[Thesun]พระกรรมฐานพ่อแม่ครูอาจารย์และพระเกจิอาจารย์ทั่วไป(อ่าน 647677 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

9.พระผงไพรีพินาศรุ่นแรกหลวงปู่เรือง วัดเขาสามยอด ลพบุรี ปี47
เนื้อพระผสมหินงอกหินย้อยในถ้ำพระอรหันต์ เป็นพระหลวงปู่ตั้งใจทำมากโดยใช้มวรสารจากในถ้ำที่หลวงปู่เคยจำพรรษาอยู่เป็นเวลานาน ด้านหลังมีเกศา
และ จีวรหลวงปู่หายาก เลี่ยมพร้อมใช้
950   j999



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 28, 2017, 11:45:47 AM โดย thesun »



10.เหรียญยอดมหานิยม หลวงปู่บุญทัน ฐิตปัญโญ วัดป่าประดู่ จ.ปราจีนบุรี ปี22 เนื้อเงิน หายาก แล้ว สวยเดิม olor]

ปิดครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 28, 2017, 11:46:13 AM โดย thesun »



9.พระผงไพรีพินาศรุ่นแรกหลวงปู่เรือง วัดเขาสามยอด ลพบุรี ปี47 เนื้อพระผสมหินงอกหินย้อยในถ้ำพระอรหันต์ เป็นพระหลวงปู่ตั้งใจทำมากโดยใช้มวรสารจากในถ้ำที่หลวงปู่เคยจำพรรษาอยู่เป็นเวลานาน ด้านหลังมีเกศา และ จีวรหลวงปู่หายาก เลี่ยมพร้อมใช้ 950



ประวัติหลวงปู่เรือง (ย่อความจากหนังสือประวัติท่าน)

หลวงปู่เรือง อาภสฺสโร มีชื่อเดิมว่า บุญเรือง นามสกุล สุขสันต์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๔๕๗ (ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๒ ปีขาล) เวลา ๘.๐๐ น. สถานที่เกิด ต.บ้านสร้าง อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี ต่อมาได้ย้ายมาอยู่บ้านสระข่อย ต.โคกปีบ อ.ศรีมหาโพธิ์ (ได้แยกเป็น อ.โคกปีบ แล้วต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อ อ.ศรีมโหสถ) จ.ปราจีนบุรี โยมบิดา ชื่อ นายคำพันธ์ สุขสันต์ โยมมารดา ชื่อนางศรี สุขสันต์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๘ คน ชาย ๕ หญิง ๓ โดยหลวงปู่เรืองเป็นคนที่ ๒

หลวงปู่เรืองในวัยเด็กได้เข้ารับการศึกษาชั้นประถม ที่โรงเรียนขุนโคกปีบปรีชา โดยมีคุณครูหลั่น ปราณี ผู้ทั้งเป็นครูสอนและครูใหญ่ (ต่อมาลาออกมาเป็นกำนัน ต.โคกปีบ) หลวงปู่เรืองเรียนจบจนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔  จึงกลับมาช่วยโยมบิดามารดาทำการเกษตรจนอายุครบอุปสมบท

   หลวงปู่เรืองอุปสมบทเมื่อวันที่ ๖ ก.ค. ๒๔๗๗ (ตรงกับวันศุกร์ วันแรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีจอ) เวลา ๑๔.๐๘ น. ณ วัดสระข่อย ต.โคกปีบ อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี โดยมี พระสมุห์จำปา (ต่อมาเป็น พระครูวิมลโพธิ์เขต) วัดสระข่อย เจ้าคณะหมวด (เจ้าคณะตำบลโคกปีบ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพัด ธัมมะธีโร วัดโคกมอญ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโคกไทย) ต.โคกปีบ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ฉัตร คังคะปัญโญ วัดต้นโพธิ์ ต.โคกปีบ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีพระครูพิบูล วัดท่าประชุม อ.ศรีมหาโพธิ์ เป็นเจ้าคณะแขวง (เจ้าคณะอำเภอศรีมหาโพธิ์) ได้รับฉายาว่า “อาภสฺสโร” (อาภัสสะโร)

   ท่านได้จำพรรษาและศึกษาพระธรรมพระวินัยอยู่กับพระอุปัชฌาย์ที่วัดสระข่อย (อยู่ใกล้สระมรกตประมาณ ๒ ก.ม.) เป็นเวลา ๑๐ พรรษา โดยได้อยู่รับใช้ปฏิบัติพระอุปัชฌาย์พร้อมทั้งศึกษาวิชาต่างๆจากพระอุปัชฌาย์ จนเป็นที่รักและไว้วางใจยิ่งจากพระอุปัชฌาย์

ด้านการศึกษาธรรมะ หลวงปู่ได้เรียนนักธรรมชั้นตรีและสอบได้นักธรรมชั้นตรีในพรรษาแรกนี้เลย (พ.ศ. ๒๔๗๗) จากสำนักเรียนที่วัดของท่าน พรรษาที่ ๒ (พ.ศ.๒๔๗๘) สอบได้นักธรรมโท พรรษาที่ ๓ สอบได้นักธรรมเอก

   เมื่อท่านเรียนจบนักธรรมแล้ว พระอาจารย์ฉัตร วัดต้นโพธิ์ อันเป็นพระคู่สวดของท่าน ได้มาขอท่านจากพระอุปัชฌาย์ให้ไปช่วยสอนธรรมะที่วัดต้นโพธิ์ ท่านก็ไปช่วยสอนอยู่ระยะหนึ่ง พร้อมกันนี้ท่านได้ศึกษาวิชาบาลีมูลกัจจายน์ และวิชาโหราศาสตร์สมุนไพรใบยาพร้อมด้วยวิชาคาถาอาคมต่างๆไปด้วย จนพรรษาพ้น ๑๐ พรรษาแล้ว ท่านเห็นว่าได้ศึกษาวิชาการพอที่จะปกครองตนเองได้แล้ว จึงกราบลาพระอุปัชฌาย์เพื่อออกธุดงค์แสวงวิเวกประพฤติปฏิบัติธรรมไปในที่ต่างๆ โดยก่อนจากไป หลวงปู่ได้ขอผ้าจีวรจากพระอุปัชฌาย์ไปเพียง ๑ ชุด หลวงปู่เรืองกราบลาพระอุปัชฌาย์อันเป็นที่เคารพยิ่ง พร้อมทั้งกล่าวว่า “ผมไปแล้ว ผมจะไม่กลับมาอีก จะแสวงหาวิมุตติธรรมไปเรื่อย ๆ”

   หลวงปู่ตัดสินใจเด็ดขาด สะพายย่ามแบกกลดเดินทางออกจากวัดไปเรื่อย ๆ ค่ำไหนนอนนั่น เช้าก็ออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ หนทางสมัยก่อนยังไม่เจริญเหมือนสมัยนี้ ต้องใช้เกวียนเป็นส่วนมาก เดินทางธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะภาคอีสาน หลวงปู่เดินทางธุดงค์ไปจนทั่ว

    มีอยู่ครั้งหนึ่งหลวงปู่เดินทางธุดงค์มาที่กรุงเทพฯ แล้วแวะจำพรรษาที่วัดท่าหลวง จ.นนทบุรี (ปัจจุบันไม่ทราบว่าเปลี่ยนชื่อเป็นวัดอะไร) พอดีช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทหารญี่ปุ่นเข้ามาอยู่ในเมืองไทยมาก ทำให้ฝ่ายพันธมิตร ซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา ได้มาทิ้งระเบิดกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล วัดที่ท่านอยู่นั้นใกล้ที่ตั้งกองกำลังญี่ปุ่น จึงโดนระเบิดตกใกล้วัดเป็นประจำ ชาวบ้านในเขตนั้นย้ายอพยพไปอยู่ยังต่างจังหวัดกันเกือบหมด มีญาติโยมมาถามหลวงปู่ด้วยความเป็นห่วงว่า หลวงปู่ไม่ย้ายไปต่างจังหวัดหรือ ? ไม่กลัวโดนระเบิดหล่นใส่หรือไง ? หลวงปู่บอก คนเราเมื่อถึงที่ตาย อยู่ตรงไหนก็ตาย ไม่มีใครหนีพ้นหรอก

   ตอนเครื่องบินมาทิ้งระเบิด หลายคนวิ่งเข้าไปในวัดหลบในอุโบสถบ้าง แต่หลวงปู่เรืองกลับนั่งภาวนาอยู่บนศาลาเฉยๆไม่ไปหลบที่ไหน ระเบิดกลับตกแค่รอบๆวัด

   ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลวงปู่เรืองได้เดินธุดงค์ไปทางภาคอีสาน แล้ววกกลับมาทาง จ.ลพบุรี ได้พำนักอยู่ที่ถ้ำพิบูลย์ในปี พ.ศ.๒๔๘๙ (พรรษาที่ ๑๓) (ถ้ำพิบูลย์อยู่ใกล้วัดพระบาทน้ำพุ) หลวงปู่เรืองได้จำพรรษาที่ถ้ำพิบูลย์ ๕ พรรษา ต่อมาทางทหารได้มานิมนต์ให้ท่านไปอยู่วัดที่สร้างใหม่ เป็นที่เจริญ และใหญ่โตกว่าที่เดิม อีกทั้งไม่กันดาร เพราะที่ท่านอยู่นี้เป็นเขตของทหาร และทหารซ้อมยิงอาวุธอยู่บ่อย ๆ กลัวว่าจะเป็นอันตรายได้ อีกอย่างในหน้าแล้งกันดารน้ำมาก จึงขอให้ไปอยู่ที่วัดที่สร้างใหม่ แต่หลวงปู่เรืองกลับเก็บกลดสะพายย่าม ธุดงค์เข้าป่าลึก

   ท่านเดินธุดงค์อยู่ในป่า เดินตามหลังเขาไปเรื่อย ๆ ไม่ยอมลงจากเขา จนมาพบ ถ้ำพระอรหันต์ที่เขาสามยอด (เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๓) หลวงปู่จึงตัดสินในอธิฐานจิตว่า จะไม่ไปไหนอีก จะอยู่จำพรรษาที่นี่ สมัยนั้นแถวเขาสามยอดยังมีเสือ มีช้าง และสัตว์ป่าชุกชุมอยู่ รวมถึงไข้ป่ารุนแรงด้วย

   หลวงปู่เรืองอยู่บนเขาเพียงรูปเดียว เก็บยอดผักในป่าฉันเป็นอาหาร น้ำดื่มก็อาศัยน้ำฝนดื่มรวมทั้งอาบด้วย ต่อมาอีกหลายปีมีคนมาเจอท่านแล้วบอกต่อๆกันไป จึงมีคนมากราบนมัสการท่านบ่อยขึ้น พร้อมทั้งมีผู้ศรัทธาและทหารได้มาสร้างกุฏิให้พออยู่ได้ พร้อมทั้งถังใส่น้ำ แต่น้ำยังขาดแคลนต้องรอน้ำฝน น้ำจึงมีแค่พอใช้ได้ระยะหนึ่งเท่านั้น

   หลวงปู่เรืองอยู่เงียบๆรูปเดียวบนถ้ำพระอรหันต์เขาสามยอด ท่านอยู่บนยอดเขายอดที่สอง ต่อมาคนรู้จักหลวงปู่เรืองจนท่านมีชื่อเสียงโด่งดัง มีประชาชนบุกบั่นขึ้นเขาไปกราบนมัสการ พอท่านย้ายไปอยู่ที่ไหนๆก็มีคนตามไปกราบเสมอ สุดท้ายแล้วท่านก็มรณภาพด้วยอาการสงบในวัย ๑๐๑ ปี พรรษา ๗๙

   หลวงปู่เรืองท่านอยู่ของท่านรูปเดียวบนยอดเขามานาน แต่ในบั้นปลายชีวิตของท่านนั้น ท่านยอมพบปะผู้คน ท่านพูดเป็นนัยๆว่า “พอกูไปแล้วถึงชาติหน้าพวกมึงก็ไม่ได้เจอกูอีก กูเลยต้องให้พวกมึงรีบๆมาพบกู”.....

   ลองคิดเอาเองว่าหลวงปู่เรืองท่านหมายความว่าอะไร

เรื่องและภาพอนุญาตให้นำไปใช้ได้
เรื่องจากความทรงจำที่ได้พบหลวงปู่เรือง และจากคุณป้อม ครอบครัวศรีสันติสุข




 เรื่องเล่าจากประสบการณ์จากคนทั้วไปครับ  พระไพรีพินาศ สมเด็จพระแก้ว

----ผมได้มีโอกาสบูชาพระไพรีพินาศเนื้อผงหินงอกในถ้ำพระอรหันต์(องค์ในรูปที่แนบ)  และหลวงปู่ได้เมตตาอธิษฐานจิตให้เพิ่มเติมเมื่อประมาณปี 51 อาราธนาแขวนติดตัวไว้ตลอด  ปรากฏว่าปัญหาอุปสรรคที่คิดว่ายากก็กลับกลายคลี่คลายรอดพ้นไปได้ด้วยดี  มีเงินใช้ไม่ขาดมือ ถึงคราวอับจนก็มีมาให้ตลอด  ตำแหน่งหน้าที่การงานเจริญก้าวหน้ารวดเร็ว  ทุกวันนี้ยังอาราธนาติดตัวเสมอ(สลับกับองค์ำพระแก้วฯเนื้อว่านดินไหล)  เพราะบารมีหลวงปู่ประกอบกับปฏิบัิติตามคำสอนของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธองค์  และคำสั่งสอนที่หลวงปู่เคยกล่าว  เชื่อว่าพระเครื่องของหลวงปู่มีอานุภาพมากกว่าประสบการณ์ที่ผมได้รับอีกมากมายครับ . ประสพที่ได้กราบครูบาอาจารย์สูงสุดยอดกระผมอาจารย์ จเรดวงธรรม  ศิษย์หลวงปู่เรืองสมัยตั้งแต่ปี  ได้ไปกราบหลวงปู่ได้ไปพักไปนอนกับท่านและท่านยังอาบน้ำมนต์ให้โดยไปตักน้ำในถ้ำพระอรหันต์น้ำในถ้ำพระอรหันต์เย็นมาก  ๆ ท่านอาบให้ ๒  ถังครับส่วนวัตถุมงคลก็ได้มาท่านลงด้วยหมึกปากการเมจิสีน้ำเงินทุกองค์  (ที่สำคัญพระเกศาของท่านสมัยพ.ศ.2500)  ท่านให้มาพอสมควรและท่านยังสอนอะไรบางอย่างนับว่าผมโชคดีมากและเวลาผมจะทำอะไรพิธีต่าง  ๆ ผมบอกกล่าวท่านทุกครั้ง  และยังมีอังสะท่านลงอัคขระให้เสื้อผมที่ใส่ขึ้นไปพักกับท่าน2 คืน 3  วันตัวที่ท่านใส่ให้ท่านลงทั้งรอยมือรอยเท้าท่านท่านยังเขียนคำว่า จ่าเร  แต่ตอนนั้นผมยังครองยศเป็นสิบเอกอยู่เลยครับ  แต่ลงมาไม่นานก็มีผลครับที่ท่านเขียนผมได้ครองยศเป็นจ่าตามที่ท่านเขียนครั้งแรกที่ขึ้นไปท่านก็เขียนเลขใส่มือมาให้ถึง  3  คนท่านบอกว่ามีได้โชคอยู่คนเดียวก็จริงครับที่ไปกับผมไม่มีโชคผมได้โชคคนเดียวหมื่นกว่าบาทก็กลับขึ้นไปหาท่านนำปัจจัยไปถวายซื้อของไปถวายด้วยครับและท่านให้พระพิมพ์พระแก้วมรกรตมา  ๑ องค์  ท่านบอกว่ากูทำเองทำจากบล็อคใบมีดโกนครับท่านบอกว่าของกูดีนะเก็บไว้ให้ดีตอนนี้ก็ยังอยู่ส่วนเกศาก็เก็บบูชาไว้ก็มีแจกลูกศิษย์ไปบ้างอภินิหารของท่านไม่ธรรมดาคาถาของท่านสวดสมำ่เสมอครับจะมีผลแต่อย่าท้อแท้ก็แล้วกันครับขอให้คณะศิษย์ท่านจงโชคดีทุกท่านครับ(  ขณะนี้ผมครองยศเป็นนายทหารแล้ว ) ท่านมีส่วนตรงนี้ครับ    -  ครั้งแรกที่ไปกราบหลวงปู่ตอนนั้นท่านอยู่บนเขาครับผมถือถังสัฆทานไปเองกับมือ-  ท่านจะแจกผ้ายันต์ให้คนละผืน  พอดีวันนั้นมีการบอกบุญโดยมัคทายกว่าต้องทำบุญอะไรซักอย่างแล้วจะมีพระไพรีพินาศเนื้อผงที่ใช้น้ำจากหินย้อยในถ้ำที่หลวงปู่เคยภาวนาเป็นตัวผสมร่วมกับมวลสารของหลวงปู่  ผมเองก็อยากได้เป็นกำลังแต่งบน้อย-  หลังจากนั้นไม่กี่เดือนพี่ชายที่ไปกราบหลวงปู่กับอาจารย์ใหญ่  ร.ร.แห่งหนึ่งในพื้นที่ก็นำพระไพรีพินาศของหลวงปู่มาให้และกำชับกับผมว่ารับจากมือหลวงปู่-  ผมเองนำมาพิจารณาดูองค์พระแล้วก็บางอ้อว่านอกจากมวลสารสำคัญของหลวงปู่แล้วยังมีเกศาของหลวงปู่ผสมอยู่ด้วย  -  ปัจจุบันพระรุ่นนี้ราคาสูงพอสมควรเป็นรุ่นสุดท้ายก่อนที่หลวงปู่จะลงมาจากเขาสามยอด  และทหารได้ให้พื้นที่ตีนเขากับหลวงปู่ในการสร้างวัดต่อไป-
ขอจองครับ....



9.พระผงไพรีพินาศรุ่นแรกหลวงปู่เรือง วัดเขาสามยอด ลพบุรี ปี47 เนื้อพระผสมหินงอกหินย้อยในถ้ำพระอรหันต์ เป็นพระหลวงปู่ตั้งใจทำมากโดยใช้มวรสารจากในถ้ำที่หลวงปู่เคยจำพรรษาอยู่เป็นเวลานาน ด้านหลังมีเกศา และ จีวรหลวงปู่หายาก เลี่ยมพร้อมใช้ 950


ขอจองครับ....

ขอบพระคุณครับ



11.พระผงรูปเหมือนหลวงพ่อผางหลังพระพรหมรุ่นแรก เนื้อผง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ ปี2517 นิยม สวย เดิม 750-





12.รูปหล่อโบราณรุ่นแรก หลวงปู่ศรี ผีย่าน  ใต้ฐานเขียนว่า พระครูสิริสารคุณ  ซึ่งเป็นสมณศักดิ์ ของหลวงปู่ ก่อนที่จะได้เลื่อนเป็นพระราชาคณะ ที่ พระญาณวิเศษ ปี2496 สวยๆเดิมๆ 1850-j999

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 28, 2017, 11:46:43 AM โดย thesun »



13.พระสมเด็จอรหังสิทธังกร วัดบวร สร้างโดยกองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ ปี 2523  พร้อมตลับแสตนเลส 450-

สร้างโดยกองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือ สร้างเป็นเครื่องบำรุงขวัญและกำลังใจต่อลูกประดู่กองเรืองลำน้ำ กองเรือยุทธการ จำนวนการสร้าง 84000 องค์ พระพิมพ์ที่จัดสร้างขึ้นในรูปแบบพระสมเด็จอรหัง (พิมพ์สังฆาฎิ) ในขณะกำลังดำเนินการสร้างอยู่ กองเรือดำน้ำได้ขอประทานนามพระพิมพ์จากสมเด็จพระญานสังวร เพื่อเป็นสิริมงคล ซึ่งก็ได้ถวายนามให้ว่า “พระสมเด็จอรหังสิทธังกร” ความหมายคือ “สมเด็จพระผู้ห่างไกลกิเลสและข้าศึก ทำความสำเร็จ” ท่านสมเด็จได้ให้ข้อแนะนำการจัดพิธีพุทธภิเษก มวลสาร ได้จาก 1ผงจากองค์ประธาน และผงอิฐจากบริเวณวัดพระแก้ว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย 2.ผงอิฐจากองค์พระธาตุพนม 3. ผงจากวัดพลับเดิม 4.ผงจากพระคณาจารย์ 39 องค์ ที่เป็นที่นับถือของพุทธศานิกชนทั่วไป รวมทั้งส้น 119 ผง 4.ดินจากชายแดนริมแม่น้ำโขง และอื่นๆ เช่น มวลสารเก่าอาทิ ผงพระสมเด็จวัดระฆัง, บางขุนพรหม, พระศาสดา ปี 16, พระไพรีพินาศ ปี 16, พระนิรันตราย ปี 16และมวลสารพระสมเด็จวัดพลับ ของสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)
และพระรูปเหมือนสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ปี 15 เป็นต้น และยังบรรจุเส้นพระเกศาสมเด็จพระญาณสังวรไว้อีกด้วย ด้านหลังมีตรารูปช้างกำกับทุกองค์


พิธีพุทธภิเษก เมื่อวันที่ 18 กันยายาม 2523 ที่วัดพลับ โดยมีประธานฝ่ายสงฆ์ สมเด็จญาณฯ และ ประธานฝ่ายฆราวาส ท่าน พลเรือเอก กวี สิงหะ พระเกจิอาจารย์สายกรรมฐานที่เข้าร่วมพุทธภิเษก หนึ่งในนั้นคือ หลวงปู่ดุลย์ อุตโล หลังจากได้พุทธภิเษก ทางกองเรือลำน้ำได้ถวายพระส่วนหนึ่งให้ท่านสมเด็จญาณฯ และ เกจิอาจารย์ที่มาร่วมพุทธภิเษก ทำให้บางท่านเชื่อว่า เป็นพระของหลวงปู่ดุลย์ เพราะได้รับแจกจากหลวงปู่ดุลย์ บางท่านรับแจกท่านสมเด็จญาณ ก็กลายเป็นพระของวัดบวรฯ ไป

พระสมเด็จอรหังหลังช้าง วัดบวร ปี 2523 หลวงปู่ดูลย์ และหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ปลุกเสก พระสังฆราชองค์ปัจจุบันปลุกเสกตั้งแต่ดำรงสมณศักดิ์สมเด็จพระญาณสังวรพุทธาภิเษก ณ วัดราชสิทธาราม 18 กันยายน 2523 สร้างมงคลวโรกาสฉลองอายุ 67 พรรษา สมเด็จพระญาณสังวร(ขณะนั้นยังไม่ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช)สร้างจากมวลสาร เก่าอาทิ ผงพระสมเด็จวัดระฆัง, บางขุนพรหม, พระศาสดา ปี 16, พระไพรีพินาศ ปี 16, พระนิรันตราย ปี 16และมวลสารพระสมเด็จวัดพลับ ของสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)
และพระรูปเหมือนสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ปี 15 เป็นต้นและบรรจุเส้นพระเกสาสมเด็จพระญาณสังวรไว้ด้านหลังซึ่งมีเป็นรูปตรา ช้างกำกับทุกองค์ พุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดราชสิทธาราม
ถือว่าเป็นการสร้างสมเด็จอรหังรุ่นแรกๆในยุคของสมเด็จพระญาณสังวรฯ โดยในพิธีนี้จะมีพระสายหลวงปู่มั่นในยุคนั้นมาเสกร่วมกันทั้งหมด





12.รูปหล่อโบราณรุ่นแรก หลวงปู่ศรี ผีย่าน  ใต้ฐานเขียนว่า พระครูสิริสารคุณ  ซึ่งเป็นสมณศักดิ์ ของหลวงปู่ ก่อนที่จะได้เลื่อนเป็นพระราชาคณะ ที่ พระญาณวิเศษ ปี2496 สวยๆเดิมๆ 1850-

พระญาณวิเศษ ( ศรี   ฐิตธมฺโม )   วัดหลวงสุมังคลาราม  อดีต  เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ (ธรรมยุต)  เจ้าของฉายาอันลือลั่น  "  หลวงปู่ศรี   ผีย่าน  "

ประวัติการสร้างรูปหล่อโบราณรุ่นแรก ปี 2496...ของหลวงปู่ศรี ผีบ่ย่าน (ศรี ฐิตธมฺโม) จ.ศรีสะเกษ


หลวงปู่ศรี หรือพระญาณวิเศษ (ศรี ฐิตธมฺโม)   อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงสุมังคลาราม อริยสงฆ์ผู้บุกเบิก สร้างและวางรากฐานความมั่นคงให้แก่คณะธรรมยุตจังหวัดศรีสะเกษ   ปัจจุบัน...หาความรู้เกี่ยวกับการสร้างวัตถุมงคลของหลวงปู่ท่านได้ยากยิ่งนัก เนื่องจากไม่มีท่านใดเก็บหลักฐานไว้เลย หรือมีผู้รู้ก็ไม่เคยเผยแพร่ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา   แม้กระทั่งประวัติของหลวงปู่ท่าน ทางวัดหลวงสุมังคลารามยังไม่มีข้อมูลให้เลย....จึงต้องอาศัยเพียงคำบอกเล่าที่ผู้เขียนได้พยายามสอบถามจากผู้รู้ต่าง ๆ ที่ยังพอจำได้ นำมาไว้เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้และค้นคว้าเพิ่มเติม

ครั้งนี้.....ผู้เขียนขอนำเรื่องการจัดสร้างพระรูปหล่อโบราณรุ่นแรกมาให้ท่านผู้อ่านได้ศึกษา   ซึ่งแรกเริ่มเดิมที   ปี พ.ศ. 2496   ทางวัดหลวงสุมังคลารามมีความประสงค์ที่จะจัดสร้างพระบูชาหลวงปู่ท่านขนาดหน้าตัก 29 นิ้ว ขึ้ น จำนวนทั้งสิ้น   4   องค์     ซึ่งปัจจุบันได้นำไปประดิษฐานไว้อยู่   4  วัด   ได้แก่ องค์ที่ 1 ประดิษฐานไว้ ณ วัดหลวงสุมังคลาราม ตำบลในเมือง   องค์ที่ 2 ประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านกุดโง้ง ตำบลกุดโง้ง   องค์ที่ 3 ประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านโพนข่า ตำบลโพนข่า   และองค์ที่ 4  ประดิษฐานไว้ที่วัดหนองโน   ตำบลน้ำคำ 

ในส่วนของพระรูปหล่อโบราณรุ่นแรกนั้น ทางวัดได้นำเอาเศษส่วนโลหะที่เหลือจากการจัดสร้างพระบูชาขนาดหน้าตัก 29 นิ้ว จำนวน 4  องค์   นำมาหล่อเป็นพระบูชาขนาดเล็ก เพื่อให้ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาได้ไว้พกติดตัว   โดยไม่ทราบจำนวนที่จัดสร้างที่แน่นอน แต่คิดว่าน่าจะไม่เกิน   4,800   องค์ 

พุทธคุณของหลวงปู่ศรี วัดหลวงสุมังคลารามคือ แคล้วคลาด   คลอดลูกง่าย   และประสบการณ์ที่โด่งดังที่สุด คือ กันภูตผีปิศาจ   จนหลวงปู่ท่านได้รับสมญานาม “ หลวงปู่ศรี ผีบ่ย่าน ” (หมายถึง ไม่กลัวผี)

....ปัจจุบัน   พระรูปหล่อโบราณรุ่นแรกของหลวงปู่ศรี   วัดหลวงสุมังคลาราม   เริ่มจะหาได้ยากขึ้นแล้ว     เนื่องจากทางวัดได้จัดสร้างน้อย   และส่วนหนึ่งนั้น ทางนายแพทย์บรรจบ   อินทรสุขศรี   หมอประจำตัวของหลวงปู่ศรี ได้นำติดตัวไปเมืองนอกด้วยหลังจากที่หลวงปู่ท่านมรณภาพ........
ขอจองครับ.....



12.รูปหล่อโบราณรุ่นแรก หลวงปู่ศรี ผีย่าน  ใต้ฐานเขียนว่า พระครูสิริสารคุณ  ซึ่งเป็นสมณศักดิ์ ของหลวงปู่ ก่อนที่จะได้เลื่อนเป็นพระราชาคณะ ที่ พระญาณวิเศษ ปี2496 สวยๆเดิมๆ 1850-

พระญาณวิเศษ ( ศรี   ฐิตธมฺโม )   วัดหลวงสุมังคลาราม  อดีต  เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ (ธรรมยุต)  เจ้าของฉายาอันลือลั่น  "  หลวงปู่ศรี   ผีย่าน  "

ประวัติการสร้างรูปหล่อโบราณรุ่นแรก ปี 2496...ของหลวงปู่ศรี ผีบ่ย่าน (ศรี ฐิตธมฺโม) จ.ศรีสะเกษ


หลวงปู่ศรี หรือพระญาณวิเศษ (ศรี ฐิตธมฺโม)   อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงสุมังคลาราม อริยสงฆ์ผู้บุกเบิก สร้างและวางรากฐานความมั่นคงให้แก่คณะธรรมยุตจังหวัดศรีสะเกษ   ปัจจุบัน...หาความรู้เกี่ยวกับการสร้างวัตถุมงคลของหลวงปู่ท่านได้ยากยิ่งนัก เนื่องจากไม่มีท่านใดเก็บหลักฐานไว้เลย หรือมีผู้รู้ก็ไม่เคยเผยแพร่ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา   แม้กระทั่งประวัติของหลวงปู่ท่าน ทางวัดหลวงสุมังคลารามยังไม่มีข้อมูลให้เลย....จึงต้องอาศัยเพียงคำบอกเล่าที่ผู้เขียนได้พยายามสอบถามจากผู้รู้ต่าง ๆ ที่ยังพอจำได้ นำมาไว้เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้และค้นคว้าเพิ่มเติม

ครั้งนี้.....ผู้เขียนขอนำเรื่องการจัดสร้างพระรูปหล่อโบราณรุ่นแรกมาให้ท่านผู้อ่านได้ศึกษา   ซึ่งแรกเริ่มเดิมที   ปี พ.ศ. 2496   ทางวัดหลวงสุมังคลารามมีความประสงค์ที่จะจัดสร้างพระบูชาหลวงปู่ท่านขนาดหน้าตัก 29 นิ้ว ขึ้ น จำนวนทั้งสิ้น   4   องค์     ซึ่งปัจจุบันได้นำไปประดิษฐานไว้อยู่   4  วัด   ได้แก่ องค์ที่ 1 ประดิษฐานไว้ ณ วัดหลวงสุมังคลาราม ตำบลในเมือง   องค์ที่ 2 ประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านกุดโง้ง ตำบลกุดโง้ง   องค์ที่ 3 ประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านโพนข่า ตำบลโพนข่า   และองค์ที่ 4  ประดิษฐานไว้ที่วัดหนองโน   ตำบลน้ำคำ 

ในส่วนของพระรูปหล่อโบราณรุ่นแรกนั้น ทางวัดได้นำเอาเศษส่วนโลหะที่เหลือจากการจัดสร้างพระบูชาขนาดหน้าตัก 29 นิ้ว จำนวน 4  องค์   นำมาหล่อเป็นพระบูชาขนาดเล็ก เพื่อให้ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาได้ไว้พกติดตัว   โดยไม่ทราบจำนวนที่จัดสร้างที่แน่นอน แต่คิดว่าน่าจะไม่เกิน   4,800   องค์ 

พุทธคุณของหลวงปู่ศรี วัดหลวงสุมังคลารามคือ แคล้วคลาด   คลอดลูกง่าย   และประสบการณ์ที่โด่งดังที่สุด คือ กันภูตผีปิศาจ   จนหลวงปู่ท่านได้รับสมญานาม “ หลวงปู่ศรี ผีบ่ย่าน ” (หมายถึง ไม่กลัวผี)

....ปัจจุบัน   พระรูปหล่อโบราณรุ่นแรกของหลวงปู่ศรี   วัดหลวงสุมังคลาราม   เริ่มจะหาได้ยากขึ้นแล้ว     เนื่องจากทางวัดได้จัดสร้างน้อย   และส่วนหนึ่งนั้น ทางนายแพทย์บรรจบ   อินทรสุขศรี   หมอประจำตัวของหลวงปู่ศรี ได้นำติดตัวไปเมืองนอกด้วยหลังจากที่หลวงปู่ท่านมรณภาพ........
ขอจองครับ.....

ขอบพระคุณครับ



14. เหรียญเม็ดแตง หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์ ปี33 สวยๆ250-




15.รูปหล่อโบราณหลวงพ่อหรั่ง วัดสามเรือน จ.พิษณุโลก ในทำเนียบถือว่าเป็นรุ่น 2 ของท่าน จัดสร้างโดยกรรมวิธีหล่อแบบโบราณ มีประสบการณ์มาก 550-


หลวงพ่อหรั่ง วาจาสิทธิ์ วัดสามเรือน อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก
วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม 2014 เวลา 14:01 น.

เรื่องโดย ขวัญทอง สอนศิริ (โจ้ พิษณุโลก) คนดีศรีพิษณุโลก

ภาพ หลวงพ่อหรั่ง วาจาสิทธิ์ วัดสามเรือน อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลกหลวงพ่อหรั่ง จำพรรษาอยู่ที่วัดกรุงศรีเจริญ บ้านเกิดได้ 2 พรรษา ได้รับอาราธนาให้มาเป็นครูสอนนักธรรมประจำสำนักเรียนวัดสามเรือนในปีซึ่งมี พระอุปัชฌาย์บาง เกสรํสี เป็นเจ้าอาวาสและเจ้าสำนักเรียน ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำวังทอง ตำบลนครป่าหมาก (เนื่องจากบริเวณนั้นมีต้นหมากขึ้นเยอะ) จึงมีภูมินามว่า นครป่าหมาก เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอนครป่าหมากเดิม ในปี พ.ศ.2438 ก่อนย้ายไปตั้งที่ริมแม่น้ำวังทอง บ้านบางสะพาน (หลวงพ่อพันธ์ สุสิโม วัดบางสะพาน) ในปี พ.ศ.2441 ภายหลังเกิดน้ำกัดเซาะตลิ่งจึงย้ายไปตั้งที่ ตลาดชุม ในปี พ.ศ.2471 แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอวังทอง ในปี พ.ศ.2481 ส่วน อำเภอนครป่าหมาก เดิมลดฐานะเป็นตำบล ตั้งขึ้นเป็น กิ่งอำเภอบางกระทุ่ม ที่ บ้านบางกระทุ่ม ซึ่งเป็นทุ่งนาที่ลุ่มมีน้ำอุดมสมบูรณ์ ทางทิศใต้ของนครป่าหมากเดิมมีต้นไม้ใบหนาพุ่มใหญ่ชนิดหนึ่งขึ้นชุกชุมยากแก่การถากถาง เมื่อชาวราชบุรี เพชรบุรี ที่อพยพเข้ามาจับจองพื้นที่ทำกิน นิยมเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า ต้นกระพุ่ม จึงเรียกว่า บ้านบางกระพุ่ม แล้วเพี้ยนทางภาษามาเป็น บางกระทุ่ม สืบต่อมาจนปัจจุบันนี้)

หลวงพ่อหรั่ง จึงได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนด้านจิตศาสตร์และพุทธาคมเพิ่มเติมกับ หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์บาง เกสรํสี พระปฏิบัติที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ถือธุดงค์เป็นวัตรปฏิบัติมาโดยตลอด จนล่วงสู่ปัจฉิมวัยจึงกลับมาจำพรรษาเป็นเจ้าอาวาสปกครอง วัดสามเรือน เป็น ลำดับที่ 3 เป็นพระผู้เรืองอาคม เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไปในย่านนั้นเป็นยิ่งนัก และศึกษาจากตำราเก่าของหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์บางเป็นเวลา 3 ปี ด้วยความเป็นพระรู้ทางปริยัติธรรมบาลีและจิตศาสตร์เป็นพื้นฐานที่ดีอยู่แล้ว หลวงพ่อหรั่ง จึงศึกษาสรรพวิชาจนแตกฉานเชี่ยวชาญในพุทธาคมตามตำรับโบราณจารย์เป็นยิ่งนักในเวลาอันรวดเร็ว

หลังจากนั้น หลวงพ่อหรั่ง ได้ล่องเรือไปศึกษาพุทธาคมเพิ่มเติมต่อ จาก หลวงปู่อินทร์ แห่งสำนักวัดท่ามะขาม ริมน้ำวังทอง หรือท้องถิ่นเรียกว่า แม่น้ำบางกระทุ่ม ซึ่งอยู่ใต้ วัดสามเรือน ไปตามแม่น้ำวังทอง หลวงปู่อินทร์ เป็นพระเถราจารย์ผู้เรืองอาคมร่วมสมัยกับ พระครูธุรศักดิ์เกียรติคุณ หลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่ง แม่น้ำวังทอง ไหลไปบรรจบกับ แม่น้ำน่าน หรือ คลองเรียง เดิม ที่ บ้านท่าฬ่อ เนื่องจากแม่น้ำวังทองเป็นลำน้ำที่เล็กกว่าแม่น้ำน่านมากในจุดบรรจบ จึงนิยมเรียกกันว่า ปากคลองท่าฬ่อ แต่ หลวงปู่อินทร์มีอาวุโสกว่าหลวงปู่ภูที่มรณภาพไปก่อนหน้า ในปี พ.ศ.2467

หลวงปู่อินทร์ เป็นพระเถราจารย์ที่รักสันโดษ สมถะ เก็บตัวอยู่เงียบๆ กับวัด ไม่สร้างพระเครื่องใดๆ มีเพียง ตะกรุด ผ้ายันต์ ที่หลวงปู่อินทร์ลงแจกให้ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิด มีพุทธคุณสูงส่งด้านแคล้วคลาดคงกระพันเป็นยิ่งนัก เนื่องจากในย่านบ้านท่ามะขาม บ้านท่านา แต่อดีตจะมีนักเลงหัวไม้มากและทะเลาะวิวาทมีเรื่องกันเป็นประจำ จนเป็นที่เลื่องลือว่า ตะกรุดหลวงปู่อินทร์ แมลงวันไม่ได้กินเลือด เมื่อหลวงปู่อินทร์ท่านละสังขารชาวท่ามะขามได้นำอัฐิของท่านบรรจุไว้ในสถูป เจดีย์สีทอง กลางวัดท่ามะขามเป็นที่กราบไว้บูชากันสืบมาจนทุกวันนี้ ล่าสุดในปี พ.ศ.2554 วัดท่ามะขามได้มีการเททองหล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริงของหลวงปู่อินทร์ แล้ว เกิดอัศจรรย์ขณะทำพิธี มีปรากฏการณ์ พระจันทร์ทรงกลด ขณะเททอง เป็นเวลานาน 9 นาที พระเกจิอาจารย์อาวุโสหลายองค์ที่ไปร่วมนั่งปรกในพิธี อาทิ พระมงคลสุธี หรือ หลวงปู่แขก วัดสุนทรประดิษฐ์ พิษณุโลก (พระครูประภาสธรรมาภรณ์ หลวงพ่อลำยอง เดิม พระเกจิอาจารย์ 1 ใน 108 รูป พิธีมหาพุทธาภิเษก รุ่น 100 ปี สมเด็จโต วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ 22 มิถุนายน 2515) ต่างยกมือขึ้นสาธุ ในบุญฤทธิ์จิตตานุภาพของหลวงปู่อินทร์ที่แผ่ประจักษ์เหนือมณฑลพิธีกันทุกองค์ รูปหล่อหลวงพ่ออินทร์ บูชาขนาด 5 นิ้ว เนื้อโลหะ ที่จัดสร้าง หลังจากเสร็จการนั่งปรก ทุกองค์ถอนออกจากสมาธิ คนแย่งกันบูชากันหมด

หลวงพ่อหรั่ง ได้ช่วย พระอุปัชฌาย์บาง เกสรํสี พัฒนาสำนักเรียน วัดสามเรือน ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อพุทธชิโนรส พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์โบราณประธานประจำอุโบสถ ที่หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์บาง เกสรํสี ได้ปฏิสังขรณ์อุโบสถเก่าแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2470 จนเจริญก้าวหน้า ในปี พ.ศ.2477 พระอุปัชฌาย์บาง เกสรํสี ได้มรณภาพ หลวงพ่อหรั่ง ยสวนฺโต จึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาส วัดสามเรือน สืบต่อมา และบูรณะซ่อมเขียนภาพจิตรกรรมพุทธประวัติ และวิถีชีวิตชาวนครป่าหมาก ที่ผนังอุโบสถทั้งภายในและภายนอกอุโบสถ ถวายเป็นพุทธบูชาและบูชาคุณพระอุปัชฌาย์ในปี พ.ศ.2490 จนเป็นศิลปกรรมพื้นบ้านที่โดดเด่นอีกแห่งหนึ่งในเมืองพิษณุโลก

ในปี พ.ศ.2480 หลวงพ่อหรั่ง ยสวนฺโต ได้รับแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมี พระวรญาณมุนี (พร้อม พุทธสรโณ นิลพงษ์ ป.ธ.7) เจ้าคณะ จังหวัดพิษณุโลก ให้ดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าคณะตำบลนครป่าหมาก เจ้าอธิการหรั่ง ยสวนฺโต และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ราชทินนามที่ พระครูรังสีธรรมประโพธ และเป็น พระอุปัชฌาย์ พร้อมดำรงตำแหน่ง รักษาการเจ้าคณะ อำเภอบางกระทุ่ม ในปีเดียวกัน คือในปี พ.ศ.2492

ซึ่งในสมัยนั้นการคมนาคมเส้นทางสัญจรเป็นถนนลูกรัง เดินทางลำบากมากในยามน้ำหลากท่วมทั่วทุ่ง เพราะในเขตอำเภอบางกระทุ่มมีแม่น้ำไหลผ่านถึง 3 สาย คือ แม่น้ำน่าน แม่น้ำวังทอง หรือ แม่น้ำเข็ก และ แม่น้ำวังชมพู หรือ คลองวังชมพู และมีคลองรับน้ำจากทุ่งอีกจำนวนหลายคลอง สมัยนั้นเดินทางจาก วัดสามเรือน ไปถึงสามแยกท่ามะขามระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตรต้องใช้เวลาเดินทางเกือบ 30 นาที แล้วจึงเดินทางต่อไปตลาดบางกระทุ่มอีก 7 กิโลเมตร ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร (ตัดถนนพิษณุโลก บางกระทุ่ม ในราวปี พ.ศ.2510) แต่หลวงพ่อท่านก็มิได้ท้อแท้ แม้จะเป็นพระอุปัชฌาย์องค์เดียวของอำเภอ ท่านตั้งใจปฏิบัติศาสนกิจ เจริญในสมณธรรม และรับธุระพระพุทธศาสนาเป็นแบบอย่างที่ดี จึงเป็นที่เคารพของพระภิกษุสงฆ์ทั่วไปเป็นยิ่งนัก หลวงพ่อจึงเป็นพระมหาเถรรัตตัญญูรูปสำคัญที่มีเกียรติคุณเป็นที่ปรากฏ เกียรติยศเป็นที่ลือชาไปทั่วสังฆมณฑลพิษณุโลกและพิจิตร และประชาชนทั้งสองจังหวัดให้ความเคารพนับถือเป็นยิ่งนัก

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 13, 2017, 03:14:16 PM โดย thesun »



โอนเงิน ๒๘๐๐บาทเมื่อ ๑๐มีค.เวลา๑๑.๐๒น.เป็นค่าบูชาพระ ๒รายการ

ที่อยู่ ดูในกล่องข้อความครับ



16.ล็อคเก็ตรูปหัวใจหลวงพ่อสร้อย วัดเลียบราษฎร์บำรุง สวยๆ 350-


 หลวงพ่อสร้อย วัดเลียบ ศิษย์หลวงปู่สรวง

       หลวงพ่อสร้อยวัดเลียบ ศิษย์หลวงปู่สรวง ท่านมรณะภาพเมื่อปี42 ศพท่านไม่เน่าเปื่อย ตอนที่มีชีวิตอยู่ท่านมีวาจาสิทธิ์ 
        ประวัติหลวงพ่อสร้อย (ลูกศิษย์หลวงปู่สรวง)
หลวงพ่อสร้อยแสดงฤทธิ์

ใน งานพิธีบางครั้ง ท่านจะแสดงฤทธิ์ ให้เหล่าศิษย์ประจักษ์ เช่น เคี้ยวๆ หมากอยู่ จากนั้น ก็ล้วงไปหยิบออกมาเป็น พระสมเด็จ พระรอด แจก ในบางครั้งก็หยิบโยนโปรยออกมาให้ลูกศิษย์ กลายเป็นลูกแก้ว ลูกอม ต่างๆ

เคย มีคนไม่เชื่อว่าสมัยนี้ยังมีพระมีฤทธิ์ ท่านก็เลยเรียกมานั่งริมน้ำ จากนั้นท่านก็โยนปลัดลงสระน้ำไป 10 ตัว แล้วท่านก็ใช้นิ้วเคาะที่พื้น ก๊อกๆๆๆๆๆ
ปลัดก็ค่อยๆ เลื้อยเรียงกันขึ้นมาทีละตัวๆ จากสระน้ำ
คนนั้นก้มกราบแทบพื้นเลย

อีก เรื่องคือ ท่านได้ไปสุพรรณ ลงเรือยนต์ไป พอจะขึ้นท่าที่วัดแห่งหนึ่ง ขนขับบอกเทียบท่าไม่ได้ ท้องเรือเกย (ท่านคงรู้ว่าโดนแกล้ง) ก็ไม่สนใจกระโดดลงน้ำว่ายเข้าฝั่งเองไปนั่งในโบสถ์วัด
ผลปรากฎว่าเรือยนต์นั้นก็ไปไหนไม่ได้ ต้องจอดนิ่งอยู่ตรงนั้น แก้อย่างไรก็ไม่หาย จนคนขับคิดขึ้นได้ตามไปขอขมาท่าน
ปัจจุบันหลวงพ่อสร้อยมรณภาพไปแล้ว สรีระอยู่ในโลงแก้ว ไม่เน่าเปื่อย ปิดทองทั้งองค์

หลวงพ่อสร้อยพบหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
ในการธุดงค์ครั้งหนึ่ง หลวงพ่อสร้อยได้ไปพบพระผู้เฒ่าท่านหนึ่ง สอนคาถาให้
ตอนจะจากกัน ท่านบอกว่า ท่านคือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อสร้อยเล่าให้ลูกศิษย์ฟัง ท่านบอกว่า แปลกดี หลวงปู่ศุข ท่านมรณภาพไปแล้ว แต่มาให้พบได้

เทพเจ้าแห่งการทำนาย- ชี้ทางรวย
หลวง พ่อสร้อยนอกจากจะมีผู้มาพึ่งท่าน คราวเจ็บป่วย หรือถูกคุณไสยแล้ว ท่านยังทักได้แม่นยำมากๆ มีตัวอย่างให้เห็นมากมาย เช่น มีคนหนึ่งอยู่ๆ หลวงพ่อก็บอกว่า แกไปหาเงินซื้อที่ดินตรงนั้น (ท่านบอกจุด) แล้วทำอู่ซ่อมรถยนต์ แกจะรวยมาก แกก้บอกว่าหลวงพ่อไม่มีเงิน ท่านก็บอกว่าแกเชื่อฉัน ไปกู้มาแกจะรวย ด้วยความศัทธาในตัวหลวงพ่อสร้อย เขาก็ทำตามท่านว่า ปัจจุบันเป็นเถ้าแก่ร่ำรวยมาก
ราย ที่ 2 หลวงพ่อบอกว่า อีกหน่อยแกจะรวยกว่าพี่น้อง ไปเซ้งห้องแถวตรงนี้ (ท่านกำหนดจุด) แกจะรวยจากตรงนี้ (ตอนนั้นแถวนั้นค่าเช่าปีละ 8 แสนบาท) ปัจจุบันผู้นี้จากไม่มีอะไร กลายเป็นมหาเศรษฐีท่านหนึ่ง
ราย ที่ 3 หลวงพ่อบอกว่าแกไปเช่าร้านดอกไม้ตรงนี้ (ท่านกำหนดจุด) อีกหน่อยแกจะร่ำรวย ปัจจุบันจากไม่มีอะไร กลายเป็นเศรษฐีร้านขายดอกไม้เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง

มี แบบนี้อีกหลายราย ไม่ใช่นิยาย ทุกคนยังมีตัวตน อยากพูดคุยกับท่านเหล่านี้สามารถไปสอบถามพระอาจารย์โต ที่วัดเลียบได้ ว่าชื่ออะไรกันบ้างและทำกิจการอยู่ตรงไหน ไปพูดคุยสอบถามได้




17.เหรียญพระโพธิจักร ท่านพ่อลี วัดอโศการาม ปีพ.ศ. 2500 ออกวัดเขาพระงาม จ.ลพบุรี หายากแล้วครับ 600-

เหรียญพระโพธิจักร รุ่นนี้สร้างและเข้าพิธี ปี พ.ศ.2500 ที่วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ ครูบาอาจารย์สายอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มาเพียบ อาทิ พระอาจารย์สิงห์, ท่านพ่อลี,หลวงตามหาบัว,หลวงปู่ฝั้น,หลวงปู่อ่อน,หลวงปู่สิม,หลวงปู่ตื้อ,หลวงปู่เจี๊ยะ และอีกมายมาย เป็นพระพิธีใหญ่ของสายกรรมฐานเลยครับพิธีฉลอง 25 ศตวรรษนี้ วัดนี้เป็นวัดที่ท่านพ่อลี อุปถัมถ์อยู่

แต่เหรียญนี้สร้างวาระเดียวกัน,พิธีเดียวกัน,แต่ไปแจกที่ลพบุรี เขาพระงาม ราคาก็เลยย่อมเยาว์กว่าที่ไปออกวัดอโศการาม

ก็อาจจะเป็นอีกทางหนึ่งของคนที่ชอบพระพิธีดีๆ ใหญ่ๆ แต่ราคาไม่แรง แต่ขอบอกว่าแบบนี้ไม่ได้หาง่ายนะครับ





18.พระพุทธประทานพร 2 หน้า หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่า ชลบุรี ปี07 เนื้อผงผสมว่านสบู่เลือด 850-

ปิดครับ คุณอ๋า

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 28, 2017, 11:47:20 AM โดย thesun »




 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi