[Thesun]พระกรรมฐานพ่อแม่ครูอาจารย์และพระเกจิอาจารย์ทั่วไป(อ่าน 672947 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

37.พระพิจิตรผงดำ 'อุดมความสุข' รุ่น1 หลังเรียบ หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง และ หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ อธิษฐานจิต
   
         ได้ชำระค่าวัตถุมงคลเรียบร้อยแล้ว  กรุณาจัดส่งพระตามที่อยู่ที่ผมส่งถึง mail ท่านแล้วครับ

                            วันชัย

รับทราบ ขอบพระคุณครับ



46.ล๊อคเก็ตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 รูปไข่ใหญ่ งานเก่า แต้มสี เดินลายน้ำทอง สวยมาก 1,350-






47.พระปิดตามหาอุตม์ยันต์ยุ่ง รุ่นแก้วสารพัดนึก ลป .คำพันธ์+ ลป. พรหมา เสก พิมพ์เล็ก หายากมาก

ปิดครับ ท่าน j999
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 05, 2017, 06:16:51 PM โดย thesun »



47.พระปิดตามหาอุตม์ยันต์ยุ่ง รุ่นแก้วสารพัดนึก ลป .คำพันธ์+ ลป. พรหมา เสก พิมพ์เล็ก หายากมาก 2650-

 สุดยอดพระปิดตาอีกรุ่นหนึ่ง ทั้งชนวนมวลสารและพิธีกรรมปลุกเสกครับ ^^

ประวัติการสร้างที่ได้คัดลอกมาจากผู้สร้างครับ

สร้างขึ้นจากแผ่นเงินที่ลงพระยันต์ต่างๆ และผ่านการอธิษฐานจิตจากครูบาอาจารย์ผู้ทรงอภิญญา จำนวนหลายร้อยแผ่น อาทิ 1. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของพระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ) วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี กรุงเทพฯ 2. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ 3. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ฯลฯ นำมาผสมกับเหรียญกษาปณ์เนื้อเงินทั้งของไทยและของต่างประเทศที่ผ่านการปลุกเสกจากหลวงปู่พรหมมา เขมจาโร นานกว่ายี่สิบปี เป็นชนวนโลหะหลักในการจัดสร้าง


ปี พ.ศ. 2534 เป็นปีที่หลวงปู่พรหมา เขมจาโร วัดสวนหินฯ ภูกระเจียว เริ่มอุ่นเครื่องเรื่องชื่อเสียง ข่าวขลังของท่านแพร่กระจายไปในหมู่ผู้นิยมพระ ดังไฟลามทุ่งบนวัดที่แสนกันดารปราศจากไฟฟ้า และน้ำประปา แทบไม่มีแม้ศาลาให้สานุศิษย์อาศัยนอนพักหลบแดดฝนใด ๆ เมื่อยามบากบั่นขึ้นไปหาท่านประสาศิษย์ที่ดีมีกตเวทิตา อาจารย์เบิ้มจึงคิดทำพระถวายหลวงปู่พรหมา เพื่อสร้างเสนาสนะอย่างเป็นทางการ
อาศัยที่อยู่กับหลวงปู่โต๊ะมานาน และเรียนรู้วิทยาคุณกับท่านอาจารย์รอด สุขเจริญ ฆราวาสผู้ขลังสุดขีดในไสยเวทพุทธาคม ด้วยอาจารย์รอด เป็นศิษย์แท้ๆ ของพระครูวิมลคุณากร หรือหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท ทว่าท่านบวชอยู่กับหลวงปู่ศุขได้เพียง 30 พรรษา ก็จำต้องลาสิกขามาครองขาว หากยังเป็นพระอยู่คงไม่แคล้วดังสนั่น
เมื่อมีครูดี การทำของก็ต้องทำให้ดี อาจารย์เบิ้มจึงเน้นเรื่องชนวนมวลสารมาก และไม่ต้องไปหาไกลเท่าใดนัก ค้น ๆ เอาในบ้านก็มากมาย เพราะเก็บสะสมไว้แต่หนุ่มแต่น้อย อาจารย์เคยบอกผมว่าไม่จดเรื่องชนวน เกรงคนจะหาว่าโม้ เชื่อก็เอา ไม่เชื่อก็อย่าเอาไป หากสุดท้ายอาจารย์ก็ใจอ่อน ยอมปรารภให้ฟังถึง ‘บางส่วน’ ของมวลสารดังนี้
1. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของพระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ) วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี กรุงเทพฯ
2. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
3. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
และจะไม่กล่าวถึงแผ่นยันต์ต่าง ๆ มากมายหลายร้อยแผ่นที่พระเถรานุเถระในสายอีสานอันเป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่นได้เมตตาลงให้ไว้แต่นานเน ทั้งยังพระยันต์เก่าเก็บจากพระคณาจารย์ทั่วประเทศอีกเป็นกุรุสโกดัง ถึงขนาดอาจารย์ออกปากว่า “เสร็จงานนี้บ้านโล่งไปเยอะ”
ที่สำคัญยิ่งคือ แผ่นทองแดงลงอักขระยันต์ และคาถาต่างๆ นับพันบท ซึ่งจารโดยมือของหลวงปู่พรหมา เขมจาโร อิสีขลังผู้ชาญพระเวทย์แห่งลุ่มน้ำโขง ได้ลงไว้มีจำนวนทั้งสิ้น 1 ปิ๊บเต็ม ๆ ทองแดงบางอย่างกระดาษวางลงในปีบจนเต็มมันจะมีกี่แผ่น?
หลวงปู่พรหมาเสกปี๊บยันต์บน ‘คาย’ ในถ้ำอยู่นานมาก แล้วมอบให้ประสมกับชนวนพระกริ่งปวเรศ (ปี 2530) ซึ่งในหลวงเสด็จพระราชดำเนินเททองโดยพระหัตถ์เอง สมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นประธานพิธี, ชนวนพระกริ่งหลายรุ่นของสมเด็จพระสังฆราชแพ ที่มีจำนวนพอสมควร มิใช่นิดหน่อยแล้วเขียนเอา , ชนวนพระกริ่งนเรศวร วังจันทน์, ชนวนพระกริ่งชินบัญชรของหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ จ.ระยอง, ชนวนพระกริ่งปรโม ของหลวงปู่เริ่ม ปรโม วัดจุกเฌอ จ.ชลบุรี ชนวนพระกริ่งอรหัง ของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่, ชนวนพระกริ่งพุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ , ชนวนพระกริ่งรุ่นต่าง ๆ ของหลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ, ชนวนพระพุทธรูปเททองโดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.เชียงราย, ชนวนพระพุทธรูปเททองโดย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
เรื่องชนวนถ้าต้องเขียนจริง ๆ อาจต้อง 5 เล่มจบ จึงขอจบตรงนี้พอ
นอกจากนี้ยังมีเหรียญหลวงปู่แหวน สุจิณโณ, เหรียญหลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ, เหรียญหลวงปู่สิม พุทธาจาโร, เหรียญหลวงปู่เกษม เขมโก, เหรียญหลวงพ่อแช่ม ฐานุสสโก แต่ละองค์นับร้อยเหรียญ ถ้ารวมพระคณาจารย์ต่าง ๆ ก็นับพันเหรียญ
ยังปรากฏชนวนศักดิ์สิทธิ์อาถรรพณ์ต่าง ๆ ที่ไม่อาจเปิดเผยที่มาได้ อาทิ พระเกศ และนิ้วพระหัตถ์ชำรุดของพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งในประเทศไทย ตะกรุดชินตะกั่วโบราณ อายุ 200 ปี ตะปูสังขวานร เหล็กยอดเจดีย์ เหล็กยอดปราสาท โลหะธาตุวิเศษนานาที่เป็นทนสิทธิ์ มีอิทธิฤทธิ์ในตัวเองถูกเชิญมาสู่เบ้าหลอมสร้างเป็นพระทั้ง 3 พิมพ์
ที่สำคัญสุดยอดคือ พระยันต์บังคับทั้ง 108 ดวงและนะปถมัง 14 นะ อันเป็นสูตรโบราณในการเทพระสำคัญ ถูกจารลงในแผ่นทองคำบริสุทธิ์แท้จนครบตำรา มีน้ำหนักทั้งสิ้นถึง 50 บาท
ส่งผลให้พระชุดนี้มีทุนสร้างมหาศาล หากไม่ใช่เพราะใจรัก และอาศัย ‘คุณธรรม’ เป็นที่ตั้ง คงไม่อาจตัดใจทำลงได้แน่แท้

สรุปว่า การเทพระวาระนี้ไม่มีโลหะเปล่าอันมิใช่ของวิเศษเจือปนลงไปให้เป็นที่ครหาเลยแม้แต่น้อย ชนวนน้ำหนักมากมายหลายสิบกิโลถูกนำมาวางเรียงรายบนโต๊ะยาวปูผ้าขาว แล้วทำการบันทึกภาพพร้อมถ่ายวีดีโอเป็นหลักฐานก่อน ต่อเนื่องไปถึงการหลอมเป็นเนื้อเดียว แล้วเททอง

องค์เททอง อาจารย์เบิ้มกำหนดที่ หลวงปู่ดี วัดสุวรรณาราม อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ซึ่งหลวงปู่อาจไม่ปรากฏชื่อเสียงแพร่หลายนัก เพราะท่านเก็บตัวเนื่องจากอาพาธด้วยโรคตา โดยเหตุที่ท่านเป็นศิษย์มือซ้ายของ พระพุทธวิถีนายก (บุญ ขันธโชติ) วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ซึ่งหลวงปู่บุญจะใช้ท่านจารคัมภีร์คัดลอกตำราต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ เพราะท่านมีลายมือในการเขียนขอมได้อย่างสวยงามยิ่ง กระทั่งหลวงปู่ดีอายุได้ราว 80 ปี สายตาท่านก็เริ่มเสื่อมเรื่อยมาจนมองไม่เห็นในที่สุด ท่านจึงงดรับนิมนต์ใดๆ และแขกเหรื่อท่านก็ไม่สะดวกรับ

แม้ในวันที่อาจารย์เบิ้มท่านไปกราบอาราธนา ศิษย์ท่านยังพูดอย่างหวังดีว่า อย่านิมนต์ให้ยากเลย เสียเวลาเปล่า ครั้นได้เข้ากราบและเล่าความ ท่านกลับแสดงความกระตือรือร้นที่จะไปสอบถามวันเวลา สถานที่เป็นอย่างดีแล้วก็รับนิมนต์
การณ์นี้สร้างความประหลาดใจให้ศิษย์ของท่านยิ่งนัก ยิ่งหนักเข้าไปอีกเมื่อหลวงปู่บอกว่า “รอเขาอยู่นาน” เมื่อพระเถระผู้เฒ่า ชนมายุ 90 ปี ไปเททองให้ตามวันเวลากำหนดแล้ว ท่านพูดในพิธีว่า วันนี้ดีมาก เทพ พรหม ลงมาอนุโมทนากันมากของในพิธีนี้ดีจริงๆ แล้วท่านก็ลากลับวัดไป เพียงไม่ถึงเดือน ท่านก็มรณภาพ ดังคำที่ว่า

“รอเขาอยู่”
มีเรื่องแปลกสมควรบันทึกไว้ คือ เมื่อเททองเสร็จกำลังรอให้โลหะเย็นตัวเพื่อทุบเบ้า ตรวจนับพระ ได้มีคณะบุคคลหนึ่งเข้ามาในโรงหล่อ เพื่อประกอบพิธีเททองเช่นกัน บุรุษอาวุโสในกลุ่มนึกอย่างไรไม่ทราบตรงเข้ามาขอดูพระบางช่อที่ทุบเบ้าออกแล้ว ครั้นจับสัมผัสเข้าก็สะดุ้งสุดตัวเรียกร้องให้พระภิกษุวัยกลางคนมาพิจารณา

เมื่อพระรูปนั้นถือท่านก็หลับตาลงอย่างตั้งใจ ทำอาการดุจตรวจสอบอะไรบางอย่าง แล้วลืมตาอย่างตื่นเต้น พลางว่า “นี่พระอะไรศักดิ์สิทธิ์ขนาดนี้ อาตมาขอชนวนไปหล่อพระบ้างได้ไหม” อาจารย์เบิ้มเรียนตอบว่า ยังไม่อาจถวายได้ เพราะยังไม่ได้ตัดออกจากช่อ และยังไม่ได้นับจำนวน ท่านจึงถามว่า พระนี้ขอบูชาไปบ้างได้ไหม อาจารย์ว่า ยังไม่ได้ปลุกเสกเลย ท่านสวนตูม พระนี้ดีอยู่แล้วไม่ต้องทำพิธีอะไร แขวนได้เลย กลุ่มบุคคลนั้น จึงขออนุญาตเดินเก็บเศษทองที่หล่นอยู่รอบๆ เบ้าไปแทน
รื่องนี้ประหลาดดี แสดงว่าคณะนั้นต้องได้สมาธิ จนสามารถตรวจเช็คพระได้ ดังศิษย์ของหลวงปู่ดู่ วัดสะแก หลายท่าน เมื่อสอบถามภายหลังจึงทราบว่า คณะนั้นมาเพื่อเทหล่อรูปเหมือนบูชาของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา ถ้าอย่างนั้นผมขอเดาว่าบุรุษภูมิฐานท่านนั้นคงเป็นคุณหมอเสรี วรรณไกรโรจน์ ศิษย์ก้นกุฏิของหลวงพ่อพุธ และพระเถระรูปนั้นต้องเป็นท่านพระอาจารย์ชู วัดเขากะป่อม อ.เมือง จ.ชลบุรี ไม่สงสัย เพราะท่านอาจารย์ชูรูปนี้ สามารถสัมผัสพลังพระเครื่องได้แม่นยำน่ามหัศจรรย์ แม้หลวงพ่อพุธก็ยอมรับในข้อนี้ และคุณหมอเสรีเองก็เป็นศิษย์ท่านอาจารย์ชูที่ได้รับการถ่ายทอดวิชามาด้วยเช่นกัน
เหตุการณ์นี้ยืนยันได้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระชุดนี้โดยแท้ แค่หลอมโลหะธาตุอันวิเศษเข้าด้วยกันประกอบพิธีเททองตามฤกษ์ยาม วันเวลาอันเป็นมงคล บวงสรวงตามตำราแท้แต่โบราณก็มีอานุภาพมากเพียงนี้ หากประกอบพิธีพุทธาภิเษกอย่างสมบูรณ์ด้วยแล้วจะเลิศเพียงใด
อาจารย์เบิ้มได้นำพระทั้ง 3 พิมพ์ เข้าพุทธาภิเษกในวาระต่าง ๆ ไม่เคยหยุด ไม่ว่าจะเป็นวัดพระแก้วฯ, วัดสุทัศน์ฯ, วัดราชบพิตรฯ, วัดบวรนิเวศน์ฯ, วัดอินทารามฯ, เป็นต้น เฉพาะวัดที่กล่าวนามมาก็ไม่ต่ำกว่าวัดละ 5 พิธีเสก และพระทั้งหมดได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกมาทั่วประเทศ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 30 พิธี

หากจะนับคณาจารย์ที่ปลุกเสกก็ไม่ต่ำกว่า 300 พระอาจารย์ และการนำไปอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว อาจารย์เบิ้มนำไปด้วยตนเอง จนคร้านจะไป เหตุที่พระนี้สร้างในปี พ.ศ. 2534 ครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษยังปรากฏอยู่มากมาย การนำเสกจึงเป็นไปอย่างสนุกใจคนทำ
หลวงปู่เกษม เขมโก, หลวงปู่แช่ม ฐานุสโก, หลวงพ่ออุตตมะ อุตตมรัมโภ, หลวงปู่พรหมา เขมจาโร, หลวงปู่คำพัน โฆษะปัญโญ ดูจะเป็นองค์เสกชุดนี้อย่างบ่อยที่สุด นอกนั้นทั่วประเทศอาจารย์บอกผมอย่างเหนื่อยใจจะอธิบายว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2534-2538 ชอบใจหลวงพ่ออะไร นับถือใครเอ่ยชื่อมาเลย...เอ่ยมาเถอะ... เสกแล้วทั้งนั้น!









ขอจองครับ.....



47.พระปิดตามหาอุตม์ยันต์ยุ่ง รุ่นแก้วสารพัดนึก ลป .คำพันธ์+ ลป. พรหมา เสก พิมพ์เล็ก หายากมาก 2650-

 สุดยอดพระปิดตาอีกรุ่นหนึ่ง ทั้งชนวนมวลสารและพิธีกรรมปลุกเสกครับ ^^

ประวัติการสร้างที่ได้คัดลอกมาจากผู้สร้างครับ

สร้างขึ้นจากแผ่นเงินที่ลงพระยันต์ต่างๆ และผ่านการอธิษฐานจิตจากครูบาอาจารย์ผู้ทรงอภิญญา จำนวนหลายร้อยแผ่น อาทิ 1. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของพระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ) วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี กรุงเทพฯ 2. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ 3. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ฯลฯ นำมาผสมกับเหรียญกษาปณ์เนื้อเงินทั้งของไทยและของต่างประเทศที่ผ่านการปลุกเสกจากหลวงปู่พรหมมา เขมจาโร นานกว่ายี่สิบปี เป็นชนวนโลหะหลักในการจัดสร้าง


ปี พ.ศ. 2534 เป็นปีที่หลวงปู่พรหมา เขมจาโร วัดสวนหินฯ ภูกระเจียว เริ่มอุ่นเครื่องเรื่องชื่อเสียง ข่าวขลังของท่านแพร่กระจายไปในหมู่ผู้นิยมพระ ดังไฟลามทุ่งบนวัดที่แสนกันดารปราศจากไฟฟ้า และน้ำประปา แทบไม่มีแม้ศาลาให้สานุศิษย์อาศัยนอนพักหลบแดดฝนใด ๆ เมื่อยามบากบั่นขึ้นไปหาท่านประสาศิษย์ที่ดีมีกตเวทิตา อาจารย์เบิ้มจึงคิดทำพระถวายหลวงปู่พรหมา เพื่อสร้างเสนาสนะอย่างเป็นทางการ
อาศัยที่อยู่กับหลวงปู่โต๊ะมานาน และเรียนรู้วิทยาคุณกับท่านอาจารย์รอด สุขเจริญ ฆราวาสผู้ขลังสุดขีดในไสยเวทพุทธาคม ด้วยอาจารย์รอด เป็นศิษย์แท้ๆ ของพระครูวิมลคุณากร หรือหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท ทว่าท่านบวชอยู่กับหลวงปู่ศุขได้เพียง 30 พรรษา ก็จำต้องลาสิกขามาครองขาว หากยังเป็นพระอยู่คงไม่แคล้วดังสนั่น
เมื่อมีครูดี การทำของก็ต้องทำให้ดี อาจารย์เบิ้มจึงเน้นเรื่องชนวนมวลสารมาก และไม่ต้องไปหาไกลเท่าใดนัก ค้น ๆ เอาในบ้านก็มากมาย เพราะเก็บสะสมไว้แต่หนุ่มแต่น้อย อาจารย์เคยบอกผมว่าไม่จดเรื่องชนวน เกรงคนจะหาว่าโม้ เชื่อก็เอา ไม่เชื่อก็อย่าเอาไป หากสุดท้ายอาจารย์ก็ใจอ่อน ยอมปรารภให้ฟังถึง ‘บางส่วน’ ของมวลสารดังนี้
1. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของพระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ) วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี กรุงเทพฯ
2. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
3. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
และจะไม่กล่าวถึงแผ่นยันต์ต่าง ๆ มากมายหลายร้อยแผ่นที่พระเถรานุเถระในสายอีสานอันเป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่นได้เมตตาลงให้ไว้แต่นานเน ทั้งยังพระยันต์เก่าเก็บจากพระคณาจารย์ทั่วประเทศอีกเป็นกุรุสโกดัง ถึงขนาดอาจารย์ออกปากว่า “เสร็จงานนี้บ้านโล่งไปเยอะ”
ที่สำคัญยิ่งคือ แผ่นทองแดงลงอักขระยันต์ และคาถาต่างๆ นับพันบท ซึ่งจารโดยมือของหลวงปู่พรหมา เขมจาโร อิสีขลังผู้ชาญพระเวทย์แห่งลุ่มน้ำโขง ได้ลงไว้มีจำนวนทั้งสิ้น 1 ปิ๊บเต็ม ๆ ทองแดงบางอย่างกระดาษวางลงในปีบจนเต็มมันจะมีกี่แผ่น?
หลวงปู่พรหมาเสกปี๊บยันต์บน ‘คาย’ ในถ้ำอยู่นานมาก แล้วมอบให้ประสมกับชนวนพระกริ่งปวเรศ (ปี 2530) ซึ่งในหลวงเสด็จพระราชดำเนินเททองโดยพระหัตถ์เอง สมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นประธานพิธี, ชนวนพระกริ่งหลายรุ่นของสมเด็จพระสังฆราชแพ ที่มีจำนวนพอสมควร มิใช่นิดหน่อยแล้วเขียนเอา , ชนวนพระกริ่งนเรศวร วังจันทน์, ชนวนพระกริ่งชินบัญชรของหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ จ.ระยอง, ชนวนพระกริ่งปรโม ของหลวงปู่เริ่ม ปรโม วัดจุกเฌอ จ.ชลบุรี ชนวนพระกริ่งอรหัง ของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่, ชนวนพระกริ่งพุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ , ชนวนพระกริ่งรุ่นต่าง ๆ ของหลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ, ชนวนพระพุทธรูปเททองโดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.เชียงราย, ชนวนพระพุทธรูปเททองโดย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
เรื่องชนวนถ้าต้องเขียนจริง ๆ อาจต้อง 5 เล่มจบ จึงขอจบตรงนี้พอ
นอกจากนี้ยังมีเหรียญหลวงปู่แหวน สุจิณโณ, เหรียญหลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ, เหรียญหลวงปู่สิม พุทธาจาโร, เหรียญหลวงปู่เกษม เขมโก, เหรียญหลวงพ่อแช่ม ฐานุสสโก แต่ละองค์นับร้อยเหรียญ ถ้ารวมพระคณาจารย์ต่าง ๆ ก็นับพันเหรียญ
ยังปรากฏชนวนศักดิ์สิทธิ์อาถรรพณ์ต่าง ๆ ที่ไม่อาจเปิดเผยที่มาได้ อาทิ พระเกศ และนิ้วพระหัตถ์ชำรุดของพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งในประเทศไทย ตะกรุดชินตะกั่วโบราณ อายุ 200 ปี ตะปูสังขวานร เหล็กยอดเจดีย์ เหล็กยอดปราสาท โลหะธาตุวิเศษนานาที่เป็นทนสิทธิ์ มีอิทธิฤทธิ์ในตัวเองถูกเชิญมาสู่เบ้าหลอมสร้างเป็นพระทั้ง 3 พิมพ์
ที่สำคัญสุดยอดคือ พระยันต์บังคับทั้ง 108 ดวงและนะปถมัง 14 นะ อันเป็นสูตรโบราณในการเทพระสำคัญ ถูกจารลงในแผ่นทองคำบริสุทธิ์แท้จนครบตำรา มีน้ำหนักทั้งสิ้นถึง 50 บาท
ส่งผลให้พระชุดนี้มีทุนสร้างมหาศาล หากไม่ใช่เพราะใจรัก และอาศัย ‘คุณธรรม’ เป็นที่ตั้ง คงไม่อาจตัดใจทำลงได้แน่แท้

สรุปว่า การเทพระวาระนี้ไม่มีโลหะเปล่าอันมิใช่ของวิเศษเจือปนลงไปให้เป็นที่ครหาเลยแม้แต่น้อย ชนวนน้ำหนักมากมายหลายสิบกิโลถูกนำมาวางเรียงรายบนโต๊ะยาวปูผ้าขาว แล้วทำการบันทึกภาพพร้อมถ่ายวีดีโอเป็นหลักฐานก่อน ต่อเนื่องไปถึงการหลอมเป็นเนื้อเดียว แล้วเททอง

องค์เททอง อาจารย์เบิ้มกำหนดที่ หลวงปู่ดี วัดสุวรรณาราม อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ซึ่งหลวงปู่อาจไม่ปรากฏชื่อเสียงแพร่หลายนัก เพราะท่านเก็บตัวเนื่องจากอาพาธด้วยโรคตา โดยเหตุที่ท่านเป็นศิษย์มือซ้ายของ พระพุทธวิถีนายก (บุญ ขันธโชติ) วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ซึ่งหลวงปู่บุญจะใช้ท่านจารคัมภีร์คัดลอกตำราต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ เพราะท่านมีลายมือในการเขียนขอมได้อย่างสวยงามยิ่ง กระทั่งหลวงปู่ดีอายุได้ราว 80 ปี สายตาท่านก็เริ่มเสื่อมเรื่อยมาจนมองไม่เห็นในที่สุด ท่านจึงงดรับนิมนต์ใดๆ และแขกเหรื่อท่านก็ไม่สะดวกรับ

แม้ในวันที่อาจารย์เบิ้มท่านไปกราบอาราธนา ศิษย์ท่านยังพูดอย่างหวังดีว่า อย่านิมนต์ให้ยากเลย เสียเวลาเปล่า ครั้นได้เข้ากราบและเล่าความ ท่านกลับแสดงความกระตือรือร้นที่จะไปสอบถามวันเวลา สถานที่เป็นอย่างดีแล้วก็รับนิมนต์
การณ์นี้สร้างความประหลาดใจให้ศิษย์ของท่านยิ่งนัก ยิ่งหนักเข้าไปอีกเมื่อหลวงปู่บอกว่า “รอเขาอยู่นาน” เมื่อพระเถระผู้เฒ่า ชนมายุ 90 ปี ไปเททองให้ตามวันเวลากำหนดแล้ว ท่านพูดในพิธีว่า วันนี้ดีมาก เทพ พรหม ลงมาอนุโมทนากันมากของในพิธีนี้ดีจริงๆ แล้วท่านก็ลากลับวัดไป เพียงไม่ถึงเดือน ท่านก็มรณภาพ ดังคำที่ว่า

“รอเขาอยู่”
มีเรื่องแปลกสมควรบันทึกไว้ คือ เมื่อเททองเสร็จกำลังรอให้โลหะเย็นตัวเพื่อทุบเบ้า ตรวจนับพระ ได้มีคณะบุคคลหนึ่งเข้ามาในโรงหล่อ เพื่อประกอบพิธีเททองเช่นกัน บุรุษอาวุโสในกลุ่มนึกอย่างไรไม่ทราบตรงเข้ามาขอดูพระบางช่อที่ทุบเบ้าออกแล้ว ครั้นจับสัมผัสเข้าก็สะดุ้งสุดตัวเรียกร้องให้พระภิกษุวัยกลางคนมาพิจารณา

เมื่อพระรูปนั้นถือท่านก็หลับตาลงอย่างตั้งใจ ทำอาการดุจตรวจสอบอะไรบางอย่าง แล้วลืมตาอย่างตื่นเต้น พลางว่า “นี่พระอะไรศักดิ์สิทธิ์ขนาดนี้ อาตมาขอชนวนไปหล่อพระบ้างได้ไหม” อาจารย์เบิ้มเรียนตอบว่า ยังไม่อาจถวายได้ เพราะยังไม่ได้ตัดออกจากช่อ และยังไม่ได้นับจำนวน ท่านจึงถามว่า พระนี้ขอบูชาไปบ้างได้ไหม อาจารย์ว่า ยังไม่ได้ปลุกเสกเลย ท่านสวนตูม พระนี้ดีอยู่แล้วไม่ต้องทำพิธีอะไร แขวนได้เลย กลุ่มบุคคลนั้น จึงขออนุญาตเดินเก็บเศษทองที่หล่นอยู่รอบๆ เบ้าไปแทน
รื่องนี้ประหลาดดี แสดงว่าคณะนั้นต้องได้สมาธิ จนสามารถตรวจเช็คพระได้ ดังศิษย์ของหลวงปู่ดู่ วัดสะแก หลายท่าน เมื่อสอบถามภายหลังจึงทราบว่า คณะนั้นมาเพื่อเทหล่อรูปเหมือนบูชาของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา ถ้าอย่างนั้นผมขอเดาว่าบุรุษภูมิฐานท่านนั้นคงเป็นคุณหมอเสรี วรรณไกรโรจน์ ศิษย์ก้นกุฏิของหลวงพ่อพุธ และพระเถระรูปนั้นต้องเป็นท่านพระอาจารย์ชู วัดเขากะป่อม อ.เมือง จ.ชลบุรี ไม่สงสัย เพราะท่านอาจารย์ชูรูปนี้ สามารถสัมผัสพลังพระเครื่องได้แม่นยำน่ามหัศจรรย์ แม้หลวงพ่อพุธก็ยอมรับในข้อนี้ และคุณหมอเสรีเองก็เป็นศิษย์ท่านอาจารย์ชูที่ได้รับการถ่ายทอดวิชามาด้วยเช่นกัน
เหตุการณ์นี้ยืนยันได้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระชุดนี้โดยแท้ แค่หลอมโลหะธาตุอันวิเศษเข้าด้วยกันประกอบพิธีเททองตามฤกษ์ยาม วันเวลาอันเป็นมงคล บวงสรวงตามตำราแท้แต่โบราณก็มีอานุภาพมากเพียงนี้ หากประกอบพิธีพุทธาภิเษกอย่างสมบูรณ์ด้วยแล้วจะเลิศเพียงใด
อาจารย์เบิ้มได้นำพระทั้ง 3 พิมพ์ เข้าพุทธาภิเษกในวาระต่าง ๆ ไม่เคยหยุด ไม่ว่าจะเป็นวัดพระแก้วฯ, วัดสุทัศน์ฯ, วัดราชบพิตรฯ, วัดบวรนิเวศน์ฯ, วัดอินทารามฯ, เป็นต้น เฉพาะวัดที่กล่าวนามมาก็ไม่ต่ำกว่าวัดละ 5 พิธีเสก และพระทั้งหมดได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกมาทั่วประเทศ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 30 พิธี

หากจะนับคณาจารย์ที่ปลุกเสกก็ไม่ต่ำกว่า 300 พระอาจารย์ และการนำไปอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว อาจารย์เบิ้มนำไปด้วยตนเอง จนคร้านจะไป เหตุที่พระนี้สร้างในปี พ.ศ. 2534 ครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษยังปรากฏอยู่มากมาย การนำเสกจึงเป็นไปอย่างสนุกใจคนทำ
หลวงปู่เกษม เขมโก, หลวงปู่แช่ม ฐานุสโก, หลวงพ่ออุตตมะ อุตตมรัมโภ, หลวงปู่พรหมา เขมจาโร, หลวงปู่คำพัน โฆษะปัญโญ ดูจะเป็นองค์เสกชุดนี้อย่างบ่อยที่สุด นอกนั้นทั่วประเทศอาจารย์บอกผมอย่างเหนื่อยใจจะอธิบายว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2534-2538 ชอบใจหลวงพ่ออะไร นับถือใครเอ่ยชื่อมาเลย...เอ่ยมาเถอะ... เสกแล้วทั้งนั้น!









ขอจองครับ.....

ขอบพระคุณครับ



48.พระผงรุ่นแรกหลวงปู่บุญจันทร์ จันทวโร วัดถ้ำผาผึ้ง อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ปี41  2 องค์ สวยๆ 650-


มาหาเฮาทำไมตั้งไกล อยู่ใกล้ๆ ทำไมไม่ไปหา "อาจารย์บุญจันทร์" กัน ท่านเป็นพระดีแท้เน้อ” คำพูดนี้เป็นของ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ที่มักจะพูดกับชาวบ้าน อ.ฝาง หรือ อ.ไชยปราการ เมื่อไปกราบหลวงปู่แหวน ซึ่ง "อาจารย์บุญจันทร์" ที่ท่านพูดถึงก็คือ หลวงพ่อบุญจันทร์ จันทวโร วัดถ้ำผาผึ้ง อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ นั่นเองครับ

หลวงพ่อบุญจันทร์ จันทวโร เป็นพระป่าวิปัสสนากรรมฐานในสาย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นลูกศิษย์หลวงปู่ตื้อ, หลวงปู่แหวน, ท่านพ่อลี, หลวงปู่ชอบ, หลวงปู่สิม ที่มีปฏิปทาน่าเคารพศรัทธาเลื่อมใสยิ่งนัก ท่านเป็นผู้มีจิตใจเด็ดเดี่ยวเด็ดขาดผาดโผนมาโดยตลอด

ท่านได้อุปสมบท เมื่ออายุ ๒๑ ปี วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๔๙๐ เวลา ๑๐.๓๐ น. ณ พัทธสีมา วัดสระจันทร์ ต.เมืองเก่า อ.พล จ.ขอนแก่น

ภายหลังจากที่ได้อุปสมบทแล้ว ท่านมีจิตเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างหนักแน่น จึงได้กล่าวกับโยมพ่อว่า ทรัพย์สินที่ไร่ที่นาทั้งหลายให้ขายให้หมด หากท่านอยู่ในพระพุทธศาสนาไม่ได้ สึกออกมาท่านจะหาเอาเอง หากหาไม่ได้ก็จะกินดินแทนข้าว

และยังได้บอกกับโยมพ่อด้วยว่า ทรัพย์สินของโยมพ่อก็ขายให้หมดด้วย แล้วเอาเงินไปทำบุญ โยมพ่อเองก็ให้ออกบวชเสีย

หลวงพ่อบุญจันทร์ เป็นพระผู้ที่มีจิตใจเด็ดเดี่ยว อาจหาญตามแบบครูบาอาจารย์ที่ท่านได้ปฏิบัติมา ท่านเป็นอภิชาตบุตรโดยแท้ เพราะได้ชักนำให้โยมพ่อบวชพระและโยมแม่บวชชี เพื่อปฏิบัติธรรมจวบจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของโยมทั้งสอง

เมื่อจำพรรษาที่ลำปาง คือ วัดป่าสำราญนิวาส เกาะคา ลำปาง ขณะที่ท่านนั่งทำสมาธิอยู่นั้น มีคนวิกลจริตเดินเข้ามาในวัด ถือมีดมาไล่ฟันคนในวัด ผู้คนแตกตื่นกันหมด ยิ่งไปกว่านั้น คนวิกลจริตผู้นั้นวิ่งตรงเข้าไปหาโยมแม่ของท่าน ซึ่งปฏิบัติธรรมอยู่ที่นั่น ท่านได้ยินเสียงอึกทึกจึงออกมาดู ไม่นึกว่าจะเกิดเรื่องร้ายแรงขึ้นในวัด คนวิกลจริตผู้นั้นวิ่งเข้าไปที่กุฏิโยมแม่ของท่าน แล้วเงื้อมีดฟันลงที่คอโยมแม่เกือบขาด โยมแม่สิ้นใจต่อหน้าของท่าน ขณะที่เข้าไปช่วย ปรากฏว่า เมื่อภาพอันเสียดแทงใจทำลายจิตใจของมนุษย์ปุถุชนอย่างรุนแรง เมื่อท่านเห็นแล้วท่านพิจารณาและหันหลังกลับไปที่กุฏิของท่าน ภาวนาเพื่อดับความสลดสังเวชอย่างสงบ

เมื่อเริ่มแรกที่ท่านมาสร้างวัดถ้ำผาผึ้งใหม่ๆ ท่านต้องระเบิดหินเพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างวัด และทางเดิน ท่านไม่ได้ใช้ระเบิดลูกเกลี้ยง แต่ท่านใช้ไดนาไมต์มาระเบิดหิน พอวางชนวนเสร็จท่านก็เดินออกไป

น่าแปลกใจ ระเบิดไม่ทำงานสักที ท่านจึงเดินไปดู พระเณรที่อยู่ด้วยก็เฉย ไม่ไปด้วย คิดว่าไม่มีอะไร แต่เมื่อท่านเดินไปถึงจุดฝังไดนาไมต์ ระเบิดก็ทำงานทันที เสียงระเบิดดังบึ้มๆๆ สนั่นหวั่นไหว ฝุ่นฟุ้งตลบเป็นวงกว้าง พระเณรต่างตาลีตาเหลือกมองหน้ากัน ท่านเดินออกมาเอามือปัดอังสะสองสามที ไม่เป็นไรเลยแม้แต่น้อย

ท่านได้ละสังขารไปเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๔๓ สิริอายุ ๗๔ ปี

หลวงพ่อบุญจันทร์ ท่านเป็นพระอริยสงฆ์รูปหนึ่งที่อัฐิ, เกศา เป็นพระธาตุเฉกเช่นเดียวกับพ่อแม่ครูอาจารย์ท่านอื่นๆ ปฏิปทาของหลวงพ่อบุญจันทร์

ท่านมุ่งเน้นไปในทางอบรมสั่งสอนธรรมะให้พระภิกษุสามเณร ตลอดจนญาติโยมที่มากราบนมัสการเป็นสำคัญ













49.พระศรีอริยเมตไตรย หลวงปู่ทองทิพย์ พุทธปัญโญ วัดป่าสีดาพระราม ลักษณ์รัตนโคตร จ. หนองคาย
เอกลักษณ์รุ่นนี้จะมีไขขึ้นที่องค์พระ(บรรจุกรุ) พระสวย พระดี มีประสบการณ์ นิยมในพื้นที่
ปิด-

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2017, 01:33:00 PM โดย thesun »



50.ล๊อคเก็ตรุ่นแรก หลวงปู่วิเวียร กทม. สวยๆ ล็อกเก็ตรุ่นแรกและรุ่นเดียวปี36  สวยเดิม สร้างน้อย หายาก หลังตอกโค๊ดอุ 500-

ท่าน j999

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2017, 01:33:11 PM โดย thesun »



51.เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่กินรี จันทิโย วัดกัณตะสีลาวาส จ.นครพนม ปี13 บล๊อกนิยม หน้าเล็ก หายาก นิยม 1,650-

หลวงปู่กินรี จนฺทิโย เคยอยู่กับหลวงปู่เสาร์นานถึง 6 ปี อยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น 2 ปี และอยู่กับหลวงปู่ทองรัตน์ 4 ปี หลังจากนั้น ได้กราบคารวะบูรพาจารย์ ทั้งสามอยู่เนืองนิจ  ศิษย์เอกของท่านที่มีชื่อเสียงมาจนทุกวันนี้คือ หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง หลวงตามหาบัวให้การยอมรับหลวงปู่กินรีว่าเป็นเพชรน้ำเอกแห่งวงค์พระกรรมฐาน











50.ล๊อคเก็ตรุ่นแรก หลวงปู่วิเวียร กทม. สวยๆ ล็อกเก็ตรุ่นแรกและรุ่นเดียวปี36  สวยเดิม สร้างน้อย หายาก หลังตอกโค๊ดอุ 500-

หลวงปู่วิเวียร วัดดวงแข กรุงเทพมหานคร
โดย บูชาครู

(การเรียบเรียงครั้งนี้ เป็นเพียงบทสรุปตามประเด็นเนื้อหาหลัก เพื่อให้ผู้ที่มีศรัทธาต่อหลวงปู่ได้ทราบถึงสังฆประวัติตามข้อเท็จจริงต่างๆ ในเบื้องต้น ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือรวมภาพวัตถุมงคล พระวิมลธรรมภาณ (หลวงปู่วิเวียร บุญมาก) วัดดวงแข กทม. และหนังสือกระแสพระ ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ)

พระวิมลธรรมภาณ (ฐิตปุญฺญเถร) หรือ หลวงปู่วิเวียร วัดดวงแข มีนามเดิมว่า สังเวียน บุญมาก กำเนิด ณ บ้านหมู่ที่ 8 ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2464 ในปี พ.ศ.2484 เมื่ออายุครบอุปสมบท ท่านได้อุปสมบทที่ วัดดวงแข โดยมี สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ในปี พ.ศ.2535 หลวงปู่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดดวงแข กรุงเทพมหานคร แต่ท่านได้เริ่มมีบทบาทช่วยเหลือกิจการของทางวัดและร่วมพัฒนาวัดดวงแขกับเจ้าอาวาสองค์ก่อนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 จนปรากฏความเจริญรุ่งเรืองมาตราบจนปัจจุบันนี้ นอกจากความเป็นพระนักพัฒนาแล้ว ทางคันถธุระ หลวงปู่ยังเป็นทั้งครูสอนพระปริยัติธรรมและมีความสามารถในการเขียน การเทศน์ หลวงปู่ได้ทำการเทศน์สั่งสอนแนะนำจนเป็นที่ชื่นชอบของพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดยได้รับนิมนต์ให้ไปเทศน์ตามสถานที่ราชการต่างๆ เป็นจำนวนมาก หลวงปู่วิเวียร บอกว่า "เราอย่าไปสอนเขา เราไปแนะนำให้เขาถึงจะถูก เราเก่งแล้วหรือถึงจะไปสอนเขา เราควรพิจารณาดูตัวเราเองก่อน แล้วถึงจะรู้ว่าเราจะไปสอนคนอื่น หรือจะไปแนะนำคนอื่น" หลวงปู่วิเวียร จึงเป็นที่เคารพและรักใคร่นับถือของคนทั่วไป ความสามารถในด้านนี้ดุจสมณศักดิ์สุดท้ายที่แสดงให้เห็นไว้คือ "พระวิมลธรรมภาณ" แปลว่า “พูดธรรมได้ละเอียดอ่อน”

ในทาง วิปัสสนาธุระ คือการเจริญพระกรรมฐาน หลวงปู่เวิเวียรถือเป็นพระที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของสมถะและวิปัสสนาเป็นอย่างสูง คุณนิพนธ์ คันทรง ไวยาวัจกรวัดดวงแข เคยกล่าวถึงว่า ตั้งแต่หลวงปู่บวชเป็นพระใหม่ๆ ท่านเป็นอาจารย์สอนกัมมัฏฐานแก่ผู้ที่สนใจ จนมีผู้ศึกษาสำเร็จไปแล้ว 300 กว่าท่าน วิชาวิปัสสนากรรมฐาน อันถือเป็นยอดแห่งการปฏิบัติตามพระสัทธรรมคำสั่งสอน หลวงปู่ก็แนะนำตามแนวทางการปฏิบัติกันมาอย่างเข้มแข็งของ กองทัพธรรม ฝ่ายวิปัสสนา ภาคอิสาน อย่างแท้จริง เฉพาะวิปัสสนากรรมฐาน หลวงปู่วิเวียรต้องใช้เวลาถึง 5 ปี ศึกษาจาก พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่าสาลวัน ซึ่งเป็นธรรมที่ยิ่งใหญ่ลึกซึ้งมาก จึงตีความออกและเข้าใจในปฏิบัติ

สำหรับเรื่องของวิทยาคม ต่างเป็นที่ทราบกันดีครับว่า หลวงปู่วิเวียร ท่านมีความสามารถในเรื่องนี้ไม่น้อยไปกว่าพระเกจิอาจารย์รูปใด และเป็นประเภทที่ไม่ออกตัวแสดงให้ใครๆ ได้เห็นกันด้วยซ้ำ ต้องสังเกตสังกากันเอาเองทั้งจากพิธีพุทธาภิเษกในวัดและนอกวัดดวงแข หลวงปู่วิเวียรท่านเป็นศิษย์หลวงพ่ออยู่ วัดบ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์ (ศิษย์ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท หลวงปู่เฮง คงฺคสุวณฺโณ วัดเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ และหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์) , พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา (ศิษย์อาวุโสของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต แม่ทัพธรรมสายพระป่ากรรมฐาน) , หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม จังหวัดชลบุรี (หลวงปู่วิเวียรเคยกล่าวถึงว่า หลวงพ่อโด่เก่งมาก ปลุกเสกพระหรือปลัดถึงกับลอยได้วิ่งได้เลยทีเดียว)

พระเครื่องที่ผ่านการอธิษฐานจิตปลุกเสกด้วยพลังจิตที่เข้มแข็งของหลวงปู่ มีพุทธคุณปรากฏครอบคลุมทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการส่งเสริมความสุขความเจริญ ดั่งคำพรของหลวงปู่ที่มักจะกล่าวกับญาติโยมเสมๆว่า " เจริญเฮงเฮงกันนะ" ทุกครั้งไป และอีกด้านที่มีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก คือ เมตตามหานิยม เพราะมีประสบการณ์กล่าวขานกันอย่างชัดเจน โดยเฉพาะครั้งหนึ่งเคยมีผู้นำพระเครื่องของท่านไปใช้ในทางที่ผิด จนหลวงปู่บอกให้ศิษย์รวบรวมวัตถุมงคลชุดนั้นทั้งหมดฝังกรุไว้ ความสามารถของหลวงปู่ในการปลุกเสกวัตถุมงคลจึงนับได้ว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ไม่เป็นสองรองใครเลยทีเดียว หลวงปู่ได้รับการชื่นชมจากพระเกจิอาจารย์หลายต่อหลายรูป เช่น หลวงปู่ทองอยู่ วัดใหม่หนองพระอง ที่จังหวัดสมุทรสาคร หลวงปู่ทองอยู่เคยบอกว่า "ไม่ต้องจัดงาน (พุทธาภิเษก) ให้เปลืองเงินหรอก ให้ท่านพระครูวิเวียรปลุกเสกเองก็พอแล้ว อยู่กับของดีไม่รู้จักอะไรแล้วหรือ กลับไปที่วัดบอกหลวงปู่วิเวียรฟังว่า หลวงปู่ทองอยู่สั่งมาอย่างนี้" และอีกตัวอย่างหนึ่งคือ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง พระอริยเกจิอาจารย์เมืองสิงห์บุรี ศิษย์หลวงปู่ศรี วัดพระปรางค์ ก็เคยกล่าวถึงหลวงปู่วิเวียรว่าเป็นดัง "ช้างเผือกกลางกรุง" ซึ่งในเรื่องนี้ หลวงปู่วิเวียรท่านให้ความเคารพหลวงพ่อแพมาก หลวงพ่อแพท่านก็ให้ความเมตตาต่อหลวงปู่วิเวียรเป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน เรียกหลวงปู่ว่าคุณวิเวียรอยู่ตลอดเวลา พอหลวงปู่วิเวียรละสังขารลง หลวงพ่อแพถึงกับเสียดายหลวงปู่มาก พูดกับลูกศิษย์ของท่านว่า ช้างเผือกในกรุงล้มเสียแล้ว เสียดายจริงๆ พระเก่งๆ ดีๆ อย่างนี้หายาก




ขอจองครับ...



52.รูปหล่อรุ่นแรก เนื้อเงิน พระครูมงคลภาณี หรือ หลวงปู่มัง มังคโล วัดเทพกุญชรวราราม จ.ลพบุรี  ปี32 ตอกสองโค้ต ก้นจาร หายาก 1350-

ท่าน j999

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2017, 01:33:24 PM โดย thesun »



53.พระกริ่งกันทรวิชัย 'ภปร' รุ่นแรก ปี 2528 พิมพ์ใหญ่  จ.มหาสารคาม พิธีใหญ่ นิยมครับ 900

พระกริ่งกันทรวิชัย ภปร. รุ่นแรก ปี2528 พิมพ์ใหญ่  ในหลวงทรงเสด็จเททอง ณ ศาลากลางหลังเก่า จ.มหาสารคาม สร้างทั้งหมด 3 พิมพ์ ได้แก่
1.พระบูชาพระประธานกันทรวิชัย หน้าตัก 7 นิ้ว
2.พระกริ่งพระประธานกันทรวิชัย พิมพ์ใหญ่
3.พระกริ่งพระประธานกันทรวิชัย พิมพ์เล็ก

อธิษฐานจิตโดย สมเด็จพระญาณสังวร หลวงปู่สิม พุทธาจาโร หลวงปู่ศรี มหาวีโร หลวงพ่อพุธ ฐานิโย หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ เป็นต้น






52.รูปหล่อรุ่นแรก เนื้อเงิน พระครูมงคลภาณี หรือ หลวงปู่มัง มังคโล วัดเทพกุญชรวราราม จ.ลพบุรี  ปี32 ตอกสองโค้ต ก้นจาร หายาก 1350-


หลวงปู่มัง มังคโล แห่งวัดเทพกุญชร ลพบุรี
ท่านเป็นศิษย์สายธรรมยุต เป็นศิษย์ของ
ท่านเจ้าคุณอุบาลี จันทร์ สิริจันโท และ หลวงปู่อ่ำ วัดมณีชลขัน
ในช่วงที่ท่านยังมีชีวิตอยู่..จะมีผู้คน
จากทั่วประเทศมากราบท่าน..กันอย่างมากมาย
ท่านเป็นพระปฏิบัติ..ที่มีจริยวัตรน่าเลื่อมใสมาก

ประวัติท่าน เกิด 11 เมย 2450 ท่านบวชเณรตั้งแต่อาย 17 ปี ที่วัดสิริจันทรนิมิต ต่อมาหลวงปู่มัง ได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ( จันทร สิริจันโท) และพระคณุศีลวรคุณ (อ่ำ ภทราวุโธ) ขณะเป็นสามเณรได้มีโอกาสฟังธรรมจาก หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จึงมีความเชื่อมั่นในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามากยิ่งขึ้น จนได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปี 2470 ฝ่ายธรรมยุตนิกาย ได้ศึกษาพระธรรม ตลอดจนออกธุดงค์เรื่อยมาจนในปี 2475 ได้มาอยู่วัดมณีชลขันธ์ ปี 2479 มาอยู่วัดเทพกุญชร เป็นเจ้าอาวาส และที่สุดเป็นเจ้าคณะจังหวัดลพบุรี-สระบุรี (ธรรมยุต ) ท่านเป็นพระที่บริสุทธิ์เป็นที่เคารพเลื่อมใสของลูกศิษย์เป็นอย่างมาก


หลวงปู่เป็นพระที่มีวัตรปฎิบัติงดงามมาก
ไม่ถือตัว ท่านจะกำหนดเวลารับแขกไว้แน่นอน  ผู้ใดไปหาท่านดามเวลาที่กำหนดจะได้พบท่านแน่นอน
ถ้าไม่ติดกิจนิมนต์  พูดคุยเป็นกันเอง  ใครขอถ่ายรูปกับท่านไว้เป็นที่ระลึก ท่านก็ให้ถ่าย ลูกศิษย์ท่านก็ดีมากกกก....
ไม่เคยกรีดกัน มีแต่คอยช่วยเหลืออำนวยความสะดวก  เป็นที่ประทับใจกับผู้ไปพบหากราบไหว้
   หลวงปู่หลวงท่านบอกว่า หลวงปู่มัง นั่นแหละครูบาอาจารย์เลย ถ้ามีโอกาสลงไป
ทางใต้ต้องแวะกราบมนัสการท่านทุกครั้ง ตอนนี้ท่านไปดีแล้ว ...
   .. พระหลวงปู่มังทุกรุ่นที่ทันท่าน พุทธคุณสูงครับ.. เมตตามหานิยมครับ..ราคาเบาด้วยครับ..










ขอจองครับ



52.รูปหล่อรุ่นแรก เนื้อเงิน พระครูมงคลภาณี หรือ หลวงปู่มัง มังคโล วัดเทพกุญชรวราราม จ.ลพบุรี  ปี32 ตอกสองโค้ต ก้นจาร หายาก 1350-


หลวงปู่มัง มังคโล แห่งวัดเทพกุญชร ลพบุรี
ท่านเป็นศิษย์สายธรรมยุต เป็นศิษย์ของ
ท่านเจ้าคุณอุบาลี จันทร์ สิริจันโท และ หลวงปู่อ่ำ วัดมณีชลขัน
ในช่วงที่ท่านยังมีชีวิตอยู่..จะมีผู้คน
จากทั่วประเทศมากราบท่าน..กันอย่างมากมาย
ท่านเป็นพระปฏิบัติ..ที่มีจริยวัตรน่าเลื่อมใสมาก

ประวัติท่าน เกิด 11 เมย 2450 ท่านบวชเณรตั้งแต่อาย 17 ปี ที่วัดสิริจันทรนิมิต ต่อมาหลวงปู่มัง ได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ( จันทร สิริจันโท) และพระคณุศีลวรคุณ (อ่ำ ภทราวุโธ) ขณะเป็นสามเณรได้มีโอกาสฟังธรรมจาก หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จึงมีความเชื่อมั่นในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามากยิ่งขึ้น จนได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปี 2470 ฝ่ายธรรมยุตนิกาย ได้ศึกษาพระธรรม ตลอดจนออกธุดงค์เรื่อยมาจนในปี 2475 ได้มาอยู่วัดมณีชลขันธ์ ปี 2479 มาอยู่วัดเทพกุญชร เป็นเจ้าอาวาส และที่สุดเป็นเจ้าคณะจังหวัดลพบุรี-สระบุรี (ธรรมยุต ) ท่านเป็นพระที่บริสุทธิ์เป็นที่เคารพเลื่อมใสของลูกศิษย์เป็นอย่างมาก


หลวงปู่เป็นพระที่มีวัตรปฎิบัติงดงามมาก
ไม่ถือตัว ท่านจะกำหนดเวลารับแขกไว้แน่นอน  ผู้ใดไปหาท่านดามเวลาที่กำหนดจะได้พบท่านแน่นอน
ถ้าไม่ติดกิจนิมนต์  พูดคุยเป็นกันเอง  ใครขอถ่ายรูปกับท่านไว้เป็นที่ระลึก ท่านก็ให้ถ่าย ลูกศิษย์ท่านก็ดีมากกกก....
ไม่เคยกรีดกัน มีแต่คอยช่วยเหลืออำนวยความสะดวก  เป็นที่ประทับใจกับผู้ไปพบหากราบไหว้
   หลวงปู่หลวงท่านบอกว่า หลวงปู่มัง นั่นแหละครูบาอาจารย์เลย ถ้ามีโอกาสลงไป
ทางใต้ต้องแวะกราบมนัสการท่านทุกครั้ง ตอนนี้ท่านไปดีแล้ว ...
   .. พระหลวงปู่มังทุกรุ่นที่ทันท่าน พุทธคุณสูงครับ.. เมตตามหานิยมครับ..ราคาเบาด้วยครับ..


ขอจองครับ

ขอบพระคุณครับ



54.รูปหล่อรุ่นแรกหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ปี17 เนื้อนวโลหะ ก้น นะ ชา ลิ ติ จัดเป็นรูปหล่อรุ่นแรกรุ่นเดียวของท่าน หายาก นิยม สวยๆ 3800-

ปิดครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2017, 01:33:44 PM โดย thesun »




 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi