[Thesun]พระกรรมฐานพ่อแม่ครูอาจารย์และพระเกจิอาจารย์ทั่วไป(อ่าน 671787 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

1387.เปิดของเก็บเก่าส่งท้ายปีใหม่ด้วย พระกริ่งศรีอุบล พระเจ้าใหญ่อินแปลง  วัดมหาวนาราม จ.อุบลราชธานี  ปี2516 เนื้อนวโลหะ พระดีพิธีใหญ่ ออกแบบโดยช่างเกษมมงคลเจริญ
พระอาจารย์ไสว วัดราชนัดดาเป็นเจ้าพิธี เนื้อนวโลหะ จัดสร้าง 2,363 องค์ องค์นี้มีคราบแป้งเจิมเก่ายังอยู่ พระกริ่งยอดนิยมแดนอีสาน สวยๆ
เปิดบูชา 11,000-

กริ่งศรีอุบล
ประวัติพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุบลราชธานีมาแต่โบราณ ประดิษฐานอยู่ ณ วัดมหาวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ตามจารึกที่ฐานองค์พระปรากฏว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. 2363 คือหลังจากพระพรหมวรราชสุริยวงษ์ (ท้าวทิศพรหม สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลฯ คนที่ 2 สร้างวัดได้ 2 ปี พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา เจ้าอาวาสวัด พร้อมด้วยลูกศิษย์ก็ได้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นเป็นพระประธานประดิษฐานใน พระวิหารแล้วขนานนามว่า “พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง”
วัตถุประสงค์ในการสร้าง
พระพุทธศรีอุบลมงคลจักรวาฬ พระกริ่งศรีอุบล พระชัยวัฒน์ เหรียญ พระพิมพ์หลวงพ่ออินทร์แปลง เหรียญพระแก้วบุษราคัม พระพิมพ์พระแก้วบุษราคัม
เพื่อหาปัจจัยบูรณะพระอุโบสถพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงและวัดมหาวนาราม สมทบทุนสร้างศาลหลักเมืองจังหวัดอุบลราชธานี และเป็นทุนมูลนิธิสำหรับช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่ยากจนแต่เรียนดี
การตั้งชื่อ
ได้ไปปรึกษากับพระเทพโสภณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์ ท่าเตียน) ซึ่งเป็นเลขาสมเด็จพระสังฆราช (สมเด็จฯ ป๋า) ถึงเรื่องการตั้งชื่อพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ และเหรียญ เห็นพ้องต้องกันว่าควรจะตั้งชื่อว่า “พระกริ่งศรีอุบล (พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง)” “พระชัยวัฒน์หลวงพ่ออินทร์แปลง” “เหรียญหลวงพ่ออินทร์แปลง” “พระพิมพ์หลวงพ่ออินทร์แปลง” “เหรียญและพระพิมพ์พระแก้วบุษราคัม”
สำหรับพระพุทธรูปบูชาได้ปรึกษากับพระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดาราม ถวายพระนามว่า “พระพุทธรูปศรีอุบลมงคลจักรวาฬ” เรื่องนี้พระเทพโสภณ จะได้นำทูลสมเด็จพระสังฆราชเพื่อให้พระองค์ถวายพระนามต่อไป
กำหนดวันทำพิธีพุทธาภิเษก
พระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดาราม เป็นเจ้าพิธีทำพิธีพุทธาภิเษกวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2516
สถานที่ทำพิธีพุทธาภิเษก
ทำพิธี ณ อุโบสถวัดมหาวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
ผู้ออกแบบและสร้าง
นายเกษม มงคลเจริญ และนายพิชัย มงคลเจริญ เป็นผู้ออกแบบและสร้างพระพุทธรูปบูชา หล่อสร้างโดยจ่าติ่ง
รายการวัตถุมงคลทั้งหมดที่สร้างครั้งนี้
1. พระพุทธรูปศรีอุบลมงคลจักรวาฬ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว และ 9 นิ้ว สร้างเท่าจำนวนผู้สั่งจอง
2. พระกริ่งหลวงพ่ออินทร์แปลง เนื้อทองคำ สร้าง 306 องค์ เนื้อเงิน สร้าง 459 องค์ และเนื้อนวโลหะ สร้าง 2,363 องค์
3. พระชัยวัฒน์หลวงพ่ออินทร์แปลง เนื้อทองคำ สร้าง 153 องค์ เนื้อเงิน สร้าง 153 องค์ และเนื้อนวโลหะ สร้าง 612 องค์
4. เหรียญหลวงพ่ออินทร์แปลง เนื้อทองคำ สร้าง 153 เหรียญ เนื้อเงิน สร้าง 150 เหรียญ และเนื้อนวโลหะ สร้าง 2516 เหรียญ
5. เหรียญพระแก้วบุษราคัม เนื้อทองคำ สร้าง 153 เหรียญ เนื้อเงิน สร้าง 153 เหรียญ เนื้อนวโลหะสร้าง 2516 เหรียญ และเนื้อทองแดงรมดำ สร้าง 23,630 เหรีญ
6. พระพิมพ์หลวงพ่ออินทร์แปลง เป็นพระพิมพ์เนื้อว่าน 108 ผสมด้วยมวลสารที่เป็นสิริมงคลจากพระอาจารย์ทั่วพระราชอาณาจักรเป็นพระพิมพ์ จำลองจากรูปพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง สร้างจำนวน 10,000 องค์
7. พระพิมพ์พระแก้วบุษราคัม เป็นพระพิมพ์เนื้อว่าน 108 ผสมด้วยมวลสารที่เป็นสิริมงคลจากพระอาจารย์ทั่วพระราชอาณาจักร เป็นพระพิมพ์จำลองรูปพระแก้วบุษราคัม สร้างจำนวน 10,000 องค์
รายนามพระคณาจารย์ที่ได้รับนิมนต์มาร่วมนั่งปรกปลุกเสก
1. สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ
2. พระเทพสิทธาจารย์ วัดศรีเทพประดิษฐ์ อ.เมือง จ.นครพนม
3. พระพุทธมนต์วราจารย์ วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
4. พระครูสังฆรักษ์สมาน วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
5. พระครูสาธุกิจวิมล หลวงพ่อเล็ก วัดหนองดินแดง อ.เมือง จ.นครปฐม
6. พระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดาราม กรุงเทพฯ
7. พระอาจารย์ใหญ่ วัดกู่คำ อ.เมืองน่าน จ.น่าน
8. พระครูจันทสโรภาส (หลวงพ่อเที่ยง) วัดม่วงชุม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
9. หลวงพ่อเทียม จ.อยุธยา
10. พระครูสมุห์อำพล วัดอัมพวา บางกอกน้อย กรุงเทพฯ
11. พระวิบูลวชิรธรรมนันท์ (หลวงพ่อสว่าง) วัดคหบดีสงฆ์ อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร
12. พระครูเกษมธรรมนันท์ (หลวงพ่อแช่ม) วัดดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม
13. พระครูสังฆวิชัย (ปรีชา โชติโก) วัดอนงคาราม กรุงเทพฯ
14. พระรักขิตวันมนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
15. พระครูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา
16. พระครูประสาทขันธคุณ (หลวงพ่อมุม) วัดปราสาทเยอเหนือ จ.ศรีสะเกษ
17. พระครูประสาทวรคุณ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี
18. พระครูภาวนานุโยค (หลวงพ่อหอม) วัดซากหมาก จ.ระยอง
19. พระครูปัญญาโชติคุณ (หลวงพ่อเจริญ) วัดทองนพคุณ จ.ลพบุรี
20. พระอาจารย์ชา วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลฯ
21. พระครูพิบูลธรรมภาณ (พระมหาโชติ) วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลฯ
22. พระครูนวกรรมโกวิท (หลวงปู่นาค) วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่ เมืองอุบลฯ)
23. พระครูสังฆรักษ์ (พัว) วัดบ้านนาเจริญ อ.เดชอุดม จ.อุบลฯ
24. พระครูพรหมวิหาร (พระอาจารย์สิงห์) วัดหนองบัว อ.เมือง จ.อุบล
25. พระอาจารย์ประยูร จิตตสันโต วัดป่าธรรมรังสี อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลฯ
26. พระครูอุบลเดช (มหาด่วน) วัดศรีอุบลรัตนาราม จ.อุบลฯ
27. พระอาจารย์สาย วัดหนองยาว อ.เดชอุดม จ.อุบลฯ
28. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดอุดมสมพร จ.สกลนคร
29. พระอาจารย์ขาว (หลวงปู่ขาว) วัดถ้ำกลองเพล จ.สกลนคร
30. พระครูพิศาลสรกิจ (มหาธวัช) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ
31. พระอารย์ขันธ์ วัดพระศรีอารีย์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
32. พระครูโกวิทสมุทรคุณ (หลวงพ่อเนื่อง) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
33. พระอาจารย์บุญมา ต.โนนทัน จ.อุดรธานี
34. พระอาจารย์อ่อน ต.โนนทัน จ.อุดรธานี
35. พระอาจารย์ฝั้น (ฝั่น) วัดถ้ำเอราวัณ อ.วังสะพุง จ.เลย
36. พระอาจารย์ชอบ อ.วังสะพุง จ.เลย
37. พระครูประสาธน์วิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา
38. พระอาจารย์เครื่อง วัดสระกำแพง อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ
39. หลวงปู่กินรี จันทิโย วัดกัณตศิลาวาส
.
 . . . มูลค่าการสะสม เนื้อทองคำประมาณ 3แสน เนื้อเงินหลักหมื่่นปลาย เนื้อนวะหมื่นกว่า














ขอจองครับ



1389.เปิดของเก็บเก่าส่งท้ายปีเก่าด้วย รูปหล่อหัวหลิม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต  สร้างโดยหลวงปู่คำปัน วัดสันโป่ง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ปี19 เนื้อนวโลหะ 1 ใน 799 องค์ ภายในบรรจุพระบรมธาตุ
 โดยองค์หลวงปู่คำปันเองทุกองค์ พระดีพิธีใหญ่ พ.ศ.2519 หลวงปู่คำปันท่านเมตตาปลูกเสกตลอดทั้งไตรมาส จากนั้นทำพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้งในปี พ.ศ.2520 โดยพระอริยปรมาจารย์ในสมัยนั้น
ช่างปั้นรูปหล่อ คืออาจารย์ชิต เหรียญประชา ช่างคนเดียวกันกับรูปหล่อหัวหลิมหลวงปู่ฝั้น ที่ราคาหลักแสนไปแล้ว จัดเป็นรูปหล่อหลวงปู่มั่นที่นิยมที่สุด และสวยที่สุด พร้อมกล่องเดิม
เปิดบูชา 11,000-
แต่ก่อนเนื้อนวโลหะสภาพสวยแบบนี้ราคาเช่าหาไม่ต่ำกว่า15,000นะครับ

รูปหล่อท่านอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่สายกัมมัฏฐาน กับรูปหล่อเหมือนท่านที่เหมือนและมีชีวิต ชีวาที่สุด รุ่นหนึ่ง หรือเรียกกันว่า**รูปหล่ออาจารย์มั่น รุ่นสันโป่ง**

รุ่นนี้มีของที่ดีที่สุดบรรจุอยู่ในรูปหล่อนี้คือ ***พระบรมธาตุ*** สิ่งที่เป็นมงคลสูงสุด และเกศา,ผงพุทธคุณจากคณาจารย์ 108 ท่าน วัตถุมงคลรุ่นนี้มีการสร้างหลายแบบแต่ที่จะบรรจุ**พระบรมธาตุ**มีในเฉพาะรูปหล่อท่านอาจารย์มั่นนี้เท่านั้น

การบรรจุพระธาตุ,พระบรมธาตุ ในรูปเหมือนครูบาคณาจารย์และพระพุทธรูปขนาดบูชานี้ เป็นพิธีเก่าแก่ทางภาคเหนือที่มีการทำพิธีแบบนี้...ส่วนใหญ่ที่ทำการบรรจุพระธาตุนี้จะต้องทำแบบพิธีใหญ่ ที่ถูกต้องและมีแบบแผนของทางภาคเหนือ

**วัตถุประสงค์การจัสร้าง**
-เพื่อมอบเป็นที่ระลึกแก่ผู้บริจาคร่วมการกุศลสร้างวิหารที่ยังค้างอยู่ให้แล้วเสร็จ


**พิธีการสมโภชวัตถุมงคล**
-ในงาน พุทธาภิเษก สมโภชวัตถุมงคลได้จัดกระทำในพระวิหาร ต่อหน้าพระประธานศักดิ์สิทธิ์ที่เก่าแก่ที่มีอายุมากกว่า 600 ปี
-ในวันพุธแรม 6 ค่ำ ตรงกับวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2520 เวลา 14.39 น.
-เริ่มพิธีพราหมณ์ประกาศโอการบวงสรวงเทพยดาฟ้าดิน อัญเชิญครู อาจารย์ ผู้สร้างวัด รวมทั้งพระอาจารย์มั่น, ครูบาปัญญา
-จากนั้นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ 9 รูป เจริญพุทธมนต์
-เวลา 18.19 น. ได้ฤกษ์จุดเทียนชัย เริ่มพิธีพุทธาภิเษก ปลุกเสก อธิฐานจิต สวดอรรถคาถาธรรมจักรกัปปวัตนสูตร และสวดสมโภช
-พระพิธีธรรมคณะ วัดเจดีย์หวง สวดพุทธาภิเษกต่อจนเสร็จพิธี.

**รายนามพระอริยปรมาจารย์ร่วมพิธีดังนี้**
-หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
-หลวงปู่คำปัน วัดสันโป่ง
-หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส
-หลวงพ่อเจิม วัดวันยาวล่าง
-หลวงพ่อศรีนวล วัดเกวียนหัก
-หลวงพ่อคำปัน วัดหม้อคำกวง
-ครูบาสม วัดโป่งกว๋าว
-พระครูญาณภิรัติ วัดป่าเจริญธรรม
-พระอาจารย์ประเดิม วัดเพลงวิปัสสนา
-พระอาจารย์ธีระ วัดพระธาตุสบฝาง
ฯลฯ

**หลวงปู่คำปัน สุภัทโทได้อธิฐานจิตเดี่ยวด้วยตัวท่านเองก่อนตลอดไตรมาส**

หลวงปู่คำปัน สุภัทโท พระเถระผู้ทรงคุณด้านวิปัสสนาและพุทธเวทย์ อุบลชาติดอกใหม่ที่โผล่พ้นขึ้นมาจากน้ำเพื่อรับแสงอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ.....นี่คือคำยกย่องจากหนังสือประวัติของท่านสมัยก่อน

หลวงปู่คำปัน ท่านเป็นศิษย์องค์สำคัญมากๆ องค์หนึ่งของท่านอาจารย์มั่นที่อยู่ทางภาคเหนือที่ติดตามท่านอาจารย์มั่นอยู่เกือบ 20 ปี ท่านอาจารย์มั่นอยู่ธุดงค์ทางภาคเหนือยาวนานเกือบ 20 ปีครับ

และท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่แหวน,หลวงปู่ตื้อ.....ประวัติและอภิญาอภินิหารในประวัติของท่านมีมากมายเล่าแล้วเหมือนนิทานครับ

รูปหล่อท่านอาจารย์มั่น เนื้อนวะโลหะบรรจุพระบรมธาตุ สิ่งที่เป็นมงคลสูงสุด...รุ่นนี้สร้าง 799 องค์


รุ่นนี้ได้นายช่างฝีมือดีคนหนึ่งของประเทศ คือ อาจารย์ชิต เหรียญประชา ออกแบบรูปหล่อท่านอาจารย์ฝั้น(หัวหลิม),รูปหล่อหัวหลิม หลวงพ่อสมชาย
มาออกแบบและควบคุมการสร้างให้





แถวนั่ง จากซ้าย : หลวงปู่สาม อกิญฺจโน, หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม,
หลวงปู่คำปัน สุภทฺโท, หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร และคณะศิษยานุศิษย์
บันทึกภาพร่วมกัน ณ วัดป่าดาราภิรมย์
ต.ริมใต้ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๐
















« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 29, 2020, 04:34:38 PM โดย thesun »



1390.เปิดของเก็บเก่าส่งท้ายปีเก่าด้วย พระผงกำแพงแสน พระผงรุ่นแรก หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบรูพาราม สุรินทร์ ปี22 เนื้อโทนเข้ม มวลสารเพียบตะไบเงินตะไบทองมีทั่วองค์พระ
พระสวย จมูกโด่ง สวยสมบูรณ์ พระผงยอดนิยมของหลวงปู่ดูลย์  พร้อมตลับเงินเก่าแบบดึงสลัก
เปิดแบ่ง 12,500-

พระผงรูปเหมือนหลวงปู่ดุลย์ จัดสร้างโดยคณะศิษย์อำเภอ กำแพงแสนเมื่อ ปี2522 จึงได้ชื่ออีกชื่อว่า พระผงกำแพงแสน
สุดยอดมวลสารบรรดาพระที่หลวงปู่อธิษฐานจิตปลุกเสกให้ลองดูมวลสารครับ ดินจากสถานที่พระพุทธเจ้าทรงประสูตร ตรัสรู้ แสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีย์ทั้งห้า ปรินิพพาน
เกร็ดจากต้นศรีมหาโพธิ์ ดินในถ้ำคิชฌกูฏ ดินจากพระคันธกุฏิ ดินจากกุฏิพระสิวลี ผงธูปในพระมหาเจดีย์ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ สบงหลวงปู่ เกศาหลวงปู่ ข้าวก้นบาตร
ผงธูปในพระอุโบสถ ผงธูปในอุโบสถหลวงพ่อพระชีว์ ผงธูปศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เปลวทองพระร่วงโรจนฤทธิ์และเกสรบัววัดพระปฐมเจดีย์ เปลวทองหลวงพ่อวัดไร่ขิง ผงเจ้าคุณนรรัตน์
ผงหลวงปู่แหวน พระชำรุดกรุนาดูน และผงที่คุณพิชัย สิโมทัยได้สะสมและนำเข้าพุทธาภิเษกตามวัดต่างๆ ประมาณ 30 ครั้ง น้ำพระพุทธมนต์วัเสน่หา น้ำพุทธมนต์ทำสังยานาประเทศพม่า
 จากพระเถระทั่วโลก 2500 องค์ น้ำพูทธมนต์จากพระราชวังหลวง 170 ปี น้ำพุทธมนต์จากวัดบวรฯ น้ำพุทธมนต์พิธี 25 พุทธศตวรรษ น้ำพุทธมนต์พระบรมธาตุ น้ำพุทธมนต์พระธาตุพนม
 น้ำพุทธมนต์พระธาตุดอยสุเทพ น้ำพุทธมนต์วัดพระแก้ว น้ำพุทธมนต์ในสระต่างๆทั่วประเทศ มี สระแก้ว สระคา สระยมนา สระเกศ สระจันทร์ สระพังเงิน สระพังทอง สระศักดิ์สิทธิ์
 น้ำมนต์หลวงพ่อวัดสามแก้ว น้ำมนต์พ่อท่านคล้าย น้ำมนต์อาจารย์ทิมวัดช้างไห้ น้ำมนต์กุฏิสมเด็จปู่เจ้าเกาะไชยอ น้ำในมหานที 9 สาย โขง เจ้าพระยา ปิง วัง ยม น่าน มูล ท่าจีน
ปัตตานี น้ำท่า 108 บาง แค่มวลสารก็ศักดิ์สิทธิ์แล้วครับ
หลวงปู่ดุลย์แผ่เมตตาให้ในคืนวันที่ 6 ต.ค. 2522  และได้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกพร้อมพระบุชาและพระกริ่งสุรินทรมงคล ในวันที่ 7 ต.ค. 2522 อีกครั้งครับ


















1391.สมเด็จรุ่นแรก ถุงโภคทรัพย์(หลังสุ่ม)  หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม จ.สิงห์บุรี ปี19 สมเด็จรุ่นนี้จัดเป็นวัตถุยอดนิยมของหลวงพ่อ นิยมมากในหมู่ลูกศิษย์ เด่นทางโภคทรัพย์มากมีกินไม่อด สวยสมบูรณ์
หายาก เลี่ยมพร้อมใช้
1,500- ปิดท่านj999 ครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 05, 2021, 12:07:41 PM โดย thesun »



1392.พระกริ่งปั๊ม หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธินิมิตร ตลาดพลู ฝั่งธนฯ กทม. ปี2504 เนื้อชินตะกั่ว สวยสมบูรณ์ มาพร้อมตลับพุกเก่าแบบสลักตะปู หายาก นานๆเจอที เปิดบูชา 1500-

หลวงพ่อฑูรย์ ท่านเป็นเกจิเก่งอีกองค์หนึ่งในยุคกึ่งพุทธกาล เป็นศิษย์ของท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์นวม วัดอนงคาราม สมัยก่อนยุคท่านยังมีชีวิตอยู่
ท่านจะต้องได้รับนิมนต์ไปงานพุทธาภิเษกเสมอๆ


ท่านสร้างพระกริ่งไว้สี่รุ่นครับ
1.กริ่งหล่อฯ หน้ายักษ์ รุ่นแรก ปี2484
2.กริ่งหล่อฯ รุ่นสอง ปี2494
3.กริ่งปั๊ม รุ่นสาม ปี2504 เนื้อชินตะกั่วเนื้อเดียว
4.พระกริ่งรุ่น4 ปี2518 ฉลองครบ 100ปี ของวัดโพธินิมิตร
*พระกริ่งรุ่น1 และ รุ่น2 ราคาไปหลักหมื่นแล้ว ใช้รุ่น3 แทนได้ครับ


ชนวนมวลสาร ใช้เนื้อชินจากพระกรุเก่าๆหลายๆที่ อาทิ กรุเมืองสุพรรณฯ.. กรุวัดราชบูรณะ อยุธยา..กรุกำแพงเพชร..กรุสุโขทัย..ที่หักเสียหาย มาผสมเป็นชนวนมวลสาร.. ผสมกับแผ่นทองลงอักขระยันต์จากหลายๆคณาจารย์ดังๆในยุคนั้น...จำนวนการสร้างจึงมีค่อนข้างน้อย ไม่เกิน ๒๐๐๐องค์...

...พระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกในพิธีมากมาย อาทิเช่น
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, ลพ.เส่ง วัดกัลยา, ลพ.กึ๋น วัดดอนยานนาวา,
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม,
หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่,
หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก
ฯลฯ   











« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 04, 2021, 12:43:07 AM โดย thesun »



1393.เหรียญที่ระลึกทรงคุณค่าของประเทศ เหรียญที่ระลึกเสด็จประพาสทวีปยุโรปและอเมริกาปี2503 พิมพ์ใหญ่ เนื้อเงินกะไหล่ทอง นับเป็นสิ่งมงคลสักการะอันสูงสุด
ที่คนไทยส่วนใหญ่นิยมสะสมเพื่อความเป็นสิริมงคล เจ้าของเดิมได้มา นำแพรแถบออกเลี่ยมห้อยคอ ผิวเดิมๆ
4,500-

เหรียญที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป เนื้อเงิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงโปรดเกล้าให้สร้างขึ้น ในวโรกาสที่ในหลวงและสมเด็จพระราชินีเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกา
และทวีปยุโรปรวม 15 ประเทศ ในระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2503 และกลับสู่พระนครในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2504 ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

 เหรียญรุ่นนี้เหรียญนี้นับเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชนิดเหรียญที่ระลึก เป็นเหรียญกลมที่ระลึกประดับแพรแถบ กว้าง 3.5 เซนติเมตร สูง 5.7 เซนติเมตร

คณาจารย์และศิลปินผู้รังสรรค์ เหรียญ
ผู้ออกแบบเหรียญ : อาจารย์พินิจ สุวรรณบุลย์
ผู้ปั้นแบบเหรียญ : ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี





















1391.สมเด็จรุ่นแรก ถุงโภคทรัพย์(หลังสุ่ม)  หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม จ.สิงห์บุรี ปี19 สมเด็จรุ่นนี้จัดเป็นวัตถุยอดนิยมของหลวงพ่อ นิยมมากในหมู่ลูกศิษย์ เด่นทางโภคทรัพย์มากมีกินไม่อด สวยสมบูรณ์
หายาก เลี่ยมพร้อมใช้
1,500-

อักขระด้านหลังสมเด็จ

ข้างซ้าย - นะโมพุทธายะ
ข้างขวา - นะชาลีติ
ปากถุง - สิริ โภคัง นะหะ สะโย
ในถุงจะเป็นพระเจ้า ๑๖ พระองค์


"หลวงพ่อจวน" แห่งวัดหนองสุ่ม เมืองสิงห์บุรี พระผู้มีกสินธ์แรงกล้า แม้แต่หลวงพ่อฤาษีลิงดำยังยกย่องถึงความศักดิ์สิทธิ์!!!



หลวงพ่อจวนแห่งวัดหนองสุ่ม จ.สิงห์บุรีท่านนี้  แม้แต่พระอภิญญาอย่างหลวงพ่อฤาษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง  ยังยกย่องและยอมรับว่าหลวงพ่อจวนท่านนี้เก่งจริงๆๆพลังจิตกล้าแกร่งเหลือเกิน
“หลวงพ่อจวนเป็นพระองค์หนึ่ง ที่หลวงพ่อฤาษีฯ ให้ลูกศิษย์ไปกราบ และทำบุญด้วย เนื่องจากหลวงพ่อ ไปเจอหลวงพ่อจวนที่พระจุฬามณี โดยหลวงพ่อจวนไปทั้งกายเนื้อ”หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม ชาวจังหวัดสิงห์บุรี เคารพ ศรัทธาท่านมาก ท่านศักดิ์สิทธิ์จริงๆ เป็นพระที่มีกสินธ์แรงกล้าที่สุดองค์หนึ่งตามคำเล่าขาน 

หลวงพ่อจวนท่านเป็นศิษย์หลวงปู่ศรีวัดพระปรางค์เช่นเดียวกันกับหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ได้ยินมาว่าหลวงพ่อกวยเคยบอกให้คนที่มานิมนต์ให้ท่านไปปลุกเสกวัตถุมงคล ให้ไปนิมนต์หลวงพ่อแพ หลวงพ่อจวน
แทนที่จะไปนิมนต์ให้ท่านไปปลุกเสกในบางครั้ง ขนาดหลวงพ่อฤาษีลิงดำวัดท่าซุงยังยกย่องหลวงพ่อจวนว่าท่านเก่งมาก ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ที่มีลูกศิษย์ลูกหาเลื่อมใสศรัทธาจำนวนมาก
พระเถราจารย์ที่มีจริยาวัตรที่น่าเลื่อมใสศรัทธาอย่างยิ่ง  มีบุคลิกที่ยิ้มแย้มแจ่มใส มีอัธยาศัยดี มีเมตตา และสมถะ สมเป็นผู้ทรงศีล ใครได้พบเห็นจะเกิดความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแท้จริง สมกับฉายา "พระทองคำ"
อันหมายถึงบริสุทธ์ดั่งทองคำแท้ๆนั้นเชียว

หลวงพ่อจวน ได้ถือกำเนิด เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๔๕๘ ที่ ต.ห้วยชัน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ด้วยฐานะยากจน พ่อแม่สิ้นชีวิตตั้งแต่วัยเยาว์ ได้เรียนหนังสือจบแค่ชั้นประถมศึกษา
พ.ศ.๒๔๗๓ บรรพชาที่วัดหนองสุ่ม แต่บวชได้เพียง ๓ ปี ก็ลาสิกขา เพื่อไปช่วยครอบครัวประกอบอาชีพกสิกรรม พ.ศ.๒๔๗๕ อายุได้ ๒๒ ปี ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดประศุก ต.ประศุก อ.อินทร์บุรี ได้มาจำพรรษาที่วัดหนองสุ่ม ๑ พรรษา แล้วย้ายไปอยู่ที่วัดโพธิลังกา ต.ท่างาม อ.อินทร์บุรี เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอกครั้น พ.ศ.๒๔๘๒ หลวงพ่อจวนได้ลาสิกขาไปประมาณ ๕ เดือน เพื่อไปช่วยงานพี่สาวที่อุปการะเลี้ยงดู
หลังจากนั้น หลวงพ่อจวนท่านได้อุปสมบทใหม่อีกครั้ง เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๔๘๓ ณ พัทธสีมา วัดประศุก และได้มาจำพรรษาอยู่วัดหนองสุ่ม หลวงพ่อจวน ได้มุ่งศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐานจากหลวงพ่อแป้น วัดบ้านไร่ (วัดโฆสิทธาธรรม) หลวงพ่อกอง จ.สุโขทัย,
 หลวงพ่อปั้น วัดค้างคาว อ.สรรคบุรี, หลวงพ่อลา วัดโพธิศรี, หลวงพ่อผึ่ง วัดโบสถ์, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อเจ๊ก วัดระนาม, หลวงพ่อโต๊ะ วัด กำแพง, หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน, หลวงพ่อเอาะ วัดม่วง,
หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญสุข เป็นต้น

หลวงพ่อจวน กอปรด้วยศีลที่งดงาม มีเมตตาธรรมสูง ถือสันโดษ มีปฏิปทาต่อสาธุชน ไม่เลือกยากดีมีจน มีผู้คนไปขอความเมตตาจากท่าน เวลามีทุกข์ร้อน จะไปกราบไหว้ขอพร และรดน้ำพระพุทธมนต์ เพื่อปัดเป่าความทุกข์ร้อน จนเป็นที่เลื่องลือกันว่าน้ำมนต์ของท่านขลังศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก
หลวงพ่อจวนได้พัฒนาวัด สร้างโรงเรียน สร้างความเจริญให้หมู่บ้านแห่งนี้ ส่งเสริมให้ชาวบ้านหันมาเข้าวัดและประกอบสัมมาชีพ ทำให้พื้นที่ แห่งนี้กลายเป็นชุมชนแห่งความสงบสุข ตลอดชีวิตหลวงพ่อจวน
จึงไม่เป็นที่น่าสงสัยว่า ทำไมในแต่ละวัน คนจึงไปกราบไหว้รดน้ำพระพุทธมนต์จากหลวงพ่อจวนเป็นประจำ หลวงพ่อจวนได้ละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๖ สิริอายุได้ ๗๙ ปี พรรษา ๕๕









ขอจองครับ



1394.พระสมเด็จพิมพ์พระประธาน แขนหักศอก ท่านพ่อลี วัดอโศการาม ออกวัดป่าคลองกุ้ง ปี2496 เนื้อช็อกโกแลต เนื้อนิยม องค์นี้พิเศษ ด้านหลัง มีรอยจารเปียก
พระกดปลิ้นเก่ามาแต่เดิม พระสมเด็จยอดนิยมท่านพ่อลี สร้างน้อย หายากยิ่ง เลี่ยมทองขึ้นคอได้เลยครับ
เปิดบูชา 5,000- สายตรงเปิดแพงกว่านี้มากครับ รับประกันตลอดชีพครับ

พระเครื่องเนื้อผงช็อกกาแลตท่านพ่อลี เป็นเนื้อที่นิยมกันที่สุดในชุดพระเครื่องท่านพ่อลี ลักษณะเนื้อสีคล้ายช็อกกาแลต แดงออกน้ำตาลไหม้
ส่วนผสมของเนื้อ ใช้ผงเกสรดอกไม้ ๑๐๘ ผงดอกไม้มงคล ผลข้าวตอกดอกไม้ที่ใช้โรยในพิธีมงคลต่างๆ ผงวิเศษของท่านพ่อลี ผงช็อกกาแลตนำมาผสมเคล้ากันจนทั่ว
ผสมน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ผสมน้ำผึ้ง นวดจนได้ที่แล้วจึงอัดพิมพ์นำมาออกผึ่ง เมื่อเนื้อพระแห้งจะมีเอกลักษณ์พิเศษที่ไม่เหมือนใคร คือ ผิวขององค์พระจะขึ้นเป็นเม็ดๆ
คล้ายผิวของลูกมะระ เราจึงเรียกว่า ผิวมะระ ผิวมะระนี้แบ่งออกเป็นสองชนิดคือ ผิวมะระโดยตรงมีลักษณะเป็นเม็ดๆ ไม่เท่ากัน บางเม็ดเล็ก บางเม็ดก็ใหญ่ บางเม็ดก็กลมๆ
บางเม็ดก็จะขึ้นเป็นแนวยาวๆ หรือสั้น แล้วแต่ อีกชนิดหนึ่งเราเรียกว่าผิวมะระไข่ปลา ลักษณะขึ้นเม็ดเล็กๆ กลมๆ คล้ายไข่ปลา ขนาดของเม็ดจะเท่าๆ กันองค์ที่งามๆ จะขึ้นเม็ดเสมอ และขนาดเท่าๆ กัน มองดูงดงามเป็นพิเศษ เนื้อช็อกกาแลตนี้ที่พบว่าไม่เป็นผิวลูกมะระก็มี
ผิวมีลักษณะลื่นๆ เป็นคลื่นๆ เม็ดเล็กๆ ผิวจะไม่เรียบ

พระเนื้อช็อกกาแลตของท่านพ่อลีนั้น ท่านได้บรรจงสร้างขึ้นเป็นพิเศษจริงๆ และมีจำนวนไม่มากนัก ท่านพ่อลีเคยพูดไว้ว่า พระเนื้อช็อกฯ ของท่านนี้ต่อไปเนื้อจะงอกได้และหาชมยาก



ท่านพ่อลี ธมฺมธโร (พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์) วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ นามเดิม “ชาลี” เกิดเมื่อวันที่ 31มกราคม 2449 ที่บ้านหนองสองห้อง ต.ยางโยภาพ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี เมื่ออายุครบบวช ได้บวชตามประเพณี

      ต่อมาได้พบกับ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต รู้สึกมีความเคารพศรัทธาในปฏิปทาของท่านมาก จึงขอฝากตัวเป็นศิษย์ โดยได้ญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุติ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2470 ได้รับการอบรมการปฏิบัติธรรมตามแนวทางของพระวิปัสสนากรรมฐาน ควบคู่กับการเดินธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ พร้อมกับการเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าตลอดเวลา

      จังหวัดต่างๆ ที่ พ่อท่านลี ได้อบรมสั่งสอนชาวบ้าน พร้อมกับได้สร้างสำนักปฏิบัติธรรมให้ความสะดวกแก่พุทธบริษัทมีมากมายทั่วประเทศไทย นอกจากนี้ท่านยังได้เดินทางไปปฏิบัติธรรมยังประเทศอินเดียอีกด้วย

      วัดต่างๆ ที่ ท่านพ่อลี ได้เสร้างไว้และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง คือ วัดป่าคลองกุ้ง จ.จันทบุรี เป็นวัดกัมมัฏฐานสายวิปัสสนากัมมัฏฐาน สำหรับการอบรมปฏิบัติธรรม และพัฒนาจิตของพุทธศาสนิกชนทั่วไป

      อีกวัดหนึ่ง คือ วัดอโศการาม ท่านพ่อลี ได้เริ่มก่อตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นก่อน เมื่อ พ.ศ.2497 การให้ชื่อว่า “วัดอโศการาม” ท่านพ่อลี ประสงค์จะให้เป็นอนุสรณ์ระลึกถึงคุณ พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ของอินเดีย ที่ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนามายังแถบเอเชีย โดยเฉพาะประเทศไทย โดยได้ก่อสร้างรูปเหมือนพระเจ้าอโศกมหาราช และสร้างเสนาสนะต่างๆ จนพัฒนาเป็น “วัดอโศการาม” ที่รุ่งเรืองเป็นที่ศรัทธาของพุทธศาสนิกชน มาจนทุกวันนี้

      ท่านพ่อลี เป็นพระสุปฏิปันโน ผู้ประพฤติดีประพฤติชอบ เป็นพระคณาจารย์สายกัมมัฏฐานที่เคร่งครัด ทรงอภิญญา จนเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
ท่านได้มรณภาพ เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2504 สิริรวมอายุ 56 ปี พรรษา 35


สมัยที่ ท่านพ่อลี จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าคลองกุ้ง ได้สร้างพระเครื่องไว้หลายรุ่นหลายพิมพ์ เป็นที่นิยมศรัทธาของศิษยานุศิษย์มาก















1395.เหรียญพระพุทธ 25 ศตวรรษ หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา  ปี2500 เนื้อทองแดง กะไหล่ทองแห้งๆ เส้นสายฝนเต็มเหรียญ 
สวยๆ หายากแล้วครับ
  เปิดบูชา 2,800- ถ้าเทียบกับครูบาอาจารย์ที่อธิษฐานจิตและพ.ศ.ที่จัดสร้างล่วงกว่า60ปี ถือว่าไม่แพงเลยครับ

ด้านหลังเป็นยันต์ประจำตัวท่านคือยันต์นกคุ้ม หรือยันต์หมอมหาวิเศษ ที่มีอนุภาพครอบจักวาล เหรียญรุ่นนี้จัดสร้าง ด้านหลังจะมีทั้งระบุชาย ระบุหญิง และไม่ได้ลงชื่อไว้

พระญาณวิศิษฏ์ สมิทธิวิจารย์หรือท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม นับเป็นศิษย์รุ่นแรกๆ และสำคัญองค์หนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิปัสสนากรรมมัฎฐานเป็นอย่างยิ่ง
โดยได้รับความไว้วางใจจากพระอาจารย์มั่นมาก จนได้รับสมญานามว่า**แม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรม**
ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมายที่ตามธุดงค์อยู่ในป่าในเขาฝึกบำเพ็ญเพียรกับท่านอาทิ ท่านอาจารย์ฝั้น,หลวงปู่อ่อน,หลวงปู่คำดี,หลวงปู่ขาว ฯลฯ

เหรียญนี้เป็นเหรียญที่สร้างในงานฉลอง 25 ศตวรรษ ปีพ.ศ. 2500 ของทางสายวัดป่าในงานนี้มีการสร้างวัตถุมงคลหลายอย่างครับออกที่วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
เป็นงานพิธีใหญ่ที่มีศิษย์สายนี้มาร่วมงานกันมากมายงานหนึ่ง

ท่านพระอาจารย์สิงห์ในช่วงชีวิตของท่านไม่ได้สร้างวัตถุมงคลออกมาสักเท่าไรนักจะมาสร้างในยุคบั้นปลายชีวิตของทันครับ (ท่านมรณะปี 2504)


-------------------------------------------------------

**เหรียญนี้เป็นเหรียญพระพุทธ ฉลองพระพุทธ 25 ศตวรรษ ของสายกัมมัฏฐาน สายท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตโต**

เป็นงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ.2500 เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาจัดงานที่วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา ซึ่งในอดีตเป็นวัดที่เป็นศูนย์กลางและศูนย์รวมพระกัมมัฏฐานสายอาจารย์มั่น วัดหนึ่งทางภาคอีสาน

ซึ่งท่านอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ศิษย์เอกผู้อาวุโสสูงเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน คอยดูแลอบรมพระเณรทั้งหลาย

เป็นงานพิธีใหญ่ของทางสายนี้โดยท่านอาจารย์สิงห์ ขันตยาขโม....เป็นประธานในพิธี,มีครูบาอาจารย์มารวมงานเพียบ อาทิ อาจารย์พรหม,หลวงปู่ตื้อ,หลวงปู่อ่อน,หลวงปู่ฝั้น,หลวงปู่ขาว,หลวงปู่ชอบ,หลวงปู่หลุย
และอีกมากมายนับไม่ถ้วนฯลฯ













« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 05, 2021, 05:47:05 PM โดย thesun »



1396.เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่คำพอง ขันติโก วัดอัมพวัน บ้านไร่ม่วง ต.น้ำหมาน อ.เมือง จ.เลย  ที่ระลึก อายุครบ 60ปี พ.ศ.38 วัตถุมงคลหลวงปู่สร้างน้อยรุ่นคน
และนานๆเจอทีลูกศิษย์เก็บหายเงียบ
เปิดบูชา คู่ 900- ปิดท่านj999ครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 08, 2021, 01:39:17 PM โดย thesun »



1397.เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่แสง ปริปุณโณ วัดป่าฤกษ์อุดม จ.อุบลราชธานี ปี33  องค์หลวงปู่เป็นพระวิปัสนาจารย์องค์สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี ณ
ปัจจุบันนี้ที่ดำรงขันธ์อยู่ หายากมาก ไม่ค่อยออกมาให้เห็นลูกศิษย์เก็บหมด สุดยอดเหรียญประสบการณ์
เปิดบูชา 1200- สวยๆหลายพันบาทครับ ปิดท่านj999ครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 08, 2021, 01:39:26 PM โดย thesun »



1397.เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่แสง ปริปุณโณ วัดป่าฤกษ์อุดม จ.อุบลราชธานี ปี33  องค์หลวงปู่เป็นพระวิปัสนาจารย์องค์สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี ณ
ปัจจุบันนี้ที่ดำรงขันธ์อยู่ หายากมาก ไม่ค่อยออกมาให้เห็นลูกศิษย์เก็บหมด สุดยอดเหรียญประสบการณ์
เปิดบูชา 1200- สวยๆหลายพันบาทครับ

เหรียญรุ่นแรกจัดสร้าง 3000 เหรียญ

“หลวงปู่แสง ปริปุณโณ”  ได้สืบทอดสายธรรมจาก “หลวงปู่มี กนฺตสีโล” แห่งวัดป่าสันติธรรม (ดงส้มป่อย) ต.แวงดง อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม 

ท่านเป็นพระภิกษุที่มีเมตตาธรรมสูง ถ่อมตน สมถะ ถือสันโดษ มีพลังใจที่แก่กล้า พลังจิตที่เข้มแข็ง ดำเนินวัตรปฏิบัติเจริญรอยตามหลวงปู่มี ผู้เป็นอาจารย์อย่างเคร่งครัด ชื่อเสียงจึงปรากฏขจรขจาย

หลวงปู่แสง ปริปุณโณ มีนามเดิมว่า แสง แก้วกุล เกิดเมื่อปีพุทธศักราช 2476 ณ บ้านกู่ ต.บ้านกู่ อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายเนียม และนางปี แก้วกุล ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา ปัจจุบัน สิริอายุได้ 74 พรรษา 54 (เมื่อปี พ.ศ.2550) ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลบ้านกู่ และเจ้าอาวาสวัดบ้านหัวช้าง ต.บ้านกู่ อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม


๏ การบรรพชาและอุปสมบท

หลังจากเรียนจบชั้น ป.4 ออกมาช่วยครอบครัวหาเลี้ยงชีพอย่างขันแข็ง ครั้นเมื่ออายุ 12 ปี ได้ตัดสินใจเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดโนนแห่ ต.บ้านกู่ อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม ท่านมีความจำเป็นเลิศ ตั้งใจศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรีในเวลาที่ไม่นาน

เมื่ออายุได้ 21 ปีบริบูรณ์ จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดโนนรัง ต.ดงบัง อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม โดยมีพระครูมานิตย์ วัดบ้านหัวหมู เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์จันทร์ สุภัทโท วัดโนนแห่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เพ็ง สุขวโร วัดโนนรัง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “ปริปุณโณ” มีความหมายว่า “ผู้บริบูรณ์”

หลังอุปสมบทแล้วไปอยู่จำพรรษาศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดยางสีสุราช จนสอบได้นักธรรมชั้นโท ก่อนเดินทางไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอุทัยมรรครารามหินดาด จ.นครราชสีมา มุมานะศึกษาเล่าเรียน สอบได้นักธรรมชั้นเอก


๏ ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่มี กนฺตสีโล

ต่อมา คณะศรัทธาญาติโยมชาวบ้านอีโต้ อ.นาเชือก ได้นิมนต์หลวงปู่แสง ให้มาอยู่จำพรรษาที่วัดบ้านอีโต้ โดยท่านได้ทุ่มแรงกายแรงใจ พัฒนาสร้างวัดแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองตามลำดับ

ในช่วงเวลาดังกล่าว หลวงปู่มี กนฺตสีโล วัดป่าสันติธรรม (ดงส้มป่อย) มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วเขตอีสานตอนกลางและอีสานใต้ในฐานะพระเกจิ และด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานและวิทยาคมแคล้วคลาด คงกระพัน เมตตามหานิยม ไสยเวทสายเขมร

เมื่อท่านรับทราบกิตติศัพท์ของหลวงปู่มี เกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้า ได้ออกเดินทางไปอยู่จำพรรษากับหลวงปู่มี ณ วัดป่าสันติธรรม ขอฝากตัวเป็นศิษย์ปรนนิบัติรับใช้ และขอศึกษาเล่าเรียนวิทยาคม วิปัสสนากัมมัฏฐาน ทั้งนี้ หลวงปู่มี ได้เมตตาถ่ายทอดวิชาความรู้ให้อย่างมิมีปิดบัง สอนการอ่านเขียนอักษรลาว ขอม และอักษรไทยน้อย ทำให้หลวงปู่แสงมีความรู้ในการอ่านอักขระโบราณด้วย


๏ รับนิมนต์จำพรรษาที่วัดบ้านหัวช้าง

หลวงปู่แสง จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่มี จนถึงปี พ.ศ.2522 ต่อมาคณะญาติโยมชาวบ้านหัวช้าง ต.บ้านกู่ อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม ได้มานิมนต์ให้อยู่จำพรรษาที่วัดบ้านหัวช้าง ด้วยความตั้งใจอยากกลับมาพัฒนาบ้านเกิด ท่านจึงตอบรับนิมนต์

วัตรปฏิบัติของหลวงปู่แสง ถือการเดินจงกรม และนั่งสมาธิภาวนาทุกวัน รวมทั้งหลังออกพรรษาทุกปี จะออกท่องธุดงควัตรไปตามป่าเขาในภาคอีสาน แสวงหาความหลุดพ้นตามรอยพระตถาคต


๏ ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์

พ.ศ.2506 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านหัวช้าง อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม

พ.ศ.2507 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดบ้านหัวช้าง

พ.ศ.2518 เป็นพระธรรมทูตประจำอำเภอยางสีสุราช

พ.ศ.2543 เป็นเจ้าคณะตำบลบ้านกู่

พ.ศ.2548 เป็นพระอุปัชฌาย์


๏ ลำดับสมณศักดิ์

พ.ศ.2524 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูพิสัยธรรมรังษี

พ.ศ.2542 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทในราชทินนามเดิม


๏ พระเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

หลวงปู่แสง มีความรู้ทั้งด้านพระธรรมวินัย วิปัสสนากัมมัฏฐาน และวัตรปฏิบัติเสมอต้นเสมอปลายเปี่ยมด้วยเมตตาธรรม และเป็นศิษย์หลวงปู่มี ทำให้ชื่อเสียงของท่านเป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชนชาวมหาสารคาม และพื้นที่ใกล้เคียง ในแต่ละวัน มีผู้เลื่อมใสศรัทธาจำนวนมาก เดินทางมากราบนมัสการ รับฟังธรรม และประพรมน้ำพระพุทธมนต์อันเข้มขลังเสริมความเป็นสิริมงคลอย่างไม่ขาดสาย

แม้ญาติโยมจะมากมาย แต่ท่านไม่เคยปริปากบ่น ยังคงรักษาศรัทธาญาติโยม ด้วยท่านรู้ว่าญาติโยมที่มาหา ต่างมีทุกข์ร้อน ท่านจึงต้องใช้เมตตาบารมีชี้ทางผ่อนทุกข์ให้กับญาติโยม

สำหรับปัจจัยที่ได้จากการบริจาคศรัทธาของญาติโยม หลวงปู่จะนำมาพัฒนาวัด บริจาคสาธารณกุศลช่วยชุมชน เป็นค่าอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียน ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ทุนการศึกษาพระภิกษุสงฆ์ เป็นต้น หาได้เก็บงำไว้เป็นสมบัติส่วนตัวไม่

หลวงปู่แสง ปรารภเสมอว่า ทรัพย์สินเงินทองไม่มีความจำเป็นต่อสมณเพศ เพราะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยศรัทธาของญาติโยม

ครั้งหนึ่ง คณะศิษยานุศิษย์ได้ขออนุญาตหลวงปู่แสง สร้างวัตถุมงคล แต่ท่านปฏิเสธ เนื่องจากไม่ต้องการให้ญาติโยมยึดติดในวัตถุมากเกินไป ท่านสอนให้ถือเอาพระธรรมคำสอนของพุทธองค์เป็นหลักชัยในการดำเนินชีวิต

ส่วนหัวข้อธรรมที่หลวงปู่แสงพร่ำสอนมาโดยตลอด คือ เรื่องสัปปุริสธรรม แปลว่า ธรรมของคนดี หรือคนที่แท้ มีคุณสมบัติของความเป็นคนที่สมบูรณ์ ผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมนี้จะถือได้ว่าเป็นคนดีที่สมบูรณ์

หลวงปู่แสง เป็นพระเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเคร่งครัดพระธรรมวินัยมาโดยตลอด นอกจากจะเป็นพระเกจิอาจารย์ ยังเป็นพระนักพัฒนา ตลอดเวลาที่ปกครองวัดบ้านหัวช้าง ทำให้วัดแห่งนี้เจริญรุ่งเรือง ศาสนสถานและถาวรวัตถุไม่ว่าจะเป็นอุโบสถ กุฏิ หอระฆัง กำแพงแก้ว ศาลาการเปรียญ เป็นต้น มีครบหมด รวมทั้งปรับปรุงพัฒนาวัด ทำการปลูกต้นไม้สร้างความร่มเย็น เหมาะสำหรับการบำเพ็ญภาวนาและเป็นสถานที่ปฏิบัติกิจของสงฆ์ยิ่ง

ตลอดเวลาในการปกครองพระเณร หลวงปู่แสง ยึดหลักเมตตาธรรมส่งผลให้พระภิกษุ-สามเณร ในปกครองไม่เคยปฏิบัติตนนอกลู่นอกทาง แต่ละปีจึงมีพระภิกษุ สามเณร มาจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้เป็นจำนวนมาก หลวงปู่ปฏิบัติหน้าที่รับใช้พระพุทธศาสนาโดยไม่เคยขาดตกบกพร่อง

แม้ล่วงอายุเข้าสู่วัยไม้ใกล้ฝั่ง แต่สุขภาพพลานามัยของหลวงปู่แสง ยังคงแข็งแรงสมบูรณ์ดี ไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติศาสนกิจใดๆ ทั้งสิ้น หลวงปู่แสง นับเป็นเนื้อนาบุญของพุทธศาสนิกชนอย่างแท้จริง สามารถกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจโดยแท้






ขอจองครับ



1396.เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่คำพอง ขันติโก วัดอัมพวัน บ้านไร่ม่วง ต.น้ำหมาน อ.เมือง จ.เลย  ที่ระลึก อายุครบ 60ปี พ.ศ.38 วัตถุมงคลหลวงปู่สร้างน้อยรุ่นคน
และนานๆเจอทีลูกศิษย์เก็บหายเงียบ
เปิดบูชา คู่ 900-



หลวงปู่คำพอง ขันติโก วัดป่าอัมพวัน จ.เลย ท่านเป็นพ่อแม่ ครูอาจารย์ในสายพระกรรมฐาน ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ สมถะ เรียบง่าย น่ากราบใหว้ ท่านเป็นศิษย์ในองค์หลวงปู่แหวน
และ ศิษย์เอกหลวงปู่ซามา   หลังจากหลวงปู่ซามา อาจุตฺโต เจ้าอาวาสวัดป่าอัมพวัน มรณภาพลง คณะศรัทธาญาติโยมบ้านไร่ม่วงและพระผู้ใหญ่ จึงได้พร้อมใจกันนิมนต์หลวงปู่คำพอง
ให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2523  ตามที่หลวงปู่ซามาได้ฝากฝังเอาไว้ก่อนที่จะมรณภาพลง

หลวงปู่คำพอง ขันติโก มรณภาพเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 58 เวลา 05.00 น. ที่โรงพยาบาลสงฆ์ กรุงเทพฯ ด้วยโรคอัมพฤกษ์ และโรคชรา สิริอายุได้ 80 ปี 60 พรรษา

และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระมหากรุณาพระราชทานพวงมาลาหลวงวางหน้าศพหลวงปู่คำพอง และบำเพ็ญ กุศลมาตลอด
 และมี พิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่คำพองในวันที่ 22 พ.ย. 58 อัฐิหลวงปู่แปรสภาพเป็นพระธาตุสวยงามครับ




ขอจองครับ



1398.ขอเปิดจัดชุดพระสายเหนือเก่าเก็บน่าบูชา  3 รายการ เปิดแบ่งปันบูชา 2,600- แยกรายการตามด้านล่างนะครับ





1398.1 เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อมั่ง ติสสโร วัดชัยสิทธิ์ จ.แพร่   ปี 2518  สภาพสวย สุดยอดเมตตาโภคทรัพย์อุดมลาภ เปิดบูชา700-

ประวัติหลวงพ่อมั่ง ติสฺสโร(พระครูคัมภีรสิทธิคุณ) เจ้าอาวาสวัดชัยสิทธิ์
    เจ้าคณะตำบลแม่ป้าก เจ้าอาวาสวัดชัยสิทธิ์ (บ้านแม่ป้าก), วัดสบป้าก(เดี๋ยวนี้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดสัมฤทธิบุญ), และวัดแช่ฟ้า-นาฮ่าง(วัดสุดท้ายของท่าน)
ต. แม่ป้าก อ.วังชิ้น จ. แพร่
    วัดชัยสิทธิ์ ตั้งอยู่บ้านแม่ป้าก อยู่ติดถนน ลอง - วังชิ้น ในวัดมีพระธาตุคู่บ้าน คู่เมือง มีมาตั้งแต่โบราณ คือพระธาตุขวยปู
    หลวงพ่อมั่งเริ่ม บรรพชาเป็นเณรตั้งแต่อายุ 15 ปี ที่วัดชัยสิทธิ์ และอายุ 21 ปี ท่านได้ลาสิกขา ได้ 15 วันกลับเข้ามาบวชเป็นพระมั่ง ฉายาติสฺสโร ท่านก็ย้ายไปอยู่วัดบ้านสบป้าก
และ ย้ายไปอยู่วัดบ้านแช่ฟ้าเป็นวัดสุดท้าย ท่านมรณะภาพ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2538 ทำพิธีพระราชทานเพลิงศพ เดือนเมษายน พ.ศ. 2538 ณ วัดแช่ฟ้ารวมอายุได้ 76 ปี
ได้พรรษา 42 พรรษา ก่อน มรณะภาพท่านสั่งห้ามอ่าน ห้ามหาประวัติ ของท่านมาอ่านต่อหน้าศพ ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ ทำให้การค้นหาประวัติของหลวงพ่อยากมาก
การทำบล็อก ลูกศิษย์ เป็นออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด เพราะว่าท่านมีวิทยาคมแก่กล้า ท่าสามารถถอดกายทิพย์ได้ ท่านนั่งวิปัสสนา ในกุฏิเป็นเดือนโดยไม่ออกไปไหนโดยให้เณรปิด
ล็อกกุญแจข้างนอก มีคนท่านได้ถอด กายทิพย์ออก ไปบินทบาตร ตามหมู่บ้านต่างๆ มีชาวบ้านก็ใส่บาตรกับกายทิพย์ของท่านด้วย โดยที่ไม่มีใครเห็นท่าน เดินออกจากห้องเลย





1398.2 เหรียญพระอาจารย์จันทโน วัดเจดีย์งาม จ.เชียงใหม่ ปี 2497 หายาก สร้างน้อย เหรียญยุคเก่าน่าสะสม เปิดบูชา 1200-

นับเป็นเหรียญเก่าปีลึก ที่หาชมยากพอสมควรของภาคเหนือ และเป็นอีกเกจิที่ยุคเดียวกับ ครูบาเจ้าศรีวิชัย พระอาจารย์ จันทโน วัดเจดีย์งาม เป็นพระเกจิที่หาประวัติยากพอสมควร
 เท่าทีทราบท่านมีภูมิลำเนาอยู่บุรีรัมย์ วัดหนองสระแก ต.ตาเป็ก อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ และมาศึกษาที่กรุงเทพวัดราษฎร์บูรณะ และธุดงค์ไปเรื่อยๆจนถึงเชียงใหม่
และตอนธุดงค์มาจำพรรษา ครั้งแรกที่วัดเจดีย์งาม อายุพรรษายังไม่มากนัก แค่ด้วยวัตรปฏิบัติแล้ว ทำให้ผู้ที่พบเห็นเลื่อมใสศรัทธาท่านมาก และได้คณะศิษย์
ก็ได้สร้างเหรียญที่ระลึก ครั้งแรกในปี 2497 เป็นเหรียญที่นิยมในหมู่คณะศิษย์เป็นอย่างมาก มีในหนังสือทำเนียบเหรียญ 24 อำเภอของสายเหนือด้วยครับ







1398.3 พระปิดตาหลวงปู่ทิม วัดระหารไร่แห่งแดนเหนือ พระปิดตารุ่นแรก "ปิดตาทับทิม" หลวงปู่คำแสน วัดป่าดอนมูล อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ปี17 หายากครับ พระชุดนี้ถูกพบในก้นย่ามของหลวงปู่สี
วัดเขาถ้ำบุญนาคด้วย โดยผู้สร้างนำไปถวายหลวงปู่สีแจกด้วยครับ
เปิดบูชา 1200-

จัดสร้างโดย คุณกิมเล้ง แซ่โค้ว และคุณวิโรจน์และคณะกรรมการของวัดป่าซางน้อย อ ป่าซาง จ ลำพูน เพื่อหาปัจจจัยในการบูรณะซ่อมแซมพระวิหารของวัดป่าซางน้อย จึงเดินทางเข้าพบหลวงปู่คำแสน เพื่อขออนุญาตจัดสร้างพระผงพระปิดตาขึ้นเป็น จำนวน ๕๐๐๐ องค์ ซึ่งโดยปกติหลวงปู่คำแสนไม่เคยอนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคลใดๆมาก่อนหน้านี้ เป็นเรื่องน่าแปลกเมื่อเดินทางไปถึง หลวงปู่คำแสนกลับอนุญาตโดยทันที เหมือนท่านทราบล่วงหน้าอยู่แล้ว

หลวงปู่คำแสน นั้นท่านมีบุคลิกภาพ สงบและเยือกเย็น ผู้ที่พบเห็นต่างเลื่อมใสศรัทธา ท่านเป็นสหมิกธรรมกับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ เคยเดินธุดงธ์ด้วยกัน และท่านผ่านการเรียนวิชาวิปัสสนากัมมัสฐานกับ
ครูบาศรีวิชัยและอาจารย์มั่น

มวลสารประกอบด้วย ผงพุทธที่ผ่านเก็บและปรุกเสก ดินพุทธคยาประเทศอินเดีย ว่าน ๑๐๘ ผงดินจากพระธาตุหิริภุญไชย และดินศักดิ์สิทธิ์จากสถานที่ต่างๆในภาคเหนือ
นอกจากนี้หลวงปู่คำแสน ท่านมอบ เกศา จีวร ชานหมากของท่านไว้เป็นพิเศษ เข้าพิธีปรุกเสก ณ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๗ หลังจากเสร็จได้ถวาย หลวงปู่ฯ จำนวน ๕๐๐ องค์
 ออกให้เช่าบูชาในราคาองค์ ๒๐ บาทในสมัยนั้น
















1399.ขอเปิดพระบูชาหายากสายกรรมฐานอีกองค์หนึ่ง พระบูชารุ่นแรกหลวงพ่อสายรุ้ง วัดถ้ำผาจม อ.แม่สาย จ.เชียงราย ปี32 หลวงพ่อวิชัย เขมิโย ปลุกเสกตลอดไตรมาส  และยังได้ขอบารมีองค์หลวงพ่อสายรุ้ง
ตลอดไตรมาสในถ้ำ หายาก สร้างน้อย พระสองถอด หน้าตักองค์พระ 3 นิ้ว ฐาน 4 นิ้ว องค์นี้หมายเลข 49 จากคำบอกเล่าจากศิษย์สายตรงจัดสร้างเพียง 60 องค์เท่านั้น ของแบบนี้ไม่ได้ออกมาให้เห็นบ่อย หรือแทบไม่มีออกมาให้เก็บ
เลยครับ ลูกศิษย์เก็บบูชาตามบ้านเรือนหมด
เปิดบูชา 5,700 ปิดท่านj999ครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 13, 2021, 10:54:53 AM โดย thesun »




 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi