หลวงปู่เพชร ปทีโป พระโพธิสัตว์ผู้เหยียบแผ่นหินเป็นรอยเท้า(อ่าน 69828 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้





หลวงปู่เพชร ปทีโป พระโพธิสัตว์ผู้เหยียบแผ่นหินเป็นรอยเท้า
จากหนังสืองานทำบุญ ๑๐๐ วันบรรจุอัฐิ หลวงปู่เพชร ปทีโป




นามเดิมชื่อ เพชร พุทธวงศ์ เกิดที่ สุขาภิบาลคอนสาร อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๕

บิดาชื่อด้วง พุทธวงศ์
มารดาชื่อ นางปาน พุทธวงศ์
มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๒ คนคือ
๑.นางบุศ พุทธวงศ์ (ถึงแก่กรรม)
๒.หลวงปู่เพชร ปทีโป

ชีวิตวัยเยาว์

ขณะที่ยังเยาว์อยู่เป็นคนขรึมไม่ค่อยพูดเป็นคนจริงจัง สมถะอยู่กับพ่อ-แม่ จนเข้าวัยเรียนหนังสือประถมศึกษา จากโรงเรียนบ้านเกิดจนจบประถม ๒ บริบูรณ์ ในสมัยนั้นก็ถือว่าเป็นชั้นสูงแล้ว พอดีขณะที่มีอายุ ๑๔ ปี ตรงกับปีวอก พ.ศ. ๒๔๓๙ บิดา-มารดา พาครอบครัวอพยพไปในงานนมัสการพระธาตุหลวงนครเวียงจันทน์ ตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๑๒ โดยพักอาศัยบ้านญาติฝ่ายมารดาที่อุ้มวัดธาตุขาวเมือง ศรีสัตตนาคนหุด แขวงเวียงจันทน์ ไทย-ลาว เป็นบ้านพี่เมืองน้อง ข้ามแม่น้ำโขงไปมาหาสู่กันสะดวกสบาย ไม่ว่าพระ-โยม ก็ร่วมงานร่วมบุญมหาชาติกันเสมอ ครอบครัวหลวงปู่เพชร ปทีโป ก็เช่นเดียวกับประชาชนอื่นๆ

อนึ่งครอบครัวนี้มีสมาชิกน้อยคนเพียง พ่อ แม่ ลูกชาย และลูกสาว รวม ๔ คนเท่านั้น จึงง่ายต่อการปกครองเลี้ยงดู เพราะเชื้อสายตระกูลวงศ์ของ พ่อ แม่ เป็นคนมีศีล มีสัตย์ อุปัฏฐากพระสงฆ์องค์ศาสนา อยู่ตามกรอบแห่งศีลธรรม ยึดปฏิบัติตามหลักธรรมทางพุทธศาสนาอย่างดียิ่งโดยสอนลูก ๆ อยู่เสมอว่า “ลูกเอ๋ยคนดีต้องมีศีลธรรม กาย วาจา จิตใจ งานเรียบร้อยคือความมีศีล” จิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อสรรพสัตว์ทุกถ้วนหน้า คือ “มีธรรม ศีลธรรมนี้แหละจะนำพาชีวิตของพวกเราให้เจริญดี มีฐานะ มีอายุมั่นคงดำรงชีพโดยราบรื่น”

ด้วยเหตุนี้ครอบครัวนี้จึงได้ใกล้ชิดอุปัฏฐากพระสงฆ์ ครูอาจารย์ผู้สำคัญ ๆ หลายรูปทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวา ของแม่น้ำโขง เช่น ท่านสมเด็จลุน หลวงปู่ศรีทัต เป็นต้น ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ นักปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน เดินแสวงหาโมกขธรรม ถือธุดงควัตรแถบอีสานตอนบน ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงสันภูเขาควายโดยมีบุญบารมีสูงยิ่ง ผ่านไปแถวถิ่นต่างๆ มีผู้คนเคารพนับถือมอบตนเป็นสานุศิษย์ ตามไปฟังเทศน์ฟังธรรม ทำสมาธิกัมมัฏฐานกับท่านแห่งละหลายพันคน



บวชเป็นสามเณรกับหลวงปู่ศรีทัต

ครอบครัวนี้ก็ได้มอบลูกชายสุดที่รักคือ นายเพชร พุทธวงศ์ นี้ให้เป็นกัณฑ์เทศน์ หลวงปู่ศรีทัตใน ขณะนั้นท่านหลวงปู่ศรีทัตอยู่อาศัยปฏิบัติสมาธิภาวนาอยู่ที่วัดพระพุทธบาทเวินกลุ่ม (พระบาทโคกซวก) ตำบลพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย โดยความเคารพนับถือ ศรัทธามากจึงเอาลูกชายติดเป็นกัณฑ์เทศน์แล้วแต่ท่านจะรับไว้ใช้อนุเคราะห์ ขณะนั้นปู่เพชร อายุได้ ๑๔ – ๑๕ ปีเท่านั้นเอง เมื่อพ่อ แม่ ยอมยกให้หลวงปู่ศรีทัตน์แล้ว ท่านก็ถือเป็นศิษย์นำติดไปเดินธุดงค์ในสถานที่ต่างๆ เพื่อรับใช้ปฏิบัติอุปัฏฐากพระตามธรรมเนียมลูกศิษย์ พระวัดป่าก็ต้องอดทน ทรมานตนอนุวัตรตามพระกัมมัฏฐานอยู่ลำบาก กินน้อย นอนน้อย คอยปฏิบัตธรรม กัมมัฏฐาน

ทำความเพียรให้มากๆ เพื่อให้เกิดความมุมานะบากบั่น ขยัน ไม่หลงตน ไม่ประมาทในชีวิตจนคลายจากนิสัยที่หยาบ มีอุปนิสัยโน้มไปยังส่วนที่ละเอียดทุกที ทั้งทางกาย วาจา และส่วนลึกแห่งจิตใจ ก็มั่นคงดี ใจศีลธรรม หลวงปู่ศรีทัต จึงอนุญาตให้บวชเป็นสามเณรได้ ตอนนั้นอายุย่างเข้าปีที่ ๑๖ การบวชเป็นสามเณรนั้น หลวงปู่ศรีทัต รับเป็นอุปัชฌาย์เอง พร้อมด้วยคณะสงฆ์ที่ติดตามปฏิบัติธรรม ณ วัดพระพุทธบาทเวินกลุ่ม (โคกซวก) ตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๔๑ ตรงกับปีจอ ร.ศ. ๑๑๗ จ.ศ. ๑๒๖๐ รัชกาลที่ ๕ ในขณะนั้นอายุ ๑๖ ปี นอกจากศึกษาเล่าเรียนศีลธรรม ท่องสวดแบบต่อหนังสือกับพระอาจารย์(เรียนตามคำบอก) ไม่มีหนังสือ ตำรามีน้อยไม่สะดวกด้วยตำราเหมือนในปัจจุบันนี้ แล้วต้องได้ฝึกทำสมาธิจิต นั่งกัมมัฏฐานเดินจงกรมวันละหลายชั่วโมง ดำเนินตามปฏิปทาของพระธุดงค์

ว่างจากเรียนและปฏิบัติแล้ว เวลากลางวันก็ชอบไปฝึกเรียนศิลปะการวาดรูป ปั้นพระพุทธรูป แกะสลักพระไม้จันทร์หอม และแกะสลักหินเป็นพระพุทธรูป จากหลวงปู่ศรีทัตเป็นประจำ จนเกิดความชำนาญกลายเป็นอุปนิสัยติดตัวมาจนกระทั่งอายุถึง ๗๐ – ๘๐ ปี ยังทำอยู่ ที่อยู่วัดบางแห่งเช่น วัดพระพุทธบาทโนนฆ้อง ถ้ำคอกม้า แกะสลักพระพุทธได้มาก ถึงกับทำพิธีบรรจุไว้ตามหน้าผา หน้าถ้ำก็มีมาก ส่วนที่เหลือจากมอบให้วัด ลูกศิษย์บางคนนำไปสักการะบูชาเพื่อเป็นสิริมงคลก็มาก ขณะบวชเป็นสามเณรอยู่ได้พักอยู่จำพรรษาตามวัดดังนี้คือ

๒ พรรษาแรกอยู่ที่วัดพระพุทธบาทเวินกลุ่ม(โคกซวก) ปีพ.ศ. ๒๔๔๑ – ๒๔๔๒
พรรษาที่ ๓ ไปจำพรรษาที่วัดพระพุทธบาทบัวบด (พระบาทหอนาง) บ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ปีพ.ศ. ๒๔๔๓
ส่วนปีพ.ศ. ๒๔๔๔ – ๒๔๔๕ ข้ามฟากไปเยี่ยมโยมที่ประเทศลาว จึงอยู่เข้าพรรษาที่วัดธาตุขาว เมืองศรีสัตตนาคนหุต เวียงจันทน์ ประเทศลาว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2017, 05:21:14 PM โดย porpek »



หลวงปู่ศรีทัตพระอาจารย์ของหลวงปู่เพชร



หลวงปู่ศรีทัตท่านเป็นพระป่ามีชื่อเสียงทางด้านวิปัสสนากรรมฐานและทรงวิทยาคมทางด้านคาถาอาคมไสยเวท ซึ่งท่านได้ศึกษาวิชาอาคมด้านต่าง ๆ มาจากสมเด็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว สมเด็จลุนท่านเป็นสุดยอดปรมาจารย์ของประเทศลาว พระเกจิอาจารย์ทางภาคอีสานแถบลุ่มแม่น้ำโขงที่มีชื่อเสียงโด่งดังล้วนฝากตัวเป็นลูกศิษย์ท่านทั้งสิ้น สมเด็จลุนท่านมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มากมายเหลือจะบรรยายเป็นตัวอักษรได้ จะขอกล่าวไว้พอเป็นสังเขป สมเด็จลุนท่านสามารถเดินข้ามแม่น้ำโขงด้วยเท้าเปล่าและบางครั้งท่านจะไปนั่งสรงน้ำกลางแม่น้ำโขง นี่คืออิทธิปาฏิหาริย์ของท่านและในบรรดาลูกศิษย์ของสมเด็จลุน หลวงปู่ศรีทัตถือเป็นศิษย์เอกที่ได้รับการถ่ายทอดตำราวิทยาคมจากสมเด็จลุนจนหมดสิ้น


ลาสิกขาบทเพื่อไปเกณฑ์ทหาร

เมื่อออกพรรษาที่วัดธาตุขาว เมืองศรีสัตตนาคนหุต เวียงจันทน์ ประเทศลาวแล้ว จึงได้ไปกราบลาสิกขาบทต่อหลวงปู่ศรีทัตขณะนั้น หลวงปู่ศรีทัตท่านปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดพระพุทธบาทโพนแน ลาสิกขาบทแล้วรีบไปเกณฑ์ทหารที่บ้านเดิม คือ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๔๖


เป็นฆราวาส

ไม่ปรากฏหลักฐานว่าท่านได้รับเลือกเป็นทหารเกณฑ์หรือไม่ เมื่อเป็นฆราวาส ผู้ครองเรือนก็เป็นคนขยันทำมาหาเลี้ยงบิดา มารดา คือ นางปาน นายด้วย พุทธวงศ์ อย่างเต็มความสามารถ ในการปฏิบัติอุปัฏฐากบิดา มารดา จนคนใกล้ชิดเรียกว่า “ลูกกตัญญู” อาชีพหลักก็ทำนา ประกอบกับบิดาเป็นหมอยาโบราณ(ยาสมุนไพร) ไปรักษาคนป่วยกับบิดาเสมอ จนกลายเป็นหมอยาทั้งบิดา ลูก งานอดิเรกพิเศษคือชอบเรียนลำ กลอน เป่าแคน รับจ้างงานวันละ ๒ – ๓ บาท ก็เอา สมัยนั้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๑ บิดามารดา จึงย้ายบ้านจากอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ไปอยู่กับญาติที่หมู่บ้านปากโสม อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ขณะนั้นพี่น้องหลานๆ ยังอยู่มากมาย เช่นแม่ตู้ขาว แม่ของอาจารย์สดและกำนันพรม เพ็งสมภาร เป็นต้น ส่วนศิษย์ผู้ได้รับแสงสว่างแห่งชีวิตจากการเทศน์ แนะนำปฏิบัติธรรมตามนั้นมีมากจริงทั้งในประเทศไทย ลาว ฝรั่งเศส เพราะท่านเป็นคนดี มีญาณสูง มุ่งปรารถนาพุทธภูมิ แผ่เมตตาช่วยลูกศิษย์ผู้ดีมีศีลธรรมอย่างสม่ำเสมอ

ชีวิตคู่ระหว่างเป็นคฤหัสถ์


อนึ่งชีวิตระหว่างเป็นคฤหัสถ์อีกช่วงหนึ่งของท่าน ควรเขียนแทรกไว้ ณ ที่นี้ คือชีวิตคู่ของท่าน ครั้งหนึ่งระหว่างอยู่เขตอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย มีคนลาวเชื้อสายฝรั่งเศส พวกปลูกสวนป่าสักที่ เกาะดอนปากน้ำตอนตรงข้ามฝั่งไทย ของหมู่บ้านปากโสม ข้ามเรือมาเชิญนายด้วง พุทธวงศ์ บิดาท่านเพชรไปรักษาโรคตับ ของลูกสาวซึ่งอาการเป็นตายเท่ากัน ท่านเพชรตามบิดาไปด้วย เห็นอาการคนป่วยแล้วนึกสมเพช สงสาร หญิงสาวผู้ป่วยเป็นยิ่งนักกลัวว่าจะไปไม่รอดแน่ทั้งผอม ข้าวก็ทานได้แต่น้อย ก่อนจะลงมือรักษา จึงถือปากว่าถ้ารักษาหายจะขอไปเป็นน้องสาวจะได้ไหม? บิดามารดาของหญิงสาวที่ป่วยจึงบอกว่าได้ จะยกให้เลยขอให้แต่ให้รอดชีวิตเถอะ ปรากฏว่ารักษาอยู่ไม่นานโรคตับของหญิงนั้นหายจริงภายใน ๑ เดือน ทางครอบครัวผู้หญิงเขาจึงยกให้เป็นภรรยาของท่านเพชร พุทธวงศ์ เนื่องจากวาสนาต่อกัน อันจะเป็นคู่ชีวิตเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต



ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์

แต่อนิจจาความรักไม่สมหวัง อยู่ได้ ๓ – ๔ เดือนต้องเลิกร้างกันไปโดยไม่มีพันธะผูกพัน เป็นทั้งรักครั้งแรกและทั้งรักครั้งสุดท้ายที่มีต่อหญิงสาว เนื่องจากคำอธิษฐานของท่านว่าชาตินี้จะลงมาเพื่อบวชเป็นพระถือเพศบรรชิตบำเพ็ญบุญบารมีเพื่อสะสมเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต หลังจากนั้นมาท่านก็ครองตัวเป็นโสดมาโดยตลอด มุ่งเลี้ยงดูแต่บิดามารดาทั้งสองมา จนอายุย่างเข้าปีที่ ๓๑ พ่อ แม่ จึงพาย้ายไปพักอยู่กับญาติพี่น้องที่คุ้มวัดธาตุขาว


มองเห็นอนิจจังของชีวิต

เมื่อความเปลี่ยนแปลง หรือสภาพทั่ว ๆ ไป บ่งบอกถึงอาการภาวะว่าตกอยู่ใต้อนิจจาภาวะคือความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ของความเป็นอยู่ของชีวิตที่ผ่านมาโดยย้ายที่หาความอยู่ดีมั่งมีทรัพย์สิน แต่ได้ประสบพบเข้าทั้งที่เป็น
นิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่น่าปรารถนา คือ การได้ลาภ ได้ยศ ได้ความสุข และได้รับการยกย่องสรรเสริญ
อนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา คือ การเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ได้ความทุกข์ และได้รับการนินทาว่าร้าย
เมื่อประสบกับชีวิตอย่างนี้ก็เริ่มคิดถึงหลักธรรมที่หลวงปู่ศรีทัต ซึ่งเป็นพระอาจารย์ท่านแรกที่สอนสั่งเรื่องชีวิต คือความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่สาระแก่นสารดีงามโดยให้ยึดหลักปฏิบัติศีลธรรมทางพุทธศาสนา เป็นสรณะที่พึ่งประกอบกับยกภาษิตพระร่วงประกอบว่า

ที่มีภัยพึงหลีก ปลีกคนไปโดยด่วน
ได้ส่วนอย่ามักมาก อย่ามีปากว่าคน
รักตนกว่ารักทรัพย์ อย่าได้รับของเข็ญ
เห็นงามตาอย่าปอง ของฝากท่านอย่ารับ
ที่ทับจงมีไฟ ที่ไปจงมีเพื่อน
ทางแถวเตือนไคลคลา ครูบาสอนอย่าโกรธ




อัฐิธาตุหลวงปู่เพชร ปทีโป

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2017, 05:22:30 PM โดย porpek »



จากหนังสือ “สืบสายพระโพธิญาณ สานปณิธานพระโพธิสัตว์”



เปิดโผ! รายนามพระโพธิสัตว์ในเมืองไทย
พระอริยะผู้ปราถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไปในอนาคต
หมั่นอธิษฐานถึงได้รับบารมีทั่วทุกคน


ตั้งแต่สัมยพระสมณโคดม องค์พระศรีอรยเมตรตรัยได้ลงมาเกิดเพื่อบำเพ็ญบารมีหลายครั้ง
ครั้งพุทธกาลได้ลงมาเกิดเป็น พระภิกษุนามว่า “อชิตะ”
พระพุทธองค์ได้ประกาศว่าท่านจะเป็น “พระศริอารย์” ในภายภาคหน้า
กาลต่อมาได้มาเกิดเป็น “หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด”
ลงมาเกิดเป็น “พระภิกษุวัดไลย์ ลพบุรี” และมาเกิดเป็น “หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ”



 การบำเพ็ญบารมีของ “พระศรีอารย์” ถือว่าถึงเส้นชัยแล้ว
แต่ท่านก็สร้างบารมีต่อเนื่อง เพราะมีโพธิจิตเมตตาสงสารสรรพสัตว์
คอยช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากและบอกทางพ้นทุกข์อยู่เสมอ
ในปัจจุบันถือว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ที่มีบารมีสูงที่สุด
ผู้ที่อธิษฐานจิตถึงท่านจะได้รับการช่วยเหลืออย่างน่าอัศจรรย์

ทั้งนี้จากหลักฐานที่เป็นบันทึกจากครูบาอาจารย์
และเหล่าศิษย์ใกล้ชิด สามารถสรุปรายนามพระโพธิสัตว์ในเมืองไทย ไว้ดังนี้

รายนามพระโพธิสัตว์ในเมืองไทยโดยสังเขป

๑ หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เป็นพระศรีอริยเมตรตรัยกลับชาติมาเกิด ได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว

๒ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เป็นการแบ่งภาคของหลวงปู่ทวดและนับเป็นภาคหนึ่งของพระศรีอรยเมตรตัรย ได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว

๓ สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เป็นพระโพธิสัตว์

๔ หลวงพ่อปาน โสนันโท เป็นโพธิสัตว์บารมีเต็ม ได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว

๕ ครูบาศรีวิชัย เป็นพระโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว

๖ ครูบาขาวปี เป็นพระโพธิสัตว์

๗  ครูบาชัยวงศาพัฒนา เป็นพระโพธิสัตว์

๘  หลวงปู่ญาคูสีทัตต์ เป็นพระโพธิสัตว์บารมีแก่กล้าได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว

๙ หลวงปู่เพชร ปทีโป เป็นพระโพธิสัตว์

๑๐ หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวก จ.มุกดาหาร  เป็นพระโพธิสัตว์

๑๑ ครูบาบุญชุ่ม วัดพระธาตุดอนเรือง เป็นพระโพธิสัตว์ได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว

๑๒ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นพระโพธิสัตว์แต่เดิมแล้วลาพุทธภูมิรวมบารมีเป็นพระอรหันต์ในปัจจุบันชาติ

๑๓ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ เป็นพระโพธิสัตว์แบบวิริยะธิกะแล้วลาพุทธภูมิ


๑๔ หลวงตาม้า หรือพระวรคต วิริยธโร วัดถ้ำเมืองนะ เป็นพระโพธิสัตว์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2017, 05:23:22 PM โดย porpek »



พระโพธิสัตว์บารมีเต็มเท่านั้นถึงสามารถประทับรอยเท้าบนแผ่นหิน




หลวงปู่ดู่ วัดสะแก พระโพธิสัตว์ที่หลายคนเชื่อว่าท่านคือหลวงปู่ทวดแบ่งภาคมาเกิด

เรื่องที่ ๑ พระโพธิสัตว์ - หน่อพุทธภูมิ - การแบ่งภาค
เนื้อหาทั้งหมดในกระทู้นี้เรียบเรียงจากหนังสือกายสิทธิ์เล่ม ๑
สำนักสงฆ์พุทธพรหมปัญโญ (วัดถ้ำเมืองนะในปัจจุบัน) ตีพิมพ์เมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อน


ช่วงที่ ๑

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ วันหนึ่ง ขณะที่ผู้เขียนกำลังนั่งคุยกับหลวงปู่ ท่านได้ถามผู้เขียนว่า "เคยได้ยินเรื่องการแบ่งภาคไหม" ผู้เขียนเรียนตอบท่านว่า "เคยครับ ในเรื่องรามเกียรติ์ พระรามแบ่งภาคมาจากพระนารายณ์ มีจริงหรือครับหลวงปู่" หลวงปู่ท่านนิ่งอยู่อึดใจหนึ่งแล้วตอบว่า "มีจริงเหมือนกัน อย่างหลวงปู่ทวดแบ่งภาคมาเกิดไงละ" เกี่ยวกับเรื่องนี้ เคยมีนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียนถามหลวงปู่ ซึ่งหลวงปู่ตอบว่า "มี...แต่ทำได้ในพวกหน่อพุทธภูมิ" หลวงปู่ท่านเคยบอกผู้เขียนว่า "แก รู้ไหมว่า ในหลวงท่านเป็นใคร ท่านคือผู้ปรารถนาพุทธภูมิ กำลังใจของท่านพวกนี้จะต้องเป็นผู้นำหมู่คณะ ดูอย่างวัวยังมีจ่าฝูง นกก็ต้องมีหัวหน้าฝูง วัดก็ต้องมีเจ้าอาวาส อย่างหลวงพ่อใหญ่ (พระโบราณคณิสร อดีตเจ้าอาวาสวัดสะแก) แต่หน่อพุทธภูมิที่มีบารมีเต็มแล้ว สูงแล้ว เขามักจะไม่เป็นกษัตริย์ เพราะจะมีภาระหนักหน่วง ส่วนใหญ่เขามักเป็นคนธรรมดาแล้วบวชพระ แต่จะบำเพ็ญบารมีจนในที่สุดจะกระเทือนถึงพระราชวงศ์เอง พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ท่านมีบุญมาก และเป็นแบบอย่างให้ข้าราชการผู้ใหญ่ทำตาม"

ผู้เขียนจึงเรียนถามท่านต่อไปว่า "หลวงปู่ครับ หน่อพุทธภูมิที่บารมีเต็มแล้ว ท่านก็ไม่ต้องมาเกิดแล้วใช่ไหม รอการตรัสรู้เลยที่ชั้นดุสิต หรืออย่างหลวงปู่ก็ไม่ต้องมาเกิดแล้วใช่ไหมครับ" หลวงปู่ตอบว่า "กำลัง ของพุทธภูมิมีหน้าที่ที่จะทำให้มหาชนมีความสุข ถ้ามีคนเรียกร้องหรือบ้านเมืองเกิดยุคเข็ญก็ต้องลงมาช่วย จะคิดเอาแต่สบายได้ยังไง นั่นไม่ใช่ความคิดของหน่อพุทธภูมิ อย่างนี้พระอรหันต์สำเร็จแล้ว ท่านก็ไม่ต้องยุ่งกับใคร ไม่ต้องทำอะไรแล้วซิ" หลวงปู่ท่านตอบคำถามของผู้เขียนเสร็จแล้ว ท่านปรารภถึงการจัดการเรื่องศพของท่านต่อไปว่า "ถ้าข้าตายแล้วอย่าเก็บศพไว้นาน เจ็ดวันเผาเลย ไม่เผาก็โยนทิ้ง เดี๋ยวจะกลายเป็นหากินกับศพ"

ผู้เขียนได้แย้งท่านว่า "กลัววัดจะร้าง" หลวงปู่ท่านตอบว่า "เรื่อง เผาไม่เผา ต้องแล้วแต่คำสั่ง ดูอย่างหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ท่านสั่งไม่ให้เผา เพราะกลัวพระเณรจะอดอยาก แต่สำหรับข้าให้เผา เวลาจะเผาให้เผายืน ข้าจะได้ไปไหนได้" ผู้เขียนจึงถามท่านว่า "หลวงปู่ไม่ไปนิพพานหรือ" ท่านตอบว่า "จะ ไปได้อย่างไร คนนี้ก็เรียก คนนั้นก็ร้อง ข้าไปแค่หัวตะพานก็พอ ดูอย่างหลวงปู่ทวดซิ มีคนเรียกร้องท่านมากมาย บารมีท่านเต็มท้องฟ้า อย่างข้าเอง คนไหนคิดถึงข้า ข้าก็คิดถึงเขา คนไหนไม่คิดถึงข้า ข้าก็คิดถึงเขา เพราะในวันหนึ่งๆ ข้าต้องอธิษฐานไปให้หมู่คณะทุกวันไม่เคยขาด วันละ ๓ ครั้ง เขาจะได้ไม่เป็นอันตรายทั้งเช้ามืด ตอนเย็น ตอนกลางคืน ก่อนนอน เพื่อเป็นการช่วยเหลือหมู่คณะ"

ผู้เขียนฟังจบ พร้อมกับสำนึกในเมตตาของหลวงปู่ที่มีต่อลูกศิษย์อย่างมาก หลวงปู่ท่านได้ย้ำด้วยความเมตตาต่อไปอีกว่า "คิด ถึงพระครั้งหนึ่ง บารมีพระมาถึงเราไปกลับ ๗ เที่ยว รวมแล้ว ๑๔ ครั้ง ได้กำไรดีไหมล่ะ นี่มีในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าบอกกับพระอานนท์ ถ้าเราคิดถึงพระได้เหมือนกับคิดถึงแฟนเมื่อไหร่ แสดงว่าจะดีแล้ว"


หลวงปู่ดู่ท่านกล่าวว่า พระโพธิสัตว์บารมีเต็ม ที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตอันใกล้ เทวดา ท่านจะขอให้ประทับรอยเท้าบนแผ่นหินไว้ เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของมนุษย์ เทวดา ทั้งหลาย เช่น หลวงปู่ทวด ท่านก็ประทับรอยเท้าไว้ที่วัดพะโคะ ครูบาศรีวิชัย ประทับรอยฝ่ามือ ฝ่าเท้าไว้ที่วัดพระพุทธบาทแก่งสร้อย ฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2017, 05:24:24 PM โดย porpek »



หลวงปู่ทวด



รอยเท้าหลวงปู่ทวด ที่วัดพะโคะ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2017, 05:25:20 PM โดย porpek »



ครูบาศรีวิชัย



รอยฝ่ามือ ฝ่าเท้าครูบาศรีวิชัย
ที่วัดพระพุทธบาทแก่งสร้อย ตำบลบ้านนา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2017, 05:27:33 PM โดย porpek »



โดยหลวงปู่เพชรได้ประทับรอยเท้าทั้งสองข้างไว้ที่ถ้ำประเทศลาว
เป็นคำบอกเล่าของหลวงปู่คำตันที่ปรึกษาพระสังฆราชประเทศลาว
หลวงปู่คำตันเป็นลูกศิษย์หลวงปู่เพชรได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่เพชรถึง ๒๐ พรรษา




ภูเขาควายตั้งอยู่ที่บ้านนายาง เมืองธุรคม แขวงเมืองเวียงจัน มีพื้นที่ ๒,๐๐๐ ไร่ บนยอดเขาภูเขาควายปัจจุบันได้ถูกสร้างเป็นวัดชื่อ “วัดป่าพระบาทภูเขาควาย” โดยหลวงปู่คำตัน วรราช (พระประเทศลาว) ซึ่งท่านเป็นคนเมืองธุระคม บ้านอยู่ใกล้ๆ ภูเขาควาย ท่านบวชเป็นสามเณร ตั้งแต่อายุ ๑๓ ปี และก็อยู่ในภูเขาศํกดิ์สิทธิ์มาตั้งแต่เด็ก โดยท่านอยู่กับ หลวงปู่เพชร ปัจจุบันท่านจะอยู่ประจำที่วัดดงป่าลาน ในเมืองเวียงจัน และจะขึ้นมาวัดป่าพระบาทภูเขาควาย เป็นช่วงๆ โดยส่วนใหญ่จะนำเงินและวัสดุก่อสร้างมาให้กับช่างทีทำการสร้างสิ่งก่อสร้างในวัด แต่ถ้าหลวงปู่ไม่อยู่ บนเขาก็มีพระลาว ๔ รูป สามเณร ๑ รูป แม่ชี ๕ รูป และยังมีโยมที่คอยช่วยงานวัดอีกหลายคนไป ๆ มา ๆ นอกจากยังมีพระไทยเดินทางมาพักเป็นช่วงไม่ขาด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2017, 05:28:10 PM โดย porpek »





เรื่องเล่าจากหลวงปู่คำตัน

เรื่องมีดังนี้ครับ เมื่อครั้งที่หลวงปู่คำตันท่านปรนนิบัติหลวงปู่เพชรที่ถ้ำประเทศลาว เช้าวันหนึ่งหลวงปู่คำตันเข้าไปหาหลวงปู่เพชรตามปกติ แต่วันนี้ที่แปลกคือ มีรอยเท้าประทับอยู่บนหินครับ หลวงปู่คำตันก็เลยงง และสงสัยว่ารอยใคร ใช่รอยหลวงปู่เพชรหรือเปล่าก็เลยเข้าไปถามหลวงปู่เพชรว่ารอยใครใช่รอยปู่หรือเปล่าหรือรอยพ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านอื่นแต่หลวงปู่เพชรก็ไม่ตอบได้แต่ยิ้มให้เฉยๆ หลวงปู่คำตันก็เลยไม่กล้าถามต่อ แต่ก็สงสัยว่ารอยใครวันต่อมาก็เข้าไปหาหลวงปู่เพชรตามปกติและที่แปลกอีกคือวันนี้ก็มีอีกรอยหนึ่งประทับอยู่ข้างกัน ทำให้หลวงปู่คำตันสงสัยเข้าไปอีกว่ารอยใครก็เรียนถามหลวงปู่เพชรอีกว่ารอยใคร หลวงปู่เพชรก็ไม่ตอบเช่นเคยได้แต่ยิ้มให้เฉยๆโดยหลวงปู่คำตันก็อยู่กับหลวงปู่เพชรแค่สองรูปเท่านั้น

ปัจจุบันหลวงปู่คำตัน วรราช วัดพระพุทธบาทภูเขาควาย สปป.ลาว ได้มรณภาพแล้ว โดยได้ประชุมเพลิงสรีระธาตุหลวงปู่ใหญ่คำตัน ที่วัดดงป่าลานเวียงจันทร์ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2017, 05:28:44 PM โดย porpek »



หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี



วันหนึ่งมีลูกศิษย์ นำพระมาให้หลวงพ่อฤาษีฯดู หลวงพ่อฤาษีฯก็จับพระองค์นั้นไว้ครู่หนึ่ง แล้วพูดว่า ตั้งแต่จับพระมา พระที่มีพลังแรง ก็มี พระสมเด็จ พระของหลวงพ่อปาน และพระองค์นี้ ข้าฯสงสัย ก็เห็นครูบาศรีวิชัยอยู่ตรงหน้า ยังไม่ได้ถามอะไร ท่านครูบาศรีวิชัยก็บอกเองว่า “พระนี้ท่านทำเอง” แล้วก็ส่งพระคืนให้ลูกศิษย์

ลูกศิษย์ทำหน้างง ๆ เพราะไม่ทราบเหมือนกันว่า พระนี้ครูบาศรีวิชัยอธิษฐานจิตทราบแต่เพียงเป็นพระที่ครูบาบุญทืม จ.ลำพูน สร้างไว้ เลยย้อนกลับไปถามครูบาบุญทืม ก็ได้ความว่า เป็นพระรอดเนื้อดินเผาขนาดองค์เล็ก (วงการพระเรียกว่าพระรอดเณรจิ๋ว) ที่ครูบาบุญทืมทำไว้ตอนเป็นเณรหนึ่งบาตรพระ ถวายครูบาชุ่ม ครูบาชุ่ม โพธิโก ก็นำไปให้ครูบาศรีวิชัยอธิษฐานจิตให้ แสดงให้เห็นว่า พระ วัตถุมงคลที่มีพลังแรงมากๆ พระโพธิสัตว์ได้อธิษฐานจิตไว้ เพราะพระโพธิสัตว์ท่านบำเพ็ญบารมีมาช้านาน และพระวัตถุมงคลต่างๆ ท่านก็อธิษฐานบุญบารมีทั้ง ๓๐ ทัศของท่านไว้ด้วย


อธิบาย บารมี ๓๐ ทัศ

การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาตินั้นๆ บารมีที่บำเพ็ญนั้นคือ ทานบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี รวมเรียกว่าบารมี ๓๐ (๓ x ๑๐) โดยแบ่งเป็นบารมีชั้นธรรมดา ๑๐ (บารมี) บารมีชั้นกลาง ๑๐ (อุปบารมี) และ บารมีชั้นสูง ๑๐ (ปรมัตถบารมี) รวมเป็นบารมี ๓๐ ประการ

อีกตอนหนึ่ง มีโยมผู้หญิงเพิ่งเคยมากราบหลวงพ่อฤาษีฯ แล้วอยากรู้
หลวงพ่อค่ะ ทำไมหนูไม่รวยซักที หลวงพ่อฤาษีฯท่านมองครู่หนึ่ง แล้วตอบว่า ไม่ถูกหวยนะเหรอ ผู้หญิงคนนั้นทำหน้าแดงๆ อายๆ แล้วพูดว่า “หลวงพ่อรู้ด้วย” หลวงพ่อฤาษีฯท่านก็ตอบว่า แขวนพระอรหันต์ขอกับพระอรหันต์ท่านไม่สงเคราะห์หรอก เพราะท่านถือว่าเป็นไปตามกฎแห่งกรรม ต้องขอกับพระโพธิสัตว์นู่น เพราะพระโพธิสัตว์ท่านยังสงเคราะห์ลูกหลาน ลูกศิษย์ อยู่ถ้าอันใดสงเคราะห์ได้ท่านก็สงเคราะห์ (ผู้หญิงคนนั้น บอกต่อว่า หลวงพ่อฤาษีฯท่านรู้ด้วยว่าแขวนเหรียญพระอรหันต์ และยังรู้ด้วยว่าขอให้ถูกหวยแต่ไม่ถูก รวมทั้งรู้ด้วยเคยมาขอหวยกับหลวงพ่อปานแล้วถูก )



ที่นำเสนอดังนี้ เพื่อให้ทุกท่านได้ทราบว่า ยังมีหลวงปู่เพชร ปทีโป พระโพธิสัตว์บารมีเต็มที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตอันใกล้อีกหนึ่งองค์ผู้ซึ่งประทับรอยเท้าบนแผ่นหินได้ พระวัตถุมงคลของท่านก็อธิษฐานจิตบารมี ๓๐ ทัศ ไว้ด้วย เพื่อไว้คุ้มครองลูกหลาน ลูกศิษย์ ลูกหา ผู้ซึ่งนับถือท่าน ไว้ทุกประการ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2017, 05:29:40 PM โดย porpek »




อุปสมบทเป็นภิกษุ

นายเพชร พุทธวงศ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
ตรงกับปีขาล จ.ศ. ๑๒๗๖ วันเสาร์ที่ ๓๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๕๗
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ มาฆบูชา ณ อุโบสถ วัดพระธาตุ ท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
โดยพระอาจารย์ศรีทัต รับเป็นพระอุปัชฌาย์
พร้อมด้วยพระคณาจารย์คู่สวดและคณะอันดับสงฆ์ ๑๓ รูป
ทำพิธีกรรมอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา
สำเร็จเป็นพระภิกษุสงฆ์ในพุทธศาสนา เวลา ๑๔.๓๕ น.
ได้รับฉายาการเกิดเป็นพระภิกษุใหม่ในพระพุทธศาสนาว่า “ปทีโป ภิกขุ” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา



พระธาตุท่าอุเทน


ที่ตั้ง วัดพระธาตุท่าอุเท น ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
ประวัติ ตาม ประวัติที่จารึกไว้ที่กิแพงพระธาตุกล่าว ท่านอกจารย์สีทัตถ์
ได้เป็นหัวหน้า ชักชวนพระภิกษุสงฆ์และชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาร่วมกัน
ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๔ใช้เวลาทั้งสิ้น ๖ ปีจึงแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๔๙
หลัก ฐาน พระธาตุท่าอุเทนมีลักษณะเป็นเจดีก่ออิฐถือปูนรูปสี่เหลี่ยม
ซึ่งจำลองมาจากพระธาตุพนม แต่มีขนาดเล็กและสูงกว่าพระธาตุพนม
บริเวณฐานและชั้นเรือน ธาตุมีลายปูนปั้นงดงาม ภายในองค์พระธาตุมี ๒ ชั้น

ชั้นแรกก่อเป็นอุโมงค์บรรจุพระพุทธ สารีริกธาตุ
ซึ่งท่านอาจารย์สีทัตถ์อัญเชิญมาจากเมืองย่างกุ่ง ประเทศพม่า
รวมทั้งมีพระพุทธรูปและของมีค่าต่าง ๆที่ผู้มีจิตศรัทธาได้นำมาบรรจุไว้ด้วย
ขั้น ๒ ก่อครอบอุโมงค์ สูงประมาณ ๕ วา ถัดมาเป็นพระธาตุองค์นอกในปี พ.ศ. ๒๕๔๐
ส่วนซุ้มประตุฐานชั้นล่างขององค์พระ ธาตุด้านทิศใต้ได้พังทลายลง
กรมศิลปากรจึงได้ทำการบุรณะขึ้นใหม่จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๔๑
พร้อมทั้งได้ ทำการเสริมคานคอนกรีตภายใน
เพื่อทำให้เกิดความมั่นคงเป็นการป้องกันองค์พระ ธาตุพังทลายด้วย
อายุ สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๕๔ - พ.ศ. ๒๔๕๙
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2017, 05:30:46 PM โดย porpek »




หลวงปู่ศรีทัตผู้มีบารมีธรรมสูงยิ่ง

หลวงปู่เพชร เป็นภิกษุรุ่นแรกที่ร่วมสร้างพระธาตุท่าอุเทน ร่วมกับหลวงปู่ศรีทัตผู้มีบารมีธรรมอันสูงยิ่ง จะเห็นได้แจ้งชัดเจน เรื่องจิตอธิษฐานสร้างพระธาตุท่าอุเทนของท่านคือ
-ทรายตามลำน้ำโขงแถวนั้น ไม่เคยขึ้น ณ ที่นั้นมาก่อน เมื่อหลวงปู่ศรีทัตจะลงมือสร้างพระธาตุใหม่แล้ว ทรายหาดนั้นขึ้น จนแล้วเสร็จหาดทรายในปีถัดไปก็ไม่โผล่ขึ้นอีก
-เหตุอัศจรรย์อีกข้อคือ ตลิ่งฝั่งแม่น้ำโขงบริเวณพระธาตุท่าอุเทนตั้งอยู่ จะยื่นออกไปโดยตลิ่งไม่พัง ส่วนที่อื่นๆ พังหมด
-และตอนที่ท่านทิ้งธาตุวางขันธ์ ๕ ของหลวงปู่ศรีทัตเมื่อวันศุกร์แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๘๔ อายุจะรวมถึง ๘๐ ปีเท่าอายุขัยพอดี โดยร่างกายธาตุขันธ์ของหลวงปู่ศรีทัตไม่เน่าเปื่อย หรือมีกลิ่นเหม็น เหมือนคนนอนหลับ โดยไม่ได้ฉีดยาอะไรเลย จนกระทั่งเผาร่างของท่าน



การปฏิบัติธรรมของหลวงปู่เพชร

หลวงปู่เพชร ปทีโป เมื่อบวชแล้วก็ปฏิบัติตามแบบสมถะกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ของหลวงปู่ศรีทัต โดยเคารพมั่นในองค์อาจารย์
- อยู่ร่วมปฏิบัติก่อสร้างพระธาตุท่าอุเทนรวม ๔ ปี
- ธุดงค์ไปมาอยู่ระหว่างพระธาตุโพนสัน พระธาตุท่าอุเทน จึงเปลี่ยนที่อยู่ปฏิบัติไปวัดถ้ำผาน้ำย้อย ภูเขาควาย ไปมาอยู่ ๗ ปี
- หลังจากนั้นก็ไปธุดงค์ ที่วัดธาตุสามหมื่น ภูเขียว พระพุทธบาทบัวบกอำเภอบ้านผือ ร่วมก่อสร้างกับหลวงปู่ศรีทัตอยู่อีก ๑๒ ปี ไปมาแถวนั้นจึงบูรณะรอยพระพุทธบาท และพระธาตุบัวบกเป็นที่เสร็จบริบูรณ์พร้อมกัน มีงานนมัสการเป็นประเพณีต่อมา เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๔ ทุก ๆ ปี ตรงกันกับงานของวัดพระธาตุท่าอุเทน เพราะหลวงปู่ศรีทัตเป็นผู้กำหนดไว้เช่นเดียวกัน
เมื่อเสร็จธุระงานนมัสการรอยพระพุทธบาทบัวบกบ้านติ้ว อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานีแล้ว พระคณาจารย์ร่วมคณะมากับหลวงปู่ศรีทัต ต่างก็ขอลาอาจารย์แยกย้ายกันออกธุดงค์ตามช่วงฤดูกาล ตามแต่อัธยาศัย หลวงปู่เพชร ก็เดินทางมายังถ้ำผาดัก พระบาทผาจอง บนสันภูพาน ตำบลผาตั้ง อำเภอสังคม ตามที่ได้นิมิตเห็น อันมีสุวัณณะนาคขอร้องให้อยู่ร่วมสร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทผาจอง บ้านปากโสม ท่านก็รับไว้ และภายหลังจึงได้มาร่วมสร้างจนแล้วเสร็จ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2017, 05:31:48 PM โดย porpek »




อุปนิสัยหลวงปู่เพชร ปทีโป

หลวงปู่เพชร ปทีโป ชอบปฏิบัติธรรมด้านสมถะ วิปัสสนาเป็นชีวิตจิตใจมาโดยตลอดอย่างเคร่งครัด ชอบที่วิเวก สงัด ขรึมไม่ชอบพูดคุยมากนัก สอนแต่น้อย ปฏิบัติให้มาก แต่ไม่หนีแขก คนไปคนมา ท่านจะแนะนำว่า “ควรทำเป็นกัมมัฏฐานทุกๆ อิริยาบถ” คือ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ให้เป็นสมถะวิปัสสนา

กิจประจำ

หลวงปู่เพชร สวดมนต์เก่ง นั่งสมาธิแผ่เมตตา เดินจงกรมกัมมัฏฐาน อ่านหนังสือ จารหนังสือ เขียนผ้ายันต์ตัวธรรม แกะสลักพระพุทธรูปสวยงาม เทศน์ทำสลับกันอยู่เป็นประจำ ไม่ชอบทำงานคั่งค้าง อากูลรีบทำให้เสร็จเป็นอย่างๆ ไป ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คนมากๆ วาจาท่านศักดิ์สิทธิมาก พูดอะไรต้องเป็นไปตามนั้นเสมอ ตะกรุด ผ้ายันต์ เหรียญ มงคลท่านทำมีอานุภาพมาก แต่ไม่ชอบทำบ่อยเฉพาะวันสำคัญ หรือมีคนมาขอรับความเมตตาเท่านั้น
คติธรรมประจำใจ
“คนหลัก เป็นคนใบ้ เจียมใจหายาก นักปราชญ์เป็นซาเพ้อ ไผซิฮู้ฮอมเห็น”
หมายความว่า “คนที่ฉลาดแหลมคมทำตัวเป็นคนโง่
คนไม่ฉลาดแต่ถ่อมตัวเก็บไว้ภายในเหมือนคมในฝัก
การเป็นนักปราชญ์ แต่แกล้งทำตัวเป็นคนบ้าแกล้งเป็นคนเขลาเบาปัญญา
ใครจะหยั่งรู้จิตใจกันได้บ้าง”
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2017, 05:32:13 PM โดย porpek »





การปฏิบัติธรรม

ได้ยึดหลักการปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานตามแบบของหลวงปู่ศรีทัต และสมเด็จลุน ถือธุดงค์วัตรปฏิบัติไปมาไทย ลาว ชอบอยู่ตามภูเขาควาย สำนักถ้ำคูหา ถ้ำน้ำทน ถ้ำคอกม้า พระพุทธบาทโพนฆ้อง พระบาทโพนฉัน ติดตามหลวงปู่ศรีทัต ธุดงค์ร่วมกับ หลวงปู่เครื่อง ธัมมจาโร หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่คง คัมภีโร หลวงปู่ด่อน อินทสโร ถ้ำเจียไปซ่อมแซมพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ร่วมสร้างพระธาตุท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม และอีกหลายแห่งที่เป็นพระพุทธบาท สำนักกัมมัฏฐาน รวมเวลาอยู่แสวงหาโมกขธรรม ปฏิบัติกัมมัฏฐานอยู่ฝั่งลาวถึง ๔๓ ปี (ด้วยเหตุนี้จึงมีหลายคนคิดว่าท่านเป็นคนเชื้อสายลาว แต่แท้จริงท่านเป็นคนไทยเชื้อชาติไทย สัญชาติไทยโดยกำเนิดเลย โดยท่านถือกำเนิดที่สุขาภิบาลคอนสาร อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๕)

การปฏิบัติเมื่อกลับประเทศไทย

การปฏิบัติธรรมของท่านเมื่ออยู่ที่อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ได้ก่อสร้างวิหารครอบรอยพระพุทธบาทผาจ่อง บ้านปากโสม และเสนาสนะต่างๆ ทุกอย่างในวัดเปิดสำนักปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานมาหลายสิบปี จึงย้ายสำนักมาปฏิบัติที่สำนักพระธาตุผาใหญ่ บ้านห้วยไซยงัว ตำบลผาตั้ง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย บนหลังภูพาน(ชาวบ้านเรียกถ้ำห้วยม่วง)โดยได้มีโยมอุบาสิกาเก้า เอกพันธ์ พร้อมคณะศรัทธาทางกรุงเทพฯ เป็นโยมอุปัฏฐากอุปถัมภ์สร้างวัดเจดีย์ อุโบสถ ศาลา กุฏิและต่างๆ เป็นอันมาก ทางส่วนอำเภอสังคม และอำเภอใกล้เคียงก็ได้มาร่วมอนุโมทนาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

ทำสมาธิจิต

ท่านทำสมาธิจิต แผ่เมตตาแก่บ้านที่เดือดร้อนขัดข้อง อยู่ไม่เย็นเป็นสุข ท่านไปทำหลักบ้านให้ดีทุกแก่งเช่น บ้านนางัว บ้านปากโสม บ้านผาแดง บ้างแก้งใหม่ บ้านนาโคก บ้านสังกะสี บ้านนาขาม บ้านดงต้อง บ้านห้วยไซยงัว เป็นต้น ฝั่งลาวก็มีหลายสิบหมู่บ้าน ทั้งนี้เพราะสมาธิจิต เมตตาท่านสูงมาก

บั้นปลายชีวิต

หลวงปู่เคยปรารภว่า “คนตายแล้วไม่น่าจะให้คนอื่นที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ลำบากด้วยเลย” โดยประการทั้งปวง เช่นสร้างที่ใส่กระดูกก็บอกว่าเอากระดูกเข้าธาตุเจดีย์ ซึ่งเอาคำของพระอรหันต์มาใช้ เพราะพระธาตุพระเจดีย์เป็นที่บรรจุอัฐิของพระอรหันต์ คนเราธรรมดาจะไปเลียนแบบไม่งามเป็นการยกตนเทียมท่าน ดังนั้นเมื่อตายแล้วท่านก็สั่งไว้มิให้เก็บศพไว้นาน เพราะท่านสงสารสัตว์เล็กสัตว์ใหญ่จะตายด้วย เพราะงานศพท่าน
มีลูกศิษย์แย้งว่า ถ้าเก็บศพไว้บำเพ็ญของท่าน ลูกศิษย์จะได้มาร่วมบุญมากๆ อุทิศบุญให้หลวงปู่มากๆ ปัจจัยบำรุงวัดก็จะได้มาก หลวงปู่ท่านตอบว่า ดีมีเหตุผล แต่ของหลวงปู่ไม่อยากให้ทำ กลัวจะลำบากหมู่พวก ถ้าพูดถึงบุญกุศลเป็นของดี แต่หลวงปู่ทำเองด้วยตนเองมามากแล้ว สงสารแต่หมู่พวกศิษย์โยมต่างๆ นั่นแหละ ควรสงสารตัวเองเถอะ อย่าได้สงสารปู่เลย เมื่อเป็นเช่นนั้นคณะศิษย์ต่างๆ ก็ทำตามคำปรารภของหลวงปู่

ละสังขาร


หลวงปู่เพชร ได้อนุญาตให้โยมอุปัฏฐากทำการก่อสร้างอุโบสถขึ้น ๑ หลัง สำเร็จบริบรูณ์ สั่งให้ทาสีพระธาตุเจดีย์ใหม่ ถวายอุโบสถแก่สงฆ์ ให้เสร็จบริบูรณ์ สำเร็จทุกอย่างแล้วท่านก็ลาคณะศิษย์ทุกคนเพื่อมรณภาพ ตามอายุขัย ที่กำหนดโดยอาการสงบ ณ วัดพระธาตุผาใหญ่ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗ เวลา ๑๙.๑๐ น. ตรงกับวันแรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีชวด รวมอายุได้ ๑๐๑ ปี ๑๑ เดือน ๒๒ วัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2017, 05:37:22 PM โดย porpek »




ศาลเจ้าแม่กวนอิม วัดผาใหญ่วชิรวงศ์ จังหวัดหนองคาย

หลวงปู่เพชร ปทีโป ท่านเสกใบไม้เป็นกบ

มีนักสะสมพระเครื่องระดับเซียนยุคต้นในจังหวัดหนองคาย (เซียนระดับขุดพระกรุสำคัญในหนองคาย..หินโงม..ดอนกุ้งดอนแก้ว..วัดคงกระพันชาตรี..เขาหล่ะ พระกัจจายน์กรุวัดธาตุ นางธาตุบังพวน)ชวนเพื่อนสนิทไปกราบปู่เพชร ยุคนั้นกันดารกันมากไฟฟ้ายังไปไม่ถึงท่านนี้ปรนนิบัติหลวงปู่ตั้งแต่เช้า พอมื้อเย็นเริ่มหิว ตลาดก็แสนจะไกลหลวงปู่ว่า ใต้ถุน ตรงที่ล้างเท้ามีกบใหญ่อยู่เอามากินเสีย (เอเป็นพระเป็นเจ้าขวนปาณาติบาต หรือ?)ญาติผมลงไปหาไม่เจอ จึงขึ้นมาบ่นกับหลวงปู่ ท่านว่าเออเดี๋ยว....ท่านเอาใบพลูมาเป่า แล้วว่าได้กบแล้วมื้อนี้อิ่มหนำสำราญกับขาโต้ยกบ อย่างนี่เขาเรียกอภิญญาไหมครับ...



เรื่องถวายอีกครึ่งหวีก็ได้

สมัยก่อนมีโยมผู้หนึ่งตั้งใจ จะไปกราบหลวงปู่ที่วัด และตั้งใจนำกล้วยสุกมาถวายด้วยหนึ่งหวีแต่ทางไปวัดหลวงปู่นั้นทั้งไกล และลำบากมากต้องเดินเข้าไป จากถนนเลียบโขง หนองคาย-เมืองเลย ตรงทางแยก น้ำตกธารทอง บ้านผาตั้งเข้าไปไม่มีรถต้องเดินเข้าไป และเมื่อเดินไปถึงประมาณกลางทางก็เวลาประมาณเที่ยงเกือบบ่าย แล้วก็หิวมากก็เลยตัดสินใจกินกล้วยที่นำมาถวายหลวงปู่เพื่อประทังความหิว แต่ก็ทานไม่หมดเหลืออยู่ประมาณครึ่งหวี ด้วยความที่กลัวหลวงปู่จะตำหนิก็เลยเอากล้วยที่เหลือทิ้งไป แล้วก็ออกเดินทางต่อจนถึงวัด เมื่อถึงวัดแล้วก็จะเข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่ แต่ประโยคแรกที่หลวงปู่ทัก หลวงปู่บอกว่า "เหลือเท่าไหร่ก็เอามาถวายเท่านั้นก็ได้ ไม่ต้องเอาไปทิ้งหรอก โยม คนนั้นถึงกับขนลุก ว่าหลวงปู่รู้ได้อย่างไร" แล้วก็เข้ากราบนมัสการและ ขอขมาหลวงปู่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2017, 05:38:43 PM โดย porpek »





พระพุทธบาทสี่รอย จังหวัดเชียงใหม่

ไปปรากฏบนยอดเขาได้อย่างอัศจรรย์

เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว โยมเก้า เอกพันธ์ และคณะได้นำหลวงปู่ไปนมัสการพระพุทธบาท พระธาตุเจดีย์ที่เก่าแก่ทางภาคเหนือเพราะท่านเคยไปธุดงค์ และมีนิมิตเห็นพระพุทธบาท ๔ รอย ที่เชียงใหม่ไปถึง ๒ ครั้ง จึงได้ขึ้นโดยบนนั้น มีพระองค์หนึ่งมีม้า ๑ ตัว เป็นพาหนะสำหรับนำคนผู้มีศรัทธาจะขึ้นไปนมัสการรอยพระบาท พระและโยมก็ต้องนิมนต์ท่านนั่งบนหลังม้า แต่ท่านก็ปฏิเสธไม่ยอมขึ้นม้า ท่านบอกว่าเป็นอาบัติ หลวงปู่ให้พระ โยมขึ้นไปก่อนให้ค้างบนเขานั้น ๑ คืน ตอนกลางคืนท่านจึงจะขึ้นไป พอตอนกลางคืนก็ปรากฏเห็นท่านอยู่บนยอดเขานั้นแล้ว อย่างน่าอัศจรรย์ในบุญบารมีของท่านยิ่งสร้างศรัทธายิ่งขึ้น แก่คณะโยมเก้า และพระภิกษุสงฆ์ผู้อุปัฏฐากติดตามเป็นอย่างยิ่ง







เรื่องตะกรุด ฝนแสนห่า

คุณอาบริบูรณ์ เรียนถาม หลวงปู่ว่าหลวงปู่ครับ ฝนแสนห่า เป็นยังไงหรอครับ ดียังไงเหรอ หลวงปู่ก็เลยถามกลับว่าอยากได้เหรอ
(ถามอย่างนี้ก็เข้าทางคุณอาบริบูรณ์เลยครับ)คุณอาบริบูรณ์ก็เลยบอกว่าอยากได้ครับหลวงปู่

แล้วหลวงปู่ก็เดินเข้าไปในห้อง ประมาณไม่กี่นาที หลวงปู่เดินก็ออกมา
แล้วยื่นตะกรุดฝนแสนห่าให้ คุณอาบริบูรณ์ อาบริบูรณ์แกดีใจมากครับที่หลวงปู่เมตตา
ทุกวันนี้ตะกรุดดอกนั้นก็ยังอยู่กับแกตลอดเวลา แกยังเอาให้ดูเลยครับ
เรื่องนี้อาบริบูรณ์เล่าให้ฟังเองกับปากเลยครับ คุณอาบริบูรณ์อยู่ กรุงเทพฯ แกเป็นคนจีน ไหลหลำ อายุ ประมาณ ๗๐
ทุกวันนี้แกยังขับรถยนต์จากกรุงเทพฯมาหนองคายประจำเพื่อปฏิบัติธรรมครับ

เรื่องฝนแสนห่า หลวงตาองค์ปัจจุบัน เล่าให้ฟังว่า ต้องเป็นผู้มีสมาธิดี พลังจิตสูงนะถึงจะทำได้สำเร็จ เพราะไม่เช่นนั้น
ธาตุไฟแตก หลวงตา(เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน***มรณภาพแล้วปีพ.ศ. ๒๕๕๙***) บอกอย่างนั้น และหลวงตายังเล่าให้ฟังอีกว่าจริงๆแล้วฝนแสนห่านะ ต้องสวดแสนจบนะ ถึงจะสมบูรณ์หลวงตาเล่าให้ฟังอย่างนี้ครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2017, 05:39:52 PM โดย porpek »




 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi