รถอเนกประสงค์ 7 ที่นั่ง VS 5+2 เข้าใจให้ชัด ความต่างมันมี(อ่าน 542 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้


ปีที่ผ่านมา นอกจากรถอีโค่คาร์ที่มาคึกคักชื่นใจปลายปี ตลาดรถยนต์อเนกประสงค์ยังสนุกสนานไม่แพ้กันด้วย รถอเนกประสงค์ 7 ที่นั่ง เข้าทำตลาดในประเทศไทย  ตลาดรถยนต์กลุ่มนี้ ว่าด้วยเรื่อง 7 ที่นั่ง ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีขายยาวนานนับ 10 ปีแล้ว
หากแต่คนจำนวนไม่น้อย กลับกำลังหลงทางเรื่องประเด็น รถอเนกประสงค์ 7 ที่นั่ง ว่ามันมีความเหมือนกัน ยังไงรถที่บอกแบบนี้ก็นั่งได้ 7 ที่ ตามโฆษณา ไม่งั้น ก็โดนสคบ. หรือหน่วยงานโฆษณาลงดาบว่าโฆษณาเกินจริง … มองเผินๆ ฟังแล้วก็คงเหมือนกัน หากข้อเท็จจริงกลับต่างกัน จนวันนี้เราจะหยิบมาเล่าให้ฟัง จะได้เข้าใจอย่างถ่องแท้

รถอเนกประสงค์ 7ที่นั่ง
จำนวนที่นั่งในการโดยสารสักรุ่น ถูกกำหนดไว้อย่างเหมาะสม ตั้งแต่มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมถึง ขั้นตอนในการวิศวกรรมรถยนต์สักรุ่น จนพร้อมออกวางจำหน่าย ทีมงานหน่วยวิจัยพัมนารถยนต์แต่ละรุ่น จะทราบดีว่า รถที่พวกเขาพัฒนาถูกออกแบบมาให้โดยสารกี่ที่นั่ง เพื่อคำนวณ ทั้งเครื่องยนต์ที่นำมาใช้, การเซทช่วงล่าง ตลอดจน ที่สำคัญที่สุด และเป็นประเด็นใกล้ตัวพวกเราผู้ใช้รถมากที่สุด เห็นทีจะเป็นเรื่องความสะดวกสบายในการโดยสารทุกที่นั่ง

ผมเชื่อว่า หลายคน คงจะเคยได้ยินการออกแบบที่นั่งแบบบวกเพิ่มกันมาบ้าง เช่นในรถสปอร์ตคูเป้ จะมีรถบางรุ่นที่ออกแบบมาเป็นที่นั่งแบบ  2+2 ไปจนถึงรถยนต์อเนกประสงค์ 7 ที่นั่งในวันนี้ หลายรุ่นถูกพูดว่า เป็นที่นั่ง แบบ 5+2 ก็คงเคยผ่านหูผ่านตากันมาบ้าง แถมมีหลายรุ่น บางคนบอกก็บวกแล้วก็ได้ 7 ที่นี่ .. ใช่ครับ แต่มันไม่เหมือนกัน

รถอเนกประสงค์ 7 ที่นั่ง Honda CR-V
ที่นั่งแบบ + เป็นวิธีการเรียกจำนวนที่นั่งที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ โดยตัวเลข จะมี 2 ชุด กำหนดคุณลักษณะในการนั่ง ตัวเลขชุดหน้าจะบอกจำนวนที่นั่งจริงที่สามารถโดยสารได้อย่างสบาย  ส่วนตัวเลขชุดหลัง เครื่องหมายบวก จะเป็นการแทนที่สำหรับเด็กหรือ สามารถเปิดใช้ได้หากต้องการ หรือพูดกันตามความจริง เป็นที่นั่งเสริมเผื่อคุณต้องการใช้งานก็พร้อมรับแขกที่จะขึ้นรถทันที

แนวคิดการให้ข้อมูลแบบที่นั่ง + หรือ ที่นั่งเสริม มาจากรถสปอร์ตชั้นนำในอดีต บริษัทรถยนต์ต้องการให้เห็นว่า มันไม่ได้มีดีแค่เรื่องความแรง และใช้งานได้ 2 คน คู่ผัวตัวเมียเท่านั้น ผู้ใช้บางคนอาจเป็นคนรักพวกรักพ้อง และต้องการรถที่รู้สึกว่าคุ้มค่าต่อการใช้งาน ในราคาี่จ่า การมีที่นั่งเล็ก พอสำหรับเพื่อนขอติดรถไปหน้าปากซอย หรือเดินทางในเมือง จึงกลายมาเป็นสิ่งต่อรองลูกค้า

บริบทนี้ยุคแรกถูกนำมาใช้กับรถสปอร์ตคูเป้ มีสไตล์ที่เรียกว่า 2+2 เช่น  Ford Mustang   เป็นต้น ก่อนขยายสู่รถรุ่นอื่นที่ตามมาในภายหลัง และเป็นที่นิยมมาก เนื่องจาก ดูมีพื้นที่ในการใช้งาน ทั้งที่คนเข้าไปนั่งยังยาก แถมถ้าจะให้คุ้ดคู้เดินทางไกล คงยิ่งเหนื่อยหนักกว่าเดิม

อิทธิพลของที่นั่งสำรอง ถูกขยายส่งไม้ต่อจากรถสปอร์ตมาสู่ยุครถอเนกประสงค์ไม่กี่ปี เมื่อตลาดมีความต้องการรถ 7 ที่นั่ง จากลูกค้า และพร้อมจะจ่ายเพิ่มถ้าพวกเขารู้ว่ามันสามารถจุคนได้มากจริง ในเชิงการตลาด ถ้าทำให้รถมี 7 ที่นั่ง มันมีดีในแง่การเพิ่มมูลค่าตัวรถ

Nissan X-Trail รุ่นไมเนอร์เชนจ์
รถอเนกประสงค์แบบ 5 ที่นั่ง ดั้งเดิมในอดีต จึงถูกยัดเบาะแถว 3 เข้าไป อีก 2 ที่นั่งกลายเป็น 7 ที่นั่ง เพื่อรองรับการใช้งาน บางรุ่นสามารถถอดประกอบติดตั้งได้ด้วยตัวเอง ซึ่งเมื่อมาดูความเป็นจริง เบาะนั่งแถว 3 ในรถหลายรุ่นเหมาะแก่การโดยสารชั่วครั้งชั่วคราว มีพื้นที่วางขาไม่กว้างมาก รวมถึงยังไม่เหมาะกับผู้โดยสารผู้ใหญ่

แม้ว่าจะเป็นรถ 7 ที่นั่งจริง แต่ก็ใช่ว่าผู้ใหญ่จะไปนั่งโดยสารตรงไหนก็ได้ ตามที่ต้องการดั่งใจคิด ผิดกับรถอเนกประสงค์ที่เกิดมาเป็น 7 ที่นั่งแท้ ๆ ปัจจุบันมีเพียงไม่กี่รุ่นในตลาด มีการออกแบบพื้นที่การโดยสารสำหรับทุกที่นั่งไว้อย่างดี ตลอดจนยังมีความสบายในการโดยสารมากกว่าอย่างเห็นๆ ผู้โดยสารผู้ใหญ่ สามารถลงนั่งในตำแหน่งไหนก็ได้ในรถ ไม่จำกัด หรือ ต้องขยับปรับเบาะมากมายให้วุ่นวายมากความ ตัวเบาะมีการออกแบบมาเป็นอย่างดี มีหัวหมอน พนักพิงเสร็จสรรพ ไม่ใช่เป็นเบาะหลังแข็งมีแค่พนักพิงหลัง นั่งไกลๆ แล้วปวดเมื่อยทรมารร่างกายอ่านเพิ่มเติม " บาคาร่า1688 "




 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi