[Thesun]พระกรรมฐานพ่อแม่ครูอาจารย์และพระเกจิอาจารย์ทั่วไป(อ่าน 672861 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

683.พระเนื้อผง รุ่นมหาลาโภ  หลวงปู่สิม พุทธาจาโร  ปี17 พร้อมกล่อง + จีวร สภาพสวยสมบูรณ์ 700-

-วัดมัชฌันติการาม(วัดน้อย) ได้ขออนุญาตจัดสร้างเพื่อหาปัจจัยก่อสร้างศาลาบำเพ็ญกุศล โดยหลวงปู่ได้ปลุกเสกให้เป็นกรณีพิเศษ
เนื่องจากเป็นวัดฝ่ายธรรมยุตินิกายและเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมเป็นสาขาหนึ่งของวัดบวรนิเวศวิหาร
-กล่องชุดกรรมการจัดสร้างไม่เกิน 100 ชุด ชุดละ 6 องค์มีดังนี้

1.พระปิดตามหาลาโภเนื้อเงิน
2.พระปิดตามหาลาโภเนื้อนวโลหะ
3.พระเนื้อผงรูปเหมือนครึ่งองค์
4.เหรียญมหาลาโภเนื้อเงิน
5.เหรียญมหาลาโภเนื้อนวโลหะ
6.เหรียญมหาลาโภเนื้อทองแดง

รายละเอียดจำนวนการจัดสร้างในพิธีชุดมหาลาโภมีดังนี้ :
เหรียญรุ่นมหาลาโภ
-เนื้อเงิน จำนวนไม่เกิน 100 เหรียญ
-เนื้อนวโลหะ จำนวน 300 เหรียญ
-เนื้อทองแดง จำนวน 10000 เหรียญ
พระปิดมหาลาโภ
-เนื้อเงิน จำนวนไม่เกิน 100 องค์
-เนื้อนวโลหะ จำนวน 2000 องค์
พระเนื้อผง
-พระปิดตามหาลาโภ จำนวน 1000 องค์
-พระเนื้อผงรูปเหมือนครึ่งองค์ 1000 องค์



ประวัติวัดมัชฌันติการาม(วัดน้อย)

วัดมัชฌันติการาม เป็นวัดราษฎร์ เป็นวัดของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตินิกายหน้าวัดติดกับคลองบางเขนใหม่โดยมีซอยวงศ์สว่าง 11 ผ่านเขตแยกวัดกับโรงเรียนวัดมัชฌันติการามอยู่คนละฝั่งซอย เลขที่วัด 102 วัดมัชฌันติการาม ถนนวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ

เจ้าจอมมารดาเที่ยง ผู้ได้ให้การอุปถัมภ์ในการสร้างวัด เริ่มต้นนั้นไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด มีผู้สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เจ้าจอมมารดาเที่ยง เจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ 4 ทรงเข้ามาอุปถัมภ์ในปีพุทธศักราช 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดมัชฌันติการาม” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ เจ้าจอมมารดาเที่ยง ผู้ทรงอุปถัมภ์ต่อการสร้างวัด

การตั้งชื่อวัดนั้นก็เนื่องมาจาก เจ้าจอมมารดาเที่ยงเป็นผู้อุปถัมภ์ ในรัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “มัชฌันติการาม” ตามชื่อของผู้อุปถัมภ์ในการสร้างวัด คือ มัชฌันติก และอารามซึ่งแปลมาตัวว่า เที่ยง และ วัด เมื่อรวมกันจึงแปลได้ว่า “วัดของเจ้าจอมมารดาเที่ยง” คนส่วนมากชอบเรียกว่า วัดน้อย เพราะง่ายต่อการออกเสียงกว่าคำว่าวัดมัชฌันติการาม

สันนิษฐานว่าการเรียกวัดน้อยนี้ เพราะเป็นวัดของเจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ 4 ซึ่งให้การอุปถัมภ์ ชาวบ้านทั่วไปถือว่า เป็นนางสนม เพื่อให้เข้าใจง่ายคู่กับวัดหลวง ซึ่งเป็นวัดของภรรยาหลวงให้การอุปถัมภ์เช่นเดียวกัน (อยู่ในซอยถัดไป ปัจจุบันวัดหลวงไม่มี เหลือแต่ที่ดินของวัด ซึ่งสำนักงานศาสนสมบัติ สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้ดูแลอยู่)

เนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวกในสมัยก่อน จึงมีพระอยู่จำพรรษาไม่กี่รูปต้องไปนิมนต์พระจากวัดอื่นมาอยู่จำพรรษาเช่น วัดราชาธิวาส วัดปทุมวนาราม วัดราชบพิธ และวัดบวรนิเวศวิหาร จนต่อมามีการตัดถนนวงศ์สว่างผ่านด้านหลังวัด ทางวัดพร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกา มีลุงแม้น-ป้าทองใบ ใบสนและราษฎรผู้มีจิตศรัทธา ช่วยกันบริจาคที่ดินตัดถนนเข้าวัดในสมัยพระครูวิจิตรธรรมสาร (อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 7)

หลังจากนั้นทางวัดได้ขออนุญาตเปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกนักธรรมและบาลีขึ้น โดยเป็นสาขาของวัดบวรนิเวศวิหาร
 จึงเป็นเหตุให้มีพระภิกษุสามเณรเข้ามาศึกษาเล่าเรียนเป็นจำนวนมาก ในแต่ละปีมีพระภิกษุสามเณรสอบได้ทั้งนักธรรมและบาลีเป็นจำนวนมาก
 จนได้รับการยกย่องจากพระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ตลอดมา












684.เหรียญปิตุภูมิ หลวงพ่อสุด วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร ออกวัดศรีมงคล จ.ร้อยเอ็ด ปี22 สวยๆ นิยม 800-
เหตุที่ชื่อรุ่นปิตุภูมิ  เพราะเหรียญรุ่นนี้ท่านเมตตตาให้ออกวัดบ้านเกิดของท่าน เดิมทีท่านเป็นคนร้อยเอ็ด ไม่ใช่คนสมุทรสาคร
จัดเป็นรุ่นที่นิยมเหรียญหนึ่งของท่านที่ลูกศิาย์ตามเก็บ

เหรียญหลวงพ่อสุดวัดกาหลง รุ่นปิตุภูมิ เนื้อทองแดง ออกวัดศรีมงคล จ.ร้อยเอ็ด มีโค๊ด สวยมากครับ สวยๆ เดิม แท้ๆ ตอกโค๊ดที่สังฆาฏิ
หลวงพ่อสุดวัดกาหลง ท่านดังทางด้าน คงกระพัน มหาอุดครับ ที่โด่งดังมากที่สุดก็คงในเรื่องท่านเป็นพระที่จอมโจรตี๋ใหญ่นับถือ เคารพบูชา ตามข่าวที่เคยโด่งดังกันมา เหรียญนี้เป็นรุ่นปิตุภูมิ ปี 2522 หลวงพ่อท่านสร้างที่วัดกาหลงแล้วท่านค่อยเอาไปแจกที่บ้านเกิด ที่ร้อยเอ็ด เนื่องในงานผูกพัทธสีมาวัดโพธิ์ไทร (วัดศรีมงคล) จ.ร้อยเอ็ด



บทความจากนิตยสารหญิงไทย ฉบับที่ 662 ปีที่ 28 ปักษ์แรก เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546
มี ข่าวดังทางหน้าหนังสือพิมพ์ รายวันหลายฉบับสมัยก่อน เกี่ยวกับศพของ พระครูสมุทรธรรมสุนทร หรือ “หลวงพ่อสุด" อดีตเจ้าอาวาสวัดกาหลง เกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเคยเป็นอาจารย์ของ “ตี๋ใหญ่” ที่มีพิธีพระราชทานเพลิงศพไปเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2545 ที่วัดกาหลง
เนื้อข่าวน่าสนใจที่ว่า ศพของท่านโดนไฟเผาไหม้ไม่หมด แม้ว่าร่างจะเป็นเนื้อหนังกระดูกเผาหมดแล้ว แต่กระดูก หรือ อัฐิยังอยู่ในภาพที่สมบูรณ์มาก ไม่บิ่น หรือแตกร้าว เป็นชิ้นๆ แบบการเผาศพทั่วไป ที่มาแห่งเหตุอัศจรรย์นี้ มีนิมิตเกิดแก่ พระศิษย์เอกของหลวงพ่อสุดรูปหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดกาหลง ท่านเล่าว่า
“ก่อนหน้าที่จะเผาประมาณ 2 เดือน ที่ผ่านมา อาตมาฝันเห็นหลวงพ่อสุดมาบอกว่า ไม่มีใครเผาท่านได้ นอกจากตัวท่านเอง อาตมาเลยถามกลับไปว่า แล้วจะให้ทำอย่างไร ท่านบอก ให้จัดดอกไม้จันทน์มาบายศรีขอขมาไว้และให้อาตมาเป็นคนจุดไฟเผา โดยให้อาตมาจับมือท่าน เผาร่างท่านเอง" อาตมาก็นำเรื่องความฝันไปเล่าให้ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดฟัง
ต่อมาในวัน พระราชทานเพลิงศพ ช่วงพิธีเผาจริง เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสาคร ท่านมาเป็นประธานจุดไฟ ปรากฏว่าเกิดเหตุประหลาดขึ้น เมื่อไฟที่จุดกับดอกไม้จันทน์ดับลงเฉย ๆ ต้องวางเอาไว้อย่างนั้นอาตมาเห็นจึงเข้าไปจุดไฟเผาตามที่ฝันเอาไว้
“ปกติ แล้วศพโดยทั่วไปใช้เวลาเผาประมาณ 2 ชั่วโมงก็ไหม้หมด แต่นี่เวลาเผาท่าน ก็ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ระดับไฟร้อนมากประมาณ 300 องศา ขณะที่เผา ก็จะมีเจ้าหน้าที่ไปกลับร่างท่าน แต่เมื่อได้เวลาราไฟ ปรากฏว่า ยังเห็นร่างของท่านยังอยู่เป็นโครงกระดูกทั้งโครง ทั้งที่เผามานาน”
“ก่อน วันประชุมเพลิงท่าน คณะกรรมการก็ได้เตรียมงานแต่เนิ่น ๆ โดยได้เคลื่อนสรีระร่างของท่านมา หลวงพ่อคล้ายคนนอนหลับ ร่างท่านมีแต่หนังหุ้มกระดูก ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า จีวรเก่าแต่ก็ไม่เปียกคราบน้ำเหลืองเลย ที่เผาท่านเป็นคนสุดท้าย เมื่อเจ้าหน้าที่เปิดให้ดู ก็เห็นภาพที่ว่า ท่านยังเป็นโครงกระดูกอยู่นะ ก็แปลกใจเลยมีคนตะโกนบอกว่า “หลวงปู่ไม่ไหม้” แล้วชาวบ้านก็วิ่งไปดู เพราะชาวบ้านก็ยังไม่กลับ เขาจะรอดูที่ว่ากันว่าหลวงปู่จะเผาไม่ไหม้จะเป็นจริงมั้ย เขาก็เลยอยากพิสูจน์แล้วก็เป็นจริงหนังท่านไหม้แต่กระดูกท่านยังไม่หลุด”
สิ่ง ที่เกิดขึ้นทำให้ชาวบ้านละแวกวัด และประชาชนทั่วไป ที่สนใจมั่นใจมากขึ้นว่า เป็นปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อสุดเพราะท่านสำเร็จ วิชาอยู่ยงคงกระพันชาตรี ศาสตร์ลี้ลับที่ทำให้สังขารของท่านไม่อาจเผาให้ไหม้หมดอย่างคนธรรมดาทั่วไป ได้...
ตามประวัติของหลวงพ่อสุดแห่งวัดกาหลง จ.สมุทรสาคาเจ้าตำรับ ยันต์ตะกร้อ และ เสือเผ่น ท่านเป็นชาวอำเภอพนมไพร จ.ร้อยเอ็ด เกิดในตระกูลชาวนา ในสมัยราชกาลที่ 5 ท่านบวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ 16 ปี ที่วัดกลางพนมไพร จ.ร้อยเอ็ด แล้วเดินทางรอนแรมจากร้อยเอ็ด ไปแสวงหาวิชา และ ความรู้ในทางธรรมตามที่ต่าง ๆ จนกระทั่งได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดกาหลง จนมรณภาพ
เรื่องราวของหลวงพ่อสุดเกี่ยวกับพลังอำนาจจิต ที่อยู่ในรูปการสักยันต์ตะกร้อ และเสือแผ่นนั้น โด่งดังมาก แม้แต่ “ตี๋ใหญ่” ขุนโจรชื่อดัง ที่เขาลือกันว่าหนังเหนียว และแคล้วคลาดอยู่ตลอดยังนับถือ ไปมาหาสู่หลวงพ่ออยู่บ่อยๆ “ตี๋ใหญ่” มีของดี คือ มีผ้ายันต์ กับ ตะกรุดของหวงพ่อสุดไว้ป้องกันตัว ขนาดถูกตำรวจเป็นร้อยล้อมจับก็ยังหนีเอาตัวรอดไปได้ จนใคร ๆ ลือกันว่าตี๋ใหญ่มีวิชาล่องหนหายตัวได้!
มีเรื่องเล่าถึงวันที่ “ตี๋ใหญ่” สิ้นชื่อ คือ วันนั้น ก่อนที่จะหนีไปหลบซ่อนตัว “ตี๋ใหญ่” ให้ลูกน้องขับรถพามาหาหลวงพ่อสุดที่วัดกาหลง แต่มาแล้วไม่พบหลวงพ่อ จึงกลับออกมา ระหว่างที่รถวิ่งออกมา ก็โดนถล่มจากเจ้าหน้าที่ทั้งสองข้างทาง นับไม่ถ้วนว่ากี่นัด
จะเห็น ว่าคนเราเมื่อดวงขาด มันก็ต้องมีอันเป็นไป และเหตุที่ตี๋ใหญ่มาหาลวงพ่อสุดนั้น เป็นเพราะว่า พวงพระและตะกรุดของตี๋ใหญ่หายไป ก็เลยจะมาขอใหม่จากหลวงพ่อ จึงมาพบจุดจบในวันนั้น หลายคนกล่าวว่าถ้าผ้ายันต์ กับ ตะกรุดยังอยู่ ตี๋ใหญ่อาจจะยังไม่ตาย แต่ถึงอย่างไรตี๋ใหญ่ก็ก่อกรรมทำเข็ญไว้มาก พลังอำนาจจิตหรืออิทธิฤทธิ์ใดๆ ก็มาอยู่ “เหนือกรรม” ไม่ได้ สุดท้ายตี๋ใหญ่ก็ต้องจบชีวิตลง ท่ามกลางการสาปแช่งของผู้คน และใครจะรู้ว่านั้นเป็นสิ่งที่หลวงพ่อสุดกำหนดให้เป็นไปด้วยหรือไม่

ปัจจุบันทางวัดกาหลง จ.สมุทรสาคร ได้นำร่างที่เป็นโครงกระดูกของ หลวงพ่อสุด บรรจุไว้ในโลงแก้ว ตั้งให้ประชาชนไปกราบนมัสการอยู่ที่ชั้นสอง ของศาลาการเปรียญภายในวัดซึ่งทุกวัน จะมีประชาชนและลูกศิษย์ที่เลื่อมใสแวะเวียนไปกราบเสรีระร่างของท่านไม่ขาด สาย



 หลวงพ่อสุด ท่านเป็นชาว อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด เกิดจากตระกูลชาวนา บิดาชื่อ นายมาก มารดาชื่อ นางอ่อนศรี เกิดวันที่ ๗ พฤษภาภาคม ๒๔๔๕ ตรงกับ วันพุธ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล ณ บ้านค้อใหญ่ ตำบลคำไฮ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ในแผ่นดินของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีพี่น้อง ๓ คน คือ ๑.นางบุตรดี มูลลิสาร ๒.นางสาวหวด สัตตัง ๓.พระครูสมุทรธรรมสุนทร

              ต่อมาเมื่ออายุ ๑๖ ปี หลวงพ่อได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ ที่วัดกลางพนมไพร อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด พระครูเม้า เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้เป็นอาจารย์องค์สำคัญที่หลวงพ่อให้ความเคารพนับถืออย่างมาก ก่อนหน้าที่จะบวชเณร หลวงพ่อได้รับวิทยฐานะสำเร็จชั้นประถมปีที่ ๓ จากโรงเรียนวัดคำหยาด ต.คำไฮ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด บวชเณรได้ระยะหนึ่ง หลวงพ่อก็เดินทางรอนแรมจากร้อยเอ็ดมุ่งเข้าสู่กรุงเทพ เพื่อแสวงหาความรู้ทางธรรมจากสำนักเรียนในกรุงเทพ เข้าใจว่า หลวงพ่อคงจะมาบวชเป็นพระที่วัดกาหลง นี่เอง ทั้งนี้เพราะใน พ.ศ. ๒๔๘๑ อายุได้ ๓๖ สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดกาหลง

             ตอนที่ท่านไปศึกษาหาความรู้ทางพระพุทธศาสนาและวิชาอาคมในที่ต่างๆ จากพระอาจารย์หลายท่าน อาทิ หลวงปู่เม้า วัดกลางพนมไพร (วัดกลางอุดมเวทย์ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ในปัจจุบัน) (พระที่บวชให้ท่านในสมัยตอนเป็นเณร) หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ(สำหรับหลวงพ่อรุ่ง ในปี ๒๔๘๔ หลวงพ่อสุดเป็นเจ้าคณะตำบล หลวงพ่อรุ่งได้จัดเหรียญรุ่นแรกของท่านหลวงพ่อสุดได้อยุ่ในการร่วมสร้าง เหรียญนี้ด้วยเช่นกัน) หลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม (เป็นพระที่หลวงพ่อสุดนับถือมาก) เป็นต้น ในสมัยที่หลวงพ่อสุดนั้นยังมีสังขารอยู่ ท่านได้ร่วมกิจนิมนต์ หลายพิธีไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ครั้ง หรือมากกว่า เช่นพิธี ปลุกเสกพระพุทธ ๒๕ ศตวรรษ และในทางหนึ่งท่านคือผู้เมตตา ให้ของขลังแก่ตี๋ใหญ่ จอมโจรชื่อดังในอดีต

หลวงพ่อสุด ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย รักสันโดษมีความเป็นอยู่เรียบง่าย ยึดพรหมวิหารและสังคหวัตถุธรรมเป็นหลักปฏิบัติ ได้บำเพ็ญศาสนกิจอันเป็นหิตานุหิตประโยชน์เพื่อความเจริญรุ่งเรือง เพื่อความวัฒนาสถาพรแก่พระพุทธศาสนาและปวงชนอย่างแท้จริง พ.ศ.๒๕๒๑ ได้อาพาธด้วยโรค โพรงจมูกอักเสบ ได้เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร หลังจากออกจากโรงพยาบาลแล้ว ได้กลับมาปฏิบัติศาสนกิจตามปกติ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๔ หลวงพ่อสุด ท่านได้อาพาธด้วยโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ได้เข้าพักรักษาตัวและทำการผ่าตัดกระเพาะที่โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล ถนนพหลโยธิน กทม.

          หลังจากออกจากโรงพยาบาลเปาโลแล้ว ได้กลับมาปฏิบัติศาสนกิจ ณ วัดกาหลง ตามปกติ และเนื่องด้วยหลวงพ่อชราภาพมาก สุขภาพไม่แข็งแรง ร่างกายอ่อนเพลีย เดินไม่สะดวก เจ็บออดๆแอดๆ เรื่อยมา ครั้น ถึง วันอาทิตย์ ที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๖ ตรงกับ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน เวลา ๑๓.๑๕ น. หลวงพ่อสุด สิริธโร ก็ได้ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุได้ ๘๑ ปี ๓ เดือน ๘ วัน ยังมาซึ่งความเศร้าโศกและอาลัยรักของบรรดาศิษยานุศิษย์และผู้ใกล้ชิดทั้งใกล้และไกลเป็นอย่างยิ่ง










685.พระผง รุ่นแรก หลวงปู่บัวพา ปัญญาภาโส วัดป่าพระสถิตย์ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ปี22 พระผงรุ่นแรกและรุ่นเดียวของ หลวงปู่บัวพา  ใช้แบบพิมพ์เหรียญรุ่นแรก ปั้มกด มือเองที่กุฏิท่าน พุทธาภิเษกพร้อมกับเหรียญรุ่นแรก ของหลวงปู่
และพิธีเดียวกันกับ เหรียญรุ่น๒ ของหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ หายาก พบเห็นน้อยกว่าเหรียญอีกนะครับ นานๆเจอที
900- ปิดครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 25, 2018, 02:40:31 PM โดย thesun »



686.พระผงหน้าฤาษี พิมพ์ย้อนยุค เนื้อผงพุทธคุณ ผสมว่าน+เกศา หลวงปู่เรือง อาภัสสะโร วัดเขาสามยอด จ.ลพบุรี 300-






687.เหรียญพระพรหมเอราวัณ หลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง จ.ชลบุรี ปี20 เหรียญยุคต้นๆของหลวงพ่อ
ประสบการณ์ด้านคุ้มครองป้องกัน และการอธิษฐานขอเรื่องโชคลาภค้าขาย เป็นที่ยอมรับกันว่าดีเยี่ยมครับ สภาพสวยแชมป์
500-






688.พระกริ่งชินบัญชร กริ่งรุ่นแรกหลวงปู่ตาล(ผีกลัว) วรธัมโม วัดป่าดอนตาล จ.สกลนคร เนื้อชนวนผสมมวลสาร และชนวนกริ่งชินบัญชร สร้างน้อย 1,200-














689.พระสมเด็จ รุ่นแรก หลวงพ่อขันตี ญาณวโร วัดป่าม่วงไข่ จ.เลย  ปี 2545  กล่องเดิม สร้างน้อย 700-
จัดทำในวาระ หลวงพ่ออายุ ครบ 5 รอบ แจกลูกศิษย์ในงานมุทิตาจิต เนื้อผงพุทธคุณผสมข้าวก้นบาตร หลวงพ่อสร้างเอง กดมือเองภายในวัด หายาก นิยมในหมู่ลูกศิษย์ครับ








670.พระกริ่งชินบัญชร กริ่งรุ่นแรกหลวงปู่ตาล(ผีกลัว) วรธัมโม วัดป่าดอนตาล จ.สกลนคร เนื้อชนวนผสมมวลสาร และชนวนกริ่งชินบัญชร สร้างน้อย องค์นี้หลวงปู่เมตตาจาร
ให้พิเศษ หลวงปู่จารมีไม่กี่องค์ครับ พร้อมลูกแก้วสารพัดนึก
1,600-












671.ล็อคเก็ตรุ่นแรก มงคลอุดมทรัพย์ หลวงปู่ทองบัว วัดโรงธรรมสามัคคี  จ.เชียงใหม่ ด้านหลังบรรจุ พลอยเสก เกศา อังสะ ตะกรุดเงินจารมือ 900-

ประวัติพระอาจารย์ทองบัว ตันติกโร(พระราชพุทธิมงคล) พระอาจารย์ทองบัว เกิดเมื่อ วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 แรม 15 ค่ำ เดือน 3 ปีระกา (ตรงกับวันมาฆบูชา) เวลา 6.00 น. ที่บ้านหนองผักแว่น ตำบลห้วยโปร่ง อำเภอโคกสำโรง จังหวัด ลพบุรี ในสกุล “บุตรศรี” แต่ครั้งเมื่อไปแจ้งที่อำเภอทางอำเภอเขียนผิดเป็น “พุทธศรี” ซึ่งมีความหมายว่า เป็นศรีหรือมิ่งขวัญแก่บวรพุทธศาสนา ตั้งแต่บัดนั้นมาโยมบิดาชื่อนาย โมทย์ โยมมารดาชื่อ นางสีดา มีพี่น้องร่วมท้องกัน 12 คน เป็นชาย 6 คน หญิง 6 คน ส่วนท่านเป็นบุตรคนที่ 9 เมื่ออายุได้ 6-7 ขวบ โยมมารดาถึงแก่กรรม จึงได้ย้ายครอบครัวไปอยู่ยังจังหวัด ขอนแก่น และเมื่ออายุได้ 9 ขวบ จึงได้ไปเรียนหนังสือไทยที่โรงเรียนบ้านยางคำวิทยาทาน วัดสวรรค์คงคา บ้านยางคำ จนจบชั้นประถม เมื่อจบเรียนแล้ว ได้บวชเป็นผ้าขาวรักษาศีลอุโบสถ บริโภคอาหารวันละมื้อเดียว นุ่งขาวห่มขาว และบำเพ็ญสมาธิ ติดตามกับพระภิกษุพี่ชายจนออกพรรษา เมื่อปี 2482 เมื่ออายุของท่านได้ 18 ได้บวชเป็นสามเณร โดยมีท่านเจ้าคุณพระพิศาลคณานุกิจ ศิษย์พระอาจารย์มั่นเป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วได้บำเพ็ญสมณธรรมกัมมัฐฐาน หัดวิปัสสนาเป็นเวลา 3 ปี กับพระอาจารย์ท่านเจ้าคุณพิศาลคณานุกิจ เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์(จูม พันธุโล) ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ท่านอาจารย์ทองบัวมีอายุได้ 21 ปีเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ผู้เป็นอาจารย์นำตัวไปฝากอุปสมบท ณ วัดมหาชัย อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี (พระอาจารย์มั่นเคยจำพรรษาอยู่) โดยมีพระพิศาล คณานุกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์มีท่านอาจารย์ตาลเป็นพระกรรมวาจารย์ เมื่ออุปสมบทเป็นที่เรียบร้อยแล้วได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองแวง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ได้เรียนปริยัติธรรมและกรรมฐานควบคู่กันไป จนจบชั้นนักธรรมเอก ภายหลังพระอาจารย์มั่นกลับออกจากเชียงใหม่ในปี 2482 และเดินทางกลับสู่ภาคอีสาน สู่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดอุดรธานีแล้ว ในปีพ.ศ. 2485-2486 ได้พักจำพรรษาที่วัดสำนักป่าบ้านนามน จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นที่สงบวิเวกดีมาก โอกาสนี้เองที่พระ อาจารย์ทองบัว ตันติกโร ได้ถวายตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ณ.สำนักป่าบ้านนามนนั่นเอง ได้ศึกษาฟังธรรมเทศน์ธรรมและฝึกปฏิบัติ นอกจากนี้ยังได้ฝึกบำเพ็ญกรรมฐานร่วมกับพระอาจารย์จันทร์ เขมปนัตโต(อดีตจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง) , พระอาจารย์ชอบ ฐานะสโม , และพระอาจารย์ตื้อ วจลธัมโม นอกจากได้เรียน ปฏิบัติกรรมฐานจากพระอาจารย์มั่นแล้ว ยังมีโอกาสธุดงค์ติดตามท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ไปจังหวัดนครพนม และได้ธุดงค์ไปดอยเก้า กุฉินนารายณ์สถานที่อันศักสิทธิ์กับท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ แม้แต่พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ศิษย์องค์แรกของพระอาจารย์มั่น ก็มีความเอ็นดูพระอาจารย์ทองบัวมาก ครั้งหนึ่งพระอาจารย์สิงห์เคยหยอกล้อ โดยใช้มือขวาของท่านลูบคางพระอาจารย์ทองบัว เมื่อในปี 2485 พระอาจารย์ทองบัวยังได้มีโอกาสศึกษากรรมฐานกับพระอาจารย์กงมา และภายหลังในปี 2493 ยังมีโอกาสศึกษากรรมฐานกับพระอาจารย์ตื้อ อจลธัมโม หลวงปู่แหวน สุจิณโณ และพระอาจารย์สิม พุทธจาโร ผลแห่งการบำเพ็ญภาวนารักษาศีล ปฏิบัติวิปัสสนา กัมมาฐานเป็นเวลานานถึง 34 ปี(ในตอนนั้น) จึงได้มีสมาธิที่แก่กล้า อีกทั้งความมานะบากบั่นในการบำเพ็ญภาวนา ดังนั้นจึงต้องถูกนิมนต์ไปนั่งปรกบริกรรมภาวนาในพิธีพุทธาภิเษกเสมอมามิได้ขาด กิตติศัพท์ชื่อเสียงของพระอาจารย์ทองบัว ในการอฐิธานจิตในวัตถุมงคลใดแล้วเล่าจะบังเกิดสิ่งมหัศจรรย์แก่ผู้ที่ศรัทธา พุทธคุณในด้าน แคล้วคลาดและเมตามหานิยมสูง บ่อยครั้งที่มีการสร้างพระเครื่องวัตถุมงคลของสายวัดป่า อาธิพระเครื่องหลวงพ่อประสิทธิ์ วัดป่าหมู่ใหม่ พระเครื่องหลวงปู่สิม พระเครื่องหลวงปู่แหวน หลวงปู่ตื้อ และอื่นอีกมากมาย ท่านก็ไม่เคยปฏิเสธที่จะไม่ร่วมอธิฐานจิตหรือจารแผ่นยันต์ หรือเสกมวลสารเลย หลวงปู่ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโรงธรรมสามัคคีตั้งแต่ปี 2493 เป็นต้นมา ตลอดใต้ร่มกาสาวพัตร หลวงปู่ท่านได้ถือเพศบรรพชิต นับตั้งแต่นาทีแรกของการบรรพชาอุปสมบท จนถึงปัจจุบัน ปฎิบัติข้อวัตรตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ครูอาจารย์ได้ประพฤติเป็นแนวทางไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการทำวัตร สวดมนต์ บำเพ็ญภาวนาปฎิบัติศาสนกิจส่วนตนและส่วนรวม ท่านทำไม่เคยจน ตราบจนถึงวันที่ท่านได้ละสังขาร ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2554 จวบได้ 90 ปี 68 พรรษา (ตรงกับวันวิสาขบูชา)







« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 25, 2018, 11:28:28 AM โดย thesun »



672.ชุดเหรียญหล่อรัตนหนุนดวง 102 ปี หรือเรียกว่า เหรียญโอลิมปิก หลวงปู่ชม โอภาโส วัดสามัคคี จ.หนองคาย 4 เหรียญ 1600-
4 เหรียญ ประกอบด้วย
1.เนื้อนวโลหะ
2.เนื้อตะกั่ว ผสมวัชระธาตุ
3.เนื้อทองแดง
4.เนื้อทองเหลือง












673. พระผงพิมพ์รูปเหมือน หลวงพ่อเอีย กิตฺติโก วัดบ้านด่าน จ.ปราจีนบุรี ปี 19 รุ่นที่ระลึกสรงน้ำ เนื้อผงพุทธคุณ องค์นี้สวยแชมป์ เนื้อขาวสะอาด
หน้าตาติดชัด ส่วนมากจะเจอไม่สวย หน้าตา จมูก ปาก ติดไม่ชัด มาพร้อมตลับพุกอย่างดี
1200-














674.พระแก้วพุทธาจาโร หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง พิธีเดียวกับ ล๊อคเก็ตพุทธาจาโร และยังถวายให้พระสุปฏิปัณโณ อธิฐานจิตอีกรูป หลายวาระ หายาก นานๆเจอที
ของดีที่ไม่ควรมองข้าม
1000- ปิดท่านวันชัยครับ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 17, 2018, 10:26:10 AM โดย thesun »



685.พระผง รุ่นแรก หลวงปู่บัวพา ปัญญาภาโส วัดป่าพระสถิตย์ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ปี22 พระผงรุ่นแรกและรุ่นเดียวของ หลวงปู่บัวพา  ใช้แบบพิมพ์เหรียญรุ่นแรก ปั้มกด มือเองที่กุฏิท่าน พุทธาภิเษกพร้อมกับเหรียญรุ่นแรก ของหลวงปู่
และพิธีเดียวกันกับ เหรียญรุ่น๒ ของหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ หายาก พบเห็นน้อยกว่าเหรียญอีกนะครับ นานๆเจอที
900-


ปิดครับ



675.ถุงเขียวเหนี่ยวทรัพย์ หลวงปู่หา สุภโร วัดสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว) กาฬสินธุ์







ุึ675.1 ถุงเขียวเหนี่ยวทรัพย์ ประกอบไปด้วย พระสิวลี ปฐวีธาตุ ลูกอมผสมเกศา จีวร เหรียญสลึง 450-







675.2 ถุงเขียวเหนี่ยวทรัพย์ ประกอบไปด้วย พระสังกัจจายน์ ปฐวีธาตุ ลูกอมผสมเกศา จีวร เหรียญสลึง 450-






676.พระผงสมเด็จหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี  ออกวัดถ้ำสิงห์โตทอง ปี17 มวลสารสำคัญคือมีพระวัดพลับที่ชำรุด และแตกหักจากคราวกรุแตก
นอกจากนี้ ยังได้มวลสารสำคัญคือผงจากพระสมเด็จ วัดระฆังฯ อีกจำนวนเล็กน้อย ซึ่งเป็นของฆราวาสบ้านอยู่ใกล้กับวัดระฆังฯ มอบให้หลวงปู่มาเป็นส่วนผสมด้วย 
สวย คากล่อง ของดีราคาเบา
700-ปิดท่านj999

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 26, 2018, 09:45:17 AM โดย thesun »




 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi