พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ(อ่าน 38212 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ทำน้ำมนต์ พระกริ่งแก้วปฏิมากร
ช่วยลูกจากปวดท้องซึ่งสงสัยเป็นไส้ติ่งอักเสบ










ทำน้ำมนต์ พระกริ่งแก้วปฏิมากรช่วยลูกจากปวดท้องซึ่งสงสัยเป็นไส้ติ่งอักเสบ

ลูกชายได้ปวดท้องตอนเช้าวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 เลยให้หยุดเรียนไปกับแม่เค้า แม่เค้ามีประชุมเลยพาไปด้วยแต่อาการก็ไม่ดีขึ้น บ่นปวดมากขึ้นๆ เลยพาไปหาหมอ ตอนเที่ยงที่คลินิกแห่งหนึ่ง หมอตรวจซ้ำหลายๆรอบลูกก็บอกปวดตรงท้องน้อยด้านขวา(ซึ่งเป็นอาการบ่งบอกว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ)

หมอก็กดหลายๆที่ไม่ปวด มาปวดตรงท้องน้อยด้านขวา หมอเลยสงสัยให้ตรวจเลือด ผลเลือดออกมาก็ยังมาตรวจซ้ำลูกก็ยังบอกว่าปวดที่เดิมตรงท้องน้อยด้านขวา

หมอท่านเลยไม่แน่ใจ เขียนใบส่งตัวไปยังโรงพยาบาลพระยุพราชสระแก้ว ซึ่งเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดมีหมอผ่าตัดอยู่ แม่เค้ากังวลมากเลยนัดกันที่บ้าน เตรียมเสื้อผ้าใส่กระเป๋าเตรียมไปโรงพยาบาลตามที่แพทย์แนะนำ

มานัดกันที่บ้าน พอเจอกันก็ถามแม่เค้าว่าหมอแน่ใจแล้วเหรอว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบน่ะ เค้าก็บอกว่าหมอก็ไม่แน่ใจเหมือนกันให้เฝ้าระวังไว้ แต่ผมคิดว่าไม่เป็นไส้ติ่งอักเสบ เหตุผลน่ะเหรอ ก็เมื่อคืนผมทานอะไรเหมือนลูกแล้วตีสี่ก็มาเข้าห้องน้ำ ถ่ายเหลว และเริ่มปวดท้องรู้เลยว่าเป็นลำไส้อักเสบติดเชื้อจากอาหารแน่ เลยทานโยเกิร์ติกับกระเทียม (โยเกิร์ติเค้าว่าเป็นเชื้อโรคดีจะคอยกินเชื้อโรคไม่ดีและรักษาแผลในกระเพาะ ส่วนกระเทียมก็มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคบางอย่างได้) ก็รู้สึกดีขึ้น แต่ตื่นเช้ามาก็ปวดท้องน้อยๆ พอรับได้ ทานยาฆ่าเชื้อและทานโยเกิร์ติอีกก็ดีขึ้น

ดังนั้นจึงคิดว่าลูกก็น่าจะเป็นเหมือนกัน เป็นอาหารเป็นพิษ ติดเชื้อประเภทหนึ่งที่มีฤทธิ์กัดผนังกระเพาะ ลำไส้ แต่ไม่ได้ทำให้ถ่ายมาก แน่ๆผมคิด แต่พูดไปแม่เค้าคงไม่เชื่อ เพราะไปตรวจหมอ หมอเค้าตรวจตั้งหลายรอบและมีผลตรวจเลือดด้วย ผมเลยขอเวลาครึ่งชั่วโมงบอกว่า ขออาราธนาทำน้ำมนต์เหมือนคราวก่อนถ้าไม่ดีขึ้นภายในครึ่งชั่วโมงไปหาหมอที่สระแก้วแน่นอน

ผมจะไม่ค่อยอาราธนาพระ ให้ช่วยเรื่องต่างๆก่อน ต้องพยายามทำให้สุดความสามารถก่อนแล้วจวนตัวหรือเรื่องนั้นมีปัญหาใหญ่ถึงอาราธนาพระให้ช่วย เหมือนเรื่องไม่สบายก็ต้องไปหาหมอก่อน แล้วไม่ดีขึ้นหรือไม่แน่ใจถึงอาราธนาทำน้ำมนต์ เพราะพระพุทธเจ้าท่านสอนเสมอว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เพราะแม้แต่พระพุทธเจ้าในยามปกติถ้ามีหมออยู่เวลาท่านไม่สบายท่านก็ให้หมอชีวกโกมาภัจจ์รักษา เว้นแต่ในที่ห่างไกล ไม่มีหมอ ท่านถึงใช้พุทธานุภาพรักษา

ก็อาราธนาพระกริ่งแก้วปฏิมากร สวดนะโม 3 จบ อิติปิโส 1 จบอาราธนา พระกริ่งแก้วปฏิมากร หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อเกษม ขอให้แสดงผลให้ชัดเจนว่าเป็นอะไร ขอให้ปวดน้อยๆ พอรับได้ ว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ หรือ กระเพาะอักเสบ ลำไส้อักเสบกันแน่(ที่ไม่อาราธนาให้หายปวดเลยเพราะกลัวเป็นไส้ติ่งหายปวดแล้วเป็นจริงจะเป็นอันตรายได้) แล้วให้ลูกดื่มน้ำมนต์ แต่ลูกก็ดื่มได้ไม่มากประมาณ สอง สามอึก แล้วเหมือนลูกเค้าเพลีย เพราะไม่ได้ทานอะไร หมอให้เตรียมตัวไม่ให้ทานอะไรก่อนผ่าตัด น่ะครับ ลูกเลยขอตัวนอน เค้าก็นอนหลับได้ซักพักประมาณ หนึ่งชั่วโมง

ตื่นมาอาการปวดท้องหายเป็นปลิดทิ้ง หิวเลยขออะไรทาน ผมเลยของอ่อนๆ ให้ทาน ก็ไม่ปวดท้อง ผมเลยลองดูว่าเป็นอะไรกันแน่ นำน้ำมนต์ผสมน้ำแดงยี่ห้อหนึ่ง ให้ลูกดื่ม ผลคำแรกลูกบอกปวดท้องหน่อยๆ ผมเลยถามปวดตรงไหนครับ ลูกบอกปวดตรงกลางท้องผมถามเลยสะดือไหม บอกเลยครับ แม่เค้าก็ถามย้ำอีกทีผลก็เหมือนเดิม เลยปรึกษากันว่าเฝ้าระวังที่บ้านนี่แหละ หลังจากนั้นก็ปวดตอนสองทุ่ม ครั้งหนึ่ง สี่ทุ่มอีกครั้งหนึ่งแต่ปวดน้อยพอรับได้แล้ว

รุ่งเช้าเลยหาหมอท่านใหม่ อธิบายถึงอาการปวดท้อง หมอเลยบอกอาหารเป็นพิษ ให้ยามาทาน อีกสองวันก็หายปวดไปเรียน ขากลับพาไปกินไก่ทอดได้ พุทธานุภาพพระกริ่งแก้วปฏิมากร หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อเกษม ช่วยแน่นอนครับถึงหายเร็วขนาดนี้ และเป็นข้อพิสูจน์ว่าพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ผ่านพลาสติกได้แน่นอน เพราะผมก็อาราธนาทั้งที่หุ้มพลาสติกนี่แหละครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 02, 2022, 01:53:23 PM โดย porpek »



พระกริ่งมหาสิทธิโชค วัดประสาทบุญญาวาส เนื้อโลหะผสม
ตอกโค๊ดบุญ(มาจากชื่อวัดประสาท "บุญ" ญาวาส)









จากเอกสารใบฝอยวัตถุมงคลวัดประสาทบุญญาวาส
พิธีพุทธาภิเษก ๑๓-๑๔-๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๖
คณาจารย์ร่วมปลุกเสก ๑๐๘ รูป
และจากนิตยสารเซียนพระฉบับที่ ๓๗ เดือนเมษายน  พ.ศ.๒๕๓๙


พระกริ่งวัดประสาทได้ทำการหล่อ ซึ่งเป็นวันมหามงคลคือ”วันมหาสิทธิโชค”ที่โบราณถือกันว่าเป็นวันที่ประกอบกิจการใด มักจะสำเร็จลุร่วงทุกประการและเจริญด้วยโชคลาภผลบริบูรณ์.ด้วยเหตุนี้ทางวัดจึงขนานนามพระกริ่งนี้ว่า”พระกริ่งมหาสิทธิโชค”โดยการจัดสร้างมีพิมพ์พระกริ่งธิเบต พระกริ่งใหญ่ พระกริ่งถือดอกบัว พระกริ่งปางประทานพร พระกริ่งหน้าฝรั่ง  ฯลฯ

เนื้อโลหะประกอบด้วยอักขระยันต์ที่หล่อพระประธานแล้วหลอมไม่ละลาย ในการนี้ได้นิมนต์พระคณาจารย์เจ้าของแผ่นยันต์อาทิ หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา,หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง,หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน,หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช มานั่งกำกับบังคับธาตุให้ละลายทั่วรวมกับเชื่อชนวนต่างๆ เช่น

๑.ชนวนพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ ได้มาจากพระอาจารย์ขาว คณะ๙
๒. ชนวนพระกริ่งปรมานุชิด วัดโพธิ์ท่าเตียน ได้มาจากท่านเจ้าคุณเจีย วัดโพธิ์
๓. ชนวนพระกริ่งของท่านเจ้าคุณธรรมวิสุทธาจารย์ วัดสุทัศน์ฯ   
๔. ชนวนหล่อพระรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิง มียันต์อิติปิโส รัตนมาลาทั้ง๓ห้อง ได้มาจากอาจารย์เจียมวัดไร่ขิงเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๗
๕. ชนวนหล่อพระกริ่งของพระอาจารย์ไสว วัดราชนัดดา พร้อมทั้งชนวนหล่อพระกริ่งนเรศวร จ.พิษณุโลก
๖. ชนวนหล่อพระภูทราวดี ของพลโทประชา บูรณธนิต ได้จากนายตี๋ ช่างหล่อพระ
๗.ชนวนหล่อหลวงพ่อทวดวัดช้างไห้ จ.ปัตตานี พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมฑิฆัมพร มอบถวาย
๘.ชนวนหล่อพระวัดเทวสังฆราช จ.กาญจนบุรี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประธานหล่อ นายช่างฟุ้ง อันเจริญมอบถวาย
๙.ชนวนการหล่อพระประธานและพิธีหล่อ ๙ ครั้งของวัดประสาทบุญญาวาสพร้อมด้วยแผ่นยันต์ปลุกเสกจากพระคณาจารย์ ๖๒๒ องค์
๑๐.ชนวนหล่อพระกริ่งของอาจารย์เทพ สาริกบุตร
๑๑.ชนวนหล่อพระกริ่งวัดสุทัศน์ของนายนิรันดร์ แดงวิจิตร(อดีตพระครูหนู วัดสุทัศน์)และชนวนหล่อพระ ๒๕ พุทธศตวรรษ
๑๒.ชนวนหล่อพระกริ่งวัดราชบพิธ พระอาจารย์เรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ มอบถวาย
๑๓.ชนวนหล่อพระกริ่งวัดชิโนรส (กริ่งสมเด็จพระปรมาณุชิตฯ กริ่งพระพุทธสิหิงค์และกริ่งรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) วัดระฆังฯ)
๑๔.ชนวนหล่อพระกริ่งฟ้าผ่าวัดดอนยานนาวา
๑๕.เนื้อชินกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ มอบถวายให้
๑๖.ชนวนหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดบวรนิเวศน์ พระครูวิมลสรภาณ วัดสุทัศน์ มอบถวาย
เมื่อหล่อสำเร็จแล้วได้นิมนต์พระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงจากทั่วประเทศ  มาทำพิธีปลุกเสก

รายนามคณาจารย์อธิษฐานจิตวัตถุมงคลวัดประสาทบุญญาวาส

อาจารย์ทิม วัดช้างไห้
ลพ.คล้าย วัดสวนขัน
ลพ.ดิษฐ์ วัดปากสระ
ลพ.น้อย วัดธรรมศาลา
ลพ.ใจ และ ลพ. พล วัดวังยายหุ่น
ลป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
ลพ.แดง วัดเขาบันไดอิฐ
ลพ.มุ่ย วัดดอนไร่
ลพ.เงิน วัดดอนยายหอม
ลพ.กวย วัดโฆสิตาราม
ลพ.พรหม วัดช่องแค
ลพ.ทบ วัดชนแดน
ลป.ทิม วัดละหารไร่
ลป.เขียว วัดหรงบล
ลพ.จง วัดหน้าต่างนอก
ลป.ดู่ วัดสะแก
ลป.สี วัดสะแก
ลพ.แพ วัดพิกุลทอง
ลป.นาค วัดระฆังฯ
ลป.หิน วัดระฆังฯ
ลพ.โบ๊ย วัดมะนาว
พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
ลพ.เส่ง วัดกัลยา
ลพ.ถิร วัดป่าเลไลย์
ลพ.เต๋ วัดสามง่าม
ลพ.หน่าย วัดบ้านแจ้ง
ลพ.บุญมี วัดเขาสมอคอน
ลพ.เหรียญ วัดบางระโหง
ลป.เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
ลพ.ครื้น วัดสังโฆ
ลพ.แช่ม วัดนวลนรดิษฐ์
ลพ.นอ วัดกลางท่าเรือ
ลพ.ผล วัดเทียนดัด
ลพ.โด่ วัดนามะตูม
ลพ.ชื้น วัดญาณเสน
ลพ.สุด วัดกาหลง
ลพ.เนื่อง วัดจุฬามณี
ลพ.กี๋ วัดหูช้าง
ลพ.แก้ว วัดช่องลม
ลพ.กัน วัดเขาแก้ว
ลพ.ทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง
ลพ.ฑูรย์ วัดโพิ์นิมิตร
เจ้าคุณเจีย วัดโพธิ์
เจ้าคุณประหยัด วัดสุทัศน์
ลพ.ดี วัดเหนือ
ลพ.แขก วัดหัวเขา
ลพ.ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด
ลพ.ทองสุข วัดสะพานสูง
ลพ.มิ่ง วัดกก
ลพ.เฮี้ยง วัดป่าฯ
ลพ.จวน วัดหนองสุ่ม
ลพ.อั้น วัดพระญาติ
ลพ.เทียม วัดกษัตราธิราช
ลพ.สอน วัดเสิงสาง
ลพ.แทน วัดธรรมเสน
ลพ.เทียน วัดโบสถ์
ลพ.นิล วัดครบุรี
ลพ.บุดดา วัดกลางชูศรี
ฯลฯ


พระกริ่งมหาสิทธิโชคมีพิมพ์หน้าใหญ่ หน้าเล็ก มีบัวหลัง และไม่มีบัวหลัง จะมีแบบไม่ตอกโค๊ด
และมีการตอกโค๊ด ๗ แบบ
๑.ตอกโค๊ดเลข " ๙ "ตอกเฉพาะเนื้อนวโลหะ
๒.ตอกโค๊ดเลข " ๕ " ตอกทั้งเนื้อนวโลหะ และโลหะผสม
ตอกโค๊ดเนื้อโลหะผสม
๓.ตอกโค๊ด "สามง่าม"
๔.ตอกโค๊ด "บุญ"
๕.ตอกโค๊ด "พระปิดตา"
๖.ตอกโค๊ด " ย. "
๗.ตอกโค๊ด "อุ"(แต่ไม่เหมือนอุในพระกริ่งหน้าฝรั่ง)


นอกจากพระกริ่งมหาสิทธิโชคโค๊ด "บุญ" นอกนั้นยืมภาพท่านอื่นๆ มาเพื่อเป็นวิทยาทาน

๑.ตอกโค๊ดเลข " ๙ "ตอกเฉพาะเนื้อนวโลหะ




๒.ตอกโค๊ดเลข " ๕ " ตอกทั้งเนื้อนวโลหะ และโลหะผสม




๓.ตอกโค๊ด "สามง่าม"




๔.ตอกโค๊ด "บุญ"




๕.ตอกโค๊ด "พระปิดตา"




๖.ตอกโค๊ด " ย. "




๗.ตอกโค๊ด "อุ"(แต่ไม่เหมือนอุในพระกริ่งหน้าฝรั่ง)




พระกริ่งวัดประสาทบุญญาวาสพิมพ์หน้าฝรั่งโค๊ด อุ
เทียบ กับโค๊ด อุ พิมพ์มหาสิทธิโชคจะเห็นได้ว่าไม่เหมือนกัน


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 28, 2018, 09:39:01 AM โดย porpek »



รูปหล่อท่านอาจารย์นำ แก้วจันทร์ เนื้อนวโลหะ พิมพ์นิยม ฝาปิดแผ่นเงิน วขีด โรขีด มีตัวที(T)

เคยได้ที่๑จากงานประกวดพระพัทลุง แต่เจ้าของเดิมทำใบประกาศหายไปแล้ว
อุดผง อนันตคุณซึ่งเป็นสุดยอดผงมีคุณวิเศษอนันต์ ของท่านอาจารย์นำ


ฟังจากน้องที่รู้จักสนิทกันเล่าเรื่อง รูปหล่ออาจารย์นำที่คุณสุธน ศรีหิรัญเล่าให้ฟัง ไม่หามาบูชาไม่ได้แล้ว เพราะเป็นความประสงค์ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ เลยท่านเคารพนับถืออาจารย์นำมาก ท่านชายใหญ่ผู้สร้างทราบเรื่องเลยขอสร้างรูปหล่อถวายไปกราบทูลในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระองค์ท่านทรงให้มวลสารเป็นตะกรุดทองคำที่มีผู้มอบถวายพระองค์ท่านหนึ่งกำมือให้นำมาใส่ในรูปหล่อนี้ทุกๆเนื้อ

***ดังนั้นจะเห็นได้ว่าท่านอาจารย์นำท่านถึงยอมยื้อมัจจุราชเพื่อการนี้โดยเฉพาะ และเสกแบบสุดกำลังความสามารถ***

เพื่อน้อมเกล้าถวายพระองค์ท่าน จนลังไม้รูปหล่อแตก รูปหล่อลอยออกมาเต็มที่คลุมผ้าขาวไว้ นี่ถ้าไม่มีผ้าขาวคลุมไว้(ท่านอาจารย์นำให้คลุมผ้าขาวเอง ท่านคงรู้ว่าถ้าไม่คลุมรูปหล่อบินได้แน่ๆ) สงสัยเห็น รูปหล่อบินได้เหมือนท่านอาจารย์เอียดเสกพระมหาว่าน มหายันต์เป็นแน่ทีเดียว

ผมเคยมีองค์หนึ่งได้จากคุณสุธน ศรีหิรัญ ไปพบท่านในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อเพิ่ม วัดกลางบางแก้ว นครปฐมผมยังเรียนมัธยมอยู่เลย คุยถูกคอ ท่านเลยบอกให้ไปหาที่กระทรวงมหาดไทย จะให้รูปหล่ออาจารย์นำเนื้อนวโลหะหนึ่งองค์ และเหรียญพ่อท่านคลิ้ง รุ่นภปร.เนื้อทองแดง หนึ่งเหรียญ ผมก็ไปหาท่านที่กระทรวงมหาดไทย ได้อย่างละองค์จริงๆใจดีมากๆครับ ท่านเป็นไอดอลของผม และเป็นแรงบันดาลใจทั้งในเรื่องพระเครื่อง วัตถุมงคล และการงานผมก็พยายามสอบให้ติดปลัดอำเภอเหมือนท่าน แต่ชีวิตของใครก็ของตนเอง ผมก็เลือกทางเดินของผม รับราชการเหมือนกันแต่คนละตำแหน่ง ส่วนรูปหล่อและเหรียญพี่ชายที่เปิดแผงพันทิพขอไปจะไปทวงคืนก็ชิงตายไปแล้ว หุ หุ เลยต้องหาบูชาใหม่ จัดจีวรห่มให้ท่านเลยครับ








จากนิตยสารเซียนพระ ฉบับที่๗๘ เขียนโดย”สถาพร”

ในการสร้างรูปเหมือนขนาดเล็กของท่านอาจารย์นำ ได้สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙โดยคณะผู้จัดสร้างได้มีความประสงค์นำเอารายได้จากการบูชาไปสร้างถาวรวัตถุในวัดดอนศาลาเป็นการกุศล จึงได้กราบเรียนให้ท่านอาจารย์นำทราบถึงวัตถุประสงค์ในการสร้างครั้งนี้


เมื่อทราบวัตถุประสงค์แล้วท่านอาจารย์นำก็ได้นั่งนิ่งอยู่สักครู่หนึ่งแล้วกล่าวว่า”ถ้าจะสร้างก็ต้องรีบดำเนินการโดยเร็ว เพราะชีวิตอาตมาใกล้เข้ามาแล้ว เกรงจะไม่ทันการ” ทำเอาคณะผู้จัดสร้างนิ่งอึ้งไปตามๆกัน เพราะว่าขณะนั้นท่านอาจารย์นำก็กำลังอาพาธอยู่แล้วท่านอาจารย์นำก็ได้กล่าวต่อไปอีกว่า”การสร้างนั้นเป็นสิ่งดี เพราะจะได้เป็นครั้งสุดท้าย แต่ขอให้รีบทำเถิด” จากนั้นท่านก็ขอให้คณะผู้จัดสร้างนำเอาแผ่นโลหะมาให้ท่านเพื่อที่จะลงยันต์เป็นเชื้อชนวนในการสร้าง หลังจากที่ได้นำเอาแผ่นโลหะจำนวนมากไปให้ท่านอาจารย์นำตามที่ต้องการแล้ว ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๙ คณะผู้จัดสร้างก็ได้เดินทางไปรับแผ่นยันต์จากท่าน ซึ่งแผ่นยันต์เหล่านั้นท่านอาจารย์นำได้ลงไว้อย่างเรียบร้อย และได้กล่าวว่า”ลงให้สุดท้ายแล้ว”.


นอกจากแผ่นยันต์ที่ท่านอาจารย์นำได้ลงจารให้ไว้ ยังมีชนวนศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่อง พร้อมทั้งพระบูชาสมัยเก่าที่ชำรุด และโลหะสมัยบ้านเชียงอีกเป็นจำนวนมากซึ่งคณะผู้สร้างได้นำไปถวายท่านอาจารย์นำปลุกเสกอีกครั้ง ก่อนที่จะทำการหล่อหลอม และท่านก็ได้รับปลุกเสกพร้อมกับกล่าวว่า”ขอให้สร้างให้เสร็จเดือนหน้า เพราะใกล้เต็มที่แล้ว”(หมายถึงเดือนกันยายน) แต่ปรากฏว่า การดำเนินการสร้างในครั้งนั้นไม่อาจที่จะสร้างสิ้นในเดือนกันยายนได้


เพราะการจัดสร้างได้ทำอย่างพิถีพิถันที่สุด คณะผู้จัดสร้างจึงได้เดินทางไปกราบเรียนท่านอาจารย์นำว่า พระยังไม่เสร็จ เมื่อกราบเรียนแล้วปรากฏว่าท่านอาจารย์นำได้นั่งนิ่งไม่พูดว่าอะไร ตามองออกไปข้างหน้าในลักษณะที่ยากจะคาดเดาได้ว่าท่านคิดอย่างไร ทำเอาคณะที่ไปครั้งนั้นอึดอัดใจไปตามๆกัน ท่านนั่งนิ่งอยู่อย่างนั้นประมาณครึ่งชั่วโมง จากนั้นก็กล่าวว่า”เอาเถอะ!อย่าให้เกินเดือนตุลาคม พ่อจะรอ ถ้าเกินจากนั้นไม่รอแล้ว”.


จากนั้นคณะผู้จัดสร้างก็ได้กลับไปดำเนินการสร้างต่อไป ซึ่งในการสร้างได้พิถีพิถันเรื่องเนื้อพระจะต้องออกมาสวยงามจึงต้องเพิ่มทองคำและเงินลงไปอีกจำนวนมาก จนได้เนื้อเป็นที่พอใจ จากนั้นก็ได้เริ่มเทหล่อพระ ซึ่งได้รูปเหมือนขนาดเล็กทั้งหมดเพียง ๑,๖๐๐ องค์เท่านั้น


เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๑๙ พระได้หล่อเสร็จเรียบร้อย จึงได้รีบนำเอาพระไปที่วัดดอนศาลา เมื่อกราบเรียนให้ท่านอาจารย์นำทราบปรากฏว่าท่านรู้สึกดีใจจนเห็นได้ชัด จากนั้นก็ได้นำเอาพระไปวางไว้ในพระอุโบสถวัดดอนศาลา โดยเอาผ้าขาวคลุมพระไว้.ในวันที่๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๙ เมื่อทกอย่างจัดเตรียมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทุกคนก็เห็นว่าท่านอาจารย์นำ ซึ่งนอนมาหลายวันแล้วเพราะอาพาธอยู่ แต่วันนั้น ท่านกลับลุกขึ้นด้วยความสดชื่นกว่าปกติ แล้วก็ได้เข้าไปจุดเทียนชัย และนั่งเข้าสมาธิเพ่งพลังจิตปลุกเสก ร่วมกับพระเกจิอาจารย์ผู้เข้มขลังทางคาถาอาคมของสายใต้เช่น พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง,พ่อท่านหมุน วัดเขาแดง,อาจารย์ พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช ฯลฯเป็นเวลาประมาณสองชั่วโมง


ขณะที่กำลังปลุกเสกอยู่ด้วยความเงียบสงบภายในพระอุโบสถวัดดอนศาลา ท่ามกลางความเงียบที่ทุกคนนั่งชมพิธีอยู่นั้น ได้ปรากฏมีเสียง”เปรี๊ยะ”ดังออกมาจากกองพระเครื่องที่คลุมผ้าขาวในปริมณฑลพิธี แต่เนื่องจากพิธียังไม่เสร็จสิ้นจึงยังไม่มีใครไปเปิดดู. ครั้นเมื่อท่านอาจารย์นำออกจากสมาธิแล้วก็ได้บอกว่า”สำเร็จแล้ว” จากนั้นคณะผู้จัดสร้างก็ได้เข้าไปเปิดผ้าขาวที่คลุมพระเครื่องออกดู เพื่อให้รู้ว่าเสียงดัง”เปี๊ยะ เปี๊ยะ เปี๊ยะ”นั้นมาจากอะไร


และเมื่อเปิดผ้าขาวออก ทุกคนเห็นเป็นที่น่าอัศจรรย์กันทุกคนคือ ลังไม้ที่บรรจุพระเครื่องได้แตกออก และพระเครื่องได้กระจายทั่วไป.การที่พระเครื่องซึ่งบรรจุอยู่ในลังไม้ได้กระจัดกระจายเพราะลังไม้แตกนั้น จะเป็นไปเพราะหาสาเหตุไม่ได้ แต่เป็นไปเพราะพลังจิตที่ท่านอาจารย์นำ และพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมปลุกเสก ได้เพ่งตรงไปรวมที่กองพระเครื่อง และอัดจนแน่น เป็นพลังที่กระทั่งดันลังไม้แตก


หลังจากเสร็จสิ้นพิธีปลุกเสกนั้น บรรดาลูกศิษย์ก็ได้ประคองพาท่านอาจารย์นำกลับกุฏิ เมื่อถึงกุฏิแล้ว ท่านก็ได้บอกกับบรรดาลูกศิษย์ว่า”อีก ๓ วันพ่อจะไปแล้วนะ”.ครั้นเมื่อ ๓ วันผ่านไปจากวันที่ท่านได้บอกบรรดาลูกศิษย์ คือวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๙ ซึ่งเป็นวันกำหนดที่ท่านอาจารย์นำได้บอกลาลูกศิษย์ไว้ เวลากลางคืนบรรดาลูกศิษย์และชาวบ้านหลายคนได้ไปหาท่านที่กุฏิ ซึ่งท่านก็ได้สนทนาและบอกลาลูกศิษย์กับชาวบ้านด้วยใบหน้าปกติและสดชื่น ไม่มีแสดงอาการเจ็บปวดจากการอาพาธแต่อย่างใด


ครั้นเมื่อเวลา ๒๒๐๐ น. ท่ามกลางความมืดของกลางคืน ท่านอาจารย์นำได้กล่าวอำลาบรรดาลูกศิษย์และชาวบ้านเป็นครั้งสุดท้ายด้วยเสียงปกติว่า”พ่อลาแล้ว” จากนั้นท่านก็ล้มตัวลงนอนและละสังขารไปอย่างสงบ และขณะที่ท่านอาจารย์นำได้ละสังขารไปนั้น ท่ามกลางความเงียบสงบของเวลากลางคืน และท่ามกลางความเศร้าโศกของบรรดาลูกศิษย์และชาวบ้านที่อยู่ในเหตุการณ์ ก็ได้ปรากฏเหตุการณ์มหัศจรรย์ขึ้นมาอีก คือได้ปรากฏมีเสียงบรรเลงแตสังข์กังวาลรอบๆบริเวณวัดดอนศาลา ทั้งๆที่บริเวณนั้น ไม่มีบ้านใครจัดงานบรรเลงเลย แล้วเสียงแตรสังข์นั้นมาจากไหน?


จากที่เขียนมานี้ผมคงไม่ต้องมาสรุปอีกแล้วกระมังครับว่า พระอาจารย์นำแห่งวัดดอนศาลา ศิษย์สายเขาอ้อ ท่านผู้นี้น่าเคารพกราบไหว้เพียงใด และรูปเหมือนของท่านรุ่นนี้ ซึ่งเป็นรุ่นแรก รุ่นเดียวและรุ่นสุดท้าย สมควรที่จะนำมาบูชากันได้แล้วใช่ไหมครับ



พระชินราชเนื้อเมฆสิทธิ หลวงพ่อผาง อธิษฐานจิตจนพระลอยออกจากกล่อง

เนื้อเมฆสิทธิเป็นโลหะที่ผสมตามสูตรของการเล่นแร่แปรธาตุ มีคุณสมบัติที่พิเศษอีกอย่างคือ เสริมดวง หนุนดวง แก้ดวงตก มักจะบูชาคู่กันกับ ราหู พระเมฆสิทธิที่นิยมกันก็สำนักหลวงปู่ทับ วัดทอง พระครูลืม วัดอนงค์ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงปู่เนียม วัดน้อย ทั้ง 4 สำนักแพงและหายากของปลอมเยอะ แนะนำรุ่นนี้ซึ่งสามารถบูชาได้เหมือนพระรุ่นเก่าทุกประการ เพราะพลังจิตของหลวงปู่ผาง ไม่ธรรมดาแรงกล้ามาก และพระรุ่นนี้แก้ไขดวงชะตาได้แน่นอน เพราะขนาดองค์พระที่ได้รับการอธิษฐานจิตยังลอยได้เลย ชะตาผู้บูชาจะไม่แก้ไขได้อย่างไร











จากงานเขียนของคุณ เด่น ของขวัญพระเครื่อง

ชินราชองค์นี้เป็นชุดของวัดบึงแก้ว อำเภอชนบท ขอนแก่นแต่ดันเนื้อพระและบล๊อคพิมพ์เหมือนหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม อุดรธานี(ต่างกันที่ของหลวงปู่อ่อน บัวเป็นแบบบัวคว่ำบัวหงายเนื้อจะสีดำกว่า ของหลวงปู่ผางบัวเป็นแบบฟันปลาและเนื้อจะออกเหลืองๆหน่อย) เป็นชุดสร้างอุโบสถของวัดบึงแก้ว เจ้าอาวาสคือ พระครูปิยสารธรรม อดีตเจ้าคณะอำเภอชนบท ฝ่ายมหานิกาย ในปี 2517 - 2548 เกษียณอายุเพราะกฎมหาเถรสมาคมให้เจ้าคณะแขวงหมดวาระเมื่ออายุครบ 80 ปี


สมัยนั้นกำลังก่อสร้างอุโบสถขึ้นแต่ไม่มีปัจจัยในการก่อสร้าง จึงขออนุญาตหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต แห่งวัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ (วัดดุน) ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี ขอนแก่น จัดสร้างวัตถุมงคลของท่านขึ้นเพื่อหารายได้และปัจจัยมาสร้างอุโบสถ


และหลวงปู่ผาง ก็ออกปากอนุญาตและเมตตาเป็นกรณีพิเศษ เพราะสมัยหนึ่งหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต ท่านเคยมาจำพรรษาที่วัดแท่นศิลาทิพย์บัลลังอาสน์ บ้านแท่น ตำบลห้วยแก อำเภอชนบทนั่นเอง และเป็นเจ้าอาวาสที่วัดแท่นศิลาทิพย์นี้ 1 พรรษา และสมภารเจ้าวัดต้องขึ้นตรงต่อคณะสงฆ์อำเภอชนบทนั่นเอง เจ้าคณะอำเภอชนบทฝ่ายธรรมยุต คือ พระครูโอภาสสมณกิจ เจ้าอาวาสวัดป่าธรรมวิเวก (ที่เคยสร้างเหรียญรุ่นแรกคงเคและคอติ่งและบล๊อคแท้งน้ำอันโด่งดังนั่นเอง)


เมื่อจัดสร้างแม่พิมพ์แล้วก็นำไปให้หลวงปู่ผางเสก หลวงปู่ผางบอกว่า ท่านพระครูฯ ไม่ต้องให้ผมไปทำพิธีพุทธาภิเษกที่วัดบึงแก้วนะผมติดธุระไปไม่ได้ ยกพระทั้งหมดมาให้ผมเสกที่วัดดุนนี่.. ผมจะเสกให้ 2 ศีลเลย (หมายถึง 2 วันพระใหญ่นั่นเอง) แล้วมารับพระคืน พอถึงวันไปรับพระสมัยนั้นยังไม่มีโทรศัพท์ใช้ และหนทางก็เดินทางลำบากมาก หลวงปู่ผางแสดงอภินิหาริย์ให้เห็น...? เพราะตอนที่ไปรอรับวัตถุมงคลหลวงปู่ผาง ติดกิจนิมนต์ไม่อยู่วัดไปที่ตลาดอำเภอมัญจาคีรี ซึ่งห่างจากตัววัดนั้นไกลมากร่วม 30 กิโล เพราะพระลูกวัดที่ไม่ได้ไปด้วยบอกว่ากว่าจะมาน่าจะซัก 3 ชั่วโมงครับ ท่านหลวงพ่อพระครู พอนั่งรอซักพักไม่ถึง 15 นาที


หลวงปู่ผางเดินกลับมาที่วัดรูปเดียว โดยที่พระรูปอื่นไม่ได้มาด้วย และหลวงปู่ผางก็บอกว่ารีบมานะเนี่ย..ท่านพระครู..กลัวรอนาน มารับวัตถุมงคลกับผมนะ ก่อนจะเอาไปเดี๋ยวผมอธิษฐานให้อีกครั้ง แล้วหลวงปู่ผางก็นั่งอธิษฐานจิตนานมากร่วม ชั่วโมงพระที่อยู่ในกล่องก็เขย่ากระเด็นออกจากลังประมาณสิบกว่าองค์ เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาหลวงปู่พระครูปิยสารธรรมและชาวคณะกรรมการและลูกศิษย์ที่ไปด้วย และหลวงปู่ผางก็บอกว่าดีแท้...เด๊ ท่านพระครูพระลอยเลย...

และวัตถุมงคลชุดนี้ก็เปิดให้บูชาในราคาต่างกัน หลายพิมพ์ครับ สร้างในปี 2518 สิ้นสุดรุ่นสุดท้ายเป็นรุ่น สร้างอุโบสถ ปี 2519 ครับ และรุ่นนี้เหรียญไปคล้ายกับรุ่นดงเค็งโคราช ในเหรียญปี 12 และชินราชองค์นี้ก็ไปเหมือนกับหลวงปู่อ่อน อุดรธานีครับ (บางท่านว่ามา) แต่รูปหล่อปั๊มรุ่นแรกออกที่วัดบึงแก้วครับ เป็นเนื้อทองเหลืองรมดำ


บางคนเข้าใจผิดนึกว่าออกที่วัดหลวงปู่ผางครับ และนึกว่าเป็นเนื้อทองแดงรมดำ ชินราชองค์นี้จ้างโรงหล่อทำทีท่าพระจันทร์สมัยปี 2518 ครับ พระครูปิยสารธรรมได้เอาแร่เหล็กไหลผสมเข้าไปด้วย จำนวนการสร้างน้อยครับ แค่ 700 องค์เท่านั้นเอง และให้บูชาแพงมากสมัยนั้นถึงองค์ละ 300.- บาทครับ


ในปีนั้น ร.ต.อ. สำราญ เวียงวงษ์ (ยศขณะนั้น) ได้อุปถัมภ์วัดบึงแก้วจนสร้างอุโบสถเสร็จปี 2524 ฉลองในปี 2526 และได้ทำผ้าป่ามาที่วัดบึงแก้วทุกปี พร้อมชาวคณะและได้พิเรนทร์ขอลองวัตถุมงคลรุ่นนี้ที่วัดบึงแก้ว ด้วยปืน .38 ต่อหน้าพระครูปิยสารธรรม ด้วยการยิงถึง 3 ครั้ง แต่ปืนไม่ออก....เสียงปืนดัง แชะ...แชะ...เป็นที่อัศจรรย์มากแก่สายตาคณะผ้าป่าสามัคคีและพระครูปิยสารธรรมพร้อมด้วยพระลูกวัดบึงแก้วที่ลงมาดู และวัตถุมงคลรุ่นนี้ได้หมดไปจากวัดในเวลาไม่ถึงเดือน พระครูปิยสารธรรมให้บูชาไปในราคา 300.- บาทขณะนั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 24, 2018, 08:54:51 AM โดย porpek »



รูปหล่อเนื้อทองคำ หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ

วัดธาตุมหาชัย จังหวัดนครพนม รุ่นนี้ จัดสร้างโดย ท่านผู้ว่าปรีดา นิสัยกุล (อดีตท่านผู้ว่า จ.นครพนม) ในปี พ.ศ.๒๕๓๕ โดย เนื้อทองคำมีการจัดสร้าง ๒๙๙ องค์ น้ำหนักประมาณ ๑๙ กรัม(หนึ่งบาทหนึ่งสลึง) พระทุกองค์มีการตอกโค๊ต ตอกหมายเลข สำหรับองค์นี้ หมายเลข ๑๐๐ ด้านล่างใต้ฐานองค์พระ บรรจุด้วยผงปฐวีธาตุ เกศา ชานหมาก และ ตะกรุดทองคำ ๑ ดอก

 








น่าสนใจมากๆเลยครับ  :) :) :)


แทงบอลออนไลน์  : po



พระอู่ทองลอยองค์ กรุศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี

กรุเดียวกับพระท่ากระดาน แต่พุทธศิลป์คนละยุค พระท่ากระดานจะศิลปะลพบุรี อายุประมาณ ๕๐๐ ปีขึ้นไปสันนิษฐานว่าสร้างโดยฤาษีถวายเป็นพุทธบูชา

แต่พระอู่ทองจะเป็นศิลปะอยุธยา ซึ่งมาอายุอ่อนกว่าพระท่ากระดาน โดยสันนิษฐานว่าสร้างโดยพระภิกษุสงฆ์และชาวบ้าน เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ใช้ตะกั่วที่เหลือจากการสร้างพระท่ากระดานที่พระฤาษีได้จัดหาเตรียมไว้ จึงทำให้มีเนื้อหาคล้ายพระท่ากระดาน แต่อายุจะน้อยกว่า

นอกจากพระกริ่ง รูปหล่อ แล้วพระที่ผมชอบมากๆอีกอย่างคือ พระกรุครับดูแล้ว มีพุทธศิลปที่แฝงไปด้วยความศรัทธา เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ไม่มีพุทธพาณิชย์มายุ่งเกี่ยว









พระกริ่งพันตำลึงทอง เนื้อเงิน หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เป็นพระที่ผมอ่านหนังสือเป็นเล่มแรกๆต่อจากประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ่านประวัติหลวงพ่อเงิน แล้วศรัทธาท่านมากตั้งใจที่อยากได้มากที่สุดก็พระกริ่งพันตำลึงทองนี่แหละ เพราะผมชอบพระกริ่งมากที่สุด ภูมิใจครับที่มีกับเค้าองค์หนึ่ง







« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 02, 2022, 02:06:37 PM โดย porpek »



รูปหล่อพระนาคปรกลอยองค์ พิธีพระคันธารราฐ ๒๔๗๖(แต่ทั่วไปจะระบุพ.ศ.๒๔๗๒ซึ่งเป็นการเริ่มดำเนินการจัดสร้าง มีการส่งแผ่นยันต์ให้พระคณาจารย์ต่างๆ ลงยันต์ให้ เตรียมวัตถุมงคลต่างๆ ที่จะหล่อพระ)

สุดยอดแห่งพระหายากมากๆ เป็นพระในตำนานจังหวัดนครปฐม (มีบันทึกในหนังสือประวัติพระเครื่องนครปฐม)

พระนาคปรกรูปหล่อลอยองค์ของท่านเจ้าคุณโชติ เนื้อพระเป็นสัมฤทธิ์เหลืองอมแดง (แก่ชนวนพระกริ่งที่พระสังฆราชแพ(พระวันรัต) ถวายทำให้เนื้อออกกระแสแดง ซึ่งพระพิมพ์อื่น ๆจะมีเนื้อออกเหลืองซึ่งได้ผสมทองเหลือง ขันลงหินเพิ่ม) เมื่อมีการสัมผัสนานๆเนื้อจะกลับกลายเป็นสีน้ำตาลไหม้ พระพักตร์เป็นศิลปะแบบอินเดีย ส่วนพญานาคมี ๗ เศียร ด้านหลังองค์พระมียันต์เฑาะว์มหาพรหม(เฑาะว์ขัดสมาธิ) ตามด้วยอุหางชี้ลง (บางองค์บรรจุกริ่ง) ขนาดสูงประมาณ ๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๒.๔ เซนติเมตร หนาประมาณ ๑.๔ เซนติเมตร ฐานแปดเหลี่ยม หล่อดินไทย องค์ที่ไม่อุดกริ่งจะมีดินไทยอยู่

จำนวนการสร้างสันนิษฐาน ไม่เกินร้อยองค์ ถ้าจะประมาณ คง ๕๔ องค์ มาจาก อายุของท่านเจ้าคุณโชติตอนสร้างพระนาคปรกรูปหล่อลอยองค์นี้ปีพ.ศ.๒๔๗๖ ท่านมีอายุได้ ๕๓ ปีการสร้างพระเป็นการเจริญอายุวัฒนะต้องบวกอีกหนึ่งปี ดังนั้นจึงเป็น ๕๔ องค์ (เหตุผลมาจากท่านเกิดวันเสาร์ สร้างพระนาคปรกเป็นพระประจำวันเกิดของคนเกิดวันเสาร์ ดังนั้นท่านจึงเป็นการสร้างตามอายุท่าน เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา)

ตามบันทึกในหนังสือประวัติพระเครื่องนครปฐม ในพิธี พุทธาภิเษกวันแรก มีพระคณาจารย์นั่งปรก ๔ ทิศ ประกอบด้วย หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว เป็นประธาน หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้องนั่งธรรมมาสน์ ๔ ทิศในโบสถ์ ตอนอธิษฐานจิตใกล้จะเสร็จ มีแสงสว่างจ๊า!!! ...ออกจากปากหลวงพ่อโหน่ง พุ่งไปคลุมพระทั้งหมด หลวงพ่อปานรีบลุกจากธรรมาสน์ ไปกราบหลวงพ่อโหน่ง

อธิบายไม่ใช่หลวงพ่อปานกราบหลวงพ่อโหน่ง อย่างที่เข้าใจกัน เหตุเพราะว่า ตามประวัติหลวงพ่อปาน หลวงพ่อปานเคยไปพบเพื่อขอเรียนวิชากับหลวงพ่อโหน่ง ตามที่หลวงพ่อเนียมบอกว่าถ้าสิ้นท่านให้ไปหาท่านโหน่ง ปรากฏว่า สอบไปสอบมาวิชายันกัน คือเท่ากัน ไม่มีใครสอนใคร
แต่หลวงพ่อโหน่งเป็นพระพิเศษในสมัยนั้นที่พระคณาจารย์ต่างยกย่อง แม้แต่เจ้าคุณเฮง วัดบ้านขอม ถ้ารู้ว่าหลวงพ่อโหน่ง มาจะไม่ทำอะไรรอจนกว่าหลวงพ่อโหน่งสั่ง มีพิธีหนึ่ง รอเป็นชั่วโมง เหลือหลวงพ่อโหน่งองค์เดียว เจ้าคุณเฮง ก็ไม่ทำอะไรบอกถ้าหลวงพ่อโหน่งไม่มายังไม่ทำอะไรทั้งสิ้น พอหลวงพ่อโหน่งมาถึง เจ้าคุณเฮงถามว่า พระท่านว่าอะไรบ้างขอรับ หลวงพ่อโหน่งถึงบอกว่า พระท่านบอกว่า พิธีต้องทำแบบนี้ ๆ ที่ให้ทำฤกษ์นั้นมันผิดใช้ไม่ได้ คือหลวงพ่อโหน่งท่านมีพระคุมอยู่ตลอดเวลา

ดังนั้นในพิธีพุทธาภิเษกพระคันธารราฐ มีแสงออกจากปากหลวงพ่อโหน่ง ไปคลุมวัตถุมงคล หลวงพ่อปานท่านรู้ว่า เป็นด้วยพุทธานุภาพของพระพุทธเจ้า ท่านหลวงพ่อปานถึงลุกจากธรรมาสน์รีบไปก้มกราบ พระพุทธเจ้าที่คุมหลวงพ่อโหน่งอยู่นั่นเอง

พระเครื่องคันธารราฐจัดสร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ เพราะเกิดฝนแห้งแล้งอย่างหนัก ประชาชนอดอยากเป็นอย่างยิ่ง ท่านเจ้าคุณปรารภถึงเหตุนี้แล้วจึงได้จัดทำพิธีหล่อขึ้นหน้าลานพระปฐมเจดีย์ ซึ่งได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นองค์พระ ประธาน

โดยโลหะที่ใช้หล่อผสมประกอบไปด้วย ๑.ชิ้นส่วนพระพุทธรูปสมัยทวารวดี ๒.ชิ้นส่วนขันลงหินจากชาวบ้าน ๓.แผ่นโลหะจารอักขระยันต์จากพระคณาจารย์ทั่วประเทศในสมัยนั้น ๔.แผ่นทองคำจารลงดวงประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า

โดยหลวงปู่บุญ เป็นประธานพิธีเททอง และประธานพุทธาภิเษก เจ้าคุณศรีสนธิ์ เป็นประธานควบคุมการหล่อเนื้อพระโลหะ มีการสร้างพระหลาย ๆ อย่าง คือ

พระพุทธรูปบูชาคันธารราฐประทับยืนปางขอฝน ขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งองค์ พระพุทธรูปบูชาคันธารราฐประทับยืนปางขอฝน ขนาด ๑๒ นิ้ว เหรียญหล่อคัน ธารราฐทรงกลีบจำปา ไม่มีหูพิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่ เหรียญหล่อคันธารราฐทรงใบเสมาคว่ำ เหรียญหล่อรูปเหมือนพระเทพสุธีโชติครึ่งองค์หันข้าง พระปิดตามหาอุด พระประจำวันใบเสมาหลังยันต์ หลังองค์พระปฐมเจดีย์ รูปหล่อลอยองค์พระนาคปรก พระนาคปรกบูชา ๑ องค์ พระบูชาพระประจำวันตามผุ้สั่งดำเนินการ

จากหนังสือประวัติพระเครื่องนครปฐม
สาเหตุที่สร้างพระคันธารราฐ ปีพ.ศ.๒๔๗๖

ในปี พ.ศ.๒๔๗๒ เกิดฝนแล้งทั่วไป ประชาชนต่างอดอยากเป็นอย่างยิ่ง ท่านเจ้าคุณโชติมาปรารภถึงเหตุนี้ และต่อมาท่านเจ้าคุณโชติจึงได้จัดพิธีหล่อพระคันธารราฐ (ปางขอฝน) ในการเทหล่อพระครั้งนี้ท่านเจ้าคุณโขติได้มอบหมายให้ช่างแช่ม ชื่นจิตต์เป็นผู้หล่อพระครั้งนี้(ช่างแช่มอายุมากกว่าเจ้าคุณโชติ) เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๗๖

แล้วจำแนกแจกจ่ายไปยังวัดต่างๆ วัดละ ๑ องค์ รวม ๑๕๐ วัด เมื่อตำบลใดข้าวยากหมากแพง ประชาชนพากันอาราธนาพระคันธารราฐ ออกทำพิธีบวงสรวงขอฝน ซึ่งมีอภินิหารเป็นที่น่าอัศจรรย์ และในโอกาสนั้นได้มีการสร้างพระคันธารราฐองค์ประธานสูงประมาน ๒ เมตร ๑๐ เซนติเมตร ๑ องค์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่บนศาลาการเปรียญ
พระคณาจารย์ที่เข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษกในครั้งนี้
๑.หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
๒.หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
๓.หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน
๔.หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง
๕.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา
๖.หลวงพ่อคง วัดบางกระพร้อม จ.สมุทรสงคราม
๗.หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ. นครปฐม
๘.พระครูอุตตรการบดี (สุข) วัดห้วยจรเข้ จ.นครปฐม
๙.หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง จ.นครปฐม
๑๐.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา
๑๑. หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง จ.นครปฐม
๑๒.หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม
๑๓.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร
๑๔.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ จ.กาญจนบุรี
๑๕.หลวงพ่อวงศ์ วัดทุ่งผักกูด จ.นครปฐม
๑๖.หลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด จ.นครปฐม
๑๗.หลวงปู่ชา วัดสามกระบือเผือก
๑๘.พระสังฆราชแพตอนนั้นท่านยังไม่ได้เป็นพระสังฆราชยังเป็น สมเด็จพระวันรัต (ได้มอบชนวนพระกริ่งที่จัดสร้างเพื่อผสมในพระชุดนี้ด้วย)
๑๙.เจ้าคุณศรีสนธิ์
๒๐.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
๒๑.หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา
๒๒.หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
๒๓.หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู และอาจารย์อื่นๆรวม ๑๐๘ รูป






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 02, 2022, 02:08:08 PM โดย porpek »



พระกรุในตำนาน พระนางพญาเหล็กเปียก กรุพระธาตุพนม

องค์นี้คราบกรุจับเต็มองค์ แต่มีกระเทาะด้านหลังจุดหนึ่ง เห็นเป็นขาวแว๊บ ๆ เวลาส่องกล้องเหมือนเป็นหยดน้ำกลิ้งไปมา ด้านหลังมีจารอักขระด้วยเต็มพื้นที่เลย

ตำนานกล่าวว่าท่านราชครูโพนสะเม็กพระอริยสงฆ์ผู้เป็นประธานบูรณะพระธาตุพนมปีพ.ศ.๒๒๓๓-๒๒๓๖ ท่านพบเหล็กเปียกด้วยทางสมาธิ ว่ามีคุณสมบัติชุ่มเย็น กันฟืนกันฟ้าผ่า ป้องกันอันตราย เป็นวัตถุที่เป็นมงคล

ท่านราชครูโพนสะเม็ก ได้บูรณะองค์พระธาตุพนมตั้งแต่ชั้นที่ ๒ ขึ้นไปจนถึงยอดพระธาตุ ท่านให้หล่อเหล็กเปียก เหล็กไหลขึ้นสวมยอดพร้อมด้วยฉัตรยอดองค์พระธาตุด้วย ทำให้องค์พระธาตุสง่างามและมั่นคงยิ่งขึ้น ท่านราชครูใช้เวลาบูรณะองค์พระธาตุพนมเป็นเวลา ๓ ปี

ท่านราชครูโพนสะเม็ก เลยนำเหล็กเปียกมาหุ้มตรงส่วนบนพระธาตุพนมเพื่อป้องกันฟ้าผ่า อีกส่วนก็เทหล่อเป็นพระพิมพ์เพื่อเป็นพุทธบูชาถวายต่อพระธาตุพนม





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 02, 2022, 02:08:57 PM โดย porpek »



พระกริ่งในตำนานจังหวัดพิจิตร
พระกริ่งประทานพรหรือพระกริ่งดีดน้ำมนต์ หลวงพ่อเขียน
วัดถ้ำขุนเณร จังหวัดพิจิตร พ.ศ.๒๕๐๖
เนื้อสำริดเหลืองอมเขียวมีกระแสพรายเงิน


นับเป็นพระกริ่งรุ่นแรกและรุ่นเดียวของหลวงพ่อเขียน สร้างจำนวนประมาณ ๔๐๐ องค์ ออกให้ทำบุญที่วัดชัยมงคล จังหวัดพิจิตร ปีพ.ศ. ๒๕๐๖ โดยหมอแดงลูกศิษย์คนสนิทของหลวงพ่อเป็นพ่องานในการรวบรวมมวลสาร ซึ่งมวลสารส่วนหนึ่งนั้น หมอแดงได้มาจากช่อชนวนและมวลสารที่เหลือจากการหล่อพระพิมพ์ฐานหนังสือ และแผ่นยันต์ที่หลวงพ่อเขียนได้ลงยันต์ไว้ให้

เป็นพระกริ่งต้นแบบของพระกริ่งวังกระโจมเจ้าคุณนรฯ แต่แตกต่างกันตรงที่เนื้อหาของพระกริ่งซึ่งพระกริ่งวังกระโจมเจ้าคุณนรฯจะเป็นทองเหลืองล้วน แต่พระกริ่งประทานพรหลวงพ่อเขียนจะออกสำริดเหลืองอมเขียว และจะมีกระแสพรายเงิน ขนาดพระกริ่งวังกระโจมเจ้าคุณนรฯจะเล็กกว่า และมีอุดกริ่งทุกองค์

ส่วนพระกริ่งประทานพรหลวงพ่อเขียน จะมีช่อชนวน ๒ ช่อ และจะหล่อตัน ไม่ค่อยมีองค์ที่อุดกริ่งซึ่งองค์ที่อุดกริ่งจะมีน้อยมาก ๆ พระกริ่งประทานพรหลวงพ่อเขียนนี้มีจุดที่กลางหลังทุกองค์ จุดนี้เป็นจุดเด่นที่ใช้แยกพระกริ่งวังกระโจมของเจ้าคุณนรฯ กับพระกริ่งประทานพรหลวงพ่อเขียน บางองค์จุดนี้ก็ถูกตะไบออกหรือบางองค์ก็ติดไม่ค่อยชัด ถ้าไม่มีจุดนี้ให้พิจารณาส่วนอื่นๆ

ด้านหน้า ศีรษะมีพระเกศาขดเป็นก้นหอย ใบหน้าเอิบอิ่มดูเย็นตามีเมตตา เปลือกตาบนประหนึ่งดั่งท่านหลับตาและแย้มริมฝีปากยิ้มเล็กน้อย ขอบตาล่างคมกริบ หัวคิ้วจรดกันทั้งสองข้างเชื่อมลงมาที่จมูกเป็นสันคม ด้านบนมีอุนาโลมหรือจุด อยู่ระหว่างกลางเหนือคิ้วทั้งสองข้าง ลักษณะมือสองข้างประสานกันที่อก นิ้วกรีดกรายเด่นชัด เสมือนดั่งท่านกำลังดีดน้ำพระพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ มีปลายจีวรพับเป็นชั้น ๆ พาดหัวไหล่ด้านซ้ายลงมาจรดที่ปลายนิ้วมือข้างซ้าย ด้านล่างมีขาขวาทับขาซ้าย ขาสองข้างทับปลายจีวรเป็นจีบ ๆ ที่ฐานมีบัวคว่ำและบัวหงายรอบฐานด้านหน้า

ด้านหลัง มีเส้นริ้วจีวรพับเป็นสองชั้นพาดจากไหล่ซ้ายลงไปฐาน และรัดจากรักแร้ขวาไปจรดเส้นริ้วจีวรเส้นกลาง แทน ที่ฐานล่างมีเลข ๙ บางองค์ชัด บางองค์ไม่ชัด

ใต้ฐาน มีช่อชนวน ๒ ช่อ ในช่ออาจจะมีรูบ้างไม่มีบ้าง แล้วแต่ว่าจะหล่อเต็มหรือไม่ บางองค์มีเส้นวิ่งที่ใต้ฐาน ประมาณกึ่งกลางระหว่างช่อชนวน เกิดจากเนื้อเทียนเกินตอนประกบบล็อกหน้าและบล็อกหลัง








« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 02, 2022, 02:10:59 PM โดย porpek »



ชี้แจงความเข้าใจผิดของพระกริ่งนักโทษประหาร วัดสังกัสรัตนคีรี จ.อุทัยธานี ปีพ.ศ.๒๕๐๘

พระกริ่งนักโทษประหาร มีพิมพ์เดียวเท่านั้น คือ ด้านหลังมีหมายเลข ๙ ตัวเดียว

ส่วนด้านหลังมีหมายเลข ๙ และตัวอักษรธรรม ว่า อิ สวา สุ เป็นพระกริ่งเจ้าคุณนร ของวัดวังกระโจม จ.นครนายก ปี พ.ศ. ๒๕๑๒

พระกริ่งพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ วัดสังกัสรัตนคีรี จ.อุทัยธานี ปีพ.ศ. ๒๕๐๘ มีเรื่องเล่าขานกันว่า มีนักโทษประหารคนหนึ่ง อมพระกริ่งนี้ไว้ เข้าสู่ลานประหาร ปืนยาวไม่ลั่นซักนัด จนต้องตรวจดูพบนักโทษอมพระกริ่งนี้ไว้ในปากเลยนำออก แล้วลั่นปืนใหม่ ก็ประหารได้ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "พระกริ่งนักโทษประหาร"

ซึ่งในเรือนจำบางขวางแดนประหารนักโทษ จะมีการลงอาถรรพณ์ เพื่อลบวิชา คาถาอาคมไว้ มีเทพ เทวดาที่ศักดิ์สิทธิมีฤทธานุภาพ มีเดช มีอำนาจมาก พระที่สามารถทำให้ปืนสำหรับประหารนักโทษที่ลั่นไกไม่ได้ เท่าที่ฟังมาก็มี เหรียญกงจักรหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ.นครปฐม ที่คุณไพฑูรย์ พันธุ์เชื้องาม ประสบพบมา และพระกริ่งนักโทษประหารนี้แหละ

จะแตกต่างกับพระกริ่งพระพุทธมงคลนายก วัดวังกระโจม จ.นครนายก ปีพ.ศ.๒๕๑๒ ตรงฐานพระกริ่งนักโทษประหาร เป็นวงเดือน และมีเลข ๙ ตัวเดียว ส่วนพระกริ่งพุทธมงคลนายก วัดวังกระโจม มีเลข๙ และมีอักษรธรรม ว่า อิ สวา สุ ซึ่งสร้างปีพ.ศ.๒๕๑๒ เจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิต











« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 02, 2022, 02:12:52 PM โดย porpek »



พระพิมพ์พุทธคยาตัดเดี่ยว ศิลปะพุกาม กรุเวียงท่ากาน จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อสัมฤทธิ์(สำริด) สนิมหยก

พระพิมพ์พุทธคยาตัดเดี่ยว เนื้อสัมฤทธิ์(สำริด) เป็นพระกรุที่หายากมาก ๆ ขึ้นจากกรุน้อยมาก ส่วนมากที่พบจะเป็นเนื้อดินเผาขนาดใหญ่ แต่เนื้อสัมฤทธิ์(สำริด) พิมพ์นี้ จะตัดเดี่ยวเหมือน พระสามหอมที่มีแบบตัดเดี่ยวเป็นเนื้อดิน ท่านยูสเซอร์เนม “วัดท่าซุง” ก็มี ๑ องค์เนื้อสัมฤทธิ์(สำริด) เหมือนกัน

ซึ่งได้ตัดภาพพระพิมพ์พุทธคยาเนื้อดิน และได้ชี้จุดที่เนื้อดินเหมือนกับเนื้อสัมฤทธิ์(สำริด) ที่เหมือนกันจนกล่าวได้ว่าคือพิมพ์เดียวกันแต่ตัดให้เป็นพิมพ์เดี่ยว

เวียงท่ากาน เป็นกลุ่มโบราณสถานและคูเมืองแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองลำพูนและตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว ๑๕ และ ๓๐ กิโลเมตรตามลำดับ สร้างเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ในสมัยพระเจ้าอาทิตยธรรมิกราช กษัตริย์แห่งอาณาจักรหริภุญชัย ปรากฏหลักฐานในเอกสารทางประวัติศาสตร์ครั้งแรกในชื่อว่า "บ้านตะก๋า" สร้างขึ้นเพื่อเป็นเมืองหน้าด่านของอาณาจักรหริภุญชัย ต่อมาได้ขึ้นตรงต่อพญามังรายแห่งอาณาจักรล้านนา

พระพิมพ์พุทธคยา ศิลปะพุกาม(มอญ พม่า) ส่วนมากเป็นพระเนื้อดินเผาขนาดใหญ่ พระพิมพ์แบบซุ้มพุทธคยานี้ สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ ศิลปะแบบพุกาม(มอญ พม่า) เป็นการรับอิทธิพลจากอินเดีย แล้วนำมาประยุกต์ให้เป็นศิลปะแบบเฉพาะตัว

พระพิมพ์ศิลปะศรีเกษตรและพุกามของ มอญ พม่า

อายุ: ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖

ศิลปะแบบศรีเกษตร และพุกามของพม่า

เป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจาก ศิลปะอินเดีย แบบปาละโดยตรง สังเกตได้จากลักษณะการนั่งที่ยังคงเป็นการนั่งขัดสมาธิเพชร แตกต่างกันที่การนั่งขัดสมาธิจะเทลาดลงมาด้านหน้า และพระวรกายและพระพักตร์ ไม่ล่ำสันเหมือนแบบอินเดีย พระพิมพ์ศิลปะนี้สามารถสังเกตได้จากซุ้ม และสถูปที่คล้ายกับแบบพุทธคยาของอินเดีย โดยคาดว่าน่าจะมีการเผยแพร่เข้ามายังดินแดนหริภูญไชยราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ พระพุทธรูปศิลปะนี้ประกอบด้วย พระรอด พระสิบสอง พระสามหอม ฯลฯ









ยืมภาพยูสเซอร์เนม "วัดท่าซุง" ซึ่งท่านมีเหมือนกัน


ตัดภาพพระพิมพ์พุทธคยา แสดงให้เห็นว่าเนื้อสัมฤทธิ์(สำริด) เป็นพิมพ์เดียวกับเนื้อดิน


ยืมภาพพระพิมพ์พุทธคยา ศิลปะพุกาม แบบเต็มองค์


ยืมภาพพระพิมพ์พุทธคยา ศิลปะพุกาม แบบเต็มองค์



พระยอดขุนพล พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์
หลังฝังลูกปัดทราวดี ปีพ.ศ.๒๕๑๙
อธิษฐานจิตพร้อมเหรียญรุ่นแรก











พระมเหศวรพิมพ์ใหญ่เนื้อชินเงิน
กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี 











 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi