[Thesun]พระกรรมฐานพ่อแม่ครูอาจารย์และพระเกจิอาจารย์ทั่วไป(อ่าน 648096 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

19.พระนิรันตราย 'วลว' หลวงพ่อโชติ วัดวชิราลงกรณ์วราราม(วลว.) จ.นครราชสีมา พ.ศ.2506 สวยๆ 500-


ประวัติหลวงพ่อโชติ คุณสัมปันโน (พระเทพสุทธาจารย์) วัดวชิราลงกรณ์ ท่านเป็นพระสายกรรมฐาน ลูกศิษย์ของหลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ และหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ท่านระลึกชาติได้ครับ เรื่องของหลวงพ่อโชตินี้เป็นเรื่องฮือฮามากในยุคนั้น แม้แต่พระชั้นผู้ใหญ่ระดับสมเด็จพระสังฆราชยังทรงมีพระบัญชาให้เข้าไปเล่าถวายเลย และบันทึกเรื่องไว้ ....ท่านเกิด(พ.ศ.2451) มาจากท้องแม่วันแรกก็ระลึกได้ชัดเจนเลยว่าตนเองเป็นอดีตพี่ชายของแม่ของตนเองในชาติปัจจุบันก่อนหน้านั้นตนเองถูกฆ่าตายจิตเป็นห่วงน้องสาวจึงมาหาน้องสาวที่บ้านซึ่งขณะนั้นน้องสาวยังเริ่มตั้งครรภ์อ่อนๆ รู่สึกคล้ายถูกดูดเข้าในท้องน้องสาวทันทีเดี๋ยวนั้น ตอนที่เป็นทารกน้อยๆรู้สึกอึดอัดมากอยากจะพูดบอกความจริงแต่พูดไม่ได้เพราะยังแบเบาะอยู่มาก พอเริ่มได้ขวบกว่าหรือสองขวบเริ่มพูดได้ก็บอกแม่เลยว่าเป็นใคร ปรากฎว่าถูกตีแทบแย่ เพราะคติคนโบราณจะกลัวคนระลึกชาติได้ ถ้ารู้ว่าเด็กคนไหนระลึกชาติได้ จะบังคับทุบตีห้ามพูดอีก จนนานๆเข้าเด็กก็ค่อยๆลืมไป รู้สึกคล้ายเป็นความฝันไป แต่หลวงพ่อโชติไม่ลืมจนกระทั่งเติบโต และพูดเหตุการณ์ชาติที่แล้วและพิสูจน์หลักฐานทุกอย่างได้สมบูรณ์ทุกประการ เรื่องนี้มักจะเป็นเรื่องเล่าในหมู่ผู้ปฏิบัติเสมอ (มรณภาพ พ.ศ.2517)

***พระเครื่องเหรียญรุ่นแรกของท่าน สร้างปี 2506*** คนโคราชมักเรียกว่าเหรียญระลึกท่านเจ้าคุณโชติ เป็นเหรียญหลักที่หายากเหรียญหนึ่งในโคราชครับ

วัดวชิราลงกรณ์ นี้ไม่ธรรมดาครับ เป็นวัดพระอารามหลวง สร้างเมื่อปี 2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช(มีพระชนมมายุ 9 พรรษา) ได้เสด็จมาประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ และปี 2510 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ เสด็จถวายทอดกฐิน เป็นการส่วนพระองค์ วัดนี้มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ชื่อ"พระพุทธมหาวชิราลงกรณ์" ซึ่งออกแบบและดำเนินการก่อสร้างโดยอาจารย์ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ผู้ออกแบบแม่พิมพ์ พระพุทธนวราชบพิตร และพระสมเด็จจิตรลดา เจ้าคุณโชติ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ซึ่งก่อนหน้านั้นหลวงพ่อท่านเคยเป็นเจ้าคณะจ.สุรินทร์ เจ้าคณะจ.นครราชสีมา และเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดสุทธจินดา ฝ่ายธรรมยุต วัดใหญ่ในเมืองโคราชอยู่แล้ว แต่ทางวังหลวงท่านนิมนต์ให้ไปครองวัดที่สร้างขึ้นนี้โดยเฉพาะ




20.เหรียญสมเด็จพระนเรศวร ปี24 ท่านพิศาล มูลศาสตรสาทร จัดสร้าง พระดี พธีใหญ่ ทีเดียว 2 เหรียญ พร้อมใบกำกับการจัดสร้าง 2 เหรียญ 700-

ปิดครับ คุณอ๋า

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 28, 2017, 11:47:40 AM โดย thesun »



21.แหวนเงินลงถม พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร ปี16 ตัวเรือนอัลปาก้า หายาก
สร้างน้อย
ปิด-
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2017, 01:37:19 PM โดย thesun »



22.เหรียญรุ่นแรก พระครูวิรุฬห์ธรรมโอภาส (หลวงปู่หนูบาล จนฺทปญฺโญ) วัดอรัญญวิเวก อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ด้านหลังเจ้าของเอาอัฐิหลวงปู่สมัยบวชเป็นเณรเก็บอัฐิท่านด้วยตัวเองมาเลี่ยมบูชา หนึ่งเดียว หายาก 2200-

ปิดครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 28, 2017, 11:48:12 AM โดย thesun »



23.ล๊อคเก็ตหลวงปู่มัง มังคโล วัดเทพกุญชรวราราม จ.ลพบุรี ฉากขาวดำ หลังจาร หายาก 850- ท่าน  j999

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2017, 01:37:33 PM โดย thesun »



24.ล๊อคเก็ตหลวงปู่มัง มังคโล วัดเทพกุญชรวราราม จ.ลพบุรี ฉากฟ้า หลังจาร หายาก 850-  ท่าน j999

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2017, 01:37:47 PM โดย thesun »



25.เหรียญหลวงพ่อกัสสปมุนี วัดปิปผลิวนาราม จ.ระยอง รุ่น2 จัดเป็นรุ่นสุดท้ายของหลวงพ่อ ฉลองอายุ 80 ปี เมื่อปี2532 พิมพ์ทรงเดียวกับเหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อ หายากครับรุ่นนี้ 650-


อภิญญา-หลวงพ่อกัสสปมุนี วัดปิปผลิวนาราม อ.บ้านค่าย จ.ระยอง (ยาวหน่อยค่อยๆอ่าน สนุกมาก)

หลวง พ่อกัสสปมุนี วัดปิปผลิวนาราม อ.บ้ายค่าย จ.ระยอง เกิดที่กรุงเทพมหานคร เดิมชื่อประจงวาส ต่อมาเปลี่ยนเป็นประยุทธิ วรวุธิ นามสกุลอาภรณ์สิริ บิดาท่านคือพระพาหิรรัชฏพิบูลย์(ประวัติ อาภรณ์สิริ) นามมารดาคือนางพาหิรรัชฏพิบูลย์ สมัยเป็นฆราวาส ท่านได้สมรสกับนางประชุมศรี อาภรณ์สิริ มีบุตรชาย2 คน บุตรหญิง 2 คน
หลวงพ่อกัสสปมุนีเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ต่อมาจึงได้ย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญ โดยเลือกภาษาอังกฤษเป็นวิชาเลือก จนจบชั้นม.6

เพราะเหตุที่ภาษาอังกฤษของหลวงพ่อกัสสปมุนีอยู่ในขั้นดีมาก เมื่อเรียนจบ ท่านจึงเข้าทำงานที่บริษัทวินเซอร์ของอังกฤษ แต่บิดาท่านให้ย้ายออกมาทำที่กรมสรรพากร ซึ่งท่านก็อนุโลมตามใจบิดาท่านด้วยแรงกตัญญู ซึ่งท่านก็ได้เจริญในหน้าที่การงานและทางโลกด้วยดียิ่งตลอดมา จนกระทั่งได้รับการโอนย้ายไปอยู่กระทรวงอุตสาหกรรม และได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบอันมีเกียรติยิ่ง แต่ท่านขอไม่รับ เพราะเริ่มมีดวงตาเห็นธรรมและเบื่อหน่ายในโลกียวิสัย ท้ายสุด ท่านก็ได้ขอลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุถึง 3 ปี

หลวงพ่อกัสสปมุนีท่านบวชเมื่ออายุ ๕๒ ปี สมัยที่ยังไม่บวชท่านทำงานอยู่ฝ่ายสรรพสามิต ท่านจะดื่มเหล้าเก่ง ตอนหลังท่านเห็นโทษของการดื่มเหล้า และเกิดเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส จึงได้ลาออกจากราชการ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยได้โอนบ้านที่ดินและทรัพย์สินให้กับครอบครัวท่านจนหมดสิ้น จากนั้นท่านได้ไปฝากตัวอยู่กับสมเด็จ พระวันรัต (ต่อมาทรงได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จพระสังฆราช วัดโพธิ์ ท่าเตียน) โดยเป็นอุบาสก นุ่งขาวห่มขาว ถือศีลอุโบสถอย่างเคร่งครัด ในที่สุดจึงได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ แม้บวชได้เพียงพรรษาเดียว หลวงพ่อกัสสปมุนี ได้ออกธุดงค์ ไปบำเพ็ญเพียรภาวนา อยู่บนยอดเขาภูกระดึง อันแสนจะหนาวเหน็บ (เดือน พ.ย. ๒๕๐๖) หลังจากนั้นถัดมาอีกเพียง พรรษาเดียว ท่านก็ได้จาริกแสวงบุญ ไปบำเพ็ญภาวนาในแดนไกล คือเมือง ฤาษีเกษ ประเทศอินเดีย เมืองนี้เป็นที่ชุมนุม ของโยคี ฤาษี มุนีไพร ผู้ทรงตบะและฤทธาอันแก่กล้ามากมาย ต้องเก่งจริงๆ ถึงจะอยู่ได้อย่างสันติอิสระ


***************************************************************************

** เมื่อหลวงพ่อกัสสปมุนีลากรถไฟขึ้นเขาด้วยพลังจิต**

เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อออกพรรษา ปวารณาปี พ.ศ. ๒๕๐๗ แล้ว หลวงพ่อฯ ก็ได้เดินทางไปยังประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ ๒๘ พ.ย. ๒๕๐๗ โดยสายการบิน ซี.พี.เอ. ร่วมกับคณะทัศนาจรแสวงบุญ ซึ่งมีทั้งพระ และฆราวาส อาทิเช่น ท่านเจ้าคุณราชปัญญาเมธี เจ้าคณะจังหวัดยะลา ท่านเจ้าคุณสิริสารโสภณ เจ้าคณะอำเภอยะลา หลวงพ่อทิม วัดช้างไห้ ผู้สร้างพระเครื่อง หลวงพ่อทวด อันลือลั่นไปทั่วประเทศ และท่านเจ้าคุณ ญาณวิริยาจารย์ วัดธรรมมงคล ซอยปุณณวิถี พระโขนง ซึ่งเป็นศิษย์เอก พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ฝ่ายฆราวาสก็มี นายเอื้อ บัวสรวง ธ.บ. และ เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต นายน่วม นันทวิชัย นายกพุทธสมาคม สิงห์บุรี จุดมุ่งหมายของคณะจาริกแสวงบุญ คือจะพากันไปนมัสการ สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง ด้วยความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธคุณ และ เพื่อปลงธรรมสังเวช หลวงพ่อกัสสปนั้น ต้องการจะเดินทางต่อไป เพื่อไปจำศีลภาวนาที่เมือง “ฤาษีเกษ” อันเป็นเมืองของนักพรต ฤาษีชีไพร นักบำเพ็ญตบะ พวกนุ่งลมห่มฟ้า (ฑิฆัมพร) และ นักบวชนิกายต่างๆ
การเดินทางไปนมัสการต้นศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา ไปชมเมืองราชคฤห์ หรือรัฐพิหารในปัจจุบัน ไปเมืองพาราณสี แล้วขึ้นรถไฟไปยังตำบลสารนาถ คือ ป่าอิสิปตน มฤคทายวัน อันเป็นสถานที่ พระบรมศาสดาทรงแสดงปฐมเทศนา เสร็จสิ้นไปตามลำดับ ต่อจากนั้นก็ไปยังตำบลกุสินาราน์ สถานที่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ซึ่งหลวงพ่อกัสสปมุนี เล่าถึงตอนนี้ว่า

“รถได้พาคณะเรามาถึงเมือง กุสินาราน์ เวลาประมาณ ๙.๐๐ น. ความใฝ่ฝันของอาตมาภาพแต่อดีต ที่ใคร่จะได้เห็นเมืองกุสินาราน์ และสถานที่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานยิ่งนัก บัดนี้ความใฝ่ฝันนั้น ความปรารถนาอันแน่วแน่นั้น ก็ได้บรรลุผลแล้ว ใครจะเดินล่วงหน้าไปแล้วก็ตาม อาตมาภาพยังคงยืนเหลียวไปโดยรอบ เพื่อพินิจพิจารณา บริเวณสถานที่นั้นให้เต็มตา

แต่อนิจจา ! อันว่าป่าสาลวัน อันเป็นสวนที่แวะพักของเหล่ามัลละกษัตริย์ และเป็นที่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานของพระบรมศาสดาของเรา คงมีเหลืออยู่แต่ชื่อ อันเป็นที่หมายรู้เท่านั้น เพราะบัดนี้มีสภาพเป็นที่โล่ง มีต้นไม้เบาบาง ปราศจากหมู่ และกลุ่มไม้ ต้นสาละ หรือต้นรังอินเดีย มีอยู่ไม่มากนัก แต่ทางการอินเดียเขาได้จัดรักษา และบำรุงอย่างดีมาก แม่น้ำหิรัญญวดี ที่ได้กล่าวไว้ในพระสูตรก็มิได้มี นี้ก็เป็นอนุสสติให้ระลึกพิจารณา ถึงความแปรปรวนแห่งสังขาร เครื่องผสมปรุงแต่ง ว่าไม่เที่ยง ย่อมแปรผันเปลี่ยนไป อาตมาสลดใจจึงรีบเดินตามหมู่พวกไป เห็นพวกเรากำลังขึ้นบันได เข้าสู่อาคารหลังหนึ่ง ทำแบบวิหาร อาตมาภาพจึงตามติดเข้าไป ที่นี่เอง คือที่ตั้งพระวิหาร ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา

ปางอนุฏฐานไสยาสน์ (คือปางเสด็จบรรทม โดยไม่ลุกอีกต่อไป) นายช่างปฏิมากรรม เขาปั้นเป็นพระพุทธรูปนอนตะแคงขวา แต่ไม่หลับพระเนตร เลยกลายเป็น พระพุทธปฏิมานอนลืมพระเนตร ช่างปั้นคงไม่ได้คิดถึงข้อนี้ เพราะเป็นช่างแขกอินเดีย ซึ่งพิจารณาดูแล้ว เห็นว่าผิดความจริงอย่างยิ่ง แต่ก็ประหลาดอย่างยิ่งอีกเหมือนกัน เพราะขณะที่อาตมาภาพยืนอยู่นั้น รู้สึกเหมือนกับว่า ได้เข้ามาเฝ้าเฉพาะพระพักตร์พระพุทธองค์ ซึ่งผิดกับสถานที่อื่นๆ เช่น ที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ อันเป็นที่ตรัสรู้ และ ที่สารนาถที่แสดงปฐมเทศนา เอ๊ะ... นี่ยังไงกัน ? ที่นี่เหมือนมีแม่เหล็ก อาตมาจึงพิงไม้เท้าไว้ที่ประตู ปลดย่ามลงจากบ่า ทรุดตัวลงคุกเข่าพร้อมกับเพื่อนสพรหมจารี จุดธูปเทียนน้อมอภิวาทถวายนมัสการบูชา ด้วยหัวใจอันวังเวง ดูเหมือนว่ามีอะไรอบอุ่นวนเวียนอยู่ใกล้ๆ และมีอะไรเย็นๆ พรมไปตามตัว มิใยใครจะลุกไปแล้ว อาตมาภาพก็ยังคงคุกเข่า พนมมือหลับตา ใจจดใจจ่ออยู่อย่างนั้น ช่างอบอุ่นร่มเย็น และสงบแท้ นี่เป็นความรู้สึกขณะนั้น จนคณะพากันออกไปหมด อาตมาภาพจึงได้ลุกขึ้นเดินเวียนประทักษิณ แล้วจะเดินออกประตู เห็นหลวงพ่อทิมวัดช้างไห้ กำลังยืนพนมมืออยู่ข้างมุมประตู ตาลืมจ้องดูที่พระพุทธรูป

อาตมาจึงเอื้อมมือจะไปหยิบไม้เท้าที่พิงอยู่ ข้างประตู
ทันใดนั้น อัศจรรย์ยิ่ง อัศจรรย์จริงๆ มีเสียงหนึ่งกระซิบที่หูเบาๆ แต่ชัดเจนว่า
“ทำไมไม่กราบพระบาท! ทำไมไม่กราบพระบาท!”

อะไรกัน อาตมาหันขวับไปดูหลวงพ่อทิมวัดช้างไห้ ก็เห็นกำลังยืนอยู่ไม่ห่างในท่าเดิม แล้วเป็นเสียงใคร? อาตมาจึงหันมาจะหยิบไม้เท้าอีก ก็มีเสียงกระซิบอีกอย่างชัดเจน อ่อนน้อมว่า
“ ทำไมไม่กราบพระบาท! ทำไมไม่กราบพระบาท! ”

อาตมาชะงัก ฉุกคิดอะไรขึ้นมาได้บางอย่าง หันกลับเดินไป ทรุดคุกเข่าอยู่ที่ปลายพระบาทพระพุทธปฏิมา ปางไสยาสน์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน กราบแล้วกราบอีก แล้วพนมมือน้อมระลึกถึง พระพุทธคุณ และพุทธานุภาพ ที่ได้ทรงปกแผ่ไปเป็นอนันตเขต แม้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานนานแล้ว แต่พุทธเกษตรนี้ยังกระจ่าง อีกนานไกล อาตมาภาพพนมมือ ค้อมตัวลงปลงธรรมสังเวช

เสียงหลวงพ่อทิม วัดช้างไห้ สะอื้นเบาๆ อยู่ทางเบื้องหลัง ไม่ทราบว่าหลวงพ่อทิม มายืนอยู่ตั้งแต่เมื่อไร อาตมาลุกขึ้น ถามท่านว่า
“หลวงพ่อสะอื้นทำไม ?”
“เห็นแล้วมันตื้นตันใจ บอกไม่ถูก”
หลวงพ่อทิม ตอบเสียงสะอื้น เป็นคำตอบที่กลั่นออกมาจากหัวใจของพระสาวก ถึงแม้จะเกิดทีหลัง ห่างไกล นานถึงสองพันปีเศษก็ตาม ความผูกพันในพระพุทธบิดา ย่อมมีอยู่แก่สมณศากยบุตรพุทธชิโนรส ด้วยประการฉะนี้”

วันเสาร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๗ คณะของหลวงพ่อกัสสป ฉันอาหารเช้าแล้ว ได้เวลา ๙.๐๐ น. จึงพาพวกอุบาสกและอุบาสิกาออกเดินทาง ไปยังสถานีเนาก้า เพื่อไปยังสวนป่าลุมพินีวันในแคว้นเนปาล อันเป็นสถานที่พระบรมศาสดาทรง ประสูติ ถึงสถานีเนาก้าเวลา ๑๑.๐๐ น. แต่เจ้ากรรมแท้ๆ ... ที่พนักงานรถไฟแขกอินเดียมันมักง่าย ตัดรถตู้คณะของหลวงพ่อกัสสปมุนีออกปล่อยทิ้งไว้ อยู่ห่างจากตัวสถานีเกือบสามร้อยเมตร ตรงที่รถตู้ถูกตัดออกนี้เป็นที่ลาดต่ำกว่าที่ตั้งสถานี และห่างจากที่รถบัสจอดเกือบครึ่งกิโลเมตร

ในคณะแสวงบุญของหลวงพ่อ มีอุบาสิกาอยู่ในวัยชราหลายคนจะต้องเดินไกล ทั้งตัวรถตู้ก็สูง บันไดก็ยิ่งลอยสูงขึ้นไปด้วย เพราะรถถูกตัดทิ้งไว้ในที่ลาดต่ำ แม้แต่ผู้ชายที่แข็งแรงอย่างนายเอื้อ บัวสรวง ก็ยังต้องเกร็งข้อโหนตัวลอยขึ้นไป ยิ่งเป็นพระ เป็นผู้หญิงยิ่งทุลักทุเลใหญ่ ทำให้นายสุวรรณ เจามหาสุข ผู้อำนวยการเดินทางในครั้งนี้ และนายเอื้อ บัวสรวงโมโหมาก ปัญหาจึงมีอยู่ว่า จะทำอย่างไรจึงจะให้ตู้รถแล่นขึ้นไปจอดบนชานชาลาเหนือสถานีได้

ในที่สุดปรึกษาตกลงกันได้ว่า ให้คณะแสวงบุญที่ขึ้นไปก่อนลงมาจากรถเพื่อให้รถเบาขึ้น แล้วจ้างพวกแขกสองสามคน และเด็กแถวนั้นให้ช่วยกันดันรถ แต่เมื่อทำดูแล้วรถไม่ได้ขยับเขยื้อนเลย เพราะตู้รถไฟใหญ่กว่าตู้รถไฟในบ้านเมืองเรามาก มีน้ำหนักเป็นตันๆ และจะต้องดันให้เคลื่อนขึ้นที่สูงเสียด้วย มันต้องใช้ช้างสารฉุดถึงจะเขยื้อนขึ้นไปได้
ตอนนี้นายเอื้อ บัวสรวงเห็นหมดหนทางที่จะพึ่งแรงคน จึงคิดจะพึ่งแรงบารมีของพระเสียแล้ว จึงได้หันมาอาราธนาขอร้อง อาจารย์วิริยังค์ (ท่านเจ้าคุณญาณวิริยาจารย์) ช่วยให้รถเคลื่อนด้วยอานุภาพที่ท่านมีอยู่ เพราะมองไม่เห็นใครที่จะช่วยได้ ก็ต้องพึ่งพระกันบ้าง
ท่านพระอาจารย์วิริยังค์ ได้เข้าไปยืนข้างตู้รถไฟภาวนาอยู่สักครู่ก็ทำท่าดัน แล้วบอกให้ทุกๆ คนช่วยกันดันรถ แต่ดันเท่าไหร่ๆ รถก็ไม่มีทีท่าจะเขยื้อน

นายเอื้อจึงได้หันมาอาราธนาท่านเจ้าคุณเจ้าคณะจังหวัด ยะลา ท่านเจ้าคุณเจ้าคณะอำเภอยะลาและหลวงพ่อทิมวัดช่างไห้ ขอให้ช่วยแสดงอานุภาพทำให้ตู้รถไฟเคลื่อนที่ แต่ท่านทั้งสามองค์ก็ตอบตรงๆ ว่าไม่ได้ฝึกมาทางนี้ คือไม่ได้ฝึกทางอภิญญา สุดท้ายนายเอื้อ บัวสรวงหมดหนทางอับจนปัญญา จึงได้ขอร้องให้ หลวงพ่อกัสสปมุนี ช่วยด้วย

“ยังเหลือแต่หลวงพ่อกัสสป องค์เดียวเท่านั้น ผมเชื่อว่าคงจะไม่สิ้นหวังเสียทั้งหมด”
นายเอื้อ บัวสรวง พูดค่อนข้างเสียงดังเปิดเผย พลางพนมมือนอบน้อม หลวงพ่อกัสสป จึงเอ่ยว่า
“ทำไมมาเจาะจงอาตมา ก็ท่านเหล่านั้นยังรับไม่ไหว แล้วอาตมาภาพจะรับได้ยังไง”
นายเอื้อ บังสรวง ได้ยืนกรานว่า
“ถึงอย่างนั้น ก็ขอให้หลวงพ่อเห็นแก่ญาติโยมผู้หญิง และคนแก่ เถอะครับ ที่จะต้องโหนตัวขึ้นรถ”ว่าแล้วก็ไหว้อีก หลวงพ่อกัสสปเห็นนายเอื้อมีความมั่นใจเช่นนั้น จึงจำเป็นต้องช่วยสงเคราะห์ จึงบอกเบาๆ ว่า
“โยมบอกพวกนั้นให้ดันรถพร้อมๆ กัน พอเห็นอาตมาเดินขึ้นหน้ารถก็ดันเลย”

นายเอื้อก็รับคำเตรียมอยู่ข้างตู้รถไฟ จากนั้นหลวงพ่อกัสสป ก็เดินขึ้นไปทางริมรั้วสถานี ครั้นพอถึงหน้ารถตู้ นายเอื้อก็ร้องบอกให้พวกนั้นดันรถ เสียงรถเคลื่อนดังครืด แล่นตามหลังหลวงพ่อกัสสปมาได้หน่อยหนึ่ง หลวงพ่อกัสสปจึงยื่นไม้เท้าให้นายเอื้อจับปลายไว้ นายเอื้อเอื้อมมือขวามาคว้าปลายไม้เท้าไว้ ส่วนมือซ้ายจับอยู่ที่ราวบันไดรถ หลวงพ่อจับหัวไม้เท้าไว้ข้างแล้วจูงนำหน้า เท่านั้นเอง ตู้รถไฟอันใหญ่โตหนักอึ้ง ก็แล่นปราดๆ ขึ้นไปตามรางสู่สถานีอย่างง่ายดายน่ามหัศจรรย์ สร้างความตะลึงงันให้แก่ญาติโยมอุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลายที่ได้เห็นเหตุการณ์ ดังกล่าวต่อหน้าต่อตา สุดที่จะกล่าวพรรณาเป็นอักษรภาษาใดๆได้

นับว่าหลวงพ่อกัสสปได้ฝังรากความมั่นใจให้แก่นายเอื้อ และญาติโยมในที่นั้นว่า อานุภาพของพุทธศาสนานั้น เป็นของมีจริง ที่พระสาวกของพระพุทธองค์ สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ เมื่อถึงคราวจำเป็น หรือวาระอันสมควรจะพึงแสดงคณะแสวงบุญทัศนาจร ได้ท่องเที่ยวไปชมสถานที่ สำคัญๆ นอกเหนือจากสังเวชนียสถานทั้งสี่แห่ง แล้วอีกหลายแห่ง จนฉ่ำชื่นใจสมปรารถนาทั่วหน้ากัน จากนั้นก็ได้ถึงวันเวลาที่จะต้องแยกทางจากกัน โดยหลวงพ่อกัสสปได้แยกทาง ลงที่เมืองปัตนะ (เมืองปาตลีบุตร ครั้งพุทธกาล) เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๐๗ เพื่อจะได้จาริกท่องเที่ยวไปตามลำพัง สององค์กับพระวิเวกนันทะ

มีบันทึกเก่า ระบุว่า เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2524 มีศิษย์ท่านหนึ่งกราบเรียนถามหลวงพ่อกัสสปมุนีว่า ตอนที่หลวงพ่อใช้พลังจิต
"ลากรถไฟขึ้นเขาที่อินเดีย"นั้น หลวงพ่อทำอย่างไร.Huh?

หลวงพ่อกัสสปมุนีตอบว่า
"ใช้การรวมพลังเข้ามาเป็นหนึ่ง และออกเดินนำหน้าทันที ไม่เหลียวหลัง ไม่ใช่อิทธิวิธี หากเป็นการใช้"อาโลกสิน"(แสงสว่าง,ความว่าง)
ดึงรถไฟขึ้นไป" Cr.board พรหมปัญโญ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2017, 01:37:56 PM โดย thesun »



23.ล๊อคเก็ตหลวงปู่มัง มังคโล วัดเทพกุญชรวราราม จ.ลพบุรี ฉากขาวดำ หลังจาร หายาก 850-

หลวงปู่มัง มังคโล แห่งวัดเทพกุญชร ลพบุรี
ท่านเป็นศิษย์สายธรรมยุต เป็นศิษย์ของ
ท่านเจ้าคุณ จันทร์ สิริจันโท และ หลวงปู่อ่ำ วัดมณีชลขันธ์
ในช่วงที่ท่านยังมีชีวิตอยู่..จะมีผู้คน
จากทั่วประเทศมากราบท่าน..กันอย่างมากมาย
ท่านเป็นพระปฏิบัติ..ที่มีจริยวัตรน่าเลื่อมใสมาก

ท่านปฏิบัติภาวนาตามแนวทางของ
ท่านเจ้าคุณอุบาลี..
และได้ติดตามท่านเจ้าคุณอุบาลี
ไปและหลวงปู่อ่ำ(น้องชายท่านเจ้าคุณ)
ไปปฏิบัติธรรมตามที่ต่างๆ

ได้พบเจอครูอาจารย์สายพระป่าหลายท่าน
และที่สำคัญท่านได้พบกบพระอาจารย์มั่น
และได้รับการสอนสั่งแนวทางในการปฏิบัติ
จากพระอาจารย์มั่นหลายอย่าง

ท่านเดินทางกับท่านเจ้าคุณอุบาลีไปปฏิบัติ
หลายแห่งโดยเฉพาะที่ลพบุรีนี่เกือบทั่ว

(สมัยก่อนลพบุรีเป็นป่าเขา เหมาะกับการปฏิบัติธรรม
พระป่าหลายท่านมักจะแวะมาปฏิบัติธรรมกันหลายท่าน)

 พระมงคลธรรมภาณี (หลวงปู่มัง) วัดเทพกุญชรวราราม อ.เมือง จ.ลพบุรี ท่านเก่งเงียบ ๆ ท่านมีความเมตตาเป็นอย่างมาก มีคนมักนำเหรียญไปให้ท่านจาร ลูกศิษย์และพระลูกวัดก็คอยกันเพราะท่านเหนื่อยพยายามเอาเหล็กจารไปซ่อนบ้าง ถึงไม่มีเหล็กจารท่านก็หยิบกรรไกรปลายแหลมมาจารให้ด้วยความเมตตา
ขอจองครับ...



24.ล๊อคเก็ตหลวงปู่มัง มังคโล วัดเทพกุญชรวราราม จ.ลพบุรี ฉากฟ้า หลังจาร หายาก 850-

หลวงปู่มัง มังคโล แห่งวัดเทพกุญชร ลพบุรี
ท่านเป็นศิษย์สายธรรมยุต เป็นศิษย์ของ
ท่านเจ้าคุณ จันทร์ สิริจันโท และ หลวงปู่อ่ำ วัดมณีชลขันธ์
ในช่วงที่ท่านยังมีชีวิตอยู่..จะมีผู้คน
จากทั่วประเทศมากราบท่าน..กันอย่างมากมาย
ท่านเป็นพระปฏิบัติ..ที่มีจริยวัตรน่าเลื่อมใสมาก

ท่านปฏิบัติภาวนาตามแนวทางของ
ท่านเจ้าคุณอุบาลี..
และได้ติดตามท่านเจ้าคุณอุบาลี
ไปและหลวงปู่อ่ำ(น้องชายท่านเจ้าคุณ)
ไปปฏิบัติธรรมตามที่ต่างๆ

ได้พบเจอครูอาจารย์สายพระป่าหลายท่าน
และที่สำคัญท่านได้พบกบพระอาจารย์มั่น
และได้รับการสอนสั่งแนวทางในการปฏิบัติ
จากพระอาจารย์มั่นหลายอย่าง

ท่านเดินทางกับท่านเจ้าคุณอุบาลีไปปฏิบัติ
หลายแห่งโดยเฉพาะที่ลพบุรีนี่เกือบทั่ว

(สมัยก่อนลพบุรีเป็นป่าเขา เหมาะกับการปฏิบัติธรรม
พระป่าหลายท่านมักจะแวะมาปฏิบัติธรรมกันหลายท่าน)

 พระมงคลธรรมภาณี (หลวงปู่มัง) วัดเทพกุญชรวราราม อ.เมือง จ.ลพบุรี ท่านเก่งเงียบ ๆ ท่านมีความเมตตาเป็นอย่างมาก มีคนมักนำเหรียญไปให้ท่านจาร ลูกศิษย์และพระลูกวัดก็คอยกันเพราะท่านเหนื่อยพยายามเอาเหล็กจารไปซ่อนบ้าง ถึงไม่มีเหล็กจารท่านก็หยิบกรรไกรปลายแหลมมาจารให้ด้วยความเมตตา
ขอจองครับ...



25.เหรียญหลวงพ่อกัสสปมุนี วัดปิปผลิวนาราม จ.ระยอง รุ่น2 จัดเป็นรุ่นสุดท้ายของหลวงพ่อ ฉลองอายุ 80 ปี เมื่อปี2532 พิมพ์ทรงเดียวกับเหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อ หายากครับรุ่นนี้ 650-

ขอจองครับ.....



24.ล๊อคเก็ตหลวงปู่มัง มังคโล วัดเทพกุญชรวราราม จ.ลพบุรี ฉากฟ้า หลังจาร หายาก 850-

หลวงปู่มัง มังคโล แห่งวัดเทพกุญชร ลพบุรี
ท่านเป็นศิษย์สายธรรมยุต เป็นศิษย์ของ
ท่านเจ้าคุณ จันทร์ สิริจันโท และ หลวงปู่อ่ำ วัดมณีชลขันธ์
ในช่วงที่ท่านยังมีชีวิตอยู่..จะมีผู้คน
จากทั่วประเทศมากราบท่าน..กันอย่างมากมาย
ท่านเป็นพระปฏิบัติ..ที่มีจริยวัตรน่าเลื่อมใสมาก

ท่านปฏิบัติภาวนาตามแนวทางของ
ท่านเจ้าคุณอุบาลี..
และได้ติดตามท่านเจ้าคุณอุบาลี
ไปและหลวงปู่อ่ำ(น้องชายท่านเจ้าคุณ)
ไปปฏิบัติธรรมตามที่ต่างๆ

ได้พบเจอครูอาจารย์สายพระป่าหลายท่าน
และที่สำคัญท่านได้พบกบพระอาจารย์มั่น
และได้รับการสอนสั่งแนวทางในการปฏิบัติ
จากพระอาจารย์มั่นหลายอย่าง

ท่านเดินทางกับท่านเจ้าคุณอุบาลีไปปฏิบัติ
หลายแห่งโดยเฉพาะที่ลพบุรีนี่เกือบทั่ว

(สมัยก่อนลพบุรีเป็นป่าเขา เหมาะกับการปฏิบัติธรรม
พระป่าหลายท่านมักจะแวะมาปฏิบัติธรรมกันหลายท่าน)

 พระมงคลธรรมภาณี (หลวงปู่มัง) วัดเทพกุญชรวราราม อ.เมือง จ.ลพบุรี ท่านเก่งเงียบ ๆ ท่านมีความเมตตาเป็นอย่างมาก มีคนมักนำเหรียญไปให้ท่านจาร ลูกศิษย์และพระลูกวัดก็คอยกันเพราะท่านเหนื่อยพยายามเอาเหล็กจารไปซ่อนบ้าง ถึงไม่มีเหล็กจารท่านก็หยิบกรรไกรปลายแหลมมาจารให้ด้วยความเมตตา
ขอจองครับ...

ขอบพระคุณครับ



25.เหรียญหลวงพ่อกัสสปมุนี วัดปิปผลิวนาราม จ.ระยอง รุ่น2 จัดเป็นรุ่นสุดท้ายของหลวงพ่อ ฉลองอายุ 80 ปี เมื่อปี2532 พิมพ์ทรงเดียวกับเหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อ หายากครับรุ่นนี้ 650-

ขอจองครับ.....

ขอบพระคุณครับ



26.ล็อกเก็ต รัชกาลที่5 หลวงพ่อเกษม เขมโก ปี35 หลังฝาเงินลายเซ็นหลวงพ่อ ตอกโค๊ด และ หมายเลขกำกับ  650-




27.ล๊อคเก็ตรุ่นแรกพระธรรมไตรโลกาจารย์ เจ้าคุณรักษ์ เรวโต วัดศรีเมือง จ.หนองคาย หลังเทียนชัย + เกศา เลี่ยมพร้อมใช้ สวยๆ หายาก 850-

ปิดครับ คุณ Jacky
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 22, 2017, 04:20:20 PM โดย thesun »



28.ล๊อคเก็ตรุ่นแรก พระจันโทปมาจารย์ (หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม)  วัดศรีวิชัย  จ.นครพนม หลังอุดผงผสมเกศา สวยๆ 750-

หลวงปู่คำพันธ์ พระอริยสงฆ์ศิษย์ในองค์ หลวงปู่ตื้อ หลวงปู่วัง ภูลังกา  หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพ และ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม พระกัมมัฏฐานศิษย์หลวงปู่ตื้อ

คอลัมน์ อริยะโลกที่6


"พระจันโทปมาจารย์" หรือ "หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม" เจ้าอาวาสวัดวัดศรีวิชัย ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม พระสุปฏิปันโนชั้นผู้ใหญ่ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ที่ชาวเมืองนครพนมให้ความเลื่อมใสศรัทธา

หลวงปู่คำพันธ์ เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม พระอริยสงฆ์ชื่อดังแห่งภาคอีสาน


            อัตโนประวัติ เกิดในสกุล ปทุมมากร เมื่อวันอาคารที่ 13 พฤศจิกายน 2471 ตรงกับวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 16 ที่บ้านศรีเวินชัย ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายอ้วนและนางทุมมา ปทุมมากร เป็นบุตรชายคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้อง 7 คน

            ในวัยเยาว์ เมื่ออายุได้ 9 ขวบ โยมบิดาเสียชีวิต ภาระจึงตกหนักที่มารดาต้องเลี้ยงดู สมัยนั้นในหมู่บ้านยังไม่มีโรงเรียน ทำให้พี่น้องในครอบครัวไม่ได้รับการศึกษาแม้แต่คนเดียว

            พออายุได้ 10 ขวบ โยมมารดาได้นำบุตรชายไปฝากตัวกับพระอาจารย์พุฒ ที่วัดแพงศรี บ้านศรีเวินชัย ต.สามผง เพื่อฝึกท่องคำบรรพชา ก่อนล่องเรือไปตามแม่น้ำสงคราม เพื่อเข้าพิธีบรรพชาที่วัดใน บ้านท่าบ่อ ต.ท่าบ่อสงคราม ก่อนกลับมาอยู่จำพรรษาที่วัดแพงศรี บ้านศรีเวินชัย

            สามเณรคำพันธ์ได้เรียนหนังสือธรรมโดยการจาร (เขียน) ลงบนแผ่นใบลาน ก่อนติดตามธุดงค์ไปกับพระอาจารย์พุฒ ข้ามแม่น้ำโขงไปฝั่งลาว ผจญการเดินป่าจนเป็นไข้มาลาเรีย ก่อนพระอาจารย์พุฒนำตัวไปฝากกับพระมหาอ่ำ ที่วัดอูบมุง ที่เมืองเวียงจันทน์ ร่ำเรียนหนังสือภาษาลาวและศึกษาพระปริยัติธรรมชั้นตรี

            ภายหลังสงครามอินโดจีนสงบลงในปี พ.ศ.2482 พระมหาอ่ำ จึงนำสามเณรคำพัน ขณะมีอายุ 13 ปี กลับมาอยู่วัดตามเดิม

            ครั้นอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2491 ที่วัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม โดยมีพระสารภาณมุนี หรือ หลวงปู่จันทร์ เขมิโย เป็นพระอุปัชฌาย์

            ภายหลังอุปสมบทได้อยู่บำเพ็ญเพียรภาวนาที่สำนักสงฆ์ถ้ำชัยมงคลกับพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร ซึ่งเป็นลูกศิษย์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล บนเทือกเขาภูลังกา อ.บึงโขงหลง จ.หนองคาย เป็นเวลานานหลายปี จนเมื่อพระอาจารย์วัง มรณภาพลง จึงได้ย้ายกลับมาจำพรรษาที่วัดศรีวิชัย ต.สามผง




 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi