“รถไฟฟ้าสายสีชมพู” โมโนเรลสายที่ 2 ของประเทศไทย ที่จะช่วยเชื่อมต่อการเดินทางของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ฝั่งตะวันออก ฝั่งเหนือ และจังหวัดนนทบุรี เข้าสู่พื้นที่ใจกลางเมือง มีระยะทางรวม 34.5 กิโลเมตร พร้อมเปิดให้ทดสอบการเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) แล้ว ปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ รายละเอียดจะเป็นอย่างไร และหากต้องการขึ้นรถไฟฟ้าสายสีชมพู จะสามารถจอดรถยนต์ได้ที่ไหนบ้าง
รถฟ้าสายสีชมพูมีกี่สถานี ผ่านเส้นทางไหนบ้างโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูฯ เป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับตลอดสาย มีสถานีให้บริการทั้งสิ้น 30 สถานี ประกอบด้วย
1. สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
2. สถานีแคราย
3. สถานีสนามบินน้ำ
4. สถานีสามัคคี
5. สถานีกรมชลประทาน
6. สถานีแยกปากเกร็ด
7. สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด
8. สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28
9. สถานีศรีรัช
10. สถานีเมืองทองธานี
11. สถานีแจ้งวัฒนะ 14
12. สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ
13. สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ
14. สถานีหลักสี่
15. สถานีราชภัฏพระนคร
16. สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
17. สถานีรามอินทรา 3
18. สถานีลาดปลาเค้า
19. สถานีรามอินทรา กม.4
20. สถานีมัยลาภ
21. สถานีวัชรพล
22. สถานีรามอินทรา กม.6
23. สถานีคู้บอน
24. สถานีรามอินทรา กม.9
25. สถานีวงแหวนรามอินทรา
26. สถานีนพรัตน์
27. สถานีบางชัน
28. สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
29. สถานีตลาดมีนบุรี
30. สถานีมีนบุรี
รถไฟฟ้าสายสีชมพู เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายไหนบ้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู มีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 4 สายหลัก ได้แก่
• รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่สถานีมีนบุรี
• รถไฟชานเมือง สายธานีรัถยา (ช่วงบางซื่อ – รังสิต) ที่สถานีหลักสี่ เป็นการเชื่อมต่อประเภท Unpaid to Unpaid Area จากชั้นออกบัตรโดยสารของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูฯ ที่ระดับดิน ใช้สะพานลอยคนข้ามไปยังชั้นออกบัตรโดยสารของรถไฟชานเมือง สายธานีรัถยา (ช่วงบางซื่อ – รังสิต) มีระยะทางเดินเชื่อมต่อประมาณ 180 เมตร
• รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ เป็นการเชื่อมต่อประเภท Paid to Paid Area
• รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เป็นการเชื่อมต่อประเภท Unpaid to Unpaid Area ระหว่างชั้นออกบัตรโดยสารของสองสถานี มีทางเดินเชื่อมต่อ (Skywalk) และทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ ระยะทางประมาณ 346 เมตร
ขึ้นรถไฟฟ้าสายสีชมพู จอดรถยนต์ได้ที่ไหนบ้างผู้ที่ต้องการขึ้นรถไฟฟ้าสายสีชมพูและนำรถยนต์ไปจอดไว้ที่อาคารจอดแล้วจร สามารถจอดรถไว้ที่จุดจอดดังนี้
• อาคารจอดแล้วจรของโครงการรถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิท
o สถานีแยก คปอ. (รองรับรถยนต์ 1,220 คัน และรถจักรยานยนต์ 275 คัน)
o สถานีคูคต (รองรับรถยนต์ 846 คัน และรถจักรยานยนต์ 68 คัน)
• อาคารจอดแล้วจรของรถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สีม่วง) ที่สถานีแยกนนทบุรี 1 (รองรับรถยนต์ 565 คัน และรถจักรยานยนต์ 100 คัน) โดยรถไฟฟ้าสายสีชมพูยังมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (PK01) ซึ่งมี Skywalk แห่งแรกในไทย ที่มีทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ (Travelator) ความยาว 340 เมตร
• อาคารจอดแล้วจรของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี บริเวณสถานีมีนบุรี จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณแยกร่มเกล้าหรือสถานีมีนบุรี เป็นอาคารจอดรถ 3 ชั้น จอดรถยนต์ได้ประมาณ 3,000 คัน (1,000 คัน/ชั้น)
ขึ้นรถไฟฟ้าสายอื่นๆ จอดรถที่ไหนหากต้องการขึ้นรถไฟฟ้าในสายทางอื่นๆ สามารถจอดรถได้ตามแนวรถไฟฟ้า ดังนี้
1. จุดจอดรถ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน มีอาคารจอดรถ 4 แห่ง รวม 5,520 คัน ได้แก่ สถานีคลองบางไผ่ 1,900 คัน สถานีสามแยกบางใหญ่ 1,450 คัน สถานีบางรักน้อยท่าอิฐ 1,070 คัน และสถานีนนทบุรี 1 จอดได้ 1,100 คัน
2. จุดจอดรถ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค มีที่สถานีหลักสอง จำนวน 2 อาคาร จอดได้ประมาณ 1,000 คัน แยกเป็นอาคาร 10 ชั้น 650 คัน และอาคาร 8 ชั้น 350 คัน
3. จุดจอดรถ รถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อขยาย ช่วง “แบริ่ง-สมุทรปราการ” มีที่จอดรถ 1 แห่งที่สถานีเคหะสมุทรปราการ 1,200 คัน และ “ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต” มีที่จอดรถ 2 แห่ง รวม 1,755 คัน ที่สถานี กม.25 จอดได้ 1,042 คัน และอยู่ใกล้สถานีคูคต 713 คัน
4. จุดจอดรถ รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต มีที่จอดรถ 1 แห่ง อยู่ใต้ดินสถานีกลางบางซื่อ จอดได้ 1,700 คัน
5. จุดจอดรถ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ใช้ที่จอดมีนบุรีร่วมกัน “สีชมพู แคราย-มีนบุรี” มีที่จอดรถ 1 แห่งที่สถานีมีนบุรี 3,000 คัน และที่จอดรถของรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) จะมีที่จอดรถเพิ่มอีก 1 แห่ง จอดได้ประมาณ 1,200 คัน
6. จุดจอดรถ รถไฟฟ้าสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง มีที่จอดรถที่สถานีศรีเอี่ยม 5,000 คัน
7. จุดจอดรถ รถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนต่อขยาย จากเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ มี 2 แห่ง รวม 3,400 คัน ที่สถานีบางปะกอก เป็นอาคาร 10 ชั้น จอดได้ 1,700 คัน และสถานีราษฎร์บูรณะ เป็นอาคาร 8 ชั้น จอดได้ 800 คัน และอาคาร 10 ชั้น จอดได้ 900 คัน
การเก็บค่าจอดรถยนต์ที่อาคารจอดแล้วจรจะเป็นอัตราเดียวกับรถไฟฟ้าใต้ดิน โดยผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าทุก 2 ชั่วโมงจะเก็บค่าบริการ 15 บาท ส่วนผู้ไม่ได้ใช้บริการจะเก็บค่าบริการชั่วโมงละ 40 บาท ยกเว้นลานจอดรถสถานีเพชรบุรี สุขุมวิท และศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่คิดค่าบริการชั่วโมงละ 50 บาท
คุ้มครองรถคุณให้ปลอดภัยตามระยะทางที่ขับจริง ประกันตามไมล์ ประกันชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 11,600 บาท ทุนประกันเริ่มต้นที่ 200,000 บาท ไม่เก็บค่าเสียหายส่วนแรก (ยกเว้นกรณีผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์) ประกันสำหรับคนขับน้อย มีความเสี่ยงน้อย เบี้ยประกันจึงถูกกว่าคนที่ขับมากกว่า สนใจรายละเอียด
https://www.smk.co.th/productmotordetail/2 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่
https://smkinsurance.blogspot.com