[Thesun]พระกรรมฐานพ่อแม่ครูอาจารย์และพระเกจิอาจารย์ทั่วไป(อ่าน 671035 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

629.พระผง 3 รายการ 1,200-

1.พระสมเด็จรุ่นแรก หลังลายผ้า หลวงปู่หล้า วัดป่าตึง จ.เชียงใหม่ ปี30 หลังจีวรหลวงปู่
2.พระผงพุทธเมตตา สมเด็จโต หลังหลวงปู่วิเวียร ปี31 เห็นเกศาหลวงปู่
3.พระขุนแผนพระปรไมย์ไอยศวร ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล รุ่นแรก ปี43 ในวาระออกจากนิโรจกรรม ปีที่ 7 เนื้อผงพุทธคุณผสมเกศา และผงไม้แก่นจันทร์โบราณมีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเอง
ฝังตะกรุดทองแดง 3 ดอก ตะกรุดทั้งหมดจารด้วยหัวใจขุนแผน คือ สุ นะ โม โล ใต้ฐานองค์พระ
























ขอจองครับ



630.เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ญาท่านลี อุตตโร วัดเอี่ยมวราราม อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี ปี18 มีในรายการประกวดตลอดครับ 300-




หลวงปู่ญาท่านลี อุตตโร วัดเอี่ยมวราราม อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี บูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน และพระครูวิโรจน์รัตโนบล(หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง)

หลวงปู่ญาท่านลีท่านเป็นศิษย์คนสนิทผู้อุปฐากหลวงปู่ญาท่านตู๋ครับ ท่านเป็นคนมีนิมิตรล่วงหน้า เช่น ก่อนที่จะมีคนจมน้ำตายที่ชลประทานห้วยถำแข้

ท่านจะบอกลูกหลานอย่าลงเล่นน้ำ  แต่ตนที่เสียชีวิตมักจะมาจากที่อื่นมาเล่นน้ำหรือมักจะมาจากกรุงเทพฯ  สังขารของท่านไม่เน่าเปื่อยเช่นเดียวกับหลวงปู่ญาท่านสวน วัดนาอุดมครับ











631.พระผงพุทโธหายโรค หลวงปู่พระมหามุนีวงค์ (สนั่น จันทปัชโชโต) วัดนรนารถสุนทริการาม จ.กรุงเทพฯ  ที่ระลึกในคราวเลื่อนสมณศักดิ์ ที่ พระพรหมมุนี ปี19

พิเศษหลังจารมือหลวงปู่ หายากมากครับ พบเห็นน้อย มาพร้อมกล่องเดิม
1200-



ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

หลวงปู่สนั่น ถือกำเนิดในสกุล สรรพสาร เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวน 10 คน ของคุณพ่อกำนันคำพ่วย และ คุณแม่แอ้ม สรรพสาร ณ บ้านหนองบ่อ ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2451 ในแผ่นดินรัชกาลที่ 5

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

บรรพชาเป็นสามเณร

เมื่อยังเด็ก หลวงปู่มีอุปนิสัยรักในการบวช มักพูดว่าอยากไปบวชเณร และชอบที่จะคลุกคลีอยู่กับผู้ใหญ่ มากกว่าเด็กๆวัยเดียวกัน มีแววเฉลียวฉลาดและสติปัญญาดี ท่านได้รับการเลี้ยงดูจากคุณลุงเคน และคุณป้าแก้ว ซึ่งเป็นพี่สาวของโยมมารดา ตั้งแต่ยังเล็กๆ ท่านอยู่กับคุณป้าแก้วได้อายุประมาณ 9 ขวบ คุณป้าแก้วก็เสียชีวิตลง หลวงปู่ได้บวชหน้าไฟอุทิศให้แก่คุณป้าในงานวันฌาปณกิจศพ โดยมี พระอธิการเคน คมฺภีรปญฺโญ (สรรพสาร) เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ วัดบูรพาพิสัย การบวชเป็นเณรของหลวงปู่ในครั้งนั้น ท่านได้ศึกษาเล่าเรียน และปรนนิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์ เป็นเวลา 4 ปี

ต่อมาท่านเจ้าคุณพระศาสนดิลก (ชิตเสโน เสน) ได้รับหลวงปู่เข้าเป็นลูกศิษย์ เนื่องจากถูกอัธยาศัยกับท่านเมื่อครั้งท่านไปพักที่วัดบูรพาพิสัย ครั้งนั้นหลวงปู่จึงได้ย้ายมาจำวัดที่วัดศรีทอง จ.อุบลราชธานี และในช่วงนี้เองท่านได้เข้าศึกษาภาษาไทยและบาลีไวยากรณ์กับท่านเจ้าคุณพระศรีธรรมวงศาจารย์ (ทองจันทร์ เกสโร) ที่โรงเรียนอุบลวิทยาคม วัดสุปัฏนาราม จ.อุบลราชธานี

อุปสมบท

พ.ศ. 2468 ท่านเจ้าคุณพระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) ได้ฝากฝังหลวงปู่ไว้ให้อยู่ในปกครองของท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ที่วัดบรมนิวาสฯ จ.กรุงเทพฯ ณ ที่นี้หลวงปู่ได้เริ่มต้นศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างจริงจัง และได้อุปสมบทที่วัดบรมนิวาสฯนี้เอง ในปี พ.ศ.2471 โดยมี พระครูศีลวรคุณ (อ่ำ ภทฺราวุโธ)เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอมราภิรักขิต (ชัย ชิตมาโร)เป็นพระกรรมวาจาจารย์ โดยได้รับฉายาว่า จนฺทปชฺโชโต

หลวงปู่ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยความขยันและอดทน และสำเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรม เปรียญ 9 ได้ในปี พ.ศ.2486 ขณะที่หลวงปู่มีอายุได้ 23 ปี ในช่วงอายุนี้ท่านได้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม และช่วยงานการปกครองคณะสงฆ์ของจังหวัด ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ได้อนุญาตให้หลวงปู่ไปช่วยงานได้ตามที่ขอมา ซึ่งหลวงปู่ก็ได้ไปอยู่ช่วยงานที่จังหวัดจันทบุรีอยู่ 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2472-2524 หลวงปู่ได้ทำหน้าที่เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมตามสำนักเรียนต่างๆ

ในวัย 36 ปี (พ.ศ.2486) หลวงปู่ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสังฆสภา จากนั้นท่านก็ได้ดำรงตำแหน่งและหน้าที่ต่างๆเพื่อประโยชน์ทางพระพุทธศาสนา ทั้งด้านการศึกษา การปกครอง การเผยแผ่ และสาธารณูปการต่างๆอย่างเต็มความสามารถ ในปี พ.ศ.2489 หลวงปู่มีสมณศักดิ์ในขณะนั้นที่ พระอมรเวที ท่านได้รับหน้าที่จาก สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร ให้ไปอยู่ช่วยงานที่กองตำรามหามกุฏฯ ที่วัดนรนาถสุนทริการาม หลวงปู่จึงย้ายไปจำพรรษาที่วัดนรนาถฯ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หลวงปู่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ต่างๆ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2532 ท่านได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ "สมเด็จพระมหามุนีวงศ์"

หลวงปู่ได้ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะหรือสมณศักดิ์ใด ท่านมีความมักน้อย สันโดษ ไม่โอ้อวด ไม่ถือยศตลอดอายุของท่าน บรรดาพระป่ากัมมัฏฐานต่างๆ

ช่น หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปณฺโณ ได้กล่าวถึงหลวงปู่ว่า "เป็นพระแท้ กราบไหว้ได้ด้วยความสนิทใจ" โดยทุกๆเช้าหลวงปู่จะตื่นตี 4 ลุกขึ้นมาไหว้พระสวดมนต์

 นั่งสมาธิไปจนกระทั่ง 6 โมงเช้า จากนั้นจึงลงไปเดินจงกรมรอบๆโบสถ์ ปฏิบัติเช่นนี้มาตลอด ไม่เคยขาดแม้กระทั่งเจ็บป่วย ท่านเคยได้ออกธุดงค์และบำเพ็ญเพียรในป่า ตามแบบอย่างของครูบาอาจารย์ของท่าน มีท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) และ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นต้น

ในช่วงท้ายของชีวิต หลวงปู่ได้อาพาธด้วยโรคไต และปอด มีอาการเจ็บป่วยอยู่เป็นระยะ ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม พ.ศ.2541 หลวงปู่เข้ารับการรักษาอาการอาพาธ ในครั้งนี้หลวงปู่ได้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้แก่ เบาหวาน ความดันต่ำ และหอบหืด ทำให้มีอาการรุนแรงกว่าทุกครั้ง หลวงปู่มีสติดีเยี่ยม รับรู้อาการทรมานแห่งโรค รับรู้การรักษาพยาบาล ซึ่งท่านไม่ได้มีอาการทุรนทุราย กระสับกระสาย หรือร้องครวญครางให้ใครได้ยินเลย ท่านแสดงถึงความเข้มแข็งและเด็ดเดี่ยว จนกระทั่งวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2541 หลวงปู่อยู่ในอารมณ์สมาธิ เงียบสงบ ลมหายใจแผ่วเบา และอ่อนลงตามลำดับ จนกระทั่งมรณภาพลง

สิริอายุรวม 90 ปี 1 เดือน 24 วัน พรรษาที่ 71

ลำดับงานปกครอง พ.ศ.2500 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2501 เป็นเจ้าอาวาสวัดนรนาถสุนทริการาม พ.ศ.2510 เป็นเจ้าคณะภาค 8 และภาค 10 (ธ) พ.ศ.2512 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2501 รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพวราภรณ์

พ.ศ.2506 รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ “พระธรรมวราภรณ์”

พ.ศ.2519 เป็นชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ “พระพรหมมุนี”

วันที่ 5 ธ.ค.2532 โปรดเกล้าฯ พระราชทานสถาปนาเป็น “สมเด็จพระมหามุนีวงศ์”













632.พระขุนแผนรุ่นแรกพิมพ์เล็ก เนื้อผงพุทธคุณ  หลวงปู่แสง ญาณวโร ออกวัดป่ามโนรมย์สมประสงค์ จ.อำนาจเจริญ ปี54 พิเศษทั้งสององค์เห็นเกศาหลวงปู่ชัดเจนทั้งสององค์ครับ
เปิด 2 องค์ กล่องเดิมๆ 700-

หลวงปู่แสง ศิษย์โดยตรงในองค์พ่อแม่ครูอาจารย์มั่นที่ยังดำรงขันธ์อยู่

ประวัติและภาพวัตถุมงคล หลวงปู่แสง ญาณวโร พระอริยะเจ้าแห่งลุ่มน้ำชี


หลวงปู่แสง ญาณวโร วัดป่ามโนรมณ์สมประสงค์ จังหวัดอำนาจเจริญ ปัจจุบันอายุย่าง 97 ปี ท่านเป็นพระสุปฏิปันโน ศิษย์ในองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ หลวงปู่คำดี ปภาโส หลวงปู่หาบุญมี สิริธโร และหลวงปู่บัว สิริปุณโณ องค์ท่านเป็นผู้มากไปด้วยความเพียรและเป็นผู้ไม่ติดถิ่น เปรียบกับหยดน้ำบนใบบัว ที่ไม่ติดใบบัวฉันนั้น อุปมาอุปมัยกับ ผู้สิ้นกิเลศ หรือเรียกว่า พระขีนาสพ องค์หลวงปู่สอ วัดป่าหนองแสง ได้เคยยกย่องไว้ว่า "หลวงปู่แสงเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัตชอบองค์หนึ่ง" ท่านเปรียบเสมือนแสงธรรมแห่งอำนาจเจริญที่ปกคลุมเมืองอำนาจเจริญให้ร่มเย็นเป็นสุข นอกจากนั้นแล้วองค์ท่านยังเป็นผู้สร้างเพชรน้ำหนึ่งอีกหลายท่าน อาทิเช่น หลวงปู่สาย วัดป่าพรหมวิหาร หลวงปู่บัวทอง วัดอรัญญวิเวก ส่วนเพื่อสหธรรมิกขององค์ท่านได้แก่ หลวงปู่บุญมี วัดป่าบ้านนาคูณ หลวงปู่สอ วัดป่าหนองแสง เป็นต้น หลวงปู่ประสบการณ์วัตถุมงคลหลวงปู่มีมาก องค์หลวงปู่ไม่ได้อฐิธานจิตนานเลย ท่านเพ่งไม่ถึงนาที แต่กับมีประสบการณ์มากมาย ในสิ่งที่แสดงความบริสุทธิ์ขององค์ท่านนอกจากธรรมะของที่หลั่งไหลชุ่่มเย็นแก่ผ้ไปกราบสนทนาธรรมกับท่านแล้ว เกศาองค์ท่านยังแปรสภาพเป็นพระธาตุด้วย เพราะองค์ท่านได้ฟอกธาตุฟอกขันธ์มานานแล้ว นับเป็นสิริมงคลแด่ผู้ไปกราบไหว้ท่านเป็นอย่างยิ่ง




















633.นางพญาเนื้อเกศรผสมชานหมาก ยุคต้น หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม ปี16 สภาพสวย หาสวยๆยาก ประกวดติดรางวัลแน่นอน
นานๆเจอที สวยกว่าองค์โชว์ในหนังสืออีกครับ นิยมครับ นำไปเลี่ยมทองขึ้นคอได้เลยครับ 
2,200-














634.ชุดโปรโมชั่นประจำสัปดาห์ 5 รายการ 2,900-

1.พระกริ่งนเรศวร ไชยมงคล ปี58 หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ปลุกเสก เนื้อนวโลหะกลับดำ หมายเลข 380
ราคาจองสมัยนั้น 1,200
2.เต่าเรียกทรัพย์ คาบข้าว หลวงปู่ชม โอภาโส วัดสามัคคี หลวงปู่เมตตาด้านค้าขายโชคลาภโดยเฉพาะ 1ใน26 ตัวครับ จารมือปากกา รอบตัวครับ
เต่าเรียกทรัพย์ปั้นมาจากดินผสมผงหินพระธาตุผสมผงว่าน108ที่หลวงปู่ชมเสกกว่า5วาระ
ผู้สร้างกราบขอหลวงปู่เมตตาเฉพาะทาง ซึ่งปกติวัตถุมงคลท่าน ท่านบอกเลย ไม่ตาย ไม่อดตายอย่างแน่นอน ถึงจะไม่ร่ำรวยแต่จะไม่ขาดเขิน
3.เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่เม้า พลวิริโย วัดสี่เหลี่ยม อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ปี17 บล๊อคหน้าแก่ เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง สวยแชมป์  เหรียญนี้มากับกล่อง
แจกเป็นที่ระลึกพระราชทานเพลิงศพ เรือโท ประสงค์ อุ่นประเสริฐ เมื่อปี19
4.แผ่นมหายันต์พญานาคราช หลังยันต์ดวงมหาปราถนา หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ อธิษฐานจิต หายาก สร้างน้อย 
5.พระผงรุ่นสุดท้าย ปักกลด เนื้อข้าวก้นบาตรโรยทองผสมเกศา หลวงตาบุญหนา สร้าง 499องค์(เนื้อสีขาว) ปลุกเสก 29ธค.58-14มีค.59












« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 15, 2018, 10:19:00 AM โดย thesun »



635.ล๊อคเก็ตสมเด็จพระนเรศวร หลังอุดผงและตะกรุดเงินจาร งานปีหนึ่งกว่าๆ  อยู่ในกล่องเก่าเดิมๆมาหลายสิบปี
ด้านบนกล่องเขียนว่า บ่อบางกระจะ จ.จันทบุรี
850-










636.พระบูชาท่านพ่อลี วัดอโศการาม ปี08 หน้าตัก 5 นิ้ว ฐาน 6 นิ้ว ตัวหนังสือแกะมือเก่า พระดีพิธีใหญ่ สายกรรมฐาน ที่ระลึกเปิดธุตังคเจดีย์ วัดอโศการาม เอาลงมาจากหิ้งปัดฝุ่น
ขอนำมาเปิด ไม่โดนถือว่าร่วมโชว์ครับ นิมนต์กลับขึ้นหิ้งบูชาต่อครับ
5,700- ปิดท่านปูนิมนต์กลับปากน้ำ


พระบูชา ท่านพ่อลี ธัมมธโร จัดสร้างในปี 2508 พิธีเปิดธุตังคเจดีย์ โดยมีหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม เป็นประธานเปิดรวมครูบาอาจารย์สายกรรมฐานร่วมอธิตฐานจิตมากมาย
 เช่น...

1.หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม,
2.หลวงปู่ฝั้น อาจาโร,
3.หลวงปู่สิม พุทธาจาโร,
4.หลวงปู่แหวน สุจิญโณ,
5.หลวงปู่สาม อจิญจโณ,
6.หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโฑ,
7.หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโณ
เป็นต้น


แม้ไกลกันคนละภาค”หลวงพ่อลี วัดอโศการาม” ก็ยังส่งจิตบอกลาละสังขารกับหลวงปู่ตื้อ อริยสงฆ์ผู้เก่งทางอภิญญาถึงเชียงใหม่#อภิญญาพระอริยสงฆ์



ท่านพ่อลี บอกลาหลวงปู่ตื้อ ก่อนมรณภาพ

ความเก่งในด้านพลังจิตของ ท่านพ่อลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม อำเภอเมือง จึงหวัดสมุทรปราการ มีเรื่องเล่าลือทางความเก่งของท่านมากมาย แต่เท่าที่ได้ยินจาก หลวงปู่หนูบาล จนฺทปญฺโญ ท่านว่า

"ครั้งหนึ่งท่านพ่อลีไปธุดงค์ในป่ากับพระภิกษุสามเณรหลายรูป สถานที่แห้งแล้งมาก พระเณรจึงช่วยกันแสวงหาแหล่งน้ำจนเหนื่อยอ่อน จนที่สุดท่านพ่อลีบอกว่า “รอสักครู่” แล้วท่านหายเข้าไปในโขดหินที่มีพุ่มไม้บังอยู่ สักครู่หนึ่งท่านก็เรียกพระเณรเข้าไป ปรากฏว่ามีน้ำไหลออกมามากมายจากจุดที่ท่านหายเข้าไป พระเณรจึงได้พากันดื่มกินและอาบเสียจนเป็นที่น่าพอใจของทุกองค์"

ก่อนที่ ท่านพ่อลี จะมรณภาพเพียงวันเดียว พระเณรที่อยู่กับหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ที่วัดป่าอาจารย์ตื้อ อำเภอแม่แต่ง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ยินหลวงปู่ตื้อท่านั่งคุยกับใครอยู่ แต่มองไม่เห็นใคร เห็นแต่ท่านนั่งคุยอยู่คนเดียว หลังจากคุยกันแล้ว หลวงปู่ตื้อท่านเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า “คุยกับท่านอาจารย์ลี วัดอโศการาม เขาบอกว่าวันพรุ่งนี้เขาจะตายแล้ว เขาจึงบอกลา” ปรากฏว่าวันต่อมา ท่านพ่อลีมรณภาพจริง โดยท่านพ่อลี ถึงแก่มรณภาพที่วัดอโศการาม เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๔ จึงเป็นเรื่องที่เชื่อถือได้ว่า ท่านรู้จริงเห็นจริง
• หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม •
ที่มา : FB :เพจเกร็ดธรรมะ ประวัติพระกรรมฐาน@Ayuthay















« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 15, 2018, 11:12:26 AM โดย thesun »



636.พระบูชาท่านพ่อลี วัดอโศการาม ปี08 หน้าตัก 5 นิ้ว ฐาน 6 นิ้ว ตัวหนังสือแกะมือเก่า พระดีพิธีใหญ่ สายกรรมฐาน ที่ระลึกเปิดธุตังคเจดีย์ วัดอโศการาม เอาลงมาจากหิ้งปัดฝุ่น
ขอนำมาเปิด ไม่โดนถือว่าร่วมโชว์ครับ นิมนต์กลับขึ้นหิ้งบูชาต่อครับ
5,700-


พระบูชา ท่านพ่อลี ธัมมธโร จัดสร้างในปี 2508 พิธีเปิดธุตังคเจดีย์ โดยมีหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม เป็นประธานเปิดรวมครูบาอาจารย์สายกรรมฐานร่วมอธิตฐานจิตมากมาย
 เช่น...

1.หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม,
2.หลวงปู่ฝั้น อาจาโร,
3.หลวงปู่สิม พุทธาจาโร,
4.หลวงปู่แหวน สุจิญโณ,
5.หลวงปู่สาม อจิญจโณ,
6.หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโฑ,
7.หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโณ
เป็นต้น


แม้ไกลกันคนละภาค”หลวงพ่อลี วัดอโศการาม” ก็ยังส่งจิตบอกลาละสังขารกับหลวงปู่ตื้อ อริยสงฆ์ผู้เก่งทางอภิญญาถึงเชียงใหม่#อภิญญาพระอริยสงฆ์



ท่านพ่อลี บอกลาหลวงปู่ตื้อ ก่อนมรณภาพ

ความเก่งในด้านพลังจิตของ ท่านพ่อลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม อำเภอเมือง จึงหวัดสมุทรปราการ มีเรื่องเล่าลือทางความเก่งของท่านมากมาย แต่เท่าที่ได้ยินจาก หลวงปู่หนูบาล จนฺทปญฺโญ ท่านว่า

"ครั้งหนึ่งท่านพ่อลีไปธุดงค์ในป่ากับพระภิกษุสามเณรหลายรูป สถานที่แห้งแล้งมาก พระเณรจึงช่วยกันแสวงหาแหล่งน้ำจนเหนื่อยอ่อน จนที่สุดท่านพ่อลีบอกว่า “รอสักครู่” แล้วท่านหายเข้าไปในโขดหินที่มีพุ่มไม้บังอยู่ สักครู่หนึ่งท่านก็เรียกพระเณรเข้าไป ปรากฏว่ามีน้ำไหลออกมามากมายจากจุดที่ท่านหายเข้าไป พระเณรจึงได้พากันดื่มกินและอาบเสียจนเป็นที่น่าพอใจของทุกองค์"

ก่อนที่ ท่านพ่อลี จะมรณภาพเพียงวันเดียว พระเณรที่อยู่กับหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ที่วัดป่าอาจารย์ตื้อ อำเภอแม่แต่ง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ยินหลวงปู่ตื้อท่านั่งคุยกับใครอยู่ แต่มองไม่เห็นใคร เห็นแต่ท่านนั่งคุยอยู่คนเดียว หลังจากคุยกันแล้ว หลวงปู่ตื้อท่านเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า “คุยกับท่านอาจารย์ลี วัดอโศการาม เขาบอกว่าวันพรุ่งนี้เขาจะตายแล้ว เขาจึงบอกลา” ปรากฏว่าวันต่อมา ท่านพ่อลีมรณภาพจริง โดยท่านพ่อลี ถึงแก่มรณภาพที่วัดอโศการาม เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๔ จึงเป็นเรื่องที่เชื่อถือได้ว่า ท่านรู้จริงเห็นจริง
• หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม •
ที่มา : FB :เพจเกร็ดธรรมะ ประวัติพระกรรมฐาน@Ayuthay















ทักมาหน่อยครับท่าน สาธุกราบหลวงพ่อลี



637.เหรียญสมเด็จพระวันรัต (นิรันดร์ นิรันตโร) วัดเทพศิรินทราวาส  รุ่นแรก ปี45 เนื้อนวโลหะ สวยๆ นิยมในสายวัดเทพศิรินมากครับ

 เนื้อพิเศษหายากครับส่วนมากเจอแต่ทองแดง รุ่นแรกรุ่นเดียวที่ท่านอธิษฐานจิต
ปิดครับ











« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 18, 2018, 09:35:11 AM โดย thesun »



638.เหรียญรุ่นแรกพิมพ์เก้าเหลี่ยม หลวงปู่โส กัสสโป วัดป่าคำแคนเหนือ มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ปี17 นิยมสุดในวัตถุมงคลท่าน สภาพผ่านการใช้งาน
สวยๆต้องมีหลักพันปลายถึงหมื่นครับ เอาไว้ใช้พุทธคุณครับ 850- ปิดท่าน j999

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 18, 2018, 03:50:55 PM โดย thesun »



638.เหรียญรุ่นแรกพิมพ์เก้าเหลี่ยม หลวงปู่โส กัสสโป วัดป่าคำแคนเหนือ มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ปี17 นิยมสุดในวัตถุมงคลท่าน สภาพผ่านการใช้งาน
สวยๆต้องมีหลักพันปลายถึงหมื่นครับ เอาไว้ใช้พุทธคุณครับ 850-




ขอจองครับ



639.รูปหล่อเมตตามหามงคล 95 ปี หลวงปู่สี สิริญาโณ วัดป่าศรีมงคล จ.อุบลราชธานี ผลงานปั้นโดยอาจารย์อำพล เจน กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มศิษย์หลวงปู่สี และศิษย์หลวงพ่อชาครับ
หลวงปู่สี องค์ท่านเป็นศิษย์อาวุโส อันดับหนึ่งของหลวงพ่อชา ที่ยังดำรงขันธ์อยู่



1.รูปหล่อเนื้อเงินจัดสร้าง 95 องค์ องค์นี้หมายเลข 73 ก้นอุดมวลสารศักดิ์สิทธิ์ กว่า 160 ชนิด และอังคารธาตุ ที่อาจารย์อำพล รวบรวมไว้ และเกศา ปิดฝาอุ
2.รูปหล่อเนื้อชนวน นอุดมวลสารศักดิ์สิทธิ์ กว่า 160 ชนิด และอังคารธาตุ ที่อาจารย์อำพล รวบรวมไว้  ปิดฝาอุ

เปิดคู่ 3,800-






















640.พระรูปเหมือนเนื้อดินผสมชานหมาก หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว จ.สุพรรณบุรี จัดสร้างปี2500-2508 สภาพสวยเนื้อจัดส์ ส่งเข้าประกวดได้ครับ นานๆเจอที 2,800-


หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว สุดยอดพระเกจิ เกจิแถวหน้าของสุพรรณบุรี



หลวงพ่อโบ้ยท่านเป็นชาวบ้านสามหมื่น ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี  มาประกอบอาชีพอยู่ที่บ้านทัพตีเหล็กสุพรรรณบุรี ชาวบ้านแถวนั้นส่วนใหญ่นอกจากทำนาแล้วยังมีอาชีพตีเหล็กอีกด้วย

ท่านเกิด ปี พ.ศ.2435 ปีมะโรง บิดาท่าชื่อนาย โฉมศรี อาชีพทำนา มารดาไม่ทราบชื่อ อายุท่านได้21ปี(พ.ศ.2456) ท่านได้อุปสมบทที่วัดมะนาว(เป็นวัดสมัยรัตนโกสินทร์)จำพรรษาได้ 3 พรรษาราวๆ

ปี2459 ท่านได้ไปศึกษาพระธรรมวินัยที่วัด ชีปะขาวหรือวัดศรีสุดาราม ธนบุรี 8-9ปี จึงกลับมาจำพรรษาที่วัดมะนาวแล้วได้เดินทางไปเรียนวิชาวิปัสนากรรมฐานกับ หลวง พ่อเนียม วัดน้อย และ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

อีก1พรรษาท่านได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดมะนาวเมื่อปี พ.ศ.2467
 
หลวงท่านมักน้อย ถือสันโดษ ไม่รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ไม่ว่าใครนิมนต์ไปไหนใครถวายเงินมากๆท่านจะไม่รับ
วัตถุมงคลท่านสร้างราวๆปี พ.ศ. 2473 พระที่ท่านสร้างจะเป็นเนื้อทองเหลืองผสม โต๊ะ โตก ขันลงหิน เงิน ทอง ที่ชาวบ้านนำมาถวายเพื่อสร้างวัตถุมงคลด้วยแรงศรัทธาลักษณะเด่นของวัตถุมงคล ของท่าน
จึงแตกต่างกันไป เนื้อทองเหลือง บ้างก็แก่ทอง บ้างก็แก่เงิน แก่สำริด เอกลักาณ์ของวัตุมงคลของท่านคือ รอยย่นของเนื้อพระ รอยตะไบข้างที่มีเกือบทุกองค์
   ปี พ.ศ.2479 ท่านได้สร้างพระเนื้อดินเผา พระเจ้า5พระองค์ มีพิมพ์ ทรงพญานาค ทรงโค ทรงสิงห์ ทรงเต่า ทรงนก(บางคนว่าไก่) เนื้อดินล้วน
   ปี พ.ศ.2500 ท่านได้สร้างวัตถุมงคลเป็นรูปของท่าน ท่านเอา ชานหมาก ที่ท่านเก็บมา15-20ปีเอามาผสมกับ ผงธูป และ ดอกใม้แห้ง ผสมกับดินบ้าง ใช้น้ำตาลโตนดเป็นเชื้อสมาน เนื้อพระท่านจึงออกมา 3 เนื้อ ทั้งที่ทำครั้งเดียวกัน
เนื่องจากชานหมากมีน้ำหนักเบาการหยิบมาสร้าง ครั้งแรกๆจึงเป็นเนื้อชานหมาเสียส่วยใหญ่เรียกว่า เนื้อชานหมาก พอเนื้อชานหมากหมดก็จะเหลือชั้นที่2ชั้นที่มีผงธูปเสียส่วนใหญ่จึงเรียกว่า เนื้อผงธูป ชั้นที่3คือดินที่มีน้ำหนักมากสุด
เลยมีเนื้อดินเสียส่วนใหญ่จึงเรียกว่า เนื้อดิน
   ท่านได้สร้างเหรียญ สี่เหลี่ยมตัดมุม กับเหรียญเต็มองค์ สร้างคราวงานผูกพัทธสีมา พ.ศ.2508 (ต้นปี)
   วัตถุมงคลของท่าน ท่านได้แจกอย่างเดียว ไม่ยอมรับปัจจัยใดๆทั้งสิ้น
   หลวงพ่อท่านได้มรณะเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2508 ในวันฌาปนกิจประชาชนได้มาชุมนุมกันคับคั่ง(ได้สร้างเหรียญกลมครึ่งองค์แจกในงานนี้)
   ประวัตินี้ได้อ้างอิงมาจากหนังสือ พระเครื่องเมืองสุพรรณของ อาจารย์มนัส โอภากุล และ หนังสือรวมภาพพระยอดนิยมเมืองสุพรรณบุรี










641.รูปเหมือนแผ่นปั๊ม พระญาณวิศิษฎ์ (พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม) วัดป่าสาละวัน โคราช ปี18 "หรือเรียกว่านกเล็ก พิมพ์มีห่วง" พิธีหมู่พระกรรมฐาน

พระดีพิธีใหญ่มากในยุคนั้น สุดยอดประสบการณ์ สวยๆ พื้นที่กำลังมาแรงเก็บกันครับ มีประสบการณ์ มหาอุตม์ แคล้วคลาด เป็นที่ยอมรับ

สวยๆ ผิวหิ้ง ของหายากแล้วครับ ยิ่งสวยๆ คนเก็บหมด
1500-

รายนามพระอาจารย์ฝ่ายกัมมัฏฐานที่มาร่วมงาน และแผ่เมตตาจิต เมื่อวันที่ 2-3 ธันวาคม พ.ศ. 2518 เอาที่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
1.หลวงปู่เทศน์ วัดหินหมากเป้ง
2.หลวงปู่ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร (เป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย และแผ่เมตตาจิต 40 นาที)
3.หลวงปู่ศรีจันทร์ วัดศรีสุทธาวาส
4.หลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก (ประพรหมน้ำพระพุทธมนต์)
5.หลวงปู่อุ่น วัดอุดมรัตนาราม
6.เพระเทพบัณฑิต (รักษ์ เรวโต) วัดศรีเมือง
7.หลวงปู่แว่น ธนปาโล (ดับเทียนชัย)
8.หลวงปู่บุญ ชินวังโส
9.หลวงปู่กงแก้ว ขันติโก วัดป่ากลางสนาม
10.พระสุธรรมคณาจารย์(แดง) วัดประชานิยม
11.หลวงปู่เหรียญ วัดอรัญญบรรพต
12.หลวงปู่บัวพา วัดป่าพระสถิตย์
13.หลวงปู่ผั่น ปาเลสโก วัดถ้ำเอราวัณ
14.พระอาจารย์วัน อุตตโม
15.หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
16.หลวงตาแตงออ่น
17.พระอาจารย์จันทร์แรม เขมะสิริ
18.พระอาจารย์เหลือง วัดกระดึงทอง
19.พระอาจารย์แบน วัดดอยธรรมเจดีย์
20.พระอาจารย์บุญมี วัดประชานิยม
21.พระอาจารย์ประสาน วัดคามวาสี
22.พระอาจารย์สมัย วัดโนนแสงทอง
23.พระอาจารย์สิงห์ทอง วัดป่าสุนทราราม
24.พระอาจารย์หลวง วัดป่าสำราญนิวาส
เป็นต้น











 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi