[Thesun]พระกรรมฐานพ่อแม่ครูอาจารย์และพระเกจิอาจารย์ทั่วไป(อ่าน 647930 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

1320.เปิดเหรียญหายากในวงการสายป่าเหรียญนึง เหรียญบาตรน้ำมนต์ หลวงปู่มา ญาณวโร วัดสันติวิเวก(วัดวิเวกอาศรม) จ.ร้อยเอ็ด ปี22 เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง
หายาก พบเจอนับชิ้นได้เลยครับ  เปิดแบ่งปัน นำไปติดบ้านเรือนเป็นศิริมงคล หรือทำน้ำมนต์ ขจัดปัดเป่าโรคภัย ก็ดีครับ
เปิดบูชา 1200-










ขอจองครับ



1321.เหรียญกลมหลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ออกวัดหาดแก้ว จ.ชุมพร ปี02 ถือเป็นเหรียญจัดสร้างเป็นครั้งแรกของหลวงพ่อ ออกก่อนเหรียญรุ่นแรกที่ออกวัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
ปี05 ครับ (ถ้าเป็นเหรียญรุ่นแรกปี05ออกวัดศาลาลอย สวยๆต้องมีหลายหมื่นครับ) เหรียญนี้ถือเป็นเหรียญหายาก นิยม และมีประสบการณ์มากของหลวงพ่อ สภาพผ่านการใช้ตามกาลเวลา ด้านหน้ายังคมอยู่
ศักดิ์ศรีเหรียญสร้างครั้งแรก
เปิดแบ่งปันไปบูชา 2,300- ปิดท่าน j999 ครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 06, 2020, 10:29:50 PM โดย thesun »



1322.พระผงยอดธงหลัง พระเจ้าตากสินมหาราช วัดพลับ จังหวัดจันทบุรี ปี52 หลวงปู่พิศดู วัดเทพธารทอง ปลุกเสก 1 ไตรมาส หายาก พระเครื่องที่ทันหลวงปู่พิศดู
มีราคาสูง หายาก และนิยม  ในหมู่ลูกศิษย์มาก ไม่ค่อยเจอทั่วไป ส่วนมากลูกศิษย์สายหลวงพ่อ และ สายท่านพอลีเก็บหมด เพราะหลวงปู่เป็นศิษย์โดยตรงในท่านพอลี
หายากไม่ค่อยเจอ และไม่ค่อยได้วัตถุมงคลท่านมา นานๆจะเจอที 
เปิดบูชาคู่เบาๆแบ่งปัน 800-



องค์หลวงปู่พิศดู เกิดเดือน ก.พ. 2466 ที่ ต.เกาะปอ อ.เกาะกง จ.กำปอด ประเทศกัมพูชา เป็นบุตรของนายอี้ และนางเพี้ยน

    ท่านได้อุปสมบท ณ วัดจันทนาราม อ.เมืองจันทบุรี โดยมี พระอมรโมลี เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพ่อลี ธัมมธโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทได้อยู่จำพรรษาที่วัดป่าคลองกุ้ง
 อ.เมืองจันทบุรี ขณะท่านพ่อลีเป็นประธานสงฆ์ และศึกษาปริยัติธรรม พร้อมปฏิบัติธรรม ควบคู่กันไปกับท่านพ่อลี
และได้เที่ยวเดินตามธุดงค์ไปกับท่านพ่อลีและคณะ หลวงปู่พิศดูท่านเป็นพระที่ท่านพ่อลีไว้ใจ และโปรดปรานมากเป็นพิเศษ
ถึงกับขนาดบอกและฝากฝังกับลูกศิษย์ต่างๆเอาไว้เลยว่า..

“ ต่อไปภายหน้าถ้าเกิดเรา(ท่านพ่อลี)ไม่อยู่แล้ว ให้พวกเธอไปหาท่านพิศดูแทน ต่อไปท่านพิศดูท่านจะแทนเราได้..”

หลวงปู่พิศดู ธมฺมจารี เล่าถึงท่านพ่อลี ธมฺมธโร

สมัยที่ท่านอยู่กับท่านพ่อลี(พระอาจารย์ของท่าน) ที่วัดป่าคลองกุ้ง จ.จันทบุรี สมัยนั้นรอบๆวัดบ้านคนยังมีไม่มากนัก เพราะบริเวณนั้นเป็นป่าช้าผีดิบ หรือหลุมฝังศพคนตาย คนจึงไม่ค่อยกล้าเข้ามาอยู่อาศัย ทุกวันยามท่านพ่อลีว่างจากศาสนกิจ ท่านจะให้หลวงปู่พิศดู(ขณะนั้นพรรษาท่านยังไม่ถึง 10 พรรษา) เอาอาสนะไปปูลาดไว้ในป่าช้าข้างหลุมฝังศพ เพื่อท่านพ่อจะไปนั่งกัมมัฏฐาน (หลวงปู่พิศดูท่านใช้คำว่า ไปทำฌาน) ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุให้หลวงปู่ได้ซึมซับเอานิสสัยของท่านพ่อลีในเรื่องของการเจริญสมถะ และวิปัสนาอยู่ในป่าช้าผีดิบ และรุกขมูล มากว่าค่อนชีวิตในสมณเพศของท่าน

ท่านพ่อลีท่านรักและกรุณาหลวงปู่มาก ท่านพ่อจะคอยสอบถามในเรื่องความเป็นอยู่ และเรื่องของการปฏิบัติกับหลวงปู่พิศดูเสมอ ส่วนใหญ่ท่านพ่อจะชอบมาบอกสอนให้เฉพาะตัวตามลำพัง ซึ่งหากหลวงปู่มีข้อสงสัยในเรื่องใด ท่านก็จะคอยดูจังหวะเหมาะๆและเข้าไปกราบเรียนถามข้อข้องขัดนั้นกับท่านพ่อลีโดยลำพังเช่นกัน เนื่องจากหลวงปู่เป็นผู้มุ่งมั่นในการปฏิบัติภาวนาอย่างยิ่งยวด อีกทั้งองค์ความรู้ความเห็นของหลวงปู่พิศดูนั้นก็ค่อนข้างจะแปลกพิศดารกว่าหมู่พระด้วยกัน ถึงกับท่านพ่อลีเคยเอ่ยปากไว้ว่า " ต่อไปภายหน้าถ้าหมดเราแล้ว ให้พวกเธอไปหาท่านพิศแทน ต่อไปท่านพิศจะแทนเราได้.."

เมื่อยามที่หลวงปู่พิศดูกล่าวถึงท่านพ่อลี ธัมมธโร ใบหน้าของท่านจะมีประกายความสุข สุขุม และท่านมักจะกล่าวเทิดทูนท่านพ่อลีด้วยความเคารพรักเสมอ หลวงปู่ท่านเคยบอกว่า
" ท่านพ่อลีนี่จิตท่านแรง ท่านเคยเพ่งลูกศิษย์ลอยเลย.."

" ท่านพ่อลีท่านเสียงดัง เด็ดขาด คนส่วนใหญ่ชอบพูดว่าท่านดุ จึงพากันกลัวท่าน แต่กับเราท่านไม่ค่อยดุ เพราะเรารู้ใจท่าน อยู่กับท่านต้องฉลาดให้รู้จักหัดสังเกตุ..."

" พระที่ท่านพ่อลีเสก ดีมาก.. ใครมีพระท่านพ่อลีให้เอามาคล้อง.."


พระผงยอดธงหลังพระเจ้าตากสิน วัดพลับบางกะจะ จ.จันทบุรี หลวงปู่พิศดู วัดเทพธารทอง เสก 1 ไตรมาส(3เดือน)

พระสมเด็จชุดนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2552 โดยท่านพระมหาลอย จัตตมโล พระลูกวัดของวัดพลับบางกะจะ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ได้ขออนุญาตท่านเจ้าอาวาสวัดพลับจัดสร้างพระผงขึ้นมา เพื่อแจกจ่ายแก่ญาติโยม โดยท่านพระมหาลอยได้นำมวลสารต่างๆตั้งแต่สมัยหลวงปู่เหรียญ อดีตเจ้าอาวาสและเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดพลับบางกะจะ และมวลสารต่างๆมาผสม และกดพิมพ์เป็นองค์พระขึ้นมา ได้ประมาณ 1,000 องค์

โดยพุทธลักษณะด้านหน้าเป็นรูปพระยอดธงพระเจ้าตากสินมหาราช มีอักขระขอมรายล้อมองค์พระอ่านว่า " พุทโธอะระหัง อะระหังพุทโธ สุคโต ภะคะวา นะเมตตาจิต " และ " นะ จัง งัง "
ส่วนด้านหลังเป็นพระรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงถือพระแสงดาบ พร้อมด้วยพระนามของพระองค์ และด้านล่างเป็นชื่อ วัดพลับ จันทบุรี ที่มุมทั้ง 4 ด้านประกอบด้วยอักขระขอม 4 ตัวคือหัวใจธาตุทั้ง 4 อ่านว่า " นะมะพะทะ "

ด้วยเหตุที่ทางวัดพลับบางกะจะจัดสร้างพระผมพิมพ์นี้ ก็เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ทรงกอบกู้เอกราชชาติสยาม จนได้รับชัยชนะ
ด้วยการรวบรวมไพร่พลที่เมืองจันทบุรี และวัดพลับบางกะจะนี้ เป็นวัดที่สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงได้ตั้งสัตยาธิษฐาน และทรงสร้างพระยอดธงบรรจุกรุเอาไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์
แทนคุณผืนแผ่นดิน และเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา

หลังจากได้กดพิมพ์พระเสร็จแล้ว ได้นำพระทั้งหมดมาขอเมตตาให้องค์หลวงปู่พิศดูช่วยอธิษฐานจิตให้ เป็นระยะเวลา 1 ไตรมาส(3เดือน) จากนั้นได้มอบพระพิมพ์นี้ถวายให้องค์หลวงปู่
ไว้แจกแก่ผู้ศรัทธา ประมาณ 300-400 องค์ ส่วนพระที่เหลือนั้น ท่านพระมหาลอยได้นำไปแจกจ่ายญาติโยม และบรรจุกรุไว้ที่วัดพลับ
เพื่อสืบทอดพระศาสนาต่อไปครับ









1321.เหรียญกลมหลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ออกวัดหาดแก้ว จ.ชุมพร ปี02 ถือเป็นเหรียญจัดสร้างเป็นครั้งแรกของหลวงพ่อ ออกก่อนเหรียญรุ่นแรกที่ออกวัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
ปี05 ครับ (ถ้าเป็นเหรียญรุ่นแรกปี05ออกวัดศาลาลอย สวยๆต้องมีหลายหมื่นครับ) เหรียญนี้ถือเป็นเหรียญหายาก นิยม และมีประสบการณ์มากของหลวงพ่อ สภาพผ่านการใช้ตามกาลเวลา ด้านหน้ายังคมอยู่
ศักดิ์ศรีเหรียญสร้างครั้งแรก
เปิดแบ่งปันไปบูชา 2,300- สวยๆต้องมี 6-7พันครับ

วัตถุมงคลต่างๆ ที่หลวงปู่สงฆ์จัดสร้างนั้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างเสนาสนะต่างๆ ในวัด และเพื่อประโยชน์แก่พระบวรพุทธศาสนาทั้งสิ้น มีด้วยกันหลายรุ่นหลายแบบ ทั้งที่ทำเองและอนุญาตให้ลูกศิษย์จัดสร้าง ไม่ว่าจะเป็น พระเครื่อง, เหรียญรูปเหมือน, เครื่องราง, ลูกอม, ยาฉุน ฯลฯ ผู้ได้ไปสักการบูชาต่างประสบพุทธานุภาพมากมาย ทั้งเมตตา มหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด และมหาอุด แม้แต่ "น้ำปลา" ท่านก็ยังปลุกเสกเป็นยารักษาโรคได้หลายขนาน หรือน้ำล้างบาตรของท่าน ก็นำไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้เช่นกัน

กล่าวถึง เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกของหลวงปู่สงฆ์ เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกจริงๆ คือ "เหรียญที่ระลึกงานผูกพัทธสีมา วัดหาดทรายแก้ว" ซึ่งออกที่วัดทรายแก้ว เมื่อปี พ.ศ.2502 ลักษณะเป็นเหรียญกลม หูในตัว ด้านหน้ายกขอบ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่สงฆ์นั่งสมาธิเต็มองค์เหนืออาสนะ มีอักษรไทยกำกับว่า "หลวงพ่อสงฆ์ วัดศาลาลอย จ.ชุมพร" ด้านหลังพื้นเรียบ ตรงกลางเป็น "ยันต์รูปว่าว" อักขระยันต์ที่เขียนไว้ภายในคือ "นะ โม พุท ธา ยะ" อันเป็นหัวใจแม่ธาตุใหญ่ที่มีพุทธคุณดีทุกด้าน โดยรอบเหรียญเป็นอักษรไทยว่า "สร้างเปนที่ระลึกงานผูกพัทธสีมา วัดหาดทรายแก้ว" และ "17 เมย 2502"

แต่ถ้านับเป็นเหรียญรุ่นแรกที่ออก ณ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย แล้ว ก็จะเป็น "เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่สงฆ์ ปี 2505" สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในพิธีผูกพัทธสีมา
วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ซึ่งนับเป็นพิมพ์นิยม ที่เป็นหนึ่งในเหรียญยอดนิยมของจังหวัด ค่านิยมยังสูงกว่าเหรียญรุ่นแรกที่ออกวัดทรายแก้วอีกด้วย








หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร ท่านมีความชำนาญในเรื่องสมถกรรมฐานและวิปัสสนา กรรมฐานมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมัยก่อนโน้น ทางภาคใต้ นับตั้งแต่จังหวัดชุมพรลง ไป ครูบาอาจารย์ต่างๆ มักจะสนใจปฏิบัติสมถกรรมฐานแล้ว เดินจิตเล่นฤทธิ์ กันเสีย โดยส่วนมาก สำนักเรียนวิชาต่างๆ ภายใน(จิต) สำนักเขาอ้อ มีชื่อเสียงมากในเรื่องนี้ แต่ หลวงปู่สงฆ์ ก็ดี หลวงปู่หมุนก็ดี ตามที่มีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในปัจจุบันนี้ ท่านสามารถหัน เข้ามาดำเนินจิตสู่วิปัสสนากรรมฐานเสีย เพราะเป็นหนทางออกจากความยึดมั่น ในอำนาจจิต อำนาจฌานได้อย่างสิ้นเชิง เป็นความจริงดังนี้

         ต่อมาหลวงปู่สงฆ์ ท่านเกิดสติปัญญา มองเห็นภัยในวัฎสงสาร ที่มันเคย แปรปรวน หมุนเวียน ไม่รู้จบ ท่านเกิดเบื่อหน่าย คิดดำเนินชีวิตในป่าดงพงไพร ทำจิต เร่งบำเพ็ญเพียร เพื่อความพ้นทุกข์ การเดินธุดงคกรรมฐานของครูบาอาจารย์นั้น มิใช่ว่าจะเดินไปในที่แห่งหนึ่ง แล้วไปในที่แห่งหนึ่ง พึงรีบเดินเพื่อให้ถึงเร็วๆนั้น หาไม่ แต่การเดินธุดงค์ก็เหมือนการเดินแบบปกติ หรือเดินจงกรมนั่นเอง ท่านเดินอย่างมีสติ .... คือ ขณะที่ก้าวเดินไปนั้น ท่านกำหนดคำบริกรรม หรือพิจารณาธรรมไปเรื่อยๆ โดยไม่นับก้าวแต่อย่างใด ท่านเดินด้วยสติ แม้อะไรจะเกิดขึ้นมาในช่วงนั้น ท่านก็รู้ชัด ไม่มีอาการของ จิตแส่ส่ายไปมา เพราะสติเป็นกำลังอันสำคัญขณะทำความเพียร เช่นอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร ท่านได้อาศัยชีวิตอยู่ในป่าดงเป็นเวลาหลายปี อาศัยโคน ไม้ ถ้ำผาต่างๆ เป็นที่พักผ่อน ไม่มีความอาลัยในชีวิตว่าจะสุข หรือทุกข์ ท่านมุ่งปฏิบัติธรรม เพื่อความรู้ธรรม

         เมื่อรู้ธรรมแล้ว ท่านก็นำธรรมะนั้น มาสอนจิตสอนใจตนเอง ขัดเกลา กิเลส ตัณหา อุปาทาน ซึ่งเป็นสมบัติประจำสันดานมนุษย์ ให้หลุดให้ลอกออกไปจากจิตใจ ชำระจิตใจด้วยธรรม เพื่อความสะอาดหมดจดแห่งชีวิต ๗ ปี แห่งการทรมานกิเลส ภายในจิตใจของท่าน ซึ่งไม่เคยออกจากป่าสู่เมือง เลย ทำให้สภาพจิตสดใสแจ่มแจ้งในธรรมะ แต่สภาพสังขาร ดูออกจะเป็นฤาษีชีไพร หนวดเครารุงรัง ผมเผ้ายาว จีวร สบง ขาดรุ่งริ่ง นั่งภาวนาในป่าเมืองชุมพร คล้ายกับวาสนาท่านจะต้องมาอยู่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จึงมีชาวบ้านป่า เดินตามนกตัวหนึ่ง ที่ร้องเป็นภาษามนุษย์ว่า " หนักก็วางเสีย ! หนักก็วางเสีย " ชาวบ้านป่า เดินตามนก จนพบหลวงปู่สงฆ์ และได้นิมนต์มาอยู่วัดร้างแห่งนั้น หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ ที่มีความอดทน ค้นคว้า สัจธรรม ความเป็นจริง ของพระพุทธเจ้า ด้วยชีวิตเป็นเดิมพัน ๑๐ พรรษา ท่ามกลางป่าดง ท่านอาศัยภูเขาลำเนาไพรมาโดยตลอด การบิณฑบาต ท่านโคจรไปในหมู่บ้านชาวป่า ได้บ้างอดบ้าง ตามอัตภาพ จนมีความพอดีแก่จิตใจ ปล่อยวางของหนักได้หมดสิ้นแล้วอย่างมั่นใจ

         ท่านจึงออกจากป่า สู่วัดร้างแห่งหนึ่ง ท่านได้จำพรรษาก่อสร้างวัดร้างแห่งนั้น จนเจริญรุ่งเรืองในปัจจุบัน โดยขนานนามว่า วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย อ.เมือง จ.ชุมพร หลวงปู่สงฆ์
 จนฺทสโร ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบองค์หนึ่ง ในจังหวัดชุมพร บัดนี้ท่านได้วางแล้วซึ่งขันธ์อันหนักหน่วงของท่าน และได้ทิ้งรากฝากความดีงามให้แก่ชนรุ่นหลังระลึกถึง
 ณ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย


สิ่งมงคลและยาวิเศษ

         สิ่งอันเป็นมงคลที่หลวงปู่สงฆ์ จันทสโร อนุเคราะห์ชาวบ้านที่ได้รับความทุกข์ร้อน โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เมื่อมาหาท่าน ท่านจะอนุเคราะห์ช่วยเหลือจนหายจากโรคภัยไข้เจ็บโดยสิ้นเชิง และสิ่งของที่ท่านมอบให้นั้นก็ไม่กี่บาท ขอยกให้เห็นชัดดังนี้ ที่ข้าง ๆ บันไดกุฏิของท่านจะมีตุ่มใส่น้ำมนต์ตั้งไว้ใบหนึ่ง ท่านจะลงมาจากกุฏิทำน้ำมนต์ ในเวลากลางคืนแล้วนำมาใส่ตุ่มไว้ ตอนเช้ามืดอีกครั้งหนึ่ง ท่านจะลงมาเทใส่ตุ่มที่หมดทุกวัน ๆ น้ำมนต์ในตุ่มนั้นจะมีผู้ที่รู้แหล่งเข้ามาขอตักไปบูชาหรือดื่มกิน น้ำมนต์ของหลวงปู่สงฆ์เป็นสิ่งมงคลที่มีความขลัง และศักดิ์สิทธิ์ สามารถอาราธนาให้เกิดผลในสิ่งที่ตนปรารถนาได้ทุกประการตามแต่คำอธิษฐานจิตของผู้ใช้ โอ่งน้ำมนต์ของท่านเรียงรายอยู่ตามบันได ทางขึ้นลงกุฏิทั้งด้านซ้ายด้านขวา แท้จริงถ้ามองเผิน ๆ มันจะเป็นโอ่งน้ำล้างเท้า แต่ทว่าไม่ใช่ เพราะคนสมัยนี้สวมรองเท้า ไม่ได้มาเท้าเปล่าแล้วมาล้างเชิงบันได เมื่อตื่นขึ้นตอนเช้าหลวงปู่จะทำน้ำมนต์ มาเทลงในโอ่ง ท่านทำอย่างนี้ทุกวัน

         น้ำมนต์ไล่ผีอย่างเห็นได้ชัด ครั้งหนึ่งมีคนแถวสามแก้วได้พาลูกสาวซึ่งมีอาการเหมือนถูกผีเข้าสิง ดิ้นทุรนทุรายร้องเอะอะเสียงดัง ญาติผู้ชายร่างกายแข็งแรงต้องช่วยกันพามาที่วัด มานั่งรออยู่เชิงบันได เพราะบนกุฏิหลวงปู่นั้น ผู้หญิงขึ้นไม่ได้ แล้วพ่อของเด็กก็ขึ้นไปเล่าอาการให้ฟัง เมื่อได้ฟังอาการแล้วหลวงปู่ก็เดินมาที่หน้ากุฏิมองลงมาที่เด็กสาวคนนั้น ชายสองคนจับแขนเอาไว้แน่น ขณะที่เด็กสาวสะบัดจะให้หลุด ปากก็ร้องเสียงดังเอะอะ หลวงปู่มองดูสักครู่ท่านก็ร้องบอก “นิ่งเสียบ้างซิ”

         เด็กสาวที่ร้องครวญครางส่งเสียงดังก็หยุดชะงักลงทันทีเมื่อสิ้นเสียงหลวงปู่ที่พูดลงมา สักครู่ก็ร้องอีก นายสร้าง คนติดตามหลวงปู่มานานหลายปีได้ยื่นขันน้ำที่ตักจากในโอ่งบนกุฏิส่งให้ หลวงปู่หยิบขันน้ำมาก็เทโครมลงมาทันที ถูกร่างของเด็กสาวคนนั้นอ่อนแรงจนนอนราบเรียบสงบ หลวงปู่หันหลังกลับเข้ากุฏิ สักครู่เด็กสาวคนนั้นก็ลุกขึ้นงัวเงีย อาการผิดปกติหายไปราวกับปลิดทิ้ง น่าสังเกตตรงที่ว่า น้ำที่นายสร้างตักใส่ขันความจริงเป็นน้ำดื่มกินธรรมดา เมื่อหลวงปู่รับขันมาท่านก็เทโครมทันที ไม่ได้เสกหรือเป่าใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าเป็นรูปแบบของคณาจารย์อื่น ๆ จะต้องมีการเสกการเป่าเสียก่อน แต่หลวงปู่ไม่ต้อง ได้มาเททันที

         เรื่องของการใช้น้ำมนต์ไล่ผีเข้าเจ้าสิงของหลวงปู่นั้นโด่งดังอยู่ ดังนั้นน้ำมนต์ของหลวงปู่จึงมีคนต้องการมาก

ยาเส้น

ตามปกติหลวงปู่สงฆ์ท่านชอบใช้ยาเส้นสีปากแล้วอมเอาไว้ ดังนั้นยาเส้นที่ท่านใช้แล้วเหล่านั้น จะกลับกลายเป็นของวิเศษ เป็นของที่มีมงคลศักดิ์สิทธิ์ คือ กลายเป็นของขลังอย่างยอดเยี่ยม สมัยก่อนนั้น คนที่ไปวัดเจ้าฟ้าศาลาลอยจะหายาเส้น ไปสักจำนวนหนึ่ง บางคนก็เอาไปเป็นห่อ แล้วก็ให้หลวงพ่อเสกให้ต่อจากนั้นก็นำมาเป็นวัตถุมงคลติดตัว ต่อมาทางวัดมีความคิดดีนำเอายาเส้นอัดพลาสติกห้อยคอ ทำเหมือนกับลูกอม ปิดทองอีกด้วย เพราะยาเส้นโด่งดังและเป็นที่ต้องการของผู้ที่เข้าวัดเจ้าฟ้าศาลาลอย เรื่องมันมีอยู่ ค่อนข้างเกรียวกราวในชุมพร คือ ครั้งหนึ่ง ได้มีคนมาหาหลวงปู่ ท่านก็มอบยาเส้นไปให้ ยาเส้นนี้เดิมทีเป็นของใช้ประจำวันของหลวงปู่ ท่านเอามาสีฟัน คนที่เคารพนับถือเห็นว่าอะไรก็ตามที่ท่านใช้ย่อมจะเป็นมงคลทั้งสิ้น ก็เลยขอยาเส้นท่านไป เมื่อได้แล้วก็นำไปไว้ในเซฟ รวมกับเอกสารและของมีค่า เขาถือว่า ยาเส้นของหลวงปู่ เป็นของมีค่าด้วยชนิดหนึ่งต้องเก็บรักษาไว้ให้ดี หลังจากนั้นไม่นานนักขโมยเกิดเข้าบ้านชายคนนี้ เมื่อมันเปิดเซฟออกมา มันก็เบือนหน้า เพราะในเซฟไม่มีสมบัติอะไรเลย ภายในเซฟมีแต่ยาเส้นกองเต็มไปหมดไม่มีของมีค่า

         แต่แล้วคนพวกนี้ก็ไปไม่รอด โดนจับได้ ของกลางไม่มีอะไร เพราะมันไม่ได้อะไรไปเลย บอกกับตำรวจเพียงว่า“ในเซฟมีแต่ยาเส้น ใครจะเอาไปทำไม” ความจริงยาเส้นในเซฟนั้นมีเพียงก้อนเล็ก ๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือเท่านั้น แปลกใจทำไมมันจึงมองเห็นว่ามีมากมายไปได้หรือจะเป็นเพราะ อภินิหารยาเส้นมงคลของหลวงปู่ ยาเส้นของหลวงปู่นั้นแท้จริงก็คือ ยาเส้นที่หลวงปู่ชอบอมเอาไว้ หรือเรียกกันแบบภาษากลางว่า ถุนยา คือเอายาเส้นใส่ปากอมเอาไว้ เมื่อมีคนอยากได้ บางคนขอเอาจากปากท่านเลยก็มี ท่านก็คายออกใส่มือที่แบรออยู่

หลวงปู่สงฆ์ จันทสโร

         ท่านได้เข้าพำนักอยู่ประจำที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย นี้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๒ จนถึง วันอังคารที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ตรงกับแรม ๙ ค่ำ เดือน ๘ ปีกุน เวลา ประมาณ ๑๐.๐๐ น. เศษๆ ท่านก็ได้มรณภาพ รวมสิริอายุได้ ๙๔ ปี ๓ เดือน ๒ วัน รวมท่านอยู่ที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอยเป็นเวลา ๖๔ ปี ทางศิษยานุศิษย์ ได้จัดพิธีบำเพ็ญกุศลศพของหลวงปู่ ตั้งแต่วัน ๒ - ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ และได้ทำพิธีปิดศพในคืนวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ หลังจากนั้นทุกๆ คืนจะมีการสวดพระอภิธรรมโดยพระภิกษุภายในวัด และโดยเฉพาะในวันอังคาร ซึ่งกับวันคล้ายวันเกิด และวันมรณภาพ ของหลวงปู่ท่าน จะมีการสวดพิเศษคือ การสวดในบท อนัตตลักขณสูตร และอาทิตตปริยายสูตร สลับกันไปทุกๆ วันอังคาร ของแต่ละสัปดาห์ และจะมีการสวดครบรอบวันมรณภาพในแต่ละปี โดยตรงกับ วันที่ ๒ สิงหาคม ของทุกๆ ปี จะมีการนิมนต์พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ในจังหวัดชุมพร มาสวดเป็นประจำทุกๆ ปี

ปัจจุบัน สรีระของหลวงปู่ได้ประดิษฐานอยู่ บนศาลาธรรมสังเวช เพี่อให้พุทธศาสนิกชนและศิษยานุศิษย์ได้กราบสักการบูชาตลอดไป











ขอจองครับ



1323.เหรียญรุ่นแรกพ่อท่านผอม ถาวโร วัดหญ้าปล้อง จ.นครศรีธรรมราช ปี17 หายากมาก 1 ใน 1000 เหรียญ ชาวบ้านขนานนามท่านว่า "พระอรหันต์จี้กง"
สภาพผ่านการใช้ สวยๆพบเจอน้อยเหรียญมาก เหตุเพราะลูกศิษย์ลูกหา ผู้ที่ได้นำขึ้นคอกันมาก
เปิดบูชา 1000 สวยๆ หลายพันครับ

พ่อท่านผอม ถาวโร วัดไทรขาม จ.นครศรีธรรมราช อายุ 90 ปี เป็นพระเกจิอาจารย์สายใต้ที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่ง ท่านเป็นศิษย์ของ พ่อท่านแดง วัดบ้านราม และ พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน สมัยก่อนท่านได้รับนิมนต์เข้าร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลร่วมกับพระเกจิอาจารย์อาวุโสที่เก่งกล้าวิทยาคมในยุคนั้นหลายท่านหลายครั้ง...เหรียญรุ่นแรก พ่อท่านผอม ในภาพนี้ออกที่วัดหญ้าปล้อง ปี 2517 สร้างถวายโดย “โกหว่า” วรศักดิ์ อดิเทพวรนันท์ คนใจบุญแห่ง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 1,000 เหรียญ เพื่อนำรายได้ไปซ่อมแซมเสนาสนะของวัดหญ้าปล้อง ด้วยพุทธคุณที่โดดเด่นทางด้านมหาอุด แคล้วคลาดปลอดภัย และเมตตามหานิยม ส่งผลให้เหรียญนี้หมดจากวัดภายในเวลารวดเร็ว ปัจจุบันเหรียญสภาพสวยๆ อยู่ที่หลักพันกลางๆ แต่ค่อนข้างหายาก โดยเฉพาะใน จ.นครศรีธรรมราช จัดเข้ากลุ่มเหรียญยอดนิยมในชุดที่ “โกหว่า” จัดสร้าง

พ่อท่านผอมเป็นพระบริสุทธิสงฆ์ที่รักสันโดษ สมถะ มักน้อย ดำรงชีวิตอยู่อย่างง่ายๆ ไม่ยึดติดสมบัติพัสถานใดๆ จึงไม่มีของมีค่าติดตัวเลย แม้แต่เงินทอง ไปไหนมาไหนไม่มีย่าม
และไม่สวมรองเท้ามาตลอดชีวิต ไม่รับตำแหน่งเจ้าอาวาส เป็นเพียงพระลูกวัดธรรมดา ปัจจุบัน เนื่องจากสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง ลูกศิษย์จึงนิมนต์ท่านขึ้นมาอยู่ที่ ส
ำนักปฏิบัติธรรม วัดไทรขาม อ.บางกรวย จ.นนทบุรี (ใกล้กับ กฟผ.) ท่านผู้ใดมีจิตศรัทธาเลื่อมใสจะไปกราบไหว้ท่านก็ได้ ท่านจะให้ข้ออรรถ ข้อธรรมนำมาปฏิบัติเสมอ
ส่วนจริยวัตรท่าน เรียบง่าย ยิ้มแย้ม เมตตา หัวเราะกับผู้มากราบไหว้เสมอ สมดังชาวบ้านขนามนามท่านว่า พ่อท่านผอม พระไม่ทุกข์ สมณะผู้สมถะ อรหันต์จี้กง แห่งเมืองนครศรีธรรมราช










1324.เหรียญขี่เสือท่านอาจารย์นำ วัดดอนศาลา พัทลุง ออกวัดชิโนรส กทม. ปี2513 พระดีพิธีใหญ่
จัดเป็นเหรียญในทำเนียบพระอาจารย์นำไปแล้วครับ
เปิดแบ่งปันบูชา 1,200 พื้นที่แพงกว่านี้แน่นอนครับ

เหรียญนี้ถือเป็นเหรียญรุ่นแรก ของท่านแต่ไม่ได้ออกที่วัดดอนศาลา ออกที่วัดชิโนรส

เหรียญนี้ พระมหาประดับ เป็นผู้จัดสร้าง ในปีนั้นวัดชิโนรสได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นหลายอย่าง เพื่อหาทุนปฏิสังขรณ์วัดชิโนรส และนิมนต์พระเกจิฯผู้เรืองเวทย์มาร่วมปลุกเสกในวันที่
13 เมษายน 2513 (3 วัน 3 คืน)เป็นวันสงกรานต์(พระยาวัน)ในพิธีนี้มีการสร้างรูปพระเกจิที่มาร่วมปลุกเสก ที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ รูปหล่อลพ.สุข
วัดโพธิ์ทรายทองและเหรียญอ.นำ(ขี่เสือจำนวนสร้างประมาณ 2,000 เหรียญ) พิธีใหญ่ โดยมีพระอาจารย์นำ พร้อมด้วยคณาจารย์ดังนี้

1. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
2. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กทม.
3. หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ กทม.
4. หลวงพ่อผ่อง จินดา วัดจักวรรดิ ราชาวาส กทม.
5. พระพุทธมนต์วราจารย์ วัดสุทัศน์ฯ กทม. (ลพ.สุพจน์)
6. หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี
7. อาจารเชื้อ หนูเพชร วัดธรรมาภิตาราม บางซื่อ กทม.
8. หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
9. หลวงพ่อเจริญ วัดทองนพคุณ เพชรบุรี
10. หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
11. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม
12. หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิวาช อยุธยา
13. หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี
14.หลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง
และยังมีคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่านที่ไม่ได้บันทึกไว้
เหรียญรุ่นนี้จัดสร้างเพียงเนื้อทองแดงรมดำอย่างเดียวจำนวนทั้งสิ้น 2,000 เหรียญเท่านั้น ตามบันทึกกล่าวว่าอ.นำท่านได้นำเหรียญรุ่นนี้ติดย่ามกลับวัดดอนศาลาไม่เกิน 10 เหรียญ
จึงทำให้ไม่ค่อยจะเป็นที่รู้จักกันมากนัก นับได้เป็นเหรียญดีที่คนมองข้ามกัน ปัจจุบันหายากแล้วครับ



พระอาจารย์นำคือหนึ่งในสุดยอดพระเถราจารย์แนวหน้าของภาคใต้ และสืบสายวิชาจากสำนักเขาอ้อ ตักศิลาที่โด่งดัง เข้มขลัง กล่าวขานไม่รู็จบ แห่งแดนทักษิณ

พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ ก็เป็น "ศิษย์" ร่วมสมัยเดียวกับพระครูสิทธยาภิรัต (เอียด ปทุมสโร) แห่งวัดดอนศาลา และพระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม แห่งวัดเขาอ้อ

อีกด้วย

 ในปี พ.ศ.2451 นายนำ แก้วจันทร์ มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุกับพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (ทองเฒ่า) บวชเรียนอยู่ 6 พรรษา จึงลาสิกขา แล้วแต่งงานกับนางสาวพุ่ม ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านดอนนูด มีบุตรชายหญิงด้วยกัน 4 คน หากยังคงไปวัดเขาอ้อปรนนิบัติรับใช้พระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพตอยู่เสมอ พร้อมช่วยประกอบพิธีกรรม ต่างๆ ในฐานะศิษย์ฆราวาส และเมื่อพระครู สิทธิยาภิรัต (เอียด ปทุมสโร) ได้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนศาลาสืบต่อจากพระอาจารย์เกลี้ยง แก้วจันทร์ ที่มรณภาพไปเมื่อปีพ.ศ. 2460 อาจารย์นำ แก้วจันทร์ จึงไปมาหาสู่พระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด ปทุมสโร) ที่วัดดอนศาลาอันใกล้บ้านของท่าน ด้วยความคุ้นเคยใกล้ชิดที่มีต่อกัน และได้ช่วยประกอบพิธีกรรมต่างๆ แม้ว่าตอนนั้นพระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด ปทุมสโร) จะมีศิษย์ฆราวาสคู่บารมีอยู่แล้ว คือ ผู้ใหญ่ยอดแก้ว แต่ต่อมาเมื่อผู้ใหญ่ยอดแก้วอายุมากขึ้น ภาระหน้าที่ในการประกอบพิธีกรรมสายฆราวาสจึงตกอยู่กับอาจารย์นำ แก้วจันทร์ โดยตลอดเรื่อยมาจวบจนพระครู สิทธิยาภิรัต (เอียด ปทุมสโร) มรณภาพ

ในปีพ.ศ.2505 อาจารย์นำ แก้วจันทร์ อายุ 74 ปี ได้เกิดล้มป่วยอาการทรุดหนักลงตามลำดับ อาการป่วยในครั้งนี้หนักหนาสาหัสอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ยากแก่การจะมีชีวิตรอดมาได้ ถึงขั้นมีการตระเตรียมงานศพไว้รอ และแล้วสิ่งมหัศจรรย์ก็บังเกิดขึ้น เมื่อภาพนิมิตของ พระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต(ทองเฒ่า) ได้ปรากฏให้เห็นบอกว่า "หากรับปากจะกลับไปบวชอีกครั้งหนึ่ง อาการป่วยที่เป็นอยู่ก็จะกลับกลายหายเป็นปกติ ทั้งยังมีโอกาสทำนุบำรุงวัดดอนศาลา และพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไปในอนาคต" ครั้นเมื่อรับปากอาการเจ็บป่วยก็ทุเลาเป็นลำดับ และหายเป็นปกติ

วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2506 อาจารย์นำ แก้วจันทร์ ได้เข้าอุปสมบทอีกครั้งหนึ่ง ณ พัทธสีมาวัดดอนศาลามี พระพุทธิธรรมธาดา วัดสุวรรณวิชัย (วัดกุฏิ) รองเจ้าคณะจังหวัดพัทลุง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูกรุณานุรักษ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูกาชาด(บุญทอง) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้พำนักจำพรรษาที่วัดดอนศาลา โดยมีลูกศิษย์รูปสำคัญคอยดูแลอย่างใกล้ชิดคือ พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร ซึ่งหากนับพรรษาแล้ว พระอาจารย์นำ ชินวโร อาจอ่อนเยาว์ แต่หากนับถึงความอาวุโสในฐานะของศิษย์สายสำนักวัดเขาอ้อในห้วงเวลานั้นแล้ว พระอาจารย์นำ ชินวโร อาวุโสเป็นอย่างยิ่ง อาวุโสในลำดับของครูบาอาจารย์ทีเดียว ที่พระอาจารย์นำ ชินวโร เคยปฏิเสธคำขอของบรรดาลูกศิษย์ที่ให้ท่านกลับเข้าสู่เพศบรรพชิตในครั้งก่อนๆ ก็เนื่องเพราะเกรงความยุ่งยากในการวางตัวของศิษย์บรรพชิต เพราะในทางสงฆ์ความอาวุโสวัดกับที่จำนวนพรรษา

เวลานั้นศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาโดยตรงจากพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต มี พระอาจารย์นำ ชินวโร อาวุโสสูงสุด เหนือกว่าศิษย์ทุกรูปทุกคนทั้งสายบรรพชิต และฆราวาส ดังนั้นเป็นเหตุให้ชื่อเสียงของ พระอาจารย์นำ ชินวโร เกริกไกรยิ่ง เปรียญเสมือนเป็นประธานของบรรดาศิษย์สายสำนักวัดเขาอ้อ ไม่ว่าจะขัดข้องติดขัดประการใด จะมาขอคำแนะ นำจาก พระอาจารย์นำ ชินวโร เสมอ เหตุนี้จึงทำให้พระอาจารย์นำ ชินวโร ได้รับการนิมนต์ให้เป็นเจ้าพิธีและเป็นประธานในการประกอบพิธีกรรม ต่างๆ อยู่เนืองๆ พระอาจารย์นำ ชินวโร ได้ทำประโยชน์หลายอย่าง ที่สำคัญมีดังนี้

การช่วยเหลือราชการปราบโจรผู้ร้าย ในสมัยที่พระอาจารย์นำ ชินวโร เป็นฆราวาส พ.ศ.2466 มณฑลนครศรีธรรมราชได้ส่งพระยาวิชัยประชาบาลไปปราบโจร
ผู้ร้ายในจังหวัดพัทลุง ได้ตั้งกองปราบที่บริเวณวัดสุวรรณวิชัย พระอาจารย์นำ ชินวโร เป็นกำลังสำคัญในการนำสืบจับโจรผู้ร้าย นับว่าเป็นประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่
ในการปราบครั้งนั้นมาก








« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 07, 2020, 11:31:56 PM โดย thesun »



1325.เอาของเก็บ ของรักของหวงชิ้นนึง มาเปิดให้บูชา ต่อไปจะเป็นตำนาน สุดยอดตะกรุดสายพระกรรมฐาน ตะกรุดดำน้ำ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร วัดธรรมมงคล กทม. ปี17-18 ขนาด 4 นิ้ว
หลวงพ่อดำน้ำจารอักขระเองกับมือครับ ท่านบอกว่า "การทำตะกรุดจะให้ขลังต้องทำใต้น้ำตามต้นตำรับโบราณทุกอย่าง" พุทธคุณสูง หายาก ศิษย์สายตรงเก็บหมด
สภาพสมบูรณ์ทั้งตะกรุด และเชือก  ทำไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนใคร  ตะกรุดที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อวิริยังค์
ปัจจุบันหายากยิ่ง
เปิดบูชาแบ่งปันตามสภาวะเศรษฐกิจ  4,200- ปิดท่าน j999

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 09, 2020, 11:17:09 PM โดย thesun »



1325.เอาของเก็บ ของรักของหวงชิ้นนึง มาเปิดให้บูชา ต่อไปจะเป็นตำนาน สุดยอดตะกรุดสายพระกรรมฐาน ตะกรุดดำน้ำ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร วัดธรรมมงคล กทม. ปี17-18 ขนาด 4 นิ้ว
หลวงพ่อดำน้ำจารอักขระเองกับมือครับ ท่านบอกว่า "การทำตะกรุดจะให้ขลังต้องทำใต้น้ำตามต้นตำรับโบราณทุกอย่าง" พุทธคุณสูง หายาก ศิษย์สายตรงเก็บหมด
สภาพสมบูรณ์ทั้งตะกรุด และเชือก  ทำไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนใคร  ตะกรุดที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อวิริยังค์
ปัจจุบันหายากยิ่ง
เปิดบูชาแบ่งปันตามสภาวะเศรษฐกิจ  4,200- สายตรงเปิดบูชา 6-7พันครับสภาพนี้

ตะกรุดดำน้ำ พ่อแม่ครูอาจารย์ศิษย์โดยตรงหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต



หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร วัดธรรมมงคล หลวงพ่อได้ทำตะกรุดในปี ประมาณปี 2517-2518 ท่านบอกว่าถ้าจำไม่ผิด สถานที่ในการทำตะกรุด คือ สถานที่เเห่งหนึ่งในจังหวัดนครนายก โดยหลวงพ่อไม่ได้บอกว่าเป็นที่ใด ท่านบอกเป็นความลับบอกไม่ได้ หลวงพ่อใช้เวลาในการทำตะกรุดวาระเเรกทำได้ไม่เยอะ 20 ดอกเพราะวัสดุหายาก วาระที่สองทำประมาณ 8000 ดอกหลวงพ่อได้จารเองทุกดอก ส่วนการพันตะกรุดที่ไม่เหมือนกันเพราะว่า หลวงพ่อให้พระเณรที่วัดธรรมมงคล ช่วยกันพัน ซึ่งความสวยในตรงนี้จะขึ้นอยู่กับฝีมือของเเต่ล่ะองค์ เเละก็ได้ทำเสร็จทันเข้าพิธีงานลักขี ในปี 2518 เเละหลวงพ่อได้นิมนต์ครูบาอาจารย์สายกรรมฐานหลายท่าน หลวงพ่อยังจำได้ว่าปีนั่นก็ได้นิมนต์หลวงปู่ฝั่น อาจาโรด้วย เเต่ท่านไม่ได้มาเนื่องจากท่านอาพาธ นับว่าเป็นรุ่นเเรกที่หลวงพ่อได้ทำตะกรุดดำน้ำจาร ตามที่หลวงพ่อได้เมตตาเล่าประวัติ ณ วัดราชธรรมวิริยาราม 4 คัลการี่ แคนาดา เวลา 07.00 น โดยประมาณ. ขอขอบคุณข้อมูลจากกัลยาณมิตร มา ณ โอกาสนี้









ขอจองครับ



1326.เอาของเก็บ ของหวงอีกชิ้น มาเปิดให้บูชา พระผงปักกลดหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง ปี16 พระอาจารย์คำบ่อ(ปัจจุบันคือหลวงปู่คำบ่อ วัดใหม่บ้านตาล
สกลนคร ) จัดสร้าง สุดยอดมวลสาร โรยแร่ และผสมเกศาหลวงปู่แหวน องค์นี้ส่องเห็นเส้นเกศาหลวงปู่แหวน หลายๆเส้น ชัดเจน พระผงนิยมต้นๆของหลวงปู่แหวน
ปัจจุบัน หายาก ไม่ค่อยพบเห็นเปิดบูชาแบ่งปันไปบูชา ไปศึกษา แค่เกศาหลวงปู่แหวนก็มีคุณค่ามากแล้วครับ
3,200-  พระรุ่นนี้สวยๆเคยแตะหมื่นมา
แล้วนะครับ


พระผงรูปเหมือนปักกลด รุ่นแรก หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ ปี 2516 เนื้อผงพุทธคุณ สีน้ำตาลเข้ม จัดสร้างโดย
พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ พระชุดนี้ถูกจัดสร้าง และผสมมวลสารกดพิมพ์ที่วัดดอยแม่ปั่ง โดยนำรูปหล่อ หน้าแหงน มาถอดพิมพ์
มวลสารที่สำคัญมีดังนี้

1. ว่านเกสรดอกไม้ ที่ใช้บูชาพระภายในวัด
2. ดินจากสังเวชนียสถาน 4 จากประเทศอินเดีย
3. ใบพลับพลึง ที่ใช้พันเข่าหลวงปู่แหวน ตอนอาพาธเจ็บหัวเข่า
4. ผงตะไบเงิน ทอง แร่ ที่ใช้หล่อ รูปเหมือน รุ่นแรก หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
5. เกศา หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
และ ฯลฯ













« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 10, 2020, 10:05:54 PM โดย thesun »



1327.ผ้ายันต์พรหมสี่หน้า ปะสะโลหิต พระอาจารย์หนู เกสโร วัดบึงพระอาจารย์(วัดสุนทรพิชิตาราม) นครนายก ปีสองพันห้าร้อยต้นๆ
ศิษย์เอกผู้สืบทอดวิชาจากอาจารย์ฟ้อน ดีสว่าง ฆราวาส จอมขมังเวทย์ตำนานของเมืองไทย ที่กล่าวเรื่องความขลังมากมาย ไม่รู้จบ
เป็นผ้ายันต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของสายนี้ พุทธคุณครอบจักรวาล เด่นทาง เมตตา แคล้วคลาด มากครับ ผ้าผืนนี้ สวยสมบูรณ์ คราบเลือดที่ผ่านพิธีวิเศษปะสะโลหิต
แห้งติดบนผ้าชัดเจนครับ
เปิดบูชา 1800- ปิดท่าน j999 ครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 24, 2020, 11:03:03 PM โดย thesun »



1328.พระปรกใบมะขาม รุ่นแรก หลวงพ่อวราห์ วัดโพธิ์ทอง บางมด กทม. เนื้อทองแดง มาพร้อมกัน 3 องค์ เปิดยกชุด 800-








1327.ผ้ายันต์พรหมสี่หน้า ปะสะโลหิต พระอาจารย์หนู เกสโร วัดบึงพระอาจารย์(วัดสุนทรพิชิตาราม) นครนายก ปีสองพันห้าร้อยต้นๆ
ศิษย์เอกผู้สืบทอดวิชาจากอาจารย์ฟ้อน ดีสว่าง ฆราวาส จอมขมังเวทย์ตำนานของเมืองไทย ที่กล่าวเรื่องความขลังมากมาย ไม่รู้จบ
เป็นผ้ายันต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของสายนี้ พุทธคุณครอบจักรวาล เด่นทาง เมตตา แคล้วคลาด มากครับ ผ้าผืนนี้ สวยสมบูรณ์ คราบเลือดที่ผ่านพิธีวิเศษปะสะโลหิต
แห้งติดบนผ้าชัดเจนครับ
เปิดบูชา 1800-



"เป็นลูกศิษย์ฉัน ฉันคุ้มถึงหมด ไม่ว่า ใกล้หรือไกลแค่ไหน มีอะไรให้นึกถึงฉัน"
หลวงพ่อหนู เกสโร


ส่วนเรื่องความเก่งกล้าสามารถของท่านอาจารย์ฟ้อน ดีสว่างนั้น ขอยกคำพูดของท่านอาจารย์หนู เกสโร มากล่าวก็แล้วกันครับ
ท่านว่า

"ท่านอาจารย์ของท่านนั้นเก่งกว่าขุนแผนเสียอีก" ****






ผ้ายันต์พรหมสี่หน้าของท่าน สร้างบูชาครู โดย หลวงพ่อหนู เกสาโร วัดบึงพระอาจารย์ นครนายก เพราะเป็นผ้าที่สำเร็จในพิธีไหว้ครูของท่านเท่านั้น หลวงพ่อท่านจะทำพิธีประสะเลือดเพื่อบูชาครูบาอาจารย์ท่านคือ อ.ฟ้อน ดีสว่าง โดยการนำมีดตอกเข้าไปบนเพดานปาก เลือดที่ได้จากพิธีจะนำมาเจิมผ้าพรหม ฉะนั้นจึงถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และเป็นมงคลมากสำหรับลูกศิษย์ที่ได้ไป

เพราะสร้างแต่ละครั้งมีจำนวนไม่มาก และเป็นผ้าที่สำเร็จในพิธีไหว้ครู ครบถ้วนตามวิชาตามตำรา เลือดที่ได้จากกระทำพิธีประสะนั้นถ้านำมาผสมน้ำหมึกแล้วสักเข้าตัวแล้วท่านว่าเหนียวยันกระดูกเลยทีเดียวครับ

หลวงพ่อหนู เกศโร (พระครูเมธีธรรมสาทก) วัดบึงพระอาจารย์ จ.นครนายก มีหลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา เป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นศิษย์เอกของจอมขมังเวทย์ พ่อฟ้อน ดีสว่าง โดยตรง

คนแถบนครนายก แถบบึงพระอาจารย์ บางน้ำเปรี้ยว นับถือและศรัทธาหลวงปู่หนูมาก ๆ ยามที่ท่านอยู่ ช่วยชีวิตชาวบ้านผู้ที่ถูกงูพิษกัดมานับรายไม่ถ้วน.

วัดบึงพระอาจารย์ในสมัยท่านยังอยู่นั้น แทบจะมีสภาพไม่ต่างจากโรงพยาบาลเลยทีเดียว เนื่องจากในแต่ละวันจะมีผู้ได้รับทุกขเวทนามารอรับเมตตาจากท่านมากมาย

หลวงพ่อหนู ท่านก็ได้สงเคราะห์โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง...ไม่เว้นแม้แต่บรรดาชาวไทยมุสลิมซึ่งมีอยู่มากมายในย่านนั้น ชาวบ้านมักจะไปขอสักข้อมือรูปงูตัวเล็กๆ บอกว่า “กันว่าป้องกันงูได้”

เรื่องเล่าของหลวงพ่อหนู เกสโร นายดาบตำรวจหวัด เป็นผู้เล่า

ครั้งหนึ่งหลวงพ่อหนู ท่านพูดกับนายดาบหวัดว่า “วิชาอาจารย์ ฟ้อนเนี่ยเป็นวิชาที่สูงที่สุด สูวกว่าวิชาไหน ๆ “ ดาบหวัดบอกว่า จริงหรือครับ” หลวงพ่อบอกว่า
“จริงซิ เราเคยนั่งสมาธิไปเจอกับพระอินทร์ แล้วขอให้พระอินทร์เป็นอาจารย์ แต่ก่อนที่จะเป็นอาจารย์ขอถามอะไรสักอย่างได้ไหมครับ พระอินทร์บอกว่า ถามมา
หลวงพ่อหนูได้ถามกับพระอินทร์ว่า มีวิชาหรือคาถาใดที่สูงกว่าวิชาของท่าน อ.ฟ้อน ดีสว่าง พระอินทร์ตอบว่า ไม่มีวิชาอาจารย์ฟ้อนสูงที่สุด สูงกว่าวิชาของฉันอีก
หลวงพ่อจึงไม่ได้เรียนกับพระอินทร์และลาถอนสมาธิออก” นับตังแต่นั้นมา หลวงพ่อหนูไม่ได้เรียนวิชาของผู้อื่นอีกเลย และต่อมาเมื่อสร้างโบสถ์ที่วัดบึงพระอาจารย์
 ตามเสาผนังโบสถ์ หลวงพ่อหนูได้สร้างเป็นรูปเศียรพระอินทร์ ปัจจุบันยังมีให้ดูชมอยู่ จริงไม่จริงแล้วแต่ผู้อ่านครับ ดาบตำรวจหวัด เป็นผู้เล่าให้ฟัง


ในสมัยคุณพ่ออาจารย์ฟ้อน ดีสว่าง จะทำพิธีประสะโลหิต ในสองกรณี คือ
พิธีประสะโลหิต รับศิษย์เพื่อเอาโลหิตในกายท่าน ประสิทธิ์โลหิต สู่ลูกศิษย์ ด้วยวิธีการสักลงบนกระหม่อมจอมขวัญ
และ ประสะโลหิต เพื่อพุทธาภิเษกวัตถุมงคล คล้ายกับพระเกจิคณาจารย์ ที่ส่งอำนาจจิตรวิทยาคม ผ่านลมกระไอปากบ้าง บ้างใช้พ่นถ่มน้ำลายใส่บ้าง
แต่คุณพ่ออาจารย์ฟ้อน ดีสว่าง ท่านใช้โลหิตผสมกับปราณของท่าน พ่นออกมา ประจุลงในวัตถุมงคล ต่างๆ ดังในภาพนี้ เป็นพิธีประสะโลหิต ปะจุใส่ผ้าขาว
เพื่อแจกทหารไปรบในสงครามอินโดจีน ที่นายกรัฐมนตรีเป็นคนเชิญท่านทำพิธีเป็นทางการถึง 2 ครั้ง



ด้วยเหตุที่การประสะโลหิตต้องอาศัยใจที่ตั้งมั่นถึงขีดสุดของผู้กระทำ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกที่แม้ศิษย์ในสายอาจารย์ฟ้อน ดีสว่างจะมีอยู่มากมาย
แต่ก็หาผู้ทำวิชานี้ได้น้อยยิ่งกว่าน้อย โดยภายหลังสิ้นหลวงพ่อหนู ก็แทบจะไม่มีผู้สืบทอด ผ้ายันต์พรหมสี่หน้า ที่ประสะโลหิตนี้จึงเป็นตัวแทน เครื่องรางของขลัง ได้ดีที่สุด
ใครพบเจออย่าปล่อยให้หลุดมือ ทีเดียวเชียว

พระอาจารย์หนูทางซ้าย ท่านอาจารย์ฟ้อน ทางขวา ขณะกำลังทำพิธีปะสะโลหิตโดยการนำมีดตอกเข้าไปบนเพดานปาก












ขอจองครับ



1329.พระกริ่งพุทธชยันตีศรีอีสาน 20 จังหวัด ปี55 เนื้อชนวน พิมพ์กรรมการ เบอร์60 ใต้ฐาน อุดมวลสาร เกศา จีวร แผ่นจาร พระดี พิธี ใหญ่ พระเจิอาจารย์ชื่อดัง 20 จังหวัด
สมัยนั้นปลุกเสก และถือเป็นพระกริ่งรุ่นแรก ในองค์หลวงปู่จาม วัดป่าวิเวกพัฒนาราม มุกดาหาร อีกด้วย พิมพ์กรรมการ สร้างน้อยหายาก
เปิดบูชา 1200


พระกริ่งพุชยันตรี 20 จังหวัด ภาคอีสาน รังสรรค์งานโดย อาจารย์อำพล เจน
พระสวย พระดี พิธียิ่งใหญ่
ปลุกเสกโดยพระเกจิอาจารย์สายอีสาน ทั้ง 20 จังหวัด

พุทธาภิเษกพิธีสุดท้าย วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

(ตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำเดือน 12)

ที่บริเวณหน้าศาลหนักเมืองจังหวัดอุบลราชธานี

โดยมี หลวงปู่คำบุ คฺดตจิตฺโต วัดกุดชมพู เป็นประธานในพิธี

พระกริ่งพุทธชยันตีศรีอีสาน 20 จังหวัด เนื้อนวครบสูตร

ปลุกเสกโดยพระเกจิอาจารย์สายอีสาน ทั้ง 20 จังหวัด

พุทธาภิเษก วันที่ ๒๐ พฤษจิกายน ๒๕๕๕ บริเวณหน้าศาลหลักเมืองจังหวัดอุบลราชธานี

มวลสารได้มาจาก เกจิคณาจารย์ ผู้มีบารมีธรรมทั้งยุคเก่ายุคใหม่ ได้แก่

ชนวนพระกริ่งเสาร์ ๕ มหามงคล หลวงปู่เร็ว ฉันทโก รัดประคด หญ้าคา มัดลูกนิมิต เส้นเกษา หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต ผงมวลสารเทียนอธิฐานจิต เถ้าอังคาร ข้าวก้นบาตร ดอกไม้แห้ง หลวงปู่ชา สุภัทโธ ผงมวลสาร จีวร เกษา หลวงพ่อมหาประดิษฐ์ อุตตโม เส้นเกษา หลวงปู่แดง รักวัดใต้ นาดูนชำรุด เส้นเกษา หลวงปู่แสง เส้นเกษา ทรายทับทิม ไม้แดง มวลสารญาท่านสวน ฉันทโร ข้าวก้นบาตร เส้นเกษา หลวงพ่อบุญมี โชติปาโร ไม้ค้ำลูกนิมิต มะพร้าวล้านปี ศรีนรเก เส้นเกษา หลวงตาพวง เส้นเกษา หลวงปู่หล้า หลวงตาพวง หลวงปู่สรวง หลวงปู่สอ หลวงปู่บุญมี หลวงปู่ห้วย หลวงปู่คำบุ หลวงปู่โส ญาท่านสวน หลวงพ่อเนย หลวงปู่โกศล หลวงพ่อพุธ หลวงปู่สิงห์ หลวงปู่ผาด หลวงปู่จื่อ หลวงปู่ขาว หลวงพ่อเปลี่ยน หลวงปู่บุญหลาย หลวงพ่อนิยม หลวงปู่มั่น หลวงปู่เหลือง หลวงปู่เพ็ง พระครูชิโนวาทสาธร หลวงปู่มา พ่อท่านอาจ หลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิงหาญ หลวงปู่มหาคำแดง มหาเถระอาจารย์สายวิปัสนา พระเกจิสายกรรมฐาน ตะกรุดทองคำ หลวงปู่เครื่อง พระผง เหรียญหลวงพ่อคูณ แผ่นทองจารย์ หลวงพ่อเนย ชานหมาก หลวงพ่อพุธ ผ้ายันย์ ปลัดขิกบิน หลวงพ่อตัด พระผง หลวงพ่อกวย ชานหมาก หลวงปู่วรพรต พระผง พระอาจารย์ฝั้น พระผง หลวงพ่อกวย สีผึ้ง หลวงพ่อช้าง ชานหมาก ญาท่านสวน รัดประคด หลวงพ่อคูณ ชานหมาก หลวงพ่อพุธ หลวงปู่ทูล ข้าวก้นบาต หลวงปู่หล้า แผ่นเงินจารย์ หลวงปู่คำพันธ์ พระเก่าชำรุด เขี้ยวล้านปี ผงพุทธคุณ หลวงปู่ชา ว่าน ๑๐๘ ทุกรุ่น พลอยเศก ญาท่านสวน ชานหมาก หลวงปู่เพ็ง ดอกไม้แห้ง หลวงปู่เลี่ยม ผงธูปเศก น้ำมนต์ เส้นยาสูบรองสังขาร หลวงปู่ชา ผงเถ้าอังคาร กะลาหลายชนิด งาช้างสะเด็น ทรายเศก ดินเศก เกษา ๑๐๘ กาฝาก ๑๐๘ ผงขี้เถ้าดินศักดิ์สิทธิ์ หลวงปู่สุข ผงพุทธคุณ ข้าวสารดำ พระธาตุนาดูน สาริริกธาตุ หลวงปู่ศรี มหาวีโร แผ่นทองแดงจาร หลวงปู่สุข หลวงปู่บุญมา หลวงปู่สา ปัฐวีธาตุ ผงว่าน ๑๐๘ หลวงปู่คำพันธ์ จีวร ชานหมาก ผงพุทธคุณ หลวงปู่หงษ์ ใบมีดโกน ขนคิ้ว หลวงพ่อบุญมี สายศิญจน์มัดลูกนิมิต วัดบุ่งขี้เหล็ก ผงเถ้าอังคาร พ่อท่านอาจ อายุ ๑๑๒ ปี ไม้งิ้วดำ ดินพุทธสถานสำคัญของพระพุทธเจ้า ๑๐ แห่ง ผ้าห่ม หลวงปู่มั่น จีวร แปรงสีฟันไม้ไก่กุ๊ก หลวงปู่ชา ข้าวสารเศก หลวงปู่หนูอินทร์ เป็นต้น

พระกริ่งพุทธชยันตี 20 จังหวัด
พิธีพุทธาพิเษกที่ยิ่งใหญ่ คณาจารย์ร่วมปรกมากมาย

สายเมืองเลย
1.หลวงปู่ขันตี ญาณวโร วัดป่าม่วงไข่ จ.เลย
2.หลวงพ่อคำพอง ขันติโก วัดป่าอัมพวัน จ.เลย
3.หลวงปู่พัน ฐิตธมฺโม วัดบ้านน้ำภู จ.เลย

สายต่างจังหวัด
1.หลวงพ่อบุณรอด วัดกุดคูณ อุบล
2.หลวงปู่คีย์ วัดศรีลำยอง สุรินทร์
3.หลวงปู่แสง ญาณวโร วัดป่ามโนรมย์สมประสงค์ อำนาจเจริญ
4.หลวงปู่เขียน ศูนย์ปฏิบัติธรรมยางขี้นก เขื่องใน อุบล
5.พระอธิการสำราญ ป๓ัสสรโร วัดบ้านชาติ เขื่องใน อุบล
6.หลวงปู่บุญ ขันตโร วัดแสงน้อย เขื่องใน อุบล
7.หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ วัดป่าภูมิพิทักษ์ สกลนคร
8.หลวงปู่จาม คำชะอี วัดป่าวิเวกวัฒนาราม มุกดาหาร
9.หลวงพ่อใหญ่ วัดสุทธจินดา นครราชสีมา
10.หลวงปู่เกลี้ยง เตชธัมโม วัดโนนเแกด ศรีสะเกษ
11.หลวงพ่อบุญเรือง สารโท วัดพีชโสการาม เขมราช อุบล
12.หลวงปู่ห้วย วัดประชารังสรรค์ ศรีสะเกษ
13.หลวงพ่อเมียน วัดจะเนียงวนาราม บุรีรัมย์
14.หลวงปู่ผาด วัดบ้านกวาด บุรีรัมย์
15.หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ วัดเพชรบุรี สุสานทุ่งมน สุรินทร์
16.หลวงพ่อสมสิทธิ์ รักขิตสีโล วัดสักดาราม เสลภูม ร้อยเอ็ด
17.หลวงปู่สาย เขมธมฺโม วัดป่าพรหมวิหาร หนองบัวลำภู
18.หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต วัดโนนสว่าง หนองบัวลำภู
19.พระอาจารย์ต๋อง วัดถ้ำน้ำทิพย์ หนองบัวลำภู
20.หลวงปู่ทองพุล สิริกาโม วัดป่าสามัคคีอุปถัมภ์ หนองคาย
21.หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสถิผล สกลนคร
22.หลวงปู่หนูอินทร์ กิตฺติสาโร วัดป่าพุทธมงคล กาฬสินธุ์
23.หลวงปู่สิงห์คัมภิโร วัดบ้านศรีสุข มหาสารคาม
24.หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราราม ( บ้านกุดแห่ )ยโสธร
25.หลวงปู่คำบุ คุตฺตจิตฺโค วัดกุดชมภู อุบล

และคณาจารย์ร่วมปรกอีกมากมาย...

 
















1330.รูปหล่อรุ่นแรก หลวงปู่เคน จรณธัมโม  วัดแซอุดมสุข อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ใต้ฐานอุดผง ชานหมาก เกศา หายากครับ
วัตถุมงคลท่าน สร้างน้อย
500- ปิดท่าน j999 ครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2020, 10:25:43 PM โดย thesun »



1331.เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่บุญนาค ฐานนาโค วัดหนองโปร่ง อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี ฉลองครบ 5 รอบ ปี2515 400-
ปิดท่าน j999 ครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2020, 10:25:35 PM โดย thesun »




 

ติดต่อผู้ดูแลเว็บ หรือ สนใจลงโฆษณา โทร ๐๘๖๒๒๒๐๐๕๕

อีเบย์ อุดรธานี ร่ม รับนำเข้าสินค้าจากจีน power bank กระบอกน้ำ ของพรีเมี่ยม แฟลชไดร์ฟ plc mitsubishi ปากกา taobao เฟอร์นิเจอร์ แหวนเพชร servo motor mitsubishi