ขับรถอย่าลืม! พ.ร.บ. ออนไลน์ ราคาเท่าไหร่ ต่อได้ที่ไหนบ้าง?(อ่าน 973 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้


   ในทุกการขับขี่บนท้องถนน ไม่มีใครรู้ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันเมื่อไหร่ ความปลอดภัยของทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอกที่ใช้ทางร่วมกันเป็นสิ่งที่ทุกคนบนท้องถนนควรให้ความสำคัญ ดังนั้น กฎหมายจึงกำหนดให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. โดยในปัจจุบัน สามารถต่อ พรบ ออนไลน์ ราคาตามประกาศของกรมการขนส่งทางบกได้แล้ว จึงช่วยอำนวยความสะดวกสบายและประหยัดเวลาได้เป็นอย่างดี


พ.ร.บ. คืออะไร ทำไมต้องต่อทุกปี?

   พ.ร.บ. มาจาก พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ เป็นประกันภาคบังคับที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเจ้าของรถมีหน้าที่ต้องต่อ พ.ร.บ. พร้อมกับการชำระภาษีอยู่แล้วทุกปี โดยจะให้ความคุ้มครองและการชดเชยค่าเสียหายทั้งแก่ผู้ขับขี่เอง ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอกที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุดังกล่าว โดยความคุ้มครองที่จะได้รับ ไม่ว่าจะเป็นการต่อ พ.ร.บ. ด้วยตนเอง หรือ พ.ร.บ. ออนไลน์ที่เช็กราคาได้ตามเว็บไซต์ มีดังนี้

- ความคุ้มครองค่าเสียหายต่อผู้ประสบภัย
- ค่าสินไหมทดแทนหากมีการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร
- ค่าสินไหมทดแทนในกรณีสูญเสียอวัยวะ เช่น ตาบอด หูหนวก แขนขาด ขาขาด นิ้วขาด หรือสูญเสียความสามารถในการพูด
- ชดเชยในกรณีที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน


รถประเภทนี้ ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ ราคาเท่าไหร่?

   สำหรับรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลแต่ละประเภทนั้น จะมีเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายไม่เท่ากัน คือ รถเก๋งส่วนบุคคลและรถกระบะส่วนบุคคลแบบ 4 ประตู สามารถต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ได้ในราคาประมาณ 645 บาท รถกระบะส่วนบุคคลแบบ 2 ประตู น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน ราคา 967 บาท และรถตู้โดยสารส่วนบุคคลที่จดทะเบียนมากกว่า 7 ที่นั่งจะอยู่ที่ประมาณ 1,182 บาท

อยากต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ ใช้บริการเจ้าไหนดี?

   ปัจจุบัน นอกจากการไปต่อ พ.ร.บ. ด้วยตนเองที่กรมการขนส่งทางบก และที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสหรือที่ทำการไปรษณีย์แล้ว ผู้ใช้รถยังสามารถต่อ พ.ร.บ. ผ่านช่องทางออนไลน์ได้อีกด้วย โดยมักจะซื้อพร้อมกับประกันรถยนต์ภาคสมัครใจได้จากเว็บไซต์ของบริษัทประกันภัยต่างๆ เช่น เมืองไทยประกันภัย วิริยะประกันภัย สินมั่นคงประกันภัย โดยมีขั้นตอนคร่าวๆ ในการสั่งซื้อ ดังนี้

- คำนวณเบี้ยประกันตามประเภทรถ ยี่ห้อ รุ่น ปีที่จดทะเบียน และทุนประกันที่ต้องการผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของบริษัทประกันที่เลือก
- กรอกข้อมูลที่จำเป็น และระบุระยะเวลาการเอาประกัน
- ชำระเงินผ่านระบบออนไลน์ เช่น บัตรเครดิต หรือระบบ Mobile Banking

การต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ นั้นมีราคาและความคุ้มครองที่เป็นมาตรฐานในแต่ละบริษัทประกัน ผู้ขับขี่สามารถเลือกบริษัทที่สะดวก แล้วดำเนินการและชำระเงินได้ตามความสะดวกสบาย จึงไม่จำเป็นต้องลางานเพื่อไปต่อ พ.ร.บ. ที่กรมการขนส่งทางบกด้วยตนเอง







 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi