พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ(อ่าน 43946 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

พระรอดลำปางหลวง

"คัดลอกมาจาก หนังสือลานโพธิ์ ฉบับ ๘๖๕ ต.ค. ๔๕ คอลัมน์พระรอดลำปางหลวง โดย สืบไม่แสบ"

ในช่วงสงครามอินโดจีนต่อกับสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในปี ๒๔๘๔-๒๔๘๘
วัดพระธาตุลำปางหลวง ต.ลำปางหลวง อ.เกาะคา จะ.ลำปาง
โดยการนำของอดีตเจ้าอาวาสพระครูประสาทศรัทธา ได้ทำการจัดสร้างพระรอดลำปางหลวง
โดยจัดพิธีปลุกเสกหมู่ ณ วิหารหลวงพระเจ้าล้านทอง ในคืนวันเพ็ญเดือน ๑๒
พอเสร็จพิธีได้นำพระแจกจ่ายแก่ทหารที่เข้าร่วมรบในสงครามครั้งนั้น

พระรอดลำปางหลวง ถอดแบบจำลองมาจากพระแก้วมรกตจำลอง
ที่ประดิษฐานที่วิหารพระแก้วมรกต วัดพระธาตุลำปางหลวง

พระรอดลำปางหลวงนั้นเป็นการสร้างแบบหล่อโบราณ
โดยมีเนื้อโลหะที่ใช้ได้แก่ ขันโตก ทองเหลือง ทองแดง เงิน ทองคำ โลหะสำริดเก่า
ปลายหอกโบราณ ดาบโบราณ พระบูชาที่ชำรุด และทองจั๋งโก๋ที่หุ้มพระธาตุหลวงที่ชำรุด
(ทองจั๋งโก๋ เป็นสำริดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นสูตรผสมโลหะโดยเฉพาะของล้านนาโบราณ
จะออกสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลไหม้)

พระรอดลำปางหลวง จะมีเนื้อหาออกสีน้ำตาลเข้มเป็นส่วนใหญ่
ตามพื้นผิวบางแห่งปรากฏคราบสนิมหยก สนิมเขียวแดง
เนื้อพระเป็นลักษณะของโลหะหมดยางหลอมไม่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน
รูปทรงเป็นสามเหลี่ยมปลายมนเกือบกลม

บางองค์ตัดขอบ ส่วนมากจะมีปีกกว้าง เต็มทั้งสองข้างบ้าง ไม่เต็มบ้าง
การแกะแม่พิมพ์โดยช่างชาวบ้าน องค์พระในท่านั่งสมาธิ ไม่ปรากฏหน้าตา
ด้านหลังส่วนใหญ่จะเป็นย่นแบบท้องช้าง
เนื้อโลหะมีรูพรุนเป็นฟองอากาศก็มี เป็นแอ่งแบบท้องกระทะก็มี
จำนวนสร้างประมาณ ๕,๐๐๐ กว่าองค์






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 02, 2022, 02:27:56 PM โดย porpek »



พระปางป่าเลไลย์ เนื้อชินตะกั่วผสมปรอท
หลวงปู่เนียม วัดน้อย จ.สุพรรณบุรี
เป็นพิมพ์มีน้อย เหตุผลเพราะใช้เนื้อตะกั่วมาก องค์พระใหญ่




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 02, 2022, 02:28:28 PM โดย porpek »



พระกรุเชียงแสนปรกโพธิ์ใหญ่ เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 02, 2022, 02:28:58 PM โดย porpek »



พระกรุถ้ำเขาพระ จ.นครศรีธรรมราช เนื้อสำริด




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 02, 2022, 02:29:25 PM โดย porpek »



พระปรกโพธิ์ สมาธิเล็ก กรุเชียงแสนเนื้อตะกั่วสนิมแดง นิยมสุด



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 02, 2022, 02:29:56 PM โดย porpek »



พระกริ่งคชวัตร เนื้อนวะโลหะ แจกกรรมการ ตอกโค๊ด “กรรมการ”
สร้าง ๑๒๘ องค์ เป็นการเทนำฤกษ์
ช่อแรกในการเททองของพระกริ่งคชวัตร วัดบวรนิเวศวิหาร
จัดสร้างในวาระครบ ๙๐ พรรษา
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ๓ ตุลาคม ๒๕๔๖


พระกริ่งคชวัตร สร้างเนื้อทองคำ ๓๙๙ องค์
พระกริ่งคชวัตร สร้างเนื้อนวโลหะ ๓,๙๙๙ องค์
พระกริ่งคชวัตร เจ้าประคุณสมเด็จฯ ประทานอนุญาตให้จำลองจากพระพุทธรูปศิลปะเนปาล ที่พุทธศาสนิกชนชาวเนปาลถวาย เมื่อครั้งที่เสด็จประเทศเนปาล เพื่อทรงบรรพชาชาวศากยบุตร ในปี พ.ศ.๒๕๒๘ ซึ่งพระพุทธรูปดังกล่าวมีความเก่าแก่นับร้อยปี มีความงดงามเป็นเลิศ และได้ประทานอนุญาตให้อัญเชิญนามสกุลในพระองค์ท่าน คือ " คชวัตร " ถวายเป็นนามพระกริ่ง เพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์สกุลในพระองค์สืบไป นับว่าทรงให้ความสำคัญกับพระกริ่งคชวัตร มาก

วัตถุประสงค์ และ ความเป็นมาของการจัดสร้าง

ในวโรกาสที่ เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชนมายุ ๙๐ พรรษา ประทานอนุญาต ให้สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช สร้างวัตถุมงคล
โลหะที่นำมาจัดสร้างและวัตถุมงคลที่บรรจุ
ในการจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้ ได้นำโลหะชนวนพระกริ่งที่มีพิธีเททอง ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งแต่โบราณเป็นต้นมา ซึ่งได้แก่ ชนวนพระกริ่งปวเรศ พระกริ่งไพรีพินาศ พระกริ่งสุจิตโต พระกริ่งบวรรังสี พระกริ่งสุวัฑฒโน ชนวนพระพุทธรูป ภปร. พระพุทธรูปพระชินสีห์ เป็นต้น
ภายในองค์พระกริ่ง พระรูปเหมือน ของสมเด็จฯ ทุกๆองค์ บรรจุเส้นพระเกศาของเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และมีหมายเลขพร้อมโค้ด กำกับ และสร้างจำนวนจำกัด
ส่วนผสมของ นวะโลหะ มีทองคำผสมตามสูตรของวัดบวรนิเวศวิหาร ที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งผิวจะกลับดำเป็นมันขลับ
เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงลงอักขระในแผ่นทองคำ และคณาจารย์ทั่วประเทศ จำนวน ๑๐๘ รูป ลงอักขระในแผ่นทอง เพื่อนำมาเป็นส่วนผสมในโลหะที่จัดสร้าง
พิธีพุทธาภิเษกฯ วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๖ เวลา ๑๕.๑๙ น. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และทรงจุดเทียนชัย ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส

นามพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
ชุดเดียวกับพระสงฆ์ที่เจริญชัยมงคลคาถาในพิธีเททองฯ

นามพระสงฆ์สวดพุทธาภิเษก
๑.จากวัดสุทัศน์เทพวราราม
๒.จากวัดนครสวรรค์

นามพระสงฆ์นั่งบริกรรม เจริญจิตภาวนา
๑.พระอุดมญาณโมลี วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี
๒.พระธรรมวิสุทธิกวี วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ
๓.พระเทพสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) วัดประชาคมวนาราม ร้อยเอ็ด
๔.พระเทพโมลี วัดราชผาติการาม กรุงเทพฯ
๕.พระราชอุดมมงคล (หลวงพ่ออุตตมะ) วัดวังวิเวการาม กาญจนบุรี
๖.พระภาวนาวิศาลเถระ (หลวงปู่บุญมี) วัดสระประสานสุข อุบลราชธานี
๗.พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) วัดอรัญบรรพต หนองคาย
๘.พระมงคลสุนทร (หลวงปู่โถม ) วัดธรรมปัญญาราม สุโขทัย
๙.พระศรีมงคล (หลวงพ่อทอง) วัดสำเภาเชย ปัตตานี
๑๐.พระมงคลวราจารย์ ( หลวงปู่ธีร์ ) วัดมิ่งเมืองพัฒนาราม ขอนแก่น
๑๑.พระครูปทุมชัยกิจ (หลวงปู่นะ ) วัดหนองบัว ชัยนาท
๑๒.พระครูธรรมรัตนวิสุทธิ์ ( หลวงปู่ทอง ) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ
๑๓.พระครูธรรมรังษี (หลวงปู่ธรรมรังษี ) วัดเขาพนมดิน สุรินทร์
๑๔.พระครูสุภัทร์ศีลคุณ (ครูบาดวงดี ) วัดท่าจำปี เชียงใหม่
๑๕.พระครูวิสุทธิบุญดิตถ์ ( หลวงพ่อนวล ) วัดประดิษฐาราม ปัตตานี
๑๖.พระครูวิบูลธรรมกิจ (หลวงพ่อบัวเกตุ ) วัดแม่ปาง แม่ฮ่องสอน
๑๗.พระครูประทีปธรรมสถิต ( หลวงปู่ชอบ ) วัดเขารังเสือ ราชบุรี
๑๘.พระครูนิพัทธ์ธรรมกิจ ( หลวงพ่อแคล้ว ) วัดบางขุนเทียนนอก กรุงเทพฯ
๑๙.พระครูวิจารณ์สมถกิจ (หลวงพ่อห้อย ) วัดป่าประชารังสรรค์ ศรีสะเกษ
๒๐.พระครูนิภาวิหารกิจ ( หลวงพ่อดำ ) วัดใหม่นภาราม นราธิวาส
๒๑.พระครูปลัดประภักดิ์ วิสุทฺธสีโล วัดมหิงษสุวรรณนิมิต ปัตตานี
๒๒.พระครูสถิตวีรธรรม ( หลวงพ่อรอด ) วัดสันติกาวาส พิษณุโลก
๒๓.พระครูนิวิฐมณีวงศ์ ( หลวงพ่อสอาด) วัดเขาแก้ว นครสวรรค์
๒๔.พระครูพิพัฒน์วิทยาคม ( หลวงพ่อเจริญ ) วัดโนนสว่าง อุดรธานี
๒๕.พระครูกัลยาณกิจ วัดสุขาวดี ปัตตานี
๒๖.พระหลวงปู่สวน วัดนาทม อุบลราชธานี
๒๗.พระหลวงปู่จันทร์โสม วัดป่านาสีดา อุดรธานี
๒๘.พระหลวงพ่อเอียด วัดโคกแย้ม พัทลุง
๒๙.พระหลวงปู่โทน วัดเขาน้อยคีรีวัน ชลบุรี
๓๐.พระหลวงปู่สอ พนฺธุโล วัดเขาหนองแสง ยโสธร
๓๑.พระหลวงพ่อเพี้ยน อคฺคธมฺโม วัดเกริ่นกฐิน ลพบุรี
๓๒.พระหลวงพ่อประดับ ปริญฺญาโน วัดป่าประดับทรงธรรม สกลนคร
๓๓.พระหลวงพ่อโพธิ์ วัดคลองมอญ ชัยนาท
๓๔.พระอาจารย์ธรรมนูญ วัดมณีชลขันธ์ ลพบุรี


พิธีเททองฯ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จทรงประกอบพิธีด้วยพระองค์เอง ซึ่งจะเป็นครั้งสุดท้าย โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ปฎิบัติหน้าที่แทน พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส
มีพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวไต้หวัน จำนวน ๖๐ ท่าน นำโดย พระอาจารย์ซินเต้า ต้าซือ แห่งวัดหลิงจิวซาน มาร่วมพิธี
นามพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา พิธีเททองหล่อพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร
พระกริ่ง – ชัยวัฒน์ – ครอบน้ำมนต์ คชวัตร
พระพุทธชินสีห์ พระรัศมีพระพุทธชินราช และ พระรูปเหมือน
๑๙ มิถุนายน ๒๕๔๖
ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เวลา ๑๗.๔๙ น.
ในวโรกาสสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเจริญพระชนมายุ ๙๐ พรรษา
๑.สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศ
๒.สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) วัดชนะสงคราม
๓.สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) วัดปากน้ำ
๔.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฺฒโน) วัดสุวรรณาราม
๕.สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร) วัดมกุฎกษัตริยาราม
๖.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) วัดสัมพันธวงศาราม
๗.พระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกโร) วัดเทพศิรินทราวาส
๘.พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
๙.พระวิสุทธาธิบดี (วีระ ภทฺทจารี) วัดสุทัศนเทพวราราม
๑๐.พระวิสุทธิวงศาจารย์ (พลอย ญาณสํวโร) วัดเทพธิดาราม
๑๑.พระสาสโสภณ (อัมพร อมฺพโร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๑๒.พระธรรมปัญญาจารย์ (สุพจน์ ปภสฺสโร) วัดราชผาติการาม
๑๓.พระธรรมเมธาจารย์ (คณิศร์ เขมวํโส) วัดบุณณศิริมาตยาราม
๑๔.พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) วัดโสมนัสวิหาร
๑๕.พระธรรมกวี (ลือชัย คุณวุฑฺโฒ) วัดราชาธิวาส
๑๖.พระธรรมสิทธิเวที (เสนาะ ปญฺญาวชิโร) วัดสระเกศ
๑๗.พระธรรมกิตติเมธี (จำนง ธมฺมจารี) วัดสัมพันธวงศาราม
๑๘.พระธรรมวรเมธี (สุชิน อคฺคชิโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๑๙.พระเทพวิมลโมลี (เชิด จิตฺตคุตฺโต) วัดสุทัศนเทพวราราม








« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 02, 2022, 02:31:08 PM โดย porpek »



๑ ใน ๕๐๐ องค์ รูปหล่อรุ่นแรกหลวงพ่อผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต (วัดดูน)
ต.บ้านโคก อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ตอกโค๊ด "ผาง" โค๊ด "ฉ"


รูปหล่อโบราณพระบูชารุ่นแรก ขนาดหน้าตัก ๕ นิ้ว สร้างจำนวน ๗๐๐ องค์
ขนาดรูปหล่อโบราณรุ่นแรก ๑.๕ เซนติเมตร ก้นตอกผาง เนื้อทองเหลืองรมดำ จำนวนการสร้าง ๑๐,๐๐๐ องค์
รูปหล่อโบราณกรรมการ ขนาด ๑.๕ เซนติเมตร ก้นตอก "ผาง" ตอก "ฉ" แจกกรรมการ เนื้อทองเหลืองไม่รมดำ จำนวน ๕๐๐ องค์

อธิษฐานจิต ๒ ครั้ง ครั้งแรกหลวงพ่อผางอธิษฐานจิตที่วัดดูน ในวันที่ ๕ กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๑๗

และเข้าพิธี มหาพุทธาภิเษก ณ.วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
พร้อมกับ พระพุทธชินราช ภปร ที่กองทัพภาคที่ ๓ ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ ๙ เป็นประธานในพิธี
วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๗ มีพระคณาจารย์มาร่วมพุทธาภิเษก
หนึ่งในนั้นมีหลวงพ่อผาง หลวงพ่อบุญโฮม วัดปทุมวนาราม
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช
หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี และคณาจารย์ทั้งหมด ๔๕ รูปไปร่วมพุทธาภิเษกด้วย








« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 02, 2022, 02:32:03 PM โดย porpek »



หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ เตารีดพิมพ์ c เนื้อทองเหลืองออกแดงนิยมครับ
(ด้านหลังเลี่ยมทองปิดหลัง) สร้อยทองไม่กล้าใส่ ย่านพระหาย
  ;)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 02, 2022, 02:32:47 PM โดย porpek »



พระรอดหนองมน ลพบุรี เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง

สภาพสมบุกสมบัน เจ้าของเดิมเป็นทหารพลร่มลพบุรีแขวนลวดติดตัวจนเกษียณแต่ไม่ใช่ของพ.ต.สุวรรณนะครับ

ประวัติความเป็นมาของพระกรุวัดหนองมน จังหวัดลพบุรี มีหลวงตาองค์หนึ่งของวัดหนองมนชื่อว่าหลวงตาแขก
เป็นผู้นำพระนี้มาจากจังหวัดพิจิตร นำมาครั้งละมาก ๆ เมื่อหลวงตาแขกอดีตเจ้าอาวาสมรณภาพ
จึงมีการบรรจุกรุ และแตกกรุครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙ และแตกอีกหลาย ๆ ครั้ง

ทหารพลร่มคนหนึ่ง บูชาพระรอดหนองมนคล้องคอองค์เดียว คือ จ.ส.อ.สุวรรณ อ้นองอาจ (ครูฝึก)
ปัจจุบันเกษียณแล้ว ได้ยศ พ.ต. ได้ทำการกระโดดนำ
ให้นักเรียนโดดตาม เป็นคนแรก ร่มนั้นเกิดเอ๊กซิเด็นท์ไม่กาง

ร่างของจ่าสุวรรณ ลอยละลิ่วปลิวลงมาสู่พื้นดินด้วยความเสียวสยอง
พื้นที่นั้นคือป่าไม้รวกบนยอดเขาเอราวัณนั่นเอง ร่างกายของจ่าสุวรรณหล่นลงมากลางป่าไม่ไผ่-ไม้รวก
ร่มค้างเติ่งติดยอดไผ่ เจ้าหน้าที่ควบคุมการกระโดดร่มเห็นเหตุการณ์นั้นร้องอุทานออกมา "รอดได้อย่างไง เนี่ย!"




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 02, 2022, 02:33:16 PM โดย porpek »



พระพันแปดไฟหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง จ.สมุทรสาคร
พิมพ์พระโมคคัลลาพระสารีบุตร ด้านหลังมีจาร


วัตถุมงคลที่นิยมและมีประสบการณ์มากรุ่นหนึ่ง ของหลวงปู่สาย ก็คือ พระเครื่องพันแปดไฟ ท่านสร้างเนื่องในโอกาส แจกศิษย์ที่ไปสงครามอินโดจีนและสงครามเกาหลี ที่เรียกว่าพระพันแปดไฟ นั้น เพราะ หลวงปู่ได้ใช้แผ่นตะกั่วมาลงอักขระปลุกเสกแล้วนำไปหลอม เมื่อหลอมเสร็จ เมื่อแผ่นตะกั่วเย็นก็นำมาลงอักขระอีก แล้วนำไปหลอมใหม่ ทำเช่นนี้เรื่อยๆ จนครบ ๑,๐๐๘ (หนึ่งพันกับแปดครั้ง) จึงเรียกว่า พระพันแปดไฟ สร้างประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๘๗



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 02, 2022, 02:33:43 PM โดย porpek »



พิธีพระกริ่งแก้วปฏิมากร

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า “พระกริ่งแก้วปฏิมากร” ถือเป็นอีกหนึ่งพระกริ่งชั้นยอดในยุคหลังกึ่งพุทธกาล โดยได้มีการจัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2514 และเล่นหากันอย่างสากลว่าเป็นพระกริ่งของหลวงเกษม เขมโก แห่งสำนักสุสานไตรลักษณ์ แต่รายละเอียดในการจัดสร้างกลับไม่มีข้อมูลโดยละเอียดเท่าที่ควร หลักฐานหลัก ๆ ที่พบเห็นกันทั่วไปคือใบปลิว หรือ ใบโบว์ชัวร์ การจัดสร้าง และรูปถ่ายในงานพิธีขณะหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี นั่งปลุกเสกและมีหลวงพ่อเกษม เขมโกนั่งอยู่ด้วย สำหรับวันเวลาในการประกอบพุทธาภิเษกถูกระบุไว้แต่เพียงว่าประมาณต้นปี พ.ศ. 2514 ณ วัดเกาะวาลุการาม กำหนดแน่นอนจะประกาศให้ทราบภายหลังอีกครั้ง

จากการค้นคว้าเพิ่มเติมทำให้ทราบว่า พระกริ่งแก้วปฏิมากรได้ทำพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดเกาะวาลุการาม ในวันเสาร์ที่ 10 เมษายน 2514 ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 (7 เหนือ) ซึ่งมีกำหนดการโดยย่อ ดังนี้

เวลา 07.00 น. พราหมณ์ประกอบพิธีบวงสรวงพระบูรพาจารย์และอดีตผู้มีอุปการะคุณของจังหวัดลำปาง
ต่อมาในเวลา 09.30 น. คณะกรรมการทุกฝ่ายไปถวายเครื่องสักการะบูชาแด่พระเจ้าแก้วมรกต ณ วัดพระธาตุลำปางหลวง จนกระทั่งเวลา 14.00 น. พระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าพราหมณ์และคณะพราหมณ์ กรรมการประกอบพิธีบวงสรวงเทพยดาทั่วท้องจักรวาล บูชาพระฤกษ์
ครั้นเวลา 14.50 น. ได้อุดมฤกษ์อันเป็นมหามงคล บัณฑิตลั่นฆ้องชัย “สมเด็จพระวันรัตน์” ทรงอธิษฐานเจิมเทียนชัยและจุดเทียนชัย พราหมณาจารย์เป่าสังข์ เคาะบัณเฑาะ เป่าแตร สังข์ ดนตรีประโคมเพลงมหาฤกษ์มหาชัย พระราชครูวามเทพมุนีอาราธนาพระปริตร พระราชาคณะ 11 รูป ดังนี้
(1) เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพน พระนคร
(2) เจ้าคุณพระธรรมราชานุวัตร วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่
(3) เจ้าคุณพระราชปัญญาโสภณ วัดราชนัดดา พระนคร
(4) เจ้าคุณพระราชสุพรรณาภรณ์ วัดสุวรรณภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี
(5) เจ้าคุณพระราชสุตาจารย์ วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน
(6) เจ้าคุณพระภัทรสารมุนี วัดพระบาทมิ่งเมือง จังหวัดแพร่
(7) เจ้าคุณพระสิทธิปัญญาภรณ์ วัดบุญวาทย์วิหาร จังหวัดลำปาง
(8)พระครูประสาธน์สุตวัฒน์ วัดน้ำล้อม จังหวัดลำปาง
(9) พระครูวิทิตธรรมคุณ วัดหลวง อำเภองาว จังหวัดลำปาง
(10) พระครูประสิทธิ์บุญวัฒน์ วัดสวนดอก จังหวัดลำปาง
(11) พระครูศรีปริยัติกิติ์ วัดสิงห์ชัย จังหวัดลำปาง

โดยสมเด็จพระวันรัตน์ทรงเป็นองค์ประทานเจริญพุทธมนต์ พระเกจิอาจารย์เข้านั่งปรกรอบมณฑลพิธีภาวนาตลอด จบแล้วเจ้าประคุณสมเด็จทรงประพรมน้ำพระพุทธมนต์
ครั้นเวลา 19.30 เริ่มพิธีพุทธาภิเษก พระพิธีธรรมเข้าประจำที่ ประธานกรรมการถวายสักการบูชา จุดเทียนพุทธาภิเษก พระมหานาคสวดพุทธาภิเษก สลับพระพื้นเมือง พระเกจิอาจารย์ชุดแรกนั่งปรก ดังนี้
(1) เจ้าคุณพระราชปัญญาโสภณ (หลวงพ่อสุก) วัดราชนัดดา พระนคร
(2) เจ้าคุณพระราชมุนี (หลวงพ่อโฮม) วัดประทุมวนาราม พระนคร
(3) เจ้าคุณพระวิบูลเมธาจารย์ (หลวงพ่อเก็บ) วัดดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
(4) เจ้าคุณพระรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร์) วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี
(5) เจ้าคุณพระสังวรกิจโกศล (หลวงพ่อบุญเลิศ) วัดราชสิทธาราม ธนบุรี
(6) พระครูพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี
(7) พระครูพิทักษ์วิหารกิจ (หลวงพ่อสา) วัดราชนัดดา พระนคร
(8)พระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลาง พระนครศรีอยุธยา
(9) พระครูกัลยาณวุฒิคุณ วัดท่าเจริญ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
(10) พระครูสุตาธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
(11) พระครูนนทกิจวิมล (หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ จังหวัดนนทบุรี
(12) พระครูวิริยกิตติ (หลวงพ่อโต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี อำเภอภาษีเจริญ ธนบุรี
(13) พระครูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช พระนครศรีอยุธยา
(14) หลวงพ่อติ๊บ อุปสิ วัดผาปังหลวง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง
(15) ครูบาโต วัดบุญยืน อำเภอพะเยาว์ จังหวัดเชียงราย
(16) พระครูศรีปริยัติยานุตรักษ์ (หลวงพ่อไฝ) วัดพันอ้น จังหวัดเชียงใหม่
(17) หลวงพ่อพรหมจักร วัดน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
(18) พระครูวรเวทวิธาน (หลวงพ่อปรีดา)
(19) หลวงพ่อจ้วน วัดเขาลูกช้าง จังหวัดเพชรบุรี
(20) พระครูศรีปทุมรัตน์ (หลวงพ่อท่าฉลอง) วัดศรีบัวบาน จังหวัดสุพรรณบุรี
(21) ครูบาวงศ์ วัดท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
(22) หลวงพ่อแสน วัดท่าแหน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
(23) หลวงพ่อปี้ วัดลานหอย อำเภอลานหอย จังหวัดสุโขทัย

ต่อมาเวลา 01.00 น. พระเกจิเถราจารย์ เข้าประจำที่นั่งปรก ชุดที่ 2 ประกอบด้วย
(1) พระครูอุดมเวทวรคุณ (หลวงพ่อเมือง) วัดท่าแหน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
(2) พระครูธีรธรรมวัฒน์ (หลวงพ่อมอย) วัดกาสา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
(3) หลวงพ่อวัดถ้ำปุ่มถ้ำปลา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
(4) พระครูใบฎีกาศรีศักดิ์ วัดฉิมพลี อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย
(5) พระครูรัตนานุรักษ์ (หลวงพ่อแก้ว) วัดปงสนุกใต้ จังหวัดลำปาง
(6) พระครูอินถา วัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
(7) พระครูพินิจ วัดกระจับพินิจ ธนบุรี
(8)หลวงพ่อวงศ์ วัดป่าใคร้ใต้ อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
(9) หลวงพ่อเกษม เขมโก แห่งสุสานไตรลักษณ์ ประตูม้า จังหวัดลำปาง
(10) พระครูสถาพรพุทธมนต์ (หลวงพ่อสำเนียง) วัดเวฬุวนาราม จังหวัดนครปฐม
(11) หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู จังหวัดลพบุรี
(12) พระครูหลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
(13) หลวงพ่อผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส พระนคร
(14) พระครูวินัยธรศรีนวล ชินวังโส วัดศรีล้อม จังหวัดลำปาง
(15) หลวงพ่อมิ วัดสิงห์ อำเภอบางพลัด ธนบุรี
(16) พระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาส พระนคร
(17) พระอาจารย์สมคิด กิตติสาโร วัดราชนัดดา พระนคร
(18) พระครูโสภณปัญญาคุณ (หลวงพ่อโสม) วัดหัวข่วง จังหวัดลำปาง
(19) พระอาจารย์ชุบ ทินนโก วัดเกาะวาลุการาม จังหวัดลำปาง
(20) หลวงพ่อครูบาวัง วัดบ้านเด่น จังหวัดตาก
(21) พระอาจารย์มี วัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
(22) หลวงพ่อครูพุฒิ วัดม่อนคีรีชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
(23) หลวงพ่อแก้ว สุมโน วัดพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
(24) พระอาจารย์วิมล วัดถ้ำเขาปูน จังหวัดกาญจนบุรี
รุ่งขึ้นวันใหม่ (วันที่ 11 เมษายน 2514) เวลา 06.00 น. เจ้าคุณพระธรรมราชานุวัตร วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ องค์ดับเทียนชัย และเวลา 07.00 น. ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนา
เป็นเสร็จพิธีงานพุทธาภิเษก

ด้านเนื้อหาวรรณะของพระกริ่งแก้วฯ เนื้อในจะเป็นสีแดงอมนาคโทนออกสีแสดแดง ถ้าผ่านการสัมผัสอากาศผิวนอกจะกลับดำอมเขียว อย่างไรก็ตามบางองค์อาจมีผิวเหลือบเงินก็ได้ และสำรับผิวชั้นนอกในบางองค์จะมีสนิมสีดำประปราย ถ้ามองดูที่ก้นจะเป็นฝาปิดทองเหลือง เข้าด้วยการตอก และเชื่อมประสานด้วยเงิน วรรณะของพระกริ่งใหญ่และกริ่งเล็กจะเหมือนกัน สำหรับกริ่งเล็กบางองค์อาจมีดินเบ้าอยู่ตามซอกบ้าง ส่วนกริ่งใหญ่อาจไม่เห็นแล้วจะเหลือผิวสีดำอยู่ตามซอกแทน

ส่วนฝีมือหรือรูปแบบการแต่งส่วนใหญ่จะเหมือนกันจะแตกต่างที่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ บ้าง ซึ่งถ้าเป็นพระกริ่งหล่อในพิธีและจำนวนรวมถึง 1,000 องค์แล้ว ช่างย่อมมีเวลาน้อยที่จะเก็บรายละเอียดให้เหมือนกันทุกองค์ อย่างไรก็ตามเนื้อในและธรรมชาติของรุ่นนี้ย่อมเหมือนกัน กริ่งเล็กส่วนใหญ่จะมีการเซาะร่องที่ตัวหนังสือด้านหลังให้จมและคมชัดยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นจุดที่ใช้แยกแยะของเก๊แท้ได้ประการหนึ่ง
iPOOM @ 18 มิถุนายน 2561
Cr. ต้า ลำปาง , นิรนาม

หมายเหตุ : รายนามพระเถระที่ร่วมงานอาจมีความคลาดเคลื่อนเนื่องจากยึดถือตามเอกสารชั้นต้น









« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 07, 2022, 10:33:49 AM โดย porpek »



พระกริ่งไตรลักษณ์ ปี ๒๕๑๗ หลวงพ่อเกษม เขมโก หมายเลข ๙๖๔

สร้างเพียงเนื้อนวะเนื้อเดียว จำนวนสร้าง ๑,๕๙๙ องค์

วัตถุประสงค์ สร้างโบสถ์วัดอินทร์ประชาราษฎร์ ปราจีนบุรี

หลวงพ่อเกษมเททองหล่อด้วยองค์ท่านเอง ที่สุสานไตรลักษณ์เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗

อธิษฐานจิต วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๑๗








พระกริ่งอะระหัง หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่

พระที่หลวงปู่โต๊ะ ไม่ยอมอธิษฐานจิตซ้ำ จากคำบอกเล่าของอาจารย์เบิ้ม ลูกศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ เวลาอยู่กับหลวงปู่โต๊ะจะมีผู้นำพระจากคอ มาให้หลวงปู่โต๊ะอธิษฐานจิตเพิ่มให้ แต่มีพระคณาจารย์หนึ่ง ซึ่งหลวงปู่โต๊ะไม่ยอมอธิษฐานจิตซ้ำ ไม่ว่าจะดูกี่ครั้งกี่หนก็ตาม

ก็มีแต่พระหลวงปู่แหวน องค์เดียวเท่านั้น ที่หลวงปู่โต๊ะไม่ยอมอธิษฐานจิตซ้ำให้หลวงปู่โต๊ะท่านจะหยิบออกมาแยกต่างหาก อาจารย์เบิ้มท่านยืนยันหนักแน่น

ผมโตมาในยุคหลวงปู่แหวน มีชื่อเสียงมาก ๆ ไม่มีใครไม่รู้จักหลวงปู่แหวน ในช่วงนั้น อ่านประวัติท่าน และพระเครื่องต่าง ๆ ที่ท่านอธิษฐานจิต ตั้งใจว่าจะต้องเก็บให้ได้สองอย่างคือ ๑.พระกริ่งอะระหัง ๒.รูปเหมือนพิมพ์เสมา เนื่องจากเป็นคนที่ชอบพระหล่อ และทั้งสองพิธีนี้สุด ๆ มาก พระกริ่งอะระหัง นี่ หลวงปู่แหวนเททองหล่อด้วยองค์ท่านเอง หลังจากทุบเบ้า ตอนเย็นก็นำมาให้หลวงปู่แหวนอธิษฐานจิต และเมื่อตบแต่งเรียบร้อยแล้วก็นำมาให้หลวงปู่แหวนอธิษฐานจิตอีกครั้ง รวมหลวงปู่แหวนอธิษฐานจิต ถึง ๓ ครั้ง











พระกริ่งประทานพรจีวรลายดอกพิกุล หลังเลข๙ เนื้อนวโลหะ เจ้าคุณนรอธิษฐานจิต
(มีแป้งกระแจะจันทร์เจิมติดที่ฐานด้านหน้า หลัง) ออกวัดวังกระโจม ๒๕๑๒
เจ้าคุณอุดม สร้างไว้เป็นการส่วนองค์ เพื่อแจกกรรมการ










« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 19, 2023, 01:24:20 PM โดย porpek »



พระสิบทัศน์ เนื้อเงินโบราณ(เงินยวง) หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม

ได้ปรึกษาลูกศิษย์หลวงพ่อเงินท่านหนึ่ง ว่าพระที่หลวงพ่อเงิน ท่านแนะนำให้ลูกศิษย์ลูกหาบูชาติดตัวว่า เป็นพระอะไร เขาตอบแบบไม่ต้องคิดเลยว่า พระสิบทัศน์ ผมเลยคิดว่าควรหาเก็บบูชาไว้ซักองค์ ตอนแรกบอกเขาว่า เก็บเนื้อดินรุ่นแรก พอเห็นองค์จริง ป๊าด เกือบเท่าฝ่ามือเลย ไม่ไหว ๆ ใหญ่เกิ๊น เลยศึกษาเห็นว่าเนื้อที่ดีนอก ดีใน สำหรับความคิดผม น่าจะเป็นเนื้อเงินโบราณนี่แหละ

เพราะเป็นแท่งเงินโบราณที่ขุดได้จากกรุพระบริเวณพื้นที่วัดดอนยายหอมพร้อมกรุพระเครื่อง และแม่พิมพ์พระสิบทัศน์ กรรมการวัดนำมาให้หลวงพ่อเงินดู พร้อมขออนุญาตสร้างพระ หลวงพ่อเงินอนุญาตพร้อมอธิษฐานจิตแท่งเงินนั้นให้ด้วย

แท่งเงินนี้สันนิษฐานว่า เป็นเหมือนแท่งเงินที่วางศิลาฤกษ์ฝังไว้เพื่อเป็นมงคล กันแก้คุณไสย กันผีสาง ป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ป้องกันสิ่งที่เป็นอวมงคลต่าง ๆ ผ่านการสวดมนต์อธิษฐานจิตมาเป็นร้อย ๆ ปีจึงเป็นมวลสารที่ดีใน ส่วนดีนอกคือผ่านการอธิษฐานจิตจากหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมเมื่อเป็นองค์พระแล้วอีกครั้งหนึ่ง
กรรมการวัดไปจัดสร้างครั้งแรกได้ ๕๐ องค์ เหลือก้านชนวนกับที่ตัดขอบ ๆ นำไปหลอมใหม่ได้อีก ๒๐ องค์ รวมทั้งสิ้น ๗๐ องค์









« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 19, 2023, 01:25:41 PM โดย porpek »




 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi