีพ่อแม่ของเด็กหนุ่มที่เตรียมจะเกณฑ์ทหาร ได้จุดธูปเทียนบนบานขออย่าให้ลูกเป็นทหาร แต่เป็นที่น่า
อัศจรรย์มากก็คือ ใครก็ตามที่ได้บนบานขออย่าให้ลูกเป็นทหารนั้น ลูกชายของเขาเหล่านั้นทุกคนต้องจับใบแดงได้เป็นทหาร
กันทุกคน คงจะเป็นเพราะท่านเป็นทหาร ท่านชอบทหาร ท่านเลยดลบันดาลให้ลูกชายของเขาเหล่านั้นเป็นทหารรับใช้ชาติ
กันซะเลย

               เหรียญพระยาพิชัยดาบหักนี้เริ่มสร้างขึ้นภายหลังจาก ที่ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ครบ 1 ปี เรื่องอนุสาวรีย์นี้

ชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ได้เรียกร้องปรารถนาให้มีขึ้นนานแล้วแต่ไม่สำเร็จ ต่อมาถึงสมัยนายเวทย์ นิจถาวร เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด

โดยมีพ่อค้า ประชาชน ร่วมกันบริจาคทรัพย์เป็นทุนก่อสร้าง โดยไม่มีงบประมาณแผ่นดินและของทางหน่วยงานราชการ

มาเกี่ยวข้องเลย เป็นการเกิดจากกำลังศรัทธาอันแรงกล้า ของชาว จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ต้องการเทิดทูนเกียรติประวัติยอดวีรบุรุษผู้กล้า

หาญ และเป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ของชาวจังหวัดอุตรดิตถ์และประชาชนชาวไทย ซึ่งเก่งกล้าสามารถทั้งชั้น

เชิงแม้ไม้มวยไทย ชั้นเชิงทางเพลงดาบ และเป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่ง ท่านเป็นทัพหน้าในการออกศึกโจมตีข้าศึกทุกครั้ง

คือ”ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก “ ท่านเป็นทหารเอกของพระเจ้าตากสิน มหาราช ในการกอบกู้เอกราช ของชาติไทย ปราบชุมนุมต่างๆ

รวบรวมเป็นประเทศชาติไทย และปกป้องอธิปไตยให้พ้นจากข้าศึกศัตรู มาได้จนเป็นประเทศไทยกระทั่งถึงทุกวันนี้

               อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ออกแบบและหล่อด้วยทองเหลืองและโลหะผสม โดยกรมศิลปากร ขนาดใหญ่กว่าคนในยุคปัจจุบัน

จริง 3 เท่า ในชุดนายทหารสมัยอยุธยาตอนปลาย ในลักษณะยืนถือดาบ 2 ข้าง มีผ้ามัดมือที่ถือด้ามดาบติดกับด้ามดาบ เพื่อป้องกันดาบ

หลุดจากมือ และดาบอีกข้างหนึ่งหักข้างขวา มีการวางศิลาฤกษอนุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ. ศ. 2511 จนก่อสร้างแล้วเสร็จ

และเปิดอย่างป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ. ศ 2512 และทางคณะกรรมการซึ่งมีพลโทสำราญ แพทย์กุล แม่ทัพภาคที่ 3


(ยศและตำแหน่งขณะนั้น) เป็นประธาน นายเวทย์ นิจถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ในขณะนั้นป็นรองประธาน พร้อมด้วยที่ปรึกษา

อันทรงเกียรติอีกหลายท่าน ได้ร่วมกันดำเนินงานการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหักขึ้น ออกแบบเหรียญโดยกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์

กระทรวงการคลัง โดยจำลองแบบมาจากอนุสาวรีย์ จากนั้นจึงจัดพิธีมหาพุทธาภิเษกขึ้น เป็นพิธีมหาจักรพรรดิ์ครั้งยิ่งใหญ่ ฃึ่งรองจาก

พิธี 25 พุทธศตวรรษเลยทีเดียว โดยกราบทูลอาราธนา สมเด็จพระสังฆราช วัดมกุฎกษัตริย์ กรุงเทพฯ เสด็จมาเป็นองค์

ประธานจุดเทียนชัย พร้อมกันนี้ ทางคณะกรรมการผู้จัดสร้าง ได้กราบอาราธนา นิมนต์พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณร่วมสมัย

ซึ่งมีชื่อเสียงทรงวิทยาคุณ เป็นที่รู้จักกันดี จากจังหวัด ต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น

1.สมเด็จ พระสังฆราช (จวน) วัดมกุฏกษัตริย์ กรุงเทพฯ ทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย
2.หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง
3.หลวงพ่อจันทร์ วัดหาดสองแคว อ.ตรอน อุตรดิตถ์ (ท่านเก่งทุกด้าน ที่ลือลั่นไปถึง ต่างประเทศนั่นคือ กิเลนเงิน-กิเลนทอง นำโชค)
4.หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง อ.เมือง อุตรดิตถ์
5.หลวงพ่อบุญ วัดน้ำใส อ.ลับแล อุตรดิตถ์
6.หลวงพ่อปี้ วัดลานหอย อ.ด่านลานหอย สุโขทัย
7.หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง อ.กงไกรลาศ สุโขทัย (ท่านดัง ด้านตะกรุดมหาสะท้อน )
8.หลวงปู่คำมี ถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี
9.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
10.หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์
11.หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค นครสวรรค์ (เนื่องจากท่านอายุมากแล้วท่านไม่ได้มานั่งปรกในพิธี แต่มี ชนวนแผ่นยันต์ ของท่าน)
12.หลวงปู่ดู่ วัดสะแก อยุธยา
13.หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
14.หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าศาลาลอย ชุมพร
15.หลวงปู่เม้า วัดสี่เหลี่ยม บุรีรัมย์
16.หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า ระยอง
17.หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก ระยอง
18.หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า ระยอง
19.หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี
20.หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เพชรบูรณ์
21.พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา นครศรีธรรมราช
22.หลวงพ่อทิพย์ วัดโพธิ์ทอง บุรีรัมย์
23.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม
24.หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอเหนือ ศรีสะเกษ
25.หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม สมุทรสาคร
26.หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
27.พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์ธรรม สกลนคร
28.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
29.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
30.หลวงปู่พริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี
31.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม
32.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร
33.หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน ปราจีนบุรี
34.หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี
35.หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพ
36.หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว ฉะเชิงเทรา
37.หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม
38.หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพฯ นครพนม
39.หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
40.หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสาคร
41.หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง กรุงเทพฯ
42.หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี
43.หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช
44.หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
45.หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ อยุธยา
46.หลวงพ่อจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ นครศรีธรรมราช
47.หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ ((ไม่ได้มานั่งปรกในพิธี แต่มี ชนวนแผ่นยันต์ ของท่าน และอธิษฐานส่งจิตมา )
48.หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี
49.หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม ราชบุรี
50.หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง กาญจนบุรี
50.หลวงพ่อมี วัดซำป่างาม ฉะเชิงเทรา
51.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
52.ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง เชียงใหม่
53.หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อยุธยา
54.หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต ขอนแก่น
55.ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี เชียงใหม่
56.หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์
57.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี
58.หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา
59.หลวงพ่อเส็ง วัดบางนา ปทุมธานี
60.หลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิงห์หาร อุดรธานี
61.หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง สระบุรี
62.พระครูเมตยานุรักษ์ วัดวชิราลงกรณ์ นครราชสีมา
63.พระครูสัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง สุพรรณบุรี
64.พระวิบูลเมธาจารย์ (เก็บ) วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
65.หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม กาญจนบุรี
66.พระครูกาญจโนปมคุณ (ลำไย) วัดลาดหญ้า กาญจนบุรี
67.หลวงพ่อเจริญ วัดทองนพคุณ เพชรบุรี
68.พระครูไพศาลคณารักษ์ วัดไร่ขิง นครปฐม
69.หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย นครนายก
70.หลวงพ่อสีหมอก วัดเขาวังตะโก ชลบุรี
71.พระครูศรีสัตตคุณ วัดสัตหีบ ชลบุรี
72.หลวงปู่บุญทัน วัดประดู่ศรี ปราจีนบุรี
73.พระอาจารย์สุบิน วัดถ้ำไก่แก้ว นครราชสีมา
74.หลวงพ่อมิ วัดสะพาน ธนบุรี
75.พระครูพิชัยณรงค์ฤทธิ์ วัดคอกหมู กทม.
76.พระอาจารย์บำเรอ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม.
77.พระญาณวิริยาจารย์ วัดธรรมมงคล กทม.
78.พระครูพิทักษ์เขมากร วัดท่าเกวียน ฉะเชิงเทรา
79.หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สมุทรสาคร
80.หลวงพ่ออินเทวดา วัดลาดท่าใหม่ จันทบุรี
81.หลวงพ่ออินทร์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กทม.
82.หลวงพ่อกลั่น วัดอินทาราม อ่างทอง
83.หลวงพ่อสาย วัดจันทรเจริญสุข
84.หลวงพ่อไปล่ วัดดาวเรือง ปทุมธานี
85.หลวงพ่อแดง วัดดอนยอ นครปฐม
86.หลวงพ่อเพชร วัดดงยาง ฉะเชิงเทรา
87.หลวงปู่สี วัดสะแก อยุธยา
88.หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน พัทลุง
89.หลวงพ่อเขียว วัดหรงบล นครศรีธรรมราช
90.หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช
91.หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
92.หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม ชลบุรี
93.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ กาญจณบุรี
94.หลวงพ่อ อุตมะ วัดวังวิเวการาม กาญจณบุรี
95.หลวงพ่อหว่าง วัดท่าพุทรา กำแพงเพชร(ท่านดังเรื่องตะกรุด)
96.ครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
97.หลวงพ่อทองสุข วัดโพธิ์ทรายทอง บุรีรัมย์
98.หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร นครสวรรค์
99.หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม ชัยนาท
100.หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน ลำปาง
101.หลวงพ่อเกษม เขมโก ลำปาง
102.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ อยุธยา
103.หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ พัทลุง
104.หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก ชลบุรี
105.หลวงปู่บุญทอง พัทลุง
106.หลวงพ่อหรั่ง พิษณุโลก
107.หลวงปู่อ่อน พิษณุโลก
108.หลวงพ่อรอด พิษณุโลก
109.หลวงพ่อทา วัดดอนตัน จ.น่าน
110.พระอาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
111.พ่อท่านบุญรอด วัดประดู่พัฒนาราม นครศรีธรรมราช
112.หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก สุพรรณบุรี
113.หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา
114.หลวงพ่อผาย วัดอรัญญิการาม อ.เมือง อุตรดิตถ์
115.หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี



                 และคณาจารย์ต่างๆที่ไม่ได้กล่าวนามอีกหลายท่าน มานั่งปรกอธิษฐานจิตมหาพุทธาภิเษกในพิธีครั้งนี้

ตามหมายกำหนดซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2513 ดังนี้  มีการรำมวยชกมวยไทย รำดาบและฟันดาบ

จากสำนักดาบพุทธไธสวรรค์ ต่อหน้าอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก เวลา 14.30 น. พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมทั้งหมดพร้อมที่

ปะรำมลฑลพิธี เวลา 15.00 น. พระราชครูวามเทพมุณี ฝ่ายพราหมณ์ ได้ทำพิธีบวงสรวงสักการะดวงวิญญาณพระยาพิชัยดาบหัก

กับบวงสรวงสักการะเทพยาดาทั่วจักรวาล อนันตจักรวาล และบูชาฤกษ์ เป่าสังข์ เคาะบัณเฑาะว์ และลั่นฆ้องชัย เวลา 15.27 น.

สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทำพิธีจุดเทียนชัย พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ แล้วสมเด็จพระสังฆราชทรงประพรมน้ำ

พระพุทธมนต์ ในมลฑลพิธี ขณะเดียวกันก็เกิดปรากฏการณ์ พระอาทิตย์ทรงกลดและมีฝนตกเป็นละอองเบาบาง ทั้งๆที่เป็นฤดูหนาว

และไม่มีเค้าว่าฝนจะตกเป็นอัศจรรย์ ประหนึ่งว่าเหล่าเทพยาดาทั่วจักรวาล อนันตจักรวาล ได้รับรู้ ในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์นี้

ได้ประพรมประสาทพรด้วยน้ำทิพย์อันศักดิ์สิทธิ์ บรรดาผู้ร่วมพิธีต่างปิติยินดี ในปรากฏการณ์ในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง       

                เมื่อถึงเวลา 19.30 น. เริ่มพิธีมหาพุทธาภิเศก พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมทั้งหมด เข้านั่งปรกอธิษฐานจิต ในมลฑลพิธี

มหาพุทธาภิเษก สลับกับ การสวดมหาจักรพรรดิ์ราชาธิราช โดยพระพิธีธรรมจาก สำนักวัดราชนัดดารามวรวิหาร กรุงเทพฯ

จำนวนสองชุดๆละ 8 รูป จนตลอดรุ่งเช้า จนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 เวลา 06.10 น. กระทำพิธีดับเทียนชัย หลังจากนั้นทาง

คณะกรรมการได้เปิดจำหน่ายเหรียญพระยาพิชัยดาบหักในงานประจำปีที่ กำหนดขึ้นระหว่าง วันที่ 1-7 กุมภาพันธ์ 2513 เพื่อให้ผู้มา

เที่ยวงานได้บูชากันเป็นการน้อมรำลึกถึง บรรพบรุษผู้กล้าหาญของชาติท่านหนึ่ง นั่นคือ “ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก “

ซึ่งเก่งกล้าสามารถทั้งชั้นเชิงแม้ไม้มวยไทยและชั้นเชิงทางเพลงดาบ และท่านเป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่งของพระเจ้าตากสิน มหาราช

ท่านจะเป็นทัพหน้าในการออกศึกโจมตีข้าศึกทุกครั้ง คือ”ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก “ ท่านเป็นทหารเอกของพระเจ้าตากสิน มหาราช

คู่พระทัยในการกอบกู้เอกราช ของชาติไทย ปราบชุมนุมต่างๆ รวบรวมเป็นประเทศชาติไทย และปกป้องอธิปไตยให้พ้นจากข้าศึกศัตรู

มาได้จนเป็นประเทศไทยถึงทุกวันนี้
                  ลักษณะของเหรียญเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ ออกแบบเหรียญโดย กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ ด้านหน้า มีรูปพระยาพิชัยดาบหัก

ในชุด แม่ทัพนายทหารสมัยอยุธยาตอนปลาย ยืนถือดาบ 2 ข้างส่วนข้างขวาหัก 1 ข้าง ซึ่งกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ จำลองแบบมาจาก

อนุสาวรีย์ มีผ้ามัดมือที่ถือด้ามดาบติดกับด้ามดาบ เพื่อป้องกันดาบหลุดจากมือ และดาบอีกข้างหนึ่งหักข้างขวา มุมขอบข้างล่างปรากฎ

ตัวหนังสือไทยว่า พระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ ด้านหลังเป็น ยันต์เกราะเพชร ยันต์มะอะอุ ยันต์หัวใจมนุษย์ ยันต์พระเจ้า 5 พระองค์

ยันต์พุทธซ้อน ยันต์เฑาะว์ ยันต์ฤษี ฤาฤา ประกอบอักขระขอมและตัวนะต่าง ๆ กับมีตัวหนังสือ ๑ ก.พ. ๒๕๑๓ ด้านล่างเหรียญ

ในการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก ครั้งแรกนี้ทางคณะผู้ดำเนินการสร้างได้เตรียมการสร้างอย่างดีที่สุด ดังนั้นเพื่อให้สมกับเป็น

เหรียญยอดวีรบุรุษนักรบผู้เก่งกล้า ทั้งแม้ไม้มวยไทยและชั้นเชิงเพลงดาบ ร่วมกับพระเจ้าตากสินมหาราชกู้เอกราช และรวบรวมชาติไทย

โดยคณะกรรมการได้ส่งแผ่นโลหะทองคำ เงิน และทองแดง ไปอาราธนาให้คณาจารย์ผู้ทรง คุณวุติแก่กล้าทางวิทยาคมทุกท่านทั่ว

ประเทศที่ได้ลงรายนามที่ทุกท่าน ช่วยลงอักขระเลขยันต์ต่าง ๆ เพื่อที่จะนำมาหลอมเป็นชนวนโลหะศักดิ์สิทธิ์ยังมีการรวบรวมเอาตะกรุด

และชนวนวัตถุมงคลรุ่นเก่า ๆ อีกเป็นจำนวนมากผสมเพิ่มเติมอีกด้วย มารีดเป็นแผ่นโลหะพร้อมที่จะนำไปปั้มเป็นเหรียญ

โดยแบ่งเหรียญโลหะออกเป็นสามชนิดคือ ทองคำ เงิน และทองแดง

เรียกว่าเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก ปี 2513 นี้ ดีทั้งในคือชนวนมวลสารดี และดีทั้งนอกคือเจตนาการสร้างดี พิธีดี คณาจารย์พุทธาภิเศก

ดีเลยทีเดียว มีจำนวนการสร้างเหรียญดังนี้

1.เนื้อทองคำสร้างจำนวน 189 เหรียญ สร้างไว้เท่าจำนวน 189 ปีที่พระยาพิชัยดาบหักถึงแก่อสัญกรรม ถึงพ.ศ.2513

ให้บูชาราคาเหรียญละ 999 บาท (สมัยนั้นราคาทองคำบาทละ 450 บาท )

2.เนื้อเงินสร้างจำนวน 999 เหรียญ ให้บูชาราคาเหรียญละ 99 บาท (ราคาสมัยนั้น)

3.เนื้อทองแดงสร้างจำนวนมากหลายหมื่นเหรียญ ให้บูชาราคาเหรียญละ 9 บาท (ราคาสมัยนั้น)







« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 12, 2019, 12:57:13 PM โดย thesun »



995.เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก จ.อุตรดิตถ์ รุ่นแรก ปี13 เนื้อทองแดง สุดยอดเหรียญยอดนิยม อันดับต้นๆ ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ประสบการณ์มากมาย
เป็นที่หวงแหนของคนเมืองพิชัย สภาพสวยครับ
  เปิดบูชา 5000- ในพื้นที่สภาพนี้ แพงกว่านี้แน่นอนครับ ปิดท่านj999 ครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 15, 2019, 11:59:35 AM โดย thesun »



996.เหรียญรุ่น2 หลวงพ่อมงคลบพิตร วัดมงคลบพิตร จ.อยุธยา ปี2485 สภาพพอสวย หูเชื่อม ตามแบบฉบับเหรียญยุคเก่า พิธียิ่งใหญ่ นิมนต์พระเกจิแนวหน้าของประเทศยุคนั้น
ร่วมอธิษฐานจิต ใช้แทนเหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตรรุ่นแรกปี2460 ที่ราคาหลักแสนได้เลยครับ
 หายาก แม้สภาพผ่านการใช้ แต่ไม่ด้อยพุทธคุณ 
2,300- สวยๆต้องมี 7000-8000 บาทครับ



เหรียญปั้มหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่น2 ปี พ.ศ.2485

เริ่มจากการรวบรวมชนวนมวลสารในการจัดสร้าง “โลหะ” จะประกอบด้วย แผ่นทองที่ลงอักขระปลุกเสกจากพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมในยุคนั้นจำนวนถึง 121 รูป มีอาทิ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์, สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (สมเด็จพระสังฆราช ชื่น) วัดบวรนิเวศวิหาร, สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ, สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินทราวาส, พระญาณไตรโลกาจารย์ (หลวงพ่อฉาย) วัดพนัญเชิง, หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่นอก, หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก, หลวงปู่เส่ง วัดกัลยาณมิตร

หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง, หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่าอรัญญิกาวาส จ.ชลบุรี, หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี, หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง จ.ราชบุรี, พระอธิการจันทร์ วัดคลองระนง จ.นครสวรรค์, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม, หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ.นครปฐม, หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก จ.ฉะเชิงเทรา

หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ, หลวงปู่จาด วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี, หลวงปู่บ่าย วัดช่องลม จ.สมุทรสงคราม, หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม จ.สมุทรสงคราม, หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร, หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท, พระอาจารย์แฉ่ง วัดบางพัง จ.นนทบุรี, หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู จ.ลพบุรี, หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ จ.พระนคร ศรีอยุธยา, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา และหลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

รวมกับ “โลหะเครื่องรางโบราณ” ที่พบในบริเวณพระราชวังโบราณ เมื่อคราวปรับปรุงเกาะเมืองฯ เช่น ชินสังขวานร บนวิหารพระมงคลบพิตร-วัดพระศรีสรรเพชญ์-วัดป่าพาย, ทองคำจากองค์พระมงคลบพิตร, เนื้อสำริดกะเทาะจากองค์พระมงคลบพิตร, พระชินขุนแผนจากวัดป่าพาย-วัดสะพานเงินสะพานทอง, พระชินกำแพงพัน วัดพระศรีสรรเพชญ์-วัดมหาธาตุ-วัดราชบูรณะ, พระปรุหนังวัดพระศรีสรรเพชญ์, พระชิน วัดขุนหลวงต่างใจ, พระปิดทวารในเจดีย์พระราชวังโบราณ, ลูกอมทองแดง วัดพระราม, แผ่นทองกะเทาะจากองค์พระธาตุเชียงใหม่ ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีทองชนวนจากพิธีสำคัญของพระอารามต่างๆ เช่น วัดอนงคาราม, วัดหิรัญรูจี, วัดราชบพิธฯ, วัดกัลยาณมิตร, วัดชนะสงคราม, วัดสุทัศน์ ฯลฯ

โดยพิธีการสร้างแบ่งเป็น 2 วาระ วาระแรก เป็นพิธีหลอมทอง ณ วิหารพระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา แบบข้ามคืนตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ ต่อเนื่องถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 โดยพระญาณไตรโลกาจารย์ (หลวงพ่อฉาย) วัดพนัญเชิง เป็นประธานจุดเทียนชัย

ไฟที่ใช้จุดเทียนชัยเป็น “ล่อจากแสงอาทิตย์” และได้นำแม่พิมพ์ให้พระเกจิอาจารย์ลงเลขยันต์และปลุกเสกพร้อมมวลสารที่จะจัดสร้างอีกครั้ง หน้าพระพักตร์หลวงพ่อมงคลบพิตร ต่อเนื่องถึงวันรุ่งขึ้นเมื่อได้ปฐมฤกษ์ หลวงปู่จาด วัดบางกระเบา เป็นประธานหย่อนแผ่นเงินจารึกดวงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน กับดวงฤกษ์ลงเบ้า เพื่อหลอมรวมกับทองชนวนและโลหะมงคลต่างๆ

จากนั้น ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยา ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ใส่ทองคำหนัก 1 บาท (ทองคำนี้พระเกจิอาจารย์ได้ลงอักขระปลุกเสกโดยเฉพาะทุกรูป) แล้วหลวงปู่จาดจึงเริ่มเททอง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายๆ รูป ใน 121 รูป ที่ลงอักขระปลุกเสกในการหล่อ ได้เมตตาเข้าร่วมเจริญชัยมงคลคาถา และเมื่อดับเทียนชัยแล้วท่านทั้งหลายยังบริกรรมคาถาปลุกเสกทองที่หลอมเสร็จกับแม่พิมพ์อีกครั้งหนึ่ง

เมื่อการจัดสร้างแล้วเสร็จ วาระที่ 2 เป็นพิธีพุทธาภิเษก ประกอบพิธีในวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ที่เรียกว่า “วันเสาร์ห้า” ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2485 ณ พระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายๆ รูป ใน 121 รูป ที่ลงอักขระปลุกเสกในการหล่อ ได้เมตตาเข้าร่วมพิธีเช่นกัน

กล่าวถึงเหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร ปี 2485 ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มพิมพ์ทรงห้าเหลี่ยม หูในตัว ด้านหน้าเป็นรูปจำลองหลวงพ่อมงคลบพิตร ภายในซุ้มเรือนแก้ว มีอักษรขอมจารึกหัวใจพุทธคุณทั้งเก้า คือ “อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ” ด้านล่างจารึกนาม “พระมงคลบพิตร อยุธยา” ด้านหลังเป็น “ยันต์พระเจ้า 16 พระองค์” ใต้ยันต์ระบุวันเดือนปีที่สร้าง มีจัดสร้างเป็นเนื้อทองแดง เนื้อเงิน และเนื้อทองแดงพระเกศเป็นทองคำ ซึ่งเป็นพระคะแนน

เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่น 2 ปี 2485 ถือเป็นหนึ่งในสุดยอดเหรียญ ซึ่งนอกจากพุทธลักษณะที่งดงามยิ่งแล้ว ขั้นตอนต่างๆ ยังเป็นไปด้วยความใส่ใจและพิถีพิถันอย่างสูง


ในพิธีการปลุกเสกเหรียญปั๊ม(รุ่นนี้)นั้นทาง(วัดมงคลบิตร) ได้ทำการนิมนต์สุดยอดพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของ(จ.อยุธยาและจ.ใกล้เคียง)
ในสมัยนั้นมาเข้าร่วมพิธีการปลุกเสกในครั้งนั้นอีกมากมายหลายท่านด้วยกันครับเช่น
1.หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง
2.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
3.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
4.หลวงพ่อปู่จัน วัดนางหนู
5.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
6.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
7.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง/8.หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง เป็นต้น

ดังนั้นเหรียญปั๊มหลวงพ่อมงคลบพิตร(รุ่นนี้) จึงนับว่าเป็นของดีราคาถูกที่น่าเก็บสะสมมากๆอีกรุ่นหนึ่งของ(เมืองกรุงเก่า)ที่เดียวเชียวครับ เหรียญปั๊มหลวงพ่อมงคลบพิตร(รุ่น2 ปีพ.ศ.2485)เท่าที่พบเนื้อเหรียญจะมีอยู่ด้วยกัน2เนื้อครับ/1.เนื้อเงิน/2.เนื้อทองแดง

ส่วนค่านิยมและราคาเล่นหากันนั้น..ในเหรียญที่มีสภาพความสวยและความสมบูรณ์ใกล้เคียงกัน..เหรียญปั๊ม(เนื้อเงิน)จะเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมและมีราคาเล่นหากันสูงกว่า

เหรียญปั๊ม(เนื้อทองแดงรมดำ)ครับ ปัจจุบันเหรียญปั๊มหลวงพ่อมงคลบพิตร(รุ่น2ปีพ.ศ.2485) ที่มีสภาพสวยสมบูรณ์มากๆโดยเฉพาะเหรียญปั๊ม(เนื้อเงิน)ราคาต้องว่ากันที่หลักหมื่นกลางๆขึ้นไป

ขอขอบคุณข้อมูลจากคุณป๋อง สุพรรณครับ








995.เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก จ.อุตรดิตถ์ รุ่นแรก ปี13 เนื้อทองแดง สุดยอดเหรียญยอดนิยม อันดับต้นๆ ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ประสบการณ์มากมาย
เป็นที่หวงแหนของคนเมืองพิชัย สภาพสวยครับ
  เปิดบูชา 5000- ในพื้นที่สภาพนี้ แพงกว่านี้แน่นอนครับ












ขอจองครับ



997.เหรียญดาวใหญ่ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี คณะศิษย์สิงห์บุรี สร้างถวาย เมื่อปี 2519  จัดเป็นเหรียญนิยมรุ่นนึงของหลวงพ่อ สวยๆ 700-
ปิดท่านj999ครับ
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 19, 2019, 10:44:05 AM โดย thesun »



998.พระสมเด็จ 9 มงคล หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต หนองคาย พิมพ์พิเศษกรรมการ โรยมวลสาร และ เกศาเยอะมาก 1000-
ปิดท่านj999ครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 19, 2019, 10:44:23 AM โดย thesun »




 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi