อุดรธานี อุดร108 udon108.com

ห้องพระ => พระเครื่อง => ข้อความที่เริ่มโดย: porpek ที่ มีนาคม 11, 2017, 01:28:07 PM

หัวข้อ: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ มีนาคม 11, 2017, 01:28:07 PM
พระกริ่งสวนเต่า (ไกลปืนเที่ยง) วัดทองธรรมชาติ (วัดทองนพคุณ) พ.ศ. ๒๔๖๓

พระกริ่งไกลปืนเที่ยง วัดทองธรรมชาติ (วัดทองนพคุณ) กทม.สร้างในปี ๒๔๖๓
สร้างแบบลักษณะ " พระกริ่งสวนเต่า "นิมนต์ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
และ เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากมายในยุคนั้นเข้าร่วมพิธีหลายท่านฯลฯ

ซึ่งในระหว่างพิธีปลุกเสกอยู่นั้น ทางกรมทหารเรือ ได้ยิงปืนใหญ่พอดี
แต่ผลปรากฏว่ายิงไม่ออก จึงสืบดูจึงรู้ว่าทางวัดทองธรรมชาติ
มีพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่ง  จึงเป็นที่มาของชื่อ " พระกริ่งไกลปืนเที่ยง"

๒๔๖๓ สมัยรัชกาลที่๖ นาฬิกายังไม่แพร่หลาย การบอกเวลาน่าจะต้องพึ่งพาสัญญาณเสียงที่ดังไกล
๒๔๘๑ (สร้างพระกริ่งสวนเต่ารุ่น ๒) หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้ยกเลิกการยิงปืนเที่ยงแล้ว

ปืนเที่ยง...กองทัพเรือได้รับมอบหน้าที่ให้เป็นผู้ยิงปืนเที่ยงที่สนามหญ้าท่าราชวรดิฐ
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ การยิงปืนเที่ยง คือ การยิงปืนให้เกิดเสียงดัง
เพื่อบอกเวลาเที่ยงวันสำหรับคนไทยได้รู้เวลา

และชาวต่างประเทศที่เข้ามาค้าขายจะได้ตั้งเวลาให้ตรงกัน
เป็นการสะดวกในการติดต่อนัดหมาย โดยกองเรือกลชั้น ๔
เป็นผู้ทำหน้าที่ยิงปืนเที่ยงทุกวัน หากเป็นช่วงเวลาที่นักเรียนนายเรือรับผิดชอบการยิง
ป้อมวิชัยประสิทธิคือสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ใช้ยิงปืนนี้ จนกระทั่งมีไฟฟ้า และวิทยุใช้
จึงเลิกยิงปืนเที่ยง ตามประกาศกระทรวงกลาโหม ลงวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๗

พระกริ่งไกลปืนเที่ยง วัดทองธรรมชาติ(วัดทองนพคุณ) ๒๔๖๓

พระกริ่งวัดทองธรรมชาติ (วัดทองนพคุณ) พิมพ์พระกริ่งสวนเต่า
นี้สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสที่พระครูเหมนพคุณ
หรือหลวงปู่เผือก วัดทองนพคุณ (วัดทองล่าง) อ. คลองสาน ฝั่งธนบุรี
มีอายุครบ ๗ รอบ คือ ๘๔ ปี ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. ๒๔๖๓
ท่านจึงสร้างพระกริ่งพิมพ์สวนเต่าขึ้น ณ วัดทองนพคุณ
สร้างจากเนื้อโลหะทองผสม อุดกริ่ง สร้างพร้อมกับเหรียญหล่อพระพุทธชินราช วัดทองนพคุณ

โดยที่พิธีนี้มีหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าเป็นเจ้าพิธีเททอง
ในระหว่างดำเนินการหล่ออยู่นั้นมีแผ่นยันต์บางแผ่น
ของพระอาจารย์บางรูปไม่ยอมละลาย

หลวงปู่ศุข จึงใช้ไม้พันสายสิญจน์ลงไปจี้จึงยอมละลาย
และในขณะเททองพุทธาภิเษกและระหว่างนั่งทำพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสกของบรรดาพระอริยะคณาจารย์นั้น
ตรงกับเวลาเที่ยงวัน ซึ่งสมัยนั้นจะยิงปืนใหญ่บริเวณสนามหลวงเพื่อบอกเวลาเที่ยงวัน
เนื่องจากสมัยก่อนยังไม่มีนาฬิกาข้อมือใช้กัน

ปรากฎว่าปืนใหญ่ที่ใช้ยิงบอกเวลาตอนเที่ยงยิงไม่ออก !!! ไม่สามารถยิงออกได้
แม้ว่าจะเปลี่ยนลูกปืน รวมทั้งเปลี่ยนปืนใหม่และยิงอีกหลายครั้งก็ยังยิงไม่ออก
เที่ยงวันนั้นจึงไม่มีเสียงปืนใหญ่ดังให้ได้ยิน จึงไม่มีเสียงดังมารบกวนพิธี

พอสืบสาวราวเรื่องและทราบเรื่องกันทีหลังว่ามีพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลที่วัดทองธรรมชาติ
ตรงกับตอนเที่ยงของวันนั้นพอดี วัตถุมงคลในครั้งนี้จึงได้รับ
การขนานนามว่า “ไกลปืนเที่ยง”
แต่ปกติจะได้ยินการเรียกขานชื่อของพระกริ่งมากกว่าเหรียญหล่อคือ
“พระกริ่งไกลปืนเที่ยงวัดทองธรรมชาติ”

รายนามพระคณาจารย์ที่ได้นิมนต์มาร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในครั้งนี้

๑. หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ธนบุรี,(ประธานในพิธี)
๒. หลวงพ่อทับ วัดอนงคาราม จ.กรุงเทพฯ,
๓. สมเด็จพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม จ.กรุงเทพฯ,
๔. หลวงพ่อผ่อง วัดคูหาสวรรค์ ธนบุรี,
๕. อาจารย์เปิง วัดชินวราราม จ.ปทุมธานี,
๖. หลวงปู่เผือก วัดทองนพคุณ ธนบุรี,
๗. หลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐี จ.อุทัยธานี,
๘. หลวงปู่รอด วัดสามไถ จ.อยุธยา,
๙. หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ จ.อยุธยา,
๑๐. หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท(เจ้าพิธีเททองหล่อพระกริ่ง)
๑๑. หลวงปู่เป้า วัดใหม่สุประดิษฐาราม จ.นครปฐม,
๑๒. หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม,
๑๓. หลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว จ.สุพรรณบุรี,
๑๔. เจ้าคุณโพธิ์ วัดชัยพฤกษ์มาลา จ.กรุงเทพฯ,
๑๕. หลวงพ่อคร้าม วัดบางระกำ จ.นครปฐม,
๑๖. หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก จ.สมุทรสงคราม,
๑๗. อุปัชฌาย์กรัก วัดอัมพวัน จ.ลพบุรี,
๑๘. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดระฆังโฆษิตาราม จ.กรุงเทพฯ,
๑๙. หลวงพ่อกาพย์ วัดจรรย์ จ.สุพรรณบุรี,
๒๐. หลวงพ่ออุย วัดบ้านกร่าง จ.สุโขทัย,
๒๑. หลวงพ่อแก้ว วัดนางสาว จ.สมุทรสาคร,
๒๒. หลวงพ่อผัน วัดกรับพวง จ.พิษณุโลก,
๒๓. อาจารย์พา วัดระฆังโฆษิตาราม จ.กรุงเทพฯ,
๒๔. หลวงพ่อชุ่ม วัดบางนาใน จ.กรุงเทพฯ,
๒๕. หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี,
๒๖. หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย (ปลักไม้ดำ) จ.กำแพงเพชร,
๒๗. หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี,
๒๘. หลวงพ่อปั้น วัดหาดทนง จ.อุทัยธานี,
๒๙. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก จ.กรุงเทพฯ,
๓๐. หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ,
๓๑. หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร (บางขุนเทียน) จ.กรุงเทพฯ,
๓๒. หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง จ.ปทุมธานี,
๓๓. หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี

หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ มีนาคม 12, 2017, 07:51:10 AM
พระชัยวัฒน์ หลวงปู่บุญ สร้างครั้งเดียวเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์



หลวงปู่บุญ หรือ พระพุทธวิถีนายก เป็นพระสงฆ์ที่มีความเชี่ยวชาญในพุทธาคมและไสยศาสตร์แตกฉานหลายแขนง จนอาจกล่าวได้ว่าในสมัยนั้น ท่านเป็นผู้มีความรู้แตกฉานในศาสตร์แขนงนี้ ทั้งนี้เพราะมีสนใจในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก จึงทำให้สามารถสร้างวัตถุมงคลให้มีความศักดิ์สิทธิ์ได้ และยังสร้างวัตถุมงคลที่หลายๆ เกจิอาจารย์สร้างไม่ได้ เช่น พระผงยาจินดามณี ประคำนเรศวรปราบหงสาวดี และเบี้ยแก้ เป็นต้น วัตถุมงคลของหลวงปู่บุญ ล้วนแต่เป็นที่ยอมรับกันว่ามีพุทธคุณสูง รวมไปถึงพระชัยวัฒน์ที่เวลานี้มีค่านิยมอย่างมาก

และเป็นทราบกันดีว่าตำราสร้างพระกริ่ง- พระชัยวัฒน์แต่ดั้งเดิมนั้นเป็นของสมเด็จนพรัต วัดป่าแก้ว พระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้วต่อมาก็ได้สืบทอดมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ แต่เนื่องจากเป็นวัตถุมงคลที่สร้างได้ยากเพราะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนหลายอย่าง หลวงปู่บุญท่านจึงได้สร้างพระชัยวัฒน์ขึ้นมาเพียงครั้งเดียว และได้สร้างไว้จำนวนมากมายหลายองค์

สำหรับพระชัยวัฒน์ของหลวงปู่บุญ เป็นพระเครื่องที่สร้างเป็นกรณีพิเศษ พระชัยวัฒน์ของหลวงปู่บุญ มีสร้างขึ้นจำนวนมากนับได้หลายพันองค์และมีด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ชะลูด พิมพ์ขัดสมาธิเพชร บัวชั้นเดียว พิมพ์ป้อมใหญ่ พิมพ์ป้อมเล็ก(พิมพ์คอหนอก) พิมพ์ต้อ และพิมพ์ใหญ่ เป็นต้น สำหรับพิมพ์ชะลูดนั้น บางองค์ก็มีจารึกเป็นตัวนูนที่ใต้ฐานว่า "๑๑๘" เป็นเลขไทย อันหมายถึง ร.ศ.๑๑๘ ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.๒๔๔๔ อันเป็นปีที่สร้างพระชัยวัฒน์

หากสังเกตุพระชัยวัฒน์ของหลวงปู่บุญ จะเห็นว่ามีเนื้อโลหะแก่ไปทางทองเหลืองแบบทองผสม ส่วนกระแสวรรณะของเนื้อโลหะออกไปทางเหลืองอมเขียว ยกเว้นพระชัยวัฒน์บางองค์มีการทาหรดาลสีเหลืองทับ หรือบางองค์ปิดทองทับไว้และบางองค์ก็ทาชาดสีแดง ส่วนที่เป็นทองเหลืองล้วนๆ ไม่ได้ทาอะไรปิดทับเอาไว้เลยนั้นมีไม่น้อย
หลังจากสร้างเสร็จหลวงปู่บุญก็ได้แจกพระชัยวัฒน์ให้กับผู้ที่ศรัทธา และมีเหลือเก็บในกรุไว้บนเพดานมณฑปภายในวัดกลางบางแก้ว
จากเวป พุทธามหาเวท

หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: mr.xb ที่ มีนาคม 12, 2017, 08:26:28 PM
พระกริ่งเศรษฐี(หลวงปู่ภูกุ้มข้าว) เนื้อเงิน สร้าง ๕ องค์
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ มีนาคม 13, 2017, 12:32:44 PM
พระกริ่งนเรศวร วังจันทร์ ปีพ.ศ. ๒๕๑๕ หมายเลข ๕๒๑๖

เป็นพระกริ่ง ที่มีพระอริยสงฆ์ภาคอีสาน ไปร่วมพุทธาภิเษกเพียงหนึ่งเดียว
นั่นคือ หลวงพ่อผาง จิตตคุตดต วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ อ.มัญจาคิรี จ.ขอนแก่น
ผู้เชี่ยวชาญทั้งพระเวทย์ และวิปัสนากรรมฐาน
 
"มีคนเคยถามหลวงพ่อกวยว่า หลวงพ่อไม่สร้างพระกริ่งหรือ
ท่านตอบว่า ถ้าอยากได้พระกริ่งให้ไปบูชาพระกริ่งพิษณุโลก..."

"งานเขียน ของอาจารย์เฒ่า สุพรรณ"
หลวงพ่อกวย วัดบ้านแค จ.ชัยนาท


รายละเอียดจากหนังสือประวัติท่าน
ข้อมูลนี้อ้างอิงหนังสือ “อิทธิปาฏิหาริย์ และวัตถุมงคล หลวงพ่อกวย” ของ ฒ. สุพรรณ
๒๐ มกราคา ๒๕๑๕ สิ้นวสันตฤดู ย่างเข้าสู่เหมันต์ ปลุกเสกใหญ่โตมโหฬารที่เมืองพิษณุโลก”
เป็นบันทึกที่หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆษิตาราม (บ้านแค) เขียนบันทึกไว้

แสดงว่าหลวงพ่อมีการเตรียมตัวเอาไว้อย่างดี เป็นครั้งแรกที่หลวงพ่อได้มากราบพระพุทธชินราช
ทราบว่าหลังจากเสร็จพิธีพุทธาภิเษกแล้ว พระอาจารย์ท่านอื่นต่างแยกย้ายกันกลับวัดบ้าง
หรือพักค้างในวัดบ้าง แต่พระอาจารย์ของผมยังครับ...
เจ้าอาวาสนิมนต์ให้ค้างในวัด ท่านบอกว่าจะขอนั่งเล่นอีกสักพัก
พอปลอด..ไม่มีคนนอกจากศิษย์ไม่กี่คนที่ไปด้วยแล้ว
ท่านก็จับสายสิญจน์และปลุกเสกแต่เพียงผู้เดียว ทั้งแต่ค่ำยังเกือบสว่าง

ระหว่างที่ปลุกเสก ยามผู้เฝ้าประตูวัดเห็นอัศจรรย์มากมาย
สายสิญจน์ที่หลวงพ่อกวยจับ มีลูกไฟวิ่งไปตามสายสิญจน์
มีแสงฉัพพรรณรังสีพุ่งเข้าออกจากองค์พระประธาน
เดี๋ยวมีลมพัดแรง แสงไฟหลอดไฟ สว่างจ้าบ้าง
มีผู้เห็นพระบรมธาตุเข้าและออกจากพระพุทธชินราชหลายองค์ เป็นลูกไฟดวงๆ

ในพระอุโบสถ ยามและผู้เฝ้าวัดจึงนำวัตถุมงคลทั้งหมด
วางล้อมรอบตัวท่าน เมื่อท่านออกจากสมาธิในเวลาใก้ลสว่าง
ถึงกลับเดินออกมาไม่ได้ เพราะวัตถุมงคลเต็มไปหมด

‘พระกริ่งนเรศวรวังจันทน์’ปี๑๕‘พิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก’สุดยิ่งใหญ่ : ปกิณกะพระเครื่อง โดยเอ พระราหู
               เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๑๕ พุทธสมาคมพิษณุโลก ได้จัดพิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก ขึ้น ณ พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก

               เพื่อนำวัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นเข้าพิธีปลุกเสก เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่มาก ยากแก่การดำเนินการหาเจ้าพิธี ตลอดจนตำรับพระคาถา และพระภิกษุเจริญพระคาถาได้
ตามประวัติในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก ครั้งแรกได้จัดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ และจัดขึ้นอีกครั้ง เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๑๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๙ หลังจากนั้น ก็ไม่ปรากฏว่ามีการจัดพิธีเช่นนี้อีกเลย

               ในพิธีนี้ พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส กทม. และ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร เป็นเจ้าพิธี ได้กำหนดและควบคุมดำเนินการประกอบพิธี "จักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก" อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามแบบฉบับของโบราณพิธีทุกประการ

               คณะกรรมการพิธีฯ สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย ศ.ดร.สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัย

               พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี เป็นประธานบริกรรมปลุกเสก

               กรรมการฝ่ายเจ้าพิธี พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร อาจารย์มาโนช มาโสภาศ

               วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๑๔ คณะกรรมการพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก ได้ตกลงให้ นายช่างสวน จามรมาน ธนบุรี เป็นผู้ออกแบบพระพุทธลักษณะ พระกริ่ง และดำเนินการสร้าง โดยให้ทำตามแบบโบราณพิธีทุกประการ และอยู่ในความควบคุมของคณะกรรมการพุทธสมาคม จ.พิษณุโลก ตลอดเวลาทุกขั้นตอน

               วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๑๔ คณะกรรมการนำแผ่นเงิน แผ่นทอง เข้านมัสการขอบารมีพระคุณเจ้าผู้ทรงวิทยาคุณ ทั่วประเทศ รวม ๑๐๙ ท่าน ลงอักขระ คาถายันต์ และอธิษฐานจิตปลุกเสกแผ่นทองเงิน จนครบ ๗ เสาร์ ๗ อังคาร

               วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๑๔ คณะกรรมการได้นำแผ่นทองเงิน ที่พระคณาจารย์ ๑๐๙ รูป ลงอักขระและปลุกเสกแล้ว ขึ้นกราบทูลสมเด็จพระสังฆราช ทรงเจิม และประทานพร แล้วนำแผ่นทองเงินไปถวาย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดราชบพิธฯ, สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ,  สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพนฯ,  พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดจักรวรรดิฯ,  พระธรรมวิสุทธิ์วงศาจารย์ วัดสุทัศนฯ,  พระธรรมวิสุทธาจารย์ วัดพิชัยญาติฯ, พระเทพเมธี วัดทองนพคุณ, พระเทพโสภณ วัดชนะสงคราม เจิมอีกครั้ง และให้พรแห่งความสำเร็จในการสร้าง ประกาศสังเวยเทวดา

               วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๑๔  เวลา ๐๘.๑๙ น.  ประกอบพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยนายกพุทธสมาคม เป็นประธาน นายโปฏก โหรหลวง กล่าวบวงสรวง

               เวลา ๑๐.๑๙ น. นายกพุทธสมาคม จุดธูปเทียนบูชาครู โดย อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร เป็นเจ้าพิธี…เวลา ๑๒.๐๐ น. เจ้าคุณพระพิษณุบุราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จุดเทียนชัย พระคณาจารย์ ๙ รูป นั่งบริกรรมปลุกเสกแผ่นทองคำ แผ่นเงิน แผ่นทองแดง ซึ่งได้ลงอักขระคาถาเลขยันต์ พร้อมทั้งโลหะ ๙ อย่าง ที่จะหล่อ “พระกริ่งนเรศวรวังจันทน์” คือ ทองคำ  เงิน ทองแดง เจ้าน้ำเงิน เหล็กละลายตัว (เหล็กน้ำพี้) บริสุทธิ์ ชินปรอท สังกะสี  ซึ่งได้คำนวณน้ำหนักให้เป็นส่วนผสม เนื้อนวโลหะ ครบสูตร

               พระคณาจารย์ ๙ รูป ที่นั่งปรกบริกรรมปลุกเสก คือ พระเทพโสภณ (นิยม) วัดชนะสงคราม กทม., พระพ่อกรับ วัดโกรกกราก จ.สมุทรสาคร, หลวงพ่อละมูล วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี, หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ จ.นนทบุรี, หลวงพ่อลำยอง วัดสุนทรประดิษฐ์ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก

               หลวงพ่อม้วน วัดตลาดชุม อ.วังทอง จ.พิษณุโลก, หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง จ.นนทบุรี, หลวงพ่อธงชัย วัดพุทธมงคลนิมิต จ.นครสวรรค์, หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย เวลา ๑๘.๓๒ น. พิธีเททองหล่อ พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ นเรศวรวังจันทน์

               ระหว่างพิธีเททอง พระคณาจารย์ ๘ รูป ใน ๙ รูป นั่งล้อมโรงพิธี หันหน้าไปทิศทั้ง ๘

               อนึ่ง ก้อนเส้ารองรับเบ้า และดินสุมหุ่นใช้ดินกลางเมือง อันเป็นมงคลแข็ง ๕ แห่ง คือเมืองพิชัย จ.อุตรดิตถ์, เมืองชัยบาดาล จ.ลพบุรี, เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท, เมืองหริภุญชัย จ.ลำพูน และ เมืองท่าชัย จ.สุโขทัย

               น้ำพระพุทธมนต์ใช้น้ำจากทะเลแก้ว เมืองโอฆะบุรี ทะเลชุบศร เมืองละโว้ ถ่านและฟืนเชื้อเพลิงหลอมโลหะใช้ถ่านไม้ราชพฤกษ์ ๙ กระสอบ ฟืนไม้ราชพฤกษ์ ๙ ลบ.ม.

               ตั้งแต่วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๑๔ ช่างสวน จามรมาน ได้ตกแต่งพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ อยู่ในโรงงาน ภายในบริเวณบ้านพักของนายกพุทธสมาคม เพื่อเป็นการควบคุมมิให้ช่างมีโอกาสสร้างพระเสริมนอกพิธี หรืออื่นๆ อันเป็นการไม่สมควร

               เมื่อ พระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ ตกแต่งจนครบหมดแล้ว รวมทั้งพระบูชา และวัตถุมงคลทุกอย่าง สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการได้นำวัตถุมงคลทั้งหมด ประกอบพิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก ณ พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๑๕ โดยมีพระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิฯ และ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร เป็นเจ้าฝ่ายพิธีกรรม...สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร ) ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย

               ศ.ดร.สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี และนายกพุทธสมาคม เป็นประธานพิธีจุดเทียนบูชา

               หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ประธานบริกรรมปลุกเสก ในพิธีได้อาราธนาพระเกจิอาจารย์ซึ่งล้วนแต่สุดยอดแห่งยุค ร่วมพิธีปลุกเสก ๑๐๙ รูป อาทิ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี, หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก จ.ระยอง, หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง จ.บุรีรัมย์, หลวงพ่อสด วัดหางน้ำ จ.ชัยนาท,

               หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี, หลวงปู่ถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง จ.นนทบุรี, หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี

               หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี, หลวงพ่อเกษม สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง, หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์, หลวงพ่อโอด  วัดจันเสน จ.นครสวรรค์

               หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม จ.ชัยนาท, หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม จ.สิงห์บุรี, หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี, หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี, หลวงพ่อมิ่ง วัดกก ธนบุรี

               หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง, หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์, พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง, หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน จ.พัทลุง, พ่อหลวงสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร, หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ จ.ขอนแก่น, พระอาจารย์ถนอม วัดนางพญา, พระเกจิอาจารย์ใน จ.พิษณุโลก และจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ รวม ๑๐๙ รูป

               สำหรับน้ำพระพุทธมนต์ที่แช่พระกริ่งเข้าพิธี ใช้น้ำพระพุทธมนต์จากวัดตูม ซึ่งเป็นน้ำที่ออกจากพระเศียรพระพุทธรูป ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยใช้ในพิธีชุบพระแสง และเครื่องศัสตราวุธ รวมกับน้ำในบ่อน้ำพระพุทธมนต์ วัดพระพายหลวง (บ่อพระร่วง) อ.เมืองเก่า จ.สุโขทัย

พระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ ปี ๒๕๑๕ จัดเป็นพระกริ่งที่สร้างตามพิธีกรรมแบบฉบับโบราณ ที่ถูกต้อง และพิถีพิถันมากที่สุดอีกรุ่นหนึ่ง ที่น่าสะสมไว้สักการบูชาเป็นอย่างยิ่ง

หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: medium ที่ มีนาคม 14, 2017, 06:52:44 PM
สวัสดีครับพี่ปลัด กริ่งนเรศวรวังจันทร์งามมากครับ
ไม่รู้พี่พอทราบจำนวนการสร้างรึเปล่าครับเพราะองค์ของพี่ก็หลักครึ่งหมื่นแล้ว
จำนวนสร้างเยอะ แต่เห็นเค้าเปิดราคามาแต่ละองค์จะเป็นลม
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ มีนาคม 15, 2017, 10:30:15 AM
จำนวนพระทั้งหมดมี ๖,๕๐๐ องค์ (ว่าตามสายตรง ไม่ใช่ ๕ พันกว่า)

http://www.g-pra.com/webboard/show.php?Category=general_talk&No=10402
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ มีนาคม 15, 2017, 03:07:05 PM
พระพุทธชินราชอินโดจีน ๒๔๘๕ หน้านาง หางแซงแซว สังฆาฏิสั้น

ผู้ประกอบพิธี

สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานในพิธีหล่อพร้อมด้วยพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณต่างๆ จากทั่วราชอาณาจักร

พระชุดนี้ได้พิธีหล่อ และปลุกเสกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ (ปี พ.ศ.๒๔๘๕) โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราชแพ (ติสสเทวะ)
เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการ ได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำหรับการสร้างพระกริ่ง-พระชัยของวัดสุทัศน์นี้แล้ว ยังมีแผ่นทองจากท่านพระคณาจารย์ ที่นิมนต์มาร่วมพิธีปลุกเสกสมทบหล่อหลอมในครั้งนี้อีกด้วย จึงนับได้ว่าพิธีหล่อพระรูปจำลองพระพุทธชินราช เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพิธีหนึ่งในประวัติศาสตร์ชนชาติไทยที่จะหาพิธีไหนมาเปรียบเทียบได้ยากยิ่ง

รายนามพระอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสก พระพุทธชินราชในปี พ.ศ. ๒๔๘๕

๑.สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ เป็นองค์ประธานในพิธี
๒.ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ เป็นผู้ดำเนินการควบคุมการจัดสร้าง
๓.หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
๔.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
๕.หลวงปู่นาค วัดระฆัง
๖.หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู
๗.หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว
๘.หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง
๙.หลวงพ่อแช่ม วัดตากล้อง
๑๐.หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
๑๑.หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด
๑๒.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
๑๓.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
๑๔.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
๑๕.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา
๑๖.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
๑๗. หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
๑๘.พระพุทธโฆษาจารย์เจริญ วัดเทพศิรินทร์
๑๙.หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
๒๐.หลวงพ่อติสโสอ้วน วัดบรมนิวาส
๒๑.สมเด็จพระสังฆราชชื่น วัดบวรนิเวศ
๒๒.พระพุฒาจารย์นวม วัดอนงค์
๒๓.หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา
๒๔.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้
๒๕.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
๒๖.หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค
๒๗.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ
๒๘.หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้
๒๙.หลวงพ่ออาจ วัดดอนไก่ดี
๓๐.หลวงพ่อกลิ่น วัดสพานสูง
๓๑.สมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ
๓๒.หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม
๓๓.หลวงพ่อปาน วัดเทพธิดาราม
๓๔.หลวงพ่อเซ็ก วัดทองธรรมชาติ
๓๕.หลวงพ่อเจีย วัดพระเชตุพน
๓๖. หลวงพ่อเผื่อน วัดพระเชตุพน
๓๗.หลวงพ่อหลิม วัดทุ่งบางมด
๓๘. หลวงพ่อแพ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
๓๙.หลวงพ่อสอน วัดพลับ
๔๐.หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์
๔๑.หลวงพ่อบัว วัดอรุณ
๔๒. หลวงพ่อนาค วัดอรุณ
๔๓.หลวงพ่อปลั่ง วัดคูยาง
๔๔.หลวงพ่อชุ่ม วัดพระประโทน
๔๕.หลวงพ่อสนิท วัดราษฎร์บูรณะ
๔๖.หลวงพ่อเจิม วัดราษฎร์บูรณะ
๔๗.หลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ
๔๘.หลวงพ่ออาคม สุนทรมา วัดราษฎร์บูรณะ
๔๙.หลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม
๕๐.หลวงพ่อประหยัด วัดสุทัศน์
๕๑.หลวงพ่อปลอด วัดหลวงสุวรรณ
๕๒. หลวงพ่ออิ่ม วัดชัยพฤกษ์มาลา
๕๓.หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก
๕๔. หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
๕๕.หลวงพ่อครุฑ วัดท่อฬ่อ
๕๖.หลวงพ่อกลีบ วัดตลิ่งชัน
๕๗.หลวงพ่อทรัพย์ วัดสังฆราชาวาส
๕๘.หลวงพ่อแม้น วัดเสาธงทอง
๕๙.หลวงปู่รอด วัดวังน้ำว
๖๐.หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม
๖๑.หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตาคาม
๖๒.หลวงพ่อพิศ วัดฆะมัง
๖๓.หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก
๖๔.หลวงพ่อหมา วัดน้ำคือ
๖๕.หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง
๖๖.หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
๖๗.หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
๖๘.หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง
๖๙.หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า
๗๐.หลวงพ่อแนบ วัดระฆัง
๗๑.หลวงพ่อเลียบ วัดเลา
๗๒.หลวงพ่อพักตร์ วัดบึงทองหลาง
๗๓.หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า
๗๔.หลวงปู่เผือก วัดโมรี
๗๕.หลวงพ่อผิน วัดบวรนิเวศ
๗๖. หลวงพ่อเจียง วัดเจริญธรรมาราม
๗๗.หลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆษิตาราม
๗๘.หลวงพ่อไวย์ วัดดาวดึงส์
๗๙.หลวงพ่อกลึง วัดสวนแก้ว
๘๐. หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง
๘๑.หลวงปู่จันทร์ วัดคลองระนง
๘๒.หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร
๘๓.หลวงพ่อศรี วัดพลับ
๘๔.พระอาจารย์เชื้อ วัดพลับ
๘๕. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก
๘๖.หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ
๘๗.หลวงพ่อพริ้ง วัดราชนัดดา
๘๘.หลวงพ่อขำ วัดตรีทศเทพ
๘๙.หลวงพ่อหนู วัดปทุมวนาราม
๙๐.หลวงพ่อทองคำ วัดปทุมคงคา
๙๑.หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุธาราม
๙๒.หลวงพ่อกรอง วัดสว่างอารมณ์
๙๓.หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง
๙๔.หลวงพ่อบุญ วัดอินทราราม
๙๕.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดบึง
๙๖. หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง
๙๗.หลวงพ่อพรหมสรรอด วัดบ้านไพร
๙๘. หลวงปู่จันทร์ วัดโสมนัสวิหาร
๙๙.หลวงพ่อโสม วัดราษฎร์บูรณะ
๑๐๐. หลวงพ่อบุตร วัดบางปลากด
๑๐๑.หลวงพ่อโต วัดบ้านกล้วย
๑๐๒. หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางหัวเสือ
๑๐๓.หลวงพ่อวงศ์ วัดสระเกศ
๑๐๔. พระอาจารย์พงษ์ วัดกำแพง
๑๐๕.พระอธิการชัย วัดเปรมประชา
๑๐๖. หลวงปู่รอด วัดเกริ่น
๑๐๗.หลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ
๑๐๘.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ (ตัวท่านไม่ได้มาร่วมปลุกเสก แต่จารแผ่นทองเหลือง ทองแดงมาร่วมพิธี)


หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: นาสะแบง ที่ มีนาคม 28, 2017, 10:39:30 PM
พระกริ่งหลวงปู่ภูสิงห์
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ มกราคม 30, 2018, 01:07:29 PM
พระกริ่งเจริญพร ๙๗ สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศน์
เนื้อนวโลหะปลอกผิว เกศทองคำ ก้นทองคำ หมายเลข ๕
จัดสร้างแค่ ๑๙ องค์ พิธีพุทธาภิเษก วัดบวรนิเวศน์
วันที่ ๘ สิงหาคม ปีพ.ศ. ๒๕๕๓


(https://image.goosiam.com/douploaded.asp#)

(https://image.goosiam.com/douploaded.asp#)

(https://image.goosiam.com/douploaded.asp#)

(https://image.goosiam.com/douploaded.asp#)

(https://image.goosiam.com/douploaded.asp#)

หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ มีนาคม 06, 2018, 08:45:18 AM
รูปหล่อหลวงพ่อเกษมเนื้อทองคำรุ่นอย.
หลวงพ่อเกษมอธิษฐานจิตเกือบหนึ่งชั่วโมง
หลวงปู่ดู่เดินญาณมาอธิษฐานจิตด้วย


(http://palungjit.org/attachments/xna-png.4495297/)

(http://palungjit.org/attachments/xnb-png.4495298/)

(http://palungjit.org/attachments/xnv-png.4495299/)

(http://palungjit.org/attachments/xnp-jpg.4495300/)

(http://palungjit.org/attachments/xnq-jpg.4495301/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ มีนาคม 15, 2018, 09:04:54 AM
รูปหล่อลอยองค์ เนื้อเงินหลวงพ่อเกษม เขมโก รุ่นมหากุศล อย. วิสาขบูชา ปี๒๕๓๒

(https://palungjit.org/attachments/3yuuqhxn-jpg.4503275/)

(https://palungjit.org/attachments/klxwbdj0-jpg.4503277/)

(https://palungjit.org/attachments/7vywtpkr-jpg.4503278/)


พระรุ่นนี้จัดสร้างโดย คุณสุธันย์ สุนทรเสวี เมื่อปี ๒๕๓๒ ทั้งนี้ปัจจัยที่ได้จากการบูชาวัตถุมงคลนี้ได้ยกให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนา สถานีอนามัยวัดน้อยแสงจันทร์ สมุทรสงคราม โดยวัตถุมลคลชุดนี้สร้างมวลสารอันศักสิทธิ์ พิธีอธิษฐานจิต จัดขึ้นเมื่อวันวิสาขบูชา ตรงกับวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๒ ในพิธีมหากุศลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข หลวงพ่อเกษมท่านเมตตาอธิษฐานจิตให้อย่างยาวนาน เกือบหนึ่งชั่วโมงเต็ม และในขณะเดียวกัน หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา ก็ได้เริ่ม เดินญาณส่งจิตมายังมณฑลพิธีเพื่อร่วมเสกด้วย จัดเป็นวัตถุมงคลที่พระอริยะ ที่มีผู้เคารพนับถืออย่างสูงทั้งสองรูป ได้ร่วมอธิษฐานจิต อย่างเข้มขลัง
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ มีนาคม 21, 2018, 10:39:49 AM
พระเนื้อว่านบุเงิน หน้าตักสองนิ้ว สมัยอยุธยา
เป็นพระที่บูชาพระบรมธาตุพระเจดีย์ สร้างเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา

(https://palungjit.org/attachments/aut-jpg.4508736/)

(https://palungjit.org/attachments/auu-jpg.4508737/)

(https://palungjit.org/attachments/auq-jpg.4508738/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ เมษายน 03, 2018, 10:08:23 AM
พระกริ่งนวโลหะ ตอกโค๊ด ๒ โค๊ด อาจารย์เชื้อ วัดสะพานสูง กรุงเทพมหานคร

(https://palungjit.org/attachments/1regvlsztco7-jpg.4521460/)

(https://palungjit.org/attachments/sydihx7qoci4-jpg.4521462/)

(https://palungjit.org/attachments/g68wgrqvsqhw-jpg.4521463/)

จากงานเขียน / เรียบเรียง โดย : ฅนขลัง คลังวิชา (คัดย่อมาบางส่วน)

พระอาจารย์เชื้อ หนูเพชร อดีตพระเกจินามกระเดื่องแห่ง วัดสะพานสูง บางซื่อ ผู้เคยประกอบพิธีเสกข้าวสารเป็นกุ้งฝอยร่วมกับ อาจารย์ชุม ไชยคีรี ที่ภายในโบสถ์วัดสะพานสูง บางซื่อ ซึ่งในอดีตท่านพระอาจารย์เชื้อ หนูเพชร จัดเป็นพระเกจิอาจารย์ที่วิชาอาคมขลัง รอบรู้สรรพวิชาทางเข้มขลังชนิดหาตัวจับยาก ภายหลังท่านทราบเรื่อราวของหลวงปู่เดินหน อิเกสาโร ท่านจึงเดินทางมาพิสูจน์ด้วยตนเอง ภายหลังท่านยอมทั้งฝากตัวเป็นศิษย์ และเคารพหลวงปู่เดินหนมาก
............
❀❀❀❀❀❀❀❀
............
ท่านยกเป็นบรมครูใหญ่เลยทีเดียว สมัยก่อนหากใครเคยไปกราบพระอาจารย์เชื้อ จะเห็นที่นั่งรับแขกของท่านมีภาพหลวงปู่เดินหนขนาดกว้างยาวเป็นเมตร เรียกว่าขนาดใหญ่สุดที่พอจะแขวนได้ แขวนอยู่ด้านหลังที่นั่งรับแขกของท่าน หากใครถามว่าภาพพระที่ไหน พระอาจารย์เชื้อท่านจะตอบทันทีว่า **อาจารย์ใหญ่ฉันเอง** ทราบว่าหลวงปู่สอนวิชาให้ท่านไปมากพอสมควร เช่น วิชาสร้างธงทำเงิน-ธงทอง (เรียกลาภ), วิชานั่งทางใน และวิชาที่ท่านเรียนรู้ไป ทั้งทำได้สมบูรณ์ตามตำราที่หลวงปู่เดินหนสอนให้ไป คือ วิชาหล่อหลอมโลหะเพื่อสร้างวัตถุมงคล
............
❀❀❀❀❀❀❀❀
............

ผู้ที่ชอบสะสมพระเครื่องทราบดีว่า พระอาจารย์เชื้อ วัดสะพานสูง (บางซื่อ) ท่านชอบสร้างรูปหล่อจากโลหะผสมตามตำราของท่าน โดยสร้างเป็นพระพุทธรูป พระอุปคุต และรูปพระคณาจารย์ต่าง เช่น หลวงปู่แหวน, เจ้าคุณนรรัตน์ ฯลฯ หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าพระเครื่องของพระอาจารย์เชื้อมีกระแสเนื้อโลหะที่แปลกตา เรียกว่าเนื้อพระมีเสน่ห์และเอกลักษณ์ในตัว เนื้อโลหะของท่านไม่เหมือนสำนักใดเลย เนื้อโลหะดูสุกปลั่งงดงามไม่ว่าผ่านวันเวลานานแค่ไหนก็ตาม ซึ่งสูตรการผสมเนื้อโลหะนี้ท่านเรียนรู้จากหลวงปู่เดินหนโดยตรง จึงทำให้ได้เนื้อพระที่แปลกมีความเข้มขลังในตัวสูง เรียกว่าความขลังตั้งแต่โลหะ และมวลสารวิเศษที่นำมาหลอมรวมกัน เกิดคุณวิเศษตังแต่ยังไม่เสกก็คงไม่ผิด
............
❀❀❀❀❀❀❀❀
............

พระเครื่องที่พระอาจารย์เชื้อหลอมสร้างขึ้นนั้น ท่านจะทำด้วยตนเองภายในวัดแบบโบราณทุกขั้นตอน เมื่อได้พระเครื่องรูปแบบต่าง ๆ พอสมควรแล้วท่านจะนำพระเครื่องทั้งหมดแช่ในตุ่มน้ำมนต์ และโยงสายสิญจน์เข้าไปในกุฏิที่หิ้งบูชาพระของท่าน โดยท่านจะอัญเชิญบารมีหลวงปู่เดินหนมาปลุกเสก น่าแปลกที่พระทุกองค์แช่อยู่ในตุ่มน้ำมนต์เป็นเวลานาน แต่โดยมากแทบไม่เคยพบพระเครื่องของท่านที่เป็นสนิมเลย และในงานทำบุญประจำปีของหลวงปู่เดินหน เคยมีพระที่หลวงปู่เดินหนเรียกมาแจกศิษย์ (คว้ามาจากอากาศ) เห็นเป็นพระเครื่องชนิดรูปหล่อแบบต่าง ๆ ของ พระอาจารย์เชื้อ หนูเพชร ติดมาด้วยหลายครั้งเช่น พระพิมพ์อุปคุต, พิมพ์หลวงปู่ทวด ฯลฯ จึงยืนยันได้ว่ารูปหล่อเนื้อโลหะของพระอาจารย์เชื้อ ต้องเป็นของดีวิเศษที่หลวงปู่ท่านปลุกเสกให้อย่างแน่นอน ท่านจึงได้เรียกคว้ามาจากอากาศเพื่อแจกศิษย์
............
❀❀❀❀❀❀❀❀

หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ พฤษภาคม 17, 2018, 02:17:46 PM
รูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร พิมพ์นิยม
แข่งเรือแข่งรถแข่งพายแข่งได้ แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งกันไม่ได้
เพราะเป็นสิ่งที่ต้องสะสมมาแต่ชาติปางก่อน
วาสนาได้แค่นี้ก็ดีใจพอใจแล้ว...


(https://palungjit.org/attachments/5xnridjjgsk3-jpg.4563303/)

(https://palungjit.org/attachments/izmhur6qxuf7-jpg.4563304/)

(https://palungjit.org/attachments/8egjwhz1bmkj-jpg.4563305/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ พฤษภาคม 31, 2018, 03:05:10 PM
รูปหล่อหลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน
อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี
รุ่น ๗๑ พรรษา ปี พ.ศ. ๒๕๑๗


(https://palungjit.org/attachments/ohxokqk6ejz8-jpg.4577149/)

(https://palungjit.org/attachments/wsntszid7lo3-jpg.4577150/)

(https://palungjit.org/attachments/tj7ha3icrogr-jpg.4577151/)

ย้อนหลังไป ปีพ.ศ.ประมาณ ๒๕๓๐ ยังเด็กๆวัยรุ่น หนังสือพระเล่มแรกที่อ่านก็หนังสือนะโม ได้ลงประวัติรูปหล่อรุ่นนี้ ว่า "หลวงพ่อเอีย เทโลหะหล่อรูปเหมือนรุ่นนี้เองที่วัดบ้านด่าน" โดยผสมด้วยตะปูสังฆวานรที่หลวงพ่อเอีย ได้มาจากการซ่อมพระอุโบสถ วิหาร เสนาสนะต่างๆ พร้อมด้วยแผ่นยันต์จำนวนมากของหลวงพ่อเอีย และเครื่องทองเหลืองทองแดงที่ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจมาถวายท่านเพื่อร่วมในการหล่อรูปเหมือนรุ่นนี้ หลวงพ่อเอียท่านตั้งใจมาก ถึงขนาดเททองเองที่วัด และยังจารที่ฐานรูปหล่อทุกองค์ซึ่งไม่มีปรากฎในรุ่นใดมาก่อน ที่ท่านได้ลงเหล็กจารทุกองค์

ซึ่งตะปูสังฆวานร เป็นตะกั่วผสมโลหะหลายๆ อย่าง เช่น สังกะสี ดีบุกเป็นต้น ในการหล่อพระถ้าใครมีเพื่อนหรือมีความรู้ด้านนี้จะทราบว่า นวโลหะ จะผสมกับตะกั่ว และทองเหลืองไม่ได้ จะทำให้เนื้อนวโลหะร้าวแตกได้ และในการหล่อพระต่างๆ ถ้าเทที่วัดจะเป็นการหล่อเนื้อเดียวเท่านั้น หมายถึงถ้าหล่อนวโลหะจะหล่อแต่นวโลหะ ถ้าหล่อโลหะผสมก็หล่อแต่โลหะผสม เช่นพระกริ่งนวโลหะของสังฆราชแพ เจ้าคุณศรีสนธิ์ ส่วนหล่อเป็นโลหะผสม พระชัยวัฒน์หลวงปู่บุญ พระกริ่งไกลปืนเที่ยง๒๔๖๓ จะไม่มีการหล่อหลายๆโลหะในพิธีเดียวเพราะยุ่งยากทำได้ยาก ส่วนมากจะต้องไปหล่อโรงงานเช่น พระกริ่งโฆษปัญโญ ๒๕๓๕ หลวงปู่คำพันธ์ในพิธีก็เทแต่นวโลหะ ส่วนเนื้ออื่นๆ ก็ไปเทโรงงาน

ดังนั้นเพื่อตัดปัญหายุ่งยาก ว่าหลวงพ่อเอียเทเองหรือไม่ ก็เลยบูชาเนื้อโลหะผสมดีกว่า มั่นใจว่าหลวงพ่อเอียเทในพิธีแน่ และผสมกับชินสังฆวานร แผ่นจารยันต์ต่างๆ มั่นใจได้ ถ้าทุกๆท่านไม่คำนึงถึงราคา เอาความมั่นใจ แนะนำรุ่นนี้บูชาเนื้อโลหะผสมดีกว่าครับ...
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ กรกฎาคม 25, 2018, 01:08:41 PM
ทำน้ำมนต์ พระกริ่งแก้วปฏิมากร
ช่วยลูกจากปวดท้องซึ่งสงสัยเป็นไส้ติ่งอักเสบ


(https://palungjit.org/attachments/zdthwue3uh6h-jpg.4553861/)

(https://palungjit.org/attachments/6ccquy8sfsxa-jpg.4553862/)

(https://palungjit.org/attachments/sormz46jrzma-jpg.4553863/)

(https://palungjit.org/attachments/2hh4kssmktmw-jpg.4553864/)

ทำน้ำมนต์ พระกริ่งแก้วปฏิมากรช่วยลูกจากปวดท้องซึ่งสงสัยเป็นไส้ติ่งอักเสบ

ลูกชายได้ปวดท้องตอนเช้าวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 เลยให้หยุดเรียนไปกับแม่เค้า แม่เค้ามีประชุมเลยพาไปด้วยแต่อาการก็ไม่ดีขึ้น บ่นปวดมากขึ้นๆ เลยพาไปหาหมอ ตอนเที่ยงที่คลินิกแห่งหนึ่ง หมอตรวจซ้ำหลายๆรอบลูกก็บอกปวดตรงท้องน้อยด้านขวา(ซึ่งเป็นอาการบ่งบอกว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ)

หมอก็กดหลายๆที่ไม่ปวด มาปวดตรงท้องน้อยด้านขวา หมอเลยสงสัยให้ตรวจเลือด ผลเลือดออกมาก็ยังมาตรวจซ้ำลูกก็ยังบอกว่าปวดที่เดิมตรงท้องน้อยด้านขวา

หมอท่านเลยไม่แน่ใจ เขียนใบส่งตัวไปยังโรงพยาบาลพระยุพราชสระแก้ว ซึ่งเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดมีหมอผ่าตัดอยู่ แม่เค้ากังวลมากเลยนัดกันที่บ้าน เตรียมเสื้อผ้าใส่กระเป๋าเตรียมไปโรงพยาบาลตามที่แพทย์แนะนำ

มานัดกันที่บ้าน พอเจอกันก็ถามแม่เค้าว่าหมอแน่ใจแล้วเหรอว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบน่ะ เค้าก็บอกว่าหมอก็ไม่แน่ใจเหมือนกันให้เฝ้าระวังไว้ แต่ผมคิดว่าไม่เป็นไส้ติ่งอักเสบ เหตุผลน่ะเหรอ ก็เมื่อคืนผมทานอะไรเหมือนลูกแล้วตีสี่ก็มาเข้าห้องน้ำ ถ่ายเหลว และเริ่มปวดท้องรู้เลยว่าเป็นลำไส้อักเสบติดเชื้อจากอาหารแน่ เลยทานโยเกิร์ติกับกระเทียม (โยเกิร์ติเค้าว่าเป็นเชื้อโรคดีจะคอยกินเชื้อโรคไม่ดีและรักษาแผลในกระเพาะ ส่วนกระเทียมก็มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคบางอย่างได้) ก็รู้สึกดีขึ้น แต่ตื่นเช้ามาก็ปวดท้องน้อยๆ พอรับได้ ทานยาฆ่าเชื้อและทานโยเกิร์ติอีกก็ดีขึ้น

ดังนั้นจึงคิดว่าลูกก็น่าจะเป็นเหมือนกัน เป็นอาหารเป็นพิษ ติดเชื้อประเภทหนึ่งที่มีฤทธิ์กัดผนังกระเพาะ ลำไส้ แต่ไม่ได้ทำให้ถ่ายมาก แน่ๆผมคิด แต่พูดไปแม่เค้าคงไม่เชื่อ เพราะไปตรวจหมอ หมอเค้าตรวจตั้งหลายรอบและมีผลตรวจเลือดด้วย ผมเลยขอเวลาครึ่งชั่วโมงบอกว่า ขออาราธนาทำน้ำมนต์เหมือนคราวก่อนถ้าไม่ดีขึ้นภายในครึ่งชั่วโมงไปหาหมอที่สระแก้วแน่นอน

ผมจะไม่ค่อยอาราธนาพระ ให้ช่วยเรื่องต่างๆก่อน ต้องพยายามทำให้สุดความสามารถก่อนแล้วจวนตัวหรือเรื่องนั้นมีปัญหาใหญ่ถึงอาราธนาพระให้ช่วย เหมือนเรื่องไม่สบายก็ต้องไปหาหมอก่อน แล้วไม่ดีขึ้นหรือไม่แน่ใจถึงอาราธนาทำน้ำมนต์ เพราะพระพุทธเจ้าท่านสอนเสมอว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เพราะแม้แต่พระพุทธเจ้าในยามปกติถ้ามีหมออยู่เวลาท่านไม่สบายท่านก็ให้หมอชีวกโกมาภัจจ์รักษา เว้นแต่ในที่ห่างไกล ไม่มีหมอ ท่านถึงใช้พุทธานุภาพรักษา

ก็อาราธนาพระกริ่งแก้วปฏิมากร สวดนะโม 3 จบ อิติปิโส 1 จบอาราธนา พระกริ่งแก้วปฏิมากร หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อเกษม ขอให้แสดงผลให้ชัดเจนว่าเป็นอะไร ขอให้ปวดน้อยๆ พอรับได้ ว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ หรือ กระเพาะอักเสบ ลำไส้อักเสบกันแน่(ที่ไม่อาราธนาให้หายปวดเลยเพราะกลัวเป็นไส้ติ่งหายปวดแล้วเป็นจริงจะเป็นอันตรายได้) แล้วให้ลูกดื่มน้ำมนต์ แต่ลูกก็ดื่มได้ไม่มากประมาณ สอง สามอึก แล้วเหมือนลูกเค้าเพลีย เพราะไม่ได้ทานอะไร หมอให้เตรียมตัวไม่ให้ทานอะไรก่อนผ่าตัด น่ะครับ ลูกเลยขอตัวนอน เค้าก็นอนหลับได้ซักพักประมาณ หนึ่งชั่วโมง

ตื่นมาอาการปวดท้องหายเป็นปลิดทิ้ง หิวเลยขออะไรทาน ผมเลยของอ่อนๆ ให้ทาน ก็ไม่ปวดท้อง ผมเลยลองดูว่าเป็นอะไรกันแน่ นำน้ำมนต์ผสมน้ำแดงยี่ห้อหนึ่ง ให้ลูกดื่ม ผลคำแรกลูกบอกปวดท้องหน่อยๆ ผมเลยถามปวดตรงไหนครับ ลูกบอกปวดตรงกลางท้องผมถามเลยสะดือไหม บอกเลยครับ แม่เค้าก็ถามย้ำอีกทีผลก็เหมือนเดิม เลยปรึกษากันว่าเฝ้าระวังที่บ้านนี่แหละ หลังจากนั้นก็ปวดตอนสองทุ่ม ครั้งหนึ่ง สี่ทุ่มอีกครั้งหนึ่งแต่ปวดน้อยพอรับได้แล้ว

รุ่งเช้าเลยหาหมอท่านใหม่ อธิบายถึงอาการปวดท้อง หมอเลยบอกอาหารเป็นพิษ ให้ยามาทาน อีกสองวันก็หายปวดไปเรียน ขากลับพาไปกินไก่ทอดได้ พุทธานุภาพพระกริ่งแก้วปฏิมากร หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อเกษม ช่วยแน่นอนครับถึงหายเร็วขนาดนี้ และเป็นข้อพิสูจน์ว่าพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ผ่านพลาสติกได้แน่นอน เพราะผมก็อาราธนาทั้งที่หุ้มพลาสติกนี่แหละครับ
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ กรกฎาคม 28, 2018, 09:21:22 AM
พระกริ่งมหาสิทธิโชค วัดประสาทบุญญาวาส เนื้อโลหะผสม
ตอกโค๊ดบุญ(มาจากชื่อวัดประสาท "บุญ" ญาวาส)


(https://www.picz.in.th/images/2018/07/28/B0u18Z.jpg)

(https://www.picz.in.th/images/2018/07/28/B0ug2t.jpg)

(https://www.picz.in.th/images/2018/07/28/B0uQlk.jpg)


จากเอกสารใบฝอยวัตถุมงคลวัดประสาทบุญญาวาส
พิธีพุทธาภิเษก ๑๓-๑๔-๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๖
คณาจารย์ร่วมปลุกเสก ๑๐๘ รูป
และจากนิตยสารเซียนพระฉบับที่ ๓๗ เดือนเมษายน  พ.ศ.๒๕๓๙


พระกริ่งวัดประสาทได้ทำการหล่อ ซึ่งเป็นวันมหามงคลคือ”วันมหาสิทธิโชค”ที่โบราณถือกันว่าเป็นวันที่ประกอบกิจการใด มักจะสำเร็จลุร่วงทุกประการและเจริญด้วยโชคลาภผลบริบูรณ์.ด้วยเหตุนี้ทางวัดจึงขนานนามพระกริ่งนี้ว่า”พระกริ่งมหาสิทธิโชค”โดยการจัดสร้างมีพิมพ์พระกริ่งธิเบต พระกริ่งใหญ่ พระกริ่งถือดอกบัว พระกริ่งปางประทานพร พระกริ่งหน้าฝรั่ง  ฯลฯ

เนื้อโลหะประกอบด้วยอักขระยันต์ที่หล่อพระประธานแล้วหลอมไม่ละลาย ในการนี้ได้นิมนต์พระคณาจารย์เจ้าของแผ่นยันต์อาทิ หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา,หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง,หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน,หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช มานั่งกำกับบังคับธาตุให้ละลายทั่วรวมกับเชื่อชนวนต่างๆ เช่น

๑.ชนวนพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ ได้มาจากพระอาจารย์ขาว คณะ๙
๒. ชนวนพระกริ่งปรมานุชิด วัดโพธิ์ท่าเตียน ได้มาจากท่านเจ้าคุณเจีย วัดโพธิ์
๓. ชนวนพระกริ่งของท่านเจ้าคุณธรรมวิสุทธาจารย์ วัดสุทัศน์ฯ   
๔. ชนวนหล่อพระรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิง มียันต์อิติปิโส รัตนมาลาทั้ง๓ห้อง ได้มาจากอาจารย์เจียมวัดไร่ขิงเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๗
๕. ชนวนหล่อพระกริ่งของพระอาจารย์ไสว วัดราชนัดดา พร้อมทั้งชนวนหล่อพระกริ่งนเรศวร จ.พิษณุโลก
๖. ชนวนหล่อพระภูทราวดี ของพลโทประชา บูรณธนิต ได้จากนายตี๋ ช่างหล่อพระ
๗.ชนวนหล่อหลวงพ่อทวดวัดช้างไห้ จ.ปัตตานี พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมฑิฆัมพร มอบถวาย
๘.ชนวนหล่อพระวัดเทวสังฆราช จ.กาญจนบุรี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประธานหล่อ นายช่างฟุ้ง อันเจริญมอบถวาย
๙.ชนวนการหล่อพระประธานและพิธีหล่อ ๙ ครั้งของวัดประสาทบุญญาวาสพร้อมด้วยแผ่นยันต์ปลุกเสกจากพระคณาจารย์ ๖๒๒ องค์
๑๐.ชนวนหล่อพระกริ่งของอาจารย์เทพ สาริกบุตร
๑๑.ชนวนหล่อพระกริ่งวัดสุทัศน์ของนายนิรันดร์ แดงวิจิตร(อดีตพระครูหนู วัดสุทัศน์)และชนวนหล่อพระ ๒๕ พุทธศตวรรษ
๑๒.ชนวนหล่อพระกริ่งวัดราชบพิธ พระอาจารย์เรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ มอบถวาย
๑๓.ชนวนหล่อพระกริ่งวัดชิโนรส (กริ่งสมเด็จพระปรมาณุชิตฯ กริ่งพระพุทธสิหิงค์และกริ่งรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) วัดระฆังฯ)
๑๔.ชนวนหล่อพระกริ่งฟ้าผ่าวัดดอนยานนาวา
๑๕.เนื้อชินกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ มอบถวายให้
๑๖.ชนวนหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดบวรนิเวศน์ พระครูวิมลสรภาณ วัดสุทัศน์ มอบถวาย
เมื่อหล่อสำเร็จแล้วได้นิมนต์พระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงจากทั่วประเทศ  มาทำพิธีปลุกเสก

รายนามคณาจารย์อธิษฐานจิตวัตถุมงคลวัดประสาทบุญญาวาส

อาจารย์ทิม วัดช้างไห้
ลพ.คล้าย วัดสวนขัน
ลพ.ดิษฐ์ วัดปากสระ
ลพ.น้อย วัดธรรมศาลา
ลพ.ใจ และ ลพ. พล วัดวังยายหุ่น
ลป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
ลพ.แดง วัดเขาบันไดอิฐ
ลพ.มุ่ย วัดดอนไร่
ลพ.เงิน วัดดอนยายหอม
ลพ.กวย วัดโฆสิตาราม
ลพ.พรหม วัดช่องแค
ลพ.ทบ วัดชนแดน
ลป.ทิม วัดละหารไร่
ลป.เขียว วัดหรงบล
ลพ.จง วัดหน้าต่างนอก
ลป.ดู่ วัดสะแก
ลป.สี วัดสะแก
ลพ.แพ วัดพิกุลทอง
ลป.นาค วัดระฆังฯ
ลป.หิน วัดระฆังฯ
ลพ.โบ๊ย วัดมะนาว
พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
ลพ.เส่ง วัดกัลยา
ลพ.ถิร วัดป่าเลไลย์
ลพ.เต๋ วัดสามง่าม
ลพ.หน่าย วัดบ้านแจ้ง
ลพ.บุญมี วัดเขาสมอคอน
ลพ.เหรียญ วัดบางระโหง
ลป.เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
ลพ.ครื้น วัดสังโฆ
ลพ.แช่ม วัดนวลนรดิษฐ์
ลพ.นอ วัดกลางท่าเรือ
ลพ.ผล วัดเทียนดัด
ลพ.โด่ วัดนามะตูม
ลพ.ชื้น วัดญาณเสน
ลพ.สุด วัดกาหลง
ลพ.เนื่อง วัดจุฬามณี
ลพ.กี๋ วัดหูช้าง
ลพ.แก้ว วัดช่องลม
ลพ.กัน วัดเขาแก้ว
ลพ.ทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง
ลพ.ฑูรย์ วัดโพิ์นิมิตร
เจ้าคุณเจีย วัดโพธิ์
เจ้าคุณประหยัด วัดสุทัศน์
ลพ.ดี วัดเหนือ
ลพ.แขก วัดหัวเขา
ลพ.ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด
ลพ.ทองสุข วัดสะพานสูง
ลพ.มิ่ง วัดกก
ลพ.เฮี้ยง วัดป่าฯ
ลพ.จวน วัดหนองสุ่ม
ลพ.อั้น วัดพระญาติ
ลพ.เทียม วัดกษัตราธิราช
ลพ.สอน วัดเสิงสาง
ลพ.แทน วัดธรรมเสน
ลพ.เทียน วัดโบสถ์
ลพ.นิล วัดครบุรี
ลพ.บุดดา วัดกลางชูศรี
ฯลฯ


พระกริ่งมหาสิทธิโชคมีพิมพ์หน้าใหญ่ หน้าเล็ก มีบัวหลัง และไม่มีบัวหลัง จะมีแบบไม่ตอกโค๊ด
และมีการตอกโค๊ด ๗ แบบ
๑.ตอกโค๊ดเลข " ๙ "ตอกเฉพาะเนื้อนวโลหะ
๒.ตอกโค๊ดเลข " ๕ " ตอกทั้งเนื้อนวโลหะ และโลหะผสม
ตอกโค๊ดเนื้อโลหะผสม
๓.ตอกโค๊ด "สามง่าม"
๔.ตอกโค๊ด "บุญ"
๕.ตอกโค๊ด "พระปิดตา"
๖.ตอกโค๊ด " ย. "
๗.ตอกโค๊ด "อุ"(แต่ไม่เหมือนอุในพระกริ่งหน้าฝรั่ง)


นอกจากพระกริ่งมหาสิทธิโชคโค๊ด "บุญ" นอกนั้นยืมภาพท่านอื่นๆ มาเพื่อเป็นวิทยาทาน

๑.ตอกโค๊ดเลข " ๙ "ตอกเฉพาะเนื้อนวโลหะ

(https://www.picz.in.th/images/2018/07/28/B0uj7Q.jpg)


๒.ตอกโค๊ดเลข " ๕ " ตอกทั้งเนื้อนวโลหะ และโลหะผสม

(https://www.picz.in.th/images/2018/07/28/B0ulgS.jpg)


๓.ตอกโค๊ด "สามง่าม"

(https://www.picz.in.th/images/2018/07/28/B0uDFg.jpg)


๔.ตอกโค๊ด "บุญ"

(https://www.picz.in.th/images/2018/07/28/B0uPtW.jpg)


๕.ตอกโค๊ด "พระปิดตา"

(https://www.picz.in.th/images/2018/07/28/B0usl2.jpg)


๖.ตอกโค๊ด " ย. "

(https://www.picz.in.th/images/2018/07/28/B0u2G1.jpg)


๗.ตอกโค๊ด "อุ"(แต่ไม่เหมือนอุในพระกริ่งหน้าฝรั่ง)

(https://www.picz.in.th/images/2018/07/28/B0uuBy.jpg)


พระกริ่งวัดประสาทบุญญาวาสพิมพ์หน้าฝรั่งโค๊ด อุ
เทียบ กับโค๊ด อุ พิมพ์มหาสิทธิโชคจะเห็นได้ว่าไม่เหมือนกัน


(https://www.picz.in.th/images/2018/07/28/B0u6qD.jpg)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ สิงหาคม 02, 2018, 11:10:30 PM
รูปหล่อท่านอาจารย์นำ แก้วจันทร์ เนื้อนวโลหะ พิมพ์นิยม ฝาปิดแผ่นเงิน วขีด โรขีด มีตัวที(T)

เคยได้ที่๑จากงานประกวดพระพัทลุง แต่เจ้าของเดิมทำใบประกาศหายไปแล้ว
อุดผง อนันตคุณซึ่งเป็นสุดยอดผงมีคุณวิเศษอนันต์ ของท่านอาจารย์นำ


ฟังจากน้องที่รู้จักสนิทกันเล่าเรื่อง รูปหล่ออาจารย์นำที่คุณสุธน ศรีหิรัญเล่าให้ฟัง ไม่หามาบูชาไม่ได้แล้ว เพราะเป็นความประสงค์ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ เลยท่านเคารพนับถืออาจารย์นำมาก ท่านชายใหญ่ผู้สร้างทราบเรื่องเลยขอสร้างรูปหล่อถวายไปกราบทูลในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระองค์ท่านทรงให้มวลสารเป็นตะกรุดทองคำที่มีผู้มอบถวายพระองค์ท่านหนึ่งกำมือให้นำมาใส่ในรูปหล่อนี้ทุกๆเนื้อ

***ดังนั้นจะเห็นได้ว่าท่านอาจารย์นำท่านถึงยอมยื้อมัจจุราชเพื่อการนี้โดยเฉพาะ และเสกแบบสุดกำลังความสามารถ***

เพื่อน้อมเกล้าถวายพระองค์ท่าน จนลังไม้รูปหล่อแตก รูปหล่อลอยออกมาเต็มที่คลุมผ้าขาวไว้ นี่ถ้าไม่มีผ้าขาวคลุมไว้(ท่านอาจารย์นำให้คลุมผ้าขาวเอง ท่านคงรู้ว่าถ้าไม่คลุมรูปหล่อบินได้แน่ๆ) สงสัยเห็น รูปหล่อบินได้เหมือนท่านอาจารย์เอียดเสกพระมหาว่าน มหายันต์เป็นแน่ทีเดียว

ผมเคยมีองค์หนึ่งได้จากคุณสุธน ศรีหิรัญ ไปพบท่านในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อเพิ่ม วัดกลางบางแก้ว นครปฐมผมยังเรียนมัธยมอยู่เลย คุยถูกคอ ท่านเลยบอกให้ไปหาที่กระทรวงมหาดไทย จะให้รูปหล่ออาจารย์นำเนื้อนวโลหะหนึ่งองค์ และเหรียญพ่อท่านคลิ้ง รุ่นภปร.เนื้อทองแดง หนึ่งเหรียญ ผมก็ไปหาท่านที่กระทรวงมหาดไทย ได้อย่างละองค์จริงๆใจดีมากๆครับ ท่านเป็นไอดอลของผม และเป็นแรงบันดาลใจทั้งในเรื่องพระเครื่อง วัตถุมงคล และการงานผมก็พยายามสอบให้ติดปลัดอำเภอเหมือนท่าน แต่ชีวิตของใครก็ของตนเอง ผมก็เลือกทางเดินของผม รับราชการเหมือนกันแต่คนละตำแหน่ง ส่วนรูปหล่อและเหรียญพี่ชายที่เปิดแผงพันทิพขอไปจะไปทวงคืนก็ชิงตายไปแล้ว หุ หุ เลยต้องหาบูชาใหม่ จัดจีวรห่มให้ท่านเลยครับ


(https://www.picz.in.th/images/2018/08/02/BTfE9S.jpg)

(https://www.picz.in.th/images/2018/08/02/BTfObn.jpg)

(https://www.picz.in.th/images/2018/08/02/BTfbpg.jpg)

จากนิตยสารเซียนพระ ฉบับที่๗๘ เขียนโดย”สถาพร”

ในการสร้างรูปเหมือนขนาดเล็กของท่านอาจารย์นำ ได้สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙โดยคณะผู้จัดสร้างได้มีความประสงค์นำเอารายได้จากการบูชาไปสร้างถาวรวัตถุในวัดดอนศาลาเป็นการกุศล จึงได้กราบเรียนให้ท่านอาจารย์นำทราบถึงวัตถุประสงค์ในการสร้างครั้งนี้


เมื่อทราบวัตถุประสงค์แล้วท่านอาจารย์นำก็ได้นั่งนิ่งอยู่สักครู่หนึ่งแล้วกล่าวว่า”ถ้าจะสร้างก็ต้องรีบดำเนินการโดยเร็ว เพราะชีวิตอาตมาใกล้เข้ามาแล้ว เกรงจะไม่ทันการ” ทำเอาคณะผู้จัดสร้างนิ่งอึ้งไปตามๆกัน เพราะว่าขณะนั้นท่านอาจารย์นำก็กำลังอาพาธอยู่แล้วท่านอาจารย์นำก็ได้กล่าวต่อไปอีกว่า”การสร้างนั้นเป็นสิ่งดี เพราะจะได้เป็นครั้งสุดท้าย แต่ขอให้รีบทำเถิด” จากนั้นท่านก็ขอให้คณะผู้จัดสร้างนำเอาแผ่นโลหะมาให้ท่านเพื่อที่จะลงยันต์เป็นเชื้อชนวนในการสร้าง หลังจากที่ได้นำเอาแผ่นโลหะจำนวนมากไปให้ท่านอาจารย์นำตามที่ต้องการแล้ว ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๙ คณะผู้จัดสร้างก็ได้เดินทางไปรับแผ่นยันต์จากท่าน ซึ่งแผ่นยันต์เหล่านั้นท่านอาจารย์นำได้ลงไว้อย่างเรียบร้อย และได้กล่าวว่า”ลงให้สุดท้ายแล้ว”.


นอกจากแผ่นยันต์ที่ท่านอาจารย์นำได้ลงจารให้ไว้ ยังมีชนวนศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่อง พร้อมทั้งพระบูชาสมัยเก่าที่ชำรุด และโลหะสมัยบ้านเชียงอีกเป็นจำนวนมากซึ่งคณะผู้สร้างได้นำไปถวายท่านอาจารย์นำปลุกเสกอีกครั้ง ก่อนที่จะทำการหล่อหลอม และท่านก็ได้รับปลุกเสกพร้อมกับกล่าวว่า”ขอให้สร้างให้เสร็จเดือนหน้า เพราะใกล้เต็มที่แล้ว”(หมายถึงเดือนกันยายน) แต่ปรากฏว่า การดำเนินการสร้างในครั้งนั้นไม่อาจที่จะสร้างสิ้นในเดือนกันยายนได้


เพราะการจัดสร้างได้ทำอย่างพิถีพิถันที่สุด คณะผู้จัดสร้างจึงได้เดินทางไปกราบเรียนท่านอาจารย์นำว่า พระยังไม่เสร็จ เมื่อกราบเรียนแล้วปรากฏว่าท่านอาจารย์นำได้นั่งนิ่งไม่พูดว่าอะไร ตามองออกไปข้างหน้าในลักษณะที่ยากจะคาดเดาได้ว่าท่านคิดอย่างไร ทำเอาคณะที่ไปครั้งนั้นอึดอัดใจไปตามๆกัน ท่านนั่งนิ่งอยู่อย่างนั้นประมาณครึ่งชั่วโมง จากนั้นก็กล่าวว่า”เอาเถอะ!อย่าให้เกินเดือนตุลาคม พ่อจะรอ ถ้าเกินจากนั้นไม่รอแล้ว”.


จากนั้นคณะผู้จัดสร้างก็ได้กลับไปดำเนินการสร้างต่อไป ซึ่งในการสร้างได้พิถีพิถันเรื่องเนื้อพระจะต้องออกมาสวยงามจึงต้องเพิ่มทองคำและเงินลงไปอีกจำนวนมาก จนได้เนื้อเป็นที่พอใจ จากนั้นก็ได้เริ่มเทหล่อพระ ซึ่งได้รูปเหมือนขนาดเล็กทั้งหมดเพียง ๑,๖๐๐ องค์เท่านั้น


เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๑๙ พระได้หล่อเสร็จเรียบร้อย จึงได้รีบนำเอาพระไปที่วัดดอนศาลา เมื่อกราบเรียนให้ท่านอาจารย์นำทราบปรากฏว่าท่านรู้สึกดีใจจนเห็นได้ชัด จากนั้นก็ได้นำเอาพระไปวางไว้ในพระอุโบสถวัดดอนศาลา โดยเอาผ้าขาวคลุมพระไว้.ในวันที่๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๙ เมื่อทกอย่างจัดเตรียมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทุกคนก็เห็นว่าท่านอาจารย์นำ ซึ่งนอนมาหลายวันแล้วเพราะอาพาธอยู่ แต่วันนั้น ท่านกลับลุกขึ้นด้วยความสดชื่นกว่าปกติ แล้วก็ได้เข้าไปจุดเทียนชัย และนั่งเข้าสมาธิเพ่งพลังจิตปลุกเสก ร่วมกับพระเกจิอาจารย์ผู้เข้มขลังทางคาถาอาคมของสายใต้เช่น พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง,พ่อท่านหมุน วัดเขาแดง,อาจารย์ พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช ฯลฯเป็นเวลาประมาณสองชั่วโมง


ขณะที่กำลังปลุกเสกอยู่ด้วยความเงียบสงบภายในพระอุโบสถวัดดอนศาลา ท่ามกลางความเงียบที่ทุกคนนั่งชมพิธีอยู่นั้น ได้ปรากฏมีเสียง”เปรี๊ยะ”ดังออกมาจากกองพระเครื่องที่คลุมผ้าขาวในปริมณฑลพิธี แต่เนื่องจากพิธียังไม่เสร็จสิ้นจึงยังไม่มีใครไปเปิดดู. ครั้นเมื่อท่านอาจารย์นำออกจากสมาธิแล้วก็ได้บอกว่า”สำเร็จแล้ว” จากนั้นคณะผู้จัดสร้างก็ได้เข้าไปเปิดผ้าขาวที่คลุมพระเครื่องออกดู เพื่อให้รู้ว่าเสียงดัง”เปี๊ยะ เปี๊ยะ เปี๊ยะ”นั้นมาจากอะไร


และเมื่อเปิดผ้าขาวออก ทุกคนเห็นเป็นที่น่าอัศจรรย์กันทุกคนคือ ลังไม้ที่บรรจุพระเครื่องได้แตกออก และพระเครื่องได้กระจายทั่วไป.การที่พระเครื่องซึ่งบรรจุอยู่ในลังไม้ได้กระจัดกระจายเพราะลังไม้แตกนั้น จะเป็นไปเพราะหาสาเหตุไม่ได้ แต่เป็นไปเพราะพลังจิตที่ท่านอาจารย์นำ และพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมปลุกเสก ได้เพ่งตรงไปรวมที่กองพระเครื่อง และอัดจนแน่น เป็นพลังที่กระทั่งดันลังไม้แตก


หลังจากเสร็จสิ้นพิธีปลุกเสกนั้น บรรดาลูกศิษย์ก็ได้ประคองพาท่านอาจารย์นำกลับกุฏิ เมื่อถึงกุฏิแล้ว ท่านก็ได้บอกกับบรรดาลูกศิษย์ว่า”อีก ๓ วันพ่อจะไปแล้วนะ”.ครั้นเมื่อ ๓ วันผ่านไปจากวันที่ท่านได้บอกบรรดาลูกศิษย์ คือวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๙ ซึ่งเป็นวันกำหนดที่ท่านอาจารย์นำได้บอกลาลูกศิษย์ไว้ เวลากลางคืนบรรดาลูกศิษย์และชาวบ้านหลายคนได้ไปหาท่านที่กุฏิ ซึ่งท่านก็ได้สนทนาและบอกลาลูกศิษย์กับชาวบ้านด้วยใบหน้าปกติและสดชื่น ไม่มีแสดงอาการเจ็บปวดจากการอาพาธแต่อย่างใด


ครั้นเมื่อเวลา ๒๒๐๐ น. ท่ามกลางความมืดของกลางคืน ท่านอาจารย์นำได้กล่าวอำลาบรรดาลูกศิษย์และชาวบ้านเป็นครั้งสุดท้ายด้วยเสียงปกติว่า”พ่อลาแล้ว” จากนั้นท่านก็ล้มตัวลงนอนและละสังขารไปอย่างสงบ และขณะที่ท่านอาจารย์นำได้ละสังขารไปนั้น ท่ามกลางความเงียบสงบของเวลากลางคืน และท่ามกลางความเศร้าโศกของบรรดาลูกศิษย์และชาวบ้านที่อยู่ในเหตุการณ์ ก็ได้ปรากฏเหตุการณ์มหัศจรรย์ขึ้นมาอีก คือได้ปรากฏมีเสียงบรรเลงแตสังข์กังวาลรอบๆบริเวณวัดดอนศาลา ทั้งๆที่บริเวณนั้น ไม่มีบ้านใครจัดงานบรรเลงเลย แล้วเสียงแตรสังข์นั้นมาจากไหน?


จากที่เขียนมานี้ผมคงไม่ต้องมาสรุปอีกแล้วกระมังครับว่า พระอาจารย์นำแห่งวัดดอนศาลา ศิษย์สายเขาอ้อ ท่านผู้นี้น่าเคารพกราบไหว้เพียงใด และรูปเหมือนของท่านรุ่นนี้ ซึ่งเป็นรุ่นแรก รุ่นเดียวและรุ่นสุดท้าย สมควรที่จะนำมาบูชากันได้แล้วใช่ไหมครับ
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ สิงหาคม 23, 2018, 02:44:17 PM
พระชินราชเนื้อเมฆสิทธิ หลวงพ่อผาง อธิษฐานจิตจนพระลอยออกจากกล่อง

เนื้อเมฆสิทธิเป็นโลหะที่ผสมตามสูตรของการเล่นแร่แปรธาตุ มีคุณสมบัติที่พิเศษอีกอย่างคือ เสริมดวง หนุนดวง แก้ดวงตก มักจะบูชาคู่กันกับ ราหู พระเมฆสิทธิที่นิยมกันก็สำนักหลวงปู่ทับ วัดทอง พระครูลืม วัดอนงค์ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงปู่เนียม วัดน้อย ทั้ง 4 สำนักแพงและหายากของปลอมเยอะ แนะนำรุ่นนี้ซึ่งสามารถบูชาได้เหมือนพระรุ่นเก่าทุกประการ เพราะพลังจิตของหลวงปู่ผาง ไม่ธรรมดาแรงกล้ามาก และพระรุ่นนี้แก้ไขดวงชะตาได้แน่นอน เพราะขนาดองค์พระที่ได้รับการอธิษฐานจิตยังลอยได้เลย ชะตาผู้บูชาจะไม่แก้ไขได้อย่างไร

(https://www.picz.in.th/images/2018/08/23/BMn7Wv.jpg)

(https://www.picz.in.th/images/2018/08/23/BMnSKE.jpg)

(https://www.picz.in.th/images/2018/08/23/BMnYPN.jpg)

(https://www.picz.in.th/images/2018/08/23/BMnzeV.jpg)

(https://www.picz.in.th/images/2018/08/23/BMnN3Q.jpg)

จากงานเขียนของคุณ เด่น ของขวัญพระเครื่อง

ชินราชองค์นี้เป็นชุดของวัดบึงแก้ว อำเภอชนบท ขอนแก่นแต่ดันเนื้อพระและบล๊อคพิมพ์เหมือนหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม อุดรธานี(ต่างกันที่ของหลวงปู่อ่อน บัวเป็นแบบบัวคว่ำบัวหงายเนื้อจะสีดำกว่า ของหลวงปู่ผางบัวเป็นแบบฟันปลาและเนื้อจะออกเหลืองๆหน่อย) เป็นชุดสร้างอุโบสถของวัดบึงแก้ว เจ้าอาวาสคือ พระครูปิยสารธรรม อดีตเจ้าคณะอำเภอชนบท ฝ่ายมหานิกาย ในปี 2517 - 2548 เกษียณอายุเพราะกฎมหาเถรสมาคมให้เจ้าคณะแขวงหมดวาระเมื่ออายุครบ 80 ปี


สมัยนั้นกำลังก่อสร้างอุโบสถขึ้นแต่ไม่มีปัจจัยในการก่อสร้าง จึงขออนุญาตหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต แห่งวัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ (วัดดุน) ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี ขอนแก่น จัดสร้างวัตถุมงคลของท่านขึ้นเพื่อหารายได้และปัจจัยมาสร้างอุโบสถ


และหลวงปู่ผาง ก็ออกปากอนุญาตและเมตตาเป็นกรณีพิเศษ เพราะสมัยหนึ่งหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต ท่านเคยมาจำพรรษาที่วัดแท่นศิลาทิพย์บัลลังอาสน์ บ้านแท่น ตำบลห้วยแก อำเภอชนบทนั่นเอง และเป็นเจ้าอาวาสที่วัดแท่นศิลาทิพย์นี้ 1 พรรษา และสมภารเจ้าวัดต้องขึ้นตรงต่อคณะสงฆ์อำเภอชนบทนั่นเอง เจ้าคณะอำเภอชนบทฝ่ายธรรมยุต คือ พระครูโอภาสสมณกิจ เจ้าอาวาสวัดป่าธรรมวิเวก (ที่เคยสร้างเหรียญรุ่นแรกคงเคและคอติ่งและบล๊อคแท้งน้ำอันโด่งดังนั่นเอง)


เมื่อจัดสร้างแม่พิมพ์แล้วก็นำไปให้หลวงปู่ผางเสก หลวงปู่ผางบอกว่า ท่านพระครูฯ ไม่ต้องให้ผมไปทำพิธีพุทธาภิเษกที่วัดบึงแก้วนะผมติดธุระไปไม่ได้ ยกพระทั้งหมดมาให้ผมเสกที่วัดดุนนี่.. ผมจะเสกให้ 2 ศีลเลย (หมายถึง 2 วันพระใหญ่นั่นเอง) แล้วมารับพระคืน พอถึงวันไปรับพระสมัยนั้นยังไม่มีโทรศัพท์ใช้ และหนทางก็เดินทางลำบากมาก หลวงปู่ผางแสดงอภินิหาริย์ให้เห็น...? เพราะตอนที่ไปรอรับวัตถุมงคลหลวงปู่ผาง ติดกิจนิมนต์ไม่อยู่วัดไปที่ตลาดอำเภอมัญจาคีรี ซึ่งห่างจากตัววัดนั้นไกลมากร่วม 30 กิโล เพราะพระลูกวัดที่ไม่ได้ไปด้วยบอกว่ากว่าจะมาน่าจะซัก 3 ชั่วโมงครับ ท่านหลวงพ่อพระครู พอนั่งรอซักพักไม่ถึง 15 นาที


หลวงปู่ผางเดินกลับมาที่วัดรูปเดียว โดยที่พระรูปอื่นไม่ได้มาด้วย และหลวงปู่ผางก็บอกว่ารีบมานะเนี่ย..ท่านพระครู..กลัวรอนาน มารับวัตถุมงคลกับผมนะ ก่อนจะเอาไปเดี๋ยวผมอธิษฐานให้อีกครั้ง แล้วหลวงปู่ผางก็นั่งอธิษฐานจิตนานมากร่วม ชั่วโมงพระที่อยู่ในกล่องก็เขย่ากระเด็นออกจากลังประมาณสิบกว่าองค์ เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาหลวงปู่พระครูปิยสารธรรมและชาวคณะกรรมการและลูกศิษย์ที่ไปด้วย และหลวงปู่ผางก็บอกว่าดีแท้...เด๊ ท่านพระครูพระลอยเลย...

และวัตถุมงคลชุดนี้ก็เปิดให้บูชาในราคาต่างกัน หลายพิมพ์ครับ สร้างในปี 2518 สิ้นสุดรุ่นสุดท้ายเป็นรุ่น สร้างอุโบสถ ปี 2519 ครับ และรุ่นนี้เหรียญไปคล้ายกับรุ่นดงเค็งโคราช ในเหรียญปี 12 และชินราชองค์นี้ก็ไปเหมือนกับหลวงปู่อ่อน อุดรธานีครับ (บางท่านว่ามา) แต่รูปหล่อปั๊มรุ่นแรกออกที่วัดบึงแก้วครับ เป็นเนื้อทองเหลืองรมดำ


บางคนเข้าใจผิดนึกว่าออกที่วัดหลวงปู่ผางครับ และนึกว่าเป็นเนื้อทองแดงรมดำ ชินราชองค์นี้จ้างโรงหล่อทำทีท่าพระจันทร์สมัยปี 2518 ครับ พระครูปิยสารธรรมได้เอาแร่เหล็กไหลผสมเข้าไปด้วย จำนวนการสร้างน้อยครับ แค่ 700 องค์เท่านั้นเอง และให้บูชาแพงมากสมัยนั้นถึงองค์ละ 300.- บาทครับ


ในปีนั้น ร.ต.อ. สำราญ เวียงวงษ์ (ยศขณะนั้น) ได้อุปถัมภ์วัดบึงแก้วจนสร้างอุโบสถเสร็จปี 2524 ฉลองในปี 2526 และได้ทำผ้าป่ามาที่วัดบึงแก้วทุกปี พร้อมชาวคณะและได้พิเรนทร์ขอลองวัตถุมงคลรุ่นนี้ที่วัดบึงแก้ว ด้วยปืน .38 ต่อหน้าพระครูปิยสารธรรม ด้วยการยิงถึง 3 ครั้ง แต่ปืนไม่ออก....เสียงปืนดัง แชะ...แชะ...เป็นที่อัศจรรย์มากแก่สายตาคณะผ้าป่าสามัคคีและพระครูปิยสารธรรมพร้อมด้วยพระลูกวัดบึงแก้วที่ลงมาดู และวัตถุมงคลรุ่นนี้ได้หมดไปจากวัดในเวลาไม่ถึงเดือน พระครูปิยสารธรรมให้บูชาไปในราคา 300.- บาทขณะนั้น
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ กันยายน 11, 2018, 01:41:15 PM
รูปหล่อเนื้อทองคำ หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ

วัดธาตุมหาชัย จังหวัดนครพนม รุ่นนี้ จัดสร้างโดย ท่านผู้ว่าปรีดา นิสัยกุล (อดีตท่านผู้ว่า จ.นครพนม) ในปี พ.ศ.๒๕๓๕ โดย เนื้อทองคำมีการจัดสร้าง ๒๙๙ องค์ น้ำหนักประมาณ ๑๙ กรัม(หนึ่งบาทหนึ่งสลึง) พระทุกองค์มีการตอกโค๊ต ตอกหมายเลข สำหรับองค์นี้ หมายเลข ๑๐๐ ด้านล่างใต้ฐานองค์พระ บรรจุด้วยผงปฐวีธาตุ เกศา ชานหมาก และ ตะกรุดทองคำ ๑ ดอก

 

(https://www.picz.in.th/images/2018/09/11/fo6ex0.jpg)

(https://www.picz.in.th/images/2018/09/11/fo6m6u.jpg)

(https://www.picz.in.th/images/2018/09/11/fo6I1I.jpg)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: peterpan03 ที่ กันยายน 17, 2018, 03:22:51 PM
น่าสนใจมากๆเลยครับ  :) :) :)


แทงบอลออนไลน์ (http://www.ufa007.com)  : po
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ พฤศจิกายน 05, 2018, 01:43:30 PM
พระอู่ทองลอยองค์ กรุศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี

กรุเดียวกับพระท่ากระดาน แต่พุทธศิลป์คนละยุค พระท่ากระดานจะศิลปะลพบุรี อายุประมาณ ๕๐๐ ปีขึ้นไปสันนิษฐานว่าสร้างโดยฤาษีถวายเป็นพุทธบูชา

แต่พระอู่ทองจะเป็นศิลปะอยุธยา ซึ่งมาอายุอ่อนกว่าพระท่ากระดาน โดยสันนิษฐานว่าสร้างโดยพระภิกษุสงฆ์และชาวบ้าน เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ใช้ตะกั่วที่เหลือจากการสร้างพระท่ากระดานที่พระฤาษีได้จัดหาเตรียมไว้ จึงทำให้มีเนื้อหาคล้ายพระท่ากระดาน แต่อายุจะน้อยกว่า

นอกจากพระกริ่ง รูปหล่อ แล้วพระที่ผมชอบมากๆอีกอย่างคือ พระกรุครับดูแล้ว มีพุทธศิลปที่แฝงไปด้วยความศรัทธา เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ไม่มีพุทธพาณิชย์มายุ่งเกี่ยว


(https://www.picz.in.th/images/2018/11/05/3TO2KP.jpg)

(https://www.picz.in.th/images/2018/11/05/3TOsWI.jpg)

(https://www.picz.in.th/images/2018/11/05/3TOAnZ.jpg)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ มีนาคม 04, 2019, 11:05:11 AM
พระกริ่งพันตำลึงทอง เนื้อเงิน หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เป็นพระที่ผมอ่านหนังสือเป็นเล่มแรกๆต่อจากประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ่านประวัติหลวงพ่อเงิน แล้วศรัทธาท่านมากตั้งใจที่อยากได้มากที่สุดก็พระกริ่งพันตำลึงทองนี่แหละ เพราะผมชอบพระกริ่งมากที่สุด ภูมิใจครับที่มีกับเค้าองค์หนึ่ง

(https://palungjit.org/attachments/ccb-1-7-_nc_sid-b9115d-_nc_ohc-scpbquwtyq4ax9jkbzg-tn-xuph5lzsvxwakk4w-_nc_ht-scontent-fbkk21-1-jpg.6079582/)

(https://www.img.in.th/images/321537a328d4d84eb98daab2649acb61.jpg)

(https://palungjit.org/attachments/12_n-jpg-_nc_cat-101-ccb-1-7-_nc_sid-b9115d-_nc_ohc-glp_unmdo6wax-fyh2-_nc_ht-scontent-fbkk21-1-jpg.6079583/)

(https://palungjit.org/attachments/52_n-jpg-_nc_cat-111-ccb-1-7-_nc_sid-b9115d-_nc_ohc-z_rzxkrktyeax8kza-y-_nc_ht-scontent-fbkk21-1-jpg.6079584/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ สิงหาคม 27, 2019, 02:28:57 PM
รูปหล่อพระนาคปรกลอยองค์ พิธีพระคันธารราฐ ๒๔๗๖(แต่ทั่วไปจะระบุพ.ศ.๒๔๗๒ซึ่งเป็นการเริ่มดำเนินการจัดสร้าง มีการส่งแผ่นยันต์ให้พระคณาจารย์ต่างๆ ลงยันต์ให้ เตรียมวัตถุมงคลต่างๆ ที่จะหล่อพระ)

สุดยอดแห่งพระหายากมากๆ เป็นพระในตำนานจังหวัดนครปฐม (มีบันทึกในหนังสือประวัติพระเครื่องนครปฐม)

พระนาคปรกรูปหล่อลอยองค์ของท่านเจ้าคุณโชติ เนื้อพระเป็นสัมฤทธิ์เหลืองอมแดง (แก่ชนวนพระกริ่งที่พระสังฆราชแพ(พระวันรัต) ถวายทำให้เนื้อออกกระแสแดง ซึ่งพระพิมพ์อื่น ๆจะมีเนื้อออกเหลืองซึ่งได้ผสมทองเหลือง ขันลงหินเพิ่ม) เมื่อมีการสัมผัสนานๆเนื้อจะกลับกลายเป็นสีน้ำตาลไหม้ พระพักตร์เป็นศิลปะแบบอินเดีย ส่วนพญานาคมี ๗ เศียร ด้านหลังองค์พระมียันต์เฑาะว์มหาพรหม(เฑาะว์ขัดสมาธิ) ตามด้วยอุหางชี้ลง (บางองค์บรรจุกริ่ง) ขนาดสูงประมาณ ๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๒.๔ เซนติเมตร หนาประมาณ ๑.๔ เซนติเมตร ฐานแปดเหลี่ยม หล่อดินไทย องค์ที่ไม่อุดกริ่งจะมีดินไทยอยู่

จำนวนการสร้างสันนิษฐาน ไม่เกินร้อยองค์ ถ้าจะประมาณ คง ๕๔ องค์ มาจาก อายุของท่านเจ้าคุณโชติตอนสร้างพระนาคปรกรูปหล่อลอยองค์นี้ปีพ.ศ.๒๔๗๖ ท่านมีอายุได้ ๕๓ ปีการสร้างพระเป็นการเจริญอายุวัฒนะต้องบวกอีกหนึ่งปี ดังนั้นจึงเป็น ๕๔ องค์ (เหตุผลมาจากท่านเกิดวันเสาร์ สร้างพระนาคปรกเป็นพระประจำวันเกิดของคนเกิดวันเสาร์ ดังนั้นท่านจึงเป็นการสร้างตามอายุท่าน เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา)

ตามบันทึกในหนังสือประวัติพระเครื่องนครปฐม ในพิธี พุทธาภิเษกวันแรก มีพระคณาจารย์นั่งปรก ๔ ทิศ ประกอบด้วย หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว เป็นประธาน หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้องนั่งธรรมมาสน์ ๔ ทิศในโบสถ์ ตอนอธิษฐานจิตใกล้จะเสร็จ มีแสงสว่างจ๊า!!! ...ออกจากปากหลวงพ่อโหน่ง พุ่งไปคลุมพระทั้งหมด หลวงพ่อปานรีบลุกจากธรรมาสน์ ไปกราบหลวงพ่อโหน่ง

อธิบายไม่ใช่หลวงพ่อปานกราบหลวงพ่อโหน่ง อย่างที่เข้าใจกัน เหตุเพราะว่า ตามประวัติหลวงพ่อปาน หลวงพ่อปานเคยไปพบเพื่อขอเรียนวิชากับหลวงพ่อโหน่ง ตามที่หลวงพ่อเนียมบอกว่าถ้าสิ้นท่านให้ไปหาท่านโหน่ง ปรากฏว่า สอบไปสอบมาวิชายันกัน คือเท่ากัน ไม่มีใครสอนใคร
แต่หลวงพ่อโหน่งเป็นพระพิเศษในสมัยนั้นที่พระคณาจารย์ต่างยกย่อง แม้แต่เจ้าคุณเฮง วัดบ้านขอม ถ้ารู้ว่าหลวงพ่อโหน่ง มาจะไม่ทำอะไรรอจนกว่าหลวงพ่อโหน่งสั่ง มีพิธีหนึ่ง รอเป็นชั่วโมง เหลือหลวงพ่อโหน่งองค์เดียว เจ้าคุณเฮง ก็ไม่ทำอะไรบอกถ้าหลวงพ่อโหน่งไม่มายังไม่ทำอะไรทั้งสิ้น พอหลวงพ่อโหน่งมาถึง เจ้าคุณเฮงถามว่า พระท่านว่าอะไรบ้างขอรับ หลวงพ่อโหน่งถึงบอกว่า พระท่านบอกว่า พิธีต้องทำแบบนี้ ๆ ที่ให้ทำฤกษ์นั้นมันผิดใช้ไม่ได้ คือหลวงพ่อโหน่งท่านมีพระคุมอยู่ตลอดเวลา

ดังนั้นในพิธีพุทธาภิเษกพระคันธารราฐ มีแสงออกจากปากหลวงพ่อโหน่ง ไปคลุมวัตถุมงคล หลวงพ่อปานท่านรู้ว่า เป็นด้วยพุทธานุภาพของพระพุทธเจ้า ท่านหลวงพ่อปานถึงลุกจากธรรมาสน์รีบไปก้มกราบ พระพุทธเจ้าที่คุมหลวงพ่อโหน่งอยู่นั่นเอง

พระเครื่องคันธารราฐจัดสร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ เพราะเกิดฝนแห้งแล้งอย่างหนัก ประชาชนอดอยากเป็นอย่างยิ่ง ท่านเจ้าคุณปรารภถึงเหตุนี้แล้วจึงได้จัดทำพิธีหล่อขึ้นหน้าลานพระปฐมเจดีย์ ซึ่งได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นองค์พระ ประธาน

โดยโลหะที่ใช้หล่อผสมประกอบไปด้วย ๑.ชิ้นส่วนพระพุทธรูปสมัยทวารวดี ๒.ชิ้นส่วนขันลงหินจากชาวบ้าน ๓.แผ่นโลหะจารอักขระยันต์จากพระคณาจารย์ทั่วประเทศในสมัยนั้น ๔.แผ่นทองคำจารลงดวงประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า

โดยหลวงปู่บุญ เป็นประธานพิธีเททอง และประธานพุทธาภิเษก เจ้าคุณศรีสนธิ์ เป็นประธานควบคุมการหล่อเนื้อพระโลหะ มีการสร้างพระหลาย ๆ อย่าง คือ

พระพุทธรูปบูชาคันธารราฐประทับยืนปางขอฝน ขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งองค์ พระพุทธรูปบูชาคันธารราฐประทับยืนปางขอฝน ขนาด ๑๒ นิ้ว เหรียญหล่อคัน ธารราฐทรงกลีบจำปา ไม่มีหูพิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่ เหรียญหล่อคันธารราฐทรงใบเสมาคว่ำ เหรียญหล่อรูปเหมือนพระเทพสุธีโชติครึ่งองค์หันข้าง พระปิดตามหาอุด พระประจำวันใบเสมาหลังยันต์ หลังองค์พระปฐมเจดีย์ รูปหล่อลอยองค์พระนาคปรก พระนาคปรกบูชา ๑ องค์ พระบูชาพระประจำวันตามผุ้สั่งดำเนินการ

จากหนังสือประวัติพระเครื่องนครปฐม
สาเหตุที่สร้างพระคันธารราฐ ปีพ.ศ.๒๔๗๖

ในปี พ.ศ.๒๔๗๒ เกิดฝนแล้งทั่วไป ประชาชนต่างอดอยากเป็นอย่างยิ่ง ท่านเจ้าคุณโชติมาปรารภถึงเหตุนี้ และต่อมาท่านเจ้าคุณโชติจึงได้จัดพิธีหล่อพระคันธารราฐ (ปางขอฝน) ในการเทหล่อพระครั้งนี้ท่านเจ้าคุณโขติได้มอบหมายให้ช่างแช่ม ชื่นจิตต์เป็นผู้หล่อพระครั้งนี้(ช่างแช่มอายุมากกว่าเจ้าคุณโชติ) เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๗๖

แล้วจำแนกแจกจ่ายไปยังวัดต่างๆ วัดละ ๑ องค์ รวม ๑๕๐ วัด เมื่อตำบลใดข้าวยากหมากแพง ประชาชนพากันอาราธนาพระคันธารราฐ ออกทำพิธีบวงสรวงขอฝน ซึ่งมีอภินิหารเป็นที่น่าอัศจรรย์ และในโอกาสนั้นได้มีการสร้างพระคันธารราฐองค์ประธานสูงประมาน ๒ เมตร ๑๐ เซนติเมตร ๑ องค์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่บนศาลาการเปรียญ
พระคณาจารย์ที่เข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษกในครั้งนี้
๑.หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
๒.หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
๓.หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน
๔.หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง
๕.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา
๖.หลวงพ่อคง วัดบางกระพร้อม จ.สมุทรสงคราม
๗.หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ. นครปฐม
๘.พระครูอุตตรการบดี (สุข) วัดห้วยจรเข้ จ.นครปฐม
๙.หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง จ.นครปฐม
๑๐.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา
๑๑. หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง จ.นครปฐม
๑๒.หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม
๑๓.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร
๑๔.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ จ.กาญจนบุรี
๑๕.หลวงพ่อวงศ์ วัดทุ่งผักกูด จ.นครปฐม
๑๖.หลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด จ.นครปฐม
๑๗.หลวงปู่ชา วัดสามกระบือเผือก
๑๘.พระสังฆราชแพตอนนั้นท่านยังไม่ได้เป็นพระสังฆราชยังเป็น สมเด็จพระวันรัต (ได้มอบชนวนพระกริ่งที่จัดสร้างเพื่อผสมในพระชุดนี้ด้วย)
๑๙.เจ้าคุณศรีสนธิ์
๒๐.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
๒๑.หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา
๒๒.หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
๒๓.หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู และอาจารย์อื่นๆรวม ๑๐๘ รูป

(https://palungjit.org/attachments/06c6206a7cc3a255c7d5fe5fecf08f25-jpg.5038669/)

(https://palungjit.org/attachments/ce7d8178d1fe488d4abb392daac7aca1-jpg.5038670/)

(https://palungjit.org/attachments/8236652469de643918e215868e9775eb-jpg.5038671/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ สิงหาคม 29, 2019, 12:08:11 PM
พระกรุในตำนาน พระนางพญาเหล็กเปียก กรุพระธาตุพนม

องค์นี้คราบกรุจับเต็มองค์ แต่มีกระเทาะด้านหลังจุดหนึ่ง เห็นเป็นขาวแว๊บ ๆ เวลาส่องกล้องเหมือนเป็นหยดน้ำกลิ้งไปมา ด้านหลังมีจารอักขระด้วยเต็มพื้นที่เลย

ตำนานกล่าวว่าท่านราชครูโพนสะเม็กพระอริยสงฆ์ผู้เป็นประธานบูรณะพระธาตุพนมปีพ.ศ.๒๒๓๓-๒๒๓๖ ท่านพบเหล็กเปียกด้วยทางสมาธิ ว่ามีคุณสมบัติชุ่มเย็น กันฟืนกันฟ้าผ่า ป้องกันอันตราย เป็นวัตถุที่เป็นมงคล

ท่านราชครูโพนสะเม็ก ได้บูรณะองค์พระธาตุพนมตั้งแต่ชั้นที่ ๒ ขึ้นไปจนถึงยอดพระธาตุ ท่านให้หล่อเหล็กเปียก เหล็กไหลขึ้นสวมยอดพร้อมด้วยฉัตรยอดองค์พระธาตุด้วย ทำให้องค์พระธาตุสง่างามและมั่นคงยิ่งขึ้น ท่านราชครูใช้เวลาบูรณะองค์พระธาตุพนมเป็นเวลา ๓ ปี

ท่านราชครูโพนสะเม็ก เลยนำเหล็กเปียกมาหุ้มตรงส่วนบนพระธาตุพนมเพื่อป้องกันฟ้าผ่า อีกส่วนก็เทหล่อเป็นพระพิมพ์เพื่อเป็นพุทธบูชาถวายต่อพระธาตุพนม

(https://palungjit.org/attachments/adffa5dc4bd1c668ad6b34146c0e6d71-jpg.5040737/)

(https://palungjit.org/attachments/d39743652eff6fa2553f6d3aa8dda534-jpg.5040738/)

(https://palungjit.org/attachments/bc51618187e4d554a6c853bd3e906cef-jpg.5040739/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ กันยายน 02, 2019, 12:35:45 PM
พระกริ่งในตำนานจังหวัดพิจิตร
พระกริ่งประทานพรหรือพระกริ่งดีดน้ำมนต์ หลวงพ่อเขียน
วัดถ้ำขุนเณร จังหวัดพิจิตร พ.ศ.๒๕๐๖
เนื้อสำริดเหลืองอมเขียวมีกระแสพรายเงิน


นับเป็นพระกริ่งรุ่นแรกและรุ่นเดียวของหลวงพ่อเขียน สร้างจำนวนประมาณ ๔๐๐ องค์ ออกให้ทำบุญที่วัดชัยมงคล จังหวัดพิจิตร ปีพ.ศ. ๒๕๐๖ โดยหมอแดงลูกศิษย์คนสนิทของหลวงพ่อเป็นพ่องานในการรวบรวมมวลสาร ซึ่งมวลสารส่วนหนึ่งนั้น หมอแดงได้มาจากช่อชนวนและมวลสารที่เหลือจากการหล่อพระพิมพ์ฐานหนังสือ และแผ่นยันต์ที่หลวงพ่อเขียนได้ลงยันต์ไว้ให้

เป็นพระกริ่งต้นแบบของพระกริ่งวังกระโจมเจ้าคุณนรฯ แต่แตกต่างกันตรงที่เนื้อหาของพระกริ่งซึ่งพระกริ่งวังกระโจมเจ้าคุณนรฯจะเป็นทองเหลืองล้วน แต่พระกริ่งประทานพรหลวงพ่อเขียนจะออกสำริดเหลืองอมเขียว และจะมีกระแสพรายเงิน ขนาดพระกริ่งวังกระโจมเจ้าคุณนรฯจะเล็กกว่า และมีอุดกริ่งทุกองค์

ส่วนพระกริ่งประทานพรหลวงพ่อเขียน จะมีช่อชนวน ๒ ช่อ และจะหล่อตัน ไม่ค่อยมีองค์ที่อุดกริ่งซึ่งองค์ที่อุดกริ่งจะมีน้อยมาก ๆ พระกริ่งประทานพรหลวงพ่อเขียนนี้มีจุดที่กลางหลังทุกองค์ จุดนี้เป็นจุดเด่นที่ใช้แยกพระกริ่งวังกระโจมของเจ้าคุณนรฯ กับพระกริ่งประทานพรหลวงพ่อเขียน บางองค์จุดนี้ก็ถูกตะไบออกหรือบางองค์ก็ติดไม่ค่อยชัด ถ้าไม่มีจุดนี้ให้พิจารณาส่วนอื่นๆ

ด้านหน้า ศีรษะมีพระเกศาขดเป็นก้นหอย ใบหน้าเอิบอิ่มดูเย็นตามีเมตตา เปลือกตาบนประหนึ่งดั่งท่านหลับตาและแย้มริมฝีปากยิ้มเล็กน้อย ขอบตาล่างคมกริบ หัวคิ้วจรดกันทั้งสองข้างเชื่อมลงมาที่จมูกเป็นสันคม ด้านบนมีอุนาโลมหรือจุด อยู่ระหว่างกลางเหนือคิ้วทั้งสองข้าง ลักษณะมือสองข้างประสานกันที่อก นิ้วกรีดกรายเด่นชัด เสมือนดั่งท่านกำลังดีดน้ำพระพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ มีปลายจีวรพับเป็นชั้น ๆ พาดหัวไหล่ด้านซ้ายลงมาจรดที่ปลายนิ้วมือข้างซ้าย ด้านล่างมีขาขวาทับขาซ้าย ขาสองข้างทับปลายจีวรเป็นจีบ ๆ ที่ฐานมีบัวคว่ำและบัวหงายรอบฐานด้านหน้า

ด้านหลัง มีเส้นริ้วจีวรพับเป็นสองชั้นพาดจากไหล่ซ้ายลงไปฐาน และรัดจากรักแร้ขวาไปจรดเส้นริ้วจีวรเส้นกลาง แทน ที่ฐานล่างมีเลข ๙ บางองค์ชัด บางองค์ไม่ชัด

ใต้ฐาน มีช่อชนวน ๒ ช่อ ในช่ออาจจะมีรูบ้างไม่มีบ้าง แล้วแต่ว่าจะหล่อเต็มหรือไม่ บางองค์มีเส้นวิ่งที่ใต้ฐาน ประมาณกึ่งกลางระหว่างช่อชนวน เกิดจากเนื้อเทียนเกินตอนประกบบล็อกหน้าและบล็อกหลัง

(https://palungjit.org/attachments/59c260c8441911d89ed5a06c295253a0-jpg.5045660/)

(https://palungjit.org/attachments/0dd4fff37630173657e360531110a6a9-jpg.5045661/)

(https://palungjit.org/attachments/e3cbf4d076d0cd586f45f64400a2af7f-jpg.5045662/)

(https://palungjit.org/attachments/b17e7525be62e0ba9951baa164703a78-jpg.5045663/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ กันยายน 09, 2019, 01:29:22 PM
ชี้แจงความเข้าใจผิดของพระกริ่งนักโทษประหาร วัดสังกัสรัตนคีรี จ.อุทัยธานี ปีพ.ศ.๒๕๐๘

พระกริ่งนักโทษประหาร มีพิมพ์เดียวเท่านั้น คือ ด้านหลังมีหมายเลข ๙ ตัวเดียว

ส่วนด้านหลังมีหมายเลข ๙ และตัวอักษรธรรม ว่า อิ สวา สุ เป็นพระกริ่งเจ้าคุณนร ของวัดวังกระโจม จ.นครนายก ปี พ.ศ. ๒๕๑๒

พระกริ่งพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ วัดสังกัสรัตนคีรี จ.อุทัยธานี ปีพ.ศ. ๒๕๐๘ มีเรื่องเล่าขานกันว่า มีนักโทษประหารคนหนึ่ง อมพระกริ่งนี้ไว้ เข้าสู่ลานประหาร ปืนยาวไม่ลั่นซักนัด จนต้องตรวจดูพบนักโทษอมพระกริ่งนี้ไว้ในปากเลยนำออก แล้วลั่นปืนใหม่ ก็ประหารได้ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "พระกริ่งนักโทษประหาร"

ซึ่งในเรือนจำบางขวางแดนประหารนักโทษ จะมีการลงอาถรรพณ์ เพื่อลบวิชา คาถาอาคมไว้ มีเทพ เทวดาที่ศักดิ์สิทธิมีฤทธานุภาพ มีเดช มีอำนาจมาก พระที่สามารถทำให้ปืนสำหรับประหารนักโทษที่ลั่นไกไม่ได้ เท่าที่ฟังมาก็มี เหรียญกงจักรหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ.นครปฐม ที่คุณไพฑูรย์ พันธุ์เชื้องาม ประสบพบมา และพระกริ่งนักโทษประหารนี้แหละ

จะแตกต่างกับพระกริ่งพระพุทธมงคลนายก วัดวังกระโจม จ.นครนายก ปีพ.ศ.๒๕๑๒ ตรงฐานพระกริ่งนักโทษประหาร เป็นวงเดือน และมีเลข ๙ ตัวเดียว ส่วนพระกริ่งพุทธมงคลนายก วัดวังกระโจม มีเลข๙ และมีอักษรธรรม ว่า อิ สวา สุ ซึ่งสร้างปีพ.ศ.๒๕๑๒ เจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิต

(https://palungjit.org/attachments/f9ef4aad13647030ac87fd0ae018586a-jpg.5053258/)

(https://palungjit.org/attachments/a0b08b39e0fa5a42df8c234e1cf1ab63-jpg.5053259/)

(https://palungjit.org/attachments/7cb015c6c9adb3271e9ed80d8ca0f974-jpg.5053260/)

(https://palungjit.org/attachments/b3556a1c07f75fc77cb420b7a434ff3d-jpg.5053261/)

(https://palungjit.org/attachments/f94882561cf0aef4eeba7e20b8271573-jpg.5053262/)

(https://palungjit.org/attachments/71ddedd50ad74d3031953e0370366e23-jpg.5053263/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ กันยายน 16, 2019, 01:30:45 PM
พระพิมพ์พุทธคยาตัดเดี่ยว ศิลปะพุกาม กรุเวียงท่ากาน จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อสัมฤทธิ์(สำริด) สนิมหยก

พระพิมพ์พุทธคยาตัดเดี่ยว เนื้อสัมฤทธิ์(สำริด) เป็นพระกรุที่หายากมาก ๆ ขึ้นจากกรุน้อยมาก ส่วนมากที่พบจะเป็นเนื้อดินเผาขนาดใหญ่ แต่เนื้อสัมฤทธิ์(สำริด) พิมพ์นี้ จะตัดเดี่ยวเหมือน พระสามหอมที่มีแบบตัดเดี่ยวเป็นเนื้อดิน ท่านยูสเซอร์เนม “วัดท่าซุง” ก็มี ๑ องค์เนื้อสัมฤทธิ์(สำริด) เหมือนกัน

ซึ่งได้ตัดภาพพระพิมพ์พุทธคยาเนื้อดิน และได้ชี้จุดที่เนื้อดินเหมือนกับเนื้อสัมฤทธิ์(สำริด) ที่เหมือนกันจนกล่าวได้ว่าคือพิมพ์เดียวกันแต่ตัดให้เป็นพิมพ์เดี่ยว

เวียงท่ากาน เป็นกลุ่มโบราณสถานและคูเมืองแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองลำพูนและตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว ๑๕ และ ๓๐ กิโลเมตรตามลำดับ สร้างเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ในสมัยพระเจ้าอาทิตยธรรมิกราช กษัตริย์แห่งอาณาจักรหริภุญชัย ปรากฏหลักฐานในเอกสารทางประวัติศาสตร์ครั้งแรกในชื่อว่า "บ้านตะก๋า" สร้างขึ้นเพื่อเป็นเมืองหน้าด่านของอาณาจักรหริภุญชัย ต่อมาได้ขึ้นตรงต่อพญามังรายแห่งอาณาจักรล้านนา

พระพิมพ์พุทธคยา ศิลปะพุกาม(มอญ พม่า) ส่วนมากเป็นพระเนื้อดินเผาขนาดใหญ่ พระพิมพ์แบบซุ้มพุทธคยานี้ สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ ศิลปะแบบพุกาม(มอญ พม่า) เป็นการรับอิทธิพลจากอินเดีย แล้วนำมาประยุกต์ให้เป็นศิลปะแบบเฉพาะตัว

พระพิมพ์ศิลปะศรีเกษตรและพุกามของ มอญ พม่า

อายุ: ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖

ศิลปะแบบศรีเกษตร และพุกามของพม่า

เป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจาก ศิลปะอินเดีย แบบปาละโดยตรง สังเกตได้จากลักษณะการนั่งที่ยังคงเป็นการนั่งขัดสมาธิเพชร แตกต่างกันที่การนั่งขัดสมาธิจะเทลาดลงมาด้านหน้า และพระวรกายและพระพักตร์ ไม่ล่ำสันเหมือนแบบอินเดีย พระพิมพ์ศิลปะนี้สามารถสังเกตได้จากซุ้ม และสถูปที่คล้ายกับแบบพุทธคยาของอินเดีย โดยคาดว่าน่าจะมีการเผยแพร่เข้ามายังดินแดนหริภูญไชยราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ พระพุทธรูปศิลปะนี้ประกอบด้วย พระรอด พระสิบสอง พระสามหอม ฯลฯ


(https://sv1.picz.in.th/images/2019/09/16/c0xBWI.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2019/09/16/c0xfKP.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2019/09/16/c0xhPt.jpg)


ยืมภาพยูสเซอร์เนม "วัดท่าซุง" ซึ่งท่านมีเหมือนกัน
(https://sv1.picz.in.th/images/2019/09/16/c0x4nZ.jpg)

ตัดภาพพระพิมพ์พุทธคยา แสดงให้เห็นว่าเนื้อสัมฤทธิ์(สำริด) เป็นพิมพ์เดียวกับเนื้อดิน
(https://sv1.picz.in.th/images/2019/09/16/c0xY40.jpg)

ยืมภาพพระพิมพ์พุทธคยา ศิลปะพุกาม แบบเต็มองค์
(https://sv1.picz.in.th/images/2019/09/16/c0xzxu.jpg)

ยืมภาพพระพิมพ์พุทธคยา ศิลปะพุกาม แบบเต็มองค์
(https://sv1.picz.in.th/images/2019/09/16/c0x7aR.jpg)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ ตุลาคม 05, 2019, 09:04:25 AM
พระยอดขุนพล พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์
หลังฝังลูกปัดทราวดี ปีพ.ศ.๒๕๑๙
อธิษฐานจิตพร้อมเหรียญรุ่นแรก


(https://sv1.picz.in.th/images/2019/10/05/clrUxz.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2019/10/05/clrq68.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2019/10/05/clrEWR.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2019/10/05/cl8Wbb.jpg)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ ตุลาคม 11, 2019, 02:49:37 PM
พระมเหศวรพิมพ์ใหญ่เนื้อชินเงิน
กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี 


(https://sv1.picz.in.th/images/2019/10/11/cnG9Re.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2019/10/11/cnG3zt.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2019/10/11/cnGT6l.jpg)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ ตุลาคม 21, 2019, 03:04:15 PM
เหรียญหล่อ วัดแก้วไพฑูรย์ ปีพ.ศ. ๒๔๗๘ พิมพ์นิยมมีหูเหรียญ

เหรียญนี้มีสองพิมพ์คือมีหูเหรียญ(นิยม) และตะไบชิดไม่มีหูเหรียญ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง อธิษฐานจิต

เหรียญหล่อของหลวงพ่อไปล่เอง สร้างปีพ.ศ. ๒๔๗๘ เช่นกัน ราคาแพงมากๆ จนจับต้องยาก หาเหรียญหล่อ วัดแก้วไพฑูรย์ ไว้ทดแทนกันได้ เพราะหลวงพ่อไปล่ อธิษฐานจิตเหมือนกัน เห็นมีคำบอกเล่าว่า เพื่อทดแทนพระคุณพระอาจารย์ของท่าน คือ หลวงปู่บุญ วัดแก้วไพฑูรย์ หลวงพ่อไปล่ ท่านเลยอธิษฐานจิตให้ เนื่องจากทางวัดแก้วไพฑูรย์ มาขออนุญาตออกวัตถุมงคลเพื่อทำบุญวัด

หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง บางขุนเทียน กรุงเทพ ตามประวัติเล่าต่อๆ กันว่า มีคนถามท่านว่า คงกระพันชาตรีมีจริงไหมครับ ท่านไม่ตอบ แต่หยิบมีดโกนหนวดออกมา แล้วเฉือนง่ามมือง่ามเท้าให้ดู ปรากฎว่ามีดโกนไม่สามารถทำอะไรได้ ไม่มีแม้แต่รอยยางบอน หลวงพ่อไปล่ท่านยังบอกอีกว่า
"ของจะเหนียว ต้องเหนียวยัน ง่ามมือ ง่ามเท้า"

(https://sv1.picz.in.th/images/2019/10/21/cMhIqV.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2019/10/21/cMhMHQ.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2019/10/21/cMhFfN.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2019/10/21/cMkdSS.jpg)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: horoscopeth ที่ พฤศจิกายน 11, 2019, 04:22:06 PM
เยี่ยมครับ
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ พฤษภาคม 28, 2020, 04:07:40 PM
พระกริ่งรุ่นแรกเนื้อนวโลหะ หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร จังหวัดอุดรธานี หมายเลข๖๕

จากงานเขียนท่านอาจารย์นก เริงลม
พระกริ่งรุ่นแรกนี้ ไม่ดังเท่าที่ควรจะเป็น เพราะเป็นพระในฝันของ
ศิษย์หลวงปู่ไปแล้ว หายากมากครับ แค่ ๕๕๕ องค์
.
.......ที่สำคัญที่สุด มีรันหมายเลข และ คนดำเนินงาน ก็จดหมายเลข
พระเนื้อหลักๆ ไว้ ทำให้ทราบว่า ใครนำออกมาขายกิน ( อายเพื่อนครับ
เพราะหลักฐานมันฟ้อง และ หลวงปู่ท่านก็เป็นพระวาจาสิทธิ์ ไม่มีใคร
อยากให้ท่านดุ แค่ท่านพูดว่า บักขี้ข้า... เอาพระกูไปขายแค่นี้ ก็
หนาวไปถึงต้นขั้วของหัวใจแล้วครับ ) เพราะตอนไปขออนุญาตท่านสร้าง
ก็รับปากกับท่านว่า จะสร้างมาแจกกันเปล่าๆ ไม่เอาไปขายกินเป็นอันขาด
.
.......พระกริ่งรุ่นนี้ ท่านเมตตาปลุกเสกให้ตลอดพรรษา และ แจกในวันทอดกฐินตอนแรกๆ ก็ให้เข้าแถว เข้ารับพระให้เป็นระเบียบ แต่พอทราบว่า พระมีแค่ ๕๕๕( และอยู่กับคณะผู้สร้างนี้ไปแล้วกี่องค์ เหลือถวายหลวงปู่กี่องค์ )องค์เท่านั้น แถวตรงๆ ก็แตกหือเข้าสกรัม หลวงปู่ ไม่ว่า หญิง ชาย จนหลวงปู่ต้องโยนพระทั้งหมด รวมทั้งถาดให้ เอ๊า เอาซะ อยากได้หลาย
.
......ความยากได้ เพราะท่านไม่เคยสร้างพระมาก่อน จนลืมตัวว่า ตัวเองเป็นสตรีเพศไม่สมควรเข้าใกล้หลวงปู่ นี่ขนาดจะเข้าไปแย่งเอากับมือท่านเลย นี่แหละครับกิเลส ความอยาก จนลืมตัว ว่าสิ่งที่ทำ ควรหรือ ไม่ควร
.
.......ไม่นาน ก็เกิดเสียงปืนดัง หลังศาลาไม้หลังเก่าหลายนัด ห่างกัน ทราบว่า สารวัตรทหารอากาศที่ไปร่วมงาน เอาพระกริ่งรุ่นแรกนี้ ไปทดลองยิงหลังศาลา พอเล็งไปที่พระ เหนี่ยวไก เป็น แชะ แชะ หันปากกระบอกขึ้นฟ้า โป้งทุกนัดสารวัตรฯ ชื่อเล่นว่า แขก ตัวดำ สูงใหญ่ ตาโต เดินออกมาเช่าหมด ในราคา องค์ละ ๕๐๐ บาท ขาดตัวไม่มีเกี่ยงงอน คงได้ไปหลายองค์อยู่
.....................

"ประวัติพระกริ่ง สุขกาโร ๒๕๓๔ " จากงานเขียนของคุณอนัตตา
.
๒ กรกฎาคม ๒๕๓๔เข้ากรุงเทพฯ ไปส่งพระคุณเจ้าหลวงปู่กูด วัดหนองหัวหมู กับเฮียตรีภพ และเลยไปโรงหล่อว่าจ้างจัดสร้างพระกริ่ง ตกลงจ้างเลย และให้ทำเลย หล่อเลย ๒ เนื้อ คือ เงิน และทองแดง ราคาทุน ทองแดง ๔๐.- เงิน ๑๙๐.-
.
๑๙ กรกฎาคม ๒๕๓๔ เข้ากรุงเทพฯ รับพระกริ่ง และถือโอกาสกราบขออนุญาตหลวงปู่อ่อนสาที่ท่านอยู่กรุงเทพฯ ที่บ้านคุณราตรี แจ่มกระจ่าง ท่านเมตตาอนุญาต และนำแผ่นทองคำแท้ ๓ แผ่น ถวายองค์ท่านเมตตาจาร เพื่อลงในองค์ทองคำ และนำไปโรงหล่อวันนั้นเลย หล่อนวะ ๙๙ องค์ ทองคำ ๙ องค์ ให้เรียบร้อย กว่าจะจบงานถึง ๔ ทุ่ม กลับอุดรฯ
.
จำนวนการสร้าง
ทองแดง ๕๕๕ องค์
นวะ ๙๙ " บรรจุเส้นเกศาทุกองค์
เงิน ๖๙ "
ทองคำ ๙ " บรรจุเส้นเกศา ๙ คณาจารย์ พระธาตุ ๙ คณาจารย์
พิมพ์เสีย ๓๕ " นำกลับมาด้วยและแจกให้เพื่อนๆ คนละ ๒ องค์
พระช่อ ๔๕ " ๙ ช่อ
.
น้อมถวายองค์ท่านเมื่อ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๓๔ โดยเฮียตรีภพ และพยานมากมาย นำออกมาเมื่อออกพรรษา ๒๔ ตุลาคม ๒๕๓๔ เพื่อตอกโค๊ดด้วย ขอท่าน ขอขมาท่านด้วย และถวายท่านอีกครั้งเมื่อ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
จากนั้นนำออกแจก เมื่อ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ "แจกฟรีๆๆๆๆๆ" งานกฐินฯปีนั้น..
**เนื้อทองคำ เป็นการสร้างด้วยจิตใจผู้สร้าง นอกจากชนวนทองคำหลวงปู่แล้ว ภายในบรรจุด้วยสิ่งมงคล๒ อย่าง คือ
.
๑/ เส้นเกศา ๙ คณาจารย์ มี หลวงตามหาบัว หลวงปู่ศรีจันทร์ หลวงปู่คำพัน หลวงปู่อ่อนสา หลวงปู่กูด หลวงปู่คำตัน หลวงพ่อพุธ หลวงปู่ขาว อนาลโย และสุดท้าย พระอาจารย์ทูล
๒/พระธาตุ ๙ คณาจรย์ มี ๔ องค์ไม่ทราบ อีก ๕ รูป มี หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่ขาว หลวงปู่เจิ่น พระอาจารย์จวน พระอจ.สิงห์ทอง
.
**เนื้อเงิน ผู้สร้างไม่เน้นความสำคัญจะมีค่า ก็เพียงคำว่าเนื้อเงินเท่านั้น ๖๙องค์ ให้โรงหล่อหล่อไว้รอเลย แต่ในที่สุดท่านผู้พิพากษาหัวหน้าศาลสมัยนั้น ท่านอยากให้เนื้อเงินมีคุณค่าเด่นในเนื้อหา จึงปรารถว่าอยากขอนำไปบรรจุพระธาตุ และเส้นเกศา โดยจะขอรับภาระเอง ทางผู้สร้างเห็นว่าเจตนาท่านดี จึงยินดีในส่วนนี้ด้วย
.
**เนื้อทองแดง จำนวน ๕๕๕ องค์ หมายเลข๑-๒๐๐ ผู้สร้างขอไว้แจกในกลุ่ม หมายเลข ๒๐๑ - ๕๕๕ ถวายองค์ท่านแจกดังที่กล่าวไว้แล้ว...
.
****มีนำเข้าพิธีสวดมงคลคาถา เมื่อ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๓๔ ที่ว้ดป่าหนองหัวหมู อุดรฯ และถวายองค์หลวงปู่กูด เมตตาอธิฐานจิต ด้วย ๑ คืน ทุกเนื้อ...

.
**ใน ๔ เนื้อ ของพระกริ่งสุขกาโร สุดยอดเลยคือเนื้อ นวโลหะ เพราะผสมชนวนที่ผม เก็บมาจากที่ไปกราบ ครูบาอาจารย์ นับ แต่ปี ๒๕๒๑ เป็นต้นมา จนปีที่สร้างพระกริ่งก็เลย ถือโอกาสสละออก รวม ๕๙ แผ่น ๓๙ คณาจารย์
เนื้อหาดี ภายในบรรจุเกศา หลวงปู่ด้วย ทุกองค์**



(https://sv1.picz.in.th/images/2020/05/28/qcQ63g.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2020/05/28/qcQCen.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2020/05/28/qcQnbW.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2020/05/28/qcQra2.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2020/05/28/qcQH41.jpg)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ มิถุนายน 17, 2020, 03:18:21 PM
ล้อแม็กใหญ่ เนื้อนวโลหะ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพ

(https://palungjit.org/attachments/ef56d936b1726db04b2aa9c80d4f3169-jpg.5331186/)

(https://palungjit.org/attachments/701e91b4a5ca83fa16ff01c2eb1d9584-jpg.5331187/)

(https://palungjit.org/attachments/546d1f07d41b4cbf3a10d22633d08e31-jpg.5331188/)

(https://palungjit.org/attachments/399453c1f8df32fde0461f12859492c0-jpg.5331189/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ มิถุนายน 23, 2020, 04:25:51 PM
พระกริ่งพระธาตุเมืองพลเนื้อเงิน วัดจันทรัตนาราม รุ่นสร้างพระธาตุเมืองพล จังหวัดขอนแก่น

ถือเป็นพระกริ่งรุ่นแรกของหลวงพ่อผาง จิตฺตคุตฺโต
และหลวงพ่อผางเมตตาจารใต้ฐานพระกริ่งเนื้อเงินทุกองค์
หายากมากๆ ผ่านมาเป็นสิบปีเห็นเนื้อเงินอยู่ ๒ องค์
องค์แรกอยู่กับผม องค์ที่สองเห็นโพสโชว์อยู่เฟส หลวงพ่อผาง


สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ออกที่วัดพระธาตุเมืองพล
หลวงพ่อผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคิรีเขต จังหวัดขอนแก่น
อุปถัมถ์ให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือหาทุนในการก่อสร้าง
เสนาสนะของวัดพระธาตุเมืองพลนี้

พิธีร่วมบุญสมโภช ๙ วัน ๙ คืน พระคณาจารย์พุทธาภิเษก
๑.หลวงพ่อผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคิรีเขต จังหวัดขอนแก่น
๒.หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู
๓.หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์
๔.หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร
๕.หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จังหวัดเลย
๖.หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาปิ้ง จังหวัดเลย
๗.หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง จังหวัดร้อยเอ็ด
๘.หลวงปู่แจ้ง ฉินฺมนฺโท วัดโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
๙.หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ จังหวัดนครราชสีมา


(https://palungjit.org/attachments/dc8455eb0e7caae47fa01e5119a82f76-jpg.5337376/)

(https://palungjit.org/attachments/b0d81457fc471f826365e6da4b5082ed-jpg.5337377/)

(https://palungjit.org/attachments/eb7b4faf348f925d2cb1b8515398a4cd-jpg.5337378/)

(https://palungjit.org/attachments/92536374d2403338f1f77181b94677c0-jpg.5337379/)

(https://palungjit.org/attachments/9ce5feb4f0b57268c292bc79d1dcc008-jpg.5358356/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ มิถุนายน 25, 2020, 08:40:48 AM
พระกริ่งลอยน้ำเนื้อนวโลหะ หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร วัดป่าประชาชุมพลพัฒนาราม อุดรธานี
(องค์นี้ลอยน้ำจริงๆ ทำบุญกับท่านอาจารย์นก เริงลม)


โพสต์โดยท่านอาจารย์ นก เริงลม

พระกริ่งรุ่นลูกเขยผู้ว่าฯ หรือ กริ่งลอยน้ำ

…หลังจากพระกริ่งรุ่นสอง หรือ กริ่งสมปรารถนา ได้หมดไปอย่างรวดเร็ว

และเป็นที่เสาะแสวงของศิษย์ที่ส่วนมาก รับราชการ เพราะประสบความสำเร็จ

เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานแล้ว ก็มีนายอำเภอหลายๆ ท่าน มาขอพระกริ่งรุ่นสอง

ที่ท่านหัวหน้าสิทธิชัย ศาลจังหวัดอุดรธานี สร้างถวาย ไม่ขาดสาย

หลวงปู่ท่านก็ได้แต่ยิ้ม เพราะหมดไปจากวัดตั้งนานแล้วครับ

ของแจก แจกเท่าใด ก็ไม่พอ ขอเผื่อลูกที่บ้าน ขอเผื่อลูกที่อยู่ในท้อง

เอาว่า ท่านแจกจนหายอยากได้เลยก็แล้วกัน

ผมและเพื่อน คือ คุณศุภกร หอมระรื่น จึงชวนกันสร้างพระกริ่งเป็นรุ่นที่สาม

เพื่อถวายหลวงปู่ ท่านก็เมตตาจารแผ่นทองแดงให้หลายแผ่นพอสมควร
ประกอบกับที่บ้าน ก็มีแผ่นยันต์ของสายพระป่า จำนวนไม่น้อย ได้โอกาสล้างสต๊อก
เลยยกมาให้หลวงปู่เมตตาอีกครั้ง ผสมด้วยพระชินราชอินโดจีนอีก ๘-๙ องค์เป็นชนวน

หลวงปู่บอกว่า มึงเอาให้คักใจมึงโลด ถ่าเบิ่ง กูกะซิเอาคักใจ กูคือกัน

( มึงเอาให้สมใจอยากมึงเลย คอยดู กูก้จะเอาให้สมใจอยากกู เหมือนกัน )

จึงตั้งชื่อรุ่นนี้ว่า มหาสมปรารถนา ( สมปรารถนาที่ยิ่งใหญ่ )

ที่เรียกว่า รุ่นลูกเขยผู้ว่าฯ เพราะมีลูกเขยผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ในยุคนั้น

ขับรถเบนซ์ แหกโค้งที่อำเภอกุดจับ รถพุ่งออกนอกเส้นทางตรงทางโค้ง

เนื่องจากไม่ชำนาญทาง และ ฝนตก กระแทกเอากับต้นยางใหญ่

สภาพรถราคาเรือนล้าน เหลือไม่ถึงแสน ส่วนคนขับคือลูกเขยผู้ว่า ฯ

แค่หัวโนเล็กน้อย ไม่มีแตกหัก หรือ ที่เรียกว่า แมลงวันไม่ได้กินเลือดเลยแม้แต่น้อย

ข่าวทราบถึงกลุ่มลูกศิษย์ ต่างมาขอบูชากันจนหมดในเวลาไม่กี่วัน

ผมก็บูชาเอาไว้เหมือนกัน

พระที่ผมสร้างถวายท่าน มีจำนวนแน่นอน เมื่อต้องการเป็นของส่วนตัว

ผมก็ต้องทำบุญเป็นเงินเท่ากับคนอื่นๆ เพื่อให้ได้ยอดเงินตามจำนวนพระที่สร้าง

ทำเป็นกองผ้าป่าไปถวายหลวงปู่ได้เงิน สองแสนห้าหมื่น และ ถวายหลวงปู่เพื่อใช้

รักษาตัว และ จัดงานวันเกิดอีกหนึ่งแสนครับ

ผมเก็บพระชุดนี้ไว้สองกล่อง ในห้องทำงานที่บ้านอำเภอหนองหาน

เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๔ เวลา ๐๘.๓๐ น เกิดน้ำท่วมฉับพลันที่อำเภอหนองหาน

รถยนต์ปาเจโร่ที่ผมใช้ และ จอดในบ้าน น้ำท่วมถึงพวงมาลัย

ตกเย็น น้ำยังไม่ยอมลด

มีเพื่อนบ้านที่มาขออาศัยหลบน้ำที่บ้าน คือ ครอบครัวร้านอาหารครัวกานดา

นายบอลลูกชายร้านตัดผม รีเล๊ค นายสุวิทย์ พนารัตน์ ต่างมองเห็นฝูงปลาลูกครอก

ลอยวนในบ้านของผมตรงใกล้ๆ บันไดขึ้นชั้นสองของบ้านผม

ผมมองดูฝูงปลาลูกครอกอยู่อย่างใจจดใจจ่อ มันไม่ใช่ปลา

มันเป็นพระกริ่งรุ่นมหาสมปรารถนา จำนวนสองร้อยองค์ที่ผมเก็บไว้ในห้องทำงาน

ลอยวนเหมือนฝูงปลา เนื่องจากเป็นเนื้อทองแดง ผสมน้ำโคลน มองดูเหมือนลูกปลาช่อน

ผมเลยเอาฝาละมี พลาสติก ช้อนขึ้นมาต่อหน้า บุคคลต่างๆ ที่ผมได้ระบุนามไว้

ยายเอื้อย คุณแม่ร้านครัวกานดา บอกว่า พระเป็นเหล็ก คือ ลอยน้ำได้หรือคุณ ?
ผมบอกว่า ใครอยากได้ ก็เก็บเอาจากน้ำเลย หลวงปู่เมตตาให้แล้ว ไม่ตายแล้ว

ต่างคน ต่างเก็บเอาคนละองค์ สององค์ ไว้บูชา

จึงเป็นที่มาของคำว่า กริ่งลอยน้ำ ครับ

ลองไปถามคนที่ผมกล่าวนามข้างต้นดูว่า ขอบูชาเขาองค์ละหมื่น เขาจะปล่อยไหมครับ?

คำตอบ คือ ยิ้ม และ เดินหนี พร้อมยกพระกริ่งรุ่นนี้ขึ้นจรดศีรษะ

เกิดมากว่า ๕๕ ฝนแล้ว ไม่เคยเห็นเหล็กลอยน้ำครับ

ส่วนเรื่องพุทธคุณ ผมขอเว้นนะครับ เพราะเดี๋ยวจะหาว่า ผมโปรโมทพระที่ผมสร้าง

แต่รับรองได้ว่า คุณจะจำจนวันตายก็แล้วกัน ชัวร์ ไม่มั่วนิ่ม

และ ที่ผมเก็บไว้ ก็แจกอย่างเดียวครับ ไม่เคยคิดขายพ่อแม่ครูจารย์ซักที



(https://palungjit.org/attachments/7b96a7ee4662a59e77f89330dda0497c-jpg.5338727/)

(https://palungjit.org/attachments/f43cc466adc4c8a08739f35c9de8d866-jpg.5338728/)

(https://palungjit.org/attachments/26de76e41583288e17be930138fe9914-jpg.5338729/)

(https://palungjit.org/attachments/a724a633b85fea85c534eae64d1e41b7-jpg.5338730/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ กรกฎาคม 01, 2020, 09:55:49 AM
พระพุทธชินราชอินโดจีน๒๔๘๕ หน้านาง สังฆาฏิสั้น โค๊ดนูน

(https://palungjit.org/attachments/bd63201dd4e0a07d1918c72d4b6fecba-jpg.5344501/)

(https://palungjit.org/attachments/eb1785743b31971250e2733a7ba90212-jpg.5344502/)

(https://palungjit.org/attachments/76119cc53d12d7983f8ebdfe7098b3c1-jpg.5344503/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ กรกฎาคม 15, 2020, 02:35:10 PM
 เหรียญหล่อหลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลังเสมา ปีพ.ศ.๒๕๑๗ เนื้อนวโลหะ

มีการตอกโค๊ดเอาไว้ ๓ แห่ง คือที่ตรงกลางด้านหลังเป็นตรา “ธรรมจักร” ข้างหลังด้านล่างตอก เลข “๑๗”
และที่ใต้ฐานตอกตราเจดีย์ จัดทำเป็นเนื้อนวโลหะ จำนวนการสร้าง ๕,๐๐๐ องค์

ชนวนมวลสารที่นำมาเทหล่อประกอบด้วย

๑. ตะกรุดเก่าน้ำหนักหลายกิโลกรัม ที่มีนักสะสมพระเครื่องได้นำไปถวายให้หลวงปู่แหวน เพื่อปลุกเสกหลายครั้ง

๒. ก้านทองชนวนพระกริ่ง และพระชัยวัฒน์อรหัง ที่สร้างในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๑๗

๓. ก้านทองชนวนพระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา วัดจักรวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม)

๔. แผ่นทองแดง ๑๐๘ แผ่น ลงยันต์ ๑๐๘ ตามตำรับการสร้างพระกริ่งในสมัยโบราณ

๕. แผ่นเงิน ๑๔ แผ่น ลงยันต์ “นะปถมัง”

๖. แผ่นโลหะพิเศษ ๓ แผ่นทอง นาก และเงิน ที่หลวงปู่แหวนท่านได้เมตตาลงอักขระเอาไว้

ในการหล่อได้ประกอบพิธีสุมทองโลหะต่างๆ ที่วัดดอยแม่ปั๋ง
ไม่ได้ใช้กรรมวิธีหล่อสร้างแบบสมัยใหม่
โดยคืนวันสุมทองคือวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๑๗ หลวงปู่แหวนได้นั่งอธิษฐานจิตปลุกเสก
แผ่นโลหะและเนื้อผงโลหะทั้งปวงที่จะนำมาใช้ในการหล่อครั้งนี้ โดยโยงสายสิญจน์
จากกุฏิหลวงปู่แหวนไปยังศาลาการเปรียญไปวงรอบชนวนโลหะทั้งหลาย
และโยงไปยังรอบมณฑลพิธีที่กำลังสุมทองอีกบริเวณหนึ่งด้วย

สำหรับฤกษ์เททองนั้น คือเวลา ๑๑.๑๙ น. ของวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๑๗
ซึ่งตรงกับวันพุธขึ้น ๔ ค่ำเดือน ๕ ปีขาล
อันถือเป็นเทวีฤกษ์ ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของดวงจันทร์
ซึ่งจะบันดาลส่งผลดีเด่นถึง ๓ ทาง
คือมีเมตตามหานิยมอย่างสูง
ปกปักษ์รักษาและอุปถัมภ์ค้ำชูโดยเทพชั้นสูง
ส่วนใครคิดร้ายเป็นศัตรูจะถึงกาลพินาศไปเอง

ในขณะที่มีการเททองนั้น หลวงปู่ได้เมตตานั่งอธิษฐานจิต
เพื่อประจุพลังความศักดิ์สิทธิ์จากกุฏิท่านส่งไปยังบริเวณพิธี โดยผ่านสายสิญจน์ตลอดเวลา

เมื่อถึงเวลาได้ฤกษ์ พระครูสันติวรญาณ หรือหลวงปู่สิม พุทธาจาโร
วัดถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
ศิษย์สำคัญของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นผู้จุดเทียนชัยและเททองแทนหลวงปู่แหวน
เพราะ หลวงปู่แหวนท่านไม่ยอมเททองหล่อรูปตัวท่านเอง จึงให้หลวงปู่สิมรับเททองแทน

ในขณะเดียวกันพระสงฆ์ ซึ่งนำโดยพระอาจารย์หนู สุจิตโต เจ้าอาวาสวัดดอยแม่ปั๋ง
พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ รองเจ้าอาวาส ก็สวดชยันโตและสวดธรรมจักรกัปวัตนสูตร
เสร็จแล้วหลวงปู่สิมก็ได้ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ตามเบ้าหุ่นมงคลวัตถุทั้งหมด
จากนั้นก็ขนกลับกรุงเทพฯ เพื่อตกแต่งที่โรงงานบ้านนายช่างใกล้วัดบ้านเสาธง

นับว่าการหล่อสร้างรูปเหมือนหลวงปู่แหวนขนาดเล็กรุ่นนี้
ได้ประกอบพิธีกรรมอย่างเต็มฉบับ สมบูรณ์แบบครบถ้วนทั้งพิธีพุทธและพิธีพราหมณ์

เมื่อช่างได้ตกแต่งองค์พระเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ได้เจาะรูใต้ฐานบรรจุของวิเศษ ๓ สิ่งไว้คือ
๑. ผงไตรมาสของเจ้าคุณนรรัตน์ฯ ซึ่งท่านได้ปลุกเสกให้ในพรรษาปี ๒๕๑๑
๒. ผงไตรมาสของหลวงปู่แหวน ซึ่งปลุกเสกในพรรษาปี ๒๕๑๖
๓.เส้นเกศาของหลวงปู่แหวน

เมื่อบรรจุเสร็จแล้ว จึงได้นำเอาไปถวายหลวงปู่สิม พุทธจาโร
เพื่อทำการปลุกเสกพร้อมกันกับเหรียญหลวงปู่สิม รุ่นเมตตา ๑ ไตรมาส
แล้วจึงนำกลับมายังวัดดอยแม่ปั๋งเพื่อให้หลวงปู่แหวนอธิษฐานจิตอีกครั้งหนึ่ง


(https://palungjit.org/attachments/8e341196679bd495feaaf8cf9ad13ff1-jpg.5359608/)

(https://palungjit.org/attachments/77a947e3f137bc10ecca30a1909e43e1-jpg.5359613/)

(https://palungjit.org/attachments/d0e45544ed3cbbc716501e7d07db33de-jpg.5359617/)

(https://palungjit.org/attachments/eecbb8abd01c7306a36ebacc4f476d31-jpg.5359621/)

(https://palungjit.org/attachments/7bc73fc6b231aa81509e88822f4d93f4-jpg.5359624/)

(https://palungjit.org/attachments/afdbefe652b6f26e4d14d52ad174c4cd-jpg.5359629/)

(https://palungjit.org/attachments/88363cb46b425b8cd259ed1499eace7b-jpg.5359632/)

(https://palungjit.org/attachments/8dc0769bca0a15bca017a2d9410b5dc8-jpg.5359636/)

(https://palungjit.org/attachments/edee4326277a06c5f711a9a515bcbae4-jpg.5359641/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ สิงหาคม 28, 2020, 04:19:24 PM
พระนาคปรกเจ็ดเศียร พิมพ์เล็ก เจ้าคุณนร วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร
เนื้อทองคำ น้ำหนัก ๔.๒ กรัม(หนักสลึงกว่าๆ หนึ่งสลึงหนัก ๓.๘ กรัม)
อธิษฐานจิตวันเสาร์๕(เพศเมีย จะเด่นทางโชคลาภ เมตตา มหาเสน่ห์) แรม ๕ ค่ำ เดือน ๕
วันเสาร์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๓


เจ้าคุณนร เป็นพระภิกษุองค์เดียวที่นอกสาย และหลวงตามหาบัวติดรูปท่านไว้ที่สวนแสงธรรม

ท่านอาจารย์พระมหาบัวเล่าว่าวันนั้นท่านตั้งใจจะไปสนทนากับท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ(ท่านเพียงแต่คิดไว้ในใจ)
ขณะที่อยู่ในโบสถ์ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯได้หันมายิ้มกับท่านด้วยพอเสร็จจากทำวัตรลูกศิษย์ลูกหา
ก็มากราบท่านกันมากมายครั้นพอเสร็จธุระแล้วเวลาก็ล่วงไป๓ทุ่มเศษท่านก็ทราบว่า
ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯไม่รับแขกที่กุฏิและเวลาก็ดึกแล้วจึงไม่กล้าที่จะไปรบกวนท่าน

วันรุ่งขึ้นท่านอาจารย์พระมหาบัวก็กลับอุดรฯโดยไม่ได้พบกับท่านเจ้าคุณนรรัตนฯแต่ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ
ได้ถามพระที่ท่านอาจารย์พระมหาบัวไปพักอาศัยอยู่ด้วยว่า

“ไหนว่าท่านมหาบัวจะมาสนทนากับผม ... ผมรอท่านตั้งนานไม่เห็นมา”
ท่านอาจารย์พระมหาบัวได้กล่าวว่า

“ใครจะมารู้วาระจิตของเราได้ ... นอกจากจะต้องเป็นผู้มีภูมิธรรมปัญญาธรรมเสมอกับเรา”

ท่านพระอาจารย์อินทร์ถวายสันตุสสโกแห่งวัดป่านาคำน้อยเคยพูดว่าหลวงตามหาบัวได้พูดถึงท่านเจ้าคุณนรรัตนฯว่า
“ท่านเป็นพระอรหันต์กลางกรุงฯและเป็นพระที่สันโดษมาก”

นี่เป็นข้อพิสูจน์ว่าธรรมแท้ไม่เลือกสถานที่ถ้าเป็นคนจริง...ถึงอยู่กลางกรุงก็ปฏิบัติได้


(https://palungjit.org/attachments/6a6c1221fd1bebbc30d7cf9b99c89d4b-jpg.5407569/)

(https://palungjit.org/attachments/23aad548d1d199c836acb42511eb41e6-jpg.5407570/)

(https://palungjit.org/attachments/a78962840ae3c9e220f079af1bfb82c5-jpg.5407571/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ กันยายน 08, 2020, 09:02:42 AM
๑ใน๒๐องค์ พระนาคปรก๕เศียรพิมพ์เล็กเนื้อทองคำแจกกรรมการ เจ้าคุณนร วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานครอธิษฐานจิต๒๕ เมษายน ๒๕๑๓

พระนาคปรก๕เศียร มีแต่พิมพ์เล็ก มีเนื้อนวโลหะ๑๐๐องค์ เนื้อเงิน๒๐องค์ เนื้อทองคำ๒๐องค์ อยู่กับผู้ร่วมทุนสร้างและกรรมการ ไม่มีการให้ทำบุญ

ในการสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างวัด โรงเรียน นำเรื่องมาขอความเมตตาจากท่านเจ้าคุณนร ท่านเจ้าคุณนร มีเมตตาอนุญาตให้จัดทำได้


(https://palungjit.org/attachments/ef61383f735209ca668d43a3ab3a17bd-jpg.5418729/)

(https://palungjit.org/attachments/d6a57e66932cf17db9019781f8209a6e-jpg.5418730/)

(https://palungjit.org/attachments/2aecd7abbcc351b3c3a5595200b8c469-jpg.5418731/)

(https://palungjit.org/attachments/e84b7a97c3845992cc8a537ec8ba0fee-jpg.5418732/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ ตุลาคม 05, 2020, 11:46:22 AM
พระปิดตาเขาคิชฌกูฏ
หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม
 

"องค์ท่านบอกว่าพระปิดตาชุดนี้ใครได้ไว้บูชา จะไม่มีวันอดอยากปากแห้ง จะมีแต่ความอุดมสมบูรณ์พูนสุขเป็นเบื้องหน้า"

ผู้เขียน - อำพล เจน
--------------------------------
นอกเหนือจากปฐวีธาตุของหลวงปู่คำพันธ์ เห็นจะมีพระปิดตาพระปิดตาเขาคิชฌกูฏอีกหนึ่ง ที่ควรเห็นความสำคัญเป็นพิเศษ
การถือกำเนิดพระปิดตาเขาคิชฌกูฏของหลวงปู่คำพันธ์ มีเรื่องที่น่าสนใจควรแก่การบันทึกเอาไว้

หลวงปู่เคยไปอินเดียหลายครั้ง(ราวๆ ๓ ครั้ง) ครั้งหนึ่งมีเหตุการณ์อัศจรรย์เกิดขึ้นที่เขาคิชฌกูฎ ตรงบริเวณตีนเขาซึ่งเป็นสถานที่ซึ่งพระเทวทัตกลิ้งหินลงมาทำร้ายพระพุทธองค์
จนเป็นเหตุให้ข้อพระบาทของพระองค์ห้อเลือด

ลักษณะของภูมิประเทศแห่งสถานที่นั้นในปัจจุบัน เขากั้นรั้วรอบขอบชิด ห้ามมิให้ผู้ใดล้ำเข้าไป
มีป้ายห้ามและบอกประวัติแสดงความสำคัญของสถานที่ปักไว้อย่างชัดเจน
มีชะง่อนหินใหญ่คล้ายเพิงพักซึ่งพระพุทธองค์ทรงประทับนั่งอยู่ภายใต้
และชะง่อนหินนี้เองที่รับการปะทะจากก้อนหินใหญ่ที่พระเทวทัตกลิ้งลงใส่พระพุทธองค์

ความสำคัญของสถานที่นี้อีกประการหนึ่ง คือเป็นที่ซึ่งพระพุทธองค์ทรงพักเสวยพระกระยาหารหลังเสด็จกลับจากบิณฑบาต
เศษพระกระยาหารทรงเททิ้งไว้และพระอานนท์ล้างบาตรถวายพระองค์ตรงนี้

หลวงปู่คำพันธ์ตั้งใจมุ่งมาที่นี่ ด้วยองค์ท่านมีนิมิตมาก่อนว่าเขาจะถวายดินให้

"เขา"เป็นผู้ใด ผมไม่ทราบ องค์ท่านเอ่ยแค่คำว่าเขา

ในการเดินทางไปที่นั่นครั้งนั้น พระสังฆราชของประเทศเนปาลเป็นผู้นำทางไปด้วยตัวของพระองค์เอง
พระสังฆราชรูปนี้มีความเคารพในองค์หลวงปู่เป็นอย่างยิ่ง

แต่เรื่องนิมิตที่เขาบอกว่าจะถวายดินนั้น หลวงปู่ไม่กล้าเอ่ยปาก ด้วยเห็นว่าเป็นสถานที่หวงห้ามอย่างเด็ดขาด จะถือสิทธิพิเศษอย่างไรจึงเหมาะควร
บังเอิญขณะนั้นเกิดเหตุร้ายขึ้นอย่างกระทันหัน

มีช้างเชือกหนึ่งเกิดอาการตกมัน อาละวาดทำร้ายผู้คน เป็นเหตุให้มีคนตาย ๑ คน บาดเจ็บอีกไม่น้อยกว่า ๖ คน
ช้างเชือกนั้นเตลิดอย่างไร้ทิศทางแล้วพุ่งตรงมาทางหลวงปู่กับคณะสงฆ์เนปาล
พระสังฆราชเนปาลเองถึงกับขยับตัวเผ่นหนี

หลวงปู่ยืนนิ่ง มองไปที่ช้างซึ่งกำลังทะยานเข้าใส่
แปลกที่ช้างตกมันเชือกนั้นกลับหยุดกึก สงบเสงี่ยมลงอย่างน่าประหลาด หยุดยืนเซื่องซึมอยู่เบื้องหน้าหลวงปู่ ห่างออกไปแค่ประมาณ ๕ เมตรเท่านั้น
อย่าว่าแต่ชาวบ้านหรือคณะสงฆ์เลย กระทั่งมหาฮงผู้ติดตามหลวงปู่มาจากวัดธาตุมหาชัย ยังนึกในใจว่าคราวนี้หลวงปู่ไม่รอดแน่
นี่ช่างเป็นเหตุการณ์ที่ใครก็ไม่คาดฝันว่าจะได้เห็น
มันอุบัติขึ้นแล้วสงบลงต่อหน้าต่อตา

ด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน แล้วสงบลงอย่างปุบฉับพลันชวนอัศจรรย์นี้
เป็นเหตุให้พระสังฆราชเนปาลก้มกราบเท้าหลวงปู่อย่างเลื่อมใสศรัทธา โดยไม่มีใดเคลือบแคลงสงสัย
เป็นภาพที่ใครเห็นแล้วอดตื้นตันประทับใจไม่ได้

อาศัยเหตุอันนี้ หลวงปู่จึงเล่านิมิตให้พระสังฆราชเนปาลฟัง
เมื่อฟังเป็นที่เข้าใจแล้ว พระสังฆราชเนปาลถือสิทธิพิเศษที่พระองค์มี เดินนำหน้าหลวงปู่ล่วงเข้าไปในสถานที่หวงห้ามนั้น

จนถึงบริเวณที่พระพุทธองค์ทรงประทับนั่งเสวยพระกระยาหาร
หลวงปู่กำเอาดินบริเณนั้นขึ้นมา ๑ กำมือ ใส่ถุงส่งให้มหาฮงถือกลับมาเมืองไทย

ดินกำมือเดียวนี้หลวงปู่บัญชาให้ทำพระปิดตาขึ้นมาชุดหนึ่ง ได้จำนวนร้อยกว่าองค์
องค์ท่านบอกว่าพระปิดตาชุดนี้ ใครได้ไว้บูชา จะไม่มีวันอดอยากปากแห้ง จะมีแต่ความอุดมสมบูรณ์พูนสุขเป็นเบื้องหน้า
นี่คือพระดีที่ต้องบันทึกไว้เพื่อไม่ให้สูญหาย 

 

(https://palungjit.org/attachments/5108dc59a496ad69d647094f13fae735-jpg.5447779/)

(https://palungjit.org/attachments/1965c87a7f645e54602a2c266672a979-jpg.5447780/)

(https://palungjit.org/attachments/3483dc07befca4dc3d1d5049acbd1295-jpg.5447781/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ มีนาคม 06, 2021, 09:18:35 AM
พระกริ่งหินหยก หลวงปู่ฟัก สันติธัมโมเจ้าอาวาสวัดพิชัยพัฒนาราม (เขาน้อยสามผาน)
ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี


เป็นพิมพ์หายาก สร้างน้อย พุทธคุณพระหินหยกดีทางร่มเย็น แคล้วคลาดปลอดภัย
ที่สำคัญสุดอาราธนาทำน้ำมนต์รักษาโรคภัยไข้เจ็บสามารถบรรเทาได้ ถ้ายึดมั่นใน
พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณอย่างแน่วแน่ ยกเว้นโรคเวรโรคกรรมอาจจะบรรเทาแต่ไม่หายขาด

ขณะที่ใครได้พระบูชาห้อยคอ ท่านจะสั่งให้ สวดภาวนาคาถาท่านพ่อลี
"อะระหัง พุทโธ อิติปิโสภะคะวา นะมามิหัง"
เป็นพุทธคุณควบคู่กันไปด้วย โดยท่านกล่าวไว้ว่า
คาถานี้ท่านพ่อลีย่นย่อพระธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์เหลือเพียงสั้นๆ ไว้


(https://palungjit.org/attachments/1-png.5594644/)

(https://palungjit.org/attachments/2-png.5594645/)

(https://palungjit.org/attachments/3-png.5594646/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ มีนาคม 16, 2021, 01:49:14 PM
พระกริ่งโฆษปัญโญ ปี ๒๕๓๔ หมายเลข ๑๙๖๓
หลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ วัดธาตุมหาชัย


พระธาตุพนม มีผู้พบดวงพระบรมธาตุลอยออกจากพระธาตุแล้ววนกลับเข้าในตัวพระธาตุเสมอๆ โดยดวงพระบรมธาตุจะลอยออกจากผอบ และผอูบ จึงทำให้ผอูบนี้ได้รับพุทธานุภาพของพระบรมธาตุสถิตทุกอณู จึงทำให้เป็นมวลสารที่สำคัญและทรงคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง 

จัดสร้างโดยคณะสงฆ์ จังหวัดนครพนมโดยมีเจ้าคณะจังหวัดนครพนม เป็นประธานในการจัดสร้าง
และหลวงปู่คำพันธ์ เป็นประธานพิธีเททองหล่อด้วยตัวท่านเอง ณ หน้าพระอุโบสถวัดธาตุมหาชัย พระกริ่งโฆษปัญโญ
ปี ๒๕๓๔ ทำพิธีมหาพุทธภิเษกในพระอุโบสถวัดธาตุมหาชัย
มีมวลสารในการจัดสร้างอันประกอบไปด้วย
๑. แร่ธาตุศักดิ์ศิทธิ์ ทั้ง ๙ ตามตำหรับโบราณ มี ชิน เจ้าน้ำเงิน เหล็กสะลายตัว ตะกั่ว ปรอทสตุ สังกะสี ทองแดง เงิน และทองคำ
๒. แผ่นจารอักขระจากคณาจารย์ต่างๆ จากภาคอีสาน แล้วลงพระยันต์ ๑๐๘ ยันต์
๓. แผ่นจารอักขระ นะปัทมัง ๑๔ นะ
๔. ยอดโลหะธาตุขององค์พระธาตุพนมองค์เดิม ที่สร้างประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๒๓
๕. ผอูบทองสำริดโบราณ ที่ใช้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่กรมศิลปากร ขุดค้นและบูรณะองค์พระธาตุพนมองค์เดิม  ที่ชำรุดฉีกขาดหลุดเป็นแผ่นๆและได้มอบไว้ให้กับ ทางเจ้าคณะจังหวัด เพื่อนำมาผสมหล่อหลอมพระกริ่งโฆษปัญโญ
ผอูบสำริด สร้างจากทองสำริด หนักประมาณ ๑,๓๐๐ กิโลกรัม เพื่อใช้เป็นที่บรรจุผอบพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อ พ.ศ.๒๒๓๓-๒๒๓๕ โดย เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก แห่งนครเวียงจันทร์ ได้มาบูรณะองค์พระธาตุพนม และให้ช่างได้หล่อผอูบสำริดขึ้นเพื่อปรับปรุงที่ประดิษฐาน บรรจุพระอุรังคธาตุใหม่ มีความสูง ๑.๖๐ เมตร ลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด ๑.๑๘ เมตร หนา ๒ เซนติเมตร ครอบเจดีย์ศิลา อันเป็นที่บรรจุบุษกและผอบพระอุรังคธาตุไว้อย่างหนาแน่น และมีการจารึกว่า “พระธาตุปะนม” หลังจากนั้น วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘ เวลา ๑๙.๓๘ นาที พระธาตุพนมได้พังทลายลง จึงได้พบผอูบสำริดนี้ในสภาพที่ชำรุด พร้อมด้วยผอบที่บรรจุพระอุรังคธาตุในสภาพที่สมบูรณ์


(https://palungjit.org/attachments/e5aebdad83189611b19f6c936c7804ba-png.5604575/)

(https://palungjit.org/attachments/9c85c06625dc3481d03e56648af1d9bb-png.5604576/)

(https://palungjit.org/attachments/b364321ec95dd60682d0ed9bfbaa93e3-png.5604577/)

(https://palungjit.org/attachments/5f7b3383f1ea7a2ee4ee8adef148026d-jpg.5604578/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ มีนาคม 18, 2021, 02:51:08 PM
พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่นิยม
หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี


(https://palungjit.org/attachments/df75d38c442c2d46b0eb71d71ea3c5ee-png.5606667/)

(https://palungjit.org/attachments/54d12e146ef42d0a0cf74346b388bfdb-png.5606668/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ พฤษภาคม 20, 2021, 09:10:11 AM
พระพุทธไม้แกะปางประทานพร หลวงปู่ขริก วัดสาวชะโงก จ.ฉะเชิงเทรา

สร้างจากไม้แก่นต้นชัยพฤกษ์ (ไม้แก่นต้นคูน) ยืนตายพราย

พุทธคุณของพระหลวงพ่อขริกโดดเด่นไปทางอยู่ยงคงกระพันมหาอุด กันเขี้ยวงา อีกทั้งยังดีทางเสริมสร้างเมตตามหานิยมทำมาค้าขายอีกด้วย

นอกเหนือจากนี้คนในสมัยเก่าที่บูชาพระของท่านมักนิยมเอาพระไปฝนกับน้ำซาวข้าวเพื่อใช้ถอนพิษไข้ได้เป็นอย่างดีจนเป็นที่เลื่องลือมาจนถึงปัจจุบัน


(https://palungjit.org/attachments/piyo38-jpg.5662613/)

(https://palungjit.org/attachments/12be81fd956f1c166e1004bc9840f89a-jpg.5662614/)

(https://palungjit.org/attachments/3314257e2020206ebed67ae6faf9e586-jpg.5662615/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ มิถุนายน 07, 2021, 11:07:10 AM
พระรอดลำปางหลวง

"คัดลอกมาจาก หนังสือลานโพธิ์ ฉบับ ๘๖๕ ต.ค. ๔๕ คอลัมน์พระรอดลำปางหลวง โดย สืบไม่แสบ"

ในช่วงสงครามอินโดจีนต่อกับสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในปี ๒๔๘๔-๒๔๘๘
วัดพระธาตุลำปางหลวง ต.ลำปางหลวง อ.เกาะคา จะ.ลำปาง
โดยการนำของอดีตเจ้าอาวาสพระครูประสาทศรัทธา ได้ทำการจัดสร้างพระรอดลำปางหลวง
โดยจัดพิธีปลุกเสกหมู่ ณ วิหารหลวงพระเจ้าล้านทอง ในคืนวันเพ็ญเดือน ๑๒
พอเสร็จพิธีได้นำพระแจกจ่ายแก่ทหารที่เข้าร่วมรบในสงครามครั้งนั้น

พระรอดลำปางหลวง ถอดแบบจำลองมาจากพระแก้วมรกตจำลอง
ที่ประดิษฐานที่วิหารพระแก้วมรกต วัดพระธาตุลำปางหลวง

พระรอดลำปางหลวงนั้นเป็นการสร้างแบบหล่อโบราณ
โดยมีเนื้อโลหะที่ใช้ได้แก่ ขันโตก ทองเหลือง ทองแดง เงิน ทองคำ โลหะสำริดเก่า
ปลายหอกโบราณ ดาบโบราณ พระบูชาที่ชำรุด และทองจั๋งโก๋ที่หุ้มพระธาตุหลวงที่ชำรุด
(ทองจั๋งโก๋ เป็นสำริดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นสูตรผสมโลหะโดยเฉพาะของล้านนาโบราณ
จะออกสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลไหม้)

พระรอดลำปางหลวง จะมีเนื้อหาออกสีน้ำตาลเข้มเป็นส่วนใหญ่
ตามพื้นผิวบางแห่งปรากฏคราบสนิมหยก สนิมเขียวแดง
เนื้อพระเป็นลักษณะของโลหะหมดยางหลอมไม่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน
รูปทรงเป็นสามเหลี่ยมปลายมนเกือบกลม

บางองค์ตัดขอบ ส่วนมากจะมีปีกกว้าง เต็มทั้งสองข้างบ้าง ไม่เต็มบ้าง
การแกะแม่พิมพ์โดยช่างชาวบ้าน องค์พระในท่านั่งสมาธิ ไม่ปรากฏหน้าตา
ด้านหลังส่วนใหญ่จะเป็นย่นแบบท้องช้าง
เนื้อโลหะมีรูพรุนเป็นฟองอากาศก็มี เป็นแอ่งแบบท้องกระทะก็มี
จำนวนสร้างประมาณ ๕,๐๐๐ กว่าองค์


(https://palungjit.org/attachments/9c08bf11b6af4c3ba30b2a104ac84e72-jpg.5677238/)

(https://palungjit.org/attachments/2d2053408d6e0684982c33f3635b8c85-jpg.5677239/)

(https://palungjit.org/attachments/34aad77ebc6fd6c042f50dffa7a53bc4-jpg.5677240/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ มิถุนายน 28, 2021, 08:08:13 AM
พระปางป่าเลไลย์ เนื้อชินตะกั่วผสมปรอท
หลวงปู่เนียม วัดน้อย จ.สุพรรณบุรี
เป็นพิมพ์มีน้อย เหตุผลเพราะใช้เนื้อตะกั่วมาก องค์พระใหญ่


(https://palungjit.org/attachments/a37d0d2c2e7687233327267b69fd94af-jpg.5694247/)

(https://palungjit.org/attachments/af8dce544ad4fb7d62221f0fe4b5f160-jpg.5694248/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ กรกฎาคม 01, 2021, 03:01:48 PM
พระกรุเชียงแสนปรกโพธิ์ใหญ่ เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง

(https://palungjit.org/attachments/1034aa7edd43c1589b69fb4c5e805c26-jpg.5698557/)

(https://palungjit.org/attachments/3524e104da44f1d6bb66d890eb380a5a-jpg.5698558/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ กรกฎาคม 05, 2021, 09:18:09 AM
พระกรุถ้ำเขาพระ จ.นครศรีธรรมราช เนื้อสำริด

(https://palungjit.org/attachments/81a0b03a164c4fa6995878cdaf6466c3-jpg.5699267/)

(https://palungjit.org/attachments/6c67a4fae385eb4de7fd9a7cdc91748e-jpg.5699268/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ กรกฎาคม 07, 2021, 08:57:03 AM
พระปรกโพธิ์ สมาธิเล็ก กรุเชียงแสนเนื้อตะกั่วสนิมแดง นิยมสุด

(https://palungjit.org/attachments/405ed86e7b52fc2e7b0a844084dd0c68-jpg.5700155/)

(https://palungjit.org/attachments/5ed77d06a022734b6a84536f9f48d5d8-jpg.5700156/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ กรกฎาคม 13, 2021, 02:36:43 PM
พระกริ่งคชวัตร เนื้อนวะโลหะ แจกกรรมการ ตอกโค๊ด “กรรมการ”
สร้าง ๑๒๘ องค์ เป็นการเทนำฤกษ์
ช่อแรกในการเททองของพระกริ่งคชวัตร วัดบวรนิเวศวิหาร
จัดสร้างในวาระครบ ๙๐ พรรษา
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ๓ ตุลาคม ๒๕๔๖


พระกริ่งคชวัตร สร้างเนื้อทองคำ ๓๙๙ องค์
พระกริ่งคชวัตร สร้างเนื้อนวโลหะ ๓,๙๙๙ องค์
พระกริ่งคชวัตร เจ้าประคุณสมเด็จฯ ประทานอนุญาตให้จำลองจากพระพุทธรูปศิลปะเนปาล ที่พุทธศาสนิกชนชาวเนปาลถวาย เมื่อครั้งที่เสด็จประเทศเนปาล เพื่อทรงบรรพชาชาวศากยบุตร ในปี พ.ศ.๒๕๒๘ ซึ่งพระพุทธรูปดังกล่าวมีความเก่าแก่นับร้อยปี มีความงดงามเป็นเลิศ และได้ประทานอนุญาตให้อัญเชิญนามสกุลในพระองค์ท่าน คือ " คชวัตร " ถวายเป็นนามพระกริ่ง เพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์สกุลในพระองค์สืบไป นับว่าทรงให้ความสำคัญกับพระกริ่งคชวัตร มาก

วัตถุประสงค์ และ ความเป็นมาของการจัดสร้าง

ในวโรกาสที่ เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชนมายุ ๙๐ พรรษา ประทานอนุญาต ให้สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช สร้างวัตถุมงคล
โลหะที่นำมาจัดสร้างและวัตถุมงคลที่บรรจุ
ในการจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้ ได้นำโลหะชนวนพระกริ่งที่มีพิธีเททอง ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งแต่โบราณเป็นต้นมา ซึ่งได้แก่ ชนวนพระกริ่งปวเรศ พระกริ่งไพรีพินาศ พระกริ่งสุจิตโต พระกริ่งบวรรังสี พระกริ่งสุวัฑฒโน ชนวนพระพุทธรูป ภปร. พระพุทธรูปพระชินสีห์ เป็นต้น
ภายในองค์พระกริ่ง พระรูปเหมือน ของสมเด็จฯ ทุกๆองค์ บรรจุเส้นพระเกศาของเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และมีหมายเลขพร้อมโค้ด กำกับ และสร้างจำนวนจำกัด
ส่วนผสมของ นวะโลหะ มีทองคำผสมตามสูตรของวัดบวรนิเวศวิหาร ที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งผิวจะกลับดำเป็นมันขลับ
เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงลงอักขระในแผ่นทองคำ และคณาจารย์ทั่วประเทศ จำนวน ๑๐๘ รูป ลงอักขระในแผ่นทอง เพื่อนำมาเป็นส่วนผสมในโลหะที่จัดสร้าง
พิธีพุทธาภิเษกฯ วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๖ เวลา ๑๕.๑๙ น. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และทรงจุดเทียนชัย ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส

นามพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
ชุดเดียวกับพระสงฆ์ที่เจริญชัยมงคลคาถาในพิธีเททองฯ

นามพระสงฆ์สวดพุทธาภิเษก
๑.จากวัดสุทัศน์เทพวราราม
๒.จากวัดนครสวรรค์

นามพระสงฆ์นั่งบริกรรม เจริญจิตภาวนา
๑.พระอุดมญาณโมลี วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี
๒.พระธรรมวิสุทธิกวี วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ
๓.พระเทพสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) วัดประชาคมวนาราม ร้อยเอ็ด
๔.พระเทพโมลี วัดราชผาติการาม กรุงเทพฯ
๕.พระราชอุดมมงคล (หลวงพ่ออุตตมะ) วัดวังวิเวการาม กาญจนบุรี
๖.พระภาวนาวิศาลเถระ (หลวงปู่บุญมี) วัดสระประสานสุข อุบลราชธานี
๗.พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) วัดอรัญบรรพต หนองคาย
๘.พระมงคลสุนทร (หลวงปู่โถม ) วัดธรรมปัญญาราม สุโขทัย
๙.พระศรีมงคล (หลวงพ่อทอง) วัดสำเภาเชย ปัตตานี
๑๐.พระมงคลวราจารย์ ( หลวงปู่ธีร์ ) วัดมิ่งเมืองพัฒนาราม ขอนแก่น
๑๑.พระครูปทุมชัยกิจ (หลวงปู่นะ ) วัดหนองบัว ชัยนาท
๑๒.พระครูธรรมรัตนวิสุทธิ์ ( หลวงปู่ทอง ) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ
๑๓.พระครูธรรมรังษี (หลวงปู่ธรรมรังษี ) วัดเขาพนมดิน สุรินทร์
๑๔.พระครูสุภัทร์ศีลคุณ (ครูบาดวงดี ) วัดท่าจำปี เชียงใหม่
๑๕.พระครูวิสุทธิบุญดิตถ์ ( หลวงพ่อนวล ) วัดประดิษฐาราม ปัตตานี
๑๖.พระครูวิบูลธรรมกิจ (หลวงพ่อบัวเกตุ ) วัดแม่ปาง แม่ฮ่องสอน
๑๗.พระครูประทีปธรรมสถิต ( หลวงปู่ชอบ ) วัดเขารังเสือ ราชบุรี
๑๘.พระครูนิพัทธ์ธรรมกิจ ( หลวงพ่อแคล้ว ) วัดบางขุนเทียนนอก กรุงเทพฯ
๑๙.พระครูวิจารณ์สมถกิจ (หลวงพ่อห้อย ) วัดป่าประชารังสรรค์ ศรีสะเกษ
๒๐.พระครูนิภาวิหารกิจ ( หลวงพ่อดำ ) วัดใหม่นภาราม นราธิวาส
๒๑.พระครูปลัดประภักดิ์ วิสุทฺธสีโล วัดมหิงษสุวรรณนิมิต ปัตตานี
๒๒.พระครูสถิตวีรธรรม ( หลวงพ่อรอด ) วัดสันติกาวาส พิษณุโลก
๒๓.พระครูนิวิฐมณีวงศ์ ( หลวงพ่อสอาด) วัดเขาแก้ว นครสวรรค์
๒๔.พระครูพิพัฒน์วิทยาคม ( หลวงพ่อเจริญ ) วัดโนนสว่าง อุดรธานี
๒๕.พระครูกัลยาณกิจ วัดสุขาวดี ปัตตานี
๒๖.พระหลวงปู่สวน วัดนาทม อุบลราชธานี
๒๗.พระหลวงปู่จันทร์โสม วัดป่านาสีดา อุดรธานี
๒๘.พระหลวงพ่อเอียด วัดโคกแย้ม พัทลุง
๒๙.พระหลวงปู่โทน วัดเขาน้อยคีรีวัน ชลบุรี
๓๐.พระหลวงปู่สอ พนฺธุโล วัดเขาหนองแสง ยโสธร
๓๑.พระหลวงพ่อเพี้ยน อคฺคธมฺโม วัดเกริ่นกฐิน ลพบุรี
๓๒.พระหลวงพ่อประดับ ปริญฺญาโน วัดป่าประดับทรงธรรม สกลนคร
๓๓.พระหลวงพ่อโพธิ์ วัดคลองมอญ ชัยนาท
๓๔.พระอาจารย์ธรรมนูญ วัดมณีชลขันธ์ ลพบุรี


พิธีเททองฯ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จทรงประกอบพิธีด้วยพระองค์เอง ซึ่งจะเป็นครั้งสุดท้าย โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ปฎิบัติหน้าที่แทน พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส
มีพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวไต้หวัน จำนวน ๖๐ ท่าน นำโดย พระอาจารย์ซินเต้า ต้าซือ แห่งวัดหลิงจิวซาน มาร่วมพิธี
นามพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา พิธีเททองหล่อพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร
พระกริ่ง – ชัยวัฒน์ – ครอบน้ำมนต์ คชวัตร
พระพุทธชินสีห์ พระรัศมีพระพุทธชินราช และ พระรูปเหมือน
๑๙ มิถุนายน ๒๕๔๖
ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เวลา ๑๗.๔๙ น.
ในวโรกาสสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเจริญพระชนมายุ ๙๐ พรรษา
๑.สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศ
๒.สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) วัดชนะสงคราม
๓.สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) วัดปากน้ำ
๔.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฺฒโน) วัดสุวรรณาราม
๕.สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร) วัดมกุฎกษัตริยาราม
๖.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) วัดสัมพันธวงศาราม
๗.พระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกโร) วัดเทพศิรินทราวาส
๘.พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
๙.พระวิสุทธาธิบดี (วีระ ภทฺทจารี) วัดสุทัศนเทพวราราม
๑๐.พระวิสุทธิวงศาจารย์ (พลอย ญาณสํวโร) วัดเทพธิดาราม
๑๑.พระสาสโสภณ (อัมพร อมฺพโร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๑๒.พระธรรมปัญญาจารย์ (สุพจน์ ปภสฺสโร) วัดราชผาติการาม
๑๓.พระธรรมเมธาจารย์ (คณิศร์ เขมวํโส) วัดบุณณศิริมาตยาราม
๑๔.พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) วัดโสมนัสวิหาร
๑๕.พระธรรมกวี (ลือชัย คุณวุฑฺโฒ) วัดราชาธิวาส
๑๖.พระธรรมสิทธิเวที (เสนาะ ปญฺญาวชิโร) วัดสระเกศ
๑๗.พระธรรมกิตติเมธี (จำนง ธมฺมจารี) วัดสัมพันธวงศาราม
๑๘.พระธรรมวรเมธี (สุชิน อคฺคชิโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๑๙.พระเทพวิมลโมลี (เชิด จิตฺตคุตฺโต) วัดสุทัศนเทพวราราม


(https://palungjit.org/attachments/814046274497f638fdc3daadc435552d-jpg.5704880/)

(https://palungjit.org/attachments/f36b5f916955e6e62036d97051f2ec61-jpg.5704881/)

(https://palungjit.org/attachments/5ae4fd3421860bb2ea593861ce014491-jpg.5704882/)

(https://palungjit.org/attachments/79574a9509598aa2f068095c334ab812-jpg.5704883/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ กันยายน 27, 2021, 03:35:42 PM
๑ ใน ๕๐๐ องค์ รูปหล่อรุ่นแรกหลวงพ่อผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต (วัดดูน)
ต.บ้านโคก อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ตอกโค๊ด "ผาง" โค๊ด "ฉ"


รูปหล่อโบราณพระบูชารุ่นแรก ขนาดหน้าตัก ๕ นิ้ว สร้างจำนวน ๗๐๐ องค์
ขนาดรูปหล่อโบราณรุ่นแรก ๑.๕ เซนติเมตร ก้นตอกผาง เนื้อทองเหลืองรมดำ จำนวนการสร้าง ๑๐,๐๐๐ องค์
รูปหล่อโบราณกรรมการ ขนาด ๑.๕ เซนติเมตร ก้นตอก "ผาง" ตอก "ฉ" แจกกรรมการ เนื้อทองเหลืองไม่รมดำ จำนวน ๕๐๐ องค์

อธิษฐานจิต ๒ ครั้ง ครั้งแรกหลวงพ่อผางอธิษฐานจิตที่วัดดูน ในวันที่ ๕ กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๑๗

และเข้าพิธี มหาพุทธาภิเษก ณ.วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
พร้อมกับ พระพุทธชินราช ภปร ที่กองทัพภาคที่ ๓ ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ ๙ เป็นประธานในพิธี
วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๗ มีพระคณาจารย์มาร่วมพุทธาภิเษก
หนึ่งในนั้นมีหลวงพ่อผาง หลวงพ่อบุญโฮม วัดปทุมวนาราม
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช
หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี และคณาจารย์ทั้งหมด ๔๕ รูปไปร่วมพุทธาภิเษกด้วย


(https://palungjit.org/attachments/221f4b05631fca84540a86070fd2ee9e-jpg.5765639/)

(https://palungjit.org/attachments/65541ccd10310ec031bd13f27dac4b1e-jpg.5765640/)

(https://palungjit.org/attachments/e1c748466c712dfec8185f9f5f1e92c6-jpg.5765641/)

(https://palungjit.org/attachments/f36b89d7d8561114fdd5710004a88c25-jpg.5765642/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ ธันวาคม 08, 2021, 11:11:56 AM
หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ เตารีดพิมพ์ c เนื้อทองเหลืองออกแดงนิยมครับ
(ด้านหลังเลี่ยมทองปิดหลัง) สร้อยทองไม่กล้าใส่ ย่านพระหาย
  ;)

(https://palungjit.org/attachments/87f4f0d2ea42c4bb10e2258188667eb5-png.5828272/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ มกราคม 18, 2022, 11:18:31 AM
พระรอดหนองมน ลพบุรี เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง

สภาพสมบุกสมบัน เจ้าของเดิมเป็นทหารพลร่มลพบุรีแขวนลวดติดตัวจนเกษียณแต่ไม่ใช่ของพ.ต.สุวรรณนะครับ

ประวัติความเป็นมาของพระกรุวัดหนองมน จังหวัดลพบุรี มีหลวงตาองค์หนึ่งของวัดหนองมนชื่อว่าหลวงตาแขก
เป็นผู้นำพระนี้มาจากจังหวัดพิจิตร นำมาครั้งละมาก ๆ เมื่อหลวงตาแขกอดีตเจ้าอาวาสมรณภาพ
จึงมีการบรรจุกรุ และแตกกรุครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙ และแตกอีกหลาย ๆ ครั้ง

ทหารพลร่มคนหนึ่ง บูชาพระรอดหนองมนคล้องคอองค์เดียว คือ จ.ส.อ.สุวรรณ อ้นองอาจ (ครูฝึก)
ปัจจุบันเกษียณแล้ว ได้ยศ พ.ต. ได้ทำการกระโดดนำ
ให้นักเรียนโดดตาม เป็นคนแรก ร่มนั้นเกิดเอ๊กซิเด็นท์ไม่กาง

ร่างของจ่าสุวรรณ ลอยละลิ่วปลิวลงมาสู่พื้นดินด้วยความเสียวสยอง
พื้นที่นั้นคือป่าไม้รวกบนยอดเขาเอราวัณนั่นเอง ร่างกายของจ่าสุวรรณหล่นลงมากลางป่าไม่ไผ่-ไม้รวก
ร่มค้างเติ่งติดยอดไผ่ เจ้าหน้าที่ควบคุมการกระโดดร่มเห็นเหตุการณ์นั้นร้องอุทานออกมา "รอดได้อย่างไง เนี่ย!"


(https://palungjit.org/attachments/d55ab99e714e962bf159f265833ea868-jpg.5861072/)

(https://palungjit.org/attachments/bdd14a617521e42bbe8769cc9b09ef35-jpg.5861073/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ มกราคม 26, 2022, 09:12:32 AM
พระพันแปดไฟหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง จ.สมุทรสาคร
พิมพ์พระโมคคัลลาพระสารีบุตร ด้านหลังมีจาร


วัตถุมงคลที่นิยมและมีประสบการณ์มากรุ่นหนึ่ง ของหลวงปู่สาย ก็คือ พระเครื่องพันแปดไฟ ท่านสร้างเนื่องในโอกาส แจกศิษย์ที่ไปสงครามอินโดจีนและสงครามเกาหลี ที่เรียกว่าพระพันแปดไฟ นั้น เพราะ หลวงปู่ได้ใช้แผ่นตะกั่วมาลงอักขระปลุกเสกแล้วนำไปหลอม เมื่อหลอมเสร็จ เมื่อแผ่นตะกั่วเย็นก็นำมาลงอักขระอีก แล้วนำไปหลอมใหม่ ทำเช่นนี้เรื่อยๆ จนครบ ๑,๐๐๘ (หนึ่งพันกับแปดครั้ง) จึงเรียกว่า พระพันแปดไฟ สร้างประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๘๗

(https://palungjit.org/attachments/42570b8834d7a627a431216a9420f272-jpg.5867808/)

(https://palungjit.org/attachments/96fe5d733b1db87c17c1db7e91103820-jpg.5867809/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ ธันวาคม 07, 2022, 10:30:15 AM
พิธีพระกริ่งแก้วปฏิมากร

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า “พระกริ่งแก้วปฏิมากร” ถือเป็นอีกหนึ่งพระกริ่งชั้นยอดในยุคหลังกึ่งพุทธกาล โดยได้มีการจัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2514 และเล่นหากันอย่างสากลว่าเป็นพระกริ่งของหลวงเกษม เขมโก แห่งสำนักสุสานไตรลักษณ์ แต่รายละเอียดในการจัดสร้างกลับไม่มีข้อมูลโดยละเอียดเท่าที่ควร หลักฐานหลัก ๆ ที่พบเห็นกันทั่วไปคือใบปลิว หรือ ใบโบว์ชัวร์ การจัดสร้าง และรูปถ่ายในงานพิธีขณะหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี นั่งปลุกเสกและมีหลวงพ่อเกษม เขมโกนั่งอยู่ด้วย สำหรับวันเวลาในการประกอบพุทธาภิเษกถูกระบุไว้แต่เพียงว่าประมาณต้นปี พ.ศ. 2514 ณ วัดเกาะวาลุการาม กำหนดแน่นอนจะประกาศให้ทราบภายหลังอีกครั้ง

จากการค้นคว้าเพิ่มเติมทำให้ทราบว่า พระกริ่งแก้วปฏิมากรได้ทำพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดเกาะวาลุการาม ในวันเสาร์ที่ 10 เมษายน 2514 ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 (7 เหนือ) ซึ่งมีกำหนดการโดยย่อ ดังนี้

เวลา 07.00 น. พราหมณ์ประกอบพิธีบวงสรวงพระบูรพาจารย์และอดีตผู้มีอุปการะคุณของจังหวัดลำปาง
ต่อมาในเวลา 09.30 น. คณะกรรมการทุกฝ่ายไปถวายเครื่องสักการะบูชาแด่พระเจ้าแก้วมรกต ณ วัดพระธาตุลำปางหลวง จนกระทั่งเวลา 14.00 น. พระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าพราหมณ์และคณะพราหมณ์ กรรมการประกอบพิธีบวงสรวงเทพยดาทั่วท้องจักรวาล บูชาพระฤกษ์
ครั้นเวลา 14.50 น. ได้อุดมฤกษ์อันเป็นมหามงคล บัณฑิตลั่นฆ้องชัย “สมเด็จพระวันรัตน์” ทรงอธิษฐานเจิมเทียนชัยและจุดเทียนชัย พราหมณาจารย์เป่าสังข์ เคาะบัณเฑาะ เป่าแตร สังข์ ดนตรีประโคมเพลงมหาฤกษ์มหาชัย พระราชครูวามเทพมุนีอาราธนาพระปริตร พระราชาคณะ 11 รูป ดังนี้
(1) เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพน พระนคร
(2) เจ้าคุณพระธรรมราชานุวัตร วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่
(3) เจ้าคุณพระราชปัญญาโสภณ วัดราชนัดดา พระนคร
(4) เจ้าคุณพระราชสุพรรณาภรณ์ วัดสุวรรณภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี
(5) เจ้าคุณพระราชสุตาจารย์ วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน
(6) เจ้าคุณพระภัทรสารมุนี วัดพระบาทมิ่งเมือง จังหวัดแพร่
(7) เจ้าคุณพระสิทธิปัญญาภรณ์ วัดบุญวาทย์วิหาร จังหวัดลำปาง
(8)พระครูประสาธน์สุตวัฒน์ วัดน้ำล้อม จังหวัดลำปาง
(9) พระครูวิทิตธรรมคุณ วัดหลวง อำเภองาว จังหวัดลำปาง
(10) พระครูประสิทธิ์บุญวัฒน์ วัดสวนดอก จังหวัดลำปาง
(11) พระครูศรีปริยัติกิติ์ วัดสิงห์ชัย จังหวัดลำปาง

โดยสมเด็จพระวันรัตน์ทรงเป็นองค์ประทานเจริญพุทธมนต์ พระเกจิอาจารย์เข้านั่งปรกรอบมณฑลพิธีภาวนาตลอด จบแล้วเจ้าประคุณสมเด็จทรงประพรมน้ำพระพุทธมนต์
ครั้นเวลา 19.30 เริ่มพิธีพุทธาภิเษก พระพิธีธรรมเข้าประจำที่ ประธานกรรมการถวายสักการบูชา จุดเทียนพุทธาภิเษก พระมหานาคสวดพุทธาภิเษก สลับพระพื้นเมือง พระเกจิอาจารย์ชุดแรกนั่งปรก ดังนี้
(1) เจ้าคุณพระราชปัญญาโสภณ (หลวงพ่อสุก) วัดราชนัดดา พระนคร
(2) เจ้าคุณพระราชมุนี (หลวงพ่อโฮม) วัดประทุมวนาราม พระนคร
(3) เจ้าคุณพระวิบูลเมธาจารย์ (หลวงพ่อเก็บ) วัดดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
(4) เจ้าคุณพระรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร์) วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี
(5) เจ้าคุณพระสังวรกิจโกศล (หลวงพ่อบุญเลิศ) วัดราชสิทธาราม ธนบุรี
(6) พระครูพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี
(7) พระครูพิทักษ์วิหารกิจ (หลวงพ่อสา) วัดราชนัดดา พระนคร
(8)พระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลาง พระนครศรีอยุธยา
(9) พระครูกัลยาณวุฒิคุณ วัดท่าเจริญ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
(10) พระครูสุตาธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
(11) พระครูนนทกิจวิมล (หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ จังหวัดนนทบุรี
(12) พระครูวิริยกิตติ (หลวงพ่อโต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี อำเภอภาษีเจริญ ธนบุรี
(13) พระครูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช พระนครศรีอยุธยา
(14) หลวงพ่อติ๊บ อุปสิ วัดผาปังหลวง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง
(15) ครูบาโต วัดบุญยืน อำเภอพะเยาว์ จังหวัดเชียงราย
(16) พระครูศรีปริยัติยานุตรักษ์ (หลวงพ่อไฝ) วัดพันอ้น จังหวัดเชียงใหม่
(17) หลวงพ่อพรหมจักร วัดน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
(18) พระครูวรเวทวิธาน (หลวงพ่อปรีดา)
(19) หลวงพ่อจ้วน วัดเขาลูกช้าง จังหวัดเพชรบุรี
(20) พระครูศรีปทุมรัตน์ (หลวงพ่อท่าฉลอง) วัดศรีบัวบาน จังหวัดสุพรรณบุรี
(21) ครูบาวงศ์ วัดท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
(22) หลวงพ่อแสน วัดท่าแหน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
(23) หลวงพ่อปี้ วัดลานหอย อำเภอลานหอย จังหวัดสุโขทัย

ต่อมาเวลา 01.00 น. พระเกจิเถราจารย์ เข้าประจำที่นั่งปรก ชุดที่ 2 ประกอบด้วย
(1) พระครูอุดมเวทวรคุณ (หลวงพ่อเมือง) วัดท่าแหน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
(2) พระครูธีรธรรมวัฒน์ (หลวงพ่อมอย) วัดกาสา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
(3) หลวงพ่อวัดถ้ำปุ่มถ้ำปลา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
(4) พระครูใบฎีกาศรีศักดิ์ วัดฉิมพลี อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย
(5) พระครูรัตนานุรักษ์ (หลวงพ่อแก้ว) วัดปงสนุกใต้ จังหวัดลำปาง
(6) พระครูอินถา วัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
(7) พระครูพินิจ วัดกระจับพินิจ ธนบุรี
(8)หลวงพ่อวงศ์ วัดป่าใคร้ใต้ อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
(9) หลวงพ่อเกษม เขมโก แห่งสุสานไตรลักษณ์ ประตูม้า จังหวัดลำปาง
(10) พระครูสถาพรพุทธมนต์ (หลวงพ่อสำเนียง) วัดเวฬุวนาราม จังหวัดนครปฐม
(11) หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู จังหวัดลพบุรี
(12) พระครูหลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
(13) หลวงพ่อผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส พระนคร
(14) พระครูวินัยธรศรีนวล ชินวังโส วัดศรีล้อม จังหวัดลำปาง
(15) หลวงพ่อมิ วัดสิงห์ อำเภอบางพลัด ธนบุรี
(16) พระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาส พระนคร
(17) พระอาจารย์สมคิด กิตติสาโร วัดราชนัดดา พระนคร
(18) พระครูโสภณปัญญาคุณ (หลวงพ่อโสม) วัดหัวข่วง จังหวัดลำปาง
(19) พระอาจารย์ชุบ ทินนโก วัดเกาะวาลุการาม จังหวัดลำปาง
(20) หลวงพ่อครูบาวัง วัดบ้านเด่น จังหวัดตาก
(21) พระอาจารย์มี วัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
(22) หลวงพ่อครูพุฒิ วัดม่อนคีรีชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
(23) หลวงพ่อแก้ว สุมโน วัดพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
(24) พระอาจารย์วิมล วัดถ้ำเขาปูน จังหวัดกาญจนบุรี
รุ่งขึ้นวันใหม่ (วันที่ 11 เมษายน 2514) เวลา 06.00 น. เจ้าคุณพระธรรมราชานุวัตร วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ องค์ดับเทียนชัย และเวลา 07.00 น. ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนา
เป็นเสร็จพิธีงานพุทธาภิเษก

ด้านเนื้อหาวรรณะของพระกริ่งแก้วฯ เนื้อในจะเป็นสีแดงอมนาคโทนออกสีแสดแดง ถ้าผ่านการสัมผัสอากาศผิวนอกจะกลับดำอมเขียว อย่างไรก็ตามบางองค์อาจมีผิวเหลือบเงินก็ได้ และสำรับผิวชั้นนอกในบางองค์จะมีสนิมสีดำประปราย ถ้ามองดูที่ก้นจะเป็นฝาปิดทองเหลือง เข้าด้วยการตอก และเชื่อมประสานด้วยเงิน วรรณะของพระกริ่งใหญ่และกริ่งเล็กจะเหมือนกัน สำหรับกริ่งเล็กบางองค์อาจมีดินเบ้าอยู่ตามซอกบ้าง ส่วนกริ่งใหญ่อาจไม่เห็นแล้วจะเหลือผิวสีดำอยู่ตามซอกแทน

ส่วนฝีมือหรือรูปแบบการแต่งส่วนใหญ่จะเหมือนกันจะแตกต่างที่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ บ้าง ซึ่งถ้าเป็นพระกริ่งหล่อในพิธีและจำนวนรวมถึง 1,000 องค์แล้ว ช่างย่อมมีเวลาน้อยที่จะเก็บรายละเอียดให้เหมือนกันทุกองค์ อย่างไรก็ตามเนื้อในและธรรมชาติของรุ่นนี้ย่อมเหมือนกัน กริ่งเล็กส่วนใหญ่จะมีการเซาะร่องที่ตัวหนังสือด้านหลังให้จมและคมชัดยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นจุดที่ใช้แยกแยะของเก๊แท้ได้ประการหนึ่ง
iPOOM @ 18 มิถุนายน 2561
Cr. ต้า ลำปาง , นิรนาม

หมายเหตุ : รายนามพระเถระที่ร่วมงานอาจมีความคลาดเคลื่อนเนื่องจากยึดถือตามเอกสารชั้นต้น


(https://sv1.picz.in.th/images/2022/12/07/GrRa68.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/12/07/GrRvWR.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/12/07/GrRGK0.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/12/07/GrRBYz.jpg)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ ธันวาคม 13, 2022, 09:50:28 AM
พระกริ่งไตรลักษณ์ ปี ๒๕๑๗ หลวงพ่อเกษม เขมโก หมายเลข ๙๖๔

สร้างเพียงเนื้อนวะเนื้อเดียว จำนวนสร้าง ๑,๕๙๙ องค์

วัตถุประสงค์ สร้างโบสถ์วัดอินทร์ประชาราษฎร์ ปราจีนบุรี

หลวงพ่อเกษมเททองหล่อด้วยองค์ท่านเอง ที่สุสานไตรลักษณ์เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗

อธิษฐานจิต วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๑๗


(https://sv1.picz.in.th/images/2022/12/13/Ge3iL0.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/12/13/Ge3xhu.jpg)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ มกราคม 12, 2023, 10:46:56 AM
พระกริ่งอะระหัง หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่

พระที่หลวงปู่โต๊ะ ไม่ยอมอธิษฐานจิตซ้ำ จากคำบอกเล่าของอาจารย์เบิ้ม ลูกศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ เวลาอยู่กับหลวงปู่โต๊ะจะมีผู้นำพระจากคอ มาให้หลวงปู่โต๊ะอธิษฐานจิตเพิ่มให้ แต่มีพระคณาจารย์หนึ่ง ซึ่งหลวงปู่โต๊ะไม่ยอมอธิษฐานจิตซ้ำ ไม่ว่าจะดูกี่ครั้งกี่หนก็ตาม

ก็มีแต่พระหลวงปู่แหวน องค์เดียวเท่านั้น ที่หลวงปู่โต๊ะไม่ยอมอธิษฐานจิตซ้ำให้หลวงปู่โต๊ะท่านจะหยิบออกมาแยกต่างหาก อาจารย์เบิ้มท่านยืนยันหนักแน่น

ผมโตมาในยุคหลวงปู่แหวน มีชื่อเสียงมาก ๆ ไม่มีใครไม่รู้จักหลวงปู่แหวน ในช่วงนั้น อ่านประวัติท่าน และพระเครื่องต่าง ๆ ที่ท่านอธิษฐานจิต ตั้งใจว่าจะต้องเก็บให้ได้สองอย่างคือ ๑.พระกริ่งอะระหัง ๒.รูปเหมือนพิมพ์เสมา เนื่องจากเป็นคนที่ชอบพระหล่อ และทั้งสองพิธีนี้สุด ๆ มาก พระกริ่งอะระหัง นี่ หลวงปู่แหวนเททองหล่อด้วยองค์ท่านเอง หลังจากทุบเบ้า ตอนเย็นก็นำมาให้หลวงปู่แหวนอธิษฐานจิต และเมื่อตบแต่งเรียบร้อยแล้วก็นำมาให้หลวงปู่แหวนอธิษฐานจิตอีกครั้ง รวมหลวงปู่แหวนอธิษฐานจิต ถึง ๓ ครั้ง


(https://sv1.picz.in.th/images/2023/01/12/JuX5gV.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2023/01/12/JuXECQ.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2023/01/12/JuXOIS.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2023/01/12/JuXjtn.jpg)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ กรกฎาคม 06, 2023, 10:43:51 AM
พระกริ่งประทานพรจีวรลายดอกพิกุล หลังเลข๙ เนื้อนวโลหะ เจ้าคุณนรอธิษฐานจิต
(มีแป้งกระแจะจันทร์เจิมติดที่ฐานด้านหน้า หลัง) ออกวัดวังกระโจม ๒๕๑๒
เจ้าคุณอุดม สร้างไว้เป็นการส่วนองค์ เพื่อแจกกรรมการ


(https://palungjit.org/attachments/5c8d387d894c5f099-jpg.6208150/)

(https://palungjit.org/attachments/6af2afb9c59e47a2c-jpg.6208151/)

(https://palungjit.org/attachments/75c4ca914880ca75e-jpg.6208152/)

(https://palungjit.org/attachments/8dd73848792adb830-jpg.6208153/)

(https://palungjit.org/attachments/9092a9b4b7a892094-jpg.6208154/)
หัวข้อ: Re: พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: porpek ที่ สิงหาคม 31, 2023, 11:20:59 AM
พระสิบทัศน์ เนื้อเงินโบราณ(เงินยวง) หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม

ได้ปรึกษาลูกศิษย์หลวงพ่อเงินท่านหนึ่ง ว่าพระที่หลวงพ่อเงิน ท่านแนะนำให้ลูกศิษย์ลูกหาบูชาติดตัวว่า เป็นพระอะไร เขาตอบแบบไม่ต้องคิดเลยว่า พระสิบทัศน์ ผมเลยคิดว่าควรหาเก็บบูชาไว้ซักองค์ ตอนแรกบอกเขาว่า เก็บเนื้อดินรุ่นแรก พอเห็นองค์จริง ป๊าด เกือบเท่าฝ่ามือเลย ไม่ไหว ๆ ใหญ่เกิ๊น เลยศึกษาเห็นว่าเนื้อที่ดีนอก ดีใน สำหรับความคิดผม น่าจะเป็นเนื้อเงินโบราณนี่แหละ

เพราะเป็นแท่งเงินโบราณที่ขุดได้จากกรุพระบริเวณพื้นที่วัดดอนยายหอมพร้อมกรุพระเครื่อง และแม่พิมพ์พระสิบทัศน์ กรรมการวัดนำมาให้หลวงพ่อเงินดู พร้อมขออนุญาตสร้างพระ หลวงพ่อเงินอนุญาตพร้อมอธิษฐานจิตแท่งเงินนั้นให้ด้วย

แท่งเงินนี้สันนิษฐานว่า เป็นเหมือนแท่งเงินที่วางศิลาฤกษ์ฝังไว้เพื่อเป็นมงคล กันแก้คุณไสย กันผีสาง ป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ป้องกันสิ่งที่เป็นอวมงคลต่าง ๆ ผ่านการสวดมนต์อธิษฐานจิตมาเป็นร้อย ๆ ปีจึงเป็นมวลสารที่ดีใน ส่วนดีนอกคือผ่านการอธิษฐานจิตจากหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมเมื่อเป็นองค์พระแล้วอีกครั้งหนึ่ง
กรรมการวัดไปจัดสร้างครั้งแรกได้ ๕๐ องค์ เหลือก้านชนวนกับที่ตัดขอบ ๆ นำไปหลอมใหม่ได้อีก ๒๐ องค์ รวมทั้งสิ้น ๗๐ องค์

(https://palungjit.org/attachments/20a321a22ed55afdd2-jpg.6238830/)

(https://palungjit.org/attachments/21bac84d0bc13d385e-jpg.6238831/)

(https://palungjit.org/attachments/22e450ce1a517c0a17-jpg.6238832/)

(https://palungjit.org/attachments/237c79ab3b93df649f-jpg.6238833/)

(https://palungjit.org/attachments/24bcbed1734d6be136-jpg.6238834/)