พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธรูป และรูปหล่อพระคณาจารย์ต่างๆ(อ่าน 38209 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

พระกริ่งสวนเต่า (ไกลปืนเที่ยง) วัดทองธรรมชาติ (วัดทองนพคุณ) พ.ศ. ๒๔๖๓

พระกริ่งไกลปืนเที่ยง วัดทองธรรมชาติ (วัดทองนพคุณ) กทม.สร้างในปี ๒๔๖๓
สร้างแบบลักษณะ " พระกริ่งสวนเต่า "นิมนต์ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
และ เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากมายในยุคนั้นเข้าร่วมพิธีหลายท่านฯลฯ

ซึ่งในระหว่างพิธีปลุกเสกอยู่นั้น ทางกรมทหารเรือ ได้ยิงปืนใหญ่พอดี
แต่ผลปรากฏว่ายิงไม่ออก จึงสืบดูจึงรู้ว่าทางวัดทองธรรมชาติ
มีพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่ง  จึงเป็นที่มาของชื่อ " พระกริ่งไกลปืนเที่ยง"

๒๔๖๓ สมัยรัชกาลที่๖ นาฬิกายังไม่แพร่หลาย การบอกเวลาน่าจะต้องพึ่งพาสัญญาณเสียงที่ดังไกล
๒๔๘๑ (สร้างพระกริ่งสวนเต่ารุ่น ๒) หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้ยกเลิกการยิงปืนเที่ยงแล้ว

ปืนเที่ยง...กองทัพเรือได้รับมอบหน้าที่ให้เป็นผู้ยิงปืนเที่ยงที่สนามหญ้าท่าราชวรดิฐ
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ การยิงปืนเที่ยง คือ การยิงปืนให้เกิดเสียงดัง
เพื่อบอกเวลาเที่ยงวันสำหรับคนไทยได้รู้เวลา

และชาวต่างประเทศที่เข้ามาค้าขายจะได้ตั้งเวลาให้ตรงกัน
เป็นการสะดวกในการติดต่อนัดหมาย โดยกองเรือกลชั้น ๔
เป็นผู้ทำหน้าที่ยิงปืนเที่ยงทุกวัน หากเป็นช่วงเวลาที่นักเรียนนายเรือรับผิดชอบการยิง
ป้อมวิชัยประสิทธิคือสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ใช้ยิงปืนนี้ จนกระทั่งมีไฟฟ้า และวิทยุใช้
จึงเลิกยิงปืนเที่ยง ตามประกาศกระทรวงกลาโหม ลงวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๗

พระกริ่งไกลปืนเที่ยง วัดทองธรรมชาติ(วัดทองนพคุณ) ๒๔๖๓

พระกริ่งวัดทองธรรมชาติ (วัดทองนพคุณ) พิมพ์พระกริ่งสวนเต่า
นี้สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสที่พระครูเหมนพคุณ
หรือหลวงปู่เผือก วัดทองนพคุณ (วัดทองล่าง) อ. คลองสาน ฝั่งธนบุรี
มีอายุครบ ๗ รอบ คือ ๘๔ ปี ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. ๒๔๖๓
ท่านจึงสร้างพระกริ่งพิมพ์สวนเต่าขึ้น ณ วัดทองนพคุณ
สร้างจากเนื้อโลหะทองผสม อุดกริ่ง สร้างพร้อมกับเหรียญหล่อพระพุทธชินราช วัดทองนพคุณ

โดยที่พิธีนี้มีหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าเป็นเจ้าพิธีเททอง
ในระหว่างดำเนินการหล่ออยู่นั้นมีแผ่นยันต์บางแผ่น
ของพระอาจารย์บางรูปไม่ยอมละลาย

หลวงปู่ศุข จึงใช้ไม้พันสายสิญจน์ลงไปจี้จึงยอมละลาย
และในขณะเททองพุทธาภิเษกและระหว่างนั่งทำพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสกของบรรดาพระอริยะคณาจารย์นั้น
ตรงกับเวลาเที่ยงวัน ซึ่งสมัยนั้นจะยิงปืนใหญ่บริเวณสนามหลวงเพื่อบอกเวลาเที่ยงวัน
เนื่องจากสมัยก่อนยังไม่มีนาฬิกาข้อมือใช้กัน

ปรากฎว่าปืนใหญ่ที่ใช้ยิงบอกเวลาตอนเที่ยงยิงไม่ออก !!! ไม่สามารถยิงออกได้
แม้ว่าจะเปลี่ยนลูกปืน รวมทั้งเปลี่ยนปืนใหม่และยิงอีกหลายครั้งก็ยังยิงไม่ออก
เที่ยงวันนั้นจึงไม่มีเสียงปืนใหญ่ดังให้ได้ยิน จึงไม่มีเสียงดังมารบกวนพิธี

พอสืบสาวราวเรื่องและทราบเรื่องกันทีหลังว่ามีพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลที่วัดทองธรรมชาติ
ตรงกับตอนเที่ยงของวันนั้นพอดี วัตถุมงคลในครั้งนี้จึงได้รับ
การขนานนามว่า “ไกลปืนเที่ยง”
แต่ปกติจะได้ยินการเรียกขานชื่อของพระกริ่งมากกว่าเหรียญหล่อคือ
“พระกริ่งไกลปืนเที่ยงวัดทองธรรมชาติ”

รายนามพระคณาจารย์ที่ได้นิมนต์มาร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในครั้งนี้

๑. หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ธนบุรี,(ประธานในพิธี)
๒. หลวงพ่อทับ วัดอนงคาราม จ.กรุงเทพฯ,
๓. สมเด็จพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม จ.กรุงเทพฯ,
๔. หลวงพ่อผ่อง วัดคูหาสวรรค์ ธนบุรี,
๕. อาจารย์เปิง วัดชินวราราม จ.ปทุมธานี,
๖. หลวงปู่เผือก วัดทองนพคุณ ธนบุรี,
๗. หลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐี จ.อุทัยธานี,
๘. หลวงปู่รอด วัดสามไถ จ.อยุธยา,
๙. หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ จ.อยุธยา,
๑๐. หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท(เจ้าพิธีเททองหล่อพระกริ่ง)
๑๑. หลวงปู่เป้า วัดใหม่สุประดิษฐาราม จ.นครปฐม,
๑๒. หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม,
๑๓. หลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว จ.สุพรรณบุรี,
๑๔. เจ้าคุณโพธิ์ วัดชัยพฤกษ์มาลา จ.กรุงเทพฯ,
๑๕. หลวงพ่อคร้าม วัดบางระกำ จ.นครปฐม,
๑๖. หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก จ.สมุทรสงคราม,
๑๗. อุปัชฌาย์กรัก วัดอัมพวัน จ.ลพบุรี,
๑๘. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดระฆังโฆษิตาราม จ.กรุงเทพฯ,
๑๙. หลวงพ่อกาพย์ วัดจรรย์ จ.สุพรรณบุรี,
๒๐. หลวงพ่ออุย วัดบ้านกร่าง จ.สุโขทัย,
๒๑. หลวงพ่อแก้ว วัดนางสาว จ.สมุทรสาคร,
๒๒. หลวงพ่อผัน วัดกรับพวง จ.พิษณุโลก,
๒๓. อาจารย์พา วัดระฆังโฆษิตาราม จ.กรุงเทพฯ,
๒๔. หลวงพ่อชุ่ม วัดบางนาใน จ.กรุงเทพฯ,
๒๕. หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี,
๒๖. หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย (ปลักไม้ดำ) จ.กำแพงเพชร,
๒๗. หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี,
๒๘. หลวงพ่อปั้น วัดหาดทนง จ.อุทัยธานี,
๒๙. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก จ.กรุงเทพฯ,
๓๐. หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ,
๓๑. หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร (บางขุนเทียน) จ.กรุงเทพฯ,
๓๒. หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง จ.ปทุมธานี,
๓๓. หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 11, 2017, 02:04:32 PM โดย porpek »



พระชัยวัฒน์ หลวงปู่บุญ สร้างครั้งเดียวเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์



หลวงปู่บุญ หรือ พระพุทธวิถีนายก เป็นพระสงฆ์ที่มีความเชี่ยวชาญในพุทธาคมและไสยศาสตร์แตกฉานหลายแขนง จนอาจกล่าวได้ว่าในสมัยนั้น ท่านเป็นผู้มีความรู้แตกฉานในศาสตร์แขนงนี้ ทั้งนี้เพราะมีสนใจในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก จึงทำให้สามารถสร้างวัตถุมงคลให้มีความศักดิ์สิทธิ์ได้ และยังสร้างวัตถุมงคลที่หลายๆ เกจิอาจารย์สร้างไม่ได้ เช่น พระผงยาจินดามณี ประคำนเรศวรปราบหงสาวดี และเบี้ยแก้ เป็นต้น วัตถุมงคลของหลวงปู่บุญ ล้วนแต่เป็นที่ยอมรับกันว่ามีพุทธคุณสูง รวมไปถึงพระชัยวัฒน์ที่เวลานี้มีค่านิยมอย่างมาก

และเป็นทราบกันดีว่าตำราสร้างพระกริ่ง- พระชัยวัฒน์แต่ดั้งเดิมนั้นเป็นของสมเด็จนพรัต วัดป่าแก้ว พระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้วต่อมาก็ได้สืบทอดมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ แต่เนื่องจากเป็นวัตถุมงคลที่สร้างได้ยากเพราะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนหลายอย่าง หลวงปู่บุญท่านจึงได้สร้างพระชัยวัฒน์ขึ้นมาเพียงครั้งเดียว และได้สร้างไว้จำนวนมากมายหลายองค์

สำหรับพระชัยวัฒน์ของหลวงปู่บุญ เป็นพระเครื่องที่สร้างเป็นกรณีพิเศษ พระชัยวัฒน์ของหลวงปู่บุญ มีสร้างขึ้นจำนวนมากนับได้หลายพันองค์และมีด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ชะลูด พิมพ์ขัดสมาธิเพชร บัวชั้นเดียว พิมพ์ป้อมใหญ่ พิมพ์ป้อมเล็ก(พิมพ์คอหนอก) พิมพ์ต้อ และพิมพ์ใหญ่ เป็นต้น สำหรับพิมพ์ชะลูดนั้น บางองค์ก็มีจารึกเป็นตัวนูนที่ใต้ฐานว่า "๑๑๘" เป็นเลขไทย อันหมายถึง ร.ศ.๑๑๘ ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.๒๔๔๔ อันเป็นปีที่สร้างพระชัยวัฒน์

หากสังเกตุพระชัยวัฒน์ของหลวงปู่บุญ จะเห็นว่ามีเนื้อโลหะแก่ไปทางทองเหลืองแบบทองผสม ส่วนกระแสวรรณะของเนื้อโลหะออกไปทางเหลืองอมเขียว ยกเว้นพระชัยวัฒน์บางองค์มีการทาหรดาลสีเหลืองทับ หรือบางองค์ปิดทองทับไว้และบางองค์ก็ทาชาดสีแดง ส่วนที่เป็นทองเหลืองล้วนๆ ไม่ได้ทาอะไรปิดทับเอาไว้เลยนั้นมีไม่น้อย
หลังจากสร้างเสร็จหลวงปู่บุญก็ได้แจกพระชัยวัฒน์ให้กับผู้ที่ศรัทธา และมีเหลือเก็บในกรุไว้บนเพดานมณฑปภายในวัดกลางบางแก้ว

จากเวป พุทธามหาเวท




พระกริ่งเศรษฐี(หลวงปู่ภูกุ้มข้าว) เนื้อเงิน สร้าง ๕ องค์



พระกริ่งนเรศวร วังจันทร์ ปีพ.ศ. ๒๕๑๕ หมายเลข ๕๒๑๖

เป็นพระกริ่ง ที่มีพระอริยสงฆ์ภาคอีสาน ไปร่วมพุทธาภิเษกเพียงหนึ่งเดียว
นั่นคือ หลวงพ่อผาง จิตตคุตดต วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ อ.มัญจาคิรี จ.ขอนแก่น
ผู้เชี่ยวชาญทั้งพระเวทย์ และวิปัสนากรรมฐาน
 
"มีคนเคยถามหลวงพ่อกวยว่า หลวงพ่อไม่สร้างพระกริ่งหรือ
ท่านตอบว่า ถ้าอยากได้พระกริ่งให้ไปบูชาพระกริ่งพิษณุโลก..."

"งานเขียน ของอาจารย์เฒ่า สุพรรณ"
หลวงพ่อกวย วัดบ้านแค จ.ชัยนาท


รายละเอียดจากหนังสือประวัติท่าน
ข้อมูลนี้อ้างอิงหนังสือ “อิทธิปาฏิหาริย์ และวัตถุมงคล หลวงพ่อกวย” ของ ฒ. สุพรรณ
๒๐ มกราคา ๒๕๑๕ สิ้นวสันตฤดู ย่างเข้าสู่เหมันต์ ปลุกเสกใหญ่โตมโหฬารที่เมืองพิษณุโลก”
เป็นบันทึกที่หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆษิตาราม (บ้านแค) เขียนบันทึกไว้

แสดงว่าหลวงพ่อมีการเตรียมตัวเอาไว้อย่างดี เป็นครั้งแรกที่หลวงพ่อได้มากราบพระพุทธชินราช
ทราบว่าหลังจากเสร็จพิธีพุทธาภิเษกแล้ว พระอาจารย์ท่านอื่นต่างแยกย้ายกันกลับวัดบ้าง
หรือพักค้างในวัดบ้าง แต่พระอาจารย์ของผมยังครับ...
เจ้าอาวาสนิมนต์ให้ค้างในวัด ท่านบอกว่าจะขอนั่งเล่นอีกสักพัก
พอปลอด..ไม่มีคนนอกจากศิษย์ไม่กี่คนที่ไปด้วยแล้ว
ท่านก็จับสายสิญจน์และปลุกเสกแต่เพียงผู้เดียว ทั้งแต่ค่ำยังเกือบสว่าง

ระหว่างที่ปลุกเสก ยามผู้เฝ้าประตูวัดเห็นอัศจรรย์มากมาย
สายสิญจน์ที่หลวงพ่อกวยจับ มีลูกไฟวิ่งไปตามสายสิญจน์
มีแสงฉัพพรรณรังสีพุ่งเข้าออกจากองค์พระประธาน
เดี๋ยวมีลมพัดแรง แสงไฟหลอดไฟ สว่างจ้าบ้าง
มีผู้เห็นพระบรมธาตุเข้าและออกจากพระพุทธชินราชหลายองค์ เป็นลูกไฟดวงๆ

ในพระอุโบสถ ยามและผู้เฝ้าวัดจึงนำวัตถุมงคลทั้งหมด
วางล้อมรอบตัวท่าน เมื่อท่านออกจากสมาธิในเวลาใก้ลสว่าง
ถึงกลับเดินออกมาไม่ได้ เพราะวัตถุมงคลเต็มไปหมด

‘พระกริ่งนเรศวรวังจันทน์’ปี๑๕‘พิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก’สุดยิ่งใหญ่ : ปกิณกะพระเครื่อง โดยเอ พระราหู
               เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๑๕ พุทธสมาคมพิษณุโลก ได้จัดพิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก ขึ้น ณ พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก

               เพื่อนำวัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นเข้าพิธีปลุกเสก เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่มาก ยากแก่การดำเนินการหาเจ้าพิธี ตลอดจนตำรับพระคาถา และพระภิกษุเจริญพระคาถาได้
ตามประวัติในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก ครั้งแรกได้จัดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ และจัดขึ้นอีกครั้ง เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๑๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๙ หลังจากนั้น ก็ไม่ปรากฏว่ามีการจัดพิธีเช่นนี้อีกเลย

               ในพิธีนี้ พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส กทม. และ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร เป็นเจ้าพิธี ได้กำหนดและควบคุมดำเนินการประกอบพิธี "จักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก" อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามแบบฉบับของโบราณพิธีทุกประการ

               คณะกรรมการพิธีฯ สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย ศ.ดร.สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัย

               พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี เป็นประธานบริกรรมปลุกเสก

               กรรมการฝ่ายเจ้าพิธี พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร อาจารย์มาโนช มาโสภาศ

               วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๑๔ คณะกรรมการพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก ได้ตกลงให้ นายช่างสวน จามรมาน ธนบุรี เป็นผู้ออกแบบพระพุทธลักษณะ พระกริ่ง และดำเนินการสร้าง โดยให้ทำตามแบบโบราณพิธีทุกประการ และอยู่ในความควบคุมของคณะกรรมการพุทธสมาคม จ.พิษณุโลก ตลอดเวลาทุกขั้นตอน

               วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๑๔ คณะกรรมการนำแผ่นเงิน แผ่นทอง เข้านมัสการขอบารมีพระคุณเจ้าผู้ทรงวิทยาคุณ ทั่วประเทศ รวม ๑๐๙ ท่าน ลงอักขระ คาถายันต์ และอธิษฐานจิตปลุกเสกแผ่นทองเงิน จนครบ ๗ เสาร์ ๗ อังคาร

               วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๑๔ คณะกรรมการได้นำแผ่นทองเงิน ที่พระคณาจารย์ ๑๐๙ รูป ลงอักขระและปลุกเสกแล้ว ขึ้นกราบทูลสมเด็จพระสังฆราช ทรงเจิม และประทานพร แล้วนำแผ่นทองเงินไปถวาย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดราชบพิธฯ, สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ,  สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพนฯ,  พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดจักรวรรดิฯ,  พระธรรมวิสุทธิ์วงศาจารย์ วัดสุทัศนฯ,  พระธรรมวิสุทธาจารย์ วัดพิชัยญาติฯ, พระเทพเมธี วัดทองนพคุณ, พระเทพโสภณ วัดชนะสงคราม เจิมอีกครั้ง และให้พรแห่งความสำเร็จในการสร้าง ประกาศสังเวยเทวดา

               วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๑๔  เวลา ๐๘.๑๙ น.  ประกอบพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยนายกพุทธสมาคม เป็นประธาน นายโปฏก โหรหลวง กล่าวบวงสรวง

               เวลา ๑๐.๑๙ น. นายกพุทธสมาคม จุดธูปเทียนบูชาครู โดย อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร เป็นเจ้าพิธี…เวลา ๑๒.๐๐ น. เจ้าคุณพระพิษณุบุราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จุดเทียนชัย พระคณาจารย์ ๙ รูป นั่งบริกรรมปลุกเสกแผ่นทองคำ แผ่นเงิน แผ่นทองแดง ซึ่งได้ลงอักขระคาถาเลขยันต์ พร้อมทั้งโลหะ ๙ อย่าง ที่จะหล่อ “พระกริ่งนเรศวรวังจันทน์” คือ ทองคำ  เงิน ทองแดง เจ้าน้ำเงิน เหล็กละลายตัว (เหล็กน้ำพี้) บริสุทธิ์ ชินปรอท สังกะสี  ซึ่งได้คำนวณน้ำหนักให้เป็นส่วนผสม เนื้อนวโลหะ ครบสูตร

               พระคณาจารย์ ๙ รูป ที่นั่งปรกบริกรรมปลุกเสก คือ พระเทพโสภณ (นิยม) วัดชนะสงคราม กทม., พระพ่อกรับ วัดโกรกกราก จ.สมุทรสาคร, หลวงพ่อละมูล วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี, หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ จ.นนทบุรี, หลวงพ่อลำยอง วัดสุนทรประดิษฐ์ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก

               หลวงพ่อม้วน วัดตลาดชุม อ.วังทอง จ.พิษณุโลก, หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง จ.นนทบุรี, หลวงพ่อธงชัย วัดพุทธมงคลนิมิต จ.นครสวรรค์, หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย เวลา ๑๘.๓๒ น. พิธีเททองหล่อ พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ นเรศวรวังจันทน์

               ระหว่างพิธีเททอง พระคณาจารย์ ๘ รูป ใน ๙ รูป นั่งล้อมโรงพิธี หันหน้าไปทิศทั้ง ๘

               อนึ่ง ก้อนเส้ารองรับเบ้า และดินสุมหุ่นใช้ดินกลางเมือง อันเป็นมงคลแข็ง ๕ แห่ง คือเมืองพิชัย จ.อุตรดิตถ์, เมืองชัยบาดาล จ.ลพบุรี, เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท, เมืองหริภุญชัย จ.ลำพูน และ เมืองท่าชัย จ.สุโขทัย

               น้ำพระพุทธมนต์ใช้น้ำจากทะเลแก้ว เมืองโอฆะบุรี ทะเลชุบศร เมืองละโว้ ถ่านและฟืนเชื้อเพลิงหลอมโลหะใช้ถ่านไม้ราชพฤกษ์ ๙ กระสอบ ฟืนไม้ราชพฤกษ์ ๙ ลบ.ม.

               ตั้งแต่วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๑๔ ช่างสวน จามรมาน ได้ตกแต่งพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ อยู่ในโรงงาน ภายในบริเวณบ้านพักของนายกพุทธสมาคม เพื่อเป็นการควบคุมมิให้ช่างมีโอกาสสร้างพระเสริมนอกพิธี หรืออื่นๆ อันเป็นการไม่สมควร

               เมื่อ พระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ ตกแต่งจนครบหมดแล้ว รวมทั้งพระบูชา และวัตถุมงคลทุกอย่าง สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการได้นำวัตถุมงคลทั้งหมด ประกอบพิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก ณ พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๑๕ โดยมีพระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิฯ และ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร เป็นเจ้าฝ่ายพิธีกรรม...สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร ) ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย

               ศ.ดร.สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี และนายกพุทธสมาคม เป็นประธานพิธีจุดเทียนบูชา

               หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ประธานบริกรรมปลุกเสก ในพิธีได้อาราธนาพระเกจิอาจารย์ซึ่งล้วนแต่สุดยอดแห่งยุค ร่วมพิธีปลุกเสก ๑๐๙ รูป อาทิ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี, หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก จ.ระยอง, หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง จ.บุรีรัมย์, หลวงพ่อสด วัดหางน้ำ จ.ชัยนาท,

               หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี, หลวงปู่ถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง จ.นนทบุรี, หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี

               หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี, หลวงพ่อเกษม สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง, หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์, หลวงพ่อโอด  วัดจันเสน จ.นครสวรรค์

               หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม จ.ชัยนาท, หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม จ.สิงห์บุรี, หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี, หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี, หลวงพ่อมิ่ง วัดกก ธนบุรี

               หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง, หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์, พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง, หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน จ.พัทลุง, พ่อหลวงสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร, หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ จ.ขอนแก่น, พระอาจารย์ถนอม วัดนางพญา, พระเกจิอาจารย์ใน จ.พิษณุโลก และจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ รวม ๑๐๙ รูป

               สำหรับน้ำพระพุทธมนต์ที่แช่พระกริ่งเข้าพิธี ใช้น้ำพระพุทธมนต์จากวัดตูม ซึ่งเป็นน้ำที่ออกจากพระเศียรพระพุทธรูป ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยใช้ในพิธีชุบพระแสง และเครื่องศัสตราวุธ รวมกับน้ำในบ่อน้ำพระพุทธมนต์ วัดพระพายหลวง (บ่อพระร่วง) อ.เมืองเก่า จ.สุโขทัย

พระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ ปี ๒๕๑๕ จัดเป็นพระกริ่งที่สร้างตามพิธีกรรมแบบฉบับโบราณ ที่ถูกต้อง และพิถีพิถันมากที่สุดอีกรุ่นหนึ่ง ที่น่าสะสมไว้สักการบูชาเป็นอย่างยิ่ง




สวัสดีครับพี่ปลัด กริ่งนเรศวรวังจันทร์งามมากครับ
ไม่รู้พี่พอทราบจำนวนการสร้างรึเปล่าครับเพราะองค์ของพี่ก็หลักครึ่งหมื่นแล้ว
จำนวนสร้างเยอะ แต่เห็นเค้าเปิดราคามาแต่ละองค์จะเป็นลม



จำนวนพระทั้งหมดมี ๖,๕๐๐ องค์ (ว่าตามสายตรง ไม่ใช่ ๕ พันกว่า)

http://www.g-pra.com/webboard/show.php?Category=general_talk&No=10402



พระพุทธชินราชอินโดจีน ๒๔๘๕ หน้านาง หางแซงแซว สังฆาฏิสั้น

ผู้ประกอบพิธี

สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานในพิธีหล่อพร้อมด้วยพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณต่างๆ จากทั่วราชอาณาจักร

พระชุดนี้ได้พิธีหล่อ และปลุกเสกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ (ปี พ.ศ.๒๔๘๕) โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราชแพ (ติสสเทวะ)
เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการ ได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำหรับการสร้างพระกริ่ง-พระชัยของวัดสุทัศน์นี้แล้ว ยังมีแผ่นทองจากท่านพระคณาจารย์ ที่นิมนต์มาร่วมพิธีปลุกเสกสมทบหล่อหลอมในครั้งนี้อีกด้วย จึงนับได้ว่าพิธีหล่อพระรูปจำลองพระพุทธชินราช เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพิธีหนึ่งในประวัติศาสตร์ชนชาติไทยที่จะหาพิธีไหนมาเปรียบเทียบได้ยากยิ่ง

รายนามพระอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสก พระพุทธชินราชในปี พ.ศ. ๒๔๘๕

๑.สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ เป็นองค์ประธานในพิธี
๒.ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ เป็นผู้ดำเนินการควบคุมการจัดสร้าง
๓.หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
๔.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
๕.หลวงปู่นาค วัดระฆัง
๖.หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู
๗.หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว
๘.หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง
๙.หลวงพ่อแช่ม วัดตากล้อง
๑๐.หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
๑๑.หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด
๑๒.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
๑๓.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
๑๔.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
๑๕.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา
๑๖.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
๑๗. หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
๑๘.พระพุทธโฆษาจารย์เจริญ วัดเทพศิรินทร์
๑๙.หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
๒๐.หลวงพ่อติสโสอ้วน วัดบรมนิวาส
๒๑.สมเด็จพระสังฆราชชื่น วัดบวรนิเวศ
๒๒.พระพุฒาจารย์นวม วัดอนงค์
๒๓.หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา
๒๔.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้
๒๕.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
๒๖.หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค
๒๗.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ
๒๘.หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้
๒๙.หลวงพ่ออาจ วัดดอนไก่ดี
๓๐.หลวงพ่อกลิ่น วัดสพานสูง
๓๑.สมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ
๓๒.หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม
๓๓.หลวงพ่อปาน วัดเทพธิดาราม
๓๔.หลวงพ่อเซ็ก วัดทองธรรมชาติ
๓๕.หลวงพ่อเจีย วัดพระเชตุพน
๓๖. หลวงพ่อเผื่อน วัดพระเชตุพน
๓๗.หลวงพ่อหลิม วัดทุ่งบางมด
๓๘. หลวงพ่อแพ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
๓๙.หลวงพ่อสอน วัดพลับ
๔๐.หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์
๔๑.หลวงพ่อบัว วัดอรุณ
๔๒. หลวงพ่อนาค วัดอรุณ
๔๓.หลวงพ่อปลั่ง วัดคูยาง
๔๔.หลวงพ่อชุ่ม วัดพระประโทน
๔๕.หลวงพ่อสนิท วัดราษฎร์บูรณะ
๔๖.หลวงพ่อเจิม วัดราษฎร์บูรณะ
๔๗.หลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ
๔๘.หลวงพ่ออาคม สุนทรมา วัดราษฎร์บูรณะ
๔๙.หลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม
๕๐.หลวงพ่อประหยัด วัดสุทัศน์
๕๑.หลวงพ่อปลอด วัดหลวงสุวรรณ
๕๒. หลวงพ่ออิ่ม วัดชัยพฤกษ์มาลา
๕๓.หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก
๕๔. หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
๕๕.หลวงพ่อครุฑ วัดท่อฬ่อ
๕๖.หลวงพ่อกลีบ วัดตลิ่งชัน
๕๗.หลวงพ่อทรัพย์ วัดสังฆราชาวาส
๕๘.หลวงพ่อแม้น วัดเสาธงทอง
๕๙.หลวงปู่รอด วัดวังน้ำว
๖๐.หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม
๖๑.หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตาคาม
๖๒.หลวงพ่อพิศ วัดฆะมัง
๖๓.หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก
๖๔.หลวงพ่อหมา วัดน้ำคือ
๖๕.หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง
๖๖.หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
๖๗.หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
๖๘.หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง
๖๙.หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า
๗๐.หลวงพ่อแนบ วัดระฆัง
๗๑.หลวงพ่อเลียบ วัดเลา
๗๒.หลวงพ่อพักตร์ วัดบึงทองหลาง
๗๓.หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า
๗๔.หลวงปู่เผือก วัดโมรี
๗๕.หลวงพ่อผิน วัดบวรนิเวศ
๗๖. หลวงพ่อเจียง วัดเจริญธรรมาราม
๗๗.หลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆษิตาราม
๗๘.หลวงพ่อไวย์ วัดดาวดึงส์
๗๙.หลวงพ่อกลึง วัดสวนแก้ว
๘๐. หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง
๘๑.หลวงปู่จันทร์ วัดคลองระนง
๘๒.หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร
๘๓.หลวงพ่อศรี วัดพลับ
๘๔.พระอาจารย์เชื้อ วัดพลับ
๘๕. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก
๘๖.หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ
๘๗.หลวงพ่อพริ้ง วัดราชนัดดา
๘๘.หลวงพ่อขำ วัดตรีทศเทพ
๘๙.หลวงพ่อหนู วัดปทุมวนาราม
๙๐.หลวงพ่อทองคำ วัดปทุมคงคา
๙๑.หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุธาราม
๙๒.หลวงพ่อกรอง วัดสว่างอารมณ์
๙๓.หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง
๙๔.หลวงพ่อบุญ วัดอินทราราม
๙๕.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดบึง
๙๖. หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง
๙๗.หลวงพ่อพรหมสรรอด วัดบ้านไพร
๙๘. หลวงปู่จันทร์ วัดโสมนัสวิหาร
๙๙.หลวงพ่อโสม วัดราษฎร์บูรณะ
๑๐๐. หลวงพ่อบุตร วัดบางปลากด
๑๐๑.หลวงพ่อโต วัดบ้านกล้วย
๑๐๒. หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางหัวเสือ
๑๐๓.หลวงพ่อวงศ์ วัดสระเกศ
๑๐๔. พระอาจารย์พงษ์ วัดกำแพง
๑๐๕.พระอธิการชัย วัดเปรมประชา
๑๐๖. หลวงปู่รอด วัดเกริ่น
๑๐๗.หลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ
๑๐๘.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ (ตัวท่านไม่ได้มาร่วมปลุกเสก แต่จารแผ่นทองเหลือง ทองแดงมาร่วมพิธี)





พระกริ่งหลวงปู่ภูสิงห์



พระกริ่งเจริญพร ๙๗ สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศน์
เนื้อนวโลหะปลอกผิว เกศทองคำ ก้นทองคำ หมายเลข ๕
จัดสร้างแค่ ๑๙ องค์ พิธีพุทธาภิเษก วัดบวรนิเวศน์
วันที่ ๘ สิงหาคม ปีพ.ศ. ๒๕๕๓















รูปหล่อหลวงพ่อเกษมเนื้อทองคำรุ่นอย.
หลวงพ่อเกษมอธิษฐานจิตเกือบหนึ่งชั่วโมง
หลวงปู่ดู่เดินญาณมาอธิษฐานจิตด้วย













รูปหล่อลอยองค์ เนื้อเงินหลวงพ่อเกษม เขมโก รุ่นมหากุศล อย. วิสาขบูชา ปี๒๕๓๒








พระรุ่นนี้จัดสร้างโดย คุณสุธันย์ สุนทรเสวี เมื่อปี ๒๕๓๒ ทั้งนี้ปัจจัยที่ได้จากการบูชาวัตถุมงคลนี้ได้ยกให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนา สถานีอนามัยวัดน้อยแสงจันทร์ สมุทรสงคราม โดยวัตถุมลคลชุดนี้สร้างมวลสารอันศักสิทธิ์ พิธีอธิษฐานจิต จัดขึ้นเมื่อวันวิสาขบูชา ตรงกับวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๒ ในพิธีมหากุศลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข หลวงพ่อเกษมท่านเมตตาอธิษฐานจิตให้อย่างยาวนาน เกือบหนึ่งชั่วโมงเต็ม และในขณะเดียวกัน หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา ก็ได้เริ่ม เดินญาณส่งจิตมายังมณฑลพิธีเพื่อร่วมเสกด้วย จัดเป็นวัตถุมงคลที่พระอริยะ ที่มีผู้เคารพนับถืออย่างสูงทั้งสองรูป ได้ร่วมอธิษฐานจิต อย่างเข้มขลัง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 02, 2022, 01:56:10 PM โดย porpek »



พระเนื้อว่านบุเงิน หน้าตักสองนิ้ว สมัยอยุธยา
เป็นพระที่บูชาพระบรมธาตุพระเจดีย์ สร้างเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 03, 2018, 10:03:08 AM โดย porpek »



พระกริ่งนวโลหะ ตอกโค๊ด ๒ โค๊ด อาจารย์เชื้อ วัดสะพานสูง กรุงเทพมหานคร







จากงานเขียน / เรียบเรียง โดย : ฅนขลัง คลังวิชา (คัดย่อมาบางส่วน)

พระอาจารย์เชื้อ หนูเพชร อดีตพระเกจินามกระเดื่องแห่ง วัดสะพานสูง บางซื่อ ผู้เคยประกอบพิธีเสกข้าวสารเป็นกุ้งฝอยร่วมกับ อาจารย์ชุม ไชยคีรี ที่ภายในโบสถ์วัดสะพานสูง บางซื่อ ซึ่งในอดีตท่านพระอาจารย์เชื้อ หนูเพชร จัดเป็นพระเกจิอาจารย์ที่วิชาอาคมขลัง รอบรู้สรรพวิชาทางเข้มขลังชนิดหาตัวจับยาก ภายหลังท่านทราบเรื่อราวของหลวงปู่เดินหน อิเกสาโร ท่านจึงเดินทางมาพิสูจน์ด้วยตนเอง ภายหลังท่านยอมทั้งฝากตัวเป็นศิษย์ และเคารพหลวงปู่เดินหนมาก
............
❀❀❀❀❀❀❀❀
............
ท่านยกเป็นบรมครูใหญ่เลยทีเดียว สมัยก่อนหากใครเคยไปกราบพระอาจารย์เชื้อ จะเห็นที่นั่งรับแขกของท่านมีภาพหลวงปู่เดินหนขนาดกว้างยาวเป็นเมตร เรียกว่าขนาดใหญ่สุดที่พอจะแขวนได้ แขวนอยู่ด้านหลังที่นั่งรับแขกของท่าน หากใครถามว่าภาพพระที่ไหน พระอาจารย์เชื้อท่านจะตอบทันทีว่า **อาจารย์ใหญ่ฉันเอง** ทราบว่าหลวงปู่สอนวิชาให้ท่านไปมากพอสมควร เช่น วิชาสร้างธงทำเงิน-ธงทอง (เรียกลาภ), วิชานั่งทางใน และวิชาที่ท่านเรียนรู้ไป ทั้งทำได้สมบูรณ์ตามตำราที่หลวงปู่เดินหนสอนให้ไป คือ วิชาหล่อหลอมโลหะเพื่อสร้างวัตถุมงคล
............
❀❀❀❀❀❀❀❀
............

ผู้ที่ชอบสะสมพระเครื่องทราบดีว่า พระอาจารย์เชื้อ วัดสะพานสูง (บางซื่อ) ท่านชอบสร้างรูปหล่อจากโลหะผสมตามตำราของท่าน โดยสร้างเป็นพระพุทธรูป พระอุปคุต และรูปพระคณาจารย์ต่าง เช่น หลวงปู่แหวน, เจ้าคุณนรรัตน์ ฯลฯ หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าพระเครื่องของพระอาจารย์เชื้อมีกระแสเนื้อโลหะที่แปลกตา เรียกว่าเนื้อพระมีเสน่ห์และเอกลักษณ์ในตัว เนื้อโลหะของท่านไม่เหมือนสำนักใดเลย เนื้อโลหะดูสุกปลั่งงดงามไม่ว่าผ่านวันเวลานานแค่ไหนก็ตาม ซึ่งสูตรการผสมเนื้อโลหะนี้ท่านเรียนรู้จากหลวงปู่เดินหนโดยตรง จึงทำให้ได้เนื้อพระที่แปลกมีความเข้มขลังในตัวสูง เรียกว่าความขลังตั้งแต่โลหะ และมวลสารวิเศษที่นำมาหลอมรวมกัน เกิดคุณวิเศษตังแต่ยังไม่เสกก็คงไม่ผิด
............
❀❀❀❀❀❀❀❀
............

พระเครื่องที่พระอาจารย์เชื้อหลอมสร้างขึ้นนั้น ท่านจะทำด้วยตนเองภายในวัดแบบโบราณทุกขั้นตอน เมื่อได้พระเครื่องรูปแบบต่าง ๆ พอสมควรแล้วท่านจะนำพระเครื่องทั้งหมดแช่ในตุ่มน้ำมนต์ และโยงสายสิญจน์เข้าไปในกุฏิที่หิ้งบูชาพระของท่าน โดยท่านจะอัญเชิญบารมีหลวงปู่เดินหนมาปลุกเสก น่าแปลกที่พระทุกองค์แช่อยู่ในตุ่มน้ำมนต์เป็นเวลานาน แต่โดยมากแทบไม่เคยพบพระเครื่องของท่านที่เป็นสนิมเลย และในงานทำบุญประจำปีของหลวงปู่เดินหน เคยมีพระที่หลวงปู่เดินหนเรียกมาแจกศิษย์ (คว้ามาจากอากาศ) เห็นเป็นพระเครื่องชนิดรูปหล่อแบบต่าง ๆ ของ พระอาจารย์เชื้อ หนูเพชร ติดมาด้วยหลายครั้งเช่น พระพิมพ์อุปคุต, พิมพ์หลวงปู่ทวด ฯลฯ จึงยืนยันได้ว่ารูปหล่อเนื้อโลหะของพระอาจารย์เชื้อ ต้องเป็นของดีวิเศษที่หลวงปู่ท่านปลุกเสกให้อย่างแน่นอน ท่านจึงได้เรียกคว้ามาจากอากาศเพื่อแจกศิษย์
............
❀❀❀❀❀❀❀❀




รูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร พิมพ์นิยม
แข่งเรือแข่งรถแข่งพายแข่งได้ แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งกันไม่ได้
เพราะเป็นสิ่งที่ต้องสะสมมาแต่ชาติปางก่อน
วาสนาได้แค่นี้ก็ดีใจพอใจแล้ว...






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 02, 2022, 01:48:00 PM โดย porpek »



รูปหล่อหลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน
อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี
รุ่น ๗๑ พรรษา ปี พ.ศ. ๒๕๑๗








ย้อนหลังไป ปีพ.ศ.ประมาณ ๒๕๓๐ ยังเด็กๆวัยรุ่น หนังสือพระเล่มแรกที่อ่านก็หนังสือนะโม ได้ลงประวัติรูปหล่อรุ่นนี้ ว่า "หลวงพ่อเอีย เทโลหะหล่อรูปเหมือนรุ่นนี้เองที่วัดบ้านด่าน" โดยผสมด้วยตะปูสังฆวานรที่หลวงพ่อเอีย ได้มาจากการซ่อมพระอุโบสถ วิหาร เสนาสนะต่างๆ พร้อมด้วยแผ่นยันต์จำนวนมากของหลวงพ่อเอีย และเครื่องทองเหลืองทองแดงที่ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจมาถวายท่านเพื่อร่วมในการหล่อรูปเหมือนรุ่นนี้ หลวงพ่อเอียท่านตั้งใจมาก ถึงขนาดเททองเองที่วัด และยังจารที่ฐานรูปหล่อทุกองค์ซึ่งไม่มีปรากฎในรุ่นใดมาก่อน ที่ท่านได้ลงเหล็กจารทุกองค์

ซึ่งตะปูสังฆวานร เป็นตะกั่วผสมโลหะหลายๆ อย่าง เช่น สังกะสี ดีบุกเป็นต้น ในการหล่อพระถ้าใครมีเพื่อนหรือมีความรู้ด้านนี้จะทราบว่า นวโลหะ จะผสมกับตะกั่ว และทองเหลืองไม่ได้ จะทำให้เนื้อนวโลหะร้าวแตกได้ และในการหล่อพระต่างๆ ถ้าเทที่วัดจะเป็นการหล่อเนื้อเดียวเท่านั้น หมายถึงถ้าหล่อนวโลหะจะหล่อแต่นวโลหะ ถ้าหล่อโลหะผสมก็หล่อแต่โลหะผสม เช่นพระกริ่งนวโลหะของสังฆราชแพ เจ้าคุณศรีสนธิ์ ส่วนหล่อเป็นโลหะผสม พระชัยวัฒน์หลวงปู่บุญ พระกริ่งไกลปืนเที่ยง๒๔๖๓ จะไม่มีการหล่อหลายๆโลหะในพิธีเดียวเพราะยุ่งยากทำได้ยาก ส่วนมากจะต้องไปหล่อโรงงานเช่น พระกริ่งโฆษปัญโญ ๒๕๓๕ หลวงปู่คำพันธ์ในพิธีก็เทแต่นวโลหะ ส่วนเนื้ออื่นๆ ก็ไปเทโรงงาน

ดังนั้นเพื่อตัดปัญหายุ่งยาก ว่าหลวงพ่อเอียเทเองหรือไม่ ก็เลยบูชาเนื้อโลหะผสมดีกว่า มั่นใจว่าหลวงพ่อเอียเทในพิธีแน่ และผสมกับชินสังฆวานร แผ่นจารยันต์ต่างๆ มั่นใจได้ ถ้าทุกๆท่านไม่คำนึงถึงราคา เอาความมั่นใจ แนะนำรุ่นนี้บูชาเนื้อโลหะผสมดีกว่าครับ...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 02, 2022, 01:48:38 PM โดย porpek »




 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi