หลวงปู่เครื่อง ธัมมจาโร วัดเทพสิงหาร อ.นายูง จ.อุดรธานี (อ่าน 9429 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ด้านหลัง



๑๐๙ ปี



ภปร เนื้อเงิน



ธนาคารกรุงเทพเนื้อเงิน ชุดทองคำ



พระเชียงแสน หลวงปู่เครื่อง ธัมมจาโร ออกวัดช้างเผือก อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย







เหรียญหลวงปู่เครื่อง ธัมมจาโร รุ่นทูลเกล้า ปี2520




 :D :D :D



เหรียญหลวงปู่เครื่อง ธัมมจาโร รุ่นทูลเกล้า ปี2520



งดงาม

มาเข้ายากแท้เว็ปใหม่  :)



 ;) ;) :)โชว์











โชว์ :D :D :D






 :) :)โชว์ ;) ;) :D






 :) :) :) :D โชว์จ้าาาา  ;) ;) ;) ;)






ประวัติและอภินิหาร ของหลวงปู่เครื่อง ธมฺมจาโร

ถ้าจะกล่าวถึงประวัติและอภินิหารของหลวงปู่เครื่อง ธมฺมจาโร วัดเทพสิงหารแล้ว มีเรื่องเล่ามากมาย แต่ขอเสนอประวัติและอภินิหารบางอย่างเท่านั้น
เพื่อเผยแพร่กิตติคุณในฐานะพระอริยสงฆ์รูปหนึ่งที่มีอายุยืนนานถึง ๖ แผ่นดิน นับแต่รัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลปัจจุบัน และมีประชาชนทั้งประเทศเลื่อมใสศรัทธามหาศาล

รู้จักวัดเทพสิงหารก่อน

วัดเทพสิงหาร ตำบลนายูง อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ ๘๒ กิโลเมตร ถ้าตั้งต้นจากอุดรฯ จะผ่านอำเภอบ้านผือ พระพุทธบาทบัวบก บ้านสามเหลี่ยม ตรงบ้านสามเหลี่ยมเป็นทางสามแยก ทางขวามือมีป้ายบอกไปวัดเทพสิงหาร ระยะทางประมาณ ๑๒ กิโลเมตร

 วัดเทพสิงหารตั้งอยู่บนเนินสูง บริเวณวัดมีเนื้อที่ ๖ ไร่เศษ ภายในวัดปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ผลเป็นระเบียบและดูร่มครึ้ม เงียบสงบ สบายใจ มีบ้านไม่กี่หลังคาเรือน ตั้งอยู่รอบๆ บริเวณวัด พื้นที่บ้านนายูงสูงบ้างต่ำบ้าง สลับกันเป็นคลื่น บางแห่งเป็นแอ่ง มีเนื้อที่ไม่เกิน ๑๐ ไร่ ซึ่งชาวบ้านใช้เป็นแหล่งปลูกข้าว มองไกลไปอีกหน่อยจะเห็นป่าสูงโปร่งเป็นหย่อมๆ และดอยเล็กๆ ติดภูซาง

ดินแดนโมกขธรรม บ้านนายูง ดินแดนลึกลับอัศจรรย์แห่งนี้มีดีอะไร? พระอริยสงฆ์นับจำนวนไม่ถ้วนต่างใฝ่ฝันมุ่งหน้าธุดงค์ไปเพื่อแสวงหาความวิมุติหลุดพ้น ณ บ้านนายูง ดุจแดนนี้เป็นคลังอรหันต์หรือแดนโมกขธรรม ส่วนวัดเทพสิงหารนั้น เป็นศูนย์รวมของพระอริยเจ้าทั้งหลาย หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ และพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังหลายรูป ต่างพากันไปปฏิบัติธรรมที่นั่น!!

ถือกำเนิด

 หลวงปู่เครื่องเกิดที่บ้านนายูง เมื่อวันเสาร์ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๐  ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ รัชกาลที่ ๔ เสด็จสวรรคต  เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๑๑ โยมบิดาเป็นกำนัน มีศักดิ์เป็นหลวงศักดาธรรมเรือง โยมมารดาชื่อนางพันธ์ ธรรมเรือง มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๘ คน หลวงปู่เป็นบุตรคนที่ ๖

 หลวงปู่มีร่างกายสูงใหญ่ บึกบึน กล้าหาญ สัตว์ป่าที่ดุร้าย เช่น เสือ ช้าง หมี ท่านเคยผจญและปราบราบคาบมาแล้ว สมัย ๑๐๐ ปีก่อนโน้น บ้านนายูงเป็นป่าดงดิบ เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด มีช้างป่าเป็นโขลงๆ กวาง เก้ง เข้ามาหากินในหมู่บ้าน แม้เสือยังแอบกินสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านบ่อยๆ

 การศึกษาขั้นต้น

 วัยเด็กหลวงปู่เรียนหนังสือมูลเดิม ซึ่งเป็นวิชาพื้นเมืองของชาวอีสานกับพระอาจารย์มีที่บ้านนายูงนั่นเอง วิชามูลเดิมนี้ ผู้ใดสามารถเรียนจบหลักสูตร ถือว่าผู้นั้นเรียนเก่ง หาตัวจับยากทีเดียว หลวงปู่เรียนจบหลักสูตรอย่างรวดเร็วเกินที่จะคาดคิด



บรรพชา-อุปสมบท

 หลวงปู่เครื่องบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๒ ปี จนอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ (พ.ศ. ๒๔๓๐) โยมบิดาโยมมารดาจึงได้จัดการบวชให้ตามประเพณี บวชได้ ๑ พรรษา ก็ลาสิกขา หันมาประกอบอาชีพค้าของป่า เช่น ยาง หนังสัตว์ ไม้ เป็นต้น ช่วงนี้หลวงปู่ได้แต่งงานและมีบุตร ๑ คน รวมใช้ชีวิตฆราวาสระยะหลัง ๘ ปี ระหว่างนี้หลวงปู่หาโอกาสเดินทางท่องเที่ยวหลายแห่งจนข้ามโขง ถึงเวียงจันทน์ ขณะท่องเที่ยวนำของป่าไปขายด้วย

 จากการตระเวนท่องเที่ยวจนช่ำชองซ้ำซากนี่เอง ก็เกิดความเบื่อหน่ายในเพศฆราวาส เห็นว่ามีแต่ความทุกข์ สู้รสพระธรรมอันเป็นความสงบสันติไม่ได้ จึงตัดสินใจออกบวชเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อ อายุ ๒๙ ปีพ.ศ. ๒๔๓๙ โดยตั้งสัตยาธิษฐานว่า ไม่ขอลาสิกขา จะยอมตายคาผ้ากาสาวพัสตร์ และขอให้สำเร็จมรรค ผล นิพพาน

การบวชครั้งนี้ บวชที่วัดศรีษะเกษ แขวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว มีพระครูแก้วเป็นพระอุปัชฌาย์ (พระครูแก้วสมัยดำรงเพศฆราวาส เป็นพระสหายกับเจ้ามหาชีวิตแห่งราชอาณาจักรลาว) มีพระอาจารย์เถิงเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ดำ เป็นอนุสาวนาจารย์




หลวงปู่จำพรรษาที่วัดศรีษะเกษ ๓ พรรษา ระหว่างจำพรรษาอยู่นี้ได้ศึกษาธรรมปฏิบัติด้วย จนพระครูแก้วหมดความรู้ที่จะสอน หลวงปู่จึงกราบลาพระครูแก้ว เสาะแสวงหาพระอาจารย์ที่เก่งกล้าสามารถต่อไป โดยเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร ยึดป่าถ้ำเป็นที่บำเพ็ญความเพียร จนกว่าจะพบพระอาจารย์ที่เก่งกล้าและเชี่ยวชาญไสยเวท รวมทั้งสมถวิปัสสนากรรมฐาน

 สมัยนั้นเมืองไทยมีพระอาจารย์รูปหนึ่งซึ่งมีกิตติศัพท์โด่งดังมาก ชื่อเสียงลือกระฉ่อนทั่วทั้งประเทศไทยและลาว สามารถแสดงปาฏิหาริย์เสกคนให้เป็นจระเข้ เสกช้างให้เหลือเท่าแมลงวัน เนรมิตวัตถุในอากาศได้ ฯลฯ แม้แต่กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๕ ยังมอบกายถวายตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์รูปนี้คือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท หลวงปู่ทราบข่าวจึงตั้งใจแรงกล้าที่จะขอมอบตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาวิชาอาคมและฝึกสมถวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงปู่ศุขผู้เป็นหนึ่งในยุคนั้น

เป็นศิษย์หลวงปู่ศุขถึง ๙ ปี

ตั้งแต่อ่านประวัติหลวงปู่เครื่องมา ยังไม่พบว่าหลวงปู่ศุขเป็นอาจารย์ของหลวงปู่เครื่อง นอกจากสมเด็จลุน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไม่มีผู้ใดถามถึงครูบาอาจารย์ของท่านนั่นเองว่ามีใครบ้าง

เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๒๑ เวลา ๒๑.๓๐ น. ผู้เขียนได้เดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่ที่วัดเทพสิงหาร พร้อมเพื่อนอีก ๓ คน โดยพักนอนที่บ้าน คุณสุรชาติ ชำนาญศิลป์ ส.ส. อุดรธานี ซึ่งสมัยนั้นดำรงตำแหน่งกำนันตำบลนายูง ได้สนทนากับหลวงปู่หลายเรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องธรรมะ ตอนหนึ่ง ผู้เขียนได้ถามถึงเพื่อนสหธรรมิกของท่านเช่น หลวงปู่ตื้อ หลวงปู่แหวน หลวงปู่คำมี หลวงพ่อกบ ว่ารู้จักกันหรือไม่ หลวงปูกล่าวว่า รู้จักและเคยธุดงค์ร่วมกัน จากนั้นก็ถามว่า ท่านเคยธุดงค์พบหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าบ้างหรือไม่

 หลวงปู่ตอบว่า “ไม่เคยพบขณะธุดงค์ แต่ไปเรียนวิชาอาคมกับท่านเป็นเวลาถึง ๙ ปี”

ผู้เขียนจึงย้อนถาม  “กี่ปีนะ หลวงปู่”

หลวงปู่ตอบย้ำชัดเจนว่า “๙ ปี”

ผู้เขียนจึงถือโอกาสถามต่อไปว่า “ที่เล่าลือกันว่า หลวงปู่ศุขเสกคนเป็นจระเข้ เสกหัวปลีเป็นกระต่าย เสกใบมะขามเป็นต่อเป็นแตน หลวงปู่เคยเห็นกับตาสักครั้งไหม”

ได้รับคำตอบว่า “เคยเห็น ท่านเก่งจริงๆ “

แล้วหลวงปู่ก็เล่าถึงการเดินทางจากฝั่งโขงแห่งราชอาณาจักลาวสู่ประเทศไทยด้วยการเดินธุดงค์ด้วยเท้า

 ระหว่างทาง ท่านพบสถานที่อันสงบบนภูเขาลูกหนึ่ง จึงแวะพักบำเพ็ญภาวนาก่อนเดินทางต่อ เขาลูกนั้นมีถ้ำใหญ่ถ้ำหนึ่ง ซึ่งมีงูเหลือมใหญ่และเสือนอนขวางปากถ้ำอยู่ ภายในถ้ำค้างคาวบินขวักไขว่ บางตัวเกาะผนังถ้ำห้อยหัวลงน่ากลัวเหมือนกัน หลวงปู่จึงพูดกับงูเหลือมและเสือว่า  “ขอพักด้วยคนนะ เรามาปฏิบัติธรรม ไม่เบียดเบียนใคร” งูเหลือมและเสือก็หลีกทางหนีไป
เดินทางจนถึงวัดปากคลองมะขามเฒ่าจึงมอบตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข



หลวงปู่ศุข เกสโร

หลวงปู่ศุข นามเดิมท่านชื่อ ศุข นามสกุล เกษเวช ต่อมาลูกหลานได้ใช้นามสกุลว่า เกษเวชสุริยา ท่านเกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ ปีวอก พ.ศ.๒๓๙๐ ที่บ้านมะขามเฒ่า ต.มะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท โดยมีบิดาชื่อนายน่วม มารดาชื่อนาง ทองดี ตั้งบ้านเรือนอยู่ ที่ ตำบลมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท โดยมีพี่น้องรวม ๙ คนคือ ๑.หลวงปู่ศุข ๒.นางอ่ำ ๓.นายรุ่ง ๔.นายไข่ ๕.นาง สิน ๖.นายมี ๗.นางขำ ๘.นายพลอย ๙.หลวงพ่อปลื้ม

หลวงปู่ศุขท่านไปอยู่กับลุงแฟง ที่ตำบลบางเขน จังหวัดพระนคร มีอาชีพทำสวนเมื่อเจริญเติบโตเป็นหนุ่มได้มีภรรยา ชื่อสมบุญ และมีบุตร ๑ คนชื่อนายสอน เกสเวชสุริยา เมื่ออายุประมาณ ๒๕ ปีหลวงปู่ศุขได้อุปสมบทที่วัดบางเขน(หรือปัจจุบันชื่อว่า วัดโพธิ์ทองล่าง จังหวัดนนทบุรี) โดยมีพระครู เชย จนฺทสิริ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระถมยา เป็นพระคู่สวด

เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและพระกํมมัฏ ฐานอยู่กับพระอุปัชฌาย์ ต่อมาท่านได้กราบลาพระอุปัชฌาย์มาจำพรรษาอยู่ที่วัดสามง่าม ปทุมวัน เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมเพิ่มเติม และย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงครามบางลำพู ณ ที่นี่ท่านได้พบกับหลวงพ่อเงิน วัดบางคลานจังหวัดพิจิตร ได้ศึกษาวิชาต่างๆ ร่วมกันท่านทั้งสองจึงมีความสนิทสนมกันเป็นพิเศษ

หลวงปู่ศุขก็ได้ออกธุดงค์ตามป่าเขาลำเนาไพรทั่วทุกภูมิภาค เพื่อเจริญจิตภาวนาและแสวงหาครูอาจารย์ที่มีวิชาอาคมแก่กล้าตามสถานที่ต่างๆ มากมาย ทำให้หลวงปู่ศุขมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วทุกสารทิศเรื่องวิชาอาคมเข้ม ขลัง

เมื่อท่านเดินธุดงค์ไปภาคเหนือก็แวะเยื่ยมโยมพ่อโยมแม่ที่ ตำบลมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ซึ่งเป็นบ้านเกิด โดยไปพักที่วัดร้างแห่งหนึ่งชื่อ “วัดอู่ทอง” โยมแม่ของท่านนิมนต์ให้ท่านจำพรรษาที่วัดร้างแห่งนั้น เมื่อท่านอยู่ที่วัดร้างก็ได้พัฒนาวัดร้างให้เจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเรียกตามหมู่บ้านว่า “ วัดปากคลองมะขามเฒ่า” จนถึงทุกวันนี้

หลวงปู่ศุข มรณภาพเมื่อ ๒๓ ธันวาคม ๒๔๖๖ ( เดือนอ้าย ปีกุน) อายุ ๗๖ ปี





 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi